-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 200 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม




หน้า: 1/5


ไผ่ตง-ไผ่รวก


ไผ่ตงเป็นทรัพยากรชนิดหนึ่งที่มีค่าต่อการดำรงชีวิตของคนไทยมาช้านานเพราะทุกส่วนของไผ่ตงตั้งแต่รากไปจนถึงยอดสุดของลำต้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น เช่น ลำต้นใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องจักสาน บ้านพักอาศัย เป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตเยื่อกระดาษ รากที่ยึดกันเหนียวแน่นจะช่วยยึดดินตามบริเวณห้วยหนองคลองบึงไม่ให้พังทลายหรือลดกระแสน้ำที่เชี่ยวกรากจากอุทกภัยได้ นอกจากนี้หน่อที่มีรสหวานกรอบอร่อย จะถูกนำมาใช้ประกอบเป็นอาหารได้ ทั้งในรูปของหน่อไม้สด หน่อไม้ดอง หรือแปรรูปอื่น ๆ จากคุณประโยชน์ดังกล่าวนี้ จึงทำให้มีผู้นิยมปลูกไผ่ตงกันแพร่หลายมากขึ้น บางรายยึดเป็นอาชีพหลักหรือบางรายทำเป็นอาชีพเสริม ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกช่องทางหนึ่งด้วย

สภาพพื้นที่
ควรปลูกในพื้นที่ราบ น้ำท่วมไม่ถึง ดินควรเป็นดินร่วน หรือดินร่วนปนทรายมีการระบายน้ำดี


สภาพภูมิอากาศ
ไผ่ตงขึ้นได้ดีเกือบทุกสภาพภูมิอากาศ โดยทั่วไปต้องมีความชื้นเหมาะสม คือมีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 1,000 มิลลิเมตร ต่อปี

พันธุ์ไผ่ตงที่กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำคือ
1.ไผ่ตงดำ
พันธุ์ไผ่ตงชนิดนี้ลำต้นจะมีสีเขียวเข้ม อมดำ ใบจะมีสีเขียวเข้ม หนาใหญ่และมองเห็นร่องใบได้ชัดเจน หน่อจะมีขนาดปานกลางน้ำหนักโดยเฉลี่ย 3-6 กิโลกรัม หน่อไม้ไผ่ตงชนิดนี้จะมีรสหวาน กรอบ เนื้อเป็นสีขาวละเอียดและไม่มีเสี้ยน จึงเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกเพื่อผลิตหน่อและทำตงหมก ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มคุณภาพของหน่อให้ดีขึ้นไปอีก พันธุ์ไผ่ตงชนิดนี้จึงได้ชื่อว่าเป็นพันธุ์ที่ให้หน่อที่มีคุณภาพและมีชื่อเรียกจนเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า "ไผ่ตงหวาน"


2. ไผ่ตงเขียว
พันธุ์ไผ่ตงเขียวนี้จะมีขนาดของลำต้นเล็กและสั้นกว่าไผ่ตงดำ สีของลำต้นจะเป็นสีเขียว เนื้อไม้บาง ไม่ค่อยแข็งแรง ถ้ามีลมแรง ๆ ทำให้หักพับลงมาได้ง่าย ใบมีขนาดปานกลาง บางและสีเขียวเข้ม จับแล้วไม่สากมือ หน่อมีน้ำหนัก 1-4 กิโลกรัม หน่อไม้ไผ่ตงชนิดนี้จะมีรสชาติหวานอมขื่นเล็กน้อย เนื้อเป็นสีขาวอมเหลือง นอกจากนี้แล้วไผ่ตงเขียวยังมีความคงทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี เหมาะที่จะปลูกใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงมีผู้นิยมปลูกกันมากไม่แพ้ไผ่ตงดำ


ไผ่ตงสามารถขยายพันธุ์ได้ 5 วิธีคือ การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แยกเหง้า ชำปล้อง และการขยายพันธุ์โดยการปักชำแขนง ซึ่งมีวิธีทำดังนี้

1. การเพาะเมล็ด

ไผ่ตงเมื่อหมดอายุขัยจะออกดอกและตาย ปกติไผ่ตงจะเริ่มออกดอกในเดือนพฤศจิกายน-มกราคม เมล็ดไผ่ตงจะเริ่มแก่และร่วงหล่นประมาณเดือน มีนาคม-เมษายน เกษตรกรสามารถนำเมล็ดไผ่ตงที่ได้ไปทำการเพาะต่อไปโดยวิธีการดังนี้

