-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 195 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม




หน้า: 2/3



พันธุ์มะละกอ

มะละกอพันธุ์แขกดำศรีสะเกษ

ประวัติ
ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ( สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร , 2540 : 21-23 ) ได้
รวบรวมพันธุ์มะละกอแขกดำจากจังหวัดราชบุรี และนครราชสีมา โดยนำเมล็ดพันธุ์มาปลูกในระหว่าง
ปีพ.ศ.2527-2533 เพื่อศึกษาและคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีผลผลิตสูงและคุณภาพดี โดยวิธี
pure line selection และได้กำหนดมาตรฐานการคัดเลือกพันธุ์ไว้ดังนี้

  1. รูปร่างผลกลมยาว ไม่บิดเบี้ยว
  2. ผลดิบสีเขียวเข้ม ผิวเรียบ ไม่มีร่องรอยการเข้าทำลายของโรคแมลง
  3. ช่องว่างภายในผลแคบน้อยกว่า 20 % โดยปริมาตร
  4. ความหนาเนื้อมากกว่า 2 เซนติเมตร
  5. เมื่อสุกเนื้อในสีแดงอมส้ม รสหวาน soluble solid มากกว่า  12 %

จากการศึกษาและคัดเลือกพันธุ์มะละกอ จนถึงช่วงที่ 4 ในปีพ.ศ. 2533 ซึ่งได้สายพันธุ์ที่มี
ลักษณะดีจำนวน 7 สายพันธุ์  จึงได้ทำการสร้างสวนผลิตเมล็ดพันธุ์มะละกอสายพันธุ์คัด   ในขณะ
เดียวกันได้คัดเลือกพันธุ์ไว้เป็นแม่พันธุ์ในช่วงที่   5   โดยวิธี  mass selection ด้วย 
นอกจากนี้ได้ศึกษาปฏิกิริยาต่อโรค จุดวงแหวน และทดสอบผลผลิต และคุณภาพของมะละกอแขกดำ
สายพันธุ์คัด


ลักษณะดีเด่น

ลำต้นเตี้ย ให้ผลดก ติดผลไว ผลผลิตเฉลี่ย 52.2 กิโลกรัม/ต้น/ปี (ปีที่ 1 ) สูงกว่าค่า
เฉลี่ยผลผลิต ของมะละกอแขกดำทั่วไป ( แปลงศึกษาและรวบรวมพันธุ์ ) มะละกอแขกดำในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ และของทั้งประเทศของกรมส่งเสริมการเกษตร (2531-2533) คือ
6.2,8.9 และ 12.1 กิโลกรัม/ต้น/ปี ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์สูงกว่า
พันธุ์แขกดำพื้นเมืองทั่วไป


ลักษณะประจำพันธุ์
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

  1. ลำต้นเตี้ย
  2. ใบมีสีเขียวเข้ม ( 5 GY-3/4 ) มีเส้นใบ 11 แฉก ( Straight )
  3. ผลมีลักษณะกลมยาว ส่วนโคนของผลเล็กกว่าปลายผลเล็กน้อย (lengthened-cylindrical)ส่วนหัวผลกว้างเฉลี่ย 7.9 เซนติเมตร ส่วนท้ายผลกว้างเฉลี่ย 8.8เซนติเมตรและผลยาวเฉลี่ย 29.2  เซนติเมตร

ลักษณะทางการเกษตร


- เริ่มออกดอกเมื่อ 130 วันหลังปลูก  โดยมีความสูงเมื่อดอกแรกบาน 139 เซนติเมตร 
ความ
สูงเฉลี่ยเมื่อเริ่มติดผลแรก 150 เซนติเมตร  เก็บเกี่ยวผลดิบเมื่ออายุประมาณ 3-4 เดือน หลัง
ดอกบาน และผลสุกเมื่อ 5-6 เดือนหลังดอกบาน


- ผลผลิตเฉลี่ย 52.2 กิโลกรัม/ต้น/ปี ( ปีที่ 1) น้ำหนักผลเฉลี่ย 1.28 กิโลกรัม  ช่อง
ว่างภายในผลแคบ คือ 14.8% โดยปริมาตร


- ผลดิบมีผิวสีเขียวเข้ม  (7.5 GY-4/4) ผลสุกมีผิวสีส้ม (5 YR-6/10) ยาวเฉลี่ย 29.2
เซนติเมตร ผลสุกมีเนื้อสีแดงเข้ม  (10 R-6/10) เนื้อแน่นละเอียด  หนา 2.6 เซนติเมตร
รสชาติหวาน มีปริมาณ soluble solid  13.5 %


- ในระยะกล้า มะละกอแขกดำศรีสะเกษ ทนทานต่อโรคใบจุดวงแหวนได้ดีปานกลาง ( หลังปลูกเชื้อ
แล้วมีต้นที่ไม่เป็นโรค 46 %)  เมื่อนำต้นกล้าที่ไม่เป็นโรคไปปลูกในแปลงมะละกอเหล่านี้จะเริ่ม
แสดงอาการของโรครุนแรงขึ้นเมื่อมะละกอให้ผลผลิตแล้ว  2-3  เดือน  โดยเฉพาะช่วงเข้าฤดู
หนาวติดต่อกับฤดูแล้ง




มะละกอพันธุ์แขกดำท่าพระ

ประวัติ
สถาบันวิจัยพืชสวน  กรมวิชาการเกษตร ( 2540 : 24-27 ) ได้แนะนำมะละกอพันธุ์แขกดำ
ท่าพระ  ไว้ดังนี้ เป็นมะละกอที่คัดได้จากลูกผสมระหว่างมะละกอพันธุ์ฟลอริดาทอเลอแรนท์
(Florida Tolerant)จากประเทศสหรัฐอเมริกา  ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ทนทานต่อโรคใบด่างจุดวง
แหวน (Papaya  Ringspot  Virus)  กับมะละกอแขกดำ  ซึ่งเป็นมะละกอที่มีรสชาติดี
ของไทยแต่อ่อนแอต่อโรคใบด่างจุดวงแหวนมาก โดยได้รับการพัฒนาและคัดเลือกให้คงลักษณะทน
ทานต่อโรคและมีคุณภาพดีตั้งแต่ปี 2529 – 2537

