-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 409 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม




หน้า: 3/3



ครั่ง" มะละกอไทย เพื่อทำส้มตำโดยเฉพาะ

มะละกอครั่ง(1)เหมาะสำหรับการตำส้มตำโดยเฉพาะให้ผลผลิตสูงเจริญเติบโตเร็ว
มะละกอครั่ง(2)ผลดิบจะกรอบรสหวานกว่าพันธุ์อื่น,เก็บผลไว้ได้นาน1สัปดาห์

แต่เดิมคนไทยมักจะคุ้นเคยกับมะละกอดิบพันธุ์แขกนวลหรือมะละกอแขกดำ ที่นำมาตำส้มตำซึ่งเป็นอาหารยอดฮิตของคนไทย แต่มะละกอไทยที่มีชื่อว่า พันธุ์ “ครั่ง” เป็นสายพันธุ์มะละกอที่ศูนย์และพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดมหาสารคาม (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง)

สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 จังหวัดขอนแก่น กรมส่งเสริมการเกษตร ได้พัฒนาสายพันธุ์เพื่อการผลิตเป็นมะละกอดิบใช้ทำส้มตำโดยเฉพาะ
ด้วยลักษณะเด่นตรงที่เป็นมะละกอที่ให้ผลผลิตสูงหลังจากย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลงใช้เวลาปลูกเพียง 5-6 เดือน เริ่มเก็บเกี่ยวผลดิบจำหน่ายเป็นมะละกอส้มตำได้ เนื้อของมะละกอดิบพันธุ์ครั่งจะมีความกรอบและรสชาติหวานกว่ามะละกอดิบสายพันธุ์อื่น เมื่อเก็บผลดิบลงมาจากต้นจะคงสภาพในอุณหภูมิปกติโดยไม่เหี่ยวและคุณภาพไม่เปลี่ยนแปลงนานถึง 1 สัปดาห์ ทำให้พ่อค้าที่มารับซื้อจะชะลอการจำหน่ายได้






ลักษณะประจำพันธุ์ของมะละกอพันธุ์ครั่ง:

จากการคัดเลือกพันธุ์ยังพบว่าเมล็ดมะละกอพันธุ์ครั่ง ยังมี 3 เพศ ต้นกะเทย ต้นตวเมีย และต้นตัวผู้
ดังนั้น เกษตรกรที่ได้เมล็ดไปปลูกจะต้องมีการคัดเลือกต้นในแปลงอีกครั้งหนึ่ง ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่ามะละกอพันธุ์ครั่งจะมีลักษณะเหมือนมีมะละกอ 2สายพันธุ์อยู่ภายในต้นเดียวกัน คือระยะต้นเล็กจะมีสีแดงอมม่วง บริเวณก้านใบและมีจุดตามลำต้นคล้ายกับมะละกอพันธุ์โกโก้ เมื่อต้นเจริญเติบโตเต็มที่สีเหล่านั้นจะหายไป
ในขณะที่พันธุ์โกโก้และจุดยังคงเดิม และเมื่อผลสุกเนื้อมะละกอพันธุ์ครั่งจะมีสีเหลืองอมส้มคล้ายกับมะละกอพันธุ์สายน้ำผึ่ง

มะละกอพันธุ์ครั่งที่คัดพันธุ์ขึ้นมาใหม่นี้จะเป็นมะละกอต้นเตี้ย มีลักษณะผลใหญ่และยาว(ต้นกะเทย)บริเวณผลจะมีร่องข้างผลยาวตลอดตั้งแต่หัวไปยังท้ายผล เมื่อผ่าดูลักษณะภายในจะมีความหนาของเนื้อประมาณ 2 เซนติเมตร สีของเนื้อมีสีขาวขุ่นและไม่แข็งกระด้าง รสชาติหวานกว่าพันธุ์แขกนวล

จากการศึกษาในแปลงปลูกของทางราชการหรือในแปลงปลูกของเกษตรกรหรือแม้แต่ในแปลงปลูกของแผนกฟาร์มชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จังหวัดพิจิตรพบว่ามะละกอพันธุ์ครั่งมีความต้านทานต่อโรค ไวรัส จุดวงแหวนได้ดีระดับหนึ่ง


การปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งในเชิงพาณิชย์:

