-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 455 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

กระท้อน




หน้า: 2/5

 
              
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงกระท้อน     

   1.เรียกใบอ่อน   
           
     ทางใบ :                                
   - ให้น้ำ 100 ล.+ 46-0-0(200 กรัม)หรือ 25-5-5(200 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ทุก 5-7 วัน  ต่อการเรียกใบอ่อน 1 รุ่น                
   - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                 
     ทางราก :               
   - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
   - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน                
     หมายเหตุ :                
   - เริ่มลงมือปฏิบัติทันทีหลังจากตัดแต่งกิ่ง                
   - หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วันถ้าต้นใดแตกใบอ่อนดีน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่  การสะสมอาหารเพื่อการออก  การปรับ ซี/เอ็น เรโช.  การเปิดตาดอก  ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นและเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก....แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้
   - ถ้ามีการตัดแต่งรากด้วยแล้วให้ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีส่วนผสมของรำละเอียดด้วย จะช่วยให้แตกรากใหม่เร็วและดี               
   - ก่อนตัดแต่งกิ่งให้บำรุงจนต้นเริ่มผลิตาใบออกมาก่อนแล้วจึงลงมือตัดแต่งกิ่ง จากนั้นจึงเรียกใบอ่อนจะช่วยให้ต้นแตกใบอ่อนชุดใหม่  ดีกว่าตัดแต่งกิ่งก่อนแล้วจึงลงมือบำรุงเรียกใบอ่อนทีหลัง
   - รักษาใบอ่อนที่แตกใหม่ละชุดให้รอดพ้นจากโรคและแมลงให้ได้  ถ้าใบอ่อนชุดหนึ่งชุดใดถูกทำลายไปจะต้องเริ่มเรียกใบชุดที่หนึ่งใหม่ทำให้เสียเวลา               
   - กระท้อนต้องการใบอ่อน 3 ชุด โดยมีวิธีทำดังนี้                
     วิธีที่ 1...ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีหลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อใบอ่อนชุด 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ไม่ควรห่างกันเกิน 7-10 วัน และหลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เรียกใบอ่อน
ชุด 3 ต่อได้เลยอีกเช่นกัน การที่ใบอ่อนชุด 2 ออกไม่พร้อมกันนั้นจะส่งผลให้ใบอ่อนชุด 3ออกไม่พร้อมกันทั้งต้นอีกด้วย และเมื่อใบอ่อนชุด 3 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ
                
     วิธีที่ 2....หลังจากใบอ่อนชุดแรกแผ่กางแล้วเร่งให้เป็นใบแก่  ได้ใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งเริ่มร่วง 1-2 ใบให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด  2  เมื่อใบอ่อนชุด 2 แผ่กางให้เร่งเป็นใบแก่  เมื่อใบอ่อนชุด  2 เป็นใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบก็ให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด  3 และเมื่อใบอ่อนชุด  3 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ
       (วิธีที่ 1 ได้ผลดีกว่าวิธีที่ 2 เพราะต้นจะมีอาการโทรมน้อยกว่า)        


     2.เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่               
       ทางใบ :               
     - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-21-74 (200 กรัม) หรือ 0-39-39 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                    
       ทางราก :
           
       ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน                
       หมายเหตุ :               
     - เริ่มลงมือปฏิบัติเมื่อใบอ่อนเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้                   
     - วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงประเภทปากกัดปากดูด
     - ถ้าต้องการให้ใบแก่เร็วขึ้นอีกก็ให้ฉีดพ่นตั้งแต่ใบเริ่มแผ่กางเพียงเล็กน้อย หรือฉีดพ่นก่อนที่ใบแผ่กาง (เพสลาด) นั่นเอง               
     - สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม.สูง นอกจากช่วยทำให้ใบเป็นใบแก่แล้วยังเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้อีกด้วย
     - ถ้าปล่อยให้ใบอ่อนออกมาแล้วเป็นแก่เองตามธรรมชาติต้องใช้เวลา 30-45 วัน
  
