-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 505 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว




หน้า: 2/2








ที่มา http://www.geocities.com/psplant/ps_seminar_Boonlom.htm


1

2). การอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยวิธีทางพืช
โดยใช้ระบบปลูกพืชขวางความลาดชันของพื้นที่ ร่วมกับพืชคลุมดินชนิดต่างๆ (ตามความเหมาะสมของ ภูมิภาค) โดยวิธีการ ดังนี้

(2.1) การใช้แถบไม้พุ่มตระกูลถั่วบำรุงดิน ปลูก ไม้พุ่มตระกูลถั่ว เช่น กระถินและถั่วมะแฮะ ผสมกันอัตรา 1:1 ปลูกเป็นแถวคู่ห่างกัน 50 ซม. เป็นแถบอนุรักษ์ขวาง ความลาดชันของพื้นที่ แต่ละแถบห่างกัน 8-10 ม.
       
(2.2) การใช้แถบหญ้า ปลูกหญ้าเป็นแถบขวาง ความลาดชันของพื้นที่ แต่ละแถบห่างกัน 8-10 ม. โดยใช้หญ้าชนิดต่างๆ เช่น รูซี่ เซททาเรีย เนเปียร์ บาเฮีย และกินนีปลูกเป็นแถบกว้าง 1 ม. สำหรับหญ้าแฝก ปลูก เป็นแถวเดียว ระยะห่างระหว่างต้น 5-10 ซม. 
       
(2.3) การจัดระบบปลูกพืชแบบผสมผสานพื้นที่ ว่างระหว่างแถบอนุรักษ์ใช้ปลูกพืชไร่ พืชผัก ไม้ดอก และไม้ผลตามความเหมาะสมของพื้นที่ โดยปลูกพืชผสม ผสานกันหลายชนิดอย่างมีระบบ เช่น ปลูกพืชไร่หรือ พืช ผักสลับหมุนเวียนกับพืชตระกูลถั่ว (ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแปยี ถั่วลาย ถั่วพร้า คาโรโปโกเนียม) เพื่อเป็นการ ปรับปรุงบำรุงดินให้สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างยั่งยืน

picpage18_2.GIF (41047 bytes)

การจัดการอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ดิน และน้ำควรทำควบคู่กัน ได้แก่ การเตรียมดินและปลูกพืช เป็นแถวตามแนวระดับของความลาดชันของพื้นที่ ใช้เศษ พืชทุกชนิดเป็นวัสดุคลุมดินบำรุงดิน และการปลูก
พืชแบบ เตรียมดินน้อยครั้งจะช่วยลดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน และเป็นการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ



ตารางสรุปการจัดการดินที่เหมาะสมในการปลูกพืชชนิดต่างๆ การจัดการดิน และการใช้ปุ๋ยเคมีกับพืชแต่ละชนิด

ชนิดพืช

 วิธีการจัดการดิน

1. ข้าวไร่ - ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16 – 20 –0 อัตรา 25 กก./ ไร่ รองพื้นก่อนปลูกและใส่อีกครั้งเมื่อ 6 สัปดาห์ หลังปลูก
2. ข้าวโพด - ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16–20–0 อัตรา 25 กก./ ไร่ รองพื้นก่อนปลูก และใส่ปุ๋ย 21–0–0 อีก 1 ครั้ง อัตรา 25 กก./ไร่ หลังการปราบวัชพืชครั้งที่ 2
3. ถั่วแดงหลวง - ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16–20–0 อัตรา 25 กก./ ไร่ โรยข้างแถว และพรวนดินกลบ
4. ข้าวสาลี - ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16–20–0 อัตรา 25 กก./ ไร่ รองพื้นก่อนปลูก
5. ข้าวบาเลย์ - ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15–15-15 อัตรา 20 กก./ ไร่ รองพื้นที่ก่อนปลูกและใส่ปุ๋ยยูเรีย 46–0–0 อีก 10 กก./ไร่ เมื่อ 4 สัปดาห์หลังปลูก
6. ไม้ผลชนิดต่างๆ - เตรียมหลุมปลูกขนาดกว้าง ยาว ลึก 50–100 ซม. เอาส่วนที่เป็นหน้าดินผสมกับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักครึ่งปี๊บ ร่วมกับปุ๋ยเคมี 15–15–15 อัตรา 200 กรัม / หลุม รองก้นหลุมแล้วปลูก ใช้เศษพืชในแปลงคลุมโคนต้นเพื่อรักษาความชื้น
7. ไม้ผลยืนต้น - ใส่ปุ๋ยสูตร 8–14–3 ที่อายุ 2,4 เดือน อัตรา 130 กรัม /ต้น ที่อายุ 6 เดือน 200 กรัม /ต้น ที่อายุ (ยางพารา)ุ23,29,35,41 เดือน ใส่ 400 กรัม / ต้น               
- ใส่ปุ๋ยสูตร 13–9–4 เมื่อต้นยางอายุได้47,53,
59,65 และ 17 เดือน อัตรา 530 กรัม /ตัน

