-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 467 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว








คุณประโยชน์ล้ำค่า ข้าวกล้องงอก (Gaba Rice)



ข้าว เป็นอาหารหลักของคนไทย แต่เชื่อกันว่า ข้าว มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตอนใต้ มีหลักฐานการปลูกข้าวมานานกว่า 6,500 ปี ในอินเดีย และทางตะวันออกของจีน ประมาณปี พ.ศ. 1543 จึงนำไปเพาะปลูกทางทวีปยุโรปตะวันตก สำหรับปัจจุบันผู้ที่บริโภคข้าวกลุ่มใหญ่ที่สุดและผู้ที่ผลิตได้ผลผลิตข้าวมากที่สุดก็คือ คนเอเชีย ประมาณร้อยละ 90 ของโลก "ข้าว" เป็นส่วนหนึ่งของ "ธัญชาติ" ซึ่งคำว่า ธัญชาติ จะมีความหมายรวมถึงกลุ่มผลิตผลที่เรียกชื่อต่างๆ เช่น ลูกเดือย ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี ข้าวแดง รวมทั้งข้าวเปลือก แต่มีคำที่เราเคยได้ยินบ่อยๆ อีก 2 คำ ที่อาจจะต้องเข้าใจให้ชัดเจนว่าหมายถึงผลผลิตพืชแบบไหน คือคำว่า ธัญญาหาร และธัญพืช ตามความหมายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งพิมพ์ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2526 ได้ให้คำอธิบายไว้เพื่อให้เข้าใจชัดเจนว่า ธัญพืช หมายถึง ต้นข้าวทั้งหมด สำหรับ ธัญชาติ เป็นเมล็ดของธัญพืช และธัญญาหาร คืออาหารที่ทำจากธัญชาติ ซึ่ง รศ.ดร. อรอนงค์ นัยวิกุล จากภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เขียนถึง ธัญชาติ ไว้ว่า ผลิตภัณฑ์อาหารจากธัญชาติ หมายถึง การนำของกินหรือวัตถุดิบที่กินได้ คือธัญชาติ มาผ่านกรรมวิธี ที่ทำให้มีลักษณะพร้อมบริโภค แบ่งเป็น 3 ลักษณะ

โดยลักษณะแรกคือ ผลิตภัณฑ์อาหารหลักสำหรับบริโภค ในปริมาณมากแต่ละมื้อคือ มื้อเช้า มื้อกลางวัน และมื้อเย็น ได้แก่ ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ และขนมจีน เป็นต้น

ลักษณะที่สองคือ ผลิตภัณฑ์อาหารว่างสำหรับบริโภคปริมาณน้อย ระหว่างมื้ออาหารหลัก หรือเรียกว่า ของว่าง เครื่องว่าง เช่น ข้าวเกรียบปากหม้อ ข้าวตังหน้าตั้ง ข้าวเม่า พาย คุกกี้ แครกเกอร์ ขนมจีบ และซาลาเปา เป็นต้น

ลักษณะที่สามคือ ผลิตภัณฑ์อาหารหวาน สำหรับบริโภคเพียงเล็กน้อย หลังมื้ออาหารหลัก มีรสหวานอร่อย เช่น ข้าวต้มน้ำวุ้น ขนมกล้วย ขนมไข่หงส์ ขนมดอกลำดวน ขนมไหว้พระจันทร์ และขนมเค้ก เป็นต้น

มนุษย์ส่วนใหญ่บริโภคธัญชาติชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นอาหารหลักมาช้านาน ตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน เช่น ข้าวเจ้า และข้าวเหนียว สำหรับชาวเอเชีย ข้าวโพด สำหรับชาวละตินอเมริกัน ข้าวสาลี สำหรับชาวอเมริกันและยุโรป สำหรับ ข้าวฟ่าง เป็นอาหารหลักของชาวแอฟริกัน ข้าวสาลี สำหรับชาวอียิปต์ อิหร่าน อเมริกัน และรัสเซีย ข้าวไรซ์ และข้าวบาร์เลย์ สำหรับชาวยุโรป เป็นต้น สำหรับคนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ทั้งข้าวเจ้า และข้าวเหนียว ดังนั้น เราจึงน่าจะรู้จักและตระหนักถึงคุณประโยชน์ของข้าวสารพัด รวมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปทุกรูปแบบที่เป็นผลผลิตจากข้าว ตั้งแต่ปลูกในท้องทุ่ง จนกระทั่งมาอยู่ในท้องของเราเอง


ข้าวกล้องงอก (germinated brown rice หรือ “GABA-rice”)
ถือเป็นนวัตกรรมหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจาก ข้าวกล้องงอก (germinated brown rice) เป็นการนำข้าวกล้องมาผ่านกระบวนการงอก ซึ่งโดยปกติแล้ว ในตัวข้าวกล้องเองประกอบด้วยสารอาหารจำนวนมาก เช่น ใยอาหาร กรดไฟติก (Phytic acid) วิตามินซี วิตามินอี และ GABA (gamma aminobutyric acid) ซึ่งช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน

เมื่อนำข้าวกล้องมาแช่น้ำเพื่อทำให้งอก จะทำให้ข้าวกล้องมีสารอาหาร โดยเฉพาะ GABA เพิ่มขึ้น ซึ่งนอกจากจะได้ประโยชน์จากการที่มีปริมาณสารอาหารที่สูงขึ้นแล้ว ยังทำให้ข้าวกล้องงอกที่หุงสุกมีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม รับประทานได้ง่ายกว่าข้าวกล้องธรรมดาอีกด้วย จึงง่ายแก่การหุงรับประทานได้โดยไม่ต้องผสมกับข้าวขาวตามความนิยมของผู้บริโภค

จากการศึกษาทางกายภาพและทางชีวเคมีพบว่า "เมล็ดข้าว" ประกอบด้วย เปลือกหุ้มเมล็ด หรือแกลบ (Hull หรือ Husk) ซึ่งจะหุ้มข้าวกล้อง ในเมล็ดข้าวกล้องประกอบด้วย จมูกข้าวหรือคัพภะ (Germ หรือ Embryo) รำข้าว (เยื่อหุ้มเมล็ด) และเมล็ดข้าวขาวหรือเมล็ดข้าวสาร (Endosperm) สารอาหารในเมล็ดข้าวประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบหลัก โดยมีโปรตีน วิตามินบี วิตามินอี และแร่ธาตุที่แยกไปอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของเมล็ดข้าว นอกจากนี้ ยังพบสารอาหารประเภท ไขมันซึ่งพบได้ในรำข้าวเป็นส่วนใหญ่

ข้าวเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีการเจริญเติบโตจะมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี การเปลี่ยนแปลง จะเริ่มขึ้น เมื่อน้ำได้แทรกเข้าไปในเมล็ดข้าว โดยจะกระตุ้นให้เอนไซม์ภายในเมล็ดข้าวเกิดการทำงาน เมื่อเมล็ดข้าวเริ่มงอก (malting) สารอาหารที่ถูกเก็บไว้ในเมล็ดข้าวก็จะถูกย่อยสลายไปตามกระบวนการทางชีวเคมีจนเกิดเป็นสารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กลง (oligosaccharide) และน้ำตาลรีดิวซ์ (reducing sugar) นอกจากนี้ โปรตีนภายในเมล็ดข้าวก็จะถูกย่อยให้เกิดเป็นกรด อะมิโนและเปปไทด์ รวมทั้งยังพบการการสะสมสารเคมีสำคัญต่าง ๆ เช่น แกมมาออริซานอล (gamma-orazynol) โทโคฟีรอล (tocopherol) โทโค ไตรอีนอล (tocotrienol) และโดยเฉพาะ สารแกมมาอะมิโนบิวทิริกแอซิด (gamma-aminobutyric acid) หรือที่รู้จักกันว่า "สารกาบา"(GABA)

GABA (gamma aminobutyric acid)
GABA เป็นกรดอะมิโนที่ผลิตจากกระบวนการ decarboxylation ของกรดกลูตามิก (glutamic acid) กรดนี้จะมีบทบาทสําคัญในการทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท(neurotransmitter) ในระบบประสาทส่วนกลาง นอกจากนี้ GABA ยังถือเป็นสารสื่อประสาทประเภทสารยับยั้ง (inhibitor) โดยจะทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมองที่ได้รับการกระตุ้น ซึ่งช่วยทำให้สมองเกิดการผ่อนคลายและนอนหลับสบาย อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นต่อมไร้ท่อ (anterior pituitary) ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (HGH) ทำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อ ทำให้ กล้ามเนื้อเกิดความกระชับ และเกิดสาร lipotropic ซึ่งเป็นสารป้องกันการสะสมไขมัน

จากการศึกษาในหนู พบว่า การบริโภคข้าวกล้องงอกที่มีสาร GABA มากกว่าข้าวกล้องปกติ 15 เท่า จะสามารถป้องกันการทำลายสมอง เนื่องจาก สารเบต้าอไมลอยด์เปปไทด์ (Beta-amyloid peptide) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคสูญเสียความทรงจำ (อัลไซด์เมอร์) ดังนั้น จึงได้มีการนำสาร GABA มาใช้ในวงการแพทย์เพื่อการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทต่างๆ หลายโรค เช่น โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคลมชัก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีผลการวิจัยด้านสุขภาพกล่าวว่า ข้าวกล้องงอกที่ประกอบด้วย GABA มีผลช่วยลดความดันโลหิต ลด LDL (Low densitylipoprotein) ลดอาการอัลไซเมอร์ ลดน้ำหนัก ทำให้ผิวพรรณดี ตลอดจนใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลางได้

ไม่ว่าจะเป็นข้าวกล้องในรูปแบบใดก็ล้วนแล้วแต่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ทั้งสิ้น

รู้แบบนี้แล้วหันมาทานข้าวกล้องเพื่อดูแลสุขภาพด้วยกันนะคะ


ที่มา : http://www.healthcorners.com









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (2103 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©