       
    3.สะสมอาหารเพื่อการออกดอก   
    
           
      ทางใบ :               
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.ทุก 5-7 วัน ติดต่อกัน 1-2 เดือน โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ ติดต่อ
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
      ทางราก :               
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 หรือ 9-26-26  สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน                
    - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน                
      หมายเหตุ :               
    - เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด               
    - ปริมาณ 8-24-24 หรือ 9-26-26 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นปีผลิตที่ผ่านมา  กล่าวคือ  ถ้ารุ่นปีผลิตที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก  ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น แต่ถ้ารุ่นปีผลิตที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง
    - การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น หมายถึง การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น เช่น จากเคยให้ 15 วัน/ครั้งก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง                  
    - แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-3 เดือน ในห้วง 2-3 เดือนนี้ให้กลูโคสผงหรือนมสัตว์สด 2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลงมือบำรุงและให้รอบ 2 ห่างจากรอบแรก 20-30 วัน                
    - การสะสมอาหารเพื่อการออกดอกมีความสำคัญมาก ช่วงนี้จำเป็นต้องให้สารอาหารกลุ่ม  “สร้างดอก-บำรุงผล”  ทั้งทางใบและทางรากให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้                
    - ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่  ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังได้สะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกเสียก่อน จากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง
        
    4.ตรวจสอบสภาพอากาศ           
      ก่อนเริ่มลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช.(งดน้ำ)และก่อนลงมือเปิดตาดอกต้องแน่ใจว่าระหว่างที่กำลังบำรุงทั้งสองขั้นตอนนี้จะต้องไม่มีฝน เพราะถ้ามีฝนตกลงมาการงดน้ำก็ล้มเหลว และดอกที่ออกมาจะได้รับความเสียหาย....ถ้ารู้แน่ว่าช่วงงดน้ำและเปิดตาดอกถึงช่วงดอกออกมาแล้วจะมีฝนก็ให้ระงับการปรับ ซี/เอ็น เรโช.และเปิดตาดอกไว้ก่อนให้บำรุงต้นต่อไปอีกด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้นอาจจะปรับแผนการบำรุงเพื่อทำให้กระท้อนออกล่าฤดูด้วยการเลื่อนเวลาเริ่มปรับ ซี/เอ็น เรโช. และเปิดตาดอกให้ช้าออกไปเท่าที่สภาพภูมิอากาศจะอำนวยก็ได้
            

     5.ปรับ ซี/เอ็น เรโช    
               
       ทางใบ :                             
     - ให้ น้ำ 100 ล.+ 0-42-56 (200 กรัม)+ ธาตุรอ/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ระวังอย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้น                 
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน    
        
       ทางราก :               
     - เปิดหน้าดินโคนต้นโดยนำอินทรียวัตถุคลุมโคนต้นออกให้แดดส่องได้ทั่วพื้นดินทรงพุ่ม
     - งดให้น้ำเด็ดขาด   กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อจะต้องสูบน้ำออกให้หมด
       หมายเหตุ :                
     - วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม”  ปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และ “ลด” ปริมาณ เอ็น.(อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น)ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกแน่นอนหลังการเปิดตาดอก
     - เริ่มปฏิบัติหลังจากแน่ใจว่าต้นได้สะสมอาหารหรือมีลักษณะอั้นตาดอกเต็มที่แล้ว  โดยสังเกตได้จากใบแก่โคนกิ่ง 2-3 ใบ  ซึ่งเป็นใบอายุข้ามปีเหลืองร่วงพร้อมกันทั้งต้น
       
    
- ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่นใจว่าระหว่างปรับ ซี/เอ็น เรโช จะไม่มีฝนตก  เพราะถ้ามีฝนตกลงมามาตรการงดน้ำก็ต้องล้มเหลว
           
     - ขั้นตอนการปรับ ซี/เอ็น  เรโช. ได้ผลสมบูรณ์หรือไม่ให้สังเกตจากต้น ถ้าต้นเกิดอาการใบสลดแสดงว่าในต้นมีปริมาณ ซี.มาก ส่วนปริมาณ เอ็น.เริ่มลดลง ความพร้อมของต้น อั้นตาดอก)ก่อนเปิดตาดอก  สังเกตได้จากลักษณะใบใหญ่หนาเขียวเข้ม  ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด  กิ่งและใบกรอบเปราะ  ข้อใบสั้น  หูใบอวบอ้วน ตาดอกโชว์นูนเห็นชัด               
     - เมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่มอีก  แต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์ทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 20-30 วัน
     - การให้สารอาหารทางใบซึ่งมีน้ำเป็นส่วนผสมนั้น  อย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้นเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำทางราก  แนวทางปฏิบัติ คือ ให้บางๆเพียงเปียกใบเท่านั้น
     - เมื่องดน้ำหรือไม่รดน้ำแล้วจำเป็นต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไป  โดยทำร่องระบายน้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย                       
     - กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อต้องใช้ระยะเวลาในการงดน้ำนานมากกว่าสวนพื้นราบยกร่องแห้งจึงจะทำให้ใบสลดได้  อาจส่งผลให้แผนการผลิตที่กำหนดไว้คลาดเคลื่อน  ดังนี้จึงจำเป็นต้องสูบน้ำออกตั้งแต่ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช โดยกะคะเนให้ดินโคนต้นแห้งถึงขนาดแตกระแหง และมีความชื้นไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ตรงกับช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช พอดี                
     - มาตรการเสริมด้วยการ “รมควัน”  ทรงพุ่มช่วงหลังค่ำ ครั้งละ 10-15 นาที  3-5 รอบห่างกันรอบละ 2-3 วัน  จะช่วยให้การปรับ ซี/เอ็น เรโช  สำเร็จเร็วขึ้น        
 