ลักษณะดีเด่น

  1. มีความทนทานต่อโรคใบด่างจุดวงแหวนดีกว่ามะละกอพันธุ์แขกดำ
  2. ติดผลเร็วโดยมีอายุถึงวันดอกแรกบาน  85  วัน  อายุถึงวันติดผลแรก  92  วัน  หลังจากปลูก  ซึ่งเร็วกว่าพันธุ์แขกดำ  25  วัน  และ  30  วัน  ตามลำดับ เก็บเกี่ยวผลสุกหลังจากปลูกได้ 6 เดือน ขณะที่พันธุ์
    แขกดำมีผลแรกสุกภายใน 9 -10  เดือน
  3. ต้นเตี้ยมีความสูงโดยเฉลี่ย  1.27  เมตร  (วัดเมื่อผลแรกสุก)
  4. ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่าพันธุ์แขกดำคือให้ผลผลิตตลอดอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 10,624 กิโลกรัม/ไร่ ในขณะที่แขกดำให้ผลผลิต 6,680 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อปลูกในสภาพที่มีโรคใบด่างจุดวงแหวน


ลักษณะประจำพันธุ์

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

  1. ลำต้นเป็นแบบต้นเดี่ยว  มีสีเขียวปนเทา
  2. มีต้นที่มีดอกตัวเมีย  และต้นที่มีดอกตัวผู้หรือกะเทย
  3. ต้นมีดอกสมบูรณ์เพศประกอบด้วยดอกตัวผู้ปนเล็กน้อย มีทั้งดอกกะเทยที่ให้ผลยาวจำนวนมาก และดอกกะเทยที่ให้ผลกลมเล็กน้อย
  4. ใบรูปร่างเป็นแฉก ขอบใบเว้าทำให้ใบเป็นแฉกมากถึง 11 แฉก ใบสีเขียวเข้ม กว้างโดยเฉลี่ย 49.8 เซนติเมตร ด้านในสีเขียวอ่อน
  5. ดอกเป็นแบบดอกเดี่ยวและช่อ  กลีบดอกสีเหลืองอ่อน
  6. ผลจากต้นกะเทยมีลักษณะยาวตรง น้ำหนักเฉลี่ย 1.5 กิโลกรัม ผลยาวเฉลี่ย28.4เซนติเมตร หนา 2.7 เซนติเมตร  ช่องว่างภายในผลกว้างประมาณ 5.4 เซนติเมตร
  7. ผลจากต้นตัวเมียมีลักษณะรูปไข่ ผลสั้น ยาวเฉลี่ย 17.4 เซนติเมตร เนื้อหนา 2 เซนติ เมตร  ช่องว่างภายในผล 7.7 เซนติเมตร
  8. ผิวผลดิบแก่สีเขียวเข้ม  ผิวไม่เรียบ
  9. เมื่อผลสุกสีเหลืองเข้มถึงสีส้ม

ลักษณะทางการเกษตร

  1. ต้นสูงเฉลี่ย  1.27  เมตร
  2. เป็นพันธุ์เบา  ให้ผลเร็ว
  3. ผลผลิตเฉลี่ยตลอดอายุเก็บเกี่ยว ( 18 เดือน )เท่ากับ 10,624 กิโลกรัม/ไร่
  4. เนื้อผลสุกให้ค่าความหวานเฉลี่ยประมาณ 11.2 Brix  เนื้อผลดิบมีลักษณะกรอบ
  5. มีจำนวนเมล็ดโดยเฉลี่ย  312.2  เมล็ด/ผล
  6. เมล็ดแห้งหนัก  1.4  กรัม/100  เมล็ด  (ความชื้น  10-17 %)
  7. เมล็ดมีความงอก  81.1  เปอร์เซ็นต์  เมื่อเก็บจากต้นมาได้ประมาณ  6  เดือน
  8. มีความทนทานต่อโรคใบด่างจุดวงแหวนดี

มะละกอพันธุ์ปลักไม้ลาย
สวนมะละกอพันธุ์ปลักไม้ลายของนายสมบูรณ์  เสาวภาพันธ์  อำเภอกำแพงแสน  จังหวัด
นครปฐม  ได้จัดทำแผ่นปลิวความรู้เรื่องมะละกอพันธุ์ปลักไม้ลาย  ไว้ดังนี้      
มะละกอพันธุ์ปลักไม้ลายเป็นมะละกอสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งนำมาจากประเทศฮอลล์แลนด์เมื่อ ปี พ.ศ.
2543 โดยเริ่มจากต้นแม่พันธุ์จำนวน 4 ต้น จากการเพาะเมล็ด จำนวน 30 เมล็ด  ซึ่งเริ่มปลูกครั้ง
แรกที่หมู่บ้านปลักไม้ลาย ณ บ้านเลขที่ 54 หมู่ 10 ต.ทุ่งขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม  ซึ่ง
หลังจากปลูกไปแล้ว ได้สังเกตว่าลักษณะต่าง ๆ ของมะละกอพันธุ์นี้ ไม่เหมือนกับพันธุ์อื่น ๆ จึงได้เก็บ
เมล็ดและขยายพันธุ์ให้มีจำนวนมากขึ้น  เมื่อนำออกจำหน่ายปรากฏว่าเป็นที่นิยมมาก   แต่ผลผลิต
ยังมีไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ซึ่งปัจจุบันนี้มีทั้งตลาดภายในประเทศ และตลาดต่าง
ประเทศ จึงได้ชักชวนเพื่อน ๆ ที่อยู่จังหวัดใกล้เคียงให้นำไปปลูกเพื่อทดสอบสายพันธุ์ปรากฏว่าได้ผลดี



แหล่งปลูก

มะละกอพันธุ์ปลักไม้ลายได้เริ่มขยายพันธุ์เมื่อปีพ.ศ.2545 บริเวณหมู่บ้านปลักไม้ลายและหมู่บ้าน
ข้างเคียง ต่อมาได้มีสมาชิกจากจังหวัดอื่นๆ ที่มีความสนใจซื้อต้นพันธุ์ของมะละกอพันธุ์นี้ไปปลูกเป็น
จำนวนมาก โดยมีผลผลิตออกจำหน่ายครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2546 ที่ผ่านมา


