-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 178 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

กาแฟ




หน้า: 3/3



บุญมา ภูผาหมอก

กาแฟ จังหวัดเลย เริ่มปลูกกันแล้ว ที่นาด้วง ได้ผลดี


สมัยเก่าก่อน ภาพของกาแฟ ดูจะไม่ดีนัก ถูกมองว่าเป็นของมึนเมา ยุคใหม่นี้ งานวิจัยหลายครั้งหลายหนพบว่า กาแฟมีประโยชน์ต่อร่างกาย ปัจจุบัน กาแฟ จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งในเมืองใหญ่และต่างจังหวัด สังเกตง่ายๆ ปั๊มน้ำมันทุกปั๊มต้องมีซุ้มกาแฟสด

หลักสูตรอบรมอาชีพ ของมติชน มีอบรมกาแฟหลายรูปแบบ อบรมมานานปี แต่ไม่มีทีท่าว่าจะตัน มีแต่คนจะมาเรียนเพิ่มขึ้น

การตื่นตัวทางด้านการท่องเที่ยว มีส่วนสำคัญไม่น้อย ที่ทำให้ธุรกิจกาแฟบูม ผู้คนเดินทางมักแวะจิบกาแฟ ทั้งร้อนและเย็น ใครที่ไปท่องเที่ยวส่วนตัว อาจจะซื้อหากันแก้วสองแก้ว ส่วนไปเป็นหมู่คณะว่ากันทีละ 20-30 แก้ว เจ้าของร้านต้องชงจนมือหงิก แต่ก็ชอบเพราะสนุกและได้เงิน

เมื่อกาแฟได้รับความนิยม จึงสร้างงานทำเงินเป็นลูกโซ่ นับตั้งแต่เกษตรกรผู้ปลูก ร้านขายปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ผู้ค้ากาแฟคนกลาง เจ้าของร้านกิจการกาแฟ พนักงานเสิร์ฟ ผู้ผลิตขนมขบเคี้ยวที่กินกับกาแฟ

รูปแบบหนึ่งที่ขายกันเป็นล่ำเป็นสันคือ กาแฟกระป๋อง ทุกวันนี้มีหลายยี่ห้อ

แหล่งผลิตกาแฟของบ้านเรานั้น แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ

กลุ่มแรก ปลูกกันทางใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป สายพันธุ์ที่ปลูกแล้วได้ผลดีคือ กาแฟโรบัสต้า

กลุ่มที่สอง ปลูกกันทางภาคเหนือ คือพื้นที่สูงนั่นเอง อย่างพื้นที่เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ดอยมูเซอ จังหวัดตาก รวมทั้งทางเชียงใหม่ เชียงราย

เมืองเลย...เริ่มสนใจกาแฟอย่างจริงจัง
ในยุคเก่าก่อนเมื่อกว่า 50 ปีมาแล้ว ที่จังหวัดเลย พบต้นกาแฟตามสวนหลังบ้าน ปลูกกันบ้านละ 2-3 ต้น ผู้ปลูกมักใช้ใบอ่อนมากินกับลาบ หรือไม่ก็กินเป็นใบเมี่ยง ส่วนผลสุกนั้นชาวบ้านไม่ได้นำมาทำเป็นกาแฟชงแต่อย่างใด มีก็แต่เด็กๆ ที่นำผลสุกมาอมๆ ดูดกินความหวานของเมล็ด แล้วคายทิ้ง เข้าใจว่า พืชชนิดนี้นำเข้ามาจากทางลาว เพราะลาวมีการปลูกกาแฟมาก ลาวรับเทคโนโลยีมาจากฝรั่งอีกทีหนึ่ง เขตที่มีการปลูกกาแฟมากปัจจุบันอยู่ที่แขวงจำปาสัก ผลิตผลสามารถส่งออกทำรายได้ให้ดีมาก

ในยุคใหม่ขึ้นมาหน่อย มีการวิจัยกาแฟอยู่ที่สถานีวิจัยเกษตรที่สูงภูเรือ หน่วยงานของกรมวิชาการเกษตร ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อใหม่แล้ว บริเวณรอบๆ สถานีเหมาะอย่างยิ่งที่จะปลูกกาแฟ แต่ก็มีไม่มากนัก สาเหตุอาจจะเป็นเพราะว่าความนิยมในวงกว้างยังไม่เกิด ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ต่างจากยางพารา ที่คนส่วนใหญ่ปลูก ก็จะทำตามๆ กัน โดยที่รัฐไม่ต้องไปทำอะไรมาก ทุกหย่อมย่าน ลึกไปในซอกหลืบหินผาห่างไกล จะเห็นต้นยางพาราเต็มไปหมด

ที่จังหวัดเลย โดยเฉพาะอำเภอที่อยู่ห่างไกลตัวเมืองไม่มากนัก เช่น ท่าลี่ เชียงคาน ปากชม เกษตรกรมีความก้าวหน้ามาก เขามักจะผลิตสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ อย่าง ยางพารา ที่บ้านกกดู่ เขากรีดยางมานานกว่า 20 ปีแล้ว ก่อนโครงการอีสานเขียวเป็นไหนๆ

ถึงคราวมะขามหวานโด่งดัง เกษตรกรปลูกมะขามหวานกันเป็นการใหญ่ ปรากฏว่าผลผลิตดีมาก แต่การตลาดไม่ดี หลังๆ จึงมีการผสมผสานการผลิตเข้าไป ยางพารานั้นแน่นอนได้รับความนิยมและสร้างรายได้ให้ดี บางหมู่บ้านที่ปลูกยางพารากันมาก ยามมีงานบุญ ล้มวัวกัน 1 ตัว ต่อ 3 หลังคาเรือน

เพราะเกษตรกรมีความก้าวหน้านี่เอง งานผลิตระยะหลังๆ จึงปรับเปลี่ยน ไม่เสี่ยงทำเดี่ยวๆ อย่างสมัยก่อนแล้ว ที่เห็นอยู่คือเกษตรกรปลูกยางพารามักจะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทำนา ปลูกปาล์มน้ำมัน และที่ใหม่สดๆ ร้อนๆ คือการปลูกกาแฟ จำนวนที่ปลูกกันทุกวันนี้ น่าจะมากกว่า 1,000 ไร่

นักเกษตรแม่โจ้ ศึกษาและเผยแพร่
ผู้อ่านหลายท่านคงรู้จักเกษตรกรหัวใจเพชรคนนี้กันบ้างแล้ว เขาผู้ที่จะกล่าวถึงคือ คุณเมฆ จันทะมน หรือ "เมฆ เมืองเลย"

คุณเมฆ เป็นผู้ถ่องแท้เรื่องปาล์มน้ำมัน สิ่งที่เขาได้ความรู้มา เป็นการปฏิบัติจริง ณ แดนใต้ ต่อมาเขานำความรู้ที่ได้ ออกเผยแพร่ความรู้ให้คนท้องถิ่น โดยที่ผลงานออกมาแล้ว เกษตรกรขายผลผลิตได้ ผู้ประกอบการบีบน้ำมันไปจำหน่ายได้ดีที่ปทุมธานีและชลบุรี ผู้ประกอบกิจการบางรายในท้องถิ่นสามารถนำน้ำมันปาล์มไปแปรรูปเป็นไบโอดีเซลเติมรถยนต์วิ่งได้ แต่เนื่องจากราคาน้ำมันดีเซลยังไม่สูงนัก ตรงส่วนนี้จึงยังพัฒนาไม่มาก

เรื่องราวของ กาแฟ คุณเมฆมีประสบการณ์ไม่น้อย สมัยที่เรียนอยู่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เขาเดินทางไปตามดงดอยต่างๆ เมื่อลงไปทางใต้ก็ไปพบเจอโรบัสต้า

จนกระทั่งมาอยู่ท้องถิ่นบ้านเกิด เขาพบว่า กาแฟปลูกได้ดีพอสมควร ในเขตพื้นล่างจังหวัดเลย

คุณเมฆ เล่าว่า ที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย สามารถปลูกกาแฟและเก็บผลผลิตมาหลายปีแล้ว พื้นที่บริเวณนั้นมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 300-400 เมตร ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยทั่วไป เมื่อเขาเห็นตัวอย่าง จึงได้นำเมล็ดมาเพาะและปลูกในเขตอำเภอเมือง แรกๆ ตั้งใจว่าจะปลูกเอง แต่เพราะเพื่อนบ้านสนใจ รวมทั้งผู้ที่ปลูกปาล์มน้ำมันสนใจ เขาจึงตอบสนองโดยการนำเมล็ดพันธุ์ชั้นดีจากดอยอินทนนท์มาเพาะเผยแพร่

เพาะปลูกกันอย่างไร
นักเกษตรจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้อธิบายว่า เมล็ดพันธุ์กาแฟที่ตนเองนำมาเพาะเป็นสายพันธุ์ลูกผสม "อาราบิก้าคาติมอร์" ทนทานต่อโรคราสนิม ให้ผลผลิตสูง ซึ่งจริงๆ แล้ว พื้นที่เหมาะสมในการปลูกกาแฟอาราบิก้า สูงจากระดับน้ำทะเลราว 700 เมตร ในเขตจังหวัดเลย ที่สูงขนาดนี้อยู่ที่อำเภอภูเรือ ด่านซ้าย และนาแห้ว แต่ปัจจัยบางอย่างไม่เพียงพอ เช่น น้ำ รวมทั้งพื้นที่สูงมากๆ เป็นที่ป่าสงวนฯ

ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 700 เมตร จะมีอากาศหนาวเย็นยาวนาน ผลกาแฟสุกช้า ส่งผลทำให้สารคาเฟอีนสะสมในเมล็ดมาก ขายได้ราคาดี

ในสภาพผืนดินสูงจากระดับน้ำทะเล 300-400 เมตร อาจจะส่งผลให้ผลกาแฟสุกแก่เร็วขึ้น การสะสมของสารกาแฟอาจจะน้อยกว่าบนที่สูง...นี่คือ ข้อเท็จจริงที่คุณเมฆอยากจะเน้นให้ทราบและพิจารณากัน

คุณเมฆ บอกว่า ที่สูงและที่ต่ำ ไม่มีผลต่อผลผลิตต่อไร่ของกาแฟ

คุณเมฆ อธิบายว่า พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกกาแฟได้ 400 ต้น หลัง 3 ปีไปแล้วเก็บผลผลิตได้ ซึ่งจะได้ราว 600-1,000 กิโลกรัม ต่อไร่ สนนราคาที่ขายได้ กิโลกรัมละ 60-150 บาท

หากเกษตรกรพื้นล่างผลิตกาแฟได้ 600 กิโลกรัม ต่อไร่ แล้วขายได้ไม่สูงเท่างานปลูกในที่สูง ขายสักกิโลกรัมละ 80 บาท ก็จะมีรายได้ 48,000 บาท ต่อไร่

หากเกษตรกรพื้นล่างผลิตกาแฟได้ 800 กิโลกรัม ต่อไร่ แล้วขายได้ไม่สูงเท่างานปลูกในที่สูง ขายสักกิโลกรัมละ 100 บาท ก็จะมีรายได้ 80,000 บาท ต่อไร่

คุณเมฆ คิดคำนวณรายได้ต่ำๆ แต่ก็น่าสนใจ เหตุที่คิดราคาไม่สูง เป็นเพราะผลผลิตกาแฟที่ต่ำจะต่างจากที่สูง คือมีสารต่ำกว่า

นักเกษตรแม่โจ้ให้แนวคิดว่า แถบจังหวัดเลย ไม่เหมาะที่จะปลูกกาแฟเป็นผืนใหญ่ๆ แต่ควรปลูกผสมผสาน ส่วนหนึ่งเป็นพืชแซม รายละ 1-2 ไร่ หากปลูก 2 ไร่ แล้วได้เงินแสน ก็สามารถอยู่ได้ แถมส่งลูกเรียนได้อีกต่างหาก

กรณีการแซมนั้น สามารถแซมในยางพาราที่ปลูกใหม่ กาแฟเก็บเกี่ยวได้เมื่อปีที่ 3 ปลูกพร้อมยางพารา เมื่อยางพาราอายุ 10 ปี พุ่มใบแน่นทึบ ก็ตัดต้นกาแฟทิ้ง ดังนั้น ผู้ปลูกกาแฟสามารถเก็บผลผลิตได้นาน 7 ปี

พืชอื่นก็ปลูกแซมได้ อย่างสวนมะขามหวาน สวนมะม่วง รวมทั้งพืชยืนต้นอื่นๆ
"ผมนำพันธุ์มาจากอ่างขาง เป็นพันธุ์แท้ต้านทานโรคราสนิม ตอนนี้ที่เลยปลูกได้ผล มีคนมาซื้อผลผลิตผลสดๆ ชั่งขาย กิโลกรัมละ 50 บาท เขานำไปสีแล้วตากแดดอีกทีหนึ่ง เรื่องต้นพันธุ์คนมาซื้อไปปลูกกันมากแล้ว มาจากหนองคาย ที่เลยนี่ก็เยอะ ทางนครไทย พิษณุโลก ผมมองว่าควรปลูกบ้านละไร่สองไร่ ใช้แรงงานในครัวเรือน จะมีรายได้เสริม ซึ่งจริงๆ แล้ว ก็ไม่น้อย"

คุณเมฆ แนะนำ และยังอธิบายอีกว่า
"วิธีการปลูกกาแฟอาราบิก้า ในพื้นที่ที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 700 เมตร ลงมานี้ จะทำให้กาแฟสุกเร็วขึ้น จากการที่มีอากาศหนาวสั้นกว่าที่ระดับน้ำทะเล 700 เมตร ขึ้นไป และจะส่งผลให้มีสารกาแฟลดลงตามไปด้วย แต่ราคาที่พ่อค้ารับซื้อก็ยังสูงกว่าบางสายพันธุ์อยู่ โดยพ่อค้าจะรู้ว่าจะขายกาแฟได้ราคาไหนนั้น เขาจะรู้เมื่อได้คั่วกาแฟให้สุกและได้ลองชงกาแฟชิมดู ก็จะคัดได้ว่า แหล่งกาแฟจากไหน เอาไปส่งที่ตลาดไหน และราคาจะอยู่ที่เท่าใด เป็นต้น การส่งเสริมปลูกกาแฟอาราบิก้าคาติมอร์ ของผมที่เมืองเลยนี้ ผมได้รับเมล็ดพันธุ์จากเพื่อนที่เป็นผู้อำนวยการดอยอ่างข่าง จังหวัดเชียงใหม่ ส่งมาให้เพาะเป็นต้นกล้าส่งเสริมให้เกษตรกรได้ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจอีกตัวหนึ่ง และสามารถแซมในสวนยางพาราที่ไม่ได้ปลูกพืชอื่นๆ แซมได้ด้วย โดยปลูกพร้อมกับยางพารา พออายุได้ 3 ปี กาแฟจะให้ผลผลิตก่อนยางพารา เก็บผลผลิตกาแฟได้ 7 ปี ยางพาราจะอายุได้ 10 ปี กาแฟก็จะได้ผลผลิตที่น้อยจากการถูกยางพาราบังแสงหมด ก็เปลี่ยนเป็นได้รายได้จากยางพาราต่อไป แต่ถ้าปลูกกลางแจ้งก็จะเก็บผลผลิตกาแฟได้นานถึง 20 ปี ขึ้นกับการดูแลตัดแต่งกิ่งและการจัดการที่ดีด้วย การปลูกกาแฟ จะปลูก ระยะ 2x2 เมตร ได้ 400 ต้น ต่อไร่ โดยจะให้กาแฟมีใบแท้ 6-8 คู่ ก็จะให้เกษตรกรเอาไปปลูกเลย โดยให้ไปปรับตัวทนแล้งในแปลงปลูกเอง เพื่อไม่ให้ต้นกาแฟชะงักการเจริญเติบโตมากเกินไป อายุ 8 ปีขึ้นไป การแต่งกิ่งก็จะทำ 50 เปอร์เซ็นต์ ก่อน โดยแต่งแถวเว้นแถว ปลูกกลางแจ้ง 1-3 ปี ก่อน ให้ผลผลิตก็ควรหาพืชแซมเป็นร่มเงาให้ด้วย เช่น มะละกอ กล้วย"

ผู้สนใจถามไถ่ คุณเมฆ จันทะมน เลขที่ 21 หมู่ที่ 3 ตำบลศรสองรัก อำเภอเมือง จังหวัดเลย 42100 โทร. (081) 964-1298 และ (083) 408-2868


กาแฟ
แหล่งปลูกที่เหมาะสมสำหรับกาแฟอาราบิก้าคือ พื้นที่ปลูกตั้งแต่เส้นรุ้ง 17 องศาเหนือ ขึ้นไป มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 700 เมตร ขึ้นไป มีความลาดเอียงไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์

ลักษณะดิน
ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ชั้นดินลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร มีความเป็น กรด-ด่าง 5.5-6.5 และระบายน้ำดี

สภาพภูมิอากาศ
มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 15-25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 60%

แหล่งน้ำ
อาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติ ปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,500 มิลลิเมตร ต่อปี มีการกระจายของฝน 5-8 เดือน มีแหล่งน้ำสะอาดและมีปริมาณพอที่จะให้น้ำได้ตลอดช่วงฤดูแล้ง

การปลูก
ต้นกล้าอายุตั้งแต่ 8-12 เดือน หรือมีใบจริงไม่น้อยกว่า 4-5 คู่

วิธีการตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งแบบต้นเดี่ยวของอินเดีย (Indian single stem pruning) หรือการตัดแต่งแบบทรงร่ม (Umbrella) เป็นวิธีการที่ใช้กับกาแฟอาราบิก้าที่ปลูกภายใต้สภาพร่มเงา โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1. เมื่อต้นกาแฟเจริญเติบโตจนมีความสูง 90 เซนติเมตร ตัดยอดให้เหลือความสูงเพียง 75 เซนติเมตร

2. เลือกกิ่งแขนงที่ 1 (primary branch) ที่อ่อนแอทิ้ง 1 กิ่ง เพื่อป้องกันยอดฉีกกลาง และต้องคอยตัดยอดที่จะแตกออกมาจากโคนกิ่งแขนงของลำต้นทุกยอดทิ้ง และกิ่งแขนงที่ 1 จะให้ผลผลิต 2-3 ปี ก็จะแตกกิ่งแขนงที่ 2 (Secondary branch) กิ่งแขนงที่ 3 (terriary branch) และกิ่งแขนงที่ 4 (quarternary branch) ให้ผลผลิตช่วง 1-8 ปี