    6.เปิดตาดอก   
           
      ทางใบ :               
      สูตร 1
.....น้ำ 100 ล.+ ไธโอยูเรีย (500- 1,000 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.               
      สูตร 2.....น้ำ 100 ล. + 0-52-34 (500 กรัม) + สาหร่ายทะเล  50 กรัม + ฮอร์โมนไข่ 50ซีซี. + เอ็นเอเอ. 25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
      สูตร 3....น้ำ 100 ล.+ 13-0-46 (500 กรัม) + สาหร่ายทะเล 50 กรัม +ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
      สูตร 4 ...น้ำ 100 ล.+ 13-0-46 (1 กก.)+ 0-52-34(500 กรัม)+ สาหร่ายทะเล 50 กรัม + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
      สูตร 5....น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.               
      ทางราก  :               
    - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเหมือนช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช               
    - ให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง(1/2-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5ม.
    - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
            
      หมายเหตุ :               
    - เริ่มปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกดีทั่วต้นและสภาพอากาศพร้อม
    - ระหว่างสูตร 1-2-3-4 ให้เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งเพียงสูตรเดียว สลับกับสูตร 5 โดยให้ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน ไม่ควรใช้สูตรใดสูตรหนึ่งเพียงสูตรเดียวติดต่อกัน  เพราะจะทำให้เกิดอาการดื้อจนเปิดตาดอกไม่ออก
    - ต้นที่ผ่านการบำรุงไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์   หรือสภาพอากาศไม่ค่อยอำนวย   หรือพันธุ์หนักออกดอกยาก  แนะนำให้เปิดตาดอกด้วยสูตร 4 สลับกับสูตร 5                
    - เปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ  ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ
    - เปิดตาดอกแล้วมีทั้งใบอ่อนและดอกออกมาพร้อมกัน ให้เปิดตาดอกด้วยสูตรเดิมซ้ำอีก 1-2 รอบ นอกจากช่วยกดใบอ่อนที่ออกมาพร้อมกับดอกแล้วยังดึงช่อดอกที่ยังไม่ออกให้ออกมาได้อีกด้วย
 
       
    7.บำรุงดอก   
           
      ทางใบ :               
    - ให้น้ำ 100 ล. + 15-45-15 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + เอ็นเอเอ. 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ฉีดพ่นพอเปียก  ระวังอย่าให้โชกจนลงถึงพื้น
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                 
      ทางราก :                
    - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น               
    - ให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
    - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน                
      หมายเหตุ :               
    - ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูม  บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล            
    - ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน.  1 รอบ  จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี
    - ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงไปจนถึงช่วงดอกบาน
    - ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้  หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ               
    - ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาเปิดตาดอกให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก...มาตรการบำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอตั้งแต่ก่อนเปิดตาดอกจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก
    - เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมน เอ็นเอเอ. แนะนำให้ใช้ฮอร์โมนเอ็นเอเอ.วิทยาศาสตร์แทนฮอร์โมนทำเอง  จะได้ผลดีกว่าเพราะเปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นแน่นอนกว่า               
    - ควรฉีดพ่นเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสม  เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก  ควรฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียก หรือฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้
    - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น  “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน”  โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้
    - การไม่ใช้สารเคมีใดๆเลยติดต่อกันมานานจะทำให้ให้มีผึ้งและมีแมลงธรรมชาติอื่นๆเข้ามาช่วยผสมเกสร  ซึ่งจะส่งผลให้การติดผลดีขึ้น               
    - ธรรมชาติกระท้อนช่วงออกดอกต้องการน้ำมากกว่าไม้ผลอื่นๆ ดังนั้นการบำรุงตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอกจนกระทั่งมีดอกออกมาควรเพิ่มปริมาณน้ำให้มากจะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ดีขึ้น  ช่วงนี้ถ้าขาดน้ำหรือได้น้ำไม่พอเพียงดอกจะแห้งและร่วง     
       

