-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 554 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม




หน้า: 1/5




มะนาว


1.พันธุ์ พันธุ์มะนาวที่เป้นที่ยอมรับและนิยมปลูกในประเทศไทย คือ พันธุ์แป้นรำไพ แป้น แป้นทราย มะนาวพื้นเมือง
และอีมัน เป็นต้น


2. การเตรียมดิน
ควรพิจารณาพื้นที่ที่จะปลูกมะนาว เช่น

2.1 พื้นที่แบบที่ดอน เตรียมดินโดยการไถดะ ไถแปร ตากดิน 10-15 วัน ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมีสูตร
15-15-15 รองก้นหลุม อัตรา 50 กรัมต่อหลุม ใช้ระยะปลูกคือระหว่างต้น 6 เมตร ระหว่างแถว 6 เมตร 1 ไร่
สามารถปลูกได้ 45 ต้น โดยขุดหลุมให้มีขนาดกว้าง ยาว และลึกประมาณ 80-100 เซนติเมตร


2.2 พื้นที่แบบที่ลุ่ม และเป็นดินเหนียว พื้นที่มักเป็นพื้นที่น้ำท่วมถึงในฤดูฝน ส่วนใหญ่เป็นที่นามาก่อน โดยขุดทำคัน
ดินรอบสวนป้องกันน้ำท่วม ขุดร่องแบบยกร่องโดยมีสันร่องน้ำกว้าง 6 เมตร โดยมีขนาดของร่องกว้างไม่น้อยกว่า
1.5 เมตร ใช้ระยะปลูก ระหว่างต้น 6 เมตร โดยบนสันร่องทำการขุด หรือไถดินตาก 10-15 วัน ใส่ปุ๋ยคอก หรือ
ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 รองก้นหลุม อัตรา 50 กรัมต่อหลุม คลุกเคล้ากับดินให้เข้ากัน ย่อยดิน หรือ
พรวนดิน บนสันร่องและปรับหน้าดินให้เรียบ


3. การปลูก
นำต้นกล้า หรือกิ่งพันธุ์มะนาวที่เตรียมไว้ในถุงชำ แกะถุงดำออกจากกิ่งพันธุ์ลงปลูกกลางหลุม จัดราก
ให้แผ่ออกไปรอบๆ ไม่พับหัก ค่อยๆ กลบดิน โดยพูนดินให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันน้ำแช่ หรือท่วมขังในปากหลุม ปักไม้ยึด
ลำต้น ใช้ฟางข้าวคลุม รดน้ำให้ชุ่ม


4. การใส่ปุ๋ย
ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักปีละ 1 ครั้ง อย่าให้ชิดโคนต้น อัตรา 2-4 ปี๊บ และพิจารณาการใส่ปุ๋ย
เคมีสูตร 20-10-10,20-11-11 หรือ 15-15-15 อัตรา 200 กรัมต่อหลุม ช่วงมะนาวอายุ 4 เดือนขึ้นไป และ
เมื่ออายุ 2 ปีขึ้นไป ควรเพิ่มอัตราเป็น 300-500 กรัมต่อหลุม และ 3 ปีขึ้นไปเพิ่มเป็นอัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อหลุม
อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง


5. การให้น้ำ
ควรให้น้ำทุกวัน ยกเว้นวันที่ฝนตกและดินเปียกมาก ควรพิจารณาการให้ อย่าให้เปียกแฉะจนเกินไป
การให้น้ำทำได้หลายวิธี เช่น แบบน้ำหยด แบบสปริงเกอร์ แบบลากสายยางรด เป็นต้น


6. การตัดแต่งกิ่ง
ควรตัดแต่งกิ่งให้เป็นระเบียบเป็นทรงพุ่ม และให้แสงแดดเข้าถึง โดยรักษาความสมดุลย์ของทรง
พุ่ม ในปีแรก ตัดแต่งให้ชายทรงพุ่มสูงจากพื้นดิน 30 เซนติเมตร ปีที่ 2 50 เซนติเมตร และปีที่ 3 อยู่ที่ 80-100
เซนติเมตร