3. เมื่อต้นกาแฟให้ผลผลิตลดลง ต้องปล่อยให้มีการแตกยอดออกมาใหม่ 1 ยอด จากโคนของกิ่งแขนงที่ 1 ที่อยู่สูงสุดหรือถัดลงมา และเมื่อยอดสูงไปถึงระดับ 170 เซนติเมตร ตัดให้เหลือความสูงเพียง 150 เซนติเมตร ตัดกิ่งแขนงที่ 1 ที่อยู่สูงสุดให้เหลือเพียง 1 กิ่ง ซึ่งจะสามารถให้ผลผลิตต่อไปอีก 8-10 ปี

การตัดแต่งแบบหลายลำต้น (Multiple stem pruning system)
วิธีการนี้ใช้กับต้นกาแฟอาราบิก้าที่ปลูกกลางแจ้ง โดยทำให้เกิดต้นกาแฟหลายลำต้น จากโคนต้นที่ถูกตัด แต่คัดเลือกเหลือเพียง 2 ลำต้น ซึ่งมีขั้นตอนปฏิบัติ ดังนี้

1. เมื่อต้นกาแฟสูงถึง 69 เซนติเมตร ให้ตัดยอดให้เหลือความสูงเพียง 53 เซนติเมตร เหนือพื้นดินมียอดแตกออกมาจากข้อโคนกิ่งแขนงที่ 1 จากคู่ที่อยู่บนสุด 2 ยอด จะต้องตัดกิ่งแขนงที่ 1 ทิ้งทั้ง 2 ข้าง

2. ปล่อยให้ยอดทั้ง 2 ยอด เจริญเติบโตขึ้นไปทางด้านบน ในขณะเดียวกันกิ่งแขนงที่ 1 ที่อยู่ต่ำกว่าความสูง 53 เซนติเมตร เริ่มให้ผลผลิต

3. กิ่งแขนงที่ 1 ซึ่งอยู่ต่ำกว่าความสูง 53 เซนติเมตร จะถูกตัดทิ้ง หลังจากที่ให้ผลผลิตแล้ว ในขณะเดียวกันกิ่งแขนงที่ 1 ที่อยู่ระดับล่างๆ ของลำต้นทั้งสองก็เริ่มให้ผลผลิต

4. ต้นกาแฟที่เจริญเป็นลำต้นใหญ่ 2 ลำต้น จะสามารถให้ผลผลิตอีก 2-4 ปี และขณะเดียวกันก็จะเกิดหน่อขึ้นมาเป็นลำต้นใหม่อีกบริเวณโคนต้นกาแฟเดิม ให้ปล่อยหน่อที่แตกใหม่เจริญเป็นต้นใหม่ ตัดให้เหลือเพียง 3 ลำต้น

5. ให้ตัดต้นกาแฟเก่าทั้ง 2 ต้นทิ้ง และเลี้ยงหน่อใหม่ ที่เจริญเป็นต้นใหม่ ซึ่งจะสามารถให้ผลผลิตได้อีก 2-4 ปี แล้วจึงตัดต้นเก่าเพื่อให้แตกต้นใหม่อีก

การให้ปุ๋ย
กาแฟ เป็นพืชที่ต้องการปุ๋ยค่อนข้างสูง โดยเฉพาะช่วงระยะเวลาเริ่มออกดอก ติดผล หากขาดปุ๋ยในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ซึ่งเป็นช่วงฤดูแล้ง ความชื้นในดินและในดอกกาแฟน้อย และอุณหภูมิสูง กาแฟจะแสดงอาการเป็นโรคยอดแห้ง (Die back) ไม่เจริญเติบโต และตายในที่สุด

สำหรับธาตุอาหารที่ต้นกาแฟต้องการ มีอยู่ 3 กลุ่ม คือ

- กลุ่มธาตุอาหารหลัก ได้แก่ N P K (Primary nutrients)

- กลุ่มธาตุอาหารรอง ได้แก่ Ca Ng S (secondary nutrients)

- ธาตุอาหารจุลธาตุ ได้แก่ Fe Mn Zn Cu B Mo และ Cl

ระดับความสูง 700-900 เมตร จากระดับน้ำทะเล ควรใส่ปุ๋ยช่วงเดือนพฤษภาคม กรกฎาคม และกันยายน

ระดับความสูง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ควรใส่ปุ๋ยช่วงเดือนพฤษภาคม สิงหาคม และตุลาคม

การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อคุณภาพของกาแฟ ได้แก่ เนื้อสารกาแฟ (Body) รสชาติ (Flavour) ความเป็นกรด (Acidity) และมีกลิ่นหอม (Aroma) หากเก็บผลที่ยังไม่สุก และช่วงเวลาในการเก็บไม่เหมาะสม นอกจากจะมีผลต่อคุณภาพ และรสชาติแล้ว ยังมีผลทำให้ต้นทุนการผลิต (ค่าแรงงาน) เพิ่มขึ้น

อายุการเก็บเกี่ยว
ผลกาแฟในแต่ละสภาพพื้นที่ปลูกไม่พร้อมกัน
- ระดับความสูง 700-900 เมตร จากระดับน้ำทะเล อายุการเก็บเกี่ยว (ตั้งแต่ติดผล-ผลสุก) ประมาณ 6 เดือน
- ระดับความสูง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล อายุการเก็บเกี่ยว (ตั้งแต่ติดผล-ผลสุก) ประมาณ 9 เดือน

วิธีการเก็บเกี่ยว
การเก็บทีละผลหรือทั้งช่อ โดยเก็บเฉพาะผลที่สุกในแต่ละช่อ หรือเก็บทั้งช่อก็ได้ หากผลสุกพร้อมกัน เป็นวิธีการที่จะสามารถควบคุมคุณภาพของกาแฟได้ดีที่สุด

ดัชนีการเก็บเกี่ยว

- ควรเก็บผลที่สุก 90-100 เปอร์เซ็นต์ คือ เมื่อผลมีสีแดงเกือบทั้งผล หรือทั่วทั้งผล หรือผลมีสีเหลืองเกือบทั้งผล หรือทั่วทั้งผล (บางสายพันธุ์ ผลสุกจะเป็นสีเหลือง)

- การทดสอบผลสุกพร้อมที่จะเก็บเกี่ยว โดยการปลิดผลกาแฟ แล้วใช้นิ้วบีบผล ถ้าผลสุกเปลือกจะแตกง่ายและเมล็ดกาแฟจะโผล่ออกมา

- การเก็บผลควรจะพิจารณาการสุกของผลบนแต่ละกิ่ง ที่ให้ผลในแต่ละต้น ว่ามีผลสุกมากกว่าร้อยละ 50 ในการเก็บผลผลิตครั้งแรก ซึ่งปกติการเก็บผลกาแฟจะต้องใช้เวลาเก็บประมาณ 2-4 ครั้ง

การแปรรูป
วิธีการแปรรูปมี 2 วิธี ที่นิยมปฏิบัติกัน คือ
1. การทำสารกาแฟโดยวิธีเปียก (Wet Method or Wash Method) เป็นวิธีการที่นิยมกันแพร่หลาย เพราะจะได้สารกาแฟที่มีคุณภาพ รสชาติดีกว่า ราคาสูงกว่าวิธีตากแห้ง (Dry method) โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการ 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. การปอกเปลือก (Pulping)
โดยการนำผลกาแฟสุกที่เก็บได้มาปอกเปลือกนอกทันที โดยเครื่องปอกเปลือก โดยใช้น้ำสะอาดขณะที่เครื่องทำงาน ไม่ควรเก็บผลกาแฟไว้นานหลังการเก็บเกี่ยว เพราะผลกาแฟเหล่านี้จะเกิดการหมัก (fermentation) ขึ้นมา จะทำให้คุณภาพของสารกาแฟ มีรสชาติเสียไป ดังนั้น หลังปอกเปลือกแล้วจึงต้องนำไปขจัดเมือก

2. การกำจัดเมือก (demucilaging)
เมล็ดกาแฟที่ปอกเปลือกนอกออกแล้ว จะมีเมือก (mucilage) ห่อหุ้มเมล็ดอยู่ จะต้องกำจัดออกไป ซึ่งมีวิธีการอยู่ 3 วิธี คือ

2.1 การกำจัดเมือกโดยวิธีการหมักตามธรรมชาติ (Natural Fermentation) เป็นวิธีการที่ปฏิบัติดั้งเดิม โดยนำเมล็ดกาแฟที่ปอกเปลือกออกแล้วมาแช่ในบ่อซีเมนต์ ขนาด 3x1.5x1.2 เมตร มีรูระบายน้ำออกด้านล่าง ใส่เมล็ดกาแฟประมาณ 3/4 ของบ่อ แล้วใส่น้ำให้ท่วมสูงกว่ากาแฟ แล้วคลุมบ่อด้วยผ้าหรือพลาสติคปิดปากบ่อซีเมนต์ ทิ้งไว้ 24-48 ชั่วโมง ในกรณีที่อุณหภูมิต่ำอากาศหนาวเย็น การหมักอาจจะใช้เวลา 48-72 ชั่วโมง จากนั้นปล่อยน้ำทิ้ง แล้วนำเมล็ดมาล้างน้ำให้สะอาด นำเมล็ดมาขัดอีกครั้งในตระกร้าที่ตาถี่ ที่มีปากตะกร้ากว้าง ก้นไม่ลึกมาก เมื่อขัดแล้วเมล็ดกาแฟจะไม่ลื่น แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งก่อนที่จะนำไปตาก