เกษตรกรจะต้องเริ่มต้นด้วยการเพาะเมล็ดมะละกอพันธุ์ครั่งอย่างถูกวิธีเสียก่อน

การเพาะเมล็ดมะละกอพันธุ์ครั่ง

ด้วยการใช้วัสดุเพาะที่มีสัดส่วนของหน้าดิน 2 ส่วน ขี้เถ้าแกลบ 2 ส่วน แกลบดิบ 1 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน และขุยมะพร้าว 1 ส่วน ให้แช่เมล็ดมะละกอไว้ประมาณ 12 ชั่วโมง จากนั้นนำมาแช่ในน้ำอุ่น(ใช้มือจุ่มลงไปในน้ำรู้สึกว่าไม่ร้อน) นานประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นการงอกของเมล็ด

การเตรียมแปลงและระยะปลูกมะละกพันธุ์ครั่ง

แปลงที่จะใช้ปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งควนจะยกแปลงลูกแบบลูกฟูกหรือร่องลอยให้มีความกว้างของแปลง 6 เมตร
ใน 1 แปลงปลูก จะปลูก 2 แถวคู่ ระยะปลูกระหว่างต้น 2.5 เมตร ระหว่างแถว 3 เมตร พื้นที่ปลูก 1 ไร่ จะปลูกมะละกอครั่งได้ ประมาณ 192 ต้น มีเกษตรกรบางรายจะยกแปลงเป็นลูกฟูกและจะปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งเพียงแถวเดียว โดยใช้ระยะปลูก 3 x 3 เมตร หรือต้องการให้มีการถ่ายเทอากาศได้ดีอาจจะปรับระยะปลูกเป็น 3.5 x 3.5 เมตรก็ได้ แต่ละหลุมปลูกควรปลูก 2-3 ต้น เพื่อคัดต้นตัวผู้ทิ้ง(ซึ่งพบน้อยมาก) แต่ถ้าจะปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ ควรคัดต้นตัวเมียทิ้งด้วย แต่สำหรับเกษตรที่ปลูกเพื่อผลิตเป็นมะละกอดิบขายไม่จำเป็นต้องตัดต้นตัวเมียทิ้ง เนื่องจากทรงผลจะออกยาวไม่กลมเหมือนกับมะละกอพันธุ์แขกนวลหรือพันธุ์แขกดำ


สภาพดินและการปลูกมะละกอพันธุ์ครั่ง
ถ้าเป็นดินร่วนปนทราย เกษตรกรไม่ควรขุดหลุมปลูกให้มีความลึกเกิน 30 เซนติเมตร แต่ควรจะขุดหลุมให้กว้างๆเพราะเมื่อมีการให้น้ำดินจะยุบตัวทำให้หลุมปลูกระบายน้ำไม่ได้ ผลที่ตามมาจะทำให้โคนโคนและรากมะละกอเน่าได้ เกษตรกรที่ไม่ต้องการให้ต้นมะละกอพันธุ์ครั่งสูงควรจะโน้มต้นลงเพื่อป้องกันการหักล้มในช่วงที่มีการติดผลดก ในสภาพพื้นที่ปลูกที่อยู่ในพื้นที่สูงและมีสภาพลมแรงไม่มีไม้บังลม เกษตรกรจำเป็นจะต้องโน้มต้นลงเมื่อต้นมะละกอมีอายุได้ 1 เดือน เกษตรกรที่ปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งควรจะคลุมโคนต้นด้วยฟางข้าวหรือเศษหญ้า

หลังจากต้นมะละกอมีอายุได้ 1 เดือนเริ่มใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น สูตร 16-16-16 หรือ 19-19-19 ใส่ให้ต้นละ 50-100 กรัม ปัจจุบันราคาปุ๋ยเคมีมีราคาแพงมากขึ้น เกษตรกรอาจจะสลับมาใส่ปุ๋ยคอกสลับบ้าง เช่นปุ๋ยขี้ไก่ โดยใส่ปุ๋ยเคมีเหลือเพียงเดือนละ 1 ครั้งก็พอ และใส่ให้ต้นละประมาณ 1 กำมือ

