-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 388 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม




หน้า: 2/5



การเตรียมพื้นที่
ควรเตรียมพื้นที่ไว้ตั้งแต่ฤดูแล้ง ซึ่งจะทำงานได้สะดวกสามารถลงมือปลูกได้ทันในต้นฤดูฝน โดยในพื้นที่ที่เป็นแอ่ง ที่ลุ่มน้ำขัง มีเนิน หรือมีตออยู่ในพื้นที่ต้องไถบุกเบิก กำจัดตอออกให้หมด ปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ราบอยู่แล้ว แค่ไถพรวนกำจัดวัชพืชอย่างเดียวก็พอ

ฤดูปลูก
ในแหล่งที่สามารถให้น้ำได้ตลอดทั้งปี ก็สามารถปลูกไผ่ได้ตลอดปีเช่นกัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือควรปลูกตั้งแต่ฝนเริ่มตก จนถึงปลายเดือนมิถุนายน หากฝนทิ้งช่วง ควรให้น้ำช่วย

ระยะปลูก
ระยะปลูกที่เหมาะสมระหว่างต้น x ระหว่างแถว คือ 6-8 x 6-8 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกไผ่ตงได้ประมาณ 25-45 ต้น ทั้งนี้ระยะปลูกควรพิจารณาจากพันธุ์ไผ่ตง และสภาพความสมบูรณ์ของดิน ถ้าปลูกไผ่ตงดำ ควรปลูกห่างกว่าไผ่ตงเขียว เพราะขนาดลำของไผ่ตงดำจะใหญ่กว่าไผ่ตงเขียว และถ้าสภาพดินเลว ไผ่ไม่ค่อยเจริญเติบโต ควรใช้ระยะปลูกที่ถี่กว่าสภาพดินดี

การเตรียมหลุมปลูก
หลุมที่ปลูกไผ่ตงควรมีขนาด กว้างxยาวxลึก ไม่น้อยกว่า 50x50x50 เซนติเมตร ให้ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต 1 กระป๋องนม (ประมาณ 300-500 กรัม) ต่อหลุม ผสมปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้ว 1 บุ้งกี๋ (ประมาณ 1 กิโลกรัม) และยาฆ่าแมลงฟูราดาน 1-1.5 ช้อนแกง (10-15 กรัม) คลุกเคล้ากับดินบนให้ทั่วแล้วกลบกลับคืนลงไปในหลุม ให้ระดับดินสูงกว่าเดิมเล็กน้อยเผื่อสำหรับดินยุบตัวภายหลัง

การปลูก
ถ้าเป็นต้นกล้าไผ่ตงที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ควรเป็นต้นกล้าที่มีความสมบูรณ์ มีอายุไม่น้อยกว่า 14 เดือน หรือความสูงไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร มีระบบรากฝอยแผ่กระจายและสมบูรณ์ไม่ขดม้วนงออยู่ก้นถุง สำหรับการคัดเลือกต้นกล้าไผ่ตงที่ได้จากการชำกิ่งแขนงนั้น ควรเป็นต้นกล้าที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ไม่น้อยกว่า 2.5 เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร มีสภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจาก การทำลายของโรคและแมลงการปลูกควรนำต้นกล้าไปปลูกตรงกลางหลุมที่เตรียมไว้ปลูกให้ลึกเท่ากับระดับดินเดิมแล้วพูนดินบริเวณโคนต้นให้เป็นเนินสูงขึ้นเล็กน้อย ใช้ไม้ปัก เป็นหลักผูกยึดต้นไผ่ เพื่อป้องกันลมโยก หลังจากนั้นต้องรดน้ำตามทันที เพื่อช่วยให้เม็ดดินกระชับราก นอกจากนี้ต้นไผ่ที่เพิ่งปลูกจะไม่ทนต่อแสงแดด และความร้อนสูง ต้องใช้ทางมะพร้าวหรือวัสดุอื่น ช่วยพรางแสงแดด จนกว่าต้นกล้าจะมีใบใหญ่และตั้งตัวได้แล้ว จึงค่อยปลดออก