1.1 การเก็บเมล็ดพันธุ์
- เมล็ดไผ่ตงเมื่อแก่จัดจะร่วงลงพื้น เกษตรกรควรทำความสะอาดหรือถางโคนต้นให้เตียน เพื่อความสะดวกในการรวบรวมเมล็ดไผ่ตง หรือใช้วัสดุหรือตาข่ายรองรับเมล็ดพันธุ์ไผ่ตง กรณีเขย่าต้นให้เมล็ดร่วงจากต้น
- รวบรวม เมล็ดพันธุ์ไผ่ตงที่ได้ ทำการฝัดด้วยกระด้งก็จะได้เมล็ดที่สมบูรณ์
- นำเมล็ดที่สมบูรณ์มาขัด นวดเอาเปลือกออกโดยใช้พื้นรองเท้าแตะฟองน้ำ ขัดนวดเมล็ดบนกระด้ง และฝัดเอาเปลือกออก
- นำเมล็ดที่ได้ไปผึ่งแดด ประมาณ 1 แดด ก็สามารถนำไปเพาะได้ เพื่อป้องกันแมลงและไม่ควรเก็บเมล็ดไว้เกิน 1 เดือน เพราะจะทำให้เปอร์เซ็นต์ความงอกลดลง

1.2 วิธีการเพาะกล้าไผ่ตง

- เมล็ดไผ่ตงที่จะเพาะควรขัดเอาเปลือกนอกออกก่อนถ้าเพาะทั้งเปลือกนอกเมล็ดจะงอกช้าและเติบโตไม่สม่ำเสมอ
- นำเมล็ดไปแช่น้ำ 2 คืน หรือแช่เมล็ดด้วยน้ำอุ่นประมาณ 2 ชั่วโมงแล้วแช่น้ำอีก 1 คืน
- นำเมล็ดขึ้นจากน้ำ แล้วห่อหุ้มเมล็ดด้วยผ้า รดน้ำให้ชื้นอยู่เสมอประมาณ 2 คืน เมล็ดจะเริ่มงอก
- นำเมล็ดที่เริ่มงอกไปลงแปลงเพาะที่มีขี้เถ้าแกลบผสมดินและทรายรองพื้นหนาประมาณ 4 นิ้ว หว่านเมล็ดแล้วกลบด้วยดินหนาประมาณ 1 ซม. คลุมแปลงด้วยวัดสุคลุมดิน เช่น หญ้าแห้ง และฟางข้าว
- ทำการย้ายกล้า ภายหลังจากการเพาะลงแปลงแล้วประมาณ 15 วัน ซึ่งต้นกล้าไผ่ตงจะมีความสูงประมาณ 2-3 นิ้ว ย้ายกล้าที่แข็งแรงลงถุงเพาะและอนุบาลไว้ในเรือนเพาะชำ หรือในที่ร่มรำไร ประมาณ 6-8 เดือน ก็นำไปปลูกต่อไป

2. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
เราสามารถใช้ต้นกล้าไผ่ตงที่ได้จากการเพาะเมล็ดมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นการนำต้นกล้ามาขยายพันธุ์ให้ได้ปริมาณมาก ๆ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนต้นพันธุ์ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาต้นพันธุ์ที่มาจากการเพาะชำกิ่งแขนงออกดอกและตายเพราะกิ่งแขนงที่นำมาจากต้นแม่ที่มีอายุมากพร้อมที่จะออกดอกกิ่งแขนงนั้นจะมีอายุเท่ากับต้นแม่ ฉะนั้นเมื่อต้นแม่ออกดอก กิ่งแขนงที่นำไปปลูกก็จะออกดอกตายด้วยเช่นกัน แต่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้องอาศัยขั้นตอนและเทคนิคทางวิชาการมาก จึงควรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานราชการหรือบริษัทเอกชนเป็นผู้ดำเนินการผลิต

3. การขยายพันธุ์โดยการแยกกอ เหง้า
การขยายพันธุ์วิธีนี้จะต้องคัดเลือกเหง้าที่มีอยู่ 1-2 ปี จะตัดให้ตอสูงประมาณ 50-80 เซนติเมตร แล้วทำการขุดเหง้ากับตอออกจากกอแม่เดิม โดยระวังอย่าให้ตาที่คอเหง้าแตกเสียหายได้ เพราะตานี้จะแตกเป็นหน่อต่อไป ส่วน "หน่อเจ่า" เป็นหน่อที่ขุดขึ้นมามีขนาดเล็ก สามารถแยกกอไปปลูกได้เช่นกัน การขยายพันธุ์วิธีนี้จะได้เหง้าแม่ที่สะสมอาหารอยู่มากจึงมีอัตราการอดตายสูงทำให้หน่อแข็งแรงและได้หน่อเร็วกว่าวิธีขยายพันธุ์โดยการใช้กิ่งแขนงหรือลำ ได้พันธุ์ตรงกับสายพันธุ์เดิม แต่ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากเสียเวลาแรงงาน และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก

4. การขยายพันธุ์โดยใช้ลำ
การขยายพันธุ์วิธีนี้จะต้องทำการคัดเลือกลำที่มีอายุประมาณ 1 ปี แล้วนำมาตัดเป็นท่อน ๆ โดยให้แต่ละท่อนมี 1 ข้อ ซึ่งการใช้ท่อนตัด 1 ข้อ จะต้องตัดตรงกลางและให้รอยตัดทั้งสองห่างจากข้อประมาณ 1 คืบ และควรเป็นลำที่มีแขนงติดอยู่โดยจะต้องตัดให้แขนงเหลือยาวประมาณ 1 คืบด้วย จากนั้นจึงนำไปชำในแปลงเพาะชำ โดยวางให้ข้ออยู่ระดับดินและให้ตาหงายขึ้น ระวังอย่าให้ตาได้รับอันตราย แล้วใส่น้ำลงในปล้องไผ่ตงให้เต็ม และคอยเติมน้ำให้อยู่เต็มอยู่เสมอ

การเพาะวิธีนี้จะต้องหมั่นดูแลรดน้ำให้ความชุ่มชื่นอยู่เสมอหลังจากนั้นประมาณ 2-4 สัปดาห์จะพบหน่อและรากแตกออกมา เมื่อหน่อแทงรากแข็งแรงเต็มที่ ประมาณ 6-12 เดือน ก็ทำการย้ายปลูกได้

5. การขยายพันธุ์โดยใช้กิ่งแขนงปักชำ
กิ่งแขนงคือ กิ่งที่แยกออกจากลำต้นไผ่ตรงบริเวณข้อ ซึ่งโคนกิ่งแขนงจะมีรากงอกเห็นได้เด่นชัด การใช้กิ่งแขนงขยายพันธุ์เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเพราะสะดวกและง่าย โดยมีการคัดเลือกดังนี้
- ให้เลือกกิ่งแขนงที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-1 1/2 นิ้ว
- ให้เลือกรากของกิ่งแขนงที่มีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเหลืองและมีรากฝอยแตกจากรากแขนงแล้ว
- ให้เลือกกิ่งแขนงที่ใบยอดคลี่แล้ว และกาบหุ้มตาหลุดหมดแล้วเช่นกัน
- ให้เลือกกิ่งแขนงที่มีอายุ 4-6 เดือน ถ้าเป็นกิ่งค้างปียิ่งดี

การคัดเลือกกิ่งแขนง
ขั้นตอนในการปักชำกิ่งแขนง
เมื่อได้คัดเลือกกิ่งแขนงแล้ว ทำการตัดแยกกิ่งแขนงออกจากลำไผ่ จากนั้นตัดปลายกิ่งออกให้เหลือยาว 80-100 เซนติเมตร การปักชำควรจะทำในปลายฤดูฝนหรือในราวเดือนกันยายน-ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีกิ่งแขนงมาก โดยปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
- เตรียมแปลงเพาะชำโดยการไถพรวนดิน แล้วควรตากดินทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้นทำการย่อยดินและปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอในกรณีที่พื้นที่เป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง และถ้าเป็นที่ลุ่มควรทำการยกร่องเพื่อให้มีการระบายน้ำได้ดี
- ขุดร่องให้เป็นแนวเหนือ-ใต้ และขุดให้ลึกประมาณ 15 เซนติเมตร แต่ละร่องห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อให้กิ่งแขนงได้รับแสงแดดทั่วถึงกันทุก ๆ ด้าน
- นำกิ่งแขนงปักชำลงในร่องให้ห่างกันประมาณ 15-20 เซนติเมตร กลบดินแล้วใช้เท้าเหยียบให้แน่น รดน้ำทันที หลังจากชำเสร็จแล้วทำหลังคาด้วยทางมะพร้าวเพื่อบังแดด หมั่นดูแลรดน้ำทุกวันหรือวันเว้นวัน
- หลังจากปักชำแล้วประมาณ 6-8 เดือน กิ่งแขนงที่ชำไว้จะแตกแขนงใบและรากที่แข็งแรงพร้อมที่จะย้ายลงปลูกในแปลงได้ การปักชำกิ่งแขนงอาจดำเนินการเพาะชำในถุงพลาสติกสีดำขนาด 8x10 นิ้ว สามารถเจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน

ถ้ามีการขนย้ายกล้าในระยะทางไกล ๆ ควรย้ายกล้าลงชำในถุงพลาสติกทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน เพื่อให้ต้นกล้ากิ่งแขนงที่ชำไว้แตกแขนง ใบ และราก ตั้งตัวได้และมีความแข็งแรง




ไผ่ตง
ไผ่ตง มีชื่อวิทยาศาสตร์ Dendrocalamus asper Backer อยู่ในวงศ์ Gramineae สกุล Dendrocalamus Nees ไผ่ตงเป็นไม้ที่ให้ประโยชน์ ทั้งในแง่ของอาหาร และการใช้ประโยชน์ ด้านอื่นๆ โดยรสชาติ และคุณสมบัติ เฉพาะด้านของ ไผ่ตงทำให้ผู้บริโภค นิยมรับประทาน


สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกไผ่ตง
ควรปลูกในพื้นที่ราบ น้ำท่วมไม่ถึง ลักษณะดินที่เป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี

ดิน
มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมประมาณ 5.5-6.5

สภาพภูมิอากาศ
ไผ่ตงขึ้นได้ดีเกือบทุกสภาพภูมิอากาศ โดยทั่วไปต้อง มีความชื้นเหมาะสม คือ มีฝนตกเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 1,000 มิลลิเมตรต่อปี แต่ควรมีน้ำสะอาดเพียงพอสำหรับช่วงแล้ง
พันธุ์ไผ่ตง

พันธุ์ไผ่ตงที่นิยมปลูกมี 2 พันธุ์คือ พันธุ์ตรงดำและพันธุ์ตรงเขียว

  • ไผ่ตงดำ ตงจีน หรือตงกลาง หรือตงหวาน
    พันธุ์ไผ่ตงชนิดนี้ลำต้นจะมีสีเขียวเข้มอมดำ ขนาดเล็กกว่าไผ่ตงหม้อ มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 9-12 เซนติเมตร ใบจะมีสีเขียวเข้ม หนาใหญ่และมองเห็นร่องใบได้ชัดเจน หน่อจะมีขนาดปานกลาง น้ำหนักโดยเฉลี่ย 3-6 กิโลกรัม หน่อไม้ไผ่ตงชนิดนี้จะมีรสหวาน กรอบ เนื้อเป็นสีขาวละเอียดและไม่มีเสี้ยน จึงเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกเพื่อผลิตหน่อและทำตงหมก ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มคุณภาพของหน่อให้ดีขึ้นไปอีก
  • ไผ่ตงเขียว
    พันธุ์ไผ่ตงเขียวนี้จะมีขนาดลำต้นเล็กและสั้นกว่าไผ่ตงดำ มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 5-12 เซนติเมตร สีของลำต้น จะเป็นสีเขียว เนื้อไม้บาง ไม่ค่อยแข็งแรง ใบมีขนาดปานกลาง บางและสีเขียวเข้ม จับแล้วไม่สากมือ หน่อมีน้ำหนัก 1-4 กิโลกรัม หน่อไม้ไผ่ตงชนิดนี้จะมีรสหวานอมขื่นเล็กน้อย เนื้อเป็นสีขาว
    อมเหลือง ไผ่ตงเขียวมีความคงทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี



การปลูกไผ่ตง

การเตรียมพื้นที่
ไถพรวนปรับพื้นที่ให้เรียบ ถ้าเป็นพื้นที่ลุ่มทำการขุดร่องระบายน้ำ หรือยกร่องปลูกเพื่อให้การระบายน้ำได้ดี


การเลือกต้นพันธุ์

ถ้าเป็นต้นกล้าไผ่ตงที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ควรเป็นต้นกล้าที่มีความสมบูรณ์ มีอายุไม่น้อยกว่า 14 เดือน หรือความสูง ไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร มีระบบรากฝอยแผ่กระจายและสมบูรณ์ไม่ขดม้วนงออยู่ก้นถุง สำหรับการคัดเลือกต้นกล้า ไผ่ตง ที่ได้จากการชำกิ่งแขนงนั้น ควรเป็นต้นกล้าที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 2.5 เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร มีสภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากการทำลายของโรคและแมลง


ระยะปลูก

ระยะปลูก คือ 6-8×6-8 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ ทั้งนี้ระยะปลูกควรพิจารณาจากพันธุ์ไผ่ตง และสภาพความ สมบูรณ์ของดิน ถ้าปลูกไผ่ตงดำ ควรปลูกห่างกว่าไผ่ตงเขียว เพราะขนาดลำของไผ่ตงดำจะใหญ่กว่า ไผ่ตงเขียว และถ้าสภาพดินเลว ไผ่ไม่ค่อย เจริญเติบโต ควรใช้ระยะปลูกที่ถี่กว่าสภาพดินดี


การเตรียมหลุมปลูก

- ขุดหลุม กว้างxยาวxลึก ประมาณ 50×50x50 เซนติเมตร
- ใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟตประมาณ 300-500 กรัมต่อหลุม ผสมปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้ว ประมาณ 1 กิโลกรัม และยาฆ่าแมลงฟูราดาน 1-1.5 ช้อนแกง (10-15 กรัม) คลุกเคล้ากับดินบนให้ทั่วแล้วกลบกลับคืนลงไปในหลุม ให้ระดับดินสูงกว่าเดิม เล็กน้อย เผื่อสำหรับ ยุบตัวภายหลัง


การพรางแสง

สำหรับต้นเล็ก ใช้ทางมะพร้าวหรือตาข่ายพรางแสง ช่วยพรางแสงแดด


การให้น้ำต้นไผ่ตงปลูกใหม่

่ในระยะแรกนั้น ต้องคอยดูแลรดน้ำให้ดินมีความชื้นอยู่เสมอ หลังจากนั้นเมื่อไผ่ตงตั้งตัวได้ดีแล้ว อาจเว้นระยะห่างออกไปบ้าง ปริมาณ และความถี่ของการให้น้ำขึ้นอยู่กับสภาพความชื้นของดิน และเมื่อถึงฤดูแล้งควรหาวัสดุ เช่น หญ้าแห้ง ฟางแห้ง คลุมบริเวณ โคนต้น เพื่อรักษาความชื้นให้กับดิน

การดูแลรักษาสะเดา


การใส่ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ยจะใส่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ปุ๋ยที่นิยมคือปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักโดยจะใส่ในอัตรา 1-1.5 ตัน ต่อไร่ (40-50 กก./กอ) หรืออาจใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 2-4 กก./กอ ร่วมกับปุ๋ยคอก ในกรณีที่ต้องการเร่งการออกหน่อใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 1-2 กก. รอบ ๆ กอ ถ้าต้องการให้หน่อมี คุณภาพดียิ่งขึ้นควรใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 เพิ่มไปในอัตรา 1 กก. ต่อกอ โดยใส่ไปพร้อม ๆ กับยูเรีย


การตัดแต่งกอ

แต่งกอในช่วงฤดูแล้งประมาณเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ควรตัดแต่งกอให้สะอาด ดังนี้
* ตัดกิ่งเป็นโรค และกิ่งแห้งออก
* กอไผ่ตงที่อายุ 1-2 ปี จะไม่มีการตัดหน่อ ทั้งนี้เพื่อไว้เป็นลำสำหรับเลี้ยงกอ ให้เจริญเติบโต และขยายกอใหญ่ขึ้น
* กอไผ่ตงที่มีอายุ 2 ปี ให้เลือกตัดหน่อที่ชิดลำอื่น หน่อที่ไม่สมบูรณ์ และหน่อตีนเต่าออก เหลือไว้เพียง 5-7 หน่อต่อกอ
* กอไผ่ตงที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป ให้เลือกตัดลำแก่อายุเกิน 3 ปีขึ้นไป ออกขายหรือใช้ประโยชน์ ตามความเหมาะสม โดยเหลือลำแม่ ที่สมบูรณ์ไว้ประมาณ 10-20 ลำต่อกอ เพื่อเลี้ยงกอ และเลี้ยงหน่อที่ออกใหม่ การตัดลำแก่ออกนี้ควรตัดจากลำที่อยู่กลางกอ กอไผ่ตงจะได้โปร่งและขยายออกกว้างขึ้น