2.2  การกำจัดเมือกโดยการใช้ด่าง (Treatment with alkali) วิธีนี้จะใช้เวลาประมาณไม่เกิน 1 ชั่วโมง (โรบัสต้า 1 ชั่วโมง 30 นาที) โดยการนำเอาโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ความเข้มข้น 10% โดยใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) 1 กิโลกรัม/น้ำ 10 ลิตร เทลงในบ่อซีเมนต์ที่ใช้หมักเมล็ดกาแฟ หลังจากเทเมล็ดกาแฟ ประมาณ 250-300 กิโลกรัม และเกลี่ยให้เสมอกัน จากนั้นใช้ไม้พายกวนเมล็ดกาแฟเพื่อให้สารละลายกระจายให้ทั่วทั้งบ่อ ประมาณ 30-60 นาที หลังจากทิ้งไว้ 20 นาที แล้วตรวจสอบว่าด่างย่อยเมือกออกหมด หรือหากยังออกไม่หมดให้กวนอีกจนครบ 30 นาที แล้วตรวจสอบอีกครั้ง เมื่อเมือกออกหมดต้องนำเมล็ดกาแฟไปล้างด้วยน้ำสะอาด 3-4 ครั้ง ก่อนนำไปผึ่งแดดให้แห้ง

2.3  การกำจัดเมือกโดยใช้แรงเสียดทาน (Removal fo mucilage by friction) โดยใช้เครื่องปอกเปลือก ชื่อ "Aguapulper" สามารถจะกะเทาะเปลือกนอกและกำจัดเมือกของเมล็ดกาแฟในเวลาเดียวกัน แต่มีข้อเสียคือทำให้เมล็ดเกิดแผล ดังนั้น จึงควรคัดผลกาแฟให้มีขนาดใกล้เคียงกันมากที่สุด เพื่อลดความเสียหายของเมล็ดให้น้อยลง

3.  การตากหรือการทำแห้ง (Drying)

หลังจากเมล็ดกาแฟผ่านการล้างทำความสะอาดแล้ว นำเมล็ดกาแฟมาเทลงบนลานตากที่ทำความสะอาดแล้ว หรือเทลงบนตาข่ายพลาสติคบนแคร่ไม้ไผ่ เกลี่ยเมล็ดกาแฟให้กระจายสม่ำเสมอ ไม่ควรหนาเกิน 4 นิ้ว ควรที่จะเกลี่ยเมล็ดกาแฟวันละ 2-4 ครั้ง จะทำให้เมล็ดแห้งเร็วขึ้น และเวลากลางคืนควรกองเมล็ดเป็นกองๆ และใช้พลาสติคคลุมเพื่อป้องกันน้ำฝนหรือน้ำค้าง ใช้เวลาตาก ประมาณ 710 วัน เมล็ดจะมีความชื้นประมาณ 13%

4. การบรรจุ (Packing)

เมล็ดกาแฟที่ได้ควรเก็บไว้ในรูปของกาแฟกะลา (Parchment Coffee) เพราะจะสามารถรักษาเนื้อกาแฟและป้องกันความชื้นกาแฟได้ดี ควรบรรจุในกระสอบป่านใหม่ และควรกลับด้านในของกระสอบป่านออกมาผึ่งลมก่อนนำไปใช้ เก็บในโรงเก็บที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อับชื้น หรือมีกลิ่นเหม็น

5. การสีกาแฟกะลา (Hulling)

กาแฟกะลาที่จะนำไปจำหน่ายควรจะสีเพื่อเอากะลาออกด้วยเครื่องสีกะลา จะได้สารกาแฟ (Green Coffee) ที่มีลักษณะผิวสีเขียวอมฟ้า

2. การทำสารกาแฟโดยวิธีแห้ง (Dry method หรือ Natural method)

เป็นวิธีการที่ดำเนินการโดยนำเอาผลกาแฟ (Coffee Cherry) ที่เก็บเกี่ยวมาจากต้นแล้วนำมาตากแดด ประมาณ 15-20 วัน บนลานตากที่สะอาดและได้รับแสงแดดเต็มที่ เกลี่ยให้เสมอทั่วกัน และหมั่นเกลี่ยบ่อยครั้ง เมื่อผลแห้งจะมีเสียงของเปลือกกับเมล็ดกระทบกัน จึงนำมาเข้าเครื่องสีกาแฟ (Hulling) แล้วบรรจุในกระสอบที่สะอาด ข้อเสียของวิธีการนี้คือ สารกาแฟที่ได้จะมีคุณภาพต่ำกว่าการทำสารกาแฟโดยวิธีหมักเปียก

การคัดเกรดและมาตรฐาน
การคัดเกรด

สารกาแฟ (Green coffee) ที่ผ่านเครื่องสีเอากะลาออกแล้ว จึงนำมาคัดขนาดเพื่อแบ่งเกรด โดยใช้ตะแกรงร่อน ขนาดรู 5.5 มิลลิเมตร เพื่อแยกสารกาแฟที่สมบูรณ์ จากสารกาแฟที่แตกหัก รวมถึงสิ่งเจือปน เมล็ดกาแฟที่มีสีดำ (black bean) ซึ่งเกิดจากเชื้อราบางประเภท

ใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องที่ใช้แรงเหวี่ยง (Electronic Coffee Sorting Machine) เพื่อแยกสารกาแฟที่ดีออกจากสารกาแฟที่ไม่สมบูรณ์

มาตรฐานการแบ่งเกรดของสารกาแฟอาราบิก้าของไทย

เกรดของสารกาแฟอาราบิก้า

เกรด A ขนาด ขนาดของเมล็ดตั้งแต่ 5.5 มิลลิเมตร ขึ้นไป

สี สีเขียวอมฟ้า

เมล็ดแตกหัก มีเมล็ดไม่สมบูรณ์ หรือเมล็ดขนาดเล็กกว่า 5.5 มิลลิเมตร ไม่เกินร้อยละ 13

เมล็ดเสีย มีเมล็ดที่เป็นเชื้อราหรือมีสีผิดปกติ ไม่เกินร้อยละ 1.5

ความชื้น ไม่เกินร้อยละ 13

เกรด X - ลักษณะและคุณภาพเหมือน เกรด A ยกเว้นสี ซึ่งจะมีสีแตกต่างไปจากสีเขียวอมฟ้าหรือมีสีน้ำตาลปนแดง

เกรด Y - ลักษณะเมล็ดแตกหัก หรือเมล็ดกลมเล็กๆ (Pea berries) ที่สามารถลอดผ่านตะแกรง ขนาด 12.5 (5.5 มิลลิเมตร)

- มีสีเขียวอมฟ้า สิ่งเจือปน ไม่เกิน 0.5%
- ความชื้น ไม่เกิน 13%

หมายเหตุ ข้อมูลจาก กรมวิชาการเกษตร 


http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05050150853&srcday=2010-08-15&search=no 



บุญมา ภูผาหมอก

กาแฟ จังหวัดเลย เริ่มปลูกกันแล้ว ที่นาด้วง ได้ผลดี


สมัยเก่าก่อน ภาพของกาแฟ ดูจะไม่ดีนัก ถูกมองว่าเป็นของมึนเมา ยุคใหม่นี้ งานวิจัยหลายครั้งหลายหนพบว่า กาแฟมีประโยชน์ต่อร่างกาย ปัจจุบัน กาแฟ จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งในเมืองใหญ่และต่างจังหวัด สังเกตง่ายๆ ปั๊มน้ำมันทุกปั๊มต้องมีซุ้มกาแฟสด

หลักสูตรอบรมอาชีพ ของมติชน มีอบรมกาแฟหลายรูปแบบ อบรมมานานปี แต่ไม่มีทีท่าว่าจะตัน มีแต่คนจะมาเรียนเพิ่มขึ้น

การตื่นตัวทางด้านการท่องเที่ยว มีส่วนสำคัญไม่น้อย ที่ทำให้ธุรกิจกาแฟบูม ผู้คนเดินทางมักแวะจิบกาแฟ ทั้งร้อนและเย็น ใครที่ไปท่องเที่ยวส่วนตัว อาจจะซื้อหากันแก้วสองแก้ว ส่วนไปเป็นหมู่คณะว่ากันทีละ 20-30 แก้ว เจ้าของร้านต้องชงจนมือหงิก แต่ก็ชอบเพราะสนุกและได้เงิน

เมื่อกาแฟได้รับความนิยม จึงสร้างงานทำเงินเป็นลูกโซ่ นับตั้งแต่เกษตรกรผู้ปลูก ร้านขายปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ผู้ค้ากาแฟคนกลาง เจ้าของร้านกิจการกาแฟ พนักงานเสิร์ฟ ผู้ผลิตขนมขบเคี้ยวที่กินกับกาแฟ

รูปแบบหนึ่งที่ขายกันเป็นล่ำเป็นสันคือ กาแฟกระป๋อง ทุกวันนี้มีหลายยี่ห้อ

แหล่งผลิตกาแฟของบ้านเรานั้น แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ

กลุ่มแรก ปลูกกันทางใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป สายพันธุ์ที่ปลูกแล้วได้ผลดีคือ กาแฟโรบัสต้า

กลุ่มที่สอง ปลูกกันทางภาคเหนือ คือพื้นที่สูงนั่นเอง อย่างพื้นที่เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ดอยมูเซอ จังหวัดตาก รวมทั้งทางเชียงใหม่ เชียงราย



เมืองเลย...