ลักษณะประจำพันธุ์

1. ใบ  มีสีเขียวเข้ม แยกออกเป็นแฉก ๆ นับได้ใบละ 11 แฉก กลางใบจะมีกระโดงใบอีก 1 ใบ
(มีขนาดเล็ก)
2. ก้านใบ  สีเขียวอ่อน ก้านตั้งชู ไม่โน้มลงด้านล่าง ความยาวก้าน 60 – 80  เซนติเมตร
3. ลำต้น  มีฐานลำต้นใหญ่ ไม่ต้องใช้ไม้ค้ำ ลักษณะลำต้นคล้ายทรงเจดีย์ มีข้อลำต้นถี่
4. ราก  มีรากใหญ่ออกรอบลำต้น ต่อยึดลำต้นได้ดี รากแขนงและรากฝอยออกทั่ว ทรงพุ่ม หา
อาหารเก่ง เติบโตและแข็งแรงมาก
5. ดอก  กลีบดอกมีสีขาวนวล เกสรสีเหลืองอ่อน ดอกสมบูรณ์เพศจะมีรูปทรงกระบอกสวย เป็นที่
นิยมของตลาด
6. ผล  รูปทรงกระบอก ใน 1 ช่อ จะมีผลติด 1 – 3 ผล ควรปลิดทิ้งให้เหลือเพียง 1 ผลต่อช่อ โดยเลือกผลที่สมบูรณ์ที่สุดไว้มะละกอพันธุ์ปลักไม้ลายเป็นพันธุ์ที่นิยมรับประทานผลสุกน้ำหนักต่อผล
ประมาณ 0.8 – 2 กิโลกรัม ขนาดของผลใหญ่ปานกลาง ผลผลิตในขณะนี้จำหน่ายทั้งตลาดใน
ประเทศ และส่งออกไปขายตลาดต่างประเทศได้ดี ขนาดผลผลิตของต่างประเทศ  มีน้ำหนักประมาณ
800 – 1,500 กรัม ผลผลิต 1 ต้น ช่วงเวลาเก็บเกี่ยว 10 เดือน มีปริมาณ 60 – 80    
กิโลกรัม
7. เนื้อ  มีเนื้อหนา 2.5 – 3.0 เซนติเมตร เนื้อสีแดงอมส้ม ไม่เละ
8. รสชาติ ความหวาน 11 – 13 Brix


การปลูก

มะละกอพันธุ์ปลักไม้ลายมีความทนทานต่อสภาพดินทุกพื้นที่  ยกเว้น  พื้นที่ที่มีน้ำขัง  ดินมี pH
ประมาณ 5.5-7.0โดยการเพาะเมล็ดใส่ถุงดำก่อน  และนำไปปลูกเมื่อต้นกล้ามีอายุ 1 เดือน 
ใบจริง 3-5 ใบ ระยะปลูก 3 x 4 เมตร คือ ระยะหลุม 3 เมตร ระยะแถว 4 เมตร ในเนื้อที่ 1 ไร่
สามารถปลูกได้ 150 -160 ต้น โดยสามารถปลูกได้ 2 วิธีคือ

1. พื้นราบ
ยกร่องแบบร่องผัก  กลางร่องหนุนแบบหลังเต่า  และใช้มะละกอปลูกแนวสันกลางร่อง ขุดหลุมลึกพอ
ประมาณ ใช้ปุ๋ยคอกหรือ ปุ๋ยหมัก รองก้นหลุม คลุกเคล้าให้เข้ากัน กับดิน  ใช้ต้นกล้าปลูกและกลบดิน
เท่าระดับดินในถุงเพาะ  ห้ามใช้ดินสุมโคนต้นกล้าโดยเด็ดขาด  เพราะจะทำให้ต้นกล้าตาย



2. พื้นร่องสวน
ปลูกได้ 2 วิธี คือถ้าร่องสวนแคบจะปลูกกลางร่องได้ 1 แถว ถ้าร่องสวนกว้าง จะปลูกได้ 2 แถว ใช้
ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักร่องก้นหลุม คลุกเคล้าให้เข้ากันกับดิน  ใช้ต้นกล้าปลูก และกลบดิน เท่าระดับดินในถุง
เพาะ ห้ามใช้ดินสุมโคนต้นกล้าโดยเด็ดขาด เพราจะทำให้ต้นกล้าตาย


การดูแลรักษา
1. การให้น้ำควรให้น้ำระบบสปริงเกอร์  เพราะมะละกอชอบดินชุ่มชื้น
2. การใส่ปุ๋ยควรใส่ปุ๋ยคอก  กับ ปุ๋ยหมักบ่อยๆหรือประมาณเดือนละ 1-2 ครั้งโดยหว่านรอบๆโคน
ต้น และให้น้ำตามให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ  ช่วงต้นกล้ายังไม่โตไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีมากนัก  โดยปุ๋ยเคมีที่
ใช้  ควรใช้สูตรเสมอ  เช่น 15-15-15 หรือ 16-16-16 ใส่ต้นละ 10 -20 เม็ด รอบๆโคน
3. การกำจัดวัชพืช  ระยะแรกต้นกล้ายังเล็ก  ควรใช้แรงงานคน ถอนวัชพืชทิ้ง  ไม่ควรใช้จอบ
ถาก  หรือขุดใกล้ๆโคน เพราะระบบจะเน่าเสียง่าย เมื่อโตขึ้น อายุประมาณ 2 – 3 เดือน  ลำต้น
สูงขนาด  50-70 เซนติเมตร  ทรงพุ่ม  กว้างประมาณประมาณ 1 เมตร ควรกำจัดวัชพืชออกให้
หมด  เพราะวัชพืชจะแย่งปุ๋ยของมะละกอ  ควรใช้แรงงานคนถอนวัชพืชรอบๆ โคนให้หมด ไม่ควรใช้
จอบถาก เพราะจะไปถากโคนรากของมะละกอ  ทำให้รากของมะละกอเกิดแผล  และ  เชื้อรา จะ
เข้าทางแผลของรากได้ง่าย  ดังนั้นถ้ามีทุนมากหน่อย อาจจะใช้พลาสติกสีดำ คลุมดินก่อนปลูก จะทำ
ให้ประหยัดค่าแรงงานได้มาก