7. โรคที่สำคัญ คือ

7.1 โรคแคงเกอร์ ป้องกันกำจัดโดยการฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา คือ คอปเปอร์ อ๊อกซีคลอไรด์ คอปเปอร์
ไฮครอกไซด์ แคงเกอร์เอ๊กซ เป็นต้น

7.2 โรคกรีนนิ่ง ป้องกันกำจัดโดยการหลีกเลี่ยงกิ่งพันธุ์ที่เป็นโรค ควบคุมแมลงที่เป็นพาหะเผาทำลายต้นที่เป็นโรค

7.3 โรคทริสเตซ่า ป้องกันกำจัดโดยการปฏิบัติเหมือนโรคกรีนนิง

7.4 โรครากเน่าและโคนเน่า ป้องกันกำจัดโดยการพ่น เมทาแลคซิล คอปเปอร์ออกซิคลอไรด์ อาลีเอท เป็นต้น

7.5 โรคราดำ

7.6 โรคยางไหล

7.7 โรคใบแก้ว


8. แมลง
แมลงศัตรูที่สำคัญ เช่น หนอนชอนใบ หนอนกินใบ เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย เพลี้ยไก่แจ้
ป้องกันกำจัดโดยฉีดพ่นสารเคมีมาลาไธออน คาร์โบซัลแฟน อะบาแม็คติน อิมิดาโดลพริด เซฟวิน หรือกลุ่มไพรี
ทรอด์ย ตัวใดตัวหนึ่งตามของแมลงศัตรู


ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร



***************************************************************************************************************************



มะนาว


      ลักษณะทางธรรมชาติ


    * เป็นไม้ผลยืนต้นอายุหลายสิบปีและให้ผลผลิตตลอดปีแบบไม่มีรุ่น  ออกดอกติดผล
จากกิ่งที่แตกใหม่เสมอจึงควรมีการตัดแต่งกิ่งแล้วเรียกยอดใหม่ทุกปี
      
            
    * เป็นพืชรากลอย  ให้คลุมดินโคนต้นด้วยเศษซากพืชประเภทคงทนชิ้นโตๆ  หนา 20-30
ซม. เต็มพื้นที่ทรงพุ่ม ล้ำออกนอกเขตทรงพุ่ม 1-1.5 ม. เพื่อเป็นการล่อราก ไม่นานรากมะนาว
จะเจริญยาวขึ้นมาอยู่กับอินทรีย์วัตถุที่คลุมโคนต้นนั้น  เป็นรากที่ดีสมบูรณ์แข็งแรงและจำนวนมาก

    * ต้นที่ปลุกจากเพาะเมล็ด ใช้เวลาประมาณ 2 ปี จึงเริ่มให้ผลผลิต  และบนต้นจะมีหนาม
จำนวนมาก แข็ง และยาว

    * ต้นที่สะสมสารทองแดงจากค็อปเปอร์ อ๊อกซี่คลอไรด์  สารเคมีกำจัดโรคแคงเคอร์จำนวน
มากๆ  จะทำให้ต้นไม่สามารถลำเลียงธาตุอาหารจากรากหรือจากใบไปสู่ส่วนต่างๆของต้นได้จึงส่งผล
ให้ต้นโทรมแล้วตายในที่สุด
                

    * การบำรุงด้วย  ฮอร์โมนธรรมชาติ (ทำเอง)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม ในช่วงที่ผลกำลังพัฒนา
จะทำให้มะนาวผิวเห่อ เปลือกหนา น้ำน้อย รกมาก แก้ไขโดยบำรุงทางใบด้วย  ฮอร์โมนเร่งหวาน
สูตรเด็ด + ธาตุรอง/ธาตุเสริม ก่อนเก็บเกี่ยว 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จะช่วยให้ผิวหาย
เห่อ เปลือกบาง ต่อมน้ำมันสดใส รกน้อย น้ำมาก กลิ่นดี
                