8. พืชผักชนิดต่างๆ 

 - ใส่ปุ๋ยสูตร 15–15–15 อัตรา 40 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง เท่าๆกัน ครั้งแรกใส่ (กะหล่ำปลี 7 วันหลังย้ายกล้าครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรก 20–25 วัน ใส่แบบโรยข้างแถวแล้วพรวนดินกลบกะหล่ำดอก คะน้า ผักกาดเขียวปลี ผักกาดขาวปลี)



สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :    กองอนุรักษ์ดินและน้ำ โทร. 02-579-3504 หรือ
    สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต สถานีพัฒนาที่ดิน ที่ตั้งอยู่ในจังหวัด



อ้างอิง


http://www.ldd.go.th/ofsweb/Thaisoil/s_reclaim/page118.htm 26/6/2551

http://www.geocities.com/psplant/ps_seminar_Boonlom.htm








พันธุ์ข้าวบาร์เลย์ - สะเมิง1



ชื่อพันธุ์ 
- สะเมิง 1 (Samerng 1)

ชนิด
- ข้าวบาร์เลย์

ประวัติพันธุ์
- เป็นข้าวบาร์เลย์ชนิด 6 แถว (Six-row Barley) ที่ได้มาจากศูนย์ปรับปรุงข้าวโพดและข้าวสาลีนานาชาติ (CIMMYT) ชุด การทดสอบ IBON หมายเลขสายพันธุ์ 118 จึงเรียกว่า พันธุ์ไอบอน118 (IBON118) ปลูกครั้งแรกโดยนายวิฑูรย์ ขันธิกุล เจ้าหน้าที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2517 ณ สถานีทดลองเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และได้นำไปปลูกทดสอบในสถานีทดลองต่างๆ หลายแห่ง


การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็น พันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2526


ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวบาร์เลย์ สูงประมาณ 70 เซนติเมตร
- อายุเก็บเกี่ยว 120 วัน
- ทรงกอตั้ง (มุมของใบจากพื้นดินมากกว่า 60 องศา) ใบและหูใบสีเขียวปานกลาง
- ขนาดเมล็ด กว้าง x ยาว x หนา = 3.5 x 8.2 x 2.6 มิลลิเมตร สีน้ำตาลอ่อน เมล็ดรูปไข่ น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 36.5 กรัม เมล็ดติดเปลือก รวงมีหาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 1 สัปดาห์


ผลผลิต
- ประมาณ 270 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- มีคุณภาพมอลท์เป็นที่ยอมรับในการผลิตเบียร์
- ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง


ข้อควรระวัง
- มีการเจริญเติบโตไม่ดีในสภาพอากาศร้อน
- ในสภาพพื้นที่ปลูกชื้นแฉะเกินไปจะเป็นโรคต้นกล้าเน่ามาก
- ไม่ต้านทานต่อโรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคไหม้


พื้นที่แนะนำ
- ใช้ปลูกในภาคเหนือ




พันธุ์ข้าวบาร์เลย์-สะเมิง2



ชื่อพันธุ์  
- สะเมิง 2 (Samerng 2)

ชนิด
- ข้าวบาร์เลย์

ประวัติพันธุ์
- เป็นข้าวบาร์เลย์ชนิด 6 แถว (Six-row Barley) ได้จากศูนย์ปรับปรุงข้าวโพดและข้าวสาลีนานาชาติ (CIMMYT) ชุดทดสอบ International Barley Observation Nursery (IBON) ชุดเดียวกับข้าวบาร์เลย์สะเมิง 1 หมายเลข สายพันธุ์ 42 จึงเรียกว่า พันธุ์ไอบอน42 (IBON42) ปลูกครั้งแรกโดยนายวิฑูรย์ ขุนธิกุล เจ้าหน้าที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2517 ณ สถานีทดลองเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งปลูกพร้อมกับข้าวบาร์เลย์สะเมิง 1 และนำไป
ปลูกทดสอบในสถานีทดลองต่าง ๆหลายแห่ง

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็น พันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2526



ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวบาร์เลย์ สูงประมาณ 75 เซนติเมตร
- อายุเก็บเกี่ยว 125 วัน
- ใบและหูใบสีเขียวปานกลาง
- เมล็ดมีขนาดยาว 8.15 มิลลิเมตร สีน้ำตาลอ่อน เมล็ดรูปวงรี
- น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 33.6 กรัม รวงมีหางยาว
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 1 สัปดาห์


ผลผลิต
- ประมาณ 300 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น

- มีคุณภาพมอลท์เป็นที่ยอมรับในการผลิตเบียร์
- ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง


ข้อควรระวัง
- สภาพอากาศร้อนจะเจริญเติบโตไม่ดี
- สภาพพื้นที่ชื้นแฉะเกินไปจะเป็นโรคต้นกล้าเน่ามาก
- ไม่ต้านทานต่อโรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคไหม้

พื้นที่แนะนำ
- ใช้ปลูกในภาคเหนือ


http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19515.0







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (7005 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©