-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 421 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม




หน้า: 2/3



ปลูกมันเทศเนื้อสีม่วงญี่ปุ่น รายได้ไร่ละ 50,000 บาท


“แอนโทไซยานิน” (Anthocyanin)
เป็นสารที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยในการชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันได้ นอกจากนั้นยังช่วยชะลอความเสื่อมของดวงตา นอกจากนั้นยังพบว่าสารชนิดนี้ช่วยยับยั้งเชื้ออีโคไลซึ่งเป็นสาเหตุของโรคท้องร่วง ในธรรมชาติผักและผลไม้ที่มีสารแอนโทไซยานินมากมักจะสีม่วง เช่นองุ่นแดง บลูเบอรี่ ฯลฯ สำหรับพืชหัวจะมีมากในหัวมันเทศเนื้อสีม่วง โดยเฉพาะมันเทศเนื้อสีม่วงจากประเทศญี่ปุ่นได้มีการปรับปรุงสายพันธุ์ได้เนื้อมันเทศที่มีสีม่วงเข้มตลอดทั้งหัว ทางชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรได้สายพันธุ์มันเทศเนื้อสีม่วงจากประเทศญี่ปุ่นมาทดลองปลูกในแปลงทด ลองที่ จ.พิจิตร เมื่อประมาณปลาย ปี พ.ศ. 2549 พบว่าได้ผลผลิตที่มีเนื้อสีม่วงเข้ม เนื้อแน่นและรสชาติอร่อยมาก

เมื่อพูดถึงมันเทศเนื้อสีม่วงญี่ปุ่น คนไทยส่วนใหญ่มักจะเข้าใจไปในทางเดียวกันว่าเป็นสายพันธุ์เดียวกับ “มันต่อเผือก” ของบ้านเราหรือไม่ ความจริงคือคนละสายพันธุ์กัน ลักษณะของมันต่อเผือกมักจะเนื้อสีขาวแทรกอยู่ในเนื้อ แต่มันเทศเนื้อสีม่วงญี่ปุ่นเนื้อจะมีสีม่วงทั้งหัว เมื่อมองทางด้านพฤกษศาสตร์ของมันเทศสายพันธุ์นี้ เมื่อแตกใบอ่อนจะมีสีม่วงแดง เมื่อใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว ลักษณะการเจริญเติบโตของต้นจะเร็วกว่ามันเทศสายพันธุ์อื่น ๆ อายุการเก็บเกี่ยวจะใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน หลังจากปลูกลงแปลง ผิวของหัวมันจะมีสีม่วงแดง จัดเป็นสายพันธุ์มันเทศที่มีน้ำหนักหัวหนักกว่ามันเทศเนื้อสีอื่นที่มีขนาดหัวใกล้เคียงกัน เนื่องจากมีเนื้อที่แน่นกว่านั่นเอง

ในการเตรียมแปลงปลูกมันเทศเนื้อสีม่วงญี่ปุ่นนั้น สามารถปลูกได้ทั่วประเทศเพียงแต่พิจารณาในเรื่องโครงสร้างของดินปลูกควรจะเป็น “ดินร่วนปนทราย” สภาพของดินมีผลต่อการลงหัวหรือพื้นที่ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เช่น ทำพืชไร่ติดต่อกันมานานหลายปีแนะนำให้มีการปรับปรุงดินด้วยการหว่านเมล็ดถั่วเขียวลงไปในแปลง หลังจากต้นถั่วเขียวมีอายุต้นได้ประมาณ 45 วัน (หลังจากหว่าน) ซึ่งเป็นระยะที่ต้นถั่วเขียวกำลังออกดอก ให้เกษตรกรไถกลบต้นถั่วเขียวเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสด หลังจากนั้นให้เตรียมแปลงปลูกด้วยการไถดะ 1 ครั้ง และตากดินทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน ให้ไถแปรให้ดินละเอียดยิ่งขึ้นและกำจัดวัชพืชโดยใช้ผาลเดิมเหมือนไถดะยกร่องแปลงปลูกขึ้นเป็นรูปสามเหลี่ยม กว้างประมาณ 70 เซนติเมตร สูงประมาณ 30-45 เซนติเมตร ระยะปลูกระหว่างต้น 25-30 เซนติเมตร 1 หลุมต่อ 1 ท่อนพันธุ์หรือปลูก 2 ท่อนพันธุ์ต่อ 1 หลุมก็ได้