    * ต้องการให้ผลขยายขนาดทางข้างเพื่อทรงผลแป้น บำรุงระยะผลขนาดกลางด้วย  ฮอร์โมน
ขยายขนาดทางข้าง 3 ส่วน + ฮอร์โมนขยายขนาดทางยาว 1 ส่วน เสริมด้วยธาตุรอง/ธาตุเสริม.
ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ตามความจำเป็น
                

    * การบำรุงระยะติดผลแล้วด้วย แคลเซียม โบรอน. มากเกินไปจะทำให้จุกขั้วสูง  เปลือก
หนา  ผิวเห่อ แก้ไขด้วยการลดแคลเซียม โบรอน. และไนโตรเจน.
                

    * การให้ ฮอร์โมนอาลิเอท. เจือจางประจำปีละ 2 ครั้งจะช่วยให้ต้นสมบูรณ์แข็งแรง 
ป้องกันผลแตกผลร่วงได้ดี
                

    * การให้ฮอร์โมนบำรุงราก ปีละ 2-3 ครั้ง ช่วงที่ต้นมีความจำเป็นต้องเร่งระดมอาหารจำนวน
มากเพื่อการเตรียมความพร้อมของต้นต่อการพัฒนาแต่ละระยะๆ
                

    * การให้ฮอร์โมนเอ็นเอเอ.(ทำเอง/ท้องตลาด)และ/หรือฮอร์โมนจิ๊บเบอเรลลิน ฉีดพ่นช่วง
อายุผลสัปดาห์แรกจะช่วยป้องผลแตกผลร่วงเมื่ออายุผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวได้ดี
 

    * มะนาวต้นที่สมบูรณ์ดี  จะออกดอก 2-3 เดือน/ชุด  นั่นคือ  มะนาวสามารถออกดอก
ติดผลได้ตลอดทั้งปี        

    * ปุ๋ยน้ำชีวภาพประเภทหมักด้วยกากน้ำตาลไม่เหมาะกับมะนาวหรือพืชตระกูลส้ม  เพราะกาก
น้ำตาลจะเป็นตัวส่งเสริมให้เกิดเชื้อรา  มีลาโนส. และ แอนแทร็คโนส.  จึงไม่ควรให้ทางใบแต่
สามารถให้ทางดินแทน  หากต้องการให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือฮอร์โมน (ทำเอง) จะต้องเป็นปุ๋ยน้ำ
ชีวภาพหรือฮอร์โมนที่หมักด้วยกลูโคสเท่านั้น
                

    * สวนที่มีหญ้าและวัชพืชขึ้นรกปกคลุม  ทั้งในบริเวณทรงพุ่มและทั่วทั้งแปลงจะมีผลดกตลอด
ปี  มีโรคและแมลงศัตรูพืชเข้ารบกวนน้อย
                

    * ปรับแต่งทรงพุ่มตั้งแต่เป็นต้นเล็กยังไม่ให้ผลผลิต โดยบำรุงให้ลำต้นส่วนเปล้าสูงๆ หรือกิ่งง่ามแรกสูจากพื้น 50-80 ซม.เมื่ออายุต้นโตถึงระยะให้ผลผลิตได้แล้ว ให้ดัดและแต่งกิ่งประธานให้
กระจายชี้ออกนอกทรงพุ่มเท่ากันทั่วทิศทางรอบต้นอีกครั้งหนึ่ง นอกจากทำให้ทรงพุ่มโปร่ง  โรคและ
แมลงรบกวนน้อยแล้ว ยอดที่แตกในทรงพุ่มยังสามารออกดอกติดผลได้อีกด้วย

    * ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่ผสมตัว หรือต่างดอกในต้นเดียวหรือต่างต้นได้ดี

    * เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสาร
อาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนา
เป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว
                

