-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 337 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม




หน้า: 1/2




หอมแดง


1. พันธุ์ นำมาจากดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี, จังหวัดศีรสะเกษ, จังหวัดลำพูน, จังหวัดอุตรดิตถ์


2. การเตรียมดิน
พืชที่ปลูกด้วยหัวทุกชนิดควรตากดินหลายๆ แดดอย่างน้อย 10 วันขึ้นไป เพื่อฆ่าเชื้อรา เมื่อไถแตกแล้ว หากก้อนใหญ่หรือไม่ร่วนต้องไถครั้งที่สอง (ไถแปร) แล้วตีดินหรือพรวน ยกร่องด้วยแทรคเตอร์ จะใส่ปุ๋ยรองพื้นด้วยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ก็ได้ หรือปุ๋ยคอกด้วยยิ่งดี


3. การปลูก
เมื่อเตรียมดินยกร่องแล้วเกษตรกร จะทำากรรดน้ำให้ชื้น และดินนิ่มพร้อมปลูก แล้วทำการกรีดร่องแนวขวาง ระยะประมาณ 20 x 25 เซนติเมตร แล้วทำการปลูก แล้วแนวกรีดประมาณ 15 เซนติเมตร ระยะ 7-9 ต้น แนวร่องกรีด เมื่อเสร็จแล้วรดน้ำให้ดินชื้น พ่นสารป้องกันกำจัดวัชพืชด้วย Oxcediazon (สอนสตาร์) ทิ้งไว้ 1 คืน โรยฟางกลบ รดน้ำเช้า-เย็น 4 วัน ก็งอกพ้นฟาง


4. การให้น้ำ
ควรรดน้ำเช้าเย็นระยะก่อนงอก และทุกวันเมื่องอกแล้ว


5. การใส่ปุ๋ย
จะไม่เน้นปุ๋ยสูตรที่มีไนโตรเจนมากจนเกินไป โดยจะใส่ปุ๋ยสูตร 21-7-7 ระยะ ส่วน อายุ 30 แล้วจะใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 อัตรา 50 กก./ไร่


6. การเก็บเกี่ยว
เมื่ออายุ 55-60 วัน จะเก็บผลผลิตได้ โดยเก็บมาผึ่ึ่งลมบนแคร่ หรือลานที่มีอากาศถ่ายเทได้ดีในร่ม แต่ถ้ากลางแจ้งควรมีวัสดุปิดเปิดได้เมื่อแดดจัดหรือฝนตก เมื่อต้นแห้งดีแล้วก็นำมากำมัดด้วยยางวง หรือตอก พร้อมส่งตลาดโดยแต่งเปลือกและรากให้สวย


7. โรค
โรคหอมที่สำคัญ คือ โรคเน่า โรคใบจุดสีม่วง โรคแอนเทรคโนส ควรพ่นด้วย โปรครอราช แมนโดเซป และไดฟีโนโคนาโซล โดยสลับกันพ่น


8. แมลงศัตรู
หนอนกระทู้ผัก หนอนหอม หนอนชอนใบ พ่นด้วย อะมาเม็คติน สปิโนแสด โดยพ่นตามการระบาดของแมลงศัตรู


ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร






เกษตรพะเยาแนะใช้ชีววิธี-กำจัดหนอนหอมแดงระบาดหนักแทนสารเคมี
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
พะเยา - สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา เร่งชี้แจงเสริมสร้างความเข้าใจให้แก่เกษตรกรชาวสวนหอมแดงเกี่ยวกับการป้องกันกำจัดศัตรูพืช หลังมีหนอนกระทู้หอมระบาด สร้างความเสียหายให้แก่ผลผลิตเป็นจำนวนมาก ผ่านการเตรียมส่งเสริมความรู้การกำจัดโดยชีววิธีแทนการใช้สารฆ่าแมลง
       
นายราเชนทร์ สุวรรณหิตาทร เกษตรจังหวัดพะเยา เปิดเผยว่า หลังจากได้รับรายงานการระบาดของศัตรูพืชในแปลงปลูกหอมแดงของเกษตรกรในพื้นที่ ต.จำป่าหวาย อ.เมืองพะเยา สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้แก่เกษตรกร ทางสำนักงานฯ ได้จัดเจ้าหน้าที่นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรลงพื้นที่ตรวจสอบพบว่าศัตรูพืชดังกล่าวเป็นหนอนกระทู้หอม หนอนหนังเหนียว หรือหนอนหลอดหอม ซึ่งเป็นแมลงจำพวกผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก โดยมักจะพบว่ามีการระบาดอย่างรุนแรงในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายนตามแหล่งปลูกผักทั่วไป หากเกษตรกรปล่อยปละละเลยจะมีความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้น
       
ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องทำการส่งเสริมความรู้ในด้านการป้องกันกำจัดให้กับเกษตรกรในที่พื้นที่เป็นการเร่งด่วน เพื่อสกัดการระบาดในพื้นที่แหล่งเพาะปลูกอื่นๆ
       

สำหรับแนวทางการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้หอม หนอนหนังเหนียว หรือหนอนหลอดหอมนั้น ซึ่งถือเป็นกลุ่มกลุ่มหนอนที่มีการพัฒนาตัวเองในการต้านทานต่อสารฆ่าแมลง การป้องกันกำจัดด้วยการใช้สารฆ่าแมลงจะต้องคำนึงถึงพิษตกค้างของสารเคมีตกค้างในผลผลิต วิธีการป้องกันกำจัดที่ดีที่สุด คือ การใช้วิธีกล ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและง่ายที่สุด คือ การกำจัดกลุ่มไข่หรือหนอนกระทู้หอมในแปลงปลูกหากมีการตรวจพบให้ทำลายทันทีวิธีนี้จะช่วยลดการระบาดได้แต่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก
       
ทั้งนี้ ทางสำนักงานเกษตรจังหวัด ได้เตรียมส่งเสริมการใช้จุลินทรีย์ไวรัส (NPV) ของหนอนกระทู้หอมเองในการทำเป็นสารกำจัดซึ่งจะเป็นอีกวิธีหนึ่งในทางชีวมวล เพื่อปรับสมดุลให้กับสภาพแวดล้อมแทนการใช้สารเคมีที่สร้างผลกระทบต่อธรรมชาติให้กับเกษตรกรต่อไป








หอมแดง
( Shallot )
 
  สถานการณ์ทั่วไป
  • หอมแดง เป็นพืชผักที่มีการปลูกมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยผลผลิตส่วนใหญ่ใช้ในประเทศไทยทุกครัวเรือนนำไปประกอบอาหาร และใช้ในการอุตสาหกรรมอาหารต่างๆมากมาย ส่วนตลาดต่างประเทศนั้นหอมแดงมีตลาดรับซื้อ ได้แก่ มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, ตะวันออกลาง, เยอรมัน และอังกฤษ
  •  
      ลักษณะทั่วไปของพืช
  • เป็นพืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าหัวสะสมอาหาร หอมแดงสามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ชอบดินร่วน ที่มีความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 5.0-6.5 และความชื้นในดินควรสูงในขณะที่เจริญเติบโต แต่ถ้าหัวเริ่มแก่ดินและอากาศต้องแห้ง ช่วงที่ปลูกได้ผลดี คือ ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน - มีนาคม
  •  
      พื้นที่ส่งเสริม
  • พื้นที่เหมาะสมเชิงธุรกิจ จังหวัด ลำพูน, เชียงราย, พะเยา, ศรีสะเกษ, เชียงใหม่, อุตรดิตถ์, และนครราชสีมา
  • พื้นที่ปลูกที่สำคัญ จังหวัด ลำพูน, เชียงราย, พะเยา, ศรีสะเกษ, เชียงใหม่, อุตรดิตถ์, และนครราชสีมา
    ประมาณ 131,469 ไร่ (พ.ศ.2540/41)
  •  
      พันธุ์ที่ส่งเสริม ศรีสะเกษ, บางช้าง, เชียงใหม่,
    ต้นทุนการผลิต/ไร่ 10,640 บาท/ไร่ (พ.ศ.2537- 2539)
     
      ผลผลิต
  • ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 283,146 ตัน (พ.ศ.2540)
    ผลผลิตเฉลี่ย 2,154 กก./ไร่ (พ.ศ.2540)
    ราคาที่เกษตรกรขายได้ 20-25 บาท (พ.ศ.2541)
    การส่งออก ปริมาณ 6,979 ตัน มูลค่า 49.7 ล้านบาท (พ.ศ.2541 )
  •  
    การปลูก
     
  • วิธีการปลูก
    1. การปลูกด้วยหัวพันธุ์ เป็นวิธีที่เกษตรกรนิยมกันมานาน แต่ต้นทุนการผลิตสูง หัวพันธุ์ต้องผ่านการฟักตัวไม่น้อยกว่า 3 เดือน จึงจะนำมาปลูกได้
  • 2. การปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์ เป็นวิธีที่เกษตรกรสามารถประหยัดค่าพันธุ์ลงได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของการใช้หัวพันธุ์ แต่เกษตรกรต้องเพิ่มเวลาเพาะกล้าก่อนย้ายปลูกอีก 45 วัน
  •   ระยะปลูก 15x15 เซนติเมตร
    จำนวนต้น/ไร่ 70,000 ต้น/ไร่
     
    การดูแลรักษา
     
  • การใส่ปุ๋ย
    1. ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อัตรา 3-5 ตันต่อไร่ โดยการหว่านให้ทั่วแปลงก่อนปลูก แล้วพรวนดินกลบ
  • 2. ปุ๋ยเคมี หอมแดงที่ปลูกจากหัวพันธุ์ ใช้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 85 กก./ไร่ รองพื้นก่อนปลูก ใส่แอมโมเนียซัลเฟต 25-30 กก./ไร่ หรือยูเรีย 10-15 กก./ไร่ เมื่อเริ่มแตกกอ
  • การให้น้ำ
    1. ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ หอมแดงต้องการน้ำตลอดฤดูปลูก 250 - 400 มล. ให้น้ำทั้งเช้าและเย็น
    2. หัวเริ่มแก่ต้องลดการให้น้ำลง เพราะระยะนี้ต้นหอมต้องการดินและอากาศแห้ง
  • การปฎิบัติอื่น ๆ
    การคลุมดิน วัสดุที่ใช้คือ ฟางแห้ง หญ้าแห้ง เปลือกถั่วลิสง หรือแกลบดิน เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำและรักษาความชื้นของผิวดินไว้
  •  