เริ่มสนใจกาแฟอย่างจริงจัง


ในยุคเก่าก่อนเมื่อกว่า 50 ปีมาแล้ว ที่จังหวัดเลย พบต้นกาแฟตามสวนหลังบ้าน ปลูกกันบ้านละ 2-3 ต้น ผู้ปลูกมักใช้ใบอ่อนมากินกับลาบ หรือไม่ก็กินเป็นใบเมี่ยง ส่วนผลสุกนั้นชาวบ้านไม่ได้นำมาทำเป็นกาแฟชงแต่อย่างใด มีก็แต่เด็กๆ ที่นำผลสุกมาอมๆ ดูดกินความหวานของเมล็ด แล้วคายทิ้ง เข้าใจว่า พืชชนิดนี้นำเข้ามาจากทางลาว เพราะลาวมีการปลูกกาแฟมาก ลาวรับเทคโนโลยีมาจากฝรั่งอีกทีหนึ่ง เขตที่มีการปลูกกาแฟมากปัจจุบันอยู่ที่แขวงจำปาสัก ผลิตผลสามารถส่งออกทำรายได้ให้ดีมาก

ในยุคใหม่ขึ้นมาหน่อย มีการวิจัยกาแฟอยู่ที่สถานีวิจัยเกษตรที่สูงภูเรือ หน่วยงานของกรมวิชาการเกษตร ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อใหม่แล้ว บริเวณรอบๆ สถานีเหมาะอย่างยิ่งที่จะปลูกกาแฟ แต่ก็มีไม่มากนัก สาเหตุอาจจะเป็นเพราะว่าความนิยมในวงกว้างยังไม่เกิด ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ต่างจากยางพารา ที่คนส่วนใหญ่ปลูก ก็จะทำตามๆ กัน โดยที่รัฐไม่ต้องไปทำอะไรมาก ทุกหย่อมย่าน ลึกไปในซอกหลืบหินผาห่างไกล จะเห็นต้นยางพาราเต็มไปหมด

ที่จังหวัดเลย โดยเฉพาะอำเภอที่อยู่ห่างไกลตัวเมืองไม่มากนัก เช่น ท่าลี่ เชียงคาน ปากชม เกษตรกรมีความก้าวหน้ามาก เขามักจะผลิตสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ อย่าง ยางพารา ที่บ้านกกดู่ เขากรีดยางมานานกว่า 20 ปีแล้ว ก่อนโครงการอีสานเขียวเป็นไหนๆ

ถึงคราวมะขามหวานโด่งดัง เกษตรกรปลูกมะขามหวานกันเป็นการใหญ่ ปรากฏว่าผลผลิตดีมาก แต่การตลาดไม่ดี หลังๆ จึงมีการผสมผสานการผลิตเข้าไป ยางพารานั้นแน่นอนได้รับความนิยมและสร้างรายได้ให้ดี บางหมู่บ้านที่ปลูกยางพารากันมาก ยามมีงานบุญ ล้มวัวกัน 1 ตัว ต่อ 3 หลังคาเรือน

เพราะเกษตรกรมีความก้าวหน้านี่เอง งานผลิตระยะหลังๆ จึงปรับเปลี่ยน ไม่เสี่ยงทำเดี่ยวๆ อย่างสมัยก่อนแล้ว ที่เห็นอยู่คือเกษตรกรปลูกยางพารามักจะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทำนา ปลูกปาล์มน้ำมัน และที่ใหม่สดๆ ร้อนๆ คือการปลูกกาแฟ จำนวนที่ปลูกกันทุกวันนี้ น่าจะมากกว่า 1,000 ไร่



นักเกษตรแม่โจ้

ศึกษาและเผยแพร่


ผู้อ่านหลายท่านคงรู้จักเกษตรกรหัวใจเพชรคนนี้กันบ้างแล้ว เขาผู้ที่จะกล่าวถึงคือ คุณเมฆ จันทะมน หรือ "เมฆ เมืองเลย"

คุณเมฆ เป็นผู้ถ่องแท้เรื่องปาล์มน้ำมัน สิ่งที่เขาได้ความรู้มา เป็นการปฏิบัติจริง ณ แดนใต้ ต่อมาเขานำความรู้ที่ได้ ออกเผยแพร่ความรู้ให้คนท้องถิ่น โดยที่ผลงานออกมาแล้ว เกษตรกรขายผลผลิตได้ ผู้ประกอบการบีบน้ำมันไปจำหน่ายได้ดีที่ปทุมธานีและชลบุรี ผู้ประกอบกิจการบางรายในท้องถิ่นสามารถนำน้ำมันปาล์มไปแปรรูปเป็นไบโอดีเซลเติมรถยนต์วิ่งได้ แต่เนื่องจากราคาน้ำมันดีเซลยังไม่สูงนัก ตรงส่วนนี้จึงยังพัฒนาไม่มาก

เรื่องราวของ กาแฟ คุณเมฆมีประสบการณ์ไม่น้อย สมัยที่เรียนอยู่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เขาเดินทางไปตามดงดอยต่างๆ เมื่อลงไปทางใต้ก็ไปพบเจอโรบัสต้า

จนกระทั่งมาอยู่ท้องถิ่นบ้านเกิด เขาพบว่า กาแฟปลูกได้ดีพอสมควร ในเขตพื้นล่างจังหวัดเลย

คุณเมฆ เล่าว่า ที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย สามารถปลูกกาแฟและเก็บผลผลิตมาหลายปีแล้ว พื้นที่บริเวณนั้นมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 300-400 เมตร ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยทั่วไป เมื่อเขาเห็นตัวอย่าง จึงได้นำเมล็ดมาเพาะและปลูกในเขตอำเภอเมือง แรกๆ ตั้งใจว่าจะปลูกเอง แต่เพราะเพื่อนบ้านสนใจ รวมทั้งผู้ที่ปลูกปาล์มน้ำมันสนใจ เขาจึงตอบสนองโดยการนำเมล็ดพันธุ์ชั้นดีจากดอยอินทนนท์มาเพาะเผยแพร่



เพาะปลูกกันอย่างไร

นักเกษตรจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้อธิบายว่า เมล็ดพันธุ์กาแฟที่ตนเองนำมาเพาะเป็นสายพันธุ์ลูกผสม "อาราบิก้าคาติมอร์" ทนทานต่อโรคราสนิม ให้ผลผลิตสูง ซึ่งจริงๆ แล้ว พื้นที่เหมาะสมในการปลูกกาแฟอาราบิก้า สูงจากระดับน้ำทะเลราว 700 เมตร ในเขตจังหวัดเลย ที่สูงขนาดนี้อยู่ที่อำเภอภูเรือ ด่านซ้าย และนาแห้ว แต่ปัจจัยบางอย่างไม่เพียงพอ เช่น น้ำ รวมทั้งพื้นที่สูงมากๆ เป็นที่ป่าสงวนฯ

ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 700 เมตร จะมีอากาศหนาวเย็นยาวนาน ผลกาแฟสุกช้า ส่งผลทำให้สารคาเฟอีนสะสมในเมล็ดมาก ขายได้ราคาดี

ในสภาพผืนดินสูงจากระดับน้ำทะเล 300-400 เมตร อาจจะส่งผลให้ผลกาแฟสุกแก่เร็วขึ้น การสะสมของสารกาแฟอาจจะน้อยกว่าบนที่สูง...นี่คือ ข้อเท็จจริงที่คุณเมฆอยากจะเน้นให้ทราบและพิจารณากัน

คุณเมฆ บอกว่า ที่สูงและที่ต่ำ ไม่มีผลต่อผลผลิตต่อไร่ของกาแฟ

คุณเมฆ อธิบายว่า พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกกาแฟได้ 400 ต้น หลัง 3 ปีไปแล้วเก็บผลผลิตได้ ซึ่งจะได้ราว 600-1,000 กิโลกรัม ต่อไร่ สนนราคาที่ขายได้ กิโลกรัมละ 60-150 บาท

หากเกษตรกรพื้นล่างผลิตกาแฟได้ 600 กิโลกรัม ต่อไร่ แล้วขายได้ไม่สูงเท่างานปลูกในที่สูง ขายสักกิโลกรัมละ 80 บาท ก็จะมีรายได้ 48,000 บาท ต่อไร่

หากเกษตรกรพื้นล่างผลิตกาแฟได้ 800 กิโลกรัม ต่อไร่ แล้วขายได้ไม่สูงเท่างานปลูกในที่สูง ขายสักกิโลกรัมละ 100 บาท ก็จะมีรายได้ 80,000 บาท ต่อไร่

คุณเมฆ คิดคำนวณรายได้ต่ำๆ แต่ก็น่าสนใจ เหตุที่คิดราคาไม่สูง เป็นเพราะผลผลิตกาแฟที่ต่ำจะต่างจากที่สูง คือมีสารต่ำกว่า

นักเกษตรแม่โจ้ให้แนวคิดว่า แถบจังหวัดเลย ไม่เหมาะที่จะปลูกกาแฟเป็นผืนใหญ่ๆ แต่ควรปลูกผสมผสาน ส่วนหนึ่งเป็นพืชแซม รายละ 1-2 ไร่ หากปลูก 2 ไร่ แล้วได้เงินแสน ก็สามารถอยู่ได้ แถมส่งลูกเรียนได้อีกต่างหาก

กรณีการแซมนั้น สามารถแซมในยางพาราที่ปลูกใหม่ กาแฟเก็บเกี่ยวได้เมื่อปีที่ 3 ปลูกพร้อมยางพารา เมื่อยางพาราอายุ 10 ปี พุ่มใบแน่นทึบ ก็ตัดต้นกาแฟทิ้ง ดังนั้น ผู้ปลูกกาแฟสามารถเก็บผลผลิตได้นาน 7 ปี