อย่างไรก็ตาม น้ำจัดเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในการปลูกมะละกอพันธุ์ครั่ง ตั้งแต่เริ่มหลุมปลูกจนเก็บเกี่ยวผลดิบขาย อย่าปล่อยให้ต้นมะละกอขาดน้ำ จะมีการติดตั้งระบบการให้น้ำแบบมินิสปริงเกอร์ต้นละ 1 หัว ก็ได้หรืออาจจะให้น้ำแบบปล่อยตามร่องจะให้3-5วันต่อครั้งก็ได้ หลังจากที่ลงหลุมปลูกแล้วถ้าเป็นไปได้ใต้ต้นมะละกอทุกต้นควรจะคลุมด้วยฟางข้าวเพื่อลดปริมาณวัชพืชและช่วยรักษาความชื้นในดิน

นทางปฏิบัติการใช้สารป้องกันและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกมะละกอยังมีข้อจำกัดและเกษตรกรจะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ แม้แต่สารในกลุ่มไกลโฟเสก็ตามอาจจะมีผลข้างเคียงกับต้นมะละกอพันธุ์ครั่งได้


ความแตกต่างระหว่างการปลูกมะละกอพันธุ์ครั่ง หลุมละ 1 ต้น และ 2 ต้น

ในการคัดเลือกต้นมะละกอพันธุ์เมื่อเริ่มมีการออกดอกและติดผลให้คัดต้นตัวผู้ทิ้งเท่านั้น ซึ่งมีน้อยมาก
ต้นตัวเมียถึงแม้จะให้ลูกกลมแต่ก็กลมไม่มาก และมีความยาวของผลพอสมควรขายเป็นมะละกอดิบเพื่อทำส้มตำได้ การปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งเพียงหลุมละ 1 ต้น จะได้ต้นมะละกอที่มีลำต้นที่อวบอ้วน ขนาดของผลจะใหญ่และสมบูรณ์มากในขณะที่ปลูกหลุมละ 2 ต้น ถึงแม้ต้นจะยังคงมีความสมบูรณ์ แต่ขนาดของลำต้นเล็กกว่าเนื่องจากแย่งอาหารกันมีผลทำให้มะละกอมีขนาดเล็กเรียวยาวและน้ำหนักผลน้อยกว่า แต่เป็นข้อดีตรงที่ผลมะละกอดิบไม่ใหญ่จนเกินไป


เทคนิคการทำสาวมะละกอพันธุ์ครั่ง
มะละกอพันธุ์ครั่ง จะให้ผลผลิตและเก็บจำหน่ายผลดิบหลังจากที่ย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลง 5-6 เดือน
จากการสังเกตลักษณะของการออกดอกและติดผลของมะละกอสายพันธุ์นี้คือ ในช่วงเดือนที่ 9 หลังการปลูกลงดิน ผลผลิตจะหมดในรุ่นแรกหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าหมดคอแรก ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจะเหมาะที่จะตัดต้นมะละกอพันธุ์ครั่งแล้วเลี้ยงยอดใหม่ หรือเรียกว่าวิธีการทำสาวหลังจากตัดต้นทำสาวเพียง 3 เดือนเท่านั้น ข้อดีใหม่ของมะละกอพันธ์ครั่งจะเริ่มออกดอกและเก็บเกี่ยวผลผลิตขายได้ในเวลาต่อมา ข้อดีของการทำสวนมะละกอพันธุ์ครั่งจะทำให้เก็บเกี่ยวผลผลิตง่าย เพราะมะละกอมีต้นเตี้ยเหมือนกับต้นที่ปลูกใหม่ และส่งผลต่อการดูแลรักษาที่ง่ายขึ้น การทำสาวมะละกอจะยังคงรักษาพันธุ์เดิมไม่มีการกลายพันธุ์ถ้าปลูกในครัวเรือนไม่ต้องปลูกใหม่ทุกปี

สำหรับเกษตรกรที่ปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งในเชิงพาณิชย์ สามารถกำหนดการให้ผลผลิตได้โดยวิธีการทำสาว
สามารถกำหนดให้มะละกอมีจำหน่ายได้ในช่วงหน้าแล้ง ในช่วงฤดูแล้งราคามะละกอดิบจะมีราคาแพงที่สุดคือตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมาจนถึงเทศกาลสงกรานต์ ในช่วงเวลาดังกล่าวบางปีราคามะละกอดิบขายจากสวนมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 8-15 บาท โดยเกษตรกรนับถอยหลังไปราว 4-5เดือน และตัดต้นมะละกอทำสาวในช่วงเวลานั้น เช่น จะให้ต้นมะละกอพันธุ์ครั่งให้ผลผลิตขายได้ในเดือนมกราคม ให้ตัดต้นมะละกอเพื่อทำสาวในช่วงเดือนกรกฎาคม- สิงหาคม เป็นต้น