ปัจจุบันราคาขายหัวมันเทศเนื้อสีม่วงญี่ปุ่นนั้นจะขายได้ราคาสูงกว่ามันเทศสายพันธุ์อื่น ๆ ที่ประเทศญี่ปุ่น, สิงคโปร์ ฯลฯ



ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

http://www.dailynews.co.th/dailynews/pages/front_th/popup_news/Default.aspx?ColumnId=35515&NewsType=2&Template=2



การปลูกมันเทศเนื้อสีม่วงจากประเทศญี่ปุ่น



"มันเทศ เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ค้นพบโดยโคลัมบัส ที่เกาะไฮติ อเมริกากลาง เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2035 หรือประมาณ 500 ปีเศษที่ผ่านมา และจากประวัติศาสตร์มีข้อมูลเพิ่มเติมว่าคนในยุโรปส่วนใหญ่จะรู้จักมันเทศก่อนมันฝรั่งด้วยซ้ำไป คนอังกฤษกินมันเทศตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีตำนานเล่าขานกันว่าพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 กินมันเทศอบพายทุกวัน ในฐานะอาหารกามเพื่อหวังจะให้ชีวิตรักของพระองค์ดีขึ้น"


มันเทศมีปลูกในอเมริกากลางมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ปัจจุบันก็ยังเป็นอาหารหลักอย่างหนึ่งของชาวแคริบเบียนและสหรัฐอเมริกาตอนใต้ ในทวีปเอเชียก็พบประวัติการปลูกมันเทศมายาวนานไม่แพ้กัน โดยเฉพาะในหมู่ชาวโพลินิเซียนในหมู่เกาะตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น เกาะตาฮิติ ฟิจิ รวมทั้งประเทศนิวซีแลนด์ ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน มันเทศเป็นหนึ่งในอาหารและพืชพันธุ์ที่มาพร้อมกับเรือพ่อค้าฝรั่งในศตวรรษที่ 16-17 ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิง มันเทศได้กลายเป็นอาหารหลักที่สำคัญของคนจีนในสมัยนั้น


ทางด้านคุณค่าทางโภชนาการของมันเทศมีสูงกว่ามันฝรั่งด้วยซ้ำไป ในเนื้อมันเทศนอกจากจะมีปริมาณแป้งสูงแล้ว ยังมีวิตามินและแร่ธาตุมาก มันเทศเนื้อสีส้ม จะมีสารเบต้าแคโรทีนสูงไม่แพ้แครอตและสาหร่ายทะเล ในขณะที่มันเทศเนื้อสีม่วงจะมีสารแอนโทไซยานินสูง (สารแอนโทไซยานินจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้ และยังทำหน้าที่เป็นตัวล้างพิษและช่วยชะลอความแก่ชราได้) มีข้อมูลว่าในบางประเทศมีการใช้เนื้อมันเทศสีม่วงเป็นคาร์โบไฮเดรตแทนข้าวสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไม ในปัจจุบันมันเทศเนื้อสีม่วงที่มีวางขายในทั่วโลกจึงมีราคาค่อนข้างแพง ขายถึงผู้บริโภคไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 100 บาท


ญี่ปุ่นมีการพัฒนาสายพันธุ์มันเทศก้าวหน้าแห่งหนึ่งของโลก

ปัจจุบัน สายพันธุ์มันเทศของญี่ปุ่นจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ตามสีของเนื้อคือ เนื้อสีขาว สีเหลือง สีส้มและสีม่วง เป็นที่สังเกตว่าญี่ปุ่นได้มีการพัฒนามันเทศทั้ง 4 สี นี้ นอกจากจะใช้บริโภคสดแล้วยังแปรรูปเป็นขนมได้ทั้งหมด ตัวอย่างของมันเทศในกลุ่มของเนื้อสีม่วงมีชื่อพันธุ์ว่า ยามากาวา มูราซากิ (Yamagawa Murasaki) ที่นำมากวนได้เนื้อแป้งสีม่วง ที่มีความละเอียดเนียนแปรรูปเป็นขนมกวน (คล้ายกะละแมบ้านเรา) มีรสชาติอร่อยมากและขายเป็นของฝากที่มีราคาสูง


ทางชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จังหวัดพิจิตร ได้พันธุ์มันเทศเนื้อสีม่วงสายพันธุ์หนึ่งมาจากประเทศญี่ปุ่นและได้นำมาปลูกในแปลงทดลอง เมื่อประมาณปลายปี พ.ศ. 2549 ผลปรากฏว่า เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว มันเทศเนื้อสีม่วงที่ขุดขึ้นมาได้เนื้อสีม่วงเข้มตลอดทั้งหัวและเป็นมันเทศที่มีน้ำหนักหัวมากเมื่อเปรียบเทียบในขนาดหัวที่เท่ากัน ก่อนอื่นจะต้องขอบอกว่ามันเทศเนื้อสีม่วงญี่ปุ่นที่นำมาปลูกในแปลงทดลองนี้เป็นคนละสายพันธุ์กับ "มันต่อเผือก" ของบ้านเรา (ลักษณะของมันต่อเผือกจะมีเนื้อสีขาวแทรกอยู่ในเนื้อสีม่วง) เมื่อมองทางด้านพฤกษศาสตร์ของมันเทศเนื้อสีม่วงญี่ปุ่น "ลักษณะของใบอ่อนจะมีสีม่วง เมื่อใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม ลักษณะการเจริญเติบโตของต้นเร็วกว่ามันเทศเนื้อสีส้ม เมื่อหัวมันแก่ซึ่งจะใช้เวลาปลูกประมาณ 4-5 เดือน หลังจากปลูก ผิวของหัวมันจะมีสีแดงม่วง จัดเป็นสายพันธุ์มันเทศที่มีน้ำหนักหัวหนักกว่ามันเทศเนื้อสีอื่น"


การเตรียมแปลงปลูกมันเทศเนื้อสีม่วงญี่ปุ่น

ปัจจัยอันดับแรกของการปลูกมันเทศคือ โครงสร้างของดินที่จะใช้ปลูก ถึงแม้ว่ามันเทศจะปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ดินร่วนปนทราย มีความเหมาะสมที่สุด สภาพของดินปลูกมีผลต่อการลงหัวของมันเทศ ในสภาพดินปลูกที่มีโครงสร้างของดินแข็ง ดินแน่นหรือดินที่มีการระบายน้ำไม่ดีควรจะมีการปรับปรุงดินเสียก่อนที่จะลงมือปลูก

ตัวอย่างพื้นที่จะปลูกมันเทศเนื้อสีม่วงที่เคยปลูกข้าวโพดต่อเนื่องมาหลายปี ทางชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรได้ปรับปรุงดินด้วยการหว่านถั่วเขียวลงไปในแปลงก่อนที่จะเตรียมแปลงปลูกมันเทศเนื้อสีม่วงญี่ปุ่น หลังจากต้นถั่วเขียวมีอายุต้นได้ประมาณ 45 วัน หลังจากหว่าน (ระยะกำลังออกดอก) จะไถกลบต้นถั่วเขียวเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสด

ในการเตรียมแปลงปลูกให้ไถดะก่อน 1 ครั้ง และตากดินทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน ไถแปลงให้ดินละเอียดยิ่งขึ้นและกำจัดวัชพืชโดยใช้ผาลเดิมจากการไถดะ หลังจากนั้น ให้ยกร่องแปลงปลูกขึ้นเป็นรูปสามเหลี่ยม กว้างประมาณ 70 เซนติเมตร สูง 30-45 เซนติเมตร ความยาวของแปลงปลูกขึ้นกับสภาพพื้นที่ ถ้าจะให้เหมาะสมควรจะปลูกมันเทศด้วยการแบ่งแปลงเป็นล็อกๆ โดยแปลงปลูกมีความกว้างของแปลงประมาณ 40 เมตร และความยาวของแปลงประมาณ 80 เมตร เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการจัดการ


การจัดการระบบน้ำในแปลงปลูกมันเทศเนื้อสีม่วง

โดยปกติทั่วไปสำหรับเกษตรกรที่ปลูกมันเทศทั่วประเทศมักจะไม่ให้ความสำคัญในเรื่องของระบบการให้น้ำในการปลูกมันเทศ ถ้าปลูกในช่วงฤดูฝนจะพึ่งเพียงน้ำฝนจากธรรมชาติเท่านั้น ถ้าปลูกในช่วงฤดูแล้งจะมีการให้น้ำท่วมแปลงก่อนปลูกเท่านั้น