เทคนิคการทำหน่อไผ่ตงหมก

การทำหน่อไม้ไผ่ตงหมก ใช้ดิน ขี้เถ้าแกลบ ใบไผ่ตงหรือวัสดุอื่น หมกพูนโคนกอไผ่ เมื่อไผ่ตงเริ่มแทงหน่อพ้นดินประมาณ 2-3 นิ้ว โดยใช้วัสดุพูนโคนสูงประมาณ 50 เซนติเมตร


การตัดหน่อไผ่ตง

- การตัดหน่อควรตัดเมื่อหน่อยาวประมาณ 1 ฟุต โดยใช้เสียมหางปลาตัดหน่อบริเวณกาบใบที่ 3 จากโคนหน่อ ซึ่งจะเหลือตาไว้ 2-3 ตา สำหรับแตกหน่อในปีถัดไป สำหรับหน่อที่ไม่แข็งแรงให้ตัดออกทิ้งไป
- การตัดหน่อควรทำตอนเช้ามืด เพื่อจะได้หน่อไม้สดส่งตลาด หน่อไม้ไผ่ตงที่ตัดไว้นานจะทำให้ความหวานลดลง ดังนั้น ควรตัดหน่อ แล้วรีบขายทันที ในการตัดหน่อควรเริ่มตัดหน่อจากกลางกอก่อนแล้วขยายวง ออกมารอบนอกกอ ส่วนหน่อที่อวบใหญ่ ที่อยู่ด้าน นอก ควรมีการรักษาไว้เพื่อให้เป็นลำแม่
เลี้ยงหน่อต่อไป



แมลงศัตรูของไผ่ตงที่สำคัญ

- แมลงประเภทเจาะไชหน่อ และปล้องอ่อน
เป็นแมลงที่มีอันตรายสำคัญมากที่สุด โดยเฉพาะในระยะที่ไผ่ตงกำลังเจริญเติบโต จากหน่ออ่อนเป็นลำต้น แมลงพวกนี้ เช่น ด้วงงวงปีกแข็ง จะเข้าทำลายกัดกินเนื้อเยื่อ ที่อ่อนของปล้องภายในกาบหุ้มหน่อที่กำลังเจริญเติบโต จะทำให้หน่อและปลายยอดอ่อน
เน่า และหักตาย


- เพลี้ยแป้ง

อาศัยอยู่ตามหน่ออ่อนหรือใบอ่อนเพื่อดูดน้ำเลี้ยง ทำให้กาบใบและยอดหงิกงอ ชะงัก การเจริญเติบโต ป้องกันกำจัด โดย
1. ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง ไม่เป็นที่สะสมของโรค-แมลง
2. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชราดที่หน่อและเหง้า


ที่มา  :  ไมระบุ




การปลูกไผ่ตง

การเตรียมพื้นที่
ควรเตรียมพื้นที่ไว้ตั้งแต่ฤดูแล้ง ซึ่งจะทำงานได้สะดวกสามารถลงมือปลูกได้ทันในต้นฤดูฝน โดยในพื้นที่ที่เป็นแอ่ง ที่ลุ่มน้ำขัง มีเนิน หรือมีตออยู่ในพื้นที่ต้องไถบุกเบิก กำจัดตอออกให้หมด ปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ราบอยู่แล้ว แค่ไถพรวนกำจัดวัชพืชอย่างเดียวก็พอ

ฤดูปลูก
ในแหล่งที่สามารถให้น้ำได้ตลอดทั้งปี ก็สามารถปลูกไผ่ได้ตลอดปีเช่นกัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือควรปลูกตั้งแต่ฝนเริ่มตก จนถึงปลายเดือนมิถุนายน หากฝนทิ้งช่วง ควรให้น้ำช่วย

ระยะปลูก
ระยะปลูกที่เหมาะสมระหว่างต้น x ระหว่างแถว คือ 6-8 x 6-8 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกไผ่ตงได้ประมาณ 25-45 ต้น ทั้งนี้ระยะปลูกควรพิจารณาจากพันธุ์ไผ่ตง และสภาพความสมบูรณ์ของดิน ถ้าปลูกไผ่ตงดำ ควรปลูกห่างกว่าไผ่ตงเขียว เพราะขนาดลำของไผ่ตงดำจะใหญ่กว่าไผ่ตงเขียว และถ้าสภาพดินเลว ไผ่ไม่ค่อยเจริญเติบโต ควรใช้ระยะปลูกที่ถี่กว่าสภาพดินดี

