-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 617 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร




หน้า: 2/2



เชื้อบาซิลลัส ทูริงเจนซิส
(บีที function 
Bacillus Thuringiensis (BT)

 

เชื้อบีที (Bt) คืออะไร?                         
“เชื้อ บีที” หรือ Bt ถูกค้นพบครั้งแรกใน ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 1901 ในรูปสปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis ที่พบตามธรรมชาติในดิน และ ได้พบว่าหนอนกินใบพืชบางชนิด (ตัวอ่อนของผีเสื้อ กลางวันและผีเสื้อกลางคืน) ตายเมื่อกินใบพืชหรือส่วน อื่นๆของพืช(ที่ถูกฉีดพ่นด้วยบีที)ในปริมาณเพียงเล็กน้อย.
                    
เชื้อแบคทีเรียบีทีที่มีอยู่เป็นพันๆ สายพันธุ์ มีพียงสองหรือสามสายพันธุ์เท่านั้นที่ได้ถูกนำมาผลิตเป็นสารชีวภัณฑ์กำจัด แมลง หรือจุลินทรีย์กำจัดแมลง ผลิตภัณฑ์ทางการค้าเหล่านี้ส่วนใหญ่ ประกอบด้วยผลึกโปรตีน และสปอร์ของเชื้อบีทีที่ มีชีวิต โดยใช้ชื่อการค้าต่างๆมากมาย ซึ่งมีบีทีอยู่สองสายพันธุ์ที่นิยมใช้ในการควบคุม หนอนศัตรูกะหล่ำปลี และหนอนศัตรูผักชนิดอื่น ๆ



เชื้อบีที (Bt) ทำงานอย่างไร?                       
ก่อน อื่นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจว่าเชื้อบีทีไม่ได้ออกฤทธิ์เหมือนสาร เคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชที่ใช้กันอยู่ทั่วๆไป เชื้อบีทีสามารถควบคุม แมลงศัตรูพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ไม่ได้มี ฤทธิ์แบบถูกตัวตาย หรือ “น๊อกดาว” คือศัตรูพืช ไม่ได้ถูกฆ่าตายในทันทีที่ฉีดพ่น แมลงจะต้องกินส่วนของพืชที่เคลือบด้วย เชื้อบีทีในปริมาณที่มากพอที่จะถูกฆ่าได้ เมื่อบีทีจำนวนมากพอถูกกิน พิษในผลึกโปรตีนจะไปทำให้ส่วนของ ปากและช่องท้องของหนอนเป็นอัมพาต  แมลงศัตรู พืชเริ่มมีการเคลื่อนไหวที่ช้าลง และหยุดกินอาหารในเวลาไม่กี่ นาทีถึงหนึ่งชั่วโมงหลังจากที่ได้รับเชื้อเข้าไปมากพอ พิษ ดังกล่าวจะทำลายผนังช่องท้องของแมลงภายในหนึ่งชั่วโมงทำให้สปอร์ของเชื้อบี ทีและชิ้นส่วนในช่องท้องแมลงหลุดลอด เข้าไปในส่วนที่เป็นช่องว่างของร่างกายแมลงทำให้แมลงตาย เนื่องจากขาดอาหาร และอาการเลือดเป็นพิษ และ/หรือ osmotic shock ภายใน 24–48 ชั่วโมง หนอนบางตัวที่ตายเนื่องจากเชื้อบีทีอาจมีสีซีด หรือเปลี่ยนเป็นสีดำ หนอนที่ตายแล้วมักจะเหี่ยวย่น และร่วงหล่นลงจากต้นพืชไม่สามารถสังเกตเห็นได้โดยง่าย


ใช้กำจัดหนอนชนิดต่าง ๆ เช่น

หนอนเจาะสมอฝ้าย หรือหนอนเจาะผลมะเขือเทศ

หนอนกินใบสัก

หนอนหญ้าแมวในปาล์มน้ำมัน

หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอมในผักต่าง ๆ 

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

หนอนเจาะขั้วลิ้นจี่

หนอนแปะใบส้ม และ

หนอนม้วนใบข้าว


เหมาะที่จะใช้ในแปลงปลูกผักปลอดสาร พิษ และ ใช้ทดแทนสารเคมีที่ราชการประกาศห้ามใช้ เช่น โคโนโครโตฟอส เมวินฟอสและเอ็นโดซัลแฟน เพราะปลอดภัยต่อแมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น แมลงห้ำ แมลงเบียน ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และปลาตลอดจนไม่มีพิษตกค้างในพืชและ สิ่งแวดล้อมปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค


อัตราการใช้ เชื้อ บีที 50-80 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร




หลักการและเทคนิคการใช้เชื้อ บีทีชีวภาพ

  • เชื้อ บีทีชีวภาพ  เป็นสิ่งมีวิตที่จะถูกทำลายโดยรังสีอุลตร้าไวโอเลต .(UV) จากแสงแดด ดังนั้นจึงควรฉีดพ่นตอนเย็นแดดอ่อนๆ จะช่วยยืดอายุเชื้อ บีทีชีวภาพ บนต้นพืชให้มีประสิทธิภาพอยู่ได้นาน 
  • แมลงศัตรูพืชบางชนิด เช่น หนอนใยผัก หนอนคืบกะหล่ำ มักอาศัยกัดกิเน อยู่ด้านล่างของใบ ดังนั้นการพ่นให้ครอบคุลมบริเวณส่วนบนและล่างของใบพืชด้วยจะจะสามารถควบคุม หนอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ปรับหัวฉีดเครื่องพ่นเชื้อ บีทีชีวภาพ ให้ละอองเล็กที่สุดจะช่วยใหละอองเชื้อเกาะผิวใบได้ดี 
  • ควรฉีดพ่นเชื้อ บีทีชีวภาพ เมื่อสำรวจพบหนอนตัวเล็ก จะให้ผลในการควบคุมดีกว่าในช่วงที่พบหนอนตัวใหญ่ 
  • ไม่ควรผสมเชื้อบีทีชีวภาพ กับสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ในคราวเดียวกัน เนื่องจากสารฯ บางชนิดอาจะทำให้เชื้อ บีทีชีวภาพ เสื่อมประสิทธิภาพลงได้
  • เนื่องจากเชื้อบีทีชีวภาพออกฤทธิ์ช้า ใช้เวลา 2-3 วัน หนอนจึงจะตาย ดังนั้นการใช้อัตราสูงกว่าคำแนะนำไม่ช่วยให้หนอนตายเร็วขึ้น การใช้อัตราต่ำกว่าคำแนะนำนจะส่งผลให้แมลงไม่ตายและทำความเสียหายแก่ผลผลิต จึงใช้เชื้อ บีทีตามอัตราที่แนะนำ
  • เมื่อพบการระบาดของหนอนรุนแรง ควรฉีดพ่นตามอัตราที่แนะนำโดยการพ่นติดต่อกัน 2 ครั้ง ระยะห่าง 3-4 วัน จะวยลดความเสียหายได้ดีกว่าการพ่นเพียงครั้งเดียว


การขยายเชื้อบีที เพื่อลดต้นทุนการผลิต

1. ปัญหาผักและสารพิษตกค้าง ผัก ที่ปลูกในไทยมีปัญหาสารพิษตกค้าง เกิดจากการดูดสารพิษในดิน และการฉีดพ่นสารพิษโดยเฉพาะอย่างยิ่งยาฆ่าแมลง เพราะแมลงทำลายผัก แมลงที่ทำให้ยามากและใช้บ่อยคือหนอนหนังเหนียว หนอนกระทู้ หนอนใยผัก หนอนคืบ การพ่นยาฆ่าแมลงเป็นเหตุให้มีอันตรายต่อผู้ฉีดพ่นยา, คนกินผัก ,สิ่งแวดล้อมและการส่งผักขายต่างประเทศ

          
2. การลดแมลงศัตรูผักโดยวิธีต่าง ๆ ใช้ แสงไฟล่อแมลงออกจากแปลงปลูก, ล่อด้วยกระดาษเหลืองกาวเหนียว, เพาะขยายตัวห้ำ ตัวเบียนกินแมลง, ปรับกรด-ด่างของดินให้ได้พีเอช 5.8-6.3 เพิ่มซิลิกอนที่ละลายได้ให้แก่ดินและใช้เชื้อโรคของหนอนเช่น ไส้เดือนฝอย ไวรัส และบักเตรี บาซิลัส ธูรินเจนสิส หรือเรียกยอๆ ว่า บีที

          
3. การใช้บีทีสำเร็จรูป มีผู้ผลิตเชื้อ บาซิลัส ธูรินเจนสิส สาย พันธุ์ต่าง ๆเพื่อใช้ฆ่าหนอนตามชนิดและสายพันธุ์ที่ระบุไว้ในฉลาก, มีทั้งชนิดผงและชนิดน้ำ, มีหลายบริษัททั้งผลิตในประเทศและนำเข้ามาจากต่างประเทศ ราคาจำหน่ายให้เกษตรกรส่วนมากอยู่ในราคาระดับแพง ตั้งแต่ราคากิโลกรัมละ 500–1000 บาท อัตราผสมน้ำมีตั้งแต่ 50-80 กรัมหรือซีซี /น้ำ 20 ลิตร ทำให้ 1 ไร่เสียเงิน 300-400บาท และมักให้ใช้ทุก 3-5 วัน นับว่าสิ้นเปลืองมาก การขยายเชื้อจะช่วยให้ประหยัดได้

          
4.ขยายเชื้อบีทีด้วยมะพร้าวอ่อน ใช้มะพร้าวอ่อน 1 ผล เจาะเปิดฝาแง้มพอใส่เชื้อลงไปได้ ใส่เชื้อบีที 1 ช้อนชา (1 ซอง) ปิดฝาทิ้งไว้ 1-2 วัน นำมาผสมน้ำได้ 20 ลิตร

          
5.ขยายเชื้อบีทีด้วยน้ำมะพร้าวแก่จากตลาด นำ น้ำมะพร้าวแก่จากตลาดมาต้มให้เดือด 5 นาที ช้อนฟองทิ้ง ตั้งให้เย็น ใส่เชื้อบีที 5 ช้อนชา (5 ซอง) ต่อน้ำมะพร้าว 15 ลิตร (ถ้าน้ำมะพร้าวไม่พอเติมน้ำเปล่าจนได้รวม 15 ลิตรก่อนต้ม) ให้อากาศแบบที่ใช้ในตู้ปลา 24 ชั่วโมง,นำไปผสมกับน้ำได้รวม 100 ลิตร สำหรับฉีดพ่น

          
6. ขยายเชื้อบีทีด้วยนมข้นหวานและน้ำตาลทราย ใช้ น้ำ 15 ลิตร เติมนมข้นหวาน 1 กระป๋อง น้ำตาลทราย 3 ช้อน เชื้อบีที 5 ช้อนชาหรือ 5 ซอง ให้อากาศแบบตู้ปลา 24 ชั่วโมง สามารถใช้ผสมน้ำได้ 100 ลิตรหรือ 5 ปี๊ป

          
7. ขยายเชื้อบีทีด้วยไข่ไก่สด ใช้ น้ำ 15 ลิตร ไข่ไก่ 5 ฟอง เชื้อบีที 5 ช้อนชาหรือ 5 ซอง สเม็คไทต์ 5 ขีด (500 กรัม) น้ำมันพืช 1.5-2 ช้อนชา เป่าอากาศแบบตู้ปลา 24 ชั่วโมง ใช้ผสมน้ำ 5 ปี๊ป (100 ลิตร )

          
8. ขยายเชื้อบีทีด้วยแป้ง อยู่ระหว่างการทดลอง

          
9. ฉีดพ่นตอนเย็น เพื่อป้องกันเชื้อถูกทำลายด้วยยูวีในแสงแดด

          
10. ฉีดพ่นเปียกชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ เพื่อให้หนอนสามารถกินเชื้อบีทีที่ขยายออกมาได้มากเท่าที่จะมากได้

          
11. การเปลี่ยนแปลงในหนอน วัน แรกไม่พบหนอนตาย แต่เริ่มเชื่องช้าลง วันที่ 2 หนอนเล็กๆเริ่มตายมาก วันที่ 3-4 หนอนตายเกือบหมด ยกเว้นหนอนตัวโต ๆ แบบหนอนหนังเหนียวตัวใหญ่ แต่หยุดการกินอาหารไม่ทำลายพืชอีก ตามรายงานหนอนจะไม่กลับมารบกวนอีกนับ 20 วันขึ้นไป

         

หนอนจะกินเชื้อ บีที เข้าไป จึงจะออกฤทธิ์ทำลายแมลง โดยทั่ว ๆ ไปจะทำลายเฉพาะตัวอ่อนของแมลงเท่านั้น เช่น ตัวหนอนหรือลูกน้ำยุงลาย จะไม่ทำลายศัตรูที่เป็นไข่และตัวเต็มวัย ยกเว้นเชื้อบีทีบางสายพันธุ์ที่ทำลายทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของด้วงปีก แข็งบางชนิด เมื่อหนอนกินเชื้อบีทีเข้าไปในกระเพาะ น้ำย่อยในกระเพาะมีฤทธิ์เป็นด่างค่อนข้างสูงจะย่อยสลายสารพิษซึ่งอยู่ในรูป protoxin ให้เป็น active toxin (สารพิษแท้จริง) ซึ่งจะเข้าทำลายเซลล์เยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร ทำให้ระบบการย่อยและระบบทางเดินอาหารถูกทำลาย แมลงไม่สามารถกินอาหารได้ เคลื่อนไหวช้าลง ระดับความเป็นกรด-ด่างภายในลำตัวเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้เป็นอัมพาต ขากรรไกรค้าง สปอร์ของบีทีสามารถไหลผ่านจากรูแผลบนผนังกระเพาะเข้าสู่ระบบเลือด จะขยายทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้โลหิตเป็นพิษ แมลงจะตายในระยะเวลา 2-3 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของหนอนและปริมาณเชื้อที่กินเข้าไป



http://fws.cc/balaparagon/index.php?action=printpage;topic=127.0







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (2346 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©