พืชอื่นก็ปลูกแซมได้ อย่างสวนมะขามหวาน สวนมะม่วง รวมทั้งพืชยืนต้นอื่นๆ

"ผมนำพันธุ์มาจากอ่างขาง เป็นพันธุ์แท้ต้านทานโรคราสนิม ตอนนี้ที่เลยปลูกได้ผล มีคนมาซื้อผลผลิตผลสดๆ ชั่งขาย กิโลกรัมละ 50 บาท เขานำไปสีแล้วตากแดดอีกทีหนึ่ง เรื่องต้นพันธุ์คนมาซื้อไปปลูกกันมากแล้ว มาจากหนองคาย ที่เลยนี่ก็เยอะ ทางนครไทย พิษณุโลก ผมมองว่าควรปลูกบ้านละไร่สองไร่ ใช้แรงงานในครัวเรือน จะมีรายได้เสริม ซึ่งจริงๆ แล้ว ก็ไม่น้อย"

คุณเมฆ แนะนำ และยังอธิบายอีกว่า

"วิธีการปลูกกาแฟอาราบิก้า ในพื้นที่ที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 700 เมตร ลงมานี้ จะทำให้กาแฟสุกเร็วขึ้น จากการที่มีอากาศหนาวสั้นกว่าที่ระดับน้ำทะเล 700 เมตร ขึ้นไป และจะส่งผลให้มีสารกาแฟลดลงตามไปด้วย แต่ราคาที่พ่อค้ารับซื้อก็ยังสูงกว่าบางสายพันธุ์อยู่ โดยพ่อค้าจะรู้ว่าจะขายกาแฟได้ราคาไหนนั้น เขาจะรู้เมื่อได้คั่วกาแฟให้สุกและได้ลองชงกาแฟชิมดู ก็จะคัดได้ว่า แหล่งกาแฟจากไหน เอาไปส่งที่ตลาดไหน และราคาจะอยู่ที่เท่าใด เป็นต้น การส่งเสริมปลูกกาแฟอาราบิก้าคาติมอร์ ของผมที่เมืองเลยนี้ ผมได้รับเมล็ดพันธุ์จากเพื่อนที่เป็นผู้อำนวยการดอยอ่างข่าง จังหวัดเชียงใหม่ ส่งมาให้เพาะเป็นต้นกล้าส่งเสริมให้เกษตรกรได้ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจอีกตัวหนึ่ง และสามารถแซมในสวนยางพาราที่ไม่ได้ปลูกพืชอื่นๆ แซมได้ด้วย โดยปลูกพร้อมกับยางพารา พออายุได้ 3 ปี กาแฟจะให้ผลผลิตก่อนยางพารา เก็บผลผลิตกาแฟได้ 7 ปี ยางพาราจะอายุได้ 10 ปี กาแฟก็จะได้ผลผลิตที่น้อยจากการถูกยางพาราบังแสงหมด ก็เปลี่ยนเป็นได้รายได้จากยางพาราต่อไป แต่ถ้าปลูกกลางแจ้งก็จะเก็บผลผลิตกาแฟได้นานถึง 20 ปี ขึ้นกับการดูแลตัดแต่งกิ่งและการจัดการที่ดีด้วย การปลูกกาแฟ จะปลูก ระยะ 2x2 เมตร ได้ 400 ต้น ต่อไร่ โดยจะให้กาแฟมีใบแท้ 6-8 คู่ ก็จะให้เกษตรกรเอาไปปลูกเลย โดยให้ไปปรับตัวทนแล้งในแปลงปลูกเอง เพื่อไม่ให้ต้นกาแฟชะงักการเจริญเติบโตมากเกินไป อายุ 8 ปีขึ้นไป การแต่งกิ่งก็จะทำ 50 เปอร์เซ็นต์ ก่อน โดยแต่งแถวเว้นแถว ปลูกกลางแจ้ง 1-3 ปี ก่อน ให้ผลผลิตก็ควรหาพืชแซมเป็นร่มเงาให้ด้วย เช่น มะละกอ กล้วย"

ผู้สนใจถามไถ่ คุณเมฆ จันทะมน เลขที่ 21 หมู่ที่ 3 ตำบลศรสองรัก อำเภอเมือง จังหวัดเลย 42100 โทร. (081) 964-1298 และ (083) 408-2868



กาแฟ

แหล่งปลูกที่เหมาะสมสำหรับกาแฟอาราบิก้าคือ พื้นที่ปลูกตั้งแต่เส้นรุ้ง 17 องศาเหนือ ขึ้นไป มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 700 เมตร ขึ้นไป มีความลาดเอียงไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์

ลักษณะดิน

ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ชั้นดินลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร มีความเป็น กรด-ด่าง 5.5-6.5 และระบายน้ำดี

สภาพภูมิอากาศ

มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 15-25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 60%

แหล่งน้ำ

อาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติ ปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,500 มิลลิเมตร ต่อปี มีการกระจายของฝน 5-8 เดือน มีแหล่งน้ำสะอาดและมีปริมาณพอที่จะให้น้ำได้ตลอดช่วงฤดูแล้ง

การปลูก

ต้นกล้าอายุตั้งแต่ 8-12 เดือน หรือมีใบจริงไม่น้อยกว่า 4-5 คู่

วิธีการตัดแต่งกิ่ง

การตัดแต่งแบบต้นเดี่ยวของอินเดีย (Indian single stem pruning) หรือการตัดแต่งแบบทรงร่ม (Umbrella) เป็นวิธีการที่ใช้กับกาแฟอาราบิก้าที่ปลูกภายใต้สภาพร่มเงา โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1. เมื่อต้นกาแฟเจริญเติบโตจนมีความสูง 90 เซนติเมตร ตัดยอดให้เหลือความสูงเพียง 75 เซนติเมตร

2. เลือกกิ่งแขนงที่ 1 (primary branch) ที่อ่อนแอทิ้ง 1 กิ่ง เพื่อป้องกันยอดฉีกกลาง และต้องคอยตัดยอดที่จะแตกออกมาจากโคนกิ่งแขนงของลำต้นทุกยอดทิ้ง และกิ่งแขนงที่ 1 จะให้ผลผลิต 2-3 ปี ก็จะแตกกิ่งแขนงที่ 2 (Secondary branch) กิ่งแขนงที่ 3 (terriary branch) และกิ่งแขนงที่ 4 (quarternary branch) ให้ผลผลิตช่วง 1-8 ปี

3. เมื่อต้นกาแฟให้ผลผลิตลดลง ต้องปล่อยให้มีการแตกยอดออกมาใหม่ 1 ยอด จากโคนของกิ่งแขนงที่ 1 ที่อยู่สูงสุดหรือถัดลงมา และเมื่อยอดสูงไปถึงระดับ 170 เซนติเมตร ตัดให้เหลือความสูงเพียง 150 เซนติเมตร ตัดกิ่งแขนงที่ 1 ที่อยู่สูงสุดให้เหลือเพียง 1 กิ่ง ซึ่งจะสามารถให้ผลผลิตต่อไปอีก 8-10 ปี

การตัดแต่งแบบหลายลำต้น (Multiple stem pruning system)

วิธีการนี้ใช้กับต้นกาแฟอาราบิก้าที่ปลูกกลางแจ้ง โดยทำให้เกิดต้นกาแฟหลายลำต้น จากโคนต้นที่ถูกตัด แต่คัดเลือกเหลือเพียง 2 ลำต้น ซึ่งมีขั้นตอนปฏิบัติ ดังนี้

1. เมื่อต้นกาแฟสูงถึง 69 เซนติเมตร ให้ตัดยอดให้เหลือความสูงเพียง 53 เซนติเมตร เหนือพื้นดินมียอดแตกออกมาจากข้อโคนกิ่งแขนงที่ 1 จากคู่ที่อยู่บนสุด 2 ยอด จะต้องตัดกิ่งแขนงที่ 1 ทิ้งทั้ง 2 ข้าง

2. ปล่อยให้ยอดทั้ง 2 ยอด เจริญเติบโตขึ้นไปทางด้านบน ในขณะเดียวกันกิ่งแขนงที่ 1 ที่อยู่ต่ำกว่าความสูง 53 เซนติเมตร เริ่มให้ผลผลิต

3. กิ่งแขนงที่ 1 ซึ่งอยู่ต่ำกว่าความสูง 53 เซนติเมตร จะถูกตัดทิ้ง หลังจากที่ให้ผลผลิตแล้ว ในขณะเดียวกันกิ่งแขนงที่ 1 ที่อยู่ระดับล่างๆ ของลำต้นทั้งสองก็เริ่มให้ผลผลิต

4. ต้นกาแฟที่เจริญเป็นลำต้นใหญ่ 2 ลำต้น จะสามารถให้ผลผลิตอีก 2-4 ปี และขณะเดียวกันก็จะเกิดหน่อขึ้นมาเป็นลำต้นใหม่อีกบริเวณโคนต้นกาแฟเดิม ให้ปล่อยหน่อที่แตกใหม่เจริญเป็นต้นใหม่ ตัดให้เหลือเพียง 3 ลำต้น

5. ให้ตัดต้นกาแฟเก่าทั้ง 2 ต้นทิ้ง และเลี้ยงหน่อใหม่ ที่เจริญเป็นต้นใหม่ ซึ่งจะสามารถให้ผลผลิตได้อีก 2-4 ปี แล้วจึงตัดต้นเก่าเพื่อให้แตกต้นใหม่อีก