วิธีการทำสาวมะละกอพันธุ์ครั่ง
แนะนำให้เกษตรกรตัดต้นมะละกอพันธุ์ครั่งสูงจากพื้นดิน 50 เซนติเมตร เหตุผลที่จะต้องตัดที่ความสูงระดับนี้เผื่อเอาไว้ให้ลำต้นมะละกอต้องผุเปื่อยเน่าลงมาอีกประมาณ 1 คืบมือ หลังจากตัดต้นมะละกอแล้วไม่จำเป็นจะต้องทายาเชื้อราหรือปูนแดง เนื่องจากลำต้นมะละกอจะผุเปื่อยลงไปจนถึงจุดทียอดตาใหม่จะแตกออกมาเกษตรกรอาจจะสงสัยว่าเมื่อตัดต้นมะละกอแล้วจำเป็นจะต้องเอาถุงพลาสติกมาคลุมต้นมะละกอเพื่อป้องน้ำหรือฝนที่จะทำให้ต้นเน่าได้หรือไม่ ความจริงแล้วถ้าเกษตรกรใช้ถุงพลาสติกมาคลุมรอยแผลจะทำให้ต้นเน่าได้ง่ายขึ้น
เนื่องจากน้ำที่ระเหยจากลำต้นจะไปเกาะติดที่พลาสติกจนน้ำขังภายในลำต้น ไม่มีการระบายน้ำออก จะส่งผลให้ลำต้นเน่าแต่ถ้าตัดต้นแล้วปล่อยไว้ตามธรรมชาติไม่ต้องทำอะไร เมื่อมีฝนตกลงมาและมีน้ำขังอยู่ที่บริเวณรอยแผล น้ำจะแห้งหรือระเหยไปเองเพราะจะโดนแดด โดนลมแต่เกษตรกรจะต้องเจาะรูเพื่อให้น้ำมีทางระบายอกจากลำต้นด้วย

หลังจากที่ตัดต้นทำสาวมะละกอพันธุ์ครั่งแล้ว แนะนำให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น สูตร16-16-16 หรือสูตรที่ไนโตรเจนสูง เช่น สูตร 32-10-10 พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยคอกเก่าบำรุงต้นไปพร้อมกัน และมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อเร่งให้ต้นมะละกอแตกยอดออกมาใหม่ เมื่อมีการแตกยอดออกมาจำนวนมากให้คัดเลือกยอดมะละกอพันธุ์ครั่งที่มีความสมบูรณ์ไว้เพียงยอดเดียวเท่านั้นและจะต้องหมั่นเด็ดยอดที่ไม่ต้องการออกให้หมด เพื่อไม่ให้เจริญเติบโตแข่งกัน หลังจากที่เลี้ยงยอดไปนานประมาณ 3 เดือน จะเริ่มออกดอกและติดผล


ปัจจุบันส้มตำเป็นอาหารหลักของคนอีสานและเป็นอาหารที่ได้เผยแพร่ไปทั่วทุกภาคของประเทศ นอกจากนั้นยังแพร่หลายกลายเป็นอาหารที่คนต่างชาติรู้จักกันมากขึ้น คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักมะละกอพันธุ์ครั่ง วิธีสังเกตง่ายๆ คือ จะมีร่องที่ผลเมื่อซื้อไปทำส้มตำแล้วล้วนแต่ประทับใจในความอร่อยและกรอบกว่ามะละกอสายพันธุ์อื่นๆ สำหรับเกษตรกรที่คิดจะปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งในเชิงพาณิชย์มีตัวอย่างเกษตรกรที่ จ.เพชรบูรณ์ คือ คุณยุพิน บั้งทอง เริ่มปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งในพื้นที่เพียง 2 ไร่ หลังจากปลูกต้นกล้าลงดินไปนานประมาณ 5 เดือนเท่านั้น เก็บมะละกอดิบขายได้มากถึง 5,000 กิโลกรัม



ขอขอบคุณข้อมูลจาก:
นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน
อ้างอิงที่มา:เว็บเกษตรแผ่นดินทอง