    * มะนาวจะแตกยอดออกใบมากในช่วงหน้าฝนแต่ไม่มีดอก เนื่องจากอัตราส่วน ซี/เอ็น เรโช.
ไม่เหมาะสมต่อการออกดอก (เอ็น.มากว่า ซี.)ครั้นเข้าสู่หน้าหนาว (พ.ย.- ธ.ค.)มะนาวจะพัก
ต้น หลังจากพักต้นระยะหนึ่งแล้วได้รับน้ำเพียงเล็กน้อยก็จะออกยอดอ่อนพร้อมกับมีดอกออกตามมาด้วย
           

    * มะนาวต้นที่มีความพร้อมในการออกดอกติดผล (ผลจากการสะสมอาหารกลุ่ม ซี. และ กลุ่ม
เอ็น) เมื่อแตกยอดจะมีดอกออกตามมาด้วยเสมอ .....ดอกที่ออก ณ ปลายกิ่งอ่อนจะติดเป็นผลดี
มีคุณภาพ ดอกที่ออกจากซอกใบแก่หรือใบจากปลายยอดเข้ามาจะติดเป็นผลและคุณภาพปานกลาง
ส่วนดอกที่ออกตามกิ่งแก่มักไม่ติดเป็นผล หรือถึงติดเป็นผลได้ก็คุณภาพไม่ดี

    * มะนาวที่ออกดอกช่วงเดือน ม.ค.- ก.พ. ผลจะแก่เก็บเกี่ยวได้ในช่วง มิ.ย.- ส.ค.
เป็นช่วงมะนาวราคาต่ำสุด  แต่มะนาวที่ออกดอกเดือน ก.ย.- ต.ค. ผลจะแก่เก็บเกี่ยวได้ช่วง
เดือน มี.ค.- เม.ย. เป็นช่วงมะนาวราคาแพงหรือมะนาวหน้าแล้ง
                

    * การปฏิบัติบำรุงด้วยธาตุอาหารกลุ่ม สร้างดอก-บำรุงผล อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ออกดอก
ติดผลได้ตลอดปี ในต้นเดียวกันจะมีทั้งดอก ผลเล็ก ผลกลางและผลใหญ่ กรณีนี้ผลใหญ่ส่วนหนึ่งจะ
แก่เก็บเกี่ยวในช่วงหน้าแล้งได้
                

    * ในต้นเดียวกันที่มี  ดอก + ผล  อยู่ในต้นเดียวกันนั้น  หากต้องการบำรุงแบบให้มีผลชุด
ใหญ่แก่เก็บเกี่ยวได้ช่วงหน้าแล้ง  สามารถทำได้โดยการทำลายดอกชุดที่ออกมาตรงกับมะนาวปี
(ม.ค.- ก.พ.) ทิ้งไปแล้วบำรุงเฉพาะผลที่เหลืออยู่ตามปกติ 
                

    * การที่จะบำรุงให้ออกดอกช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค.ได้จะต้องให้มะนาวกระทบแล้งช่วงเดือน
ก.ค.- ส.ค.ให้ได้ซึ่งเป็นเรื่องยากเพราะช่วงนั้นเป็นช่วงหน้าฝน
                

    * ใช้กากมะพร้าวที่คั้นกะทิออกไปหมดแล้วหว่านในทรงพุ่ม  ให้กากมะพร้าวส่วนหนึ่งติด
ค้างอยู่บนใบกับส่วนหนึ่งตกลงไปที่พื้นดินโคนต้น  จะช่วยให้มะนาวต้นนั้นออกดอกติดผลดกตลอดปี
แบบไม่มีรุ่นได้      
                

    * ใช้น้ำ 100 ล.+ เครื่องในปลาทะเลสดใหม่บดละเอียด 100-200 กรัม   รดโคนต้น
ทุก 2-3 เดือน หรือฉีดอัดลงดินบริเวณทรงพุ่ม  เป็นวิธีการทำให้ต้นได้รับธาตุอาหารต่อเนื่องตลอด
24 ชม. จะช่วยให้มะนาวออกดอกติดผลดกตลอดปีแบบไม่มีรุ่นได้
           

