-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 517 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร








 

การบริหารแมลงศัตรูพืชโดยใช้วิธีแบบผสมผสาน


การควบคุมแมลงศัตรูพืชนั้นมีหลายวิธีเนื่องจากการระบาดมีหลายประเภท การควบคุมจึงต้องศึกษาว่าควรเลือกวิธีการใดหรือหลายวิธีผสมผสานกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด

1.การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี หมายถึง การใช้สิ่งมีชีวิตในการควบคุมศัตรูพืชให้อยู่ภายใต้ระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจที่กำหนด วิธีนี้มีความจำเพาะเจาะจงต่อชนิดของแมลงศัตรู ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย

  • ไส้เดือนฝอย เป็นศัตรูของแมลงชนิดต่างๆ เข้าสู่ตัวแมลงโดยการกินหรือช่องเปิดของลำตัวแมลง แล้วเข้าไปอยู่ในกระแสเลือด จากนั้นแบคทีเรียซึ่งอยู่ในทางเดินอาหารของไส้เดือนฝอยจะขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณและเคลื่อนตัวออกทางทวารของไส้เดือนฝอย เข้าไปในช่องว่างของลำตัวแมลง เข้าทำลายของเหลวภายในตัวแมลงทำให้เลือดเป็นพิษ และตายภายใน 3-4 วัน ลักษณะอาการของตัวหนอนที่ถูกทำลายมีสีครีม น้ำตาลอ่อน ลำตัวเหนียว ไม่เละ
  • เชื้อแบคทีเรีย พ่นเชื้อแบคทีเรียให้จับอยู่ที่ใบพืช เมื่อตัวหนอนกินใบพืช เชื้อแบคทีเรียก็จะเข้าสู่ร่างกายทางปาก และการย่อยอาหารของตัวหนอน ทำให้ตัวหนอนไม่สามารถกินอาหารได้ตามปกติ และตายในที่สุด แบคทีเรียไม่เป็นอันตรายต่อคน สัตว์เลือดอุ่น ตัวห้ำ และตัวเบียน
  • เชื้อรา จะทำลายโดยการทำลายเนื้อเยื่อ เส้นใยจะเจริญอยู่ในลำตัวทำให้แมลงแห้งตาย
  • ไวรัส มีความเฉพาะเจาะจงกับแมลงอาศัย เช่น ไวรัส NPV ของหนอนกระทู้หอม จะเกิดกับหนอนกระทู้หอมเท่านั้น เมื่อตัวหนอนกินไวรัสที่ปะปนอยู่บนพืชอาหารไวรัสจะไปเพิ่มจำนวนอยู่ในนิวเคลียสของเยื่อหุ้มต่าง ๆ ของหนอน เช่น เม็ดเลือด ไขมัน ทางเดินอาหาร ท่อหายใจ และผนังลำตัว หนอนจะเป็นโรค และตายภายใน 2-7 วัน ขึ้นอยู่กับขนาดตัวหนอน
  • ตัวห้ำ หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตโดยกินแมลงศัตรูพืชอื่นเป็นอาหารเพื่อการเจริญเติบโตจนครบวงจรชีวิต ตัวห้ำมีทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่น นก งู กิ้งก่า กบ และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น มวนพิฆาต มวนเพชฌฆาต ด้วงเต่าลาย แมงมุม
  • ตัวเบียน หมายถึง แมลงซึ่งอาศัยกินและเบียนแมลงอื่น ๆ แมลงเบียนมีขนาดตัวเล็กกว่าเหยื่อ และมีความเฉพาะเจาะจงกับชนิดของเหยื่อ ไข่ของแมลงเบียนบางชนิดมีความสามารถในการแบ่งตัว เพื่อเพิ่มปริมาณให้มากขึ้นได้ แมลงเบียนจะเข้าทำลายในระยะต่าง ๆ ของการเจริญเติบโต เช่น ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัยทำให้เหยื่อค่อย ๆ ตายไปในที่สุด

2. การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยวิธีเขตกรรม หมายถึง การปรับปรุงสภาพแวดล้อมของต้นพืชให้มีความสมบูรณ์ เหมาะสมต่อต้นพืช เพื่อจะได้เจริญเติบโตและแข็งแรงสามารถทนต่อการเข้าทำลายของแมลง