พี่น้องบ้านมหามีผู้ใด๋ปลูกแหน่บ่ค่ะ ขอข้อมูลเพิ่มเติม และลบกวนถ่ายภาพสวนมะละกอมาให้
เบิ่งแหน่เด้อจ้า

ขอบคุณหลายๆค่ะ
แม่มาลีน่า is offline  

www.baanmaha.com/community/thread30089.html -




ปลูกมะละกอแบบ “กางมุ้ง” ลดปัญหาศัตรูพืช-ผลดก-คุณภาพดี

การหันมาปลูกมะละกอโดยใช้เทคนิค “กางมุ้ง” ครอบทั่วแปลงของผู้ใหญ่บ้านหญิง สำรวย เรืองสุชา
เกษตรกรวัย 40 ปีเศษ แห่งหมู่ 9 ต.บึงกาสาม อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี จากการไฝ่รู้ด้วยตนเอง
ไปดูงานตามที่ต่างๆ ตลอดจนได้รับคำแนะนำจากภาครัฐ


ทำให้แปลงมะละกอพันธุ์ปลักไม้ลาย บนพื้นที่ 10 ไร่ของเธอมีผลผลิตเพิ่มขึ้น แถมไม่มีปัญหาศัตรูพืช
รบกวน ที่สำคัญคุณภาพที่ดีของผลผลิตนั้นเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก


ผู้ใหญ่บ้านหญิงสำรวย ย้อนให้ฟัง ว่าครอบครัวทำเกษตรในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม
(สปก.) มานานกว่า 30 ปี โดยปลูกส้มเขียวหวานตามเพื่อนเกษตรกรในพื้นที่ แต่ต้องประสบปัญหา
โรคส้มร่วงทำให้ขาดทุนอย่างหนัก จึงได้เปลี่ยนมาปลูกพืชล้มลุกชนิดอื่นแทนและก็ไม่ประสบผลสำเร็จ
เท่าที่ควร





“ต่อเมื่อสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (สปก.) มีนโยบายขับเคลื่อนงานบริการสู่ชุมชนเขต
ที่ดินพระราชทานใน 5 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา นครนายก และนครปฐม
มุ่งพัฒนาเพิ่มผลิตผลการเกษตรและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น โดยร่วมกับกรมส่งเสริม
การเกษตรทำโครงการผลิตกล้าพันธ์ดีเพื่อการส่งออกเห็นว่าน่าสนใจ จึงเข้าร่วมโครงการ”


เธอกล่าวอีกว่า ราวปี 2547 หลังเข้าร่วมโครงการ ก็ได้ทุนจาก สปก.ให้ไปดูงานที่ประเทศไต้หวัน
ก่อนกลับมาปลูกกล้วยหอม 5 ไร่ และปลูกมะละกอพันธุ์ปลักไม้ลาย 10 ไร่ แบ่งเป็นแปลงละ 5 ไร่
โดยทั้ง 2 แปลงปลูกแบบกางมุ้ง เพื่อเป็นแปลงต้นแบบให้เกษตรกรที่สนใจได้ศึกษา พร้อมกันนั้นก็จัด
ตั้งกลุ่มการปลูกมะละกอแบบกางมุ้งขึ้น โดยมีเพื่อนสมาชิกเข้าร่วมกว่า 10 ราย


“การปลูกแบบมุ้งจะช่วยลดปัญหาเรื่องโรคและแมลงศัตรูพืชได้ โดยเฉพาะเพลี้ยอ่อนที่เป็นพาหะนำโรค
 ทั้งยังช่วยให้เกษตรกรได้ผลผลิตที่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น โดยมีนักวิชาการส่งเสริมและพัฒนาการ
เกษตรจังหวัดปทุมธานีและนักวิชาการจากประเทศไต้หวันมาคอยเป็นพี่เลี้ยงปรึกษาให้คำแนะนำ”