การให้ปุ๋ย

กาแฟ เป็นพืชที่ต้องการปุ๋ยค่อนข้างสูง โดยเฉพาะช่วงระยะเวลาเริ่มออกดอก ติดผล หากขาดปุ๋ยในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ซึ่งเป็นช่วงฤดูแล้ง ความชื้นในดินและในดอกกาแฟน้อย และอุณหภูมิสูง กาแฟจะแสดงอาการเป็นโรคยอดแห้ง (Die back) ไม่เจริญเติบโต และตายในที่สุด

สำหรับธาตุอาหารที่ต้นกาแฟต้องการ มีอยู่ 3 กลุ่ม คือ

- กลุ่มธาตุอาหารหลัก ได้แก่ N P K (Primary nutrients)

- กลุ่มธาตุอาหารรอง ได้แก่ Ca Ng S (secondary nutrients)

- ธาตุอาหารจุลธาตุ ได้แก่ Fe Mn Zn Cu B Mo และ Cl

ระดับความสูง 700-900 เมตร จากระดับน้ำทะเล ควรใส่ปุ๋ยช่วงเดือนพฤษภาคม กรกฎาคม และกันยายน

ระดับความสูง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ควรใส่ปุ๋ยช่วงเดือนพฤษภาคม สิงหาคม และตุลาคม

การเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยวมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อคุณภาพของกาแฟ ได้แก่ เนื้อสารกาแฟ (Body) รสชาติ (Flavour) ความเป็นกรด (Acidity) และมีกลิ่นหอม (Aroma) หากเก็บผลที่ยังไม่สุก และช่วงเวลาในการเก็บไม่เหมาะสม นอกจากจะมีผลต่อคุณภาพ และรสชาติแล้ว ยังมีผลทำให้ต้นทุนการผลิต (ค่าแรงงาน) เพิ่มขึ้น

อายุการเก็บเกี่ยว

ผลกาแฟในแต่ละสภาพพื้นที่ปลูกไม่พร้อมกัน

- ระดับความสูง 700-900 เมตร จากระดับน้ำทะเล

อายุการเก็บเกี่ยว (ตั้งแต่ติดผล-ผลสุก) ประมาณ 6 เดือน

- ระดับความสูง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล

อายุการเก็บเกี่ยว (ตั้งแต่ติดผล-ผลสุก) ประมาณ 9 เดือน

วิธีการเก็บเกี่ยว

การเก็บทีละผลหรือทั้งช่อ โดยเก็บเฉพาะผลที่สุกในแต่ละช่อ หรือเก็บทั้งช่อก็ได้ หากผลสุกพร้อมกัน เป็นวิธีการที่จะสามารถควบคุมคุณภาพของกาแฟได้ดีที่สุด

ดัชนีการเก็บเกี่ยว

- ควรเก็บผลที่สุก 90-100 เปอร์เซ็นต์ คือ เมื่อผลมีสีแดงเกือบทั้งผล หรือทั่วทั้งผล หรือผลมีสีเหลืองเกือบทั้งผล หรือทั่วทั้งผล (บางสายพันธุ์ ผลสุกจะเป็นสีเหลือง)

- การทดสอบผลสุกพร้อมที่จะเก็บเกี่ยว โดยการปลิดผลกาแฟ แล้วใช้นิ้วบีบผล ถ้าผลสุกเปลือกจะแตกง่ายและเมล็ดกาแฟจะโผล่ออกมา

- การเก็บผลควรจะพิจารณาการสุกของผลบนแต่ละกิ่ง ที่ให้ผลในแต่ละต้น ว่ามีผลสุกมากกว่าร้อยละ 50 ในการเก็บผลผลิตครั้งแรก ซึ่งปกติการเก็บผลกาแฟจะต้องใช้เวลาเก็บประมาณ 2-4 ครั้ง

การแปรรูป

วิธีการแปรรูปมี 2 วิธี ที่นิยมปฏิบัติกัน คือ

1. การทำสารกาแฟโดยวิธีเปียก (Wet Method or Wash Method) เป็นวิธีการที่นิยมกันแพร่หลาย เพราะจะได้สารกาแฟที่มีคุณภาพ รสชาติดีกว่า ราคาสูงกว่าวิธีตากแห้ง (Dry method) โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการ 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. การปอกเปลือก (Pulping)

โดยการนำผลกาแฟสุกที่เก็บได้มาปอกเปลือกนอกทันที โดยเครื่องปอกเปลือก โดยใช้น้ำสะอาดขณะที่เครื่องทำงาน ไม่ควรเก็บผลกาแฟไว้นานหลังการเก็บเกี่ยว เพราะผลกาแฟเหล่านี้จะเกิดการหมัก (fermentation) ขึ้นมา จะทำให้คุณภาพของสารกาแฟ มีรสชาติเสียไป ดังนั้น หลังปอกเปลือกแล้วจึงต้องนำไปขจัดเมือก

2. การกำจัดเมือก (demucilaging)

เมล็ดกาแฟที่ปอกเปลือกนอกออกแล้ว จะมีเมือก (mucilage) ห่อหุ้มเมล็ดอยู่ จะต้องกำจัดออกไป ซึ่งมีวิธีการอยู่ 3 วิธี คือ

2.1 การกำจัดเมือกโดยวิธีการหมักตามธรรมชาติ (Natural Fermentation) เป็นวิธีการที่ปฏิบัติดั้งเดิม โดยนำเมล็ดกาแฟที่ปอกเปลือกออกแล้วมาแช่ในบ่อซีเมนต์ ขนาด 3x1.5x1.2 เมตร มีรูระบายน้ำออกด้านล่าง ใส่เมล็ดกาแฟประมาณ 3/4 ของบ่อ แล้วใส่น้ำให้ท่วมสูงกว่ากาแฟ แล้วคลุมบ่อด้วยผ้าหรือพลาสติคปิดปากบ่อซีเมนต์ ทิ้งไว้ 24-48 ชั่วโมง ในกรณีที่อุณหภูมิต่ำอากาศหนาวเย็น การหมักอาจจะใช้เวลา 48-72 ชั่วโมง จากนั้นปล่อยน้ำทิ้ง แล้วนำเมล็ดมาล้างน้ำให้สะอาด นำเมล็ดมาขัดอีกครั้งในตระกร้าที่ตาถี่ ที่มีปากตะกร้ากว้าง ก้นไม่ลึกมาก เมื่อขัดแล้วเมล็ดกาแฟจะไม่ลื่น แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งก่อนที่จะนำไปตาก

2.2 การกำจัดเมือกโดยการใช้ด่าง (Treatment with alkali) วิธีนี้จะใช้เวลาประมาณไม่เกิน 1 ชั่วโมง (โรบัสต้า 1 ชั่วโมง 30 นาที) โดยการนำเอาโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ความเข้มข้น 10% โดยใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) 1 กิโลกรัม/น้ำ 10 ลิตร เทลงในบ่อซีเมนต์ที่ใช้หมักเมล็ดกาแฟ หลังจากเทเมล็ดกาแฟ ประมาณ 250-300 กิโลกรัม และเกลี่ยให้เสมอกัน จากนั้นใช้ไม้พายกวนเมล็ดกาแฟเพื่อให้สารละลายกระจายให้ทั่วทั้งบ่อ ประมาณ 30-60 นาที หลังจากทิ้งไว้ 20 นาที แล้วตรวจสอบว่าด่างย่อยเมือกออกหมด หรือหากยังออกไม่หมดให้กวนอีกจนครบ 30 นาที แล้วตรวจสอบอีกครั้ง เมื่อเมือกออกหมดต้องนำเมล็ดกาแฟไปล้างด้วยน้ำสะอาด 3-4 ครั้ง ก่อนนำไปผึ่งแดดให้แห้ง

2.3 การกำจัดเมือกโดยใช้แรงเสียดทาน (Removal fo mucilage by friction) โดยใช้เครื่องปอกเปลือก ชื่อ "Aguapulper" สามารถจะกะเทาะเปลือกนอกและกำจัดเมือกของเมล็ดกาแฟในเวลาเดียวกัน แต่มีข้อเสียคือทำให้เมล็ดเกิดแผล ดังนั้น จึงควรคัดผลกาแฟให้มีขนาดใกล้เคียงกันมากที่สุด เพื่อลดความเสียหายของเมล็ดให้น้อยลง

3. การตากหรือการทำแห้ง (Drying)

หลังจากเมล็ดกาแฟผ่านการล้างทำความสะอาดแล้ว นำเมล็ดกาแฟมาเทลงบนลานตากที่ทำความสะอาดแล้ว หรือเทลงบนตาข่ายพลาสติคบนแคร่ไม้ไผ่ เกลี่ยเมล็ดกาแฟให้กระจายสม่ำเสมอ ไม่ควรหนาเกิน 4 นิ้ว ควรที่จะเกลี่ยเมล็ดกาแฟวันละ 2-4 ครั้ง จะทำให้เมล็ดแห้งเร็วขึ้น และเวลากลางคืนควรกองเมล็ดเป็นกองๆ และใช้พลาสติคคลุมเพื่อป้องกันน้ำฝนหรือน้ำค้าง ใช้เวลาตาก ประมาณ 710 วัน เมล็ดจะมีความชื้นประมาณ 13%

4. การบรรจุ (Packing)

เมล็ดกาแฟที่ได้ควรเก็บไว้ในรูปของกาแฟกะลา (Parchment Coffee) เพราะจะสามารถรักษาเนื้อกาแฟและป้องกันความชื้นกาแฟได้ดี ควรบรรจุในกระสอบป่านใหม่ และควรกลับด้านในของกระสอบป่านออกมาผึ่งลมก่อนนำไปใช้ เก็บในโรงเก็บที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อับชื้น หรือมีกลิ่นเหม็น

