-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 564 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม




หน้า: 1/2




มะกรูด

1.พันธุ์ พันธุ์ของมะกรูดแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ มะกรูดพันธุ์พื้นเมืองที่มีมานานแล้ว ลักษณะผลจะเป็นผลใหญ่ ผิวขรุ
ขระ และพันธุ์ที่มีลักษณะผลผิวไม่ขรุขระ ผลจะเล็กกว่าพันธุ์พื้นเมือง


2. การเตรียมดิน
การปลูกมะกรูดต้องมีการเตรียมดินเหมือนพืชไม้ผลทั่วๆ ไป เพราะเป็นพื้นอายุยืนอยู่ได้หลายปี
โดยเริ่มจากการไถดิน ไถดะ และไถแปร ชักร่องปล่อยน้ำ ขนาดความกว้างของร่อง 2.5-3 เมตร ขุดหลุมกว้าง x
ยาว x ลึก ประมาณ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา
100 กรัมต่อหลุม หรือหากจะปลูกแบบไม่ต้องยกร่องหลังจากเตรียมดินแล้วใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.5-3 เมตร
ระหว่างแถว 2.5-3 เมตร ขนาดหลุม และทำการใส่ปุ๋ยเหมือนกัน รดน้ำให้ชุ่มก่อนปลูก


3. การเตรียมกิ่งหรือต้นพันธุ์
ที่นิยมสามารถเตรียมได้ 2 วิธี คือ การตอนโดยการตอนกิ่งพันธุ์ และนำมาชำในถุง
ชำเพื่อให้กิ่งแข็งแรง ข้อดี คือ ให้ผลผลิตเร็ว ข้อเสีย คือไม่ทนต่อลม และขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ข้อดี คือ จะ
อยู่ได้นานไม่ล้มง่ายเพราะมีรากแก้ว แต่ข้อเสีย จะมีอายุหลายปีกว่าจะผลผลิต และสามารถตัดกิ่ง และใบขายได้


4. การปลูก
การปลูกมะกรูดหลังจากเตรียมดิน ขุดหลุมแล้วรดน้ำให้ชุ่ม นำกิ่งพันธุ์ หรือต้นพันธุ์ วางกลางหลุมที่คลุก
เคล้าปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีแล้ว ใช้ดินกลบให้มิดราก และเสมอขอบหลุม ปักไม้มัดเชือกยึดกันล้ม รดน้ำให้ชุ่ม


5. การให้น้ำ
เกษตรกรที่ปลูกมะกรูดเป็นการค้า จะให้น้ำแบบน้ำหยด แบบปล่อยไปตามร่อง แบบลากสายยางรด
แล้วแต่วิธีการปลูก แต่จะเน้นการให้น้ำในฤดูแล้ง หลังจากมะกรูดตั้งตัวดีแล้วน้ำควรเว้นได้ตามความเหมาะสม เพราะมะ
กรูดเป้นพืชทนแล้งได้ดี


6. การใส่ปุ๋ย
เมื่อปลูกมะกรูดอายุได้ประมาณ 1 เดือน ทำการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตราหลุมละ 200
กรัมต่อหลุมโรยรอบๆ โคน และเพิ่มปริมาณแต่ละปี ส่วนปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักจะใส่ปีละ 2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 15
กิโลกรัมต่อหลุม


7. การเก็บเกี่ยว
เกษตรกรที่ปลูกมะกรูดเป็นการค้า และทำการตัดกิ่งและใบขาย เริ่มเก็บได้เมื่อมะกรูดอายุ 2-3 ปี
และจะตัดโดยรักษาทรงพุ่มไปเรื่อยๆ ส่วนรายที่ต้องการเก็บผลขาย จะเริ่มเก็บเมื่อมะกรูดมีอายุ 3-4 ปีขึ้นไป


8. โรค
มะกรูดไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค


9. แมลง
ที่สำคัญ คือ หนอนชอนใบ หนอนแก้ว หนอนม้วนใบ เพลี้ยไฟ ป้องกันกำจัดโดยการพ่นสารเคมี อะมาเม็ก
ติน พอส์ซ ไซเปอร์เมทริน


ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร



**********************************************************************************************************************************************


มะกรูด

      ลักษณะทางธรรมชาติ

    * เป็นไม้ยืนต้นอายุยืนหลายสิบปี  ปลูกได้ทุกภาค ทุกพื้นที่ และทุกฤดูกาล ทรงพุ่มขนาด
เล็กถึงกลาง  ไม่ผลัดใบ ปลูกง่ายโตเร็ว เจริญง่ายเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตเมื่ออายุ 2-3 ปีหลังปลูก
ชอบดินดำร่วนที่มีอินทรีย์วัตถุมากๆ  ระบายน้ำดี  ทนแล้งแต่ไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังค้างนาน
    * มะกรูดที่ปลูกจากเพาะเมล็ดโตช้า  เมื่อโตขึ้นจะมีหนามจำนวนมาก  แข็ง  และยