-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 443 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว




หน้า: 2/2



สศก. แนะเกษตรกรใช้วิธีป้องกันและกำจัดข้าววัชพืชในนาข้าว


 

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 7 ชัยนาท แนะหลายแนวทางป้องกันและกำจัดข้าววัชพืช แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเขตพื้นที่ชลประทานภาคกลาง ชี้หากเป็นไปได้แนะให้ใช้การป้องกันการเกิดจะช่วยประหยัดและลดต้นทุนการผลิตได้ดีกว่า

นายชวพฤฒ อินทรเทศ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 7 (สศข.7) จังหวัดชัยนาท สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การทำนาในพื้นที่เขตชลประทานภาคกลางต้องพบกับภัยข้าวที่เรียกว่าข้าวดีดข้าวเด้งเกือบทุกพื้นที่ ทำให้เกษตรกรต้องมีค่าใช้จ่ายกำจัดวัชพืชเพิ่มขึ้น ปัญหาการเกิดข้าววัชพืชดังกล่าวเกิดมาจากข้าวที่ตกหล่นจากรถเกี่ยวและข้าวป่าที่เกิดขึ้นปรกติในพื้นนาและแพร่กระจายไปสู่นาแปลงอื่นโดยติดไปกับรถเกี่ยว ซึ่งปัจจุบันนาเกือบทุกแปลงเกี่ยวข้าวด้วยรถเกี่ยว

สำหรับข้าววัชพืชนั้น จะมีความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศได้ดี เมล็ดข้าววัชพืชจะร่วงก่อนเกี่ยวข้าว ทำให้เมล็ดตกบนพื้นนาและสามารถจมอยู่ในดินได้หลายปีกว่าจะเสีย ในนาหว่านน้ำตมข้าววัชพืชจะงอกก่อนและเจริญเติบโตได้ดีจะแย่งปุ๋ยจากต้นข้าว สูงข่มข้าว ทำให้ข้าวเจริญเติบโตช้า ลดการแตกกอผลผลิตลดต่ำ   ซึ่งบางครั้งผลผลิตลดลงเหลือ 400 — 500 กิโลกรัม/ไร่ จากปรกติที่เคยได้ 800—900 กิโลกรัม/ไร่  ส่วนแนวทางป้องกันและกำจัดข้าววัชพืชมีด้วยกันหลายวิธี ได้แก่


1. การเปลี่ยนพันธุ์ข้าวเป็นประจำ แต่พันธุ์ที่ได้ต้องมีความบริสุทธิ์ปราศจากพันธุ์อื่นปลอมปน และต้องทำลายวัชพืชโดยการปล่อยน้ำเข้านาแล้วปล่อยออกจนแห้ง ปล่อยให้วัชพืชขึ้นจนเต็มแล้วไถกลบ ทำการหมักดินไม่น้อยกว่า 1 เดือนก่อนหว่าน จะทำลายข้าววัชพืชที่ตกบนพื้นนาได้


2. ปลูกข้าวด้วยรถดำนา ก่อนเตรียมดิน ปล่อยน้ำเข้านาแล้วปล่อยออกจนแห้ง ปล่อยให้วัชพืชขึ้นจนเต็มแล้วไถกลบยี้เลนเพื่อเตรียมปักดำด้วยเครื่องจะช่วยทำลายวัชพืชไปชุดหนึ่ง ขณะปักดำพื้นนาจะมีน้ำขังอยู่วัชพืชจะไม่สามารถงอกเป็นต้นและเติบโตได้ สภาพพื้นที่ขังต้องมีน้ำได้เสมอทั้งแปลง ถ้าบางส่วนน้ำไม่ขังข้าววัชพืชจะเจริญเติบโตได้ จึงต้องเสียค่าใช้จ่ายกำจัดซ้ำอีก ค่าใช้จ่ายการดำนาด้วยเครื่องไร่ละ 1,100 บาท พร้อมพันธุ์ข้าว โดยค่าใช้จ่ายจะมากกว่าหว่านน้ำตมเล็กน้อย แต่พันธุ์ข้าวที่มาพร้อมรถดำนาต้องมีความบริสุทธิ์ ถ้าใช้แรงงานคนค่าใช้จ่ายจะสูงกว่านี้มาก


3. ใช้แรงงานคนตัดเมื่อมีข้าววัชพืช ซึ่งจะตัดประมาณ 3—4 ครั้งก่อนเก็บเกี่ยวข้าว จะเสียค่าใช้จ่ายมากประมาณ 800—1,000 บาท / ไร่ อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรรายใดยังไม่พบปัญหาดังกล่าว วิธีการป้องกันการเกิดข้าววัชพืช ก็เป็นอีกแนวทางที่ดีอย่างหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ เพราะจะทำให้เกษตรกรไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น นายชวพฤฒ กล่าว

-
-
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

http://www.ryt9.com/s/oae/573572
www.ryt9.com/s/oae/573572 -





การกำจัดวัชพืช


        วัชพืชเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ปลูกข้าว โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลางพบว่าปัญหาสำคัญอันดับหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรไม่ได้ผลผลิตข้าวสูงและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาแปลงปลูกข้าวมาก คือการระบาดของวัชพืชหลากหลายชนิดรวมทั้งข้าวปนที่เมล็ดติดมากับเครื่องจักรที่ใช้ในการเก็บเกี่ยว

การจำแนกชนิดของวัชพืชนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะใช้วางแผนการป้องกันและกำจัดให้ถูกวิธีและถูกเวลา ทั้งนี้สามารถจำแนกวัชพืชเป็นประเภทต่างๆได้ดังนี้

1.วัชพืชใบแคบ (หรือวัชพืชตระกูลหญ้า) เช่นหญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าแดง หญ้าดอกขาว

2.วัชพืชใบกว้าง มีลักษณะเป็นพวกพืชใบเลี้ยงคู่ ใบกว้าง เช่น ผักปอดนา ผักบุ้ง เทียนนา

3.วัชพืชตระกูลกก ลักษณะทรงต้นคล้ายหญ้า แต่ลำต้นไม่มีข้อ ไม่มีปล้อง ลำต้นเป็นหลอด หรือรูปสามเหลี่ยม ได้แก่ กกทราย กกสามเหลี่ยม กกขนาก หนวดปลาดุก

4.วัชพืชประเภทเฟิร์น ไม่มีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยส่วนของลำต้น และอับเรณู เช่น ผักแว่น ผักกูดนา

5.วัชพืชประเภทสาหร่าย เป็นพืชชั้นต่ำ ราก ลำต้นและใบไม่แตกต่างกัน เช่น สาหร่ายไฟ

ชนิดของวัชพืชที่ชอบขึ้นในนาข้าวที่ปลูกด้วยวิธีต่างๆ

- นาปักดำ : หญ้าข้าวนก ผักปอดนา ขาเขียด ผักตับเต่า เทียนนา กกทราย กกขนาก หนวดปลาดุก ผักแว่น สาหร่ายไฟ

- นาหว่านน้ำตม : หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าดอกขาว หญ้าแดง ผักปอดนา ขาเขียด กกทราย กกขนาก หนวดปลาดุก ผักแว่น

- นาหว่านข้าวแห้ง : หญ้านกสีชมพู หญ้าดอกขาว หญ้าแดง หญ้าหางหมา หญ้ากุศลา ผักปราบนา ผักบุ้ง เซ่งใบยาว เซ่งใบมน โสน กกทราย กกขนาก หนวดปลาดุก

        
วิธีการป้องกันกำจัดวัชพืช

หลักการพิจารณาการป้องกันกำจัดวัชพืช มีทั้งการป้องกันไม่ให้วัชพืชจากที่อื่นแพร่ระบาดเข้ามาในพื้นที่ ทั้งเมล็ด ราก เหง้า ลำต้น การควบคุม โดยลดการเสียหายจากการระบาดของวัชพืชที่ขึ้นรบกวน และทำลายชิ้นส่วนของวัชพืชให้หมดไปจากพื้นที่ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายไปที่อื่น ไม่ให้มีการเพิ่มขยายพันธุ์ในพื้นที่เดิม วิธีการป้องกันกำจัดโดยวิธีต่างๆต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม ดังนี้

1. การป้องกันกำจัดโดยวิธีกล  เป็นการใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ การใช้เครื่องทุ่นแรง ใช้ไฟเผา ใช้วัสดุคลุมดิน

2. การป้องกันกำจัดโดยวิธีเขตกรรม  เป็นการจัดการเพื่อลดปัญหาการแข่งขันจากวัชพืช ได้แก่ การขังน้ำในนา การปลูกพืชคลุมดิน การปลูกพืชหมุนเวียน การใช้อัตราเมล็ดพันธุ์พืชที่ปลูกสูงกว่าปกติ และการจัดการปุ๋ยที่ถูกต้องและเหมาะสม

3. การป้องกันกำจัดโดยชีววิธี  เป็นการใช้สิ่งมีชีวิตมาควบคุมวัชพืช ได้แก่ แมลง โรคพืช และสัตว์

4. การป้องกันกำจัดโดยการใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืช  เป็นวิธีที่เกษตรกรใช้กันมากเพราะสะดวกรวดเร็ว แต่ต้องรู้วิธีใช้อย่างถูกต้อง ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

5. การป้องกันกำจัดโดยวิธีผสมผสาน  พบว่าการใช้วิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชเพียงวิธีใดวิธีหนึ่งไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้สมบูรณ์ เพราะแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อจำกัดต่างกันไป การปรับใช้ยุทธวิธีหลายๆวิธีเข้าด้วยกันตามสภาพปัญหาที่เกิดจะสามารถลดปัญหาที่เกิดได้


การจัดการวัชพืชในนาข้าว


กิจกรรม
วิธีการจัดการ
ผลที่ได้รับ

การป้องกันการเกิดวัชพืช

ศึกษาประวัติการแพร่ระบาด



ศึกษาชนิดของวัชพืชที่เกิดในฤดูกาลต่างๆ


จำแนกชนิดของวัชพืชเพื่อเลือกใช้สารป้องกันและกำจัด

การใช้เครื่องจักรและเครื่องมือในนา

ทำความสะอาดเครื่องมือที่ต้องลงปฏิบัติงานในนา ลดปริมาณการแพร่กระจายของเมล็ดวัชพืชที่มาจากแหล่งอื่น ซึ่งติดมากับเครื่องจักร
การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดี/สะอาด ตรวจดูความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ข้าว ทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์โดยใช้เครื่องเป่าให้เมล็ดวัชพืชหลุดออกไป ไม่มีเมล็ดวัชพืชติดมากับเมล็ดพันธุ์ ไม่มีวัชพืชอื่นที่ไม่เคยมีในนามาแพร่ระบาด
การเตรียมดินที่ดี มีการไถพื้นที่อย่างพิถีพิถัน ทำลายวัชพืชที่งอกในระหว่างการเตรียมดิน และปรับพื้นที่ให้เรียบสม่ำเสมอ ไม่มีวัชพืชขึ้นในนา การงอกของเมล็ดข้าวสม่ำเสมอ สามารถควบคุมการให้น้ำได้

การควบคุมวัชพืช
การจัดการน้ำอย่างเหมาะสม

การควบคุมน้ำอย่างมีประสิทธิภาพต้องมีการปรับระดับพื้นที่ให้เรียบตั้งแต่เริ่มเตรียมดิน ใช้ระดับน้ำควบคุมวัชพืชหลังจากข้าวตั้งตัวแล้ว

สามารถทำลายต้นอ่อนของวัชพืชที่ขึ้นมาในระยะแรก
ลดปริมาณของวัชพืชในระยะหลังข้าวตั้งตัว
การใช้สารกำจัดวัชพืช

ใช้สารกำจัดวัชพืชให้ถูกวิธี สารที่ใช้เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอกหลังงอก หรือใช้ทั้งสองชนิดร่วมกัน

สารกำจัดวัชพืชสามารถควบคุมวัชพืชในระยะแรกได้ และสามารถกำจัดวัชพืชที่ขึ้นมาหลังปลูกข้าวได้

ชนิดของสารกำจัดวัชพืชที่ใช้ในนาข้าว
 

เวลาที่ใช้(วัน)

ชื่อสามัญของสาร
ชื่อการค้า
อัตราการใช้
(กรัมสาร ออกฤทธิ์
/ไร่)
ชนิดวัชพืช
ที่ควบคุมได้
วิธีการใช้
0-4
เพรททิลาคลอร์
โซฟิต
80
วัชพืชประเภทหญ้าใบกว้า่งและกก

ปล่อยน้ำเข้านาภายใน 7-10 วัน หลังว่านข้าวและรักษาระดับน้ำสม่ำเสมอ

บิวทาคลอร์

มาเซ็ตเต้,เอคโค่มเบอร์ดี60

160
5-10
อ๊อกซาไดอา
รอนสตาร์
160
วัชพืชประเภทหญ้า ใบกว้าง และกก
ขณะพ่นต้องไม่มีน้ำขังและ ไขมัน เข้านาหลังพ่น 3 วัน
ไธโอเบนคาร์บ
แซทเทอน
320
7-15
บิวทาคลอร์+ โพรพานิล

ชาเล้นจ์,ซัตเตอร์,บิวต้า-โปร

120

วัชพืชประเภทหญ้า ใบกว้างและกก

ขณะพ่นต้องไม่มีน้ำขังและ ไขน้ำเข้านาหลังพ่น 3 วัน

บิวทาคลอร์+2,4-ดี

นูต้า-ดี,เกเบิล
160
15-20

ไธโอเบนคาร์บ+โพรพานิล

แซทเทอนนิล,โซเฟกซ์,นาการ์ด

320
วัชพืชประเภท หญ้า
ขณะพ่นต้องไม่มีน้ำขังและ ไขน้ำเข้านาหลังพ่น 3 วัน
2,4-ดี

เฮ็ดโดนัส,ช้างแดง,หมากแดง,เอสเตอร์ ฯลฯ

160
วัชพืชใบกว้างและกก
20-30
ฟิโนซาพรอพ
วิป,ฟูเร่
12-15
วัชพืชประเภทหญ้า
ขณะพ่นต้องไม่มีน้ำขังและ ไขน้ำเข้านาหลังพ่น 3 วัน

เมทซัลฟูรอน+คลอริมูรอน

อัลไลย์+คลาสสิก
1+1
วัชพืชใบกว้างและกก

ระดับความเป็นพิษของสารกำจัดวัชพืช

การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชชนิดใดก็ตาม ผู้ใช้ต้องมีความระมัดระวังในระหว่างการใช้ฉีดพ่นสารเหล่านั้น เพราะสารแต่ละชนิดมีความเป็นพิษในระดับต่างๆกัน การจัดระดับความเป็นพิษของสารกำจัดวัชพืชซึ่งเป็นเคมีภัณฑ์ที่จำหน่ายในท้องตลาด สามารถสังเกตได้จากแถบสีที่ฉลากข้างขวด มีอยู่ด้วยกัน 4 สี
        
สีแดง     หมายถึง สารเคมีที่มีระดับความเป็นพิษ ร้ายแรง
สีเหลือง หมายถึง สารเคมีที่มีระดับความเป็นพิษ ปานกลาง
สีน้ำเงิน  หมายถึง สารเคมีที่มีระดับความเป็นพิษ น้อย
สีเขียว    หมายถึง สารเคมีที่มีระดับความเป็นพิษ ต่ำ



© สงวนลิขสิทธิ์ 2550 ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชลบุรี สำนักเมล็ดพันธุ์ข้าว กรมการข้าว
เลขที่ 30 หมู่ที่ 10 ตำบลนาเริก อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี 20240
โทร. 0-3820-202 แฟกซ์ 0-3820-9201 อีเมล์
cbr rsc@ricethailand.go.th

http://cbr-rsc.ricethailand.go.th/famer_04.htm

cbr-rsc.ricethailand.go.th/famer_04.htm -




ข้าววัชพืช ผลกระทบร้ายแรงต่อผลผลิตข้าวไทย









ข้าววัชพืช ผลกระทบร้ายแรงต่อผลผลิตข้าวไทยหากไม่รีบจัดการ




ปัญหาเรื่องผลผลิตข้าวที่ไม่ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาดมีเกิดขึ้นตลอดเวลาในหลากหลายประเด็น ซึ่งแต่ละประเด็นล้วนแต่มีที่มาของปัญหาแทบทั้งสิ้น  ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือเรื่องของข้าววัชพืชที่ได้เข้ามามีบทบาททำให้ผลผลิตข้าวตลอดถึงกระบวนการเพาะปลูกข้าวมีผลกระทบเรื่อยมา

สิ่งที่สำคัญของข้าววัชพืชเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีการเจือปนในแปลงปลูกของฤดูการเพาะปลูกต่อมา เนื่องจากมีการเจือปนในเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าวนับเป็นปัจจัยการผลิตพื้นฐานที่สำคัญในการผลิตข้าว ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่ลงทุนน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับปัจจัยการผลิตอื่นๆ เช่น ปุ๋ยและสารเคมี หากมีการใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพไม่ดีตั้งแต่ต้นจะทำให้ผลผลิตและคุณภาพของผลผลิตที่ได้ลดลง ทำให้การจัดการยุ่งยากมากขึ้นเสียเวลาและเพิ่มค่าใช้จ่ายในการผลิต นอกจากนี้การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวไม่ได้มาตรฐานยังเป็นสาเหตุที่สำคัญสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ข้าววัชพืชแพร่กระจายจากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว

ข้าววัชพืชที่พบทั่วไปในนาข้าวมีหลากหลายลักษณะ มีทั้งต้นสูงและต้นเตี้ยใกล้เคียงกับข้าวปลูกลักษณะเมล็ดต่างกันมีทั้ง เมล็ดสั้น เมล็ดยาวเรียว สีเปลือกมีสีฟางหรือน้ำตาลจนถึงน้ำตาลเข้มและสีดำ บางชนิดมีหางบางชนิดไม่มีหางบางชนิดมีหางบ้างไม่มีหางบ้าง มีทั้งร่วงง่ายมากถึงร่วงปานกลางเยื่อหุ้มเมล็ดมีทั้งสีขาวและสีแดง เมล็ดข้าววัชพืชที่เป็นข้าวแดง(ข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง)ที่พบในนาข้าวภาคกลางมีระยะพักตัวประมาณ 3-10 สัปดาห์ ข้าววัชพืชประเภทนี้มีผลกระทบต่อคุณภาพข้าวทั้งเพื่อใช้เมล็ดพันธุ์และเพื่อเป็นการค้าหากมีมากขายเข้าโรงสีจะถูกตัดราคา