  • การปรับสภาพดิน คือ การเตรียมดินให้มีค่า PH เหมาะสม มีแร่ธาตุอาหารสมบูรณ์ มีความสม่ำเสมอของหน้าดิน
  • การไถพรวน ทำเพื่อกลับหน้าดินขึ้น เพื่อทำลายไข่และตัวอ่อนของแมลงที่อยู่ในดิน และกำจัดวัชพืชได้อีกทางหนึ่งด้วย
  • การกำจัดวัชพืช เพื่อกำจัดแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลง และป้องกันการแก่งแย่งธาตุอาหารของวัชพืชในแปลง
  • การตัดแต่งกิ่ง เพื่อกำจัดที่อยู่อาศัยของแมลง ทำให้พืชสังเคราะห์แสงได้เต็มที่
  • การปลูกพืชหมุนเวียน เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้มีแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของแมลงตลอดเวลา อาหารของแมลงจึงมีจำกัดในช่วงเวลาต่างกัน
  • การปลูกพืชผสม เพื่อจำกัดแหล่งอาหารของศัตรูพืช เพราะถ้าปลูกเพียงชนิดเดียวจะทำให้แหล่งอาหารของแมลงกว้างขวาง ทำให้การระบาดเกิดขึ้นได้รวดเร็ว

3. การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยวิธีกล คือ เมื่อมีศัตรูพืชเข้าทำลาย ถ้าพบจำนวนน้อยสามารถจะใช้มือหรือวัสดุช่วยในการทำลาย หรือการใช้กับดักชนิดต่าง ๆ ในการควบคุม

  • การจับทำลายใช้มือ เมื่อพบแมลงศัตรู การกำจัดที่ง่ายที่สุด คือ การจับแมลงด้วยมือ หรือเขย่าต้นไม้ หรือการเก็บดักแด้ เช่น ดักแด้หนอนกินใบสักที่อยู่ตามเศษใบไม้แห้งบนพื้นดิน
  • การใช้ตาข่ายคลุมแปลง เพื่อป้องกันแมลงจากภายนอกแปลงเข้ามาทำลายภายในแปลงได้ เช่น การทำผักกางมุ้ง
  • การใช้เครื่องยนต์ เช่น เครื่องจับตั๊กแตน หรือ เครื่องดูดแมลง

4. การควบคุมดูแลแมลงศัตรูพืชโดยการใช้สารเคมี คือ การใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช มีความรวดเร็วเห็นผลทันที แต่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาก จึงควรใช้เมื่อมีการระบาดอย่างรุนแรงเท่านั้น

  • เลือกใช้สารเคมีที่มีความเฉพาะในการป้องกันกำจัด เช่น เลือกสารเคมีที่กำจัดแมลงศัตรูพืชป่าไม้เท่านั้น เพื่อป้องกันศัตรูธรรมชาติของแมลงที่เป็นตัวรักษาสมดุลย์ธรรมชาติ
  • การใช้เหยื่อพิษ อาหารพิษแก่แมลงศัตรูพืชนั้น โดยจะให้ผลเมื่อศัตรูพืชมากินเหยื่อพิษนั้น
  • การใช้สารล่อ โดยการสังเคราะห์สารฟีโรโมนของแมลงที่ระบาด แล้วสร้างกับดัก นำฟีโรโมนมาเป็นสารล่อให้ แมลงติดกับดัก เป็นการช่วยลดการผสมพันธุ์ และลดจำนวนประชากรของแมลง

5. การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยสารสกัดจากธรรมชาติ คือ การนำสารที่สกัดได้จากวัสดุจากธรรมชาติและมีฤิทธิ์ในการควบคุมแมลงมาใช้ เช่น เมล็ดสะเดา, ตะไคร้หอม, พลูป่า, หางไหล เป็นต้น

6. การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยทางฟิสิกส์ คือ การใช้วิธีการทางฟิสิกส์เข้ามาใช้ เช่น การใช้รังสี การใช้กับดักแสงไฟ เพื่อควบคุมปริมาณผีเสื้อกลางคืน เป็นต้น