    ศัตรูพืชที่สำคัญและวิธีการป้องกันกำจัด
      1. โรค
  • 1.1 ใบจุดสีม่วง ใช้ซีเน็บ อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้ไตรฟลูเบน ซุรอน 15-30 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร
    1.2 โรคหัวและรากเน่า ป้องกันกำจัดโดย นำต้นที่เป็นโรคบริเวณนั้นไปเผาทำลายและใช้ รอพรัล ตามฉลากกำหนด ราดบริเวณที่เกิดโรค
  •  
      2. แมลง
  • 2.1 เพลี้ยไฟ ใช้ฟอสซ์ 5 ช้อนแกงหรือไซเปอร์เมทริน 1-2 ช้อนแกง หรือ แลนเนท 2 ช้อนแกง หรือ โตกุไธออน 3 ช้อนแกง หรือทามารอน 2-3 ช้อนแกง หรือ เมซูโรล 4-5 ช้อนแกง อย่างใดอย่างหนึ่ง ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7-10 วัน ต่อครั้ง หรือ 3-4 วัน ต่อครั้งเมื่อมีการระบาด
  •  



               ปฎิทินการปลูกและดูแลรักษา
      กิจกรรม ระยะเวลาปฎิบัติ หมายเหตุ
     

    ตค.

    พย.

    ธค.

    มค.

    กพ.

    มีค.

    เมย.

    พค.

    มิย.

    กค.

    สค.

    กย.

      ปลูก                          
     

    ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21หรือ 15-15-15

                             
      เก็บเกี่ยว                          
     
    แนวทางการส่งเสริม
     
  • 1. ประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้เกษตรกรปลูกตามจำนวนพื้นที่เป้าหมายที่กำหนดให้ เพื่อไม่ให้ผลผลิตล้นตลาด
    2. ติดตามการปลูก การดูแลรักษา เพื่อให้หอมมีคุณภาพดี
    3. รณรงค์ให้เก็บเกี่ยวเมื่อหอมแก่จริง ๆ เท่านั้น เพื่อไม่เน่าเสียระหว่างเก็บรักษา
    4. ส่งเสริมให้เกษตรกรคัดเกรดหอมแดงจำหน่าย
  •  
      แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
  • 1. สถาบันวิจัยพืชสวน ศรีสะเกษ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ






  • การปลูกหอมแดง
     

    โดย  รัชฎา ศีตะโกเศศ
                   

    หอมแดงเป็นพืชผักที่ปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่โดยธรรมชาติแล้ว หอมแดงชอบอากาศเย็นและกลางวันสั้น คือ ต้องการแสงแดดเพียง 9-10 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้นหากปลูกในฤดูหนาว หอมแดงจะมีการเจริญเติบโตดี แตกกอให้จำนวนหัวมาก และมีขนาดหัวใหญ่ แต่หอมแดงที่ปลูกในฤดูหนาวนี้จะมีอายุการเก็บเกี่ยวนานกว่าหอมแดงที่ปลูกในฤดูอื่น เช่น ในฤดูหนาวทางภาคเหนือ หอมแดงจะแก่จัดเก็บเกี่ยวได้ช่วงอายุ 90-110 วัน หากปลูกในฤดูฝนจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงอายุ 45-60 วัน
     


    พันธุ์ของหอมแดง
      ที่นิยมปลูกในบ้านเรา  คือ               
    1. หอมแดงพันธุ์พื้นเมืองภาคเหนือ ทางภาคเหนือเรียกหอมบั่ว  เป็นหอมแดงที่มีเปลือกนอกสีเหลืองปนส้มขนาดหัวปานกลาง ลักษณะกลมสี ใน 1 หัวแยกได้ 2-3 กลีบ กลิ่นไม่ฉุนจัด รสหวาน ระหว่างการเจริญเติบโตไม่มีดอกและเมล็ด เมื่อปลูก 1 หัว จะแตกกอให้หัวประมาณ 5-8 หัว อายุเมื่อหัวแก่เต็มที่ในฤดูหนาว 90 วัน  และฤดูฝน 45 วัน ผลผลิตที่ได้แตกต่างกันตามฤดูปลูกและการดูแลรักษาได้ประมาณ 2,000-3,000  กิโลกรัม/ไร่  คุณภาพในการเก็บรักษาไม่ค่อยดี เพราะมีเปอร์เซ็นต์ แห้งฝ่อ และเน่าเสียหายมากถึง  60%
     