4. โรคและแมลง 
     4.1 โรคโคนเน่า  เกิดจากเชื้อราในดิน  ควรมีการฉีดพ่น ด้วยยากันเชื้อรา ประเภทแมนโค
เซป หรือ เมธาแลคซิล 20 กรัม ต่อน้ำ30 ลิตร      

4.2 โรคราแป้ง  จะปรากฏบนใบและผลที่มีสีเขียว  จะเกิดคราบฝุ่น ของเชื้อรา เป็นขุยสีขาว  ให้ฉีดพ่นด้วย เบโนมิล 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

     
4.3 โรคใบด่าง  ใบมีขนาดเล็กลง สีซีด  ต่อมาใบจะร่วง ยอดเหลืองซีด ก้านใบสั้น ใบด่างสี
เหลืองสลับเขียว  สาเหตุเกิดจากแมลง เช่น เพลี้ยอ่อนมาดูดกินน้ำเลี้ยง ถ้าแมลงซึ่งไปกัดดูด ต้นที่
เป็นโรคแล้ว มากัดดูดต้นที่ยังไม่เป็นโรค โรคก็จะลาม เข้าต้นที่ถูกกัดดูดอีก  ต้องกำจัดโดยตัดทิ้ง ให้
ไกลจากแปลงมะละกอ หรือ เผาทำลายเสีย โรคแอนแทรคโนส  มีอาการเป็นจุดสีน้ำตาล  ลุกลาม
เป็นวงกลม เมื่อผลสุกจะมีความหวานน้อยลง  เนื้อสุกจะลามมากขึ้น เป็นแผลกลมนุ่ม และเป็นวง
ซ้อนๆ กัน ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมี  ประเภท แมนโดเซป 50  กรัม ต่อน้ำ 50 ลิตร หรือใช้เบโนมิล
10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

5.แมลง 
     5.1 เพลี้ยอ่อน เป็นตัวถ่ายทอดโรคใบด่างเหลืองที่เกิดจากเชื้อไวรัส  ควรฉีดพ่นด้วย สาร
เคมี  เช่น สารอีโทรเพนฟรอกด์ 30- 40 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อน้ำ 20 ลิตร
     5.2 เพลี้ยไฟ  เป็นแมลงกัดเขี่ย  ดูดน้ำเลี้ยง ทำให้ใบ  เส้นกลางใบ  และขอบใบ
แห้งเป็นสีน้ำตาล  ทำให้ผลกร้าน  ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมี  เช่น อบาแมคติล 10 ลูกบาศก์
เซนติเมตรต่อน้ำ 20 ลิตร
     5.3 ไรแดง ทำให้ใบเป็นฝ้าด่าง  ดูไกลๆ จะพบสีคล้ำๆเป็นจำนวนมากควรใช้ยากำจัดพวก  ไดโคเฟส ในอัตรา 30 -40 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อน้ำ 20 ลิตร
 


การเก็บเกี่ยวผลผลิต

มะละกอพันธุ์ปลักไม้ลายเมื่อมีอายุ 7 เดือน  จะให้ผลแก่ทะยอยๆกันไป โดยสามารถเก็บเกี่ยว ผล
ผลิตได้เรื่อยๆ มะละกอจะมีอายุยืนยาวมาก  หรือ น้อยขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา โดยทั่วไป นิยมเก็บ
เกี่ยว ผลจนอายุประมาณ 2 ปี จึงปลูกใหม่ ผลผลิตจะได้ประมาณ 60 -80 กิโลกรัม ต่อต้น  หรือ
5-8 ต้นต่อไร่


วิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิต

หลังจากตัดขั้วออกแล้ว  ให้ห่อหุ้มผลด้วยตาข่ายโฟม (สำหรับผลผลิตในเกรด) และกระดาษ
หนังสือพิมพ์ (สำหรับผลผลิตตกเกรด) แล้วจึงบรรจุลงตะกร้า หรือแข่งที่กรุด้วยกระดาษ หรือ
กระสอบ ป่าน  เพื่อป้องกันการช้ำที่เกิดจากการกระแทก  หรือรอยแผลที่ผลผลิต  การเลือกเก็บผล
ควรเก็บเฉพาะผลที่สุก ประมาณ 50 % คือ ผิวมีแต้มเหลืองเล็กน้อย  ไม่ควรปลูกไว้จนสุกงอม
เพราะไม่สะดวกต่อการขนส่งสู่ตลาด



สรุปลักษณะประจำพันธุ์มะละกอพันธุ์ปลักไม้ลาย

- ลำต้นใหญ่สีเขียว
- ใบมี 11 แฉกใหญ่กลางใบมีกระโดงใบ 1 ใบ
- ก้านใบมีสีเขียวตั้งขึ้น
- ดอก  ออกดอกเป็นช่อ  ติดผลดก  รูปทรงกระบอกคล้ายลูกฟักอ่อน
- อายุเก็บเกี่ยว 8 เดือน
- น้ำหนักผลประมาณ  800 -1,500     กรัม ต่อผล
- เนื้อสีแดงอมส้ม ไม่เละ หนาประมาณ 2.5-3.0 เซนติเมตร 
- รสชาติ  ความหวาน  11-30 Brix
- ผลผลิตต่อต้น  60 -80 กิโลกรัม ในระยะเวลา 8  เดือน
- ความต้านทานโรค  ทนต่อโรคใบด่าง    เปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดพันธุ์  50-60%



