-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 223 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม




หน้า: 2/2



มะเขือเทศ

จาก Eduzones Elibrary, สารานุกรมฟรี

ภาพ:Tomato.jpg



มะเขือเทศ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lycopersicon esculentum Mill. เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม พืชหนึ่งของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ มะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรม และมะเขือเทศรับประทานผลสด จากสถิติการปลูก พืชผักรายปีของกรมส่งเสริมการเกษตร แสดงให้เห็นว่ามีการปลูกมะเขือเทศในประเทศไทยประมาณปีละ 40,000 ไร่ โดยในปี 2532-33 เป็นช่วงที่มีการขยายพื้นที่ปลูกมะเขือเทศมากที่สุดถึง 90,000 ไร่ แล้วค่อย ๆ ลดลงในระยะต่อมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะพื้นที่ปลูก มะเขือเทศส่วนใหญ่ 80-90% เป็นการปลูกสำหรับส่งโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งปริมาณการผลิตขึ้นกับภาวะความต้องการของตลาดโลกเมื่อ ประเทศต่าง ๆ สามารถผลิตมะเขือเทศได้ดีทำให้มี ปริมาณผลิตภัณฑ์มะเขือเทศมากเกินความต้องการ ราคาผลผลิตตกต่ำจำเป็นต้องลด ปริมาณการผลิตลง มีผลให้พื้นที่ปลูกในประเทศไทยลดลงด้วย สำหรับพื้นที่ปลูกมะเขือเทศเพื่อบริโภคผลสดคาดว่า มีเพียงประมาณปีละ 8,000-9,000 ไร่ คนไทยคุ้นเคยกับการรับประทานมะเขือเทศผลเล็ก สีชมพู มานาน โดยนำไปใช้ปรุงรสและกลิ่นของอาหาร เช่น ส้มตำ อย่างไรก็ดีการบริโภคมะเขือเทศไม่จำกัดอยู่เพียง ลักษณะผลเล็ก สีชมพู เท่านั้น คนไทยยังนำมะเขือเทศผลใหญ่สีแดง ที่ปลูกส่งโรงงาน อุตสาหกรรมมาบริโภคด้วย นอกจากนี้หลังจากที่มีการนำมะเขือเทศผลเล็กจิ๋ว หรือมะเขือเทศเชอรี่ ซึ่งมีน้ำหนักผลน้อยกว่า 10 กรัม มาวาง จำหน่ายในท้องตลาด ปรากฏว่า ผู้บริโภคให้ความสนใจมะเขือเทศเชอรี่ค่อนข้างมาก เพราะเป็นมะเขือเทศที่มีรสหวาน เมล็ดน้อย สามารถ นำไปบริโภคโดยตรงแทนผลไม้ได้



ลักษณะการเจริญเติบโต

ลักษณะการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ แบบเลื้อย มะเขือเทศประเภทนี้ ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมจะสามารถ เจริญเติบโตสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่สิ้นสุด มีกิ่งแขนงขนาดใกล้เคียงกับลำต้น 2-3 แขนง และมีแขนงย่อยได้อีกไม่จำกัด ช่อดอกแรกเกิด ระหว่างข้อที่ 8 และ 9 ช่อดอก ต่อมาจะเกิดขึ้นทุก ๆ 3 ข้อ ลำต้นอาจสูงหรือยาวกว่า 10 เมตร แบบพุ่ม มีลำต้นตั้งตรง กิ่งแขนง หลายแขนง เกิดตามข้อบนลำต้นด้านล่าง และอาจมีแขนงย่อยได้อีก ช่อดอกเกิดระหว่างข้อทุกข้อในเวลาใกล้เคียงกัน เมื่อตายอดเกิดช่อดอกแล้วจะหยุด การเจริญเติบโต มะเขือเทศบางพันธุ์เมื่อตายอดเกิดช่อดอกแล้วจะมีกิ่งแขนงเกิดที่ข้อใต้ช่อดอก เติบโตต่อไปเรื่อย ๆ เรียกว่า เจริญเติบโต แบบกึ่งเลื้อย