                  
    2. หอมแดงพันธุ์บางช้าง หรือหอมแดงศรีสะเกษ เป็นหอมแดง ที่มีเปลือกนอกสีม่วงปนแดง เปลือกหนาและเหนียว ขนาดหัวใหญ่ สม่ำเสมอ หัวมีลักษณะกลมใน 1 หัว มี 1-2 กลีบ กลิ่นฉุนจัด มีรสหวาน ระหว่างการเจริญเติบโตจะสร้างดอกและเมล็ดมาก ซึ่งจะต้องหมั่นตรวจดูและเด็ดทิ้งให้หมด มิฉะนั้นจะทำให้ได้ขนาดหัวเล็ด  และจำนวนหัวน้อย  โดยทั่วไปเมื่อปลูก 1 หัวจะแตกกอให้หัวประมาณ 8-10 หัว การแตกกอและลงหัวช้ากว่าหอมบั่วเล็กน้อย มีอายุเมื่อหัวแก่เต็มที่ให้ฤดูหนาว 100 วันขึ้นไป และฤดูฝน 45 วัน ให้ผลผลิตแตกต่างกันไปตามฤดูปลูกและการดูแลรักษาได้ประมาณ 1,000-5,000 กิโลกรัม/ไร่ คุณภาพในการเก็บรักษาดีกว่าหอมบั่ว
     

    แหล่งเพาะปลูก
                   
    แหล่งเพาะปลูกหอมแดง  มากที่สุดคือ  ภาคอีสาน  ได้แก่  ศรีสะเกษ ,  บุรีรัมย์ ,  นครราชสีมา  รองลงมาคือ  ภาคเหนือ  ได้แก่  ลำพูน ,  เชียงใหม่ ,  เชียงรายและอุตรดิตถ์  นอกจากนี้ยังมีปลูกกันที่ราชบุรี ,  กาญจนบุรี  และนครปฐม  ด้วย
     

    ฤดูปลูก
                   
    ปลูกได้ตลอดปี  ช่วงที่เหมาะสมที่สุดคือ  เดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์
     

    การเตรียมดิน
                   
    หอมแดงมีระบบรากตื้น ชอบดินร่วน มีการระบายน้ำดี แปลงปลูกควรไถพรวน หรือขุดด้วยจอบพลิกดินตากแดดไว้ก่อน 2-3 วัน แล้วย่อยดินให้เป็นก้อนเล็ก อย่าให้ละเอียดมาก เพราะจะทำให้ดินแน่น หอมลงหัวยากควรใส่ปุ๋ยคอก ,  ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยมูลสัตว์ลงไปคลุกเคล้าให้ทั่ว  เก็บเศษวัชพืช  หรือรากหญ้าอื่น ๆ  ออกให้หมดแล้วรองพื้นก่อนปลูกด้วยปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15 ในปริมาณ 20-50 กิโลกรัม/ไร่
     

    การเตรียมพันธุ์หอม
                   
    หัวหอมพันธุ์ที่จะใช้ปลูก  ควรเตรียมไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือน  เพราะหัวหอมที่จะใช้ปลูกควรมีระยะพักตัวอยู่สักระยะหนึ่ง  แต่ไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 6 เดือน  เพราะระยะนี้หอมจะเริ่มแดงยอดอ่อนสีเขียวพ้นหัวเก่ามาแล้ว  ให้นำหัวหอมพันธุ์มาตัดแต่งทำความสะอาด  ตัดเล็มรากเก่า  และใบแห้งทิ้งให้หมด  หากเห็นว่ายอดอ่อนยาว  อาจตัดทิ้งเสียสัก 1 ใน 10 เพื่อเร่งให้งอกไวเมื่อปลูกแล้ว  ในพื้นที่ปลูก 1 ไร่จะใช้หัวหอมพันธุ์ประมาณ  200 กิโลกรัม  ก่อนปลูกหากเห็นว่าหัวหอมพันธุ์เป็นโรคราดำ  หรือมีเน่าปะปนมา  ต้องฉีดพ่นหรือจุ่มน้ำสารละลายป้องกันกำจัดเชื้อราจำพวกมาเนบ  หรือซีเนบ  ตามอัตราที่กำหนดในฉลาก  และผึ่งลมให้แห้งก่อนนำไปปลูก
     


    ระยะปลูก
                   
    นิยมปลูกเป็นแปลงขนาดกว้าง  1-1.5  เมตร  ความยาวของแปลง  เป็นไปตามความสะดวกในการปฎิบัติงานควรปลูกเป็นแถว  ระยะปลูก  15-20  ซม.  หรือ  20-20  ซม.
     


    การปลูก
                   
    ก่อนปลูกควรรดน้ำแปลงปลูกให้ดินชุ่มชื้นไว้ล่วงหน้า  นำหัวหอมพันธุ์มาปลูกลงในแปลง  โดยเอาส่วนโคนหรือที่เคยเป็นที่ออกรากเก่าจิ้มลงไปในดินประมาณครึ่งหัว  ระวังอย่ากดแรงนักจะทำให้ลำต้นหรือหัวชอกช้ำจะทำให้ไม่งอก  หรืองอกรากช้า  เมื่อปลูกทั่วทั้งแปลงให้คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งหรือแกลบหนาพอสมควรเป็นการรักษาความชุ่มชื้นและคุมวัชพืช  จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม ๆ  ต้นหอมจะงอกออกมาภายใน 7-10 วัน  หากหัวใดไม่ลอกให้ทำการปลูกซ่อมทันที    
     


    การดูแลรักษา
             
    การให้น้ำ    
    หอมแดงต้องการน้ำมากและสม่ำเสมอในระยะเจริญเติบโตและแตกกอ  หากปลูกในที่ ๆ  มีอากาศแห้งและลมแรง  อาจต้องคอยให้น้ำบ่อย ๆ  เช่น  ภาคอีสาน  ช่วงอากาศแห้งมาก ๆ  ระยะแรกอาจให้น้ำวันละ  2  ครั้ง  เช้าเย็น  ในภาคเหนือ  เกษตรกรจะให้น้ำประมาณ 3-7 วันต่อครั้ง
     