มะละกอพันธุ์พิจิตร  1

ศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร (สถาบันวิจัยพืชสวน  กรมวิชาการเกษตร , 2540 : 27-29 )  ได้
ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์มะละกอ  พันธุ์CO.2 (Coimbatore) เป็นพันธุ์ที่ใช้ปลูกเพื่อผลิตปา
เปนในประเทศศรีลังกา  นำมาผสมพันธุ์กับมะละกอพันธุ์แขกดำ  โดยใช้พันธุ์ CO.2 เป็นต้นแม่ 
และพันธุ์แขกดำเป็นต้นพ่อ  ได้ลูกผสม F1 เป็นลูกผสมที่ไม่มีเพศผู้มีแต่ต้นเพศเมีย และสมบูรณ์เพศ  อัตราส่วน 1:1 เนื้อเมื่อสุก  มีสีเหลืองเป็นพันธุ์แนะนำปลูกเพื่อผลิตปาเปน  ชื่อว่าพันธุ์พิจิตร1


ลักษณะประจำพันธุ์

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ลำต้นอวบน้ำค่อนข้างเตี้ย  ความสูงของต้นเมื่อเริ่มออกดอก 71 เซนติเมตร  ความกว้างของพุ่ม
 102 เซนติเมตร  เส้นผ่านศูนย์กลางโคนต้นเมื่อเริ่มออกดอก 3.4 เซนติเมตร
- ใบสีเขียวเข้ม  ต้นใบตั้งขึ้น  มีสีเขียวอ่อน
- ดอกมีสีขาวอมเหลือง  ต้นมะละกอพันธุ์นี้มีดอก 2 ชนิด คือ  ดอกเพศเมียและดอกสมบูรณ์
เพศ  อายุการออกดอก 125 วัน
- ผลเป็นแบบ berry ผลมีขนาดกว้าง 14.2 เซนติเมตร ความยาวของผล 26.7 เซนติเมตร 
น้ำหนักผล 1.8 กิโลกรัม  ความหนาของเนื้อผล 2.4 เซนติเมตร  เนื้อผลเมื่อสุกมีสีเหลือง
จำนวนผลตั้งแต่ลูกแรกจนถึงลูกสุดท้าย 29 ผล  อายุเก็บเกี่ยวผล 4 เดือน


ลักษณะทางการเกษตร 

ผลผลิต 18 ตัน/ไร่  ให้น้ำหนักยางมะละกอสด 7.08 กรัม/ผล  น้ำหนักยางมะละกอแห้ง
1.35 กรัม/ผล  ผลผลิตของปาเปน 19.06%  ประสิทธิภาพในการย่อยโปรตีนของปาเปน
3.27  IU



มะละกอพันธุ์แขกดำ

มะละกอพันธุ์แขกดำ ( กลุ่มรักเกษตร , มปป. : 31 )เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมปลูกกันมาก
และเป็นที่ต้องการของตลาด ลักษณะเป็นมะละกอต้นเตี้ย ก้านใบสีเขียวก้านใบสั้น ใบหนากว่ามะละกอ
พันธุ์อื่นๆ ขนาดผลมีส่วนหัวและท้ายของผลเกือบเท่ากัน  เปลือกหนา   สีเขียวเข้ม ผิวขรุขระเล็ก
น้อย   ขนาดผลประมาณ  1.2 - 1.5   กิโลกรัม  ผลสุกมีรสหวาน เมล็ดน้อย ช่องว่างภาย
ในผลแคบ เนื้อแข็งสีแดง ขนาดเหมาะที่ทำส้มตำ จะเก็บในขณะที่มีน้ำหนัก 500 - 750 กรัม



มะละกอพันธุ์แขกนวล

พันธุ์แขกนวล (กลุ่มรักเกษตร , มปป. : 32 ) เป็นพันธุ์มะละกอที่เกิดขึ้นในภายหลัง และนิยม
ปลูกกันมากในแถบอำเภอดำเนินสะดวกจังหวัดราชบุรี เป็นพันธุ์ที่กลายพันธุ์มาจากแขกดำ เป็นพันธุ์ที่
นิยมปลูกเพื่อส่งโรงงานแปรรูป ลักษณะต้นเตี้ยใบสีเขียวเข้ม ผลมีขนาดปานกลางเช่นเดียวกับพันธุ์แขก
ดำ แต่เปลือกผลจะอ่อนกว่าพันธุ์แขกดำและผิวของผลเห็นเป็นสีนวลอย่างชัดเจน ผลมีลักษณะกลมยาว
น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัมต่อผล เมื่อผลสุกเนื้อจะมีสีแดงส้มหรือสีเหลืองเข้ม รสหวาน เปอร์เซนต์
น้ำตาลประมาณ 13.44 Brix เมล็ดมีขนาดใหญ่สีดำ เหมาะสำหรับรับประทานผลสุก


มะละกอพันธุ์โกโก้
มะละกอพันธุ์โกโก้ (กลุ่มรักเกษตร , มปป. : 32) เป็นมะละกอพันธุ์ที่นำมาปลูกนานแล้ว ต้น
เล็ก จะมีจุดประสีม่วง  ก้านใบมีสีม่วง  ลักษณะผล  ส่วนปลายผลเล็กเรียว  ส่วนท้ายผลซึ่งใกล้
ขั้วมีลักษณะเป็นทรงกระบอกใหญ่  ผิวผลสีเขียว    ค่อนข้างเรียบ   ช่องว่างระหว่างผลเป็น
เหลี่ยมชัดเจน   ช่องว่างภายในผลกว้าง   สุกแล้วมีเนื้อสีแดง หรือส้มเหมาะสำหรับบริโภคสุก



มะละกอพันธุ์สายน้ำผึ้ง

มะละกอพันธุ์สายน้ำผึ้ง ( กลุ่มรักเกษตร , มปป. : 32 ) ลักษณะต้นเตี้ย  ก้านใบสีเขียวอ่อน
หรือ เขียวปนขาว  ก้านใบยาวกว่าแขกดำ  ใบกว้างกว่าพันธุ์แขกดำแต่ใบบางกว่าพันธุ์แขกดำ 
จำนวนแฉกของใบมีน้อยกว่าพันธุ์แขกดำและพันธุ์โกโก้    ผลค่อนข้างโต    ผลด้านขั้วจะเล็ก
แล้วขยายโตขึ้นบริเวณใกล้ปลายผลสีเขียว    เนื้อเมื่อสุก    มีสีส้มปนเหลือง หรือสีส้ม  เนื้อ
และรสหวาน