สภาพภูมิอากาศและฤดูปลูกที่เหมาะสม

มะเขือเทศสามารถเจริญเติบโตทางด้านลำต้น ใบ และออกดอกได้ดีตลอดทั้งปี แต่การติดผลของ มะเขือเทศต้องการสภาพอากาศค่อนข้าง เย็น อุณหภูมิกลางวันที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางคืนประมาณ 16-20 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิกลางคืน สูงกว่า 22 องศาเซลเซียส จะทำให้มะเขือเทศไม่ติดผลหรือติดผลได้น้อยลง ฝนและความชื้นสูงเป็นสาเหตุสำคัญทำให้โรคทางใบและทางราก ระบาดรุนแรง ดังนั้นฤดูปลูกที่เหมาะสมที่สุดจึงอยู่ในช่วงฤดูหนาวโดยมีช่วงหยอดเมล็ดเพาะกล้าอยู่ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ซึ่งนอกจากสภาพอากาศจะเหมาะสมต่อการติดผล ทำให้ได้ผลผลิตสูงแล้วยังมีศัตรูพืชรบกวนน้อย ต้นทุนการผลิตจึงต่ำกว่าการปลูกในฤดูอื่นด้วย



สภาพดินและความอุดมสมบูรณ์ของดิน

มะเขือเทศเจริญเติบโตได้ดีทั้งในดินร่วนเหนียวและดินร่วนทราย ความเป็นกรดด่าง (pH) ที่เหมาะสมประมาณ 5.5-7.0 และเป็นดิน ที่ระบายน้ำดี มะเขือเทศไม่ชอบน้ำขังแฉะ ถ้ามีฝนตกติดต่อกัน จะต้องเร่งระบายน้ำออกให้เร็วที่สุด นอกจากนี้ควรเป็นแหล่งที่ไม่เคยปลูก มะเขือเทศมาก่อนในระยะ 1-2 ปีที่ผ่านมา เพราะจะมีโรคแมลงสะสมทำให้การป้องกันกำจัดทำได้ยาก



ปัญหาการไม่ติดผลและการแก้ไข

ในฤดูหนาวสามารถปลูกมะเขือเทศได้ง่ายที่สุด แต่การบริโภคมะเขือเทศไม่ได้ถูกจำกัดเพียงฤดูเดียว ดังนั้นจึงมีความพยายามปลูก มะเขือเทศนอกฤดู ในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน ซึ่งปัญหาที่สำคัญคือ อุณหภูมิสูงเกินไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนมีนาคม เมษายน และ พฤษภาคม ทำให้ดอกมะเขือเทศร่วง ไปไม่ติดผล แต่เนื่องจากราคาผลผลิตในช่วงปลายฤดูร้อนค่อนข้างสูง จึงมีเกษตรกรยอมเสี่ยงปลูก การแก้ปัญหาการไม่ติดผลของมะเขือเทศที่ปลูกในฤดูร้อนสามารถทำได้หลายวิธี


1. ปลูกมะเขือเทศบนภูเขาสูงปกติบนภูเขาสูงจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าในพื้นราบ จึงมีการปลูกมะเขือเทศนอกฤดูกันมาก เช่น ที่จังหวัด เชียงราย เพชรบูรณ์ เป็นต้น แต่บนภูเขาสูงมักมีปัญหาแหล่งน้ำจำกัด อาจใช้ปลูกมะเขือเทศได้ไม่ตลอดฤดูปลูก จึงต้องเลือกแหล่งที่มี น้ำสมบูรณ์จริง ๆ