ขณะที่การดูแลนั้น สำรวยเธอบอกว่า ไม่ยากเนื่องจากมะละกอปลักไม้ลายทรงต้นใหญ่ ข้อลำต้นดี มี
รากแขนงและรากฝอยมาก ทำให้โตเร็ว การโค่นล้มน้อยและให้ผลดก โดยพื้นที่ 1 ไร่นั้นใช้กล้า 200
ต้น ปลูกห่าง 3×3 เมตร ส่วนพื้นที่ปลูก ต้องไม่มีน้ำท่วมขัง เพราะโอกาสเกิดรากเน่ามีสูง ดังนั้นต้องมี
การระบายน้ำที่ดี และเมื่ออายุ 4-5 เดือน ต้องดัดต้นให้เอนนอน ซึ่งเป็นเทคนิคช่วยให้ผลดกมากขึ้น


“เก็บเกี่ยวปีที่แล้ว 1 ไร่ให้ผลผลิต 2 ตัน น้ำหนักต่อผลอยู่ที่ 0.8-2 กิโลกรัม แต่โดยทั่วไปหาก

จะส่งออกหนึ่งผลจะมีน้ำหนักเฉลี่ยที่ 1.5 กิโลกรัม ตอนนี้กำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมาก
ตลาดมีทุกระดับ ทั้งตลาดสด ภัตตาคาร และโรงแรมต่างๆ สั่งซื้อให้ลูกค้ารับประทานกันมาก” สำรวยแจง และว่าปัจจุบันราคาจำหน่าย อยู่ที่กิโลกรัมละ 17 บาท


ด้วยรูปทรงกระบอก ผิวเปลือกหนา ไม่บอบช้ำง่าย ง่ายต่อการขนส่ง เนื้อสีส้มอมแดง รสชาติหอมหวาน
สำรวยเธอบอกว่าเป็นคุณสมบัติที่ตลาดต้องการมาก ดังนั้นจึงเหมาะปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจจำหน่ายทั้ง
ภายในและส่งออกไปต่างประเทศ ส่วนเกษตรกรรายใดสนใจจะไปชมที่สวนเธอก็ยินดีให้คำแนะนำ หรือ
โทรศัพท์ติดต่อไปก็ได้ที่โทร. 08-1821-6385 เธอพร้อมให้คำปรึกษาทุกวัน


พนอ ชมพูศรี


http://agriculturethai.wordpress.com/tag/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/
agriculturethai.wordpress.com/tag/






การขยายพันธ์มะละกอ
         
ตอน :                       
     - ใช้มีดคมๆเฉือนกิ่งเฉียง 45 องศาขึ้นไปทางยอด ลึก 1 ใน 3 ของความกว้าง
ของบริเวณที่จะตอน ใช้ใบไม้หรือกระดาษคั่นระหว่างแผล ทิ้งไว้จนหมดยาง หุ้มด้วยตุ้มตอนขุยมะพร้าวธรรมดาๆประมาณ20-30 วันเริ่มออก  เมื่อเห็นว่าออกรากดีแล้วให้ตัดลงมาอนุบาลในถุงดำต่อ  จนกระทั่งต้นแข็งแรงดีจึงลงปลูกในแปลงจริง
     - ต้นมะละกอที่ลำต้นสูงมากๆให้ตอนที่คอจากยอดลงมา 50-80 ซม.ด้วยวิธีการเดียวกัน  เมื่อนำลงปลูกและรากเดินดีจะออกดอกติดผลทันที  นอกจากนี้ยังได้มะละกอต้นเตี้ยสายพันธุ์เดิมอีกด้วย
     - ต้นกระเทยพันธุ์ดีให้ตัดตอ บำรุงเรียกยอด เมื่อยอดโตเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ แล้วให้ตอนจากยอดที่แตกใหม่นั้นด้วยวิธีการตอนแบบเดียวกัน ก็จะทำให้ได้ต้นพันธุ์เดิมเพิ่มขึ้นจำนวนมาก

      เสียบยอด :                       
   1. ตัดตอต้นกระเทย บำรุงเรียกยอด                         
   2. ตัดตอต้นตัวผู้หรือต้นตัวเมีย  บำรุงเรียกยอด  เมื่อยอดโตประมาณ  1 ซม.ให้ตัดยอดทำง่ามหนังสติ๊ก แล้วตัดยอดจากต้นกระเทยทำเป็นลิ่มมาเสียบลงบนง่ามหนังสติ๊กของต้นตัวผู้หรือตัวเมีย  เสร็จแล้วรัดแผลด้วยเทปพลาสติกเหมือนการเสียบยอดไม้ผลทั่วๆไป  เมื่อยอดโตที่เสียบขึ้นจะให้ผลเหมือนต้นกระเทยเดิม
                       