5. การสีกาแฟกะลา (Hulling)

กาแฟกะลาที่จะนำไปจำหน่ายควรจะสีเพื่อเอากะลาออกด้วยเครื่องสีกะลา จะได้สารกาแฟ (Green Coffee) ที่มีลักษณะผิวสีเขียวอมฟ้า

2. การทำสารกาแฟโดยวิธีแห้ง (Dry method หรือ Natural method)

เป็นวิธีการที่ดำเนินการโดยนำเอาผลกาแฟ (Coffee Cherry) ที่เก็บเกี่ยวมาจากต้นแล้วนำมาตากแดด ประมาณ 15-20 วัน บนลานตากที่สะอาดและได้รับแสงแดดเต็มที่ เกลี่ยให้เสมอทั่วกัน และหมั่นเกลี่ยบ่อยครั้ง เมื่อผลแห้งจะมีเสียงของเปลือกกับเมล็ดกระทบกัน จึงนำมาเข้าเครื่องสีกาแฟ (Hulling) แล้วบรรจุในกระสอบที่สะอาด ข้อเสียของวิธีการนี้คือ สารกาแฟที่ได้จะมีคุณภาพต่ำกว่าการทำสารกาแฟโดยวิธีหมักเปียก

การคัดเกรดและมาตรฐาน

การคัดเกรด


สารกาแฟ (Green coffee) ที่ผ่านเครื่องสีเอากะลาออกแล้ว จึงนำมาคัดขนาดเพื่อแบ่งเกรด โดยใช้ตะแกรงร่อน ขนาดรู 5.5 มิลลิเมตร เพื่อแยกสารกาแฟที่สมบูรณ์ จากสารกาแฟที่แตกหัก รวมถึงสิ่งเจือปน เมล็ดกาแฟที่มีสีดำ (black bean) ซึ่งเกิดจากเชื้อราบางประเภท

ใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องที่ใช้แรงเหวี่ยง (Electronic Coffee Sorting Machine) เพื่อแยกสารกาแฟที่ดีออกจากสารกาแฟที่ไม่สมบูรณ์

มาตรฐานการแบ่งเกรดของสารกาแฟอาราบิก้าของไทย

เกรดของสารกาแฟอาราบิก้า

เกรด A ขนาด ขนาดของเมล็ดตั้งแต่ 5.5 มิลลิเมตร ขึ้นไป

สี สีเขียวอมฟ้า

เมล็ดแตกหัก มีเมล็ดไม่สมบูรณ์ หรือเมล็ดขนาดเล็กกว่า 5.5 มิลลิเมตร ไม่เกินร้อยละ 13

เมล็ดเสีย มีเมล็ดที่เป็นเชื้อราหรือมีสีผิดปกติ ไม่เกินร้อยละ 1.5

ความชื้น ไม่เกินร้อยละ 13

เกรด X - ลักษณะและคุณภาพเหมือน เกรด A ยกเว้นสี ซึ่งจะมีสีแตกต่างไปจากสีเขียวอมฟ้าหรือมีสีน้ำตาลปนแดง

เกรด Y - ลักษณะเมล็ดแตกหัก หรือเมล็ดกลมเล็กๆ (Pea berries) ที่สามารถลอดผ่านตะแกรง ขนาด 12.5 (5.5 มิลลิเมตร)

- มีสีเขียวอมฟ้า สิ่งเจือปน ไม่เกิน 0.5%

- ความชื้น ไม่เกิน 13%

หมายเหตุ ข้อมูลจาก กรมวิชาการเกษตร


http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05050150853&srcday=2010-08-15&search=no




 

วิจัย "ชุมพร84" โรบัสต้าพันธุ์ใหม่
อีกทางเลือกเกษตรกรปลูกกาแฟ


โดย kmag

จากการที่กรมวิชาการเกษตร ได้วิจัยและปรับปรุงพันธุ์กาแฟโรบัสต้ามาอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดก็ประสบความสำเร็จในการพัฒนากาแฟโรบัสต้าพันธุ์ใหม่เพิ่มอีก 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ชุมพร 84-4 และพันธุ์ชุมพร 84-5 ซึ่งคณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช ได้พิจารณาประกาศเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรแล้ว เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในปี 2554 นี้ด้วย ขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกาแฟโรบัสต้าให้ชาวสวนกาแฟ และเป็นทางเลือกใหม่สำหรับเกษตรกรที่จะได้ใช้กาแฟพันธุ์ดี เพื่อสร้างศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันที่สูงขึ้น
จิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตรเผยว่ากาแฟโรบัสต้าพันธุ์ใหม่ทั้ง 2 พันธุ์นี้ มีศักยภาพการให้ผลผลิตสูงและคุณภาพเมล็ดดีเป็นที่ยอมรับของตลาดและโรงงานแปรรูป สำหรับพันธุ์ชุมพร 84-4 เดิมคือกาแฟโรบัสต้าสายต้น FRT09 ซึ่งผ่านการคัดเลือกและปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์เขาทะลุที่เพาะจากเมล็ด มีลักษณะเด่น คือ มีความแข็งแรง โตเร็ว มีกิ่งให้ผลเป็นจำนวนมาก เริ่มให้ผลผลิตเร็ว ผลสุกพร้อมกัน อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 10 เดือน สามารถเก็บเกี่ยวได้ก่อนพันธุ์เขาทะลุ 1-2 เดือน และเก็บเกี่ยวได้หมดภายใน 2 ครั้งเท่านั้น โดยให้ผลผลิตเมล็ดแห้งสูง (ความชื้นเมล็ด 13%) 482 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์เขาทะลุ 4.4 เท่า นอกจากนั้นยังมีอัตราการเปลี่ยนจากผลสดเป็นเมล็ดแห้งสูง เฉลี่ยประมาณ 24.5% สูงกว่าพันธุ์เขาทะลุที่ให้อัตราการเปลี่ยน 19.6% และมีน้ำหนัก 100 เมล็ดแห้ง 15.5 กรัม


“พันธุ์ชุมพร 84-5 เดิมชื่อกาแฟโรบัสต้าสายต้น FRT68 เป็นสายต้นที่ได้จากประเทศจีน และเป็นสายต้นในกลุ่มคองโกลีส โดยผ่านการคัดเลือกและปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์เขาทะลุที่เพาะจากเมล็ด มีลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตเมล็ดแห้งสูง (ความชื้นเมล็ด 13%) 428 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์เขาทะลุ 3.9 เท่า ต้นมีความแข็งแรง มีกิ่งให้ผลเป็นจำนวนมาก เริ่มให้ผลผลิตเร็ว อายุเก็บเกี่ยว 10 เดือน ผลสุกพร้อมกัน ทำให้เก็บเกี่ยวได้ก่อนพันธุ์เขาทะลุ 1-2 เดือน และเก็บเกี่ยวได้หมดภายใน 2 ครั้ง ขณะเดียวกันยังมีอัตราการเปลี่ยนจากผลสดเป็นเมล็ดแห้งสูง เฉลี่ยประมาณ 25.0% ซึ่งสูงกว่าพันธุ์เขาทะลุที่ให้อัตราการเปลี่ยน 19.6% และมีน้ำหนัก 100 เมล็ดแห้ง 17 กรัม” จิรากร กล่าว


อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าวอีกว่า ขณะนี้ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพรได้มีแผนเร่งขยายพันธุ์กาแฟโรบัสต้าชุมพร 84-4 และพันธุ์ชุมพร 84-5 โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อเพิ่มปริมาณต้นพันธุ์ไว้รองรับความต้องการของเกษตรกรชาวสวนกาแฟ ช่วงปีแรกตั้งเป้าผลิตพันธุ์ละไม่น้อยกว่า 50,000 ต้น รวม 100,000 ต้น และปีถัดไปขึ้นอยู่กับความต้องการเป็นหลัก ขณะเดียวกันยังได้เตรียมสต็อกต้นพันธุ์เพื่อใช้ในโครงการตัดฟื้นต้นกาแฟ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้กลุ่มเกษตรกรชาวสวนกาแฟในพื้นที่ จ.ชุมพร ระนอง และกระบี่


“ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้ส่งเสริมให้กลุ่มผู้ปลูกกาแฟโรบัสต้า จัดทำแปลงต้นแบบการฟื้นต้นกาแฟนำร่อง 30 แปลง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับชาวสวนกาแฟรายอื่น พร้อมแนะนำให้ใช้กาแฟพันธุ์ใหม่เสียบกิ่งภายหลังทำสาวต้นกาแฟ หรือการปรับเปลี่ยนพันธุ์ในสวนเสื่อมโทรมและแปลงที่ให้ผลผลิตต่ำ ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่องทางช่วยให้เกษตรกรได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผลผลิตโดยรวมของประเทศเพิ่มขึ้น และสามารถช่วยลดปริมาณการนำเข้าเมล็ดกาแฟจากต่างประเทศได้” นายจิรากร กล่าว


สำหรับเกษตรกรที่สนใจข้อมูลเกี่ยวกับกาแฟโรบัสต้าชุมพร 84-4 และพันธุ์ชุมพร 84-5 สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร โทร.0-2940-5486 หรือศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพรจังหวัดชุมพร โทร.0-7755-6073, 0-7755-6026


ที่มา: http://www.komchadluek.net
http://kmag.ku.ac.th/phpbb3/viewtopic.php?f=4&t=1100







หน้าก่อน หน้าก่อน (2/3)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (11271 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©