-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 540 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว








 

ข้าวไทยพันธุ์ใหม่ สู้น้ำท่วม ทนเค็ม ต้านโรค

โดย : กานต์ดา บุญเถื่อน



นักวิจัยสองหน่วยงานร่วมกันพัฒนาสายพันธุ์ข้าวใหม่


อนาคตอันใกล้ เกษตรกรไทยจะคลายทุกข์ร้อนจากปัญหาสารเคมี เมื่อนักวิจัยสองหน่วยงานร่วมกันพัฒนาข้าว 3 สายพันธุ์ใหม่ ต้านโรค-ทนเค็ม-ทนน้ำท่วม


ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา นักวิจัยจาก
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ความร่วมมือในระยะที่ 2 สวทช.กับกรมการข้าวจะร่วมกันพัฒนาพ่อแม่พันธุ์ข้าวที่มีศักยภาพสูง สำหรับนาน้ำฝน และนาชลประทานให้แก่เกษตรในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เสริมศักยภาพชาวนาในอนาคต


 “ความร่วมมือในระยะแรก 2549-2552 ทีมวิจัยสามารถพัฒนาพันธุ์
ข้าวสายพันธุ์ใหม่ ได้แก่ สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนดินเค็ม และสายพันธุ์ กข6 ต้านทานโรคไหม้ โดยอยู่ระหว่างการยื่นขอรับรองพันธุ์ ก่อนนำไปขยายพันธุ์จำหน่ายให้แก่เกษตรในอีก 1-2 ปีข้างหน้า”


 ผลที่ทีมวิจัยคาดจะได้รับจากความร่วมมือดังกล่าวคือ พันธุ์
ข้าวใหม่ที่มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิต ภายใต้สภาวะแวดล้อมวิกฤต และการระบาดของโรครวมถึงแมลงจำนวน 14 สายพันธุ์ โดยสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ และเกษตรกรที่มีความรู้ความเข้าใจในการนำพันธุ์ข้าวไปใช้อย่างเหมาะสมด้วย


 ความร่วมมือในระยะที่ 2 มีในระยะเวลา 5 ปีระหว่าง 2553-2558 หน่วยงานทั้งสองมีพันธกิจร่วมกัน 7 ประการหลัก ได้แก่

พันธกิจ 1  การพัฒนา
ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข6 ให้มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตโดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุลดีเอ็นเอ เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่จะรับรองพันธุ์ 4 สายพันธุ์ และ ข้าวเหนียว กข6 ที่จะรับรองพันธุ์ 7 สายพันธุ์ ซึ่งมีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตในสภาพนาน้ำฝนภาคเหนือละตะวันออกเฉียงเหนือ   


พันธกิจ 2  ทีมวิจัยจะพัฒนาสายพันธุ์
ข้าวนาชลประทานโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลดีเอ็นเอ ได้แก่ ข้าวชัยนาท 1 ให้มีความต้านทานโรคเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแบบยั่งยืนรวมถึงต้านทานโรคขอบใบแห้ง เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวนาชลประทานที่มีเสถียรภาพในการผลิตที่จะรับรองพันธุ์ 2 สายพันธุ์


พันธกิจ 3 จะเป็นการสืบหาแหล่งพันธุกรรม และยีนที่เกี่ยวข้อง สำหรับพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลดีเอ็นเอเพื่อใช้ในการคัดเลือกและติดตาม


พันธกิจที่ 4 ทีมวิจัยจะพัฒนาเกี่ยวกับระบบทดสอบลักษณะปรากฏที่แม่นยำและรวดเร็ว เพื่อการประเมินความดีเด่นของสายพันธุ์
ข้าวระดับโรงเรือน อาทิ ระบบทดสอบความต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคเมล็ดด่าง โรคเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หลังขาว และบั่ว รวมถึงความสามารถในการทนเค็ม ทนต่อน้ำท่วม และทนแล้ง


พันธกิจ 5 ทีมวิจัยจะทดสอบศักยภาพของผลผลิต และลักษณะทางการเกษตร รวมทั้งลักษณะหุงต้ม และความต้านทานโรคแมลงของสายพันธุ์ใหม่ที่ได้จากโครงการร่วมในระดับสถานีและไร่นา
เกษตรกร เพื่อหาสายพันธุ์ดีเด่นสำหรับรับรองพันธุ์


พันธกิจที่ 6 จะเป็นการศึกษาความดีเด่นของพันธุกรรม
ข้าวไทย เพื่อการใช้ประโยชน์ในอนาคต และจัดเก็บสายพันธุ์ข้าวที่พัฒนาขึ้นใหม่อย่างเป็นระบบในธนาคารพันธุ์ข้าวเพื่อใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมในอนาคต  และ

