-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 379 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม




หน้า: 1/2





มะเขือเทศ

1.พันธุ์ พันธุ์ของมะเขือเทศมีมากมายและสามารถปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาใหม่ๆ ได้มาก บ้านเราจะปลูกให้ขายดีในฤดูหนาว ขนาดของผลตั้งแต่ลูกเล็กจนถึงลูกใหญ่ และสีมีตั้งแต่สีส้มจนสีแดงเข้ม แบ่งพันธุ์ได้ 2 ลักษณะ

1.1 พันธุ์ที่ใช้รับประทานสด เช่นพันธุ์สีดา มาโกลบ สีดาห้าวฉัตร สีดา มก. และพันธุ์แอล 22 เป็นต้น

1.2 พันธุ์ที่ส่งโรงงาน เช่นพันธุ์ มข 0-2 , พันธุ์คิงคอง พันธุ์ซานมาซาโน X คาลเจ


2. การเตรียมดิน
ควรเลือกพื้นที่น้ำไม่ขัง และระบายน้ำได้ดี ไถตากดิน ไม่ต่ำกว่า 10 วัน ตีดิน ยกร่องแบบปลูกผัก หรือทำร่องแบบปลูกข้าวโพดฝักอ่อน ปล่อยน้ำ เตรียมปลูก


3. การเพาะกล้า
จะเพาะในกะบะ หรือเพาะแบบร่องผักก็ได้ โดยการหว่านเมล็ดคลุกสารกันรา และสารฆ่าแมลงกันมดคาบเมล็ด โรยฟางข้าวให้ทั่ว รดน้ำให้ชุ่มเช้าและเย็น ทุกๆ วัน จนกว่าอายุกล้าประมาณ 20-30 วัน ก็ย้ายลงปลูกได้ ก่อนถอน ควรรดน้ำให้ชุ่มทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง และถอนไปปลูก ในร่องที่เตรียมไว้ ระยะปลูกระห่างต้น x ระห่างแถวยาว ประมาณ 30x70 หรือ 30-40x70 เซนติเมตร


4. การให้น้ำ
ระยะแรกควรให้นํ้าสม่ำเสมอ จนกว่าติดผล ก็ลดปริมาณลงเพราะถ้าได้น้ำมากจะทำให้ผลแตก และเกิดโรคได้


5. การปักค้าง
ส่วนมากเป็นพันธุ์รับประทานสด โดยใช้ค้างไม้ลวกปัก 2 แถว และนำปลายมัดรวมกัน ขึงด้วยตาข่าย หรือเชือกฟางเป็นชั้นๆ ก็ได้


6. การเก็บเกี่ยว
จะเก็บเกี่ยวได้ประมาณอายุ 70-90 วัน ขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ปลูกเลือกเก็บผลที่ไม่แก่จัด


7 .โรคที่สำคัญ
คือ โรคใบไหม้ โรคใบจุด โรคเหี่ยวเหลืองตาย โรคยอดหยิกเกิดจากเชื้อไวรัส มีแมลงหวี่ขาว เป็นพาหะป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมีประเภทปากดูด และนอกนั้นใช้สารเมนโดเซป ดาเบนดาซิม ตัวใดตัวหนึ่ง


8. แมลงที่สำคัญ
ได้แก่ เพลี้ยไฟ หนอนเจาะสมอฝ้ายอเมริกัน ป้องกันโดยใช้ ไซเฟอร์เมทริน 35 % แลมด้าไซฮาโลทริน เมทโทมิล


ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร






มะเขือเทศเชอรี่หวาน Cherry Tomato 

มะเขือเทศเชอรี่
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lycopersicon esculentum มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบชายฝั่ง ทะเลตะวันตกของทวีป อเมริกาใต้แถบประเทศเปรู ชิลี และอีเควเตอร์ เป็นพืชในตระกูลเดียวกับพรก ยาสูบ มันฝรั่ง มีลำต้นและระบบกิ่งก้านที่แตกแขนง สลับกันเป็นจำนวนมาก ลำต้นอ่อนมีขน ปกคลุม ลำต้นแก่มีลักษณะเป็นเหลี่ยม ในระยะแรกของการเจริญเติบโต ลำต้นตั้งตรงใน ระยะหนึ่ง ต่อมาเมื่อลำต้นสูง 1-2 ฟุต จะทอดไปในแนวราบ ใบ เป็นใบประกอบเจริญ สลับกัน มีขนอ่อนขึ้นบนใบและมีต่อมสารระเหยที่ขน เมื่อถูกรบกวนจะปลดปล่อยสาร ที่มีกลิ่นออกมา สายพันธุ์ส่วนใหญ่ขอบใบหยัก ระบบรากมะเขือเทศเป็นระบบรากแก้ว เจริญเติบโตได้เร็ว ดอกมะเขือเทศเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกมะเขือเทศจะอยู่สลับกันใน ช่อ ช่อดอกสามารถแตกกิ่งได้มากกว่าสองกิ่ง และการเจริญเติบโต ของกิ่งจะดำเนิน ต่อไป จนกระทั่งดอกช่อแรกบาน การเพิ่มจำนวนช่อดอกจะทำได้ โดยการใช้อุณหภูมิต่ำ มะเขือเทศส่วนใหญ่ผสมตัวเอ ผลเป็นแบบ berry จะมีรูปร่างลักษณะ เช่น กลม กลมแป้น กลมยาว หรือเป็นเหลี่ยม ผิวของมะเขือเทศจะไม่มีสีผิว ส่วนผลสีชมพู หรือเหลืองเกิด จากเนื้อผล


สภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

อุณหภูมิ
การปลูกมะเขือเทศดอยคำในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน จะให้ผลผลิตและคุณภาพที่แตกต่างกัน โดยผลผลิตจะลงลงเมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้น อุณหภูมิต่ำกว่า 12.8′C และสูงกว่า 32.2′C ละอองเกสรจะเป็นหมันไม่สามารถงอกท่อละอองเกสรลงไปผสมไข่ในรังได้ อุณหภูมิที่ เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 15-25′C


ช่วงแสง
ทีเหมาะสมสำหรับการเจริญ และผลผลิตมะเขือเทศดอยคำอยู่ระหว่าง 8-16 ชั่วโมงต่อวัน ในช่วงแสงไม่เกิน 12 ชั่วโมงต่อวัีน ช่อดอกจะเจริญเติบโต และติดผลเร็ว คุณภาพแสงสีน้ำเงินจะช่วยให้ มะเขือเทศ มีข้อสั้นกว่าสีแดง


ดิน
มะเขือเทศดอยคำสามารถเจริญได้ดีในดินที่ร่วนซุย มีหน้าดินลึก ระบายน้ำได้ดี มีอินทรีย์วัตถุสูง pH 6.0-6.5



การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร

มะเขือเทศดอยคำ เป็นมะเขือเทศรับประทานสด มีรสเปรี้ยวอมหวานเล็กน้อย เนื้อเนียนฉ่ำ รสชาติกลมกล่อม เป็นแหล่งของคาโรนีนอยด์ และโปแทสเซียม อุดมด้วยวิตามินและวิตามินอี


การปฏิบัติดูแลรักษามะเขือเทศดอยคำในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต

การเตรียมดิน
ขุดดินตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เก็บวัชพืชออกให้หมด ย่อยดินแล้วใส่ปูนขาวคลุกเคล้า ร่วมกับปุ๋ยคอกอัตรา 1 กก./ตร.ม. และปุ๋ยสูตร 0-4-0 อัตรา 100 กรัม/ตร.ม. ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ควรใส่โดโลไมท์ อัตรา 100-150 กรัม/ตร.ม.