2. ใช้พันธุ์ทนร้อนร่วมกับการจัดการที่ดี พันธุ์มะเขือเทศทั่วไปจะไม่สามารถติดผลได้ถ้าอุณหภูมิกลางคืนสูงกว่า 22 องศาเซลเซียส แต่พันธุ์ทนร้อนสามารถติดผลได้แม้ว่าอุณหภูมิกลางคืนสูงกว่า 23 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ดีถ้าอุณหภูมิกลางวันสูงเกินกว่า 35 องศาเซลเซียส ก็ทำให้มะเขือเทศพันธุ์ทนร้อนติดผลได้ยาก การปลูกมะเขือเทศในฤดูร้อน นอกจากจะใช้พันธุ์ทนร้อนแล้วจะต้องเอาใจใส่ดูแลรักษาอย่าง ประณีต โดยเฉพาะการให้น้ำ ทั้งนี้เพราะเมื่ออากาศร้อนและแห้ง ต้นมะเขือเทศต้องการน้ำมากกว่าในฤดูปลูกปกติถึง 2 เท่า และการระเหย น้ำจากดินเป็นไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงต้องมีการให้น้ำบ่อยครั้งขึ้น ถ้าเป็นการให้น้ำแบบฉีดพ่นฝอยควรให้ทุกวันตอนเช้า เพื่อให้ดินและ อากาศรอบ ๆ แปลงปลูกมีความชื้นพอเพียง และเป็นการลดอุณหภูมิในแปลงปลูกลงด้วย


3. การฉีดพ่นสารฮอร์โมนช่วยเร่งการติดผลและอาหารเสริม การใช้ฮอร์โมน 4CPA (chloro phenoxy aceic acid) ความเข้มข้น 25-50 ppm. ช่วยให้เปอร์เซ็นต์การติดผลของมะเขือเทศเพิ่มขึ้น แต่ก่อนฉีดพ่นฮอร์โมนนี้จะต้องคำนึงถึงสภาพของต้นมะเขือเทศว่า มีความแข็งแรง พร้อมที่จะติดผลได้หรือไม่ (โดยสังเกตจากขนาดของก้านช่อดอก ถ้าก้านช่อดอกมีขนาดใหญ่แนวโน้าที่จะติดผลได้มีมากกว่าก้านช่อดอกที่มี ขนาดเล็ก) และช่วงที่ฉีดพ่นควรเป็นช่วงที่มีปริมาณดอกค่อนข้างมาก สารฮอร์โมนชนิดนี้เมื่อฉีดพ่นถูกใบมักทำให้ใบผิดปกติม้วนงอ ใบยอด หดเล็กลง (การใช้สารฮอร์โมนช่วยให้ผลติดในมะเขือเทศพันธุ์ผลโต มักใช้พู่กันจุ่มฮอร์โมนป้านตามช่อดอกไม้ให้ถูกใบ) ผลที่เติบโตขึ้นเป็นผลที่ ไม่มีเมล็ด และบ่อยครั้งจะพบผลที่มีรูปร่างผิดปกติ จึงไม่ควรฉีดพ่นเกินกว่า 2 ครั้ง และควรฉีดพ่นในช่วงที่อากาศไม่ร้อน เช่น ตอนเช้ามืด หรือตอนเย็น อย่างไรก็ดี แม้ว่าสารฮอร์โมนจะช่วยให้เกิดการติดผลได้ แต่ถ้าสภาพต้นมะเขือเทศไม่สมบูรณ์ก็ไม่สามารถทำให้ผลที่ติดแล้ว เจริญเติบโตต่อไปเป็นผลที่มีรูปร่างปกติได้ จึงอาจจำเป็นต้องฉีดพ่นด้วยอาหารเสริมทางใบ และบำรุงด้วยปุ๋ยทางดินพร้อมกับให้น้ำอย่างทั่วถึง ซึ่งเป็นการช่วยให้ต้นมะเขือเทศสมบูรณ์ขึ้น มีอาหารส่งไปยังผลอย่างพอเพียง ผลจะเจริญเติบโตเป็นผลที่มีรูปร่างปกติต่อไป