แต่ในการปลูกมันเทศสมัยใหม่ เกษตรกรควรจะมีการจัดระบบน้ำที่ดีในแปลงปลูก ในแปลงปลูกมันเทศเนื้อสีส้มและสีม่วงญี่ปุ่น จะมีการวางระบบน้ำแบบมินิสปริงเกลอร์ ซึ่งมีข้อดีตรงที่ต้นมันเทศได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอ และต้นมันเทศตั้งตัวได้เร็ว พบอัตราการตายของต้นต่ำมาก ถึงแม้จะมีข้อเสียที่เพิ่มต้นทุนในการจัดการวัชพืชก็ตาม เมื่อต้นมันเทศได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอพบว่ามีการลงหัวที่ดีและให้ผลผลิตสูง


การให้ปุ๋ยมันเทศเนื้อสีม่วงญี่ปุ่น ในการปลูกมันเทศเพื่อส่งขายตลาดบนหรือส่งขายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลนั้น จะเน้นในเรื่องของคุณภาพเป็นสำคัญ ต้นมันเทศที่ได้รับปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีที่ถูกต้องจะได้หัวมันเทศที่มีคุณภาพ


การเก็บเกี่ยวผลผลิตมันเทศญี่ปุ่น

ความจริงแล้ว อายุในการเก็บเกี่ยวมันเทศเกือบทุกสายพันธุ์ จะเฉลี่ยอยู่ที่ 120-150 วัน หลังจากปลูกลงแปลง ซึ่งรวมถึงมันเทศเนื้อสีม่วงญี่ปุ่นด้วย วิธีการสังเกตว่ามันเทศแก่และเก็บเกี่ยวได้นั้นมีวิธีสังเกตดังนี้ ให้สังเกตบริเวณสันร่องที่ปลูกว่า ดินจะแตกออกอย่างชัดเจนหรือสังเกตที่เถามันจะเหี่ยวและพบการออกดอกและวิธีการสุดท้ายให้เกษตรกรทดลองขุดซุ่มตัวอย่างและนำมาทดลองบริโภคหรืออาจจะใช้มีดปาดบริเวณหัวมัน ดูว่ามียางไหลออกมามากหรือน้อย ถ้ายางออกมาน้อยนั่นแสดงว่าหัวมันแก่แล้ว วางแผนขุดส่งตลาดได้


ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตนั้น ก่อนที่จะขุดหัวมันเทศ ควรจะใช้มีดหวดหรือเครื่องตัดหญ้าตัดเถามันออกก่อนเพื่อความสะดวกต่อการขุด อุปกรณ์ที่ใช้ขุดจะใช้จอบหรือเสียมก็ได้ แต่จะต้องระวังอย่าให้จอบหรือเสียมโดนส่วนหัวของมันเทศจนเกิดแผล จะทำให้ราคาตกและส่งขายห้างสรรพสินค้าไม่ได้ ในการขุดหัวมันเทศในแต่ละครั้งอาจมีความจำเป็นจะต้องขุดทั้งแปลง และไม่สามารถส่งขายยังตลาดได้หมดภายในครั้งเดียว จำเป็นจะต้องเก็บรักษาหัวมันเทศให้คงสภาพเดิมไว้รอการขายอีกหลายวัน มีคำแนะนำให้เก็บหัวมันเทศที่มีดินติดอยู่ ยังไม่ต้องล้างดินออกและไม่ต้องตัดแต่งหัวมันเทศ (มันเทศที่ส่งขายในซุปเปอร์มาร์เก็ต เครือเดอะมอลล์ กรุ๊ป รวมถึงห้างดิเอ็มโพเรี่ยมและห้างสยามพารากอน จะต้องมีการล้างหัวมันให้สะอาดและคัดแยกเกรดให้เรียบร้อย หัวมันที่มีรอยแผลจะต้องคัดออก และที่สำคัญที่สุดคือหัวมันเทศที่ถูกด้วงงวงมันเทศหรือเสี้ยนดินทำลายจะต้องคัดออกทันที) หลังจากนั้น ให้นำหัวมันเทศที่มีดินติดอยู่ไปเก็บไว้ในที่ร่มหรือในห้องไม่ให้โดนแดดหรือโดนน้ำ จะเก็บหัวมันเทศไว้ได้นาน ประมาณ 3 สัปดาห์ -1 เดือน เมื่อจะนำมาส่งขายยังตลาดให้นำหัวมันเทศมาทำความสะอาดและคัดเกรดส่งตลาด


