-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 572 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว








พรศักดิ์ พงศาปาน

ข้าวไทย

คำขวัญที่ว่า "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของประเทศไทยเราที่มีมาตั้งแต่อดีตว่าเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ ถึงวันนี้ภาวะเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่ก็ยังพอมีความหวังว่าศักยภาพของเรายังมี และน่าจะนำคำขวัญดังกล่าวมาพูดได้อย่างเต็มภาคภูมิอีกครั้ง หากช่วยกันคนละไม้คนละมือ...

ผมยังจำได้ว่า สมัยก่อนคนไทยเรานั้นเวลาพบกันก็มักจะถามว่า กินข้าวหรือยัง คือจะเชิญชวนให้กินข้าวกินปลาเป็นลำดับแรก ก่อนที่จะถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ ใครที่ไม่เชิญชวนให้กินข้าวถือว่าผิดธรรมเนียมไทย แต่วันนี้วัฒนธรรมแบบที่ว่าเริ่มจะจางหาย โดยเฉพาะสังคมเมืองแทบจะไม่มีให้เห็นอีกแล้ว

พูดถึงเรื่องข้าวทีไร ก็ทำให้นึกถึงขนบธรรมเนียมประเพณีไทยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องข้าว ชนิดที่ว่านำมาผูกเป็นเรื่องราวทำเป็นสารคดีหรือตำรับตำราต่างๆ ไม่รู้จบ...พอได้ทราบข่าวว่า เขาจะมีการแถลงข่าวจัดงานเกี่ยวกับข้าว ผมก็เกิดความสนใจขึ้นมาทันที

ช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) และ มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ร่วมกันลงนามความร่วมมือเพื่อพัฒนาศักยภาพข้าวไทยอย่างเป็นระบบ โดยทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกันจัดตั้งคลังความรู้เรื่องข้าว ส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยพัฒนาความรู้เรื่องข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวไทยเพื่อเพิ่มมูลค่า ตลอดจนจัดประชุมสัมมนาศึกษาสถานการณ์ข้าวไทยและกิจกรรมต่างๆ

รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในฐานะสถาบันอุดมศึกษา มีองค์ความรู้และงานวิจัยด้านข้าวที่เด่นชัด พร้อมที่จะนำองค์ความรู้และผลงานวิจัยไปใช้ในการพัฒนาชาวนาไทยและข้าวไทย โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญในการพัฒนาข้าวไทย ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศให้มีศักยภาพเข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

ทางด้าน ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการมูลนิธิข้าวไทยฯ กล่าวว่า ปัญหาภัยแล้ง ระบบการจัดการน้ำ เศรษฐกิจ และการเมือง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบปลูกข้าวของชาวนา ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังมานาน เนื่องจากยังไม่มีการแก้ปัญหาทั้งระบบอย่างถูกต้อง ควรจะมีการวางระบบสร้างแหล่งกักเก็บน้ำ จะช่วยบริหารจัดการการปลูกข้าวได้มาก โดยรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง เชื่อว่าการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำจะช่วยให้มีน้ำใช้ในอนาคต หากเกิดวิกฤติภัยแล้ง สำหรับเรื่องข้าวไทยนั้นเห็นว่ากระบวนการผลิต รวมทั้งระบบพ่อค้าคนกลางยังทำให้ชาวนาไทยได้ผลตอบแทนน้อย และในโอกาสที่มูลนิธิข้าวไทยฯ ครบรอบ 10 ปี ได้ร่วมมือกับองค์กรเครือข่าย อาทิ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมการข้าว สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จัดงานการประชุมวิชาการข้าวแห่งชาติ ครั้งปฐมฤกษ์ ภายใต้หัวข้อ "ขับเคลื่อนงานวิจัยข้าวไทยสู่นวัตกรรม" ระหว่าง วันที่ 14-16 ธันวาคม 2553 ณ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งจะเป็นการรวบรวมผลงานวิจัยข้าวจากบุคคล และองค์กรทั่วประเทศ อีกทั้งมีการสัมมนาวิชาการ โดย ดร.ขวัญใจ โกเมศ เลขาธิการมูลนิธิข้าวไทยฯ กระซิบมาว่าจะมีวิทยากรระดับโลกมาพูดเรื่องยุทธศาสตร์ข้าวไทยและข้าวโลก

นอกจากความร่วมมือเรื่องการพัฒนาข้าวไทยของ 2 หน่วยงาน ดังกล่าวแล้ว ยังมีงานแถลงข่าวของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ที่จะจัดประกวดรางวัลนวัตกรรมข้าวไทย ประจำปี 2553 โดยสำนักนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ร่วมกับมูลนิธิข้าวไทยฯ

คุณวีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ข้าวมีความสำคัญกับคนไทยมาก ข้าวเป็นอาหารหลัก รวมทั้งยังเป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ทั้งยังขึ้นชื่อว่าเราส่งออกข้าวมากที่สุดในโลก การใช้นวัตกรรมมาสนับสนุนเพื่อเพิ่มมูลค่าถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะปัจจุบันแม้เราจะส่งออกข้าวมากกว่า 10 ล้านตัน แต่ขณะเดียวกันก็มีคู่แข่งมากขึ้นเรื่อยๆ

"เราจะต้องใช้นวัตกรรมเพิ่มมูลค่า ทำอย่างไร ให้ข้าวไม่ต้องขายเป็นเกวียน แต่ให้ขายเป็นกรัมหรือกิโลกรัม ขณะนี้ได้เร่งให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ไปร่วมมือกับสำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว พัฒนาข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข 6 ให้ทนแล้งได้ โดยยังคงคุณภาพเหมือนเดิม ใช้วิธีปรับปรุงพันธุ์แบบมาตรฐาน (conventional breeding) และใช้ ดีเอ็นเอ เครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทนแล้งและคุณภาพหุงต้มช่วยในการคัดเลือก เพื่อช่วยเหลือชาวนาที่กำลังประสบภัยแล้ง"

พูดถึงนวัตกรรมข้าว...ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องผลักดันให้เป็นรูปธรรม...เมื่อปีก่อนผมเคยได้รับหนังสือเล่มหนึ่งจากสำนักพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว กรมการข้าว เขาได้รวบรวมผลงานการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้จากข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่า เป็นต้นว่า แจกันจากกระดาษฟางข้าว โคมไฟจากฟางข้าว ถาดอเนกประสงค์จากฟางข้าว ถาดไม้จากแกลบและฟางข้าว ตลอดจนผลงานประกวดสิ่งประดิษฐ์วัสดุเหลือใช้จากข้าว ผลงานวิจัยและพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว ซึ่งมีความหลากหลายมาก ทำให้คิดว่าข้าวไทยของเราน่าจะเพิ่มมูลค่าได้อีกมาก

และเมื่อไม่กี่วันมานี้ ผมยังได้ยินได้ฟังเรื่องการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวไทยแบบที่ว่ากินได้โดยไม่ต้องหุง คือแค่นำไปแช่น้ำอุ่น ประมาณ 45 นาที ก็นำมากินได้ โดยผู้ที่สร้างความฮือฮาให้กับเรื่องนี้ มีนามว่า คุณสกุล มูลคำ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ บอกว่าการพัฒนาข้าวที่ไม่ต้องหุง ได้แรงบันดาลใจมาจากการที่ประเทศอินเดียสามารถคิดค้นขึ้นมาได้สำเร็จ อีกทั้งยังได้แนวความคิดมาจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่ต้องเดินป่า จะนำข้าวเปลือกมาแช่น้ำ นึ่ง ผึ่งแดดให้แห้ง แล้วนำไปตำเป็นข้าวสาร เมื่อต้องการนำมากินก็จะนำข้าวมาใส่กระบอกไม้ เติมน้ำ เผาไฟจนสุก จึงเป็นที่มานำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวที่ว่านี้

"ที่อินเดีย ทำข้าวไม่ต้องหุงได้แค่ 1 พันธุ์ แต่ของเราทำทีเดียวได้ 4 พันธุ์ คือขาวดอกมะลิ 105 กข 39 ข้าวหลวงสันป่าตอง และขาหนี่ (พันธุ์ข้าวพื้นเมือง)...ผมมั่นใจว่า วิชาการของเราไม่แพ้ใครในโลกนี้" คุณสกุล บอกอย่างภูมิใจ

ข้าวไทยจะต้องเป็นข้าวโลก...อย่างแน่นอน!

อนึ่ง ใครอยากรู้เรื่องข้าวให้ลึกซึ้ง ขอเชิญชวนเข้าร่วมงาน "ขับเคลื่อนงานวิจัยข้าวไทยสู่นวัตกรรม" ระหว่าง วันที่ 14-16 ธันวาคม 2553 ส่วนใครที่ต้องการส่งผลงานประกวดนวัตกรรมข้าวไทย ต้องรีบส่งภายใน วันที่ 31 กรกฎาคม 2553

ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (1236 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©