พันธกิจที่ 7 กรมการ
ข้าวจะร่วมกับหน่วยค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าวผลิตเมล็ดพันธุ์คัด และพันธุ์หลัก ข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร


นายสุนิยม ตาปราบ นักวิชาการชำนาญการพิเศษ กรมการ
ข้าว กล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยให้เกษตรกรที่อยู่ในระบบการผลิตทั้งเขตนาน้ำฝนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นาชลประทานภาคกลางและภาคเหนือตอนบนสามารถลดต้นทุนในการผลิต โดยลดการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช


ข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่ทีมวิจัยร่วมกันพัฒนาขึ้น จะลดการนำเข้าสารเคมี และมลภาวะที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อมในอนาคต โดยที่เกษตรกรมีศักยภาพที่จะแข่งขันกับต่างประเทศเนื่องจากสามารถเพาะปลูกข้าวที่มีผลผลิตสูงได้อย่างยั่งยืน”



www.creativeenterprise.in.th/.../ข้าวไทยพันธุ์ใหม่-สู้น้ำท่วม-ทนเค็ม-ต้านโรค.html -





ไบโอเทค ชู ดีเอ็นเอ พัฒนาข้าวสายพันธุ์อึด



 

ข้าว


สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ต่อสัญญาระยะ 2 กับกรมการข้าว ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพพัฒนา 3 สายพันธุ์ข้าวใหม่ "พลังอึด"


สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(สวทช.) และกรมการข้าว ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระยะ 2 (2553-2558) พัฒนาข้าวสายพันธุ์ใหม่ 3 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนดินเค็ม และสายพันธุ์ กข6 ต้านทานโรคไหม้ โดยเป็นโครงการวิจัยต่อเนื่องจากระยะ 1(2549-2552) และได้ปลูกทดสอบในศูนย์วิจัยข้าวและแปลงของเกษตรกรแล้ว ซึ่งมีผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ ขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นขอรับรองพันธุ์ข้าวทั้ง 3 สายพันธุ์จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากนั้นจะนำไปขยายพันธุ์เพื่อจำหน่ายให้เกษตรกรในอีก 1-2 ปีถัดไป


"ทีมวิจัยได้พัฒนาและใช้โมเลกุลเครื่องหมายดีเอ็นเอ ในการพัฒนาพ่อแม่พันธุ์ข้าวใหม่ที่มีศักยภาพและเสถียรภาพในการให้ผลผลิต ภายใต้สภาวะแวดล้อมวิกฤติ และการระบาดของโรครวมถึงแมลง พร้อมทั้งสามารถสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการปรับปรุงพันธุ์ และเกษตรกรที่มีความรู้ความเข้าใจในการนำพันธุ์ข้าวไปใช้อย่างเหมาะสม" ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา นักวิจัย
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค/สวทช.) กล่าว


ความร่วมมือระยะ 2 เวลา 5 ปีนี้ ทั้งสองหน่วยงานมีพันธกิจร่วมกัน 7 ประการหลัก เช่น การพัฒนาพ่อแม่พันธุ์ข้าวทั้งสามสายพันธุ์ให้มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิต การปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวนาชลประทานหรือพันธุ์ข้าวชัยนาท 1 ให้มีความต้านทานโรคเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแบบยั่งยืน รวมถึงต้านทานโรคขอบใบแห้ง การสืบหาแหล่งพันธุกรรมและยีนที่เกี่ยวข้อง สำหรับพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลดีเอ็นเอเพื่อใช้ในการคัดเลือกและติดตาม


การพัฒนาระบบทดสอบที่ให้ผลแม่นยำและรวดเร็ว เพื่อตรวจสอบโรคข้าวและความสามารถในการทนเค็ม ทนต่อน้ำท่วมและทนแล้ง การทดสอบผลผลิตข้าวสายพันธุ์ใหม่ ดูลักษณะหุงต้มและความต้านทานโรคแมลง เพื่อหาสายพันธุ์ดีเด่นสำหรับรับรองพันธุ์ การศึกษาความดีเด่นของพันธุกรรมข้าวไทย และจัดเก็บสายพันธุ์ข้าวใหม่อย่างเป็นระบบในธนาคารพันธุ์ข้าว เพื่อใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมในอนาคต และพันธกิจสุดท้ายกรมการข้าวจะร่วมกับหน่วยค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าวผลิตเมล็ดพันธุ์คัดและเมล็ดพันธุ์หลัก
ข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร

นายสุนิยม ตาปราบ นักวิชาการชำนาญการพิเศษ กรมการข้าว กล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยให้เกษตรกรที่อยู่ในระบบการผลิตทั้งเขตนาน้ำฝนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นาชลประทานภาคกลางและภาคเหนือตอนบนสามารถลดต้นทุนในการผลิต โดยลดการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช


www.creativeenterprise.in.th/.../



 










สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (1601 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©