การเตรียมหลุมปลูก
หลุมที่ปลูกไผ่ตงควรมีขนาด กว้างxยาวxลึก ไม่น้อยกว่า 50x50x50 เซนติเมตร ให้ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต 1 กระป๋องนม (ประมาณ 300-500 กรัม) ต่อหลุม ผสมปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้ว 1 บุ้งกี๋ (ประมาณ 1 กิโลกรัม) และยาฆ่าแมลงฟูราดาน 1-1.5 ช้อนแกง (10-15 กรัม) คลุกเคล้ากับดินบนให้ทั่วแล้วกลบกลับคืนลงไปในหลุม ให้ระดับดินสูงกว่าเดิมเล็กน้อยเผื่อสำหรับดินยุบตัวภายหลัง

การปลูก
ถ้าเป็นต้นกล้าไผ่ตงที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ควรเป็นต้นกล้าที่มีความสมบูรณ์ มีอายุไม่น้อยกว่า 14 เดือน หรือความสูงไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร มีระบบรากฝอยแผ่กระจายและสมบูรณ์ไม่ขดม้วนงออยู่ก้นถุง สำหรับการคัดเลือกต้นกล้าไผ่ตงที่ได้จากการชำ กิ่งแขนงนั้น ควรเป็นต้นกล้าที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ไม่น้อยกว่า 2.5 เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร มีสภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจาก การทำลายของโรคและแมลงการปลูกควรนำต้นกล้าไปปลูกตรงกลางหลุมที่เตรียมไว้ปลูกให้ลึกเท่า กับระดับดินเดิมแล้วพูนดินบริเวณโคนต้นให้เป็นเนินสูงขึ้นเล็กน้อย ใช้ไม้ปัก เป็นหลักผูกยึดต้นไผ่ เพื่อป้องกันลมโยก หลังจากนั้นต้องรดน้ำตามทันที เพื่อช่วยให้เม็ดดินกระชับราก นอกจากนี้ต้นไผ่ที่เพิ่งปลูกจะไม่ทนต่อแสงแดด และความร้อนสูง ต้องใช้ทางมะพร้าวหรือวัสดุอื่น ช่วยพรางแสงแดด จนกว่าต้นกล้าจะมีใบใหญ่และตั้งตัวได้แล้ว จึงค่อยปลดออก

การปลูกพืชแซม
ในระหว่างที่ต้นไผ่ตงเพิ่งเริ่มปลูกยังเล็กอยู่ในช่วง 1-2 ปีแรก ควรจะปลูกพืชแซม เพื่อเสริมรายได้ อาจจะปลูกผัก พืชไร่ หรือไม้ผลอายุสั้น เช่น กล้วย มะละกอ เป็นต้น หลังจากไผ่ตงโตแล้วแดดส่องผ่านได้น้อย ก็ยังสามารถปลูกพืชแซมได้ พืชที่ปลูกได้ผลดีก็คือ กระชาย เพราะเป็นพืชที่ทนร่มได้ดี นอกจากกระชายแล้ว ยังมีพืชสมุนไพรอีกหลายชนิดที่ทนร่มและได้ผลดี เช่นกัน ในสวนที่ไม่ได้ปลูกพืชแซมควรปล่อยให้มีหญ้าขึ้นตามธรรมชาติ และคอยควบคุมการตัด หรืออาจจะปลูกพืชคลุมดินเพื่อรักษาหน้าดินและความชื้นภายในดิน เช่น ถั่วลาย เพอราเลีย คุดซู ก็ได้ โดยหว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตรา 2-3 กก./ไร่

การให้น้ำ
ต้นไผ่ตงปลูกใหม่ในระยะแรกนั้น จะขาดน้ำไม่ได้ต้องคอยดูแลรดน้ำให้ดินมีความชื้นอยู่เสมอ หลังจากนั้นเมื่อไผ่ตงตั้งตัวได้ดีแล้ว อาจเว้นระยะห่างออกไปบ้างปริมาณ และความถี่ของการให้น้ำขึ้นอยู่ กับสภาพความชื้นของดินและเมื่อถึงฤดูแล้งควรหาวัสดุ เช่น หญ้าแห้ง ฟางแห้ง คลุมบริเวณโคนต้น เพื่อรักษาความชื้นให้ กับดิน