                   
    การให้ปุ๋ย   
    -   เมื่ออายุ 14 วัน  หลังจากปลูก  ควรใส่ปุ๋ยยูเรีย  หรือแอมโมเนียมซัลเฟต  อัตรา 20-25 กิโลกรัม/ไร่
    -  เมื่ออายุ 35-40 วัน  ให้ใส่ปุ๋ย 15-15-15 ในอัตรา 20-50 กิโลกรัม/ไร่การใส่ปุ๋ยใช้วิธีโรยห่าง ๆ  ต้นห่างจากต้นราว 7 ซม.  หรือใช้วิธีโรยให้ทั่วแปลงก็ได้  หลังจากให้ปุ๋ยให้เอาน้ำรดหรือเอาน้ำเข้าแปลงให้ชุ่ม
     

    การกำจัดวัชพืช
                   
    ควรกำจัดวัชพืชบ่อย ๆ  เมื่อวัชพืชยังเล็ก  หากโตแล้วจะทำการกำจัดยากและจะกระทบกระเทือนรากหอมแดงได้มาก  ปัจจุบันนิยมใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชมากขึ้นเพราะประหยัดแรงงานกว่า  ตัวอย่างสารเคมีที่ใช้กำจัดวัชพืชในแปลงหอมแดง  ได้แก่  อลาคลอร์  อัตราการใช้ให้ใช้ตามที่ระบุในฉลากยา
     


    โรคแมลง
                   
    โรคที่สำคัญของหอมแดง  ได้แก่  โรคเน่าเละ , โรคใบจุดสีม่วง ,  โรคราน้ำค้าง  และ     โรคแอนแทรคโนส
                   

    แมลงศัตรูหอมแดงที่สำคัญ
      ได้แก่ หนอนกระทู้หอมและเพลี้ยไฟ
      ควรฉีดยาฆ่าแมลงและยากันรา  ที่ราคาไม่แพงนักทุก 7 วัน  เพื่อป้องกันไว้ล่วงหน้า  หอมแดงที่ได้รับการดูแลรักษาอย่างดีจะงอกงามและให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ 


    การเก็บเกี่ยว
                   
    โดยปกติหอมแดงที่ปลูกในฤดูหนาว  จะแก่จัดเมื่ออายุ 70-110 วัน  ถ้าปลูกในฤดูฝนจะสามารถเก็บได้  เมื่ออายุประมาณ 45 วัน  แต่ผลผลิตของหอมแดงทั้ง 2 ฤดูแตกต่างกัน คือในฤดูหนาวจะให้ผลผลิตมากเป็น 2-3  เท่าของในฤดูฝน  จึงเป็นเหตุให้  หอมแดงในฤดูฝนมีราคาสูงกว่า
                   

    หอมแดงที่เริ่มแก่แล้วจะสามารถสังเกตได้จากสีของใบจะเขียวจางลง ปลายใบเริ่มเหลืองและใบมักจะถ่างออก  เอนล้มลงมากขึ้น ถ้าบีบส่วนคอ คือบริเวณโคนใบต่อกับหัวหอมจะอ่อนนิ่ม ไม่แน่นแข็ง แสดงว่าหอมแก่แล้ว
                   
    หลังจากเก็บเกี่ยว  มีการปฎิบัติคล้ายกระเทียม  คือหอมแดงที่ถอนแล้ว  ต้องนำมาผึ่งลมในที่ร่มให้ใบเหี่ยวแห้งจากนั้นก็มัดเป็นจุก  คัดขนาด  และทำความสะอาด  คัดพันธุ์แล้วนำไปแขวนไว้ในที่ร่ม  เช่นใต้ถุนบ้าน  ให้มีลมโกรก  เพื่อระบายความชื้นจากหัวและใบหอม  ไม่ให้ถูกแดด ฝนหรือน้ำค้าง  หอมแดง  หากเก็บไว้ในอากาศอบอ้าวจะเกิดโรคราสีดำ  และเน่าเสียหายเช่นเดียวกับกระเทียม
     


    การเก็บหอมแดงไว้ทำพันธุ์
                   
    หอมแดงที่แก่จัดหากเก็บรักษาไว้ดีจะฝ่อแห้งเสียหาย  เพียง 35-40% ควรคัดเลือกหอมแดงที่จะใช้ทำพันธุ์  แยกออกมาต่างหากจากส่วนที่จะขาย  และฉีดพ่นยากันรา  เช่น  เบนเลท  ให้ทั่ว  และนำไปผึ่งลมจนแห้งสนิทจึงนำเก็บรักษาไว้ทำพันธุ์  (ไม่ควรนำมารับประทาน) จะช่วยป้องกันไม่ให้หอมแดงเน่าเสียหายง่าย.
        
     


    ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ. เชียงใหม่
     50290   โทร. 0-53873938-9.  
     