พันธุ์ปลูก

พันธุ์มะเขือเทศที่ใช้ปลูกส่งโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่มักจะเป็นพันธุ์ที่สั่งเข้าจากต่างประเทศ โดยโรงงานที่รับซื้อผลผลิตเป็น ผู้จัดหามา ส่วนพันธุ์มะเขือเทศผลเล็ก สีชมพู สำหรับรับประทานผลสด เกษตรกรอาจเลือกซื้อได้จาก ร้านค้าเมล็ดพันธุ์ หรือเก็บเมล็ดพันธุ์ เอง หรือสั่งซื้อเมล็ดพันธุ์จากศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ซึ่งผลิต เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศทนร้อนที่มีลักษณะผลสีชมพูคล้ายพันธุ์สีดา จำนวน 4 สายพันธุ์คือ สีดาทิพย์ #1, สีดาทิพย์ #2, สีดาทิพย์#3 และมะเขือเทศ ลูกผสมสีดาทิพย์ #92 ซึ่งมีลักษณะประจำพันธุ์ดังตาราง 1 หน้า 6



ลักษณะประจำพันธุ์ของมะเขือเทศพันธุ์ต่าง ๆ

ลักษณะประจำพันธุ์ สีดาทิพย์ #1 สีดาทิพย์ #2 สีดาทิพย์ #3 สีดาทิพย์ #92 ชนิดเมล็ดพันธุ์ พันธุ์แท้ พันธุ์แท้ พันธุ์แท้ พันธุ์ลูกผสม การเจริญเติบโต กึ่งเลื้อย กึ่งเลื้อย กึ่งเลื้อย กึ่งเลื้อย ความทนร้อน ดี พอใช้ ดีมาก ดี ขนาดผล (กรัม) 28 28 22 25 สีผล ชมพูอมส้ม ชมพู ชมพู ชมพู การแตกของผล ไม่แตก แตก ไม่แตก ไม่แตก


นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อนร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักแห่งเอเซีย (AVRDC) ไต้หวัน นำพันธุ์มะเขือเทศ ผลเล็กจิ๋วหรือมะเขือเทศเชอรี่ เข้ามาปลูกทดสอบหลายสายพันธุ์ พันธุ์ที่น่าสนใจมากคือ CH 154 และ CH 155 ซึ่งทั้ง 2 พันธุ์มีการเจริญ เติบโตแบบกึ่งเลื้อย ความสูงของต้นประมาณ 100-150 ซม. มีกิ่งแขนง 6-10 แขนง อายุดอกบานประมาณ 40-45 วันหลังจากหยอดเมล็ด ช่อดอกเกิดบนลำต้นเกือบทุกข้อ แต่ละช่อดอกมีดอกย่อย 8-15 ดอก ในฤดูหนาวสามารถติดผลได้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ทำให้มีผลมากกว่า 300 ผลต่อต้น ผลผลิตประมาณ 4-5 ัตันต่อไร่ รูปร่างผล ยาวรี รสหวาน เนื้อแน่น มีเมล็ดน้อย ส่วนใหญ่ไม่มีเมล็ด ผลเริ่มสุกแดงประมาณ 50 วันหลังจากย้ายปลูกหรือประมาณ 70-75 วันหลังจากหยอดเมล็ด การเก็บเกี่ยวผลควรรอให้ผลสุกแดงจนสีผลเป็นสีแดงเข้ม จะมีรสชาติหวาน กว่าผลที่เพิ่งเริ่มสุก และเมื่อผลสุกแล้วสามารถปล่อยทิ้งไว้บนต้นได้นานถึง 20 วัน โดยผลไม่เน่าเละ ซึ่งเป็นข้อดีที่สามารถชลอการเก็บ เกี่ยวผลผลิตออกไปได้ระยะหนึ่ง มะเขือเทศเชอรี่พันธุ์ CH 154 และ CH 155 นี้ เป็นพันธุ์ผสมปล่อย สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ปลูกต่อไปได้ เมล็ดพันธุ์มีขนาดเล็กกว่ามะเขือเทศทั่วไป โดยน้ำหนักเมล็ด 1 กรัมมีจำนวนเมล็ดประมาณ 450-500 เมล็ด (ดังภาพที่ 4-7 ปกหลังด้าน บน