การใส่ปุ๋ย
- การให้ปุ๋ย ในช่วงปีแรกไผ่ตงสามารถใช้ ปุ๋ยที่คลุกเคล้าไปกับดินปลูกได้ในระยะปีต่อ ๆ ไปจำเป็นจะต้องมีการไถพรวนและใส่ ปุ๋ย หลังจากเก็บหน่อขายแล้วจะทำการตัดแต่งกอและไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืช ปกตินิยมไถพรวนในช่วงเดือน ตุลาคม-พฤศ จิกายน ก่อนที่ดินจะแห้ง เพราะถ้าดินแห้งจะไถพรวนได้ยาก
- การใส่ปุ๋ยจะใส่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ปุ๋ยที่นิยมคือปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักโดยจะใส่ในอัตรา 1-1.5 ตันต่อไร่ (40-50 กก. หรือ 4-5 บุ้งกี๋ต่อกอ) หรืออาจใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15 อัตรา 2-4 กก. ต่อกอ ร่วมกับปุ๋ยคอก

ในกรณีที่ต้องการเร่งการออกหน่อ นอกเหนือจากปุ๋ยปกติแล้วจะมีการใส่ปุ๋ย ยูเรีย (46-0-0) ในอัตรา 1-2 กก. รอบ ๆ กอ โดยระวังอย่าให้โดนหน่อ เพราะจะทำให้หน่อเน่าได้ และถ้าต้องการให้หน่อมีคุณภาพดียิ่งขึ้นควรใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 เพิ่มไปในอัตรา 1 กก. ต่อกอโดยใส่ไปพร้อม ๆ กับยูเรีย

- การปลูกไผ่ตงจะเน้นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเป็นหลัก ไม่ควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้กอไผ่ทรุดโทรมเร็ว

การตัดหน่อไผ่ตง
ไผ่ตงจะเริ่มแทงหน่อเมื่อเริ่มเข้าฤดูฝน การตัดหน่อจะตัดเมื่อหน่อยาวประมาณ 1 ฟุต โดยใช้เสียมหางปลาตัดหน่อบริเวณกาบใบที่ 3 จากโคนหน่อ ซึ่งจะเหลือตาไว้ 2-3 ตา สำหรับแตกหน่อในปีถัดไป สำหรับหน่อที่ไม่แข็งแรงให้ตัดออกทิ้งไป การตัดหน่อควรทำตอนเช้ามืด เพื่อจะได้หน่อไม้สดส่งตลาด หน่อไม้ไผ่ตงที่ตัดไว้นาน ๆ จะทำให้ความหวานลดลง ดังนั้น ควรตัดหน่อแล้วรีบขายทันที ในการตัดหน่อควรเริ่มตัดหน่อจากกลางกอก่อน แล้วขยายวงออกมารอบนอกกอ ส่วนหน่อที่อวบใหญ่ที่อยู่ด้านนอกควรมีการรักษาไว้เพื่อให้เป็นลำแม่เลี้ยงหน่อต่อไป

การตัดแต่งกอ
ไผ่ตงก็เหมือนต้นไม้ทั่ว ๆ ไป ต้องมีการตัดแต่งหลังการเก็บเกี่ยวหน่อในช่วงฤดูฝน โดยแต่งกอในช่วงฤดูแล้งประมาณเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ควรตัดแต่งกอให้สะอาด โดยดำเนินการดังนี้
1. ตัดกิ่งเป็นโรค และกิ่งแห้งออก
2. กอไผ่ตงที่อายุ 1-2 ปี จะไม่มีการตัดหน่อ ทั้งนี้เพื่อไว้เป็นลำสำหรับเลี้ยงกอ ให้เจริญเติบโตและขยายกอใหญ่ขึ้น
3. กอไผ่ตงที่มีอายุ 2 ปี ให้เลือกตัดหน่อที่ชิดลำอื่น หน่อที่ไม่สมบูรณ์ และหน่อตีนเต่าออก เหลือไว้เพียง 5-7 หน่อ ต่อกอ
4. กอไผ่ตงที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป ให้เลือกตัดลำที่แก่อายุเกิน 3 ปีขึ้นไป ออกขายหรือใช้ประโยชน์ตามความเหมาะสม โดยเหลือลำแม่ที่สมบูรณ์ไว้ประมาณ 10-20 ลำต่อกอ เพื่อเลี้ยงกอและเลี้ยงหน่อที่ออกใหม่ การตัดลำแก่ออกนี้ควรตัดจากลำที่อยู่กลางกอ กอไผ่ตงจะได้โปร่งและขยายกอออกกว้างขึ้น


ที่มา : กรมวิชาการเกษตร

http://www.nanagarden.com/Content.aspx?ContentID=10395








หน้าถัดไป (2/5) หน้าถัดไป


Content ©