    * ต้นที่สมบูรณ์จนเฝือใบให้บำรุงด้วยน้ำ 100 ล. + นมสัตว์สดหรือกลูโคส 100 ซีซี. +
ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. ฉีดพ่นทางใบให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ
ทุก 5-7 วัน จะช่วยให้ใบเขียวเข้ม  พร้อมให้เปิดตาดอกได้  หรือเมื่อต้นแตกใบอ่อนออกมาก็จะ
มีดอกออกตามมาด้วย
                

    * เป็นพืชที่ตอบสนองต่อปุ๋ยคอก  มูลวัวเนื้อ/วัวนม + มูลไก่ไข่/ไก่เนื้อ/นกกระทา  ดีมาก
หากมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์หมักสูตรซุปเปอร์ห้าดาว อัตรา 1-2 กระป๋องนม/ตร.ม. ร่วมด้วย 2-3
ครั้ง/ปี  แล้วคลุมทับด้วยเศษหญ้าแห้งหรือฟางหนาๆเต็มพื้นที่ทรงพุ่ม  ล้ำออกนอกทรงพุ่ม 1-
1.5 ม.  จะช่วยให้ต้นมะนาวสมบูรณ์แข็งแรงดียิ่งขึ้น
                

    * พันธุ์ที่ลักษณะทรงผลไม่แป้น แก้ไขด้วยการให้ ฮอร์โมนขยายขนาดทางข้าง + ธาตุรอง/
ธาตุเสริม  ตั้งแต่ผลขนาดเล็ก และให้ไปเรื่อยๆจนกระทั่งเก็บเกี่ยวจะช่วยให้ทรงผลแป้นได้

    * ต้นพันธุ์ที่เลี้ยงในถุงดำโดยมีแกลบดำล้วนๆเป็นวัสดุปลูก ก่อนนำต้นพันธุ์ต้นนั้นลงปลูกใน
แปลงจริง แนะนำให้ถอนต้นกล้าขึ้นมาจากถุงปลูก ล้างแกลบดำด้วยน้ำออกให้หมด แล้วจึงนำลงปลูก
ในหลุมปลูก ระหว่างลงหลุมปลูกให้จัดระเบียบรากให้ชี้ตรงออกด้านนอกรอบทิศทาง จะช่วยให้ต้น
พันธุ์แทงรากใหม่เร็วและดีกว่าการมีแกลบดำอยุ่ในหลุมปลูกด้วย
    
                

      การขยายพันธุ์
               
    - ตอน (ดีที่สุด).  ทาบกิ่ง.  เพาะเมล็ด.  
                
    - ไม่ควรใช้ต้นกล้าพันธุ์ที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการทาบหรือเสียบยอด เพราะเมื่อต้นอายุมากขึ้น
ส่วนที่เป็นตอจะใหญ่กว่าส่วนต้นพันธุ์ดีหรือเรียกว่าเท้าช้าง  
               
    - เลือกต้นกล้าพันธุ์ที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนจากกิ่งกระโดง  ลักษณะตรง  ข้อปล้อง
ยาว  ลำเปล้าสูง  อายุน้อยๆหรือกลางอ่อนกลางแก่   เป็นกิ่งอ่อนที่เปลือกยังไม่แตกลายงา หรือ
เริ่มมีลายงาเกิดขึ้น   ใบใหญ่  ผ่านการแตกใบอ่อนมาแล้ว 2-3 ชุด  มีรากอ่อนเกิดในถุงมากๆ
    - ไม่ควรเลือกต้นกล้าพันธุ์ที่เลี้ยงในถุงดำเป็นเวลานานๆจนรากแก่จัดเป็นสีน้ำตาลไหม้  บาง
ส่วนแทงทะลุออกมานอกถุง  รากที่อยู่ในถุงเริ่มเจริญยาววน (รากวน) ไปตามถุง  เมื่อนำไปปลูก
จะโตช้า
               