การปลูก

การปลูกทำได้ 2 วิธี

1. เพาะกล้าแล้วย้ายปลูก โดยเตรียมแปลงกล้าอย่างประณีต ยกแปลงสูงประมาณ 1 คืบ นำปุ๋ย คอกหรือปุ๋ยหมักมาคลุกเคล้าประมาณ 1-2 บุ้งกี๋ต่อ 1 ตารางเมตร ใช้เมล็ดประมาณ 30-40 กรัมหยอด ลงบนแปลงยาว 10 เมตร กว้าง 1 เมตร จะได้ต้นกล้าพอสำหรับปลูกใน พื้นที่ 1 ไร่ การหยอดเมล็ด ควรหยอดเป็นแถวห่างกันประมาณ 10 ซม. ลึกไม่เกิน 1 ซม. เมื่อหยอดเมล็ดแล้วกลบด้วยดินผสมปุ๋ยหมัก และคลุมแปลงด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้งบาง ๆ ในช่วง 3 วันแรก รดน้ำสม่ำเสมออย่าให้ผิวหน้าดินแห้ง และถ้าแดดจัดหรือฝนตกหนักต้องคลุม แปลงด้วยผ้าไนล่อนหรือผ้าพลาสติก เพื่อป้องกันเม็ดฝนกระแทกลำต้นหรือใบเป็นรอยช้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย โรคที่ สำคัญในแปลงกล้าคือ โรคโคนเน่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฝนตกติดต่อกันความชื้นในอากาศและที่ผิวดินสูง ป้องกันโดยนำเศษฟางหรือหญ้าที่ ใช้คลุมแปลงออกให้หมด เพื่อให้แปลงกล้าโปร่งและการระบายอากาศดี แล้วฉีดพ่นด้วยยากันรา ในช่วงที่กล้ามะเขือเทศอายุประมาณ 17-22 วัน ควรลดปริมาณน้ำที่ให้ลง และให้กล้าได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ต้นกล้าจะแข็งแรง เหนียว ไม่อวบฉ่ำน้ำ ซึ่งมีผลให้กล้ารอดตายมากหลังจาก ย้ายกล้า โดยทั่วไปการย้ายกล้าลงแปลงปลูกมัจะใช้กล้าอายุประมาณ 21-25 วัน หลังจากหยอดเมล็ดหรือเมื่อกล้ามีใบจริง 3-4 ใบ


2. หยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง ใช้ในกรณีที่สามารถให้น้ำได้ง่ายแต่จะเสียเวลาและแรงงาน ในการดูแลรักษามากกว่า อีกทั้งต้องใช้ เมล็ดพันธุ์มากขึ้นเป็น 80-100 กรัมต่อไร่


สำหรับระยะปลูกที่เหมาะสม ควรใช้ระยะระหว่างแถว 1 แถว ระยะระหว่างต้น 25-50 ซม. ปลูก 1 ต้นต่อหลุม ถ้าใช้ระยะปลูกแคบจะได้ ผลผลิตต่อพื้นที่มากขึ้น แต่การควบคุมโรคและการปฏิบัติงานอื่น จะยุ่งยากขึ้นด้วย ในฤดูแล้งควรปลูกถี่ ส่วนในฤดูฝนควรใช้ระยะปลูกห่าง เนื่องจากมะเขือเทศเจริญเติบโตดี มีทรงพุ่มสูงใหญ่กว่าฤดูอื่น

การปฏิบัติดูแลรักษา


- การควบคุมแปลงปลูกด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นของดินและเป็นการป้องกันการชะล้างผิวหน้าดิน เมื่อฝนตกหรือให้น้ำ นอกจากนี้ยังช่วยลดเปอร์เซนต์ผลเน่าและการระบาดของโรคทางใบ ซึ่งจะช่วยให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น ประมาณ 20-40% แต่ฟางมักจะมีเชื้อราสเคอโรเดี่ยมติดมาด้วย ทำให้เกิดโรคเหี่ยวต้นแห้งตายไป การคลุมฟางจึงควรหลุมให้ ห่างโคนต้น เพื่อไม่ให้โคนต้นมีความชื้นสูงเกินไป