    8.บำรุงผลเล็ก
           
      ทางใบ :                
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 7-10 วัน
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
      ทางราก :               
    - นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม                 
    - ใส่ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน           
    - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
    - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
            
      หมายเหตุ :                   
    - เริ่มปฏิบัติหลังจากกลีบดอกร่วง  หรือขนาดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว      
    - เทคนิคการให้ปุ๋ยทางใบด้วยสูตร 15-45-15 ซึ่งเป็นสูตรเดียวกับบำรุงดอกนั้นวัตถุประสงค์เพื่อให้ P.สร้างเมล็ดก่อนในช่วงแรก ซึ่งเมล็ดนี้จะเป็นผู้สร้างเนื้อต่อไปเมื่อผลโตขึ้น  
      

    9.บำรุงผลกลาง    
           
      ทางใบ :               
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ไคโตซาน 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
      ทางราก :                
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (1/2-1 กก)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./ครั้ง/เดือน
    - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน                
      หมายเหตุ :
           
    - เริ่มลงมือบำรุงเมื่อเมล็ดเริ่มเข้าไคล  การที่จะรู้ว่าผลเริ่มเข้าไคลแล้วหรือยังต้องใช้วิธีสุ่มเก็บผลลงมาผ่าดูเมล็ดภายในเท่านั้น              
    - การบำรุงระยะผลขนาดกลางต้องให้น้ำมากสม่ำเสมอแต่ต้องไม่ขังค้าง  ถ้าได้รับน้ำน้อยจะทำให้เนื้อแข็งกระด้าง  ผลไม่โต  ปุยน้อย  หากมีฝนตกหนักลงมากระทันหันก็อาจทำให้ผลแตกผลร่วงได้
  
  - ถ้าติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน. 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลขนาดกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากแบกภาระเลี้ยงผลจำนวนมากบนต้น       

  10.บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว   
           
     ทางใบ :               
   - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-21-74(200 กรัม)หรือ 0-0-50(200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.หรือ น้ำ 100 ล.+ มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน และให้รอบสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 5-7 วันด้วยการฉีดพ่นพอเปียกใบ
                 
   - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                
     ทางราก :               
   - เปิดหรือไม่เปิดหน้าดินโคนต้น และนำอินทรีย์วัตถุออกหรือไม่ต้องนำออกก็ได้
   - ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
     หมายเหตุ :               
   - ปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยว 10-20 วัน                
   - ช่วงผลแก่จัดใกล้หรือก่อนเก็บเกี่ยวไม่ต้องงดน้ำแต่ต้องให้น้ำสม่ำเสมอเพื่อให้เนื้ออ่อนนุ่มฉ่ำน้ำจนใช้ช้อนตักเนื้อรับประทานได้นั้น  หากมีฝนตกลงมาอาจทำให้มีน้ำมากเกินไป  ดังนั้น  จะต้องควบคุมปริมาณน้ำที่มาจากฝนให้อยู่ในระดับที่พอดี  ไม่มากหรือน้อยเกินไปให้ได้........ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวนี้หากงดน้ำเหมือนผลไม้อื่นๆ  เนื้อจะแข็งไม่สามารถใช้ช้อนตักรับประทานได้
   - ถ้ามีฝนตก หลังจากหมดฝนแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเดิมและวิธีเดิมต่อไปอีก 10-20 วัน  จากนั้นให้สุ่มเก็บลงมาผ่าพิสูจน์ภายในก็จะรู้ว่าสมควรลงมือเก็บเกี่ยวได้แล้วหรือต้องบำรุงต่อไปอีกจึงเก็บเกี่ยว ช่วงผลแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยวมีฝนตกชุก แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สด 1 รอบเพื่อป้องกันต้นสะสมไนโตรเจน (จากน้ำฝน) มากเกินไปซึ่งจะทำให้ผลมีรสเปรี้ยว
   - การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรมเหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมของต้นต่อการปฏิบัติบำรุงรุ่นปีผลิตต่อไปอีกด้วย          
   - กระท้อนไม่ต้องการพักต้นหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต  เมื่อผลสุดท้ายหลุดจากต้นต้องเร่งบำรุงเรียกใบอ่อนเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นทันที จะช่วยให้การออกดอกติดผลในรุ่นการผลิตปีต่อไปดีขึ้น




หน้าก่อน หน้าก่อน (1/5) - หน้าถัดไป (3/5) หน้าถัดไป


Content ©