ข้อเสนอแนะสำหรับเกษตรกรที่จะปลูกมันเทศเนื้อสีม่วงญี่ปุ่น

1. เกษตรกรไทยจะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมจากการปลูกมันเทศในอดีตที่คิดเพียงว่าปลูกมันเทศไปแล้วไม่จำเป็นจะต้องมีการบำรุงรักษาที่ดี โดยเฉพาะในเรื่องของระบบการให้น้ำในแปลงปลูก น้ำมีผลต่อการลงหัวของมันเทศ เมื่อต้นมันเทศได้น้ำอย่างสม่ำเสมอในขณะที่กำลังลงหัวจะได้หัวมันที่ได้น้ำหนักและหัวมีขนาดใหญ่


2. ท่อนพันธุ์มันเทศที่ตัดจากต้นมาเพื่อขยายพันธุ์ปลูกต่อนั้น ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกตัดจากส่วนยอดมาเพียง 1 ท่อน เท่านั้น ถ้าตัดยอดที่ 2 และ 3 จากต้นเดียวกันจะมีผลต่อการให้ผลผลิตคือ ให้ผลผลิตต่ำ ยังมีคำแนะนำเพิ่มเติมในการใช้ยอดมันเทศเป็นท่อนพันธุ์นั้นควรจะใช้เพียง 3 รุ่น ควรจะเปลี่ยนมาขยายพันธุ์จากหัวและใช้ยอดพันธุ์จากหัวเพื่อปลูกในรุ่นต่อไป


3. แมลงและโรคศัตรูมันเทศ ถึงแม้ว่าจะพบการระบาดไม่มากและน้อยกว่าพืชอีกหลายชนิดก็ตาม แต่ที่เห็นว่าเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญที่สุดของมันเทศก็คือ "ด้วงงวงมันเทศ" หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "เสี้ยนดิน" เกษตรกรผู้ปลูกจะเน้นในการป้องกันมากกว่าพบการระบาดแล้วถึงจะกำจัด เพราะเมื่อพบการระบาดของด้วงงวงมันเทศแล้วจะควบคุมได้ยากมาก การปลูกมันเทศซ้ำที่เดิมหลายรุ่นเสี่ยงต่อการระบาดของแมลงชนิดนี้ และถ้าจะป้องกันการระบาดจะต้องมีการฉีดพ่นยาในกลุ่มของ "แอสเซนด์" ในช่วงที่มันเริ่มลงหัว และที่ต้องตระหนักเป็นที่สุดคือ ก่อนที่จะเก็บเกี่ยวมันเทศ 3 สัปดาห์ ควรหลีกเลี่ยงการฉีดสารเคมีทุกชนิด


4. ในการปลูกมันเทศแต่ละรุ่นไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิม เมื่อปลูกมันเทศไปแล้ว 1 รุ่น ควรเปลี่ยนไปปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ถั่วเขียว หลังจากต้นถั่วเขียวมีอายุต้นได้ 45 วัน ให้ไถกลบทั้งต้นจะได้ปุ๋ยพืชสดอย่างดี แล้วค่อยปลูกมันเทศต่อไป




*หนังสือ" ปลูกมันเทศเนื้อสีม่วง รายได้ไร่ละ 50,000 บาท" พิมพ์ 4 สี จำนวน 84 หน้า มีแจกฟรี เกษตรกรและผู้สนใจเขียนจดหมายสอดแสตมป์ 50 บาท ส่งมาที่ ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร เลขที่ 2/200 ถนนศรีมาลา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 66000 โทร. (056) 613-021, (056) 650-145 และ (081) 886-7398



เทคโนโลยีชาวบ้าน




หน้าก่อน หน้าก่อน (1/3) - หน้าถัดไป (3/3) หน้าถัดไป


Content ©