-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 555 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร








 

'สุมิตรา ภู่วโรดม' 'อัพเกรดผลไม้' ช่วยชาติ

“ธาตุอาหารมีความสำคัญกับสิ่งมีชีวิต ทุกชนิด ทั้งพืช สัตว์ และคน แม้ว่าจะต้องการ วันละนิดเดียว แต่ถ้าขาดหรือได้รับไม่เพียงพอ สิ่งมีชีวิตก็จะมีปัญหา”...เป็นการระบุของ รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม นักวิชาการที่ปัจจุบันมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรของไทยด้วย “ธาตุอาหาร” ซึ่งเรื่องราวของนักวิชาการายนี้ และรวมถึงเรื่องธาตุอาหารในผลิตผลทางการเกษตร ก็มีแง่มุมน่าสนใจ

ทีม “วิถีชีวิต” มีโอกาสพบกับ รศ.ดร.  สุมิตรา ภู่วโรดม ที่ จ.จันทบุรี หนึ่งในพื้นที่ที่ บริษัท ผาแดง อันดัสทรี จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบธุรกิจเหมืองแร่ และโรงถลุงแร่สังกะสีเพื่อผลิตเป็นโลหะสังกะสีแท่งบริสุทธิ์ และโลหะสังกะสีผสม เข้าไปสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาผลผลิตของเกษตรกรผ่านทางนักวิชาการ ซึ่งก็เป็นหนึ่งในโครงการภาคเอกชนที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ซึ่งมีรากฐานของประเทศคือภาคเกษตรกรรม
   
รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม ผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์ดินและพืช จุลชีววิทยาดิน อายุ 58 ปี เป็นอาจารย์อยู่ที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) มาตั้งแต่ปี 2529 ถึงปัจจุบัน เป็นนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ “งานวิจัยด้าน ดินและปุ๋ยในไม้ผล” 
   
นักวิจัยด้านดินและปุ๋ยในไม้ผลท่านนี้ จบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะเกษตร ศาสตร์ สาขาวิชาการเกษตร (เกียรตินิยมอันดับ 2) มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ปริญญาโท สาขาวิชาปฐพีวิทยา และวิศวกรรมทางน้ำ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และปริญญาเอก สาขาวิชาจุลชีววิทยาทางดิน จากมหาวิทยาลัยรัทเจอร์  รัฐนิวเจอร์ซีย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งนอกจากงานสอนหนังสือแล้ว ปัจจุบัน รศ.ดร.สุมิตรายังได้ทำงานวิจัยภายใต้ชุดโครงการ “ความต้องการธาตุอาหาร การจัดการธาตุอาหาร และการวิเคราะห์ดินและพืช ในสวนมังคุด สวนทุเรียน และสวนสละ”  รวมทั้งการแก้ปัญหาเนื้อแก้วและยางไหลในมังคุด การแก้ปัญหาอาการหัวยุบหัวดำในสละโดยการใช้ธาตุอาหารที่เหมาะสม โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยก็ร่วมสนับสนุน
   
ก่อนหน้านี้ รศ.ดร.สุมิตรา ได้รับทุนทำงานวิจัยสาขาความอุดมสมบูรณ์ของดิน และธาตุอาหารพืช ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐด้านเกษตร ศาสตร์และสัตวแพทย์ ที่โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เป็นเวลา 15 เดือน
   
นับว่าเป็น ผู้เชี่ยวชาญพิเศษคนหนึ่งของเมืองไทย ในด้านธาตุอาหารพืช โดยเฉพาะไม้ผล ไม้ยืนต้น การวิเคราะห์ดินและพืชเพื่อเป็นแนวทางในการใส่ปุ๋ย โดยมีประสบการณ์ทั้งการสอนและภาคสนามกว่า 20 ปี และกำลังจะได้รางวัลคนทำงานวิจัยด้านการเกษตรจากธนาคารกรุงเทพในเร็ว ๆ นี้ด้วย
   