    - วิธีการปลูกกล้ามะนาว ถ้ายังเป็นกิ่งอ่อนหรือกลางอ่อนกลางแก่  ให้ปลูกแบบตั้งฉากกับพื้น
ได้เลย  ยอดใหม่จะแตกออกมาต่อจากยอดเดิมและตามข้อหรือตาที่ลำเปล้า  แต่ถ้าเป็นกิ่งแก่หรือ
ค่อนข้างแก่ให้ปลูกแบบเอียง 45 องศาหรือมากกว่า (เอียงมาก) กับพื้น  ยอดใหม่จะแตกออกมา
จากตาที่ข้อตั้งตรงเป็นกิ่งกระโดง ให้เลือกไว้เฉพาะยอดที่แตกออกมาจากข้อต่ำสุดเพียงยอดเดียว
ยอดจากตาอื่นๆให้เด็ดทิ้งไป  ยอดที่เหลือไว้นี้จะโตขึ้นเหมือนยอดกระโดง  มีลำเปล้าตรงและสูง 
และหลังจากยอดที่เหลือไว้นี้โตเต็มที่ แล้วยอดเดิมที่ติดมากับต้นกล้าพันธุ์จะหลุดร่วงไปเอง
    - ปลูกต้นกล้าพันธุ์โดยทำพูนโคกสูง 30-50 ซม.  กว้าง 1-1.5 ม.  ขุดดินกลางพูน
โคกเป็นหลุมเล็กๆ  ปลูกต้นกล้าลงตื้นๆพอมิดตุ้มตอนหรือตุ้มทาบ  คลุมด้วยเศษหญ้าหรือฟางแห้ง
หนาๆ  จะช่วยให้รากเจริญเร็วกว่าการปลูกแบบขุดหลุมลึกๆบนพื้นราบธรรมดาๆ
    - ก่อนกลบดินหลุมปลูกให้เขี่ยขุยมะพร้าวที่ผิวนอกตุ้มตอนหรือตุ้มทาบ  สำรวจปลายรากว่ามี
อาการหมุนวนรอบๆถุงห่อขุยมะพร้าวหรือไม่   ถ้ารากเริ่มหมุนวนให้จัดรากโดยใช้ไม้เล็กๆเขี่ยปลาย
รากออกมาให้ชี้ออกข้างตรงๆแล้วใช้ดินกลบกดยึดรากส่วนนั้นไว้   ถ้าไม่จัดรากก่อนเมื่อรากเริ่มเจริญ
ยาวจะหมุนวนอยู่ในหลุมเรียกว่า  ราก-วน  เป็นเหตุให้ต้นโตช้าหรืออาจนั่งหลุมตายได้
 
                
      สายพันธุ์
               
      เลือกสายพันธุ์ที่ตรงตามความต้องการของตลาดอย่างแท้จริง.....พันธุ์นิยมเพื่อการ
บริโภคประเภทยำหรือต้มยำ  ได้แก่  แป้นรำไพ.  แป้นกระดาน.  แป้นทะวาย.  แป้นพวง.
เนื่องจากผลดก รูปทรงสวย  เปลือกบาง  น้ำมาก  น้ำมีกลิ่นหอม......พันธุ์นิยมเพื่อการ
บริโภคประเภทน้ำจิ้มคือ พันธุ์ไข่.  เนื่องจากผลดก เปลือกบาง น้ำมากและมีกลิ่นหอม......ส่วน
พันธุ์นิยมเพื่อการบริโภคประเภทน้ำแปรรูป  ได้แก่  น้ำหอมทูลเกล้า.  ด่านเกวียน.....และ
มะนาวหวาน  ลักษณะต้น ผล การเจริญเติบโตเหมือนมะนาวแต่ผลแก่รสจืดชืด
      ปัจจุบันมีมะนาวสายพันธุ์ใหม่ๆเกิดขึ้นหลายสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ต่างก็เน้นความเป็น
มะนาวแป้นและทนทานต่อโรคเป็นหลัก ส่วนการตั้งชื่อสายพันธุ์จะเน้นการจำหน่ายกิ่งพันธุ์เป็นหลัก
      มะนาวสายพันธุ์ที่มีความต้านทานโรคสูงโดยธรรมชาติอย่างแท้จริง  มี 2 สายพันธุ์คือ 
น้ำหอมทูนเกล้า (ไร้เมล็ด). และ ด่านเกวียน.  จึงทำให้นักผสมพันธุ์มะนาวใช้  ด่านเกวียนหรือ
น้ำหอมทูนเกล้า  ตัวใดตัวหนึ่ง  ผสมกับ  มะนาวสายพันธุ์แป้น สายพันธุ์ไหนเป็นพ่อหรือแม่ก็ได้
จากการที่มีสายเลือดน้ำหอมทูนเกล้าหรือด่านเกวียน ผู้จำหน่ายกิ่งพันธุ์จึงสมอ้าง
ว่าเป็นสายพันธุ์ต้าน
ทานโรค แต่ในความเป็นจริงนั้น ณ วันนี้เทคโนโลยีนี้ยังไม่สำเร็จ กล่าวคือ 
มะนาวสายพันธุ์ใหม่ยัง
ไม่สามารถต้านทานโรคได้เหมือนน้ำหอมทูนเกล้าหรือด่านเกวียน
 