การปลูกพืชแซม
ในระหว่างที่ต้นไผ่ตงเพิ่งเริ่มปลูกยังเล็กอยู่ในช่วง 1-2 ปีแรก ควรจะปลูกพืชแซม เพื่อเสริมรายได้ อาจจะปลูกผัก พืชไร่ หรือไม้ผลอายุสั้น เช่น กล้วย มะละกอ เป็นต้น หลังจากไผ่ตงโตแล้วแดดส่องผ่านได้น้อย ก็ยังสามารถปลูกพืชแซมได้ พืชที่ปลูกได้ผลดีก็คือ กระชาย เพราะเป็นพืชที่ทนร่มได้ดี นอกจากกระชายแล้ว ยังมีพืชสมุนไพรอีกหลายชนิดที่ทนร่มและได้ผลดี เช่นกัน ในสวนที่ไม่ได้ปลูกพืชแซมควรปล่อยให้มีหญ้าขึ้นตามธรรมชาติ และคอยควบคุมการตัด หรืออาจจะปลูกพืชคลุมดินเพื่อรักษาหน้าดินและความชื้นภายในดิน เช่น ถั่วลาย เพอราเลีย คุดซู ก็ได้ โดยหว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตรา 2-3 กก./ไร่

การให้น้ำ
ต้นไผ่ตงปลูกใหม่ในระยะแรกนั้น จะขาดน้ำไม่ได้ต้องคอยดูแลรดน้ำให้ดินมีความชื้นอยู่เสมอ หลังจากนั้นเมื่อไผ่ตงตั้งตัวได้ดีแล้ว อาจเว้นระยะห่างออกไปบ้างปริมาณ และความถี่ของการให้น้ำขึ้นอยู่กับสภาพความชื้นของดินและเมื่อถึงฤดูแล้งควรหาวัสดุ เช่น หญ้าแห้ง ฟางแห้ง คลุมบริเวณโคนต้น เพื่อรักษาความชื้นให้กับดิน

การใส่ปุ๋ย
การให้ปุ๋ย ในช่วงปีแรกไผ่ตงสามารถใช้ปุ๋ยที่คลุกเคล้าไปกับดินปลูกได้ในระยะปีต่อ ๆ ไปจำเป็นจะต้องมีการไถพรวนและใส่ปุ๋ย หลังจากเก็บหน่อขายแล้วจะทำการตัดแต่งกอและไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืช ปกตินิยมไถพรวนในช่วงเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน ก่อนที่ดินจะแห้ง เพราะถ้าดินแห้งจะไถพรวนได้ยาก

การใส่ปุ๋ยจะใส่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ปุ๋ยที่นิยมคือปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักโดยจะใส่ในอัตรา 1-1.5 ตันต่อไร่ (40-50 กก. หรือ 4-5 บุ้งกี๋ต่อกอ) หรืออาจใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15 อัตรา 2-4 กก. ต่อกอ ร่วมกับปุ๋ยคอก
ในกรณีที่ต้องการเร่งการออกหน่อ นอกเหนือจากปุ๋ยปกติแล้วจะมีการใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ในอัตรา 1-2 กก. รอบ ๆ กอ โดยระวังอย่าให้โดนหน่อ เพราะจะทำให้หน่อเน่าได้ และถ้าต้องการให้หน่อมีคุณภาพดียิ่งขึ้นควรใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 เพิ่มไปในอัตรา 1 กก. ต่อกอโดยใส่ไปพร้อม ๆ กับยูเรีย

การปลูกไผ่ตงจะเน้นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเป็นหลัก ไม่ควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้กอไผ่ทรุดโทรมเร็ว


แมลงศัตรูของไผ่ตง ที่สำรวจพบและที่มีการระบาดอยู่บ้างในขณะนี้ ได้แก่
1.แมลงประเภทเจาะไชหน่อ และปล้องอ่อน เป็นแมลงที่มีอันตรายสำคัญมากที่สุด โดยเฉพาะในระยะที่ไผ่ตงกำลังเจริญเติบโตจากหน่ออ่อนเป็นลำต้น แมลงพวกนี้จะเข้าทำลายกัดกินเนื้อเยื่อที่อ่อนของปล้องภายในกาบหุ้มหน่อที่กำลังเจริญเติบโต จะทำให้หน่อและปลายยอดอ่อนเน่า และหักตาย แมลงพวกนี้ได้แก่ ด้วงงวงปีกแข็ง