มะละกอพันธุ์ปากช่อง 1
พันธุ์ปากช่อง 1 เป็นพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้นจากโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์มะละกอของ
สถานีวิจัยปากช่อง ลักษณะก้านใบมีสีเขียวปนม่วง ยาว 70-75 เซนติเมตร ใบมี 7 แฉกใหญ่ กว้าง
50-60 เซนติเมตร  เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุประมาณ  8  เดือน  ออกดอกเป็นช่อ มีดอกตัว
ผู้น้อย  ดอกกะเทยมากติดผลดก ลักษณะผลเล็กยาวตรงกลางเว้าเล็กน้อย ถ้าไม่มีการปลิดผลอ่อนทิ้ง
จะทำให้ผลดกและมีขนาดเล็กลง เฉลี่ยประมาณ 0.21 กิโลกรัมต่อผล แต่มีบางต้นให้ผลโตถึงขนาด
0.5-0.6 กิโลกรัมต่อผล เมื่อผลสุกเนื้อมีสีสันเนื้อและมีเปอร์เซ็นต์ความหวานสูง


(http://www.iicrd.ku.ac.th/pakchong– station/papaya.html  วันที่  5  สิงหาคม  2547 )



มะละกอพันธุ์จำปาดะ

พันธุ์จำปาดะ เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกกันพอสมควร มีลำต้นใหญ่ อวบ แข็งแรง ใบและก้านใบมีสีเขียวอ่อน
ออกดอก ติดผลค่อนข้างช้ากว่าพันธุ์โกโก้ และพันธุ์แขกดำ ผลมีขนาดใหญ่ลักษณะยาว ผลดิบมีสีเขียว
อ่อนเมื่อสุกเนื้อจะมีสีเหลืองเนื้อค่อนข้างบางกว่าพันธุ์อื่นๆและเนื้อไม่แน่น

( http://www.sf.ac.th/tellweb/web/papaya.htm วันที่  5  สิงหาคม  2547 )



มะละกอพันธุ์พื้นเมือง

มะละกอพันธุ์พื้นเมือง ( กลุ่มรักเกษตร , มปป. : 31 )   มีลักษณะดีคือ  ทรงต้นแข็งแรง  มีความทนทาน  มีการออกดอกและติดผลช้า  แต่ให้ผลดก และช่วงอายุการให้ผลนาน  ขนาดของ
ผลเล็ก  มีรูปร่างค่อนข้างกลม  ผลเป็นเหลี่ยมเห็นได้ชัด     ช่องว่างภายในผลกว้าง  ผลดิบมี
เนื้อบางแต่เนื้อค่อนข้างเหนียว  ดังนั้นจึงนิยมบริโภคขณะผลยังดิบ  ส่วนผลสุกมีเนื้อสีเหลือง  รส
ไม่ค่อยหวาน  ไม่เป็นที่นิยมของตลาด  มักปลูกเพื่อใช้บริโภคภายในครัวเรือน 



มะละกอพันธุ์ต่างประเทศ

มะละกอพันธุ์ต่างประเทศ   ( กลุ่มรักเกษตร , มปป. : 32 ) ที่เป็นที่ต้องการของตลาดและ
นิยมปลูก กันมาก  คือ พันธุ์โซโลเป็นมะละกอพันธุ์การค้าของฮาวาย  ให้ผลผลิต  เมื่ออายุ 
12-14  เดือน  ให้ผลแรกอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ  1-1.5  เมตร  ผลเกิดจากดอก
สมบูรณ์เพศ  รูปร่างคล้ายกับพันธุ์โกโก้  แต่  ค่อนข้างกลมกว่า  ขนาดผลยาวประมาณ  15 
เซนติเมตร   และเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  10  เซนติเมตร  น้ำหนักประมาณผลละ  0.5
กิโลกรัม   เนื้อสีเหลืองจำปาละเอียดสม่ำเสมอ  รสหวานนุ่มนวล  
ในอนาคตคิดว่าประเทศไทยคงมีมะละกอพันธุ์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นอีกแน่นอน  เพราะว่ามะละกอเป็นพืชที่มี
การผสมข้ามพันธุ์ได้ง่าย  หรือ  เกิดจากการผสมพันธุ์มะละกอของมนุษย์  เพื่อให้เกิดมะละกอ
พันธุ์ใหม่ ๆ  ที่มีลักษณะดีกว่าพันธุ์ใหม่ ๆ ที่มีลักษณะดีกว่าพันธุ์เดิมซึ่งมีอยู่ในปัจจุบันนี้






พันธุ์มะละกอที่นิยมปลูกในประเทศไทย


พันธุ์ที่นิยมปลูกทั่วไป  ได้แก่  พันธุ์แขกดำ  แขกนวล  โกโก้  และสายน้ำผึ้ง  แหล่งปลูกใน
ประเทศไทย  ปลูกมากที่  จังหวัดชุมพร  ราชบุรี  นครปฐม  สมุทรสาคร  และจังหวัดต่างๆ 
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  พันธุ์ไทยเหล่านี้มีขนาดผลใหญ่  น้ำหนักผลเฉลี่ย 1-2  กิโลกรัม  สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะบริโภคดิบเป็นส่วนใหญ่  ในช่วงต้นฤดูฝนมะละกอจะขาดตลาดและ
ราคาแพง  เนื่องจากฤดูแล้งมะละกอจะติดผลน้อย  จึงมีการสั่งซื้อมะละกอดิบจากภาคกลางเป็น
จำนวนมาก  ในด้านตลาดต่างประเทศที่สำคัญ  คือ  ฮ่องกง  ซึ่งเป็นตลาดผลไม้ของไทยนิยม
มะละกอสุกขนาด  1-2  กิโลกรัม  ส่วนตลาดทางยุโรปต้องการขนาดเล็กลงมา  มีพันธุ์ปากช่อง
1 ลักษณะผลมีขนาดเล็ก  เนื้อในสีเหลืองส้ม  และรสหวานเหมาะสำหรับรับประทานดิบและสุกนำ
แปรรูปบรรจุกระป๋องทำฟรุตสลัดได้ดี  
                                                                                                                   
