-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 506 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม








 

การปลูกอ้อยน้ำตม : ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย

 

            

ผลผลิตอ้อยและน้ำตาล
 ปี 2542 มีอ้อยเข้าหีบทั้งประเทศ ประมาณ 50 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2541 ประมาณ 18.6% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอ้อยหีบมากที่สุด ทำให้มีโรงงานน้ำตาลจากภาคอื่น มาที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพิ่มขึ้นมาก รองมาคือภาคกลาง และการผลิตน้ำตาลทรายได้ทั้งสิ้น 5.19 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2541 ประมาณ 26.9% และผลิตกากน้ำตาลได้ 2.37 ล้านตัน ราคาอ้อยขึ้นตัน ปีการผลิตปี 2542 ณ ที่ความหวาน 10 CCS ตันละ 500 บาท รัฐช่วยเงินจัดสรรคอีก 100 รวม เป็นตันละ 600 บาท แต่เมื่อปลายปีเหลืองเพียงตันละ 480 บาท แต่ในปี 2543 ประกาศราคาขั้นตัน ณ ความหวานที่ 10 CCS เพียงตันละ 450 บาท

            พื้นที่ปลูกอ้อย ที่อยู่ในเขตชลประทานมีไม่น้อยกว่า 1 ล้านไร่ คิดเป็นประมาณ 20% ของพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ แต่ผลผลิตเฉลี่ยของอ้อยในเขตชลประทานยังต่ำอยู่คือ 8.6 ตันต่อไร่เท่านั้น ซึ่งสูงกว่าผลผลิตเฉลี่ยของอ้อยในเขตอาศัยน้ำฝน (6.7 ตัน/ไร่) ผลผลิตเฉลี่ยของอ้อยในเขตชลประทานน่าจะสูงกว่าที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะในภาคกลาง ซึ่งดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงกว่าภาคอื่น

            เขตกรรม พบว่าการปลูกระยะระหว่างแถวต่างๆ กัน ไม่มีผลต่อผลผลิตอ้อยแต่อย่างได้คือ ระหว่าง 11.4-12.3 ตัน/ไร่ แต่พบว่า อ้อยพันธุ์อู่ทอง 1 และอู่ทอง 3 ให้ผลผลิตสูงกว่าอู่ทอง 2 ผลจากการทดลอง 3 ปี จากอ้อยปลูกจึงถึงอ้อยตอ 2 สรุปได้ว่า การเปลี่ยนระยะปลูกจากเดิม 1.36 เมตร เป็น 1.00 เมตร คือการปลูกเป็นแถวคู่ก็สามารถช่วยให้ผลผลิตอ้อยสูงขึ้น

            การเพิ่มผลผลิตอ้อย  โดยการเพิ่มจำนวนประชากรอ้อยต่อพื้นที่ที่ระยะแถวต่างกัน พบว่า การปลูกอ้อยแถวแคบที่ระยะแถว 75 ซม. ได้ผลผลิตอ้อยสูงสุด (21.7 ตัน/ไร่) รองลงไปคือ ระยะแถว 100 ซม. (18.8 ตัน/ไร่) ระยะแถว 125 ซม. (17.9 ตัน/ไร่) ระยะแถว 150 ซม. (16.7 ตัน/ไร่) ส่วนระยะปลูกเดิมได้ผลผลิตต่ำสุด (16.3 ตัน/ไร่) ปฐพีวิทยา พบว่า ปุ๋ยอัตรา 24-12-12 (N2-P2O5-K2O กก./ไร่ ทำให้อ้อยมีผลผลิตสูงสุด โดยเฉพาะพันธุ์อู่ทอง3 ให้ผลผลิตสูงสุด ถึง 19.40 ตัน/ไร่ ขณะที่ไม่ใส่ปุ๋ยเลยได้ผลผลิตเพียง 10.34 ตัน/ไร่

            อิทธิพลวัชพืชที่มีต่อการเจริญเติบโตของอ้อย พบว่า อ้อยที่ไม่มีการควบคุมวัชพืช จะมีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตน้อยกว่าอ้อยที่มีการควบคุมวัชพืชอย่างเห็นได้ชัด ส่วนอ้อยที่มีการควบคุมวัชพืชในช่วง 45-180 วัน หลังปลูกอ้อย ได้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน แต่อ้อยที่มีการควบคุมวัชพืชหลังปลูกอ้อย 45 วัน จะมีค่าความ (CCS) สูงกว่าอ้อยที่มีการควบคุมวัชพืชในช่วง 90-180 วัน