2. เพลี้ยแห้ง
เป็นแมลงที่ชอบเกาะอยู่ตามหน่ออ่อนหรือตามใบอ่อนเพื่อดูดน้ำเลี้ยงจะมองเห็นเป็นก้อนเหมือนแป้ง ทำให้กาบใบและยอดหงิกงอ ชะงักการเจริญเติบโต

การกำจัดและควบคุมโดยใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช คือเมื่อพบว่ามีการระบาดของโรคแมลงในแปลงปลูกไผ่ตง ให้ใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช เช่น มาลาไธออน หรือเซฟวิน ผสมน้ำราดที่หน่อและราก


การทำหน่อตงหมัก
หน่อไม้หมกหรือตงหมกหรือตงหวานเป็นหน่อไม้ที่ตลาดต้องการมากราคาสูงกว่าหน่อไม้ไผ่ตงธรรมดา เนื่องจากรสชาติและคุณภาพของหน่อจะดีกว่า ลักษณะของหน่อไม้หมกจะเป็นหน่อที่อวบ เนื้อขาว อ่อนนิ่มและหวานกรอบ สามารถสังเกตความแตกต่างได้ คือ สีของหน่อจะเป็นสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนหน่อไม้ธรรมดาหรือหน่อที่ไม่ได้หมกนั้นสีจะออกสีน้ำตาลดำ มีนวล

ฤดูที่เหมาะในการทำตงหมกคือช่วงต้นฝนประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม ซึ่งจะเป็นช่วงที่หน่อไม้เริ่มแทงหน่อ พันธุ์ที่นิยมทำตงหมก คือ ตงจีนหรือตงดำ แต่ปัจจุบันพวกที่ปลูกตงเขียวก็เริ่มหันมาทำตงหมกมากขึ้น เพื่อปรับปรุงคุณภาพของหน่อตงเขียว ให้ดีขึ้นให้ทัดเทียมกับตงดำด้วย

การทำหน่อไม้หมก คือการป้องกันไม่ให้หน่อไม้ถูกแสงแดดซึ่งมีวิธีทำได้หลายวิธีคือ
1.การใช้ขี้เถ้าแกลบ ในฤดูฝนเวลาที่หน่อไผ่ตงโผล่พ้นผิวดินได้ประมาณ 2-3 นิ้ว (ประมาณครึ่งฝ่ามือ) ให้เอาปี๊บก้นทะลุหรือเข่งก้นทะลุใบเล็ก ๆ มาครอบหน่อแล้วเอาขี้เถ้าแกลบ ใส่ให้เต็มพอหน่อไผ่ตงโตสูงพ้น ปี๊บขึ้นมาประมาณ 1 นิ้ว ก็เอาปี๊บและขี้เถ้าแกลบออกแล้วตัดหน่อได้

การหมกด้วยวิธีนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น ตัดหน่อได้ง่าย หน่อไม่สกปรกและยังเชื่อว่าทำให้หน่อหวานขึ้น เนื่องจากขี้เถ้าแกลบมีธาตุอาหารโปแตสเซียมอยู่ด้วย แต่ถ้าต้องทำจำนวนมาก ๆ ก็มีปัญหา เช่นกัน เพราะจะต้องมีปี๊บ และขี้เถ้าแกลบ จำนวนมาก จนบางแห่งไม่สามารถทำวิธีนี้ได้
 
2.การใช้ดินพอกถ้าหาปี๊บและขี้เถ้าแกลบไม่ได้ก็สามารถใช้ดินบริเวณรอบ ๆ กอไ่ผ่ นำมาพอกปิดหน่อให้สูงประมาณ 1 ศอก พอหน่อพ้นดินที่พอกได้ประมาณ 1 นิ้ว ก็ทำการตัดหน่อได้