การเตรียมกล้า
เพาะกล้าในถาดหลุมโดยหยอดเมล็ดลงในถาดหลุมที่มีดินผสม ปุ๋ยหมัก : แกลบ : ทรายละเอียด อัตรา 3:1:1


การปลูก
ทำแปลงกว้าง 1 ม. เว้นร่องน้ำ 70 ซม. ระยะห่างระหว่างหลุม 40-50 ซม. เวลาปลูกรองพื้นด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กรัม/ตร.ม. ผสมคลุกเคล้ากน แล้วย้ายกล้ามาปลูกกลบดินรดน้ำให้ชุ่มพอสมควร


การให้น้ำ
ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ 1-2 ครั้ง



การให้ปุ๋ย

  1. การให้ปุ๋ยพร้อมน้ำระบบ Fertigation ในอัตราดังนี้
    • ระยะที่ 1 ปุ๋ย 46-0-0 1 ส่วนน้ำหนัก
      ปุ๋ย 20-20-20 1.2 ส่วนน้ำหนัก
      หรือ สูตรใกล้เคียง อัตราใช้ 0.25-1 กรัม/ตร.ม./วัน
    • ระยะที่ 2 ปุ๋ยสูตร 46-0-0 1 ส่วนน้ำหนัก
      ปุ๋ย 20-20-20 1.2 ส่วนน้ำหนัก
      หรือ ปุ๋ย 20-10-30 หรือปุ๋ยสูตรใกล้เคียง อัตรา 1-3 กรัม/ตร.ม./วัน
    • ระยะที่ 3 ปุ๋ย 0-0-51 1 ส่วนน้ำหนัก
      ปุ๋ย 20-10-35 5 ส่วนน้ำหนัก
      หรือปุ๋ย 20-10-30 หรือปุ๋ยสูตรใกล้เคียง อัตรา 1-3 กรัม/ตร.ม./วัน
  2. ให้ปุ๋ยเม็ด
    ครั้งที่ 1 หลังปลูก 7-15 วัน ใช้ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 46-0-0 อัตรา 25 กรัม/ตร.ม. เพื่อเร่งการเตริบโต
    ครั้งที่ 2 หลังจากใส่ปุ๋ยครั้งแรก 15 วัน ใส่ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 50 กรัม/ตร.ม.
    ครั้งที่ 3 หลังจากใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 15 วัน ใส่ปุ่ย 0-0-60 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม.


การเก็บเี่กี่ยว
เก็บเกี่ยวในระยะที่เริ่มเปลี่ยนสี 30 เปอร์เซนต์ ของพื้นที่ผิวทั้งหมด



โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญของมะเขือเทศเชอรี่ในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต

ระยะกล้า (20-25 วัน) โรคใบไหม้, โรคเหี่ยว, โรคไวรัส, รากปม, เพลี้ยไฟ, แมลงหวี่ขาว, หนอนชอนใบ


ระยะติดผลแรก (55 วัน) โรคใบจุด, โรคใบไหม้, โรคเหี่ยว, โรคไวรัส, รากปม, เพลี้ยไฟ, แมลงหวี่ขาว, หนอนชอนใบ


ระยะเก็บเกี่ยวผลชุดที่ 1-2 (85-100 วัน) โรคใบจุด, โรคใบไหม้, โรคเหี่ยว, โรคไวรัส, รากปม, เพลี้ยไฟ, แมลงหวี่ขาว, หนอนเจาะผล, หนอนเจาะผล, หนอนชอนใบ


ระยะเก็บเกี่ยวผล ชุดที่ 3-4 (115-130 วันขึ้นไป) โรคใบจุด, โรคใบไหม้, โรคเหี่ยว, โรคไวรัส, รากปม, เพลี้ยไฟ, แมลงหวี่ขาว, หนอนเจาะผล, หนอนเจาะผล, หนอนชอนใบ