การขยายพันธุ์
การเตรียมเมล็ดพันธุ์

เกษตกรส่วนใหญ่นิยมเก็บเมล็ดพันธุ์เอง  โดยเก็บจากต้นที่ให้ผลผลิตสูงลักษณะผลยาว  ลูกโต 
ซึ่งเป็นลักษณะของต้นกะเทย  การเก็บเมล็ดจากต้นกะเทยที่ผสมตัวเอง  เมื่อนำไปปลูกจะได้ต้น
กล้าที่เป็นต้นกะเทยต่อต้นตัวเมียอัตราส่วน 2:1 ควรเก็บเมล็ดจากผลที่อยู่ตรงกลางลำต้นหรือผลชุดที่
2 ในกรณีต้องการพันธุ์แท้  ควรช่วยผสมพันธุ์โดยการใช้ถุงคลุมดอกก่อนดอกบาน  เมื่อดอกบาน
ใช้เกสรตัวผู้ในต้นเดียวกัน หรือพันธุ์เดียวกันป้ายที่เกสรตัวเมียแล้วใช้ถุงคลุมอีกครั้ง  หลังจากนั้น
ประมาณ 7 วัน  จึงถอดถุงคลุมออก  เมล็ดที่ได้จากผลสุกสามารถไปเพาะได้ทันที  ถ้าจะเก็บควร
ล้างเนื้อเยื่อให้สะอาด  นำไปผึ่งไว้ในที่ร่มจนแห้ง  บรรจุถุงพลาสติกปิดให้แน่นแล้วเก็บไว้ในตู้เย็นจะ
เก็บได้นานประมาณ   1  ปี  ควรหาเปอร์เซ็นต์ความงอกก่อนนำไปเพาะ  


เมล็ดมะละกอพันธุ์แขกดำศรีสะเกษ
ที่มา : ห้องปฏิบัติการ  โรงเรียนนนทรีวิทยา



การเตรียมต้นกล้า
สามารถเพาะเมล็ดลงในถุงโดยตรง  โดยเตรียมดินผสมให้ร่วนซุยอัตราส่วน  ดิน 3 ส่วน  ปุ๋ยคอก 1 ส่วน  และขี้เถ้าแกลบ 1 ส่วน   ผสมให้เข้ากัน  กรอกใส่ถุงพลาสติกที่เจาะรูระบายน้ำแล้ว 
ขนาด 4 x 6 นิ้ว  ตั้งเรียงไว้กลางแจ้งหรือในเรือนเพาะชำที่สามารถให้น้ำได้อย่างสม่ำเสมอทุก
วัน  จากนั้นหยอดเมล็ดมะละกอถุงละ 3 เมล็ด  ลึกประมาณ  0.5  เซนติเมตร  รดน้ำให้ชุ่ม
ทุกวัน  เมล็ดจะงอกหลังเพาะประมาณ 10-14 วัน  ควรฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา 
เช่น  แมนโคเซบและสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง  เช่น  โมโนโครโตฟอส  โดยผสมสารจับใบเมื่อ
ต้นกล้าเริ่มงอกและหลังจากนั้นทุกๆ 10 วัน จนมีอายุได้ประมาณ 45-60 วัน  จึงย้ายลงปลูก  ใน
ระหว่างนี้อาจเร่งการเจริญเติบโตโดยใช้ปุ๋ยทางใบ สูตร 21-21-21 อัตราส่วน 2 ช้อนแกง/น้ำ 20
ลิตร  ผสมสารจับใบ  ฉีดพ่นทุกสัปดาห์  ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเพาะต้นกล้าคือ  เดือน
มกราคม  ย้ายปลูกในเดือนมีนาคม  สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตสำหรับรับประทานสุกได้ตั้งแต่เดือน
ตุลาคม  เป็นต้นไป  

                                                                                                                               

การเลือกพื้นที่ปลูก
ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด  แต่ที่เหมาะสมควรเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนปนเหนียว  หน้าดินลึก ไม่น้อยกว่า 1 เมตร  ระบายน้ำได้ดี  และควรเพิ่มปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอกแห้งเพื่อเป็นการเพิ
อินทรีย์วัตถุในดิน  ดินควรเป็นกรดเล็กน้อยพื้นที่ปลูกควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำ  หรือมีน้ำเพียงพอใน
ช่วงฤดูแล้ง  ต้นมะละกอไม่ชอบน้ำขัง  จะทำให้โคนต้นเน่าตายได้  ควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มี
ลมแรง  เพราะมะละกอเป็นผลไม้อวบน้ำ  เนื้อเยื่ออ่อน  เปราะหักง่าย  การทำสวนขนาดใหญ่
ควรปลูกไม้กั้นลมไว้  มะละกอจะเจริญเติบโตได้ดีถ้าได้รับแสงแดดเต็มที่จึงไม่ควรปลูกถี่หรือชิด
เกินไป  จะทำให้ป้องกันกำจัดศัตรูมะละกอได้ลำบาก  
                                                                                                                                   
การเตรียมดินและการปลูก               
ไถพื้นที่เพื่อปราบวัชพืช 2 ครั้ง  ครั้งแรกไถกลบ  ครั้งที่ 2 ไถพรวนย่อยดินให้ร่วน โดยทั่วไป
ใช้ ระยะ  2.5 x 2.5  เมตร  หรือ  2.00 x 2.00 เมตรขุดหลุมสี่เหลี่ยมขนาดกว้าง 
 50  ยาว  50  และลึก  50 เซนติเมตร ผสมดินปากหลุมกับปุ๋ยคอกประมาณครึ่งปี๊บใส่ปุ๋ย
ร็อคฟอสเฟต (หินฟอสเฟต) อัตราส่วน 150-250 กรัม ต่อหลุมและปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 20 กรัมต่อหลุม  ปลูกต้นกล้าที่เตรียมไว้แล้วกลบดินระดับเท่ากับดิน ในถุง ไม่ควรปลูกลึก
เพราะจะทำให้รากเน่า  ปลูกหลุมละ 2-3 ต้น  เมื่อมะละกอแสดงเพศแล้วจึงถอนแยก
ทีหลังให้เหลือต้นกะเทยไว้หลุมละ 1 ต้น (สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร, 2540 :
6)    