นางอัญชลีประเสริฐศักดิ์นักวิชาการเกษตร8ว.ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี เปิดเผยว่าทางกรมวิชาการเกษตร โดยศูนย์วิจัยข้าวศูนย์บริการวิชาการและปัจจัยการผลิตด้านข้าวรวม 27 แห่งทั่วประเทศนอกจากจะมีหน้าที่ปรับปรุงพันธุ์ข้าวพันธุ์ใหม่ๆที่มีผลผลิตสูงและคุณภาพดีแล้ว ยังมีหน้าที่ผลิตเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ชั้นพันธุ์คัดและพันธุ์หลักเพื่อเพิ่มปริมาณเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ส่งให้กรมส่งเสริมการเกษตรผลิตเมล็ดพันธุ์ดีในชั้นพันธุ์ขยายและพันธุ์จำหน่ายเพื่อจำหน่ายแก่เกษตรกรต่อไป

อย่างไรก็ตามเมล็ดพันธุ์ที่ทางส่วนราชการผลิตยังมีไม่เพียงพอแก่ความต้องการของเกษตรกร ซึ่งทางภาครัฐผลิตได้ประมาณ 10% ของความต้องการทั้งหมดดังนั้นเกษตรกรส่วนใหญ่จึงต้องหาเมล็ดพันธุ์จากนอกระบบเช่นร้านค้าเพื่อนบ้านหรือเก็บไว้ใช้เองซึ่งมักประสบปัญหาได้เมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้มาตรฐานมีข้าวแดงและข้าวพันธุ์อื่นปนมาก

ดังนั้นหากมีความจำเป็นต้องใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งอื่นควรเลือกซื้อจากร้านค้าหรือแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ หรือเกษตรกรสามารถเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองโดยเริ่มต้นจากเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกที่ได้มาตรฐาน หมั่นดูแลรักษาตรวจตัดข้าวปนอย่างสม่ำเสมอ การเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ทำพันธุ์ปลูกไม่ควรปฏิบัติต่อเนื่องเกิน 3 ปี เนื่องจากคุณภาพของผลผลิตจะลดลงกว่าเดิมเมล็ดพันธุ์ข้าวไม่บริสุทธิ์เพิ่มมากขึ้น

“ในพื้นที่นาชลประทานภาคกลางที่ปลูกข้าวต่อเนื่องทำให้เกิดปัญหาข้าววัชพืชนี้ซึ่งจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีและศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรีได้ตระหนักถึงปัญหาจึงได้ดำเนินการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนเพื่อหาแนวทางป้องกันและกำจัดข้าววัชพืชที่ระบาดในปัจจุบัน ซึ่งจะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือของบุคคลหลายฝ่ายทั้งภาครัฐเอกชนผู้ประกอบการและตัวเกษตรกรเอง” นางอัญชลีกล่าว

สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหานั้นนางอัญชลีแนะนำว่า ควรใช้การจัดการแบบผสมผสานอย่างต่อเนื่องทั้งการใช้เมล็ดพันธุ์ดีร่วมกับการจัดการการผลิตที่ดีมีการพักดินหรือปล่อยดินแห้งอย่างน้อย 1-2 เดือนหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้เมล็ดข้าวที่ร่วงหล่นพ้นระยะพักตัวในสภาพธรรมชาติจากนั้นเอาน้ำเข้ากระตุ้นให้เมล็ดงอกหรือล่อข้าวรื้ออีก 1-2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 5-7 วันแล้วไถกลบขังน้ำหมักประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนไถคราดทำเทือกครั้งสุดท้ายอาจร่วมกับการใช้สารเคมีประเภทคลุมวัชพืชก่อนงอกทิ้งไว้ 2-5 วันขึ้นกับชนิดของสารเคมี จากนั้นจึงหว่านข้าวหลังจากหว่านข้าวประมาณ 7-10 วันเอาน้ำเข้ารักษาระดับน้ำไว้ที่ 5-10 เซนติเมตร ตลอดระยะการเจริญเติบโตของข้าว ทำการตรวจตัดข้าวปน 2-3 ครั้งในระยะแตกกอออกดอกและก่อนเก็บเกี่ยวจะช่วยลดปริมาณข้าววัชพืชที่สะสมในนา ตลอดจนทำความสะอาดรถเกี่ยวนวดก่อนทำการเก็บเกี่ยวข้าวและใช้ภาชนะบรรจุที่สะอาดซึ่งทั้งนี้ความสำเร็จในการปฏิบัติขึ้นอยู่กับการนำไปปรับใช้ของเกษตรกร

การใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดีร่วมกับการจัดการการผลิตที่ดีหมั่นดูแลตรวจตัดข้าวปนอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดปัญหาข้าววัชพืชได้อย่างยั่งยืนการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชอาจช่วยลดข้าววัชพืชได้บ้าง แต่ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีหรือใช้ปริมาณมากอาจจะมีผลต่อข้าวปลูกและสภาพแวดล้อมด้วยเช่นกัน เนื่องจากข้าววัชพืชส่วนใหญ่เป็นชนิดเดียวกับข้าวปลูกมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า OryzaSativaและข้อจำกัดของการใช้สารเคมีคือใช้ได้เฉพาะข้าววัชพืชที่พ้นพักตัวแล้วเท่านั้น ดังนั้นเกษตรกรไม่ควรหวังพึ่งสารเคมีแต่เพียงอย่างเดียว.


ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 

http://www.dailynews.co.th/agriculture/each.asp?newsid=72014

http://www.news.cedis.or.th/detail.php?id=2493&lang=en&group_id=1




สารคดีเกษตร : คุมวัชพืชในนาข้าวด้วยสะเดา


การทำนาด้วยวิธีปักดำ เกษตรกรต้องเพาะต้นกล้าข้าวให้มีอายุประมาณ 45 วัน จึงจะนำไปปลูก โดยในช่วงที่ต้นกล้าข้าวเจริญเติบโต มักเกิดวัชพืชขึ้นแซมในแปลง ทำให้ต้นกล้าข้าวถูกแย่งอาหาร ต้นไม่สมบูรณ์ เกษตรกรเสียเวลาในการถอนไปปักดำ เพราะต้องคัดเลือกวัชพืชทิ้ง อีกทั้งยังเกิดเพลี้ยไฟระบาดในระยะดังกล่าวด้วย

นายบุญเหล็ง สายแวว เกษตรกรปราชญ์ชาวบ้านที่ตำบลหัวเรือ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์ ใช้สมุนไพรและผลิตปุ๋ยชีวภาพ ทดแทนสารเคมี มานาน 10 ปี ได้แก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยใช้เมล็ดสะเดาแก่ที่ตากจนแห้ง และนำมาบดให้ละเอียด หว่านในแปลงตกกล้าข้าว โดยหว่านหลังจากที่หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวแล้ว 4 วัน หรือในระยะที่เมล็ดพันธุ์ข้าวเริ่มแทงหน่อ ทั้งนี้ให้สูบน้ำออกจากแปลงตกกล้าจนเกือบแห้งก่อนหว่านสะเดา โดยใช้อัตราเมล็ดสะเดาบดแห้ง 2 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ตกกล้าข้าว 1 งาน

จากการทดลองเปรียบเทียบระหว่างแปลงที่ไม่ได้หว่านเมล็ดสะเดาบด กับแปลงที่หว่าน พบว่า แปลงที่หว่านเมล็ดสะเดา ไม่มีหญ้า หรือวัชพืชขึ้นในแปลงและสามารถป้องกันการระบาดของเพลี้ยไฟได้ด้วย

เกษตรกรที่ทำนาแบบปักดำ สามารถนำวิธีนี้ไปใช้ได้ ช่วยต้นทุนการผลิต โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีที่มีราคาแพง ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม

(ติดต่อ บุญเหล็ง สายแวว เกษตรกร จ.อุบลราชธานี โทร. 087-1048818)


http://www.ch7.com/news/news_thailand_detail.aspx?c=2&p=8&d=85098
http://www.nicaonline.com/webboard/index.php?topic=18664.msg%msg_id%







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (9038 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©