    การปลูกหอมแดงด้วยเมล็ด


    หอมแดงเป็นพืชสมุนไพรที่ใช้กันในครัวเรือนตั้งแต่โบราณ หอมแดงสามารถใช้ปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด และมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก เช่น ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด แน่นท้อง ปวดหลัง ปวดเอว และปวดประจำเดือน การปลูกหอมแดงจึงเป็นที่นิยม แต่เกษตรกรผู้ปลูกต้องเรียนรู้เทคนิคและวิธีการต่างๆ เพื่อให้ได้หอมแดงที่มีคุณภาพดี มีความแข็งแรงสมบูรณ์



    ขั้นตอนการปลูกหอมแดง

    การเตรียมดินและแปลงเพาะกล้า
    1. เตรียมแปลงเพาะกล้าแต่ละแปลงให้มีขนาด 1 x 10 เมตร สูงประมาณ 15 เซนติเมตร เพื่อความสะดวกในการดูแลรักษาและปฏิบัติงาน

    2. ขุดดินลึก 1 หน้าจอบ (ประมาณ 20 เซนติเมตร) ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์

    3. เก็บซากพืชและวัสดุที่ไม่ต้องการทิ้งไป แล้วย่อยดินให้ละเอียด

    4. ใส่ปุ๋ยคอกละเอียดและแกลบดำ (แกลบดำที่ล้างน้ำแล้ว) อย่างละ 3-4 ปุ้งกี๋ และใส่ปูนขาว 1 กิโลกรัมต่อแปลง คลุกดินให้เข้ากันดีระหว่างปุ๋ยคอก แกลบดำและปูนขาว รดน้ำ ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์



    การเพาะกล้า

    1. ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 ประมาณ 100 กรัม บดให้ละเอียด หว่านลงไปให้ทั่วแปลงอย่างสม่ำเสมอ คลุกเคล้าให้เข้ากับดิน และปรับดินในแปลงให้เรียบเสมอ

    2. ทำร่องลึก 0.5 เซนติเมตร ขวางความยาวของแปลง ระยะห่างระหว่างแถว 8 เซนติเมตร

    3. โรยเมล็ดหอมแดงลงในร่อง อย่าให้หนาแน่นจนเกินไป เสร็จแล้วใช้ดินที่ร่วนละเอียดหรือแกลบดินใหม่ กลบเมล็ดให้เสมอดิน

    4. เอาฟางใหม่ๆ ที่ยังไม่ใช้ คลุมบางๆ หรือใช้แกลบดิบคลุมให้หนาประมาณ 0.5 เซนติเมตร

    5. รดน้ำโดยใช้บัวรูเล็กรดผ่านไปมา อย่าให้น้ำไหลออกนอกบริเวณปลูก ในกรณีที่กลบแปลงด้วยแกลบ ให้ตรวจดูว่าน้ำซึมเปียกถึงดินหรือไม่ หลังจากนั้น จึงรดด้วยยากันราผสมกับยากันแมลง เช่น แมคโคเซบ (ยากันรา) คาร์บาริล (ยากันแมลง)

    6. ใช้ผ้าด้ายดิบคลุมแปลงป้องกันฝน โดยให้ขอบผ้าทั้ง 2 ข้าง สูงห่างจากพื้นดินด้านละ 10-20 เซนติเมตร ถ้าต้องการรดน้ำจึงเปิดผ้าออก ความสูงของผ้าคลุม อย่าให้ต่ำมากนัก เพราะจะทำให้อากาศภายในอับชื้น



    การดูแลรักษาแปลงเพาะ
    1. รดน้ำทุกเช้า สังเกตดูความชื้นของดินด้วย ถ้าดินมีความชื้นสูงมากหรืออากาศชื้นมาก ให้รดน้ำเพียงเล็กน้อย

    2. เมื่อเมล็ดเริ่มงอก ให้รดด้วยยาป้องกันแมลงที่เจือจาง 1 ครั้ง

    3. เมื่อเมล็ดงอกโผล่พ้นดินเป็นใบเขียวขึ้นมา ให้รดด้วยยาป้องกันราสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

    4. ให้รดกล้าด้วยยูเรีย อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ เมื่ออายุได้ 20 วันและ 35 วัน



    การเตรียมแปลงปลูก
    หอมแดงเป็นพืชที่มีระบบรากสั้น จะหาอาหารในพื้นผิวดินที่มีความลึกประมาณ 10 เซนติเมตร ดังนั้น หอมแดงจึงต้องการดินที่ร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี มีการระบายน้ำและอากาศดี การเตรียมดินดีจะทำให้หอมแดงเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูง



    วิธีการเตรียมแปลงปลูก

    - ไถดินกลับไปมา 1-2 ครั้ง แต่ละครั้งให้ตากดินไว้ 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้ดินแห้ง ง่ายต่อการซุยดิน

    - พรวนดินและย่อยดินให้เป็นก้อนขนาดเล็ก ไม่ควรย่อยละเอียดจนเป็นผง เพราะจะทำให้ดินแน่นน้ำซึมลงได้ยาก

    - เศษหญ้า รากหญ้าที่ยังไม่ย่อยสลาย ควรเก็บออกให้หมด เพราะหญ้าที่มีรากขึ้นในแปลงแล้วจะกำจัดได้ยาก เมื่อถอนหรือกำจัดจะไปกระทบกระเทือนหอมที่กำลังเจริญเติบโตอยู่ ทำให้หอมชะงักการเจริญ และเกิดการแย่งอาหารกัน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตลดลง

    - ยกร่องให้สูงประมาณ 15 เซนติเมตร เพื่อป้องกันน้ำฝนที่อาจจะตกลงมาท่วมได้ (ขนาดของแปลงควรกว้างประมาณ 1.20 เมตร ความยาวตามแต่จะสะดวกในการดูแลรักษา)

    - ควรเว้นระยะระหว่างแปลง 50 เซนติเมตร หรือประมาณ 30 เซนติเมตร สำหรับใช้เป็นทางเดินเข้าไปดูแลรักษาและกำจัดวัชพืช

    - หลังจากย้ายแปลงเสร็จแล้ว ใส่ปุ๋ยคอกที่ละเอียด 1 บุ้งกี๋ต่อพื้นที่ขนาด 2 ตารางเมตร หรืออัตรา 4 ตันต่อไร่ พร้อมทั้งหว่านปูนขาว อัตรา 200-300 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับสภาพความเป็นกรดของดิน จากนั้น คลุกเคล้าให้เข้ากับดินและปุ๋ยคอก ปรับหน้าดินให้มีความสม่ำเสมอ ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์




    การปลูก
    1. ใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยหว่านให้สม่ำเสมอ คลุกเคล้าให้เข้ากันดีกับดิน และปรับหน้าให้สม่ำเสมอ อย่าให้เป็นหลุมหรือเป็นแอ่ง

    2. รดน้ำให้พอชุ่ม ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง รอให้น้ำซึมเข้าไปในดิน แล้วพ่นด้วยสารเคมีกำจัดวัชพืช จำพวกอ๊อกซีฟลูออเฟน เช่น โกล 2 อี อัตรา 200 ซีซีต่อ 1 ไร่ หรือ 40 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร แล้วทิ้งไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง

    3. ก่อนปลูก เกษตรกรควรรดน้ำแปลงดินให้ชุ่ม แล้วทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง หลังจากนั้น จึงถอนกล้าที่มีอายุ 45 วัน ตัดยอดออก 1/3 ส่วน แล้วนำไปปลูกทันที โดยใช้ระยะปลูก 15 x 20 เซนติเมตร หรือ 10 x 20 เซนติเมตร ปลูกลึกประมาณ 1.5 เซนติเมตร และกลบดินเบาๆ อย่าให้ต้นกล้าบอบช้ำ

    4. หลังจากปลูกแล้ว รดน้ำให้ดินเปียกชุ่ม

    5. ใช้แกลบดินใหม่คลุมแปลง 0.5 เซนติเมตร ในกรณีที่ไม่ใช้แกลบคลุม แต่ใช้ฟางคลุม เกษตรกรจะต้องคลุมฟางก่อนปลูก แล้วรดน้ำให้ดินชุ่ม ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมงจึงปลูก หลังจากปลูกเสร็จแล้ว จึงรดน้ำตามอีกครั้งให้ดินชุ่ม




    การดูแลรักษา

    1. ระยะแรกให้รดน้ำทุกวัน โดยสังเกตความชื้นของดิน ถ้าฝนตกชื้นก็อาจเว้นได้ แต่โดยปกติทั่วไปแล้วในดินที่มีการระบายน้ำดี พืชผักทั่วๆ ไปต้องการรดน้ำทุกวัน

    2. หลังจากปลูกและต้นแตกใบได้ 4-5 ใบ ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 ในอัตรา 35 กิโลกรัมต่อไร่ผสมยูเรีย 10 กิโลกรัมต่อไร่ โดยการโรยระหว่างแถว หลังจากใส่ปุ๋ยแล้ว ให้รดน้ำตามทันที

    3. พ่นยาป้องกันรา (ซีเนบ) สัปดาห์ละครั้ง

    4. คอยดูแลอย่าให้วัชพืชขึ้น เพราะจะไปแย่งน้ำและอาหาร ทำให้ผลผลิตของหอมแดงลดลง นอกจากนี้ ยังเป็นที่อาศัยของโรคแมลงต่างๆ



    การเก็บเกี่ยว
    ระยะเวลาตั้งแต่การปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต จะใช้เวลาประมาณ 85 - 95 วัน



    ศัตรูพืชที่สำคัญและวิธีการป้องกันกำจัด
    โรค :
    - ใบจุดสีม่วง ใช้ซีเน็บ อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้ไตรฟลูเบนซุรอน 15-30 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร

    - โรคหัวและรากเน่า ป้องกันและกำจัดโดยนำต้นที่เป็นโรคบริเวณนั้นไปเผาทำลายและใช้รอพรัล (ตามฉลากกำหนด) ราดบริเวณที่เกิดโรค


    แมลง :
    เพลี้ยไฟ ใช้ฟอสซ์ 5 ช้อนแกงหรือไซเปอร์เมทริน 1-2 ช้อนแกง หรือ แลนเนท 2 ช้อนแกง หรือ โตกุไธออน 3 ช้อนแกง หรือทามารอน 2-3 ช้อนแกง หรือ เมซูโรล 4-5 ช้อนแกง อย่างใดอย่างหนึ่ง ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7-10 วัน ต่อครั้ง หรือ 3-4 วัน ต่อครั้งเมื่อมีการระบาด