  • การใช้รังสีในการปราบแมลง เช่น ฉายรังสีทำให้แมลงวันผลไม้เป็นหมัน
  • การใช้เครื่องทำเสียง เพื่อให้เกิดคลื่นเสียงความถี่ต่ำ มีผลต่อแมลง ทำให้แมลงหนีไป
  • การใช้ความร้อน เช่น การนำดินมาอบเพื่อผ่านความร้อนสำหรับกำจัดแมลงศัตรูพืชชนิดต่างๆ ที่อยู่ในดิน
  • การใช้กับดัก เช่น กับดักแสงไฟ โดยจะใช้ในกรณีที่แมลงชนิดนั้นเล่นไฟ โดยอาจทำเป็นจอผ้ากางไว้แล้วเก็บแมลงเพื่อทำลาย หรือ ใช้แบบเป็นพัดลมเพื่อดูดแมลง

7. การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยการสำรวจศัตรูพืช คือ การศึกษาและสำรวจแมลงศัตรู เช่น การสุ่มนับแมลงศัตรูพืช หรือการศึกษาระดับเศรษฐกิจของแมลงศัตรูพืช

  • การนับศัตรูพืช สำรวจการระบาดของศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ ว่ามีมากน้อยเพียงใด
  • สุ่มสำรวจ 10 จุด เพื่อนับเปอร์เซ็นต์การระบาดของแมลง โดยเฉพาะแปลงปลูกที่มีขนาดใหญ่
  • การยึดระดับเศรษฐกิจ คือ เมื่อได้ข้อมูลการระบาดแล้ว ดูว่าระดับความเสียหายของพืชว่าอยู่ในระดับใด เช่น ถ้าพบหนอนกินใบสักมากกว่า 3 ตัวต่อต้น จะมากกว่าระดับเศรษฐกิจ ควรจะทำการป้องกันกำจัด


8. การคัดเลือกสายพันธุ์พืช คัดเลือกสายพันธุ์ หรือแม่ไม้ที่ดีมีคุณภาพ มีความต้านทานสูงทั้งทางด้านโรคและแมลง จะทำให้กล้าไม้มีความแข็งแรง

  • คัดเลือกเมล็ดจากแม่ไม้ที่มีคุณภาพ มีความแข็งแรง ปลอดภัยจากโรคและแมลง
  • คัดเลือกสายพันธุ์ จากสายพันธุ์ที่มีความความต้านทานสูง
  • คัดเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสม ข้อควรคำนึงอย่างง่ายๆ อาจจะดูว่าพื้นที่นั้นเคยมีการทดลองปลูกแล้วมีการเจริญเติบโตได้ดี หรือพื้นที่นั้นเป็นแหล่งที่เคยมีไม้ชนิดนั้นขึ้นในธรรมชาติได้ดีมาก่อน

9. การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยการใช้กฎหมาย มีกฎหมายสำหรับป้องกันและกำจัดแมลง เช่น มีพระราชบัญญัติกักกันพืช มีกฎหมายปราบศัตรูพืช เพื่อป้องกันแมลงศัตรูชนิดอื่นเข้ามาระบาดในประเทศไทย

จากวิธีการต่างๆข้างต้นจะเห็นได้ว่า การป้องกันการระบาดของแมลงมิใช่มีเพียงการใช้สารเคมีฉีดพ่นที่คนส่วนใหญ่มักปฏิบัติเพียงอย่างเดียว แต่การควบคุมการระบาดนั้นต้องประกอบไปด้วยหลายๆ ส่วนประกอบกัน เช่น ภาครัฐในเรื่องของข้อกฎหมายต่างๆ การให้ความรู้แก่เอกชนหรือเกษตรกรผู้ปลูก รวมถึงการดูแลในเรื่องของตลาด และภาคเอกชนควรมีการวางแผนล่วงหน้าเพื่อศึกษาข้อมูลทั้งในเรื่องของสายพันธุ์ พื้นที่ สภาพแวดล้อมรวมถึงการบำรุงดูแลรักษา ต้องมีความเข้าใจในเรื่องของระดับเศรษฐกิจว่าจำนวนของศัตรูพืชที่พบมีปริมาณมากน้อยขนาดไหน จึงจะเหมาะสมต่อการลงทุนป้องกันกำจัด การใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย รวมถึงการใช้สิ่งมีชีวิตควบคุมสิ่งมีชีวิตด้วยกันเอง ที่จะมีความยั่งยืนในการป้องกันกำจัด มีประสิทธิผลดีกว่า และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด










สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (1215 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©