ที่มา  :  ไม่ระบุ



มะเขือเทศดอยคำ 

มะเขือเทศดอยคำ
หรือมะเขือรับประทานสดลูกโต มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Lycopersicon esculentum มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบชายฝั่ง ทะเลตะวันตกของทวีป อเมริกาใต้แถบประเทศเปรู ชิลี และอีเควเตอร์ เป็นพืชในตระกูลเดียวกับพรก ยาสูบ มันฝรั่ง มีลำต้นและระบบกิ่งก้านที่แตกแขนง สลับกันเป็นจำนวนมาก ลำต้นอ่อนมีขน ปกคลุม ลำต้นแก่มีลักษณะเป็นเหลี่ยม ในระยะแรกของการเจริญเติบโต ลำต้นตั้งตรงใน ระยะหนึ่ง ต่อมาเมื่อลำต้นสูง 1-2 ฟุต จะทอดไปในแนวราบ ใบ เป็นใบประกอบเจริญ สลับกัน มีขนอ่อนขึ้นบนใบและมีต่อมสารระเหยที่ขน เมื่อถูกรบกวนจะปลดปล่อยสาร ที่มีกลิ่นออกมา สายพันธุ์ส่วนใหญ่ขอบใบหยัก ระบบรากมะเขือเทศเป็นระบบรากแก้ว เจริญเติบโตได้เร็ว ดอกมะเขือเทศเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกมะเขือเทศจะอยู่สลับกันใน ช่อ ช่อดอกสามารถแตกกิ่งได้มากกว่าสองกิ่ง และการเจริญเติบโต ของกิ่งจะดำเนิน ต่อไป จนกระทั่งดอกช่อแรกบาน การเพิ่มจำนวนช่อดอกจะทำได้ โดยการใช้อุณหภูมิต่ำ มะเขือเทศส่วนใหญ่ผสมตัวเอ ผลเป็นแบบ berry จะมีรูปร่างลักษณะ เช่น กลม กลมแป้น กลมยาว หรือเป็นเหลี่ยม ผิวของมะเขือเทศจะไม่มีสีผิว ส่วนผลสีชมพู หรือเหลืองเกิด จากเนื้อผล


สภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

อุณหภูมิ
การปลูกมะเขือเทศดอยคำในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน จะให้ผลผลิตและคุณภาพที่แตกต่างกัน โดยผลผลิตจะลงลงเมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้น อุณหภูมิต่ำกว่า 12.8′C และสูงกว่า 32.2′C ละอองเกสรจะเป็นหมันไม่สามารถงอกท่อละอองเกสรลงไปผสมไข่ในรังได้ อุณหภูมิที่ เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 15-25′C


ช่วงแสง
ทีเหมาะสมสำหรับการเจริญ และผลผลิตมะเขือเทศดอยคำอยู่ระหว่าง 8-16 ชั่วโมงต่อวัน ในช่วงแสงไม่เกิน 12 ชั่วโมงต่อวัีน ช่อดอกจะเจริญเติบโต และติดผลเร็ว คุณภาพแสงสีน้ำเงินจะช่วยให้ มะเขือเทศ มีข้อสั้นกว่าสีแดง


ดิน
มะเขือเทศดอยคำสามารถเจริญได้ดีในดินที่ร่วนซุย มีหน้าดินลึก ระบายน้ำได้ดี มีอินทรีย์วัตถุสูง pH 6.0-6.5


การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร

มะเขือเทศดอยคำ เป็นมะเขือเทศรับประทานสด มีรสเปรี้ยวอมหวานเล็กน้อย เนื้อเนียนฉ่ำ รสชาติกลมกล่อม เป็นแหล่งของคาโรนีนอยด์ และโปแทสเซียม อุดมด้วยวิตามินและวิตามินอี

การปฏิบัติดูแลรักษามะเขือเทศดอยคำในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต

การเตรียมดิน ขุดดินตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เก็บวัชพืชออกให้หมด ย่อยดินแล้วใส่ปูนขาวคลุกเคล้า ร่วมกับปุ๋ยคอกอัตรา 1 กก./ตร.ม. และปุ๋ยสูตร 0-4-0 อัตรา 100 กรัม/ตร.ม. ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ควรใส่โดโลไมท์ อัตรา 100-150 กรัม/ตร.ม.