กับความสนใจในเรื่องธาตุอาหารในพืชผลไม้นั้น รศ.ดร.สุมิตราเล่าว่า เมื่อก่อนทำแต่งานธาตุอาหารในข้าว ซึ่งทำเป็นฤดู ๆ ไป แต่จุดเปลี่ยนอยู่ที่การได้ไปประชุมเชิงปฏิบัติการที่ประเทศฟิลิปปินส์ เรื่องการวิเคราะห์ดิน พืช เพื่อใส่ปุ๋ยไม้ผล ซึ่งได้พบกับนักวิจัยผู้บรรยายชาวไต้หวันคนหนึ่งชื่อ ซูซาน เชง ซึ่งทำวิจัยเรื่องส้ม นักวิจัยชาวไต้หวันคนนี้เป็นคนบอกชาวสวนส้มว่าทำสวนแบบเดิม ไม่ถูก และบอกวิธีการที่ถูกต้อง ซึ่งชาวสวนส้มก็เชื่อ และเมื่อได้คุยกันก็ได้ถามนักวิจัยคนนั้นว่า “ทำไมคนไต้หวันเชื่อคุณ?” ซึ่งนักวิจัยคนนั้นตอบมาว่า “เพราะฉันเก่งกว่าเกษตรกร!!” อย่างไรก็ตาม งานวิจัยด้านสวนผลไม้ทุก อย่างนั้นเป็นงานที่ต้องใช้เวลาถึงจะตอบได้ว่าสิ่งที่นักวิจัยแนะนำถูกหรือไม่ถูก จึงมักได้รับคำปรามาสมาตลอดว่าทำสวนเป็นหรือ? ซึ่งต่างจากงานวิจัยที่เกี่ยวกับข้าว ซึ่งทำกันช่วงสั้น ๆ ผลลัพธ์จะเห็นชัดมากกว่า ส่วนสวนผลไม้มีอายุยาวนานกว่าอายุคนอีก ดังนั้น ทั้งเรื่องการปรับปรุง หรือการเพิ่มเติมธาตุอาหาร จึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา
 
“ประทับใจกับคำพูดนั้นมาก จึงกลับมาทำงานวิจัยไม้ผล และพยายามนึกถึงคำพูดคำนั้นตลอดเวลาที่ทำงาน และเข้าใจว่าเหตุที่ชาวบ้านเชื่อนักวิจัย เพราะนักวิจัยคนนั้นได้รับการยอมรับ”
   
อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.สุมิตราบอกว่า เมื่อมาลุยงานเรื่องธาตุอาหารในไม้ผลในช่วงแรก ๆ ชาวบ้านก็ไม่ค่อยสนใจนัก ชาวบ้านหรือชาวสวนต้องฟันฝ่ากับทัศนคติเดิม ๆ ใส่ปุ๋ยสูตรเดิม ไม่ได้สนใจเรื่องธาตุอาหารอื่น ๆ ที่จะช่วยให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น หรือลดความเสียหายของสวนอันเกิดจากการใส่ปุ๋ยแบบไม่มีประสิทธิภาพ
   
“ปีแรกเมื่อเริ่มบรรยายเรื่องการใส่ปุ๋ย การใช้ธาตุอาหาร ชาวบ้านก็นั่งฟังไปกินกาแฟไป กินอาหารไป ไม่ได้สนใจ ซึ่งเราก็โมโหนะ แต่ก็ไม่ได้ท้อ พอไปอีกปี ที่สองเขาก็บอกว่ามาพูดเรื่องเดิม และถามเราว่าอาจารย์ทำสวนเป็นหรือเปล่า? ที่บ้านอาจารย์มีสวนหรือเปล่า? ซึ่งเราก็บอกว่า ไม่มีสวน ทำสวนไม่เป็น แต่การทำงานของเราเหมือนกับหมอ ซึ่งเราสามารถวินิจฉัยโรคได้ และรู้ว่าต้องกินยาอะไรโรคถึงหายร่างกาย ถึงแข็งแรง”
   
แม้ว่าปีแรกจะไม่ค่อยมีคนเชื่อ แต่ก็มีคนนำไปลองคิด ลองทำ ประกอบกับเกิดเหตุการณ์ปุ๋ยราคาแพง และบริษัทปุ๋ยต่างชาติก็ไม่มีปุ๋ยจะขาย ดังนั้น สมาคมผู้ผลิตปุ๋ยโลก ก็บอกกับเกษตรกรในปีนั้นว่า การแก้ปัญหาปุ๋ยแพงนั้น คือต้องใส่ปุ๋ยให้ถูก เพื่อผลผลิตจะได้มีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อทำแล้วได้ผล จึงเริ่มมีคนเชื่อมากขึ้น
   
“เหตุที่ชาวบ้านชาวสวนไม่เชื่อเราแต่แรก เพราะ 1.ไม่มีความรู้ และ 2.ความรู้เรื่องธาตุอาหารมีจำกัด ที่สำคัญไม่เคยได้เรียนรู้ มีแต่ทำตามที่ทางราชการบอก และทำตาม ๆ กันมา ดังนั้น การให้ความรู้เรื่องธาตุอาหารของเราจึงเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าการทำสวนไปเลย” ...รศ.ดร.สุมิตราระบุ
   