    ข้อดีของการปลูกหอมด้วยเมล็ด

    การปลูกหอมแดงด้วยเมล็ด มีข้อดีคือสามารถปลูกได้ผลผลิตก่อนการปลูกด้วยหัว คือ ระยะเวลาในการปลูกโดยใช้เมล็ดจะน้อยกว่าการปลูกด้วยหัว ดังนั้น เกษตรกรจึงนิยมปลูกด้วยเมล็ดมากกว่า แต่มีข้อเสีย คือ การปลูกหอมแดงด้วยเมล็ดจะต้องเพาะเมล็ดก่อน จนต้นกล้าอายุได้ประมาณ 45 วัน จึงย้ายลงแปลงเหมือนกับการปลูกหอมหัวใหญ่




    เรียบเรียงจาก
    เกร็ดเกษตร "การปลูกหอมแดงด้วยเมล็ด" เทคโนโลยีชาวบ้าน.
    หอมแดง http://www.doae.go.th/plant/shallot.htm


    [--pagebhreak--]

    ปลูกหอม-กระเทียม ... ระวังโรคใบจุดสีม่วง



    ในระยะนี้เกษตรกรภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ปลูกหอมและกระเทียม กรมส่งเสริมการเกษตรแจ้งเตือนมาว่าควรระมัดระวังโรคใบจุดสีม่วง เนื่องจากสภาพอากาศในช่วงนี้มีความชื้นค่อนข้างสูงและมีน้ำค้าง ซึ่งเหมาะต่อการแพร่ระบาดของเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคใบจุดสีม่วง สำหรับอาการของโรคใบจุดสีม่วงนี้มีลักษณะคล้ายโรคแอนแทร็กโนสของหอม โดยอาการเริ่มแรกจะเป็นจุดขนาดเล็กบนใบ แผลเป็นรูปไข่ หลังจากนั้นตรงบริเวณแผลสีขาวจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนม่วง ขอบแผลสีเหลือง มีสปอร์เป็นผงละเอียดอยู่บนแผล ต่อมาขยายใหญ่และยาวตามความยาวใบทำให้ใบหอมหักพับ ปลายใบเป็นแผลแห้ง ถ้าเป็นมากใบจะแห้งตายหมดทั้งแปลง ถ้าเกิดบนหอมและกระเทียมต้นจะทำให้ส่วนปลายใบที่อยู่บริเวณแผลมีอาการแห้งเหลือง

         สำหรับการป้องกันและการกำจัด กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำมาว่าควรควบคุมโรคโดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าอัตรา 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือเชื้อแบคทีเรียบีเอส (บาซิลลัส ซับติลิส) อัตราการใช้ตามฉลาก เมื่อเริ่มพบอาการของโรคให้ฉีดพ่นบริเวณที่เกิดอาการของโรคในช่วงเวลาเย็นแดดอ่อน เมื่อถอนต้นที่เป็นโรคออกจากแปลง อย่าถือต้นที่เป็นโรคกวัดแกว่งไปมาในแปลงปลูกจะเป็นการแพร่กระจายของเชื้อโรคมากยิ่งขึ้น หมั่นดูแลแปลงปลูกให้สะอาดเป็นการลดการกระจายของเชื้อสาเหตุ โดยเก็บเศษซากพืชที่เป็นโรคทั้งใบและหัวไปเผาทำลายในฤดูถัดไป ก่อนปลูกควรปรับปรุงดินด้วย ปูนขาว ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วเพื่อให้ดินมีสภาพที่เหมาะสมกับการปลูกหอมและกระเทียม พื้นที่ที่มีการปลูกหอมและกระเทียมมานานติดต่อกัน ควรปลูกพืชอื่นสลับบ้างเพื่อตัดวงจรของโรค

         หากต้องการข้อมูลรายละเอียดเพิ่มติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด ศูนย์บริหารศัตรูพืชใกล้บ้านท่าน.


    โรคใบจุดสีม่วง 
    สาเหตุ
    ....เกิดจากเชื้อรา 
    ลักษณะอาการ ....อาการเริ่มแรกใบหอมจะเป็นจุดขาวเล็ก ๆ ต่อมากลายเป็นแผลใหญ่รูปไข่ สีน้ำตาลปนม่วง ซึ่งมีสปอร์สีดำเป็นผงละเอียดอยู่บนแผล ขอบแผลมีสีเหลืองขนาดของแผลไม่แน่นอน ใบที่เป็นแผลจะมีปลายใบแห้ง ระบาดมากในฤดูหนาว 

    การป้องกันกำจัด
     
    - ปรับปรุงดินด้วยปูนขาวและปุ๋ยอินทรีย์ 
    - พ่นยาป้องกันกำจัดพวกเดอโรซาน บาวีสติน แมนเซทดี อย่างใดอย่างหนึ่ง 
    - ถ้าการระบาดรุนแรงควรใช้รอฟรัลฉีดพ่น โดยใช้อัตราตามฉลากไม่ควรใช้ติดต่อกันนาน ควรใช้สลับกับพวกเดอโรซาน บาวีสติน จะได้ผลดี


    ที่มา  หนังสือพิมพ์เดลินิวส์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์





    หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


    Content ©