- การกำจัดวัชพืช ใช้สารเคมีชื่อ เมตริบูซิน หรือชื่อการค้าว่า เซงคอร์อัตรา 80-120 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) หรือ 115-170 กรัม สารเซงคอร์ 70% ต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่ ฉีดหลังจากย้ายกล้า ขณะที่ดินมีความชื้นอยู่ จะสามารถควบคุมวัชพืชใบแคบ และใบกว้างบางชนิดได้ แต่ถ้ามีการพรวนดิน พูนโคนหลังจากใส่ปุ๋ยที่อายุ 20 และ 40 วัน ก็ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช


- การใส่ปุ๋ย

1. ปุ๋ยรองพื้น ใช้ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30 กก./ไร่ รองก้นหลุมพร้อมกับปุ๋ยคอกหรือ ปุ๋ยหมัก 2,000 กก./ไร่ และ โบแรกซ์ 4 กก./ไร่


2. ปุ๋ยแต่งหน้าที่อายุ 7-10 วันหลังจากย้ายปลูก ใช้ปุ๋ย 46-0-0 หรือ 21-0-0 อัตรา 10 หรือ 20 กก./ไร่ ถ้าเป็น แปลงปลูกที่เคยปลูกผักกินใบ เช่น ผักชี มาก่อนควรใช้ปุ๋ย 13-13-21 แทน


3. ปุ๋ยแต่งหน้าที่อายุ 21-25 วันหลังจากย้ายปลูก ใช้ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30 กก./ไร่


4. ปุ๋ยแต่งหน้าที่อายุ 40 วันหลังจากย้ายปลูก ใช้ปุ๋ย 13-13-21อัตรา 30 กก./ไร่


5. ปุ๋ยแต่งหน้าที่อายุ 60 วันหลังจากย้ายปลูก ใช้ปุ๋ยชนิดและอัตราเดียวกับครั้งที่ 4 แต่ถ้าสภาพต้นมะเขือเทศ ค่อนข้างโทรมมีผลน้อยก็ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยครั้งที่ 5



ในสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมเช่นร้อนเกินไปหรือมีฝนตกบ่อย ทำให้ต้นมะเขือเทศไม่ค่อยสมบูรณ์ หรือมีอาการเฝือใบ อาจช่วยได้โดยการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตรต่าง ๆ ตามระยะการเจริญเติบโต เช่น ในระยะยังไม่ออกดอกอาจใช้ปุ๋ยใบสูตร เสมอ เช่น 25-25-25 ส่วนในระยะออกดอกแล้วควรใช้ปุ๋ยใบที่มีฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมสูง เช่น 10-23-20 หรือ 10-30-20 เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปุ๋ยใบที่มีธาตุอาหารรอง หลายชนิดอยู่ด้วย เช่น แมงกานีส เหล็ก สังกะสี โบรอน จะช่วยให้ ต้นมะเขือเทศสมบูรณ์ยิ่งขึ้น


- การให้น้ำ ระยะที่มะเขือเทศต้องการน้ำมากคือ ช่วงแรกของการเติบโตและช่วงที่ผลกำลังขยายขนาด (ประมาณ 35-50 วันหลังจากย้ายกล้า) สำหรับช่วงที่กำลังติดผล (20-35 วัน) ไม่ต้องการน้ำมากนัก แต่ต้องการการพรวนดิน เพื่อให้ รากเจริญเติบโตลงไปได้ลึก เพราะรากกระจายทางด้านข้างได้สะดวก


- การปักค้าง มีความจำเป็นมากเมื่อปลูกมะเขือเทศในฤดูฝน หรือปลูกด้วยพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตแบบเลื้อย การปักค้างแบบค้างเดียวหรือแบบกระโจม จะช่วยให้ผลผลิตของมะเขือเทศสูงขึ้นกว่าการไม่ปักค้าง 20% และทำให้ การฉีดยาป้องกันศัตรูพืช การเก็บเกี่ยว และการปฏิบัติงานอื่น ๆ ในแปลงสะดวกขึ้น นอกจากปักค้างแล้วต้องหมั่นผูก ต้นมะเขือเทศติดกับค้างด้วย มิฉะนั้นแขนงที่เกิดใหม่จะเจริญเติบโตทอดไปกับดินทำให้ผลเน่าเสียหายได้