            เวลาที่เหมาะสมของการใช้สารกำจัดวัชพืช ชนิดต่างๆ หวังปลูกอ้อยและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ พบว่า การใช้สารกำจัดวัชพืชหลังจากให้น้ำครั้งที่ 1 จะควบคุมวัชพืชประเภทในแถบได้ดีกว่าการใช้หลังการให้น้ำครั้งที่ 2 แต่การใช้สารกำจัดวัชพืชหลังการให้น้ำครั้งที่ 2 จะควบคุมแห้วหมูได้ดีกว่าการใช้สารกำจัดวัชพืชหลังการให้น้ำครั้งที่ 1 จะควบคุมวัชพืชในแคบได้ดีกว่า การใช้หลังให้น้ำครั้งที่ 2 จะควบคุมแห้วหมูได้ดีกว่าการใช้สารกำจัดวัชพืชหลังการใช้น้ำครั้งที่ 1 และจากการวิเคราะห์ผลตอบแทนเชิงเศรษฐศาสตร์แล้วสรุปได้ว่า การใช้ Clmetryn ควบคุมวัชพืชควรใช้หลังการให้น้ำครั้งที่ 2 ส่วนการใช้ atrazine metribuzine /2,4-D hexazinone/diuron , imazapic pendimethalin ควรใช้ให้หลังให้น้ำครั้งที่ 1 การพัฒนาอ้อยในระบบเกษตรยั่งยืน

           ด้านปฐพีวิทยา : ผลการทดลอง พบว่า ระยะสั้นการไถพรวนปกติ ทำให้อ้อยปลูกได้ผลผลิตสูงสุด แต่ในระยะยาว การลดการไถพรวนจะส่งผลดีกว่า โดยทำให้อ้อยตอยังคงรักษาผลผลิตไว้ได้ไม่ลดต่ำลง และมีแนวโน้มที่จะทำให้คุณสมบัติของดินดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลผลิตของอ้อยในสภาพไถพรวนปกติ และลดการไถพรวนไม่แตกต่างกันทางสถิติ

           การใช้สารทำลายดินดาน การไถพรวนกลบปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยพืชสด เพื่อเพิ่มผลผลิตของอ้อย โดยไถกลบพืชตระกูลถั่ว (เช่น ปอเทือง โสนแอฟริกัน) การใช้สารเคมีแอมโมเนียมลอเร็ทซัลเฟต การใช้ปุ๋ยมูลไก่อัดเม็ด และหินฟอสเฟต รองก้นหลุมก่อนปลูกอ้อย พบว่า การใช้ปุ๋ยพืชสดช่วยเพิ่มผลผลิตอ้อยได้ดีกว่าวัสดุอย่างอื่น

           การใช้พืชตระกูลถั่ว เพื่อปรับปรุงดินในไร่อ้อยของเกษตรกร อ้อยตอ 2 จากผลการทดลองที่ผ่านมา พบว่า การไถกลบพืชตระกูลถั่วก่อนปลูกอ้อยสามารถเพิ่มผลผลิตอ้อยได้ ทั้งอ้อยปลูกและอ้อยตอ 1

           การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนละลายน้ำ N – Slow releass พบว่า ปุ๋ยไนโตรเจนละลายช้าช่วยเพิ่มผลผลิตอ้อยให้สูงขึ้น ต่างจากแปลงที่ไม่ใส่ปุ๋ยอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่แตกต่างจากปุ๋ยเคมี 25-7-7 ซึ่งเป็นปุ๋ยที่เกษตรกรนิยมใช้กับไร่อ้อยมาก

           การใช้จุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจนในอ้อย อ้อยตอ 1 : พบว่า วิธีการใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 20 กก.(N) /ไร่ ให้ผลผลิตอ้อยสูงสุด แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับวิธีการที่ใช้และไม่ใช้จุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน


ที่มา  :  สวพ-5  จ.ชัยนาท









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (2038 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©