      เพาะเมล็ด :                       
   1. เลือกเมล็ดในผลจากต้นแม่ที่เป็นต้นกระเทย แข็งแรง ตั้งตรง อวบอ้วน ปล้องถี่ ออกดอกติดผลตั้งแต่ต้นยังเตี้ย และให้ผลผลิตจำนวนมากติดต่อกันเป็นเวลานานๆ  คุณภาพผลดี
   2. เลือกผลสุก 50-75 เปอร์เซ็นต์คาต้น ผ่าผลนำเมล็ดออกมาแล้วล้างเนื้อและเปลือกหุ้มเมล็ดออก  แช่เมล็ดในไคตินไคโตซาน.หรือธาตุรอง/ธาตุเสริม. 6-12 ชม. นำลงเพาะในกระบะหรือถุงดำหรือในแปลงปลูกจริงทันที ทั้งนี้เมล็ดมะละกอไม่ต้องการพักตัว ถ้าเก็บไว้นานเปอร์เซ็นต์ความงอกจะลดลงจนไม่งอกหรืองอกขึ้นมาจนโตแล้วก็จะให้ผลผลิตไม่ดี เมล็ดที่ได้จากผลสุกงอมเมื่อนำไปขยายพันธุ์ต่อจะเกิดอาการกลายพันธุ์สูงมาก

      สร้างเมล็ดพันธุ์ :                       
   1. คัดเลือกต้นแม่พันธุ์กระเทยที่มีคุณสมบัติดีพร้อมทุกประการ ปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนเพื่อให้ได้ผลคุณภาพดี
   2. เลือกดอกสมบูรณ์ที่สุดของต้น 1-2 ดอกอยู่ตรงข้ามกัน  ช่วงใกล้บานให้ห่อดอกด้วยถุงใยสังเคราะห์  ปิดปากถุงให้มั่นคงเพื่อป้องกันการผสมข้ามและเพื่อเปิดโอกาสให้เกสรในดอกผสมกันเอง
   3. เมื่อดอกที่ห่อด้วยถุงใยสังเคราะห์ผสมติดเป็นผลแล้ว และเมื่อขนาดผลโตเท่ามะนาวให้ถอดถุงออกแล้วบำรุงต่อไปตามปกติ  จนกระทั่งได้อายุผลเหมาะสมสำหรับเอาเมล็ดมาเพาะขยายพันธุ์จึงเก็บผลนั้นมา
   4. นำเมล็ดที่ได้ไปเพาะตามปกติ ต้นที่เกิดมาเมื่อโตขึ้นจะให้ผลผลิตตรงตามสายพันธุ์ต้นแม่ค่อนข้างสูง  หรืออาการกลายพันธุ์ค่อนข้างน้อย                         

      ปักชำ :                                   
   1. ตัดต้นกระเทยตั้งแต่โคนถึงยอดออกเป็นท่อนๆ ยาว 10-15 ซม. มีตุ่มตาหลายๆตา ตัดท่อนพันธุ์ด้วยมีดคมจัดเพื่อให้แผลเรียบ ตัดเป็นท่อน แช่ไคตินไคโตซานหรือธาตุรอง/ธาตุเสริมนาน 6-12 ชม.
   2. แช่ครบกำหนดแล้วนำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง  ทาแผลด้วยปูนกินหมาก  ทิ้งไว้ในร่มอากาศถ่ายเทสะดวกนาน 24-48 ชม.เพื่อให้ท่อนพันธุ์เกิดความเครียด                       
   3. นำท่อนพันธุ์ที่เครียดดีแล้วปักในวัสดุเพาะชำธรรมดา  ให้ตุ่มตาฝังดินลึก 2-3 ตุ่ม  คลุมทับด้วยเศษฟางบางๆ  รดน้ำแบบพ่นฝอยวันละ 4-5 ครั้ง  เมื่อท่อนพันธุ์แตกรากและใบแล้วจึงแยกออกมาเพาะต่อในถุงดำ อนุบาลในโรงเรือนจนกระทั่งแข็งแรงดีจึงนำลงปลุกในแปลงจริงต่อไป




http://www.thaiblogonline.com/0804862465.blog?PostID=34009







หน้าก่อน หน้าก่อน (2/3)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (10721 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©