การให้น้ำ

การปลูกในต้นฤดูฝน  จะเป็นการประหยัดทุนและแรงงานในการให้น้ำ  โดยเฉพาะช่วงที่ปลูกใหม่ๆ  ควรให้น้ำ 2-3 วัน ต่อครั้ง  ในช่วงติดผลมะละกอต้องการใช้น้ำมาก หากขาดน้ำจะทำให้ดอกร่วง
ผลไม่สมบูรณ์  การให้น้ำจะทำให้มะละกอมีผลผลิตสูง โดยเฉพาะในพื้นดินหรือสภาพทั่วไปของภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ  
                                                                                                                                        
การใส่ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์หลังปลูก 3-4 ครั้ง ต่อปี ครั้งละหนึ่งปี๊บต่อต้น  ส่วนปุ๋ยเคมีใช้สูตร 15-
15-15  อัตราส่วน 50 กรัมต่อต้นหลังย้ายปลูก 1 เดือน  และใส่ทุกเดือน  เดือนที่ 3 เพิ่ม
อัตราเป็น 100 กรัม ต่อต้นทุกเดือน  เมื่อมะละกอเริ่มติดผลใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 100
กรัม ผสมกับยูเรีย 50 กรัม ต่อต้น  การใส่ปุ๋ยหว่านห่างจากโคนต้นแล้วใช้ดินกลบ  อย่าใส่ปุ๋ยกลบ
โคนต้น  นอกจากนี้ควรให้ปุ๋ยทางใบเสริม  ได้แก่  ปุ๋ยสูตร 21-21-21  ชนิดที่มีธาตุอาหาร
รอง  ฉีดพ่นทุก 2 สัปดาห์  อัตรา 5 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร
                                                                             
การกำจัดวัชพืช
ในระยะปลูกใหม่ๆ อาจมีการปลูกพืชแซมเพื่อเพิ่มรายได้  สำหรับการดายหญ้ากำจัดวัชพืชให้ระวัง
อย่าให้ถูกรากมะละกอ  เพราะจะทำให้มะละกอชะงักการเจริญเติบโตหรือรากเน่าได้  การใช้ยาฆ่า
หญ้าเวลาฉีดพ่นควรระวังอย่าให้ละอองถูกใบพืช การปราบวัชพืชจำเป็นมากเฉพาะช่วงที่มะละกอเริ่ม
ปลูกเท่านั้น  เมื่อมะละกอโตมีกิ่งก้านแผ่ทรงพุ่มคลุมดินแล้ววัชพืชจะมีน้อย 
                                                                                                                                          
การออกดอกติดผล
หลังจากมะละกอออกดอก  ให้เลือกเฉพาะต้นกะเทย  หรือต้นสมบูรณ์ไว้หลุมละ 1 ต้น  โดยการ
สังเกตจากดอกของมะละกอ  มีดังนี้ 
-  ต้นตัวผู้  มีแต่ดอกตัวผู้ล้วนๆ  ลักษณะเป็นหลอดเล็กๆ  ส่วนปลายบานและแยกกันเป็นรูป
แฉก  ข้างในมีเกสรตัวผู้ 10 ชุด ก้านดอกยาวและไม่ติดกัน ต้นชนิดนี้ไม่ติดผลหรือติดแต่เป็นผลเล็ก
เรียก “มะละกอติ่ง”

-  ต้นตัวเมีย  มีดอกตัวเมียล้วนๆ ลักษณะอวบใหญ่  มีกลีบดอก 5 กลีบ  แยกกันเห็นได้ชัด
ตั้งแต่โคนกลีบ  ปลายรังไข่มีที่รองรับละอองเกสรเป็นแฉกเล็กๆ 5 แฉก  ไม่มีเกสรตัวผู้  ก้านดอก
สั้น  ให้ผลที่มีรูปร่างกลมใหญ่ข้างในกลวง

-  ต้นสมบูรณ์เพศ  หรือต้นกะเทยอาจมีทั้งดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์ในต้นเดียวกัน  ดอกสมบูรณ์
เพศมีหลายชนิดที่ต้องการของท้องตลาดคือชนิดผลยาว  ลักษณะมีเกสรตัวเมียยาวและมีกลีบดอกหุ้ม
อยู่  โคนกลีบดอกติดกันตลอดตอนปลายแยกกัน  เกสรตัวผู้มี 10 ชุด  เชื่อมติดอยู่กับโคนด้านใน
ของกลีบดอก ให้ผลยาวรี รูปทรงกระบอก ข้างในกลวงเล็กน้อย เนื้อหนากว่าผลที่เกิดจากดอกตัวเมีย 
( สถาบันวิจัยพืชสวน  กรมวิชาการเกษตร , 2540 : 9- 10  )


* ต้นตัวผู้ที่มีการเปลี่ยนเพศดอกและสามารถติดผลได้
ที่มา : สิริกุล  วะสี , 2542 : 9
นอกจากยีนที่ควบคุมเพศของดอกมะละกอแล้ว  สภาพแวดล้อมก็มีผลต่อการแสดงเพศของดอกด้วย
แต่จะเกิดเฉพาะในต้นตัวผู้และต้นสมบูรณ์เพศเท่านั้น ต้นตัวเมียไม่มีการเปลี่ยนเพศของดอก แม้ว่า
สภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไป  เนื่องจากต้นตัวเมียมีจีโนไทป์เป็น homozygous ดังนั้นการ
แสดงเพศจึงค่อนข้างคงที่



www.sema.go.th/files/Content/Technic/k4/.../bot_04-3.html -





หน้าก่อน หน้าก่อน (1/3) - หน้าถัดไป (3/3) หน้าถัดไป


Content ©