การเตรียมกล้า
เพาะกล้าในถาดหลุมโดยหยอดเมล็ดลงในถาดหลุมที่มีดินผสม ปุ๋ยหมัก : แกลบ : ทรายละเอียด อัตรา 3:1:1


การปลูก
ทำแปลงกว้าง 1 ม. เว้นร่องน้ำ 70 ซม. ระยะห่างระหว่างหลุม 40-50 ซม. เวลาปลูกรองพื้นด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กรัม/ตร.ม. ผสมคลุกเคล้ากน แล้วย้ายกล้ามาปลูกกลบดินรดน้ำให้ชุ่มพอสมควร


การให้น้ำและปุ๋ย ควรให้ปุ๋ยพร้อมน้ำระบบ Fertigation ในอัตราดังนี้

  • ระยะที่ 1 ปุ๋ย 46-0-0 1 ส่วนน้ำหนัก
    ปุ๋ย 20-20-20 1.2 ส่วนน้ำหนัก
    หรือ สูตรใกล้เคียง อัตราใช้ 0.25-1 กรัม/ตร.ม./วัน
  • ระยะที่ 2 ปุ๋ยสูตร 46-0-0 1 ส่วนน้ำหนัก
    ปุ๋ย 20-20-20 1.2 ส่วนน้ำหนัก
    หรือ ปุ๋ย 20-10-30 หรือปุ๋ยสูตรใกล้เคียง อัตรา 1-3 กรัม/ตร.ม./วัน
  • ระยะที่ 3 ปุ๋ย 0-0-51 1 ส่วนน้ำหนัก
    ปุ๋ย 20-10-35 5 ส่วนน้ำหนัก
    หรือปุ๋ย 20-10-30 หรือปุ๋ยสูตรใกล้เคียง อัตรา 1-3 กรัม/ตร.ม./วัน

การเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยวในระยะที่เริ่มเปลี่ยนสี 30 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ผิวทั้งหมด


โรคและแมลงศัตรูที่สำคัุญของมะเขือเทศดอยคำในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต

ระยะกล้า 25 วัน โรคใบไหม้, โรคเหี่ยว, โรคไวรัส, โรครากปม, เพลี้ยไฟ, แมลงหวี่ขาว, หนอนชอนใบ,

ระยะติดดอก 55 วัน โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรคใบไหม้, โรคเหี่ยว, โรคไวรัส, โรครากปม, เพลี้ยไฟ, แมลงหวี่ขาว, หนอนชอนใบ,

ระยะติดผล 55-85 วัน โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรคใบไหม้, โรคเหี่ยว, โรคไวรัส, โรครากปม, เพลี้ยไฟ, แมลงหวี่ขาว, หนอนเจาะผล, หนอนชอนใบ,

ระยะเก็บเกี่ยว 85 วันขึ้นไป โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรคใบไหม้, โรคเหี่ยว, โรคไวรัส, โรครากปม, เพลี้ยไฟ, แมลงหวี่ขาว, หนอนเจาะผล, หนอนชอนใบ,


ที่มา  :  ไม่ระบุ



นักวิทย์เมืองผู้ดีทำ "มะเขือเทศสีม่วง" อาหารเสริมสุขภาพป้องกันมะเร็ง


ทีมนักวิจัยอังกฤษประสบผลสำเร็จ ในการตัดต่อยีน สร้าง "มะเขือเทศสีม่วง" ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันสารพัดโรค โดยเฉพาะมะเร็ง หวังใช้เป็นทางออกให้กับคนที่ไม่ค่อยกินผักผลไม้
       
       เอเอฟพีรายงานว่า ทีมนักวิจัยจากจอห์น อินนส์ เซ็นเตอร์ (
John Innes Centre) เมืองนอร์วิช สหราชอาณาจักร ใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม นำยีนสร้างสารสีม่วงแดงจากดอกไม้ใส่ให้มะเขือเทศ ได้เป็น "มะเขือเทศสีม่วง" (purple tomato) หวังพัฒนาเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ โดยได้รายงานผลสำเร็จลงในวารสารเนเจอร์ ไบโอเทคโนโลจี (Nature Biotechnology) เมื่อวันที่ 26 ต.ค. ที่ผ่านมา
       