               
      เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ  
               
    - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
  
  - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง
               
    - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง  
               
    - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม  ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง 
               
      หมายเหตุ :
                
    - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขต
ทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อ
เนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน  
               
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตก
ใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่  การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาด
ของเชื้อราได้  
                 
   
- ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพ
ความสมบูรณ์สูง
 
                      

      ระยะปลูก :

    - ระยะปกติ  4 x 6 ม. หรือ  6 x 6  ม.
  
    - ระยะชิด (ช่วงแรก)ปรับเป็น ระยะปกติ (ช่วงหลัง).....หมายความว่า  ช่วงแรกปลูก
ระยะห่าง 2 x 2 ม. (1 ไร่/400 ต้น)  บำรุงเลี้ยงตามปกติ 2-3 ปี (ได้ผลผลิต) ระยะ
ห่างระหว่างต้นเริ่มชิดกันให้ตัดออกต้นเว้นต้น  จะเหลือ200 ต้น/ไร่  บำรุงเลี้ยงต่อไปตามปกติ 3-
4 ปี (ได้ผลผลิต) ระยะห่างระหว่างต้นชิดกันอีกให้ตัดออกต้นเว้นต้น  จะ
เหลือ 100 ต้น/ไร่ 
จากนั้นบำรุงเลี้ยงต่อไป  ระยะห่างระหว่างต้นครั้งสุดท้ายนี้ถือเป็นระยะปลูกปกติ.....ข้อดีของการ
ปลูกระยะชิดช่วงก็คือ  ได้ผลผลิตส่วนหนึ่งจำหน่ายก่อน

      หมายเหตุ
:
      ระยะชิดหรือระยะปกติไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของมะนาว  ตราบใดที่ต้นได้รับแสงแดด
100%  มะนาวต้นนั้นก็จะให้ผลผลิตตามปกติ
 
               

      เตรียมต้น
               
      ตัดแต่งกิ่ง :
     
               
    - ตัดแต่งเพื่อการแตกยอดใหม่ให้ตัดกิ่งกระโดง  กิ่งในทรงพุ่ม  กิ่งคดงอ  กิ่งชี้ลง  กิ่ง
ไขว้  กิ่งหางหนูกิ่งเป็นโรค  ทั้งนี้ภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้
    - ตัดกิ่งทิ้งเพื่อไม่ให้แตกยอดใหม่ป้องกันทรงพุ่มทึบเกินไปให้ตัดชิดลำกิ่งประธาน
    - ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ  นอกจากช่วยทำให้แสงแดด
ผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดีและ
เพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย
               
    - นิสัยการออกดอกมะนาวไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว แต่การตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้น
หน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่ง
ในช่วงอื่น 
               
      ตัดแต่งราก:
               
    - ต้นที่อายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก  แต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหา
อาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
    
- ต้นอายุหลายปีระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4
ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกราก
ใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม
 




หน้าถัดไป (2/5) หน้าถัดไป


Content ©