การป้องกันกำจัดโรคที่สำคัญ




โรคที่สำคัญ ได้แก่

1. โรคใบไหม้ เนื่องจากเชื้อ Alternaria และ Cercospora ระบาดเร็วมากเมื่ออุณหภูมิและ ความชื้นสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูฝนที่มีฝนตกติดต่อกันหลายวัน การเด็ดใบด้านล่างที่เป็นโรคทิ้งจะช่วยให้ การระบาดของโรคช้าลง


2. โรคใบหงิกจากเชื้อไวรัส เกิดได้ทุกฤดูโดยมีแมลงหวี่ขาวและเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะนำเชื้อ


3. โรคเหี่ยวเนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย มะเขือเทศเหี่ยวตายอย่างรวดเร็วขณะที่ลำต้น ใบ ยังเขียวอยู่ไม่มียา ป้องกันต้องใช้พันธุ์ต้านทานเท่านั้น ถ้าพบต้นเป็นโรคควรถอนทิ้งเผาไฟทันที


4. โรคเหี่ยวจากเชื้อสเคอโรเตี่ยม เกิดมากเมื่อดินมีความชื้นสูง จะพบราสีขาวทำลายผิวส่วนโคนต้นที่ ติดกับดิน และในระยะต่อมาจะเห็นสปอร์คล้ายเมล็ดผักกาดที่โคนต้น การป้องกันใช้สารเคมีชื่อ ไวตาแวกส์ราด หรือ ใช้ปูนขาวประมาณครึ่งกำมือหรือใช้เชื้อราไตรโคเดอม่า โรยชิดโคนต้น



การป้องกันและกำจัดโรครา โดยใช้สารเคมีมีแนวทางปฏิบัติดังนี้

1. ่ขณะที่ยังไม่เกิดโรคควรฉีดยาป้องกันทุก ๆ 7-10 วัน โดยใช้สารเคมีพื้น ๆ เช่น แคปแทน, ไดเทนเอม 45, คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์, คูปราวิท


2. เมื่อเริ่มเกิดอาการโรคระบาดจนเห็นได้แล้วควรใช้สารเคมีประเภทดูดซึม เช่น เบนเลท โอดี, บาวีซาน, รอฟรัล, ดาโคนิล แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 3 ครั้ง จะทำให้เชื้อโรคดื้อยาได้ง่าย



การป้องกันกำจัดแมลงที่สำคัญ

แมลงที่สำคัญ คือ

หนอนเจาะผล : ต้องกำจัดตั้งแต่หนอนยังมีขนาดเล็กก่อนที่จะเจาะทำลายเข้าไปในผล โดยสังเกตจากไข่หนอนซึ่งเป็น ไข่เดี่ยว ๆ รูปร่างกลม สีส้มเหลือง ขนาดประมาณหัวเข็มหมุด โดยตัวแก่ผีเสื้อกลางคืนวางไข่ไว้ตามยอดอ่อนหรือ กลีบดอก ถ้าพบปริมาณไข่มากจะต้องฉีดยาภายใน 1-2 วัน สารเคมีที่ใช้เป็นประเภทถูกตัวตาย เช่น แลนเนท หรือ สารไพรีทรอยต์ และหมั่นเก็บผลที่ถูกหนอนเจาะทำลายออกจากแปลงนำมาเผาไฟ เพราะหนอนที่อยู่ในแผลจะออกมา ทำลายผลที่อยู่ในช่อเดียวกันต่อไป ทำให้เสียหายมากขึ้น




การเก็บเกี่ยวผลสด

เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เมื่อ 55 วันหลังจากย้ายกล้า โดยเก็บผลที่เริ่มเปลี่ยนสี เพื่อหลีกเลี่ยงผลแตกและผลสุก เกินไป



การเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกฤดูต่อไป

สามารถทำได้เมื่อพันธุ์ที่ปลูกไม่ใช่พันธุ์ลูกผสม การเก็บเมล็ดพันธุ์ควรเลือกเก็บเมล็ดจากแปลงที่ปลูกในฤดูหนาว เท่านั้น และเลือกเก็บจากต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง มีลักษณะผลตามที่ตลาดต้องการ จึงจะได้เมล็ดที่สมบูรณ์แข็งแรง มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง การผลิตเมล็ดพันธุ์สามารถทำได้ง่าย โดยเก็บเกี่ยวผลที่สุกแดงผ่าขวางผล บีบเมล็ดออก หมักทิ้งไว้ในภาชนะพลาสติก 24-36 ชั่วโมง นำไปล้างน้ำหลาย ๆ ครั้ง เมล็ดที่ดีจะจมลง เมล็ดที่ไม่สมบูรณ์จะลอย ปล่อยให้ไหลออกไป เมื่อเมล็ดสะอาดดีแล้วนำไปผึ่งแดดบนตระแกรง 2-3 วัน จนเมล็ดแห้งสนิทจึงบรรจุเมล็ดในถุง พลาสติกหนา หรือในกระป๋องที่ปิดสนิท แล้วนำไปเก็บไว้ในที่เย็น ซึ่งโดยวิธีการเช่นนี้สามารถเก็บเมล็ดได้นานอย่างน้อย 2-3 ปี




การปฏิบัติดูแลรักษามะเขือเทศ

อายุ (วัน) การปฏิบัติ (21-25) ก่อนย้ายกล้า เพาะกล้าโดยเลือกที่โล่งแจ้ง เตรียมแปลงอย่างประณีต ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยวิทยาศาสตร์ 15-15-15 คลุกเคล้ากับดินยกเป็นแปลงสูง 1 คืบ กว้าง 1 เมตร ยาวตามความเหมาะสมใช้ไม้ลากร่องบนหน้าแปลงเป็น ร่องเล็ก ๆ ห่างกัน 10 ซม. ลึก 1 ซม. หยอดเมล็ดลงในร่อง กลบดินบาง ๆ หรือใช้ดินผสมปุ๋ยหมักโรยปิดหน้า คลิมผิวหน้าแปลงด้วยฟางหรือแกลบรดน้ำให้ชุ่มจนเมล็ดงอก ถ้ามีแมลง เช่น มด ควรโรยด้วยยาฆ่าแมลง เช่น ฟูราดาน เซฟวิน เมื่อกล้าอายุ 17-22 วัน งดน้ำให้กล้าเหี่ยวบ้างเพื่อให้กล้าแข็งแรง ก่อนถอนต้นไปปลูกควรรดน้ำ แปลงกล้าให้ชุ่ม เพื่อให้ถอนกล้าได้ง่าย รากไม่เสียหายมากนัก กล้าที่เหมาะสำหรับย้ายปลูกคือ กล้าที่มีใบจริง ประมาณ 3-4 ใบ ิ (1-2) ก่อนย้ายกล้า เตรียมแปลงปลูก ตีหลุมตามระยะ รองก้นหลุ่มด้วยปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30 กก./ไร่ และเสริมด้วยปุ๋ยคอก หลุมละอย่างน้อย 1 กำมือ 0 ย้ายกล้า 1 ฉีดยาคุมวัชพืชด้วยเมตริบูซินหรือเซงคอร์ 80-120 กรัม สารบริสุทธิ์/ไร่ แล้วคลุมแปลงด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง (ฤดูฝนไม่ควรคลุมฟางหรือคลุมให้ห่างโคนต้น) 7-10 ใส่ปุ๋ย 21-0-0 อัตรา 20 กก./ไร่ 20 กำจัดวัชพืช 21-25 ใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30 กก./ไร่ พรวนดิน พูนโคน ปักค้าง 28-35 เริ่มติดผลเล็ก หากมีหนอนเจาะผลระบาด ฉีดพ่นด้วยสารไซเปอร์เมทริน, แลนเนท 40 ใส่ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 30 กก./ไร่ กำจัดวัชพืช 55-100 เก็บเกี่ยวผลผลิตทุก 1-2 วัน




http://edunews.eduzones.com/offy/3964?page2=4&page=&page3=







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (4744 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©