       เคธี มาร์ติน (Cathie Martin) นักวิจัย เปิดเผยว่า จุดประสงค์ที่สร้างมะเขือเทศสีม่วงนี้ขึ้นมาก็เพื่อเพิ่มคุณประโยชน์ให้กับมะเขือเทศ ให้มะเขือเทศนี้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาการบริโภคผักผลไม้ไม่เพียงพอในแต่ละวัน ซึ่งเมื่อกว่า 20 ปีก่อน สหรัฐฯ รณรงค์ให้ประชาชนบริโภคผักผลไม้ไม่ต่ำกว่า 5 ส่วนทุกๆ วัน
       
       ทว่าในช่วง 10 ปีมานี้ คนอเมริกันที่กินผักผลไม้ได้ปริมาณที่เหมาะสมตามนั้น มีจำนวนลดลงเหลืออยู่เพียงไม่ถึง 1 ใน 4 เท่านั้น และความล้มเหลวนี้ทำให้ต้องหันมาพัฒนาอาหารที่บริโภคกันเป็นประจำ ให้มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในปริมาณมากขึ้น โดยเฉพาะที่คนส่วนใหญ่บริโภคกันมากอยู่แล้วอย่างมะเขือเทศ
       
       นักวิจัยจึงทดลองทำมะเขือเทศดัดแปรพันธุกรรม โดยนำยีน 2 ยีน จากดอกสแนปดรากอน (snapdragon flower) หรือ แอนเทอร์รินัม เมจัส (Antirrhinum majus) มาใส่เข้าไปในจีโนมของมะเขือเทศ เพื่อให้มะเขือเทศสร้างสารแอนโทไซยานิน (anthocyanin) ที่มีฤทธิ์ด้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี
       
       แอนโทไซยานินเป็นสารที่ให้สีม่วง พบมากในผลไม้จำพวกเบอร์รี เช่น แบล็คเบอร์รี แครนเบอร์รี โดยการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าแอนโทไซยานินสามารถช่วยต้านมะเร็ง โรคหัวใจ โรคต่างๆ ที่เกิดจากการเสื่อมประสิทธิภาพของเซลล์หรืออวัยวะในร่างกาย รวมถึงช่วยป้องกันโรคอ้วน และเบาหวานด้วย
       
       จากนั้นนักวิจัยทดสอบประสิทธิภาพของมะเขือเทศดังกล่าว โดยนำไปเลี้ยงหนูทดลองที่ตัดต่อพันธุกรรมให้เป็นมะเร็ง พบว่ามะเขือเทศที่อุดมด้วยสารแอนโทไซยานินนี้ช่วยให้หนูกลุ่มนี้มีชีวิตยืนยาวขึ้นเป็น 182 วัน ขณะที่หนูตัดต่อพันธุกรรมแบบเดียวกัน แต่ถูกเลี้ยงด้วยอาหารตามปรกติ มีชีวิตอยู่ได้ 142 วันเท่านั้น
       
       ทั้งนี้ การทดลองดังกล่าวยังคงเป็นการทดลองในเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งนักวิจัยจะต้องเก็บข้อมูลการทดลองระดับพรีคลินิกต่อไปอีก แล้วจึงจะทดสอบในคนต่อไป หากมีการสนับสนุนให้นำไปใช้เป็นอาหารเสริมสุขภาพในทางการแพทย์ โดยจะเลือกทดสอบในอาสาสมัครที่เห็นด้วยกับงานวิจัยนี้
       
       อย่างไรก็ตาม นอกจากมะเขือเทศจีเอ็มโอที่มีสารแอนโทไซยานินสูงแล้ว ก่อนหน้านี้มีนักวิจัยเคยใช้หลักการเดียวกันนี้เพื่อสร้างอาหารสุขภาพมาบ้างแล้ว เช่น ข้าวสีทอง (golden rice) และกล้วยจีเอ็มโอที่มีวิตามินเอสูง แต่ยังไม่มีอาหารเพื่อสุขภาพที่เกิดจากการดัดแปรพันธุกรรมชนิดใดจำหน่ายเชิงพาณิชย์เลย

ที่มา  :  ผู้จัดการ





หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©