ในการทำหน่อไม้ไผ่ตงหมกหรือหน่อไม้หวานโดยวิธีใช้ดินพอกนี้ มีข้อคำนึงคือจะทำให้เราไม่สามารถเลี้ยงลำแม่ที่แข็งแรงสมบูรณ์ที่สุดได้ เนื่องจากเราขุดหน่อไปขายจนลืมนึกถึงการเลี้ยงลำแม่หรือบางทีนึกถึงได้แต่ไม่ทราบตำแหน่งของหน่อที่ควรจะเป็นลำแม่เพราะถูกดินกลบไว้ ฉะนั้นลำที่ปล่อยให้เป็นลำแม่อาจเป็นลำที่ไม่ดีพอ รวมทั้งการกำหนดระยะห่าง (หรือการเดินกอ) ก็ทำได้ยากและเมื่อมีการพูนดินขึ้นทุกปีแล้ว ไม่มีการเอาดินที่พูนออก หรือเอาออกไม่หมด จะทำให้กอไผ่ลอยเป็นผลให้กอไผ่ทรุดโทรมได้เร็วและออกหน่อน้อยในปีต่อไป การแก้ไขปัญหาดังกล่าวอาจทำได้ดังนี้คือ


1.ทำการหมกปีเว้นปี หรือหมกสองปีแล้วปล่อยตามปกติ 1 ปี หรือไม่ก็แบ่งพื้นที่หมกเป็นแปลง ๆ แยกกัน ทั้งนี้เพื่อให้ไผ่ตงที่ผ่านการหมกมีลำแม่ที่สมบูรณ์เต็มที่ผลผลิตจะได้ไม่ลดลงในปีต่อไป

2.มีการหมกกอเว้นกอ เพื่อที่จะเลี้ยงลำแม่ที่สมบูรณ์ได้

3.หมกเพียงครึ่งกอ (สลับซ้าย-ขวา)

4.ต้องเอาดินที่พูนโคนออกทุกปี หลังตัดหน่อแล้ว


การตัดหน่อไผ่ตง
ไผ่ตงจะเริ่มแทงหน่อเมื่อเริ่มเข้าฤดูฝน การตัดหน่อจะตัดเมื่อหน่อยาวประมาณ 1 ฟุต โดยใช้เสียมหางปลาตัดหน่อบริเวณกาบใบที่ 3 จากโคนหน่อ ซึ่งจะเหลือตาไว้ 2-3 ตา สำหรับแตกหน่อในปีถัดไป สำหรับหน่อที่ไม่แข็งแรงให้ตัดออกทิ้งไป การตัดหน่อควรทำตอนเช้ามืด เพื่อจะได้หน่อไม้สดส่งตลาด หน่อไม้ไผ่ตงที่ตัดไว้นาน ๆ จะทำให้ความหวานลดลง ดังนั้น ควรตัดหน่อแล้วรีบขายทันที ในการตัดหน่อควรเริ่มตัดหน่อจากกลางกอก่อน แล้วขยายวงออกมารอบนอกกอ ส่วนหน่อที่อวบใหญ่ที่อยู่ด้านนอกควรมีการรักษาไว้เพื่อให้เป็นลำแม่เลี้ยงหน่อต่อไป


เอกสารรอ้างอิง
กรมป่าไม้. 2531 ไม้ไผ่ เอกสารเผยแพร่ กองบำรุง กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ
 เฉลียว วัชรพุกก์. 2522 ไผ่ โรงพิมพ์ คอมพิวแอคเวอไทซิงค์ กรุงเทพฯ
 ถนอม เปรมรัศมี, ประสาน บำรุงราษฎร์. 2522 ความรู้เรื่องไม้ไผ่เอกสารเผยแพร่กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ.
 สมจิต ชัยภักดี. 2530. การปลูกไผ่ตง เอกสารคำแนะนำที่ 82 กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการ เกษตร กรุงเทพฯ
 สุภาวดี ภัทรโกศล. 2529. การปลูกไผ่ตง ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
 สำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี. 2538. คำแนะนำเบื้องต้นในการเก็บและเพาะเมล็ดพันธุ์ไผ่ตง กรมส่งเสริมการเกษตร ปราจีนบุรี.





หน้าก่อน หน้าก่อน (1/5) - หน้าถัดไป (3/5) หน้าถัดไป


Content ©