“มีการศึกษามานานกว่า 200 ปีมาแล้ว แตกแยกขยายสาขาออกไปเรื่อย ๆ เพราะอาหารคือสัตว์และพืช เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องกิน จึงมีการศึกษาต่อเนื่องมาตลอดในทุก ๆ พืชผลที่กินได้”...เป็นอีกคำกล่าวของ รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม ซึ่งก็คงจะสะท้อนได้ว่านักวิชาการท่านนี้จะเดินหน้าศึกษาวิจัยทางด้านนี้ต่อไป...
   
และก็น่าจับตาการพลิกโฉมสวนไม้ผลในอนาคต.


เติมสังกะสีพัฒนามังคุด

   
“มังคุด-ราชินีแห่งผลไม้” ก็เป็นหนึ่งในผลไม้ที่ บริษัท ผาแดง อันดัสทรี ให้การสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพผ่านทางนักวิชาการ ซึ่ง รศ.ดร.สุมิตราระบุว่า การพัฒนามังคุดมีความสำคัญ เพราะเป็นผลไม้ที่ทุก ๆ คนโดยเฉพาะชาวต่างชาติทั่วโลกรอทาน 1 ปีมีหนเดียว ประเทศไทยประเทศเดียว ปริมาณไม่อั้น ราคาจ่ายเต็มที่ แต่คุณภาพต้องดีตามราคา เป็นโจทย์ใหญ่ของเกษตรกรที่อยากขาย แต่ขายไม่ได้เพราะทำตามเงื่อนไขไม่ได้ เพราะมีเงื่อนไขว่าเสียได้ไม่เกิน 20% แต่ส่วนมากจะเกิน และปีนี้ก็เสียถึง 60% เพราะอากาศร้อนมาก
   
“ในอดีตเราส่งออกมังคุดในรูปแบบมังคุดแช่แข็ง ซึ่ง   ปีก่อนหน้าโน้นมีออร์เดอร์มังคุดสดจากญี่ปุ่นถึง 130 ตัน ในราคา กก.ละ 60 บาท (ในประเทศญี่ปุ่นขายมังคุดสดผลละ 60 บาท) แต่ปรากฏว่าเสียเยอะ ปีที่แล้วออร์เดอร์เหลือเพียง 30 ตัน ซึ่งปัญหาใหญ่คือ เนื้อแก้ว ยางไหล ซึ่งเราก็ต้องวิเคราะห์สาเหตุ และค่อย ๆ แก้”
   
การทำวิจัยเรื่องไม้ผล ทำให้ รศ.ดร.สุมิตราต้องบุกป่าฝ่าสวนบ่อยครั้ง ซึ่งนับแต่ได้รับการยอมรับจากชาวสวนมังคุดที่จันทบุรี ในเรื่องการ “เติมแร่สังกะสี” เพื่อแก้ใบแคระแกร็น เพื่อเพิ่ม-พัฒนาคุณภาพผลผลิต ก็ไม่มีเลยที่จะถูกไล่จากสวน มีแต่จะได้รับการเชื้อเชิญให้เข้าไปดูสวน ยกตัวอย่างสวนของ สงวน บุญญฤทธิ์ ซึ่งเป็นเกษตรกรในเครือข่ายกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมังคุดเพื่อการส่งออก เป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้าคนหนึ่ง
   
รศ.ดร.สุมิตรา บอกว่า สวนของแต่ละคนไม่ใช่ว่าจะเข้าไปได้ง่าย ๆ สบาย ๆ ทั้งเหนื่อย ทั้งร้อน แถมโดนยุงกัดอีกต่างหาก  แต่ก็ต้องเข้า เพราะในนั้นมีปัญหาที่ท้าทายมากปัญหาหนึ่งรอให้ไปวิเคราะห์เพื่อแก้ไข
   
“คิดว่าเป็นปัญหาที่ท้าทายมาก และปีนี้แม้ว่าเป็นปีที่แย่ของชาวสวน แต่ก็ถือว่าเป็นปีทองของงานวิจัยเลย เพราะอากาศร้อนจัดทำให้เรารู้ว่าจะต้องแก้ปัญหาอย่างไรต่อไปในอนาคต”.

สุภารัตน์ ยอดศิริวิชัยกุล : รายงาน


ที่มา  :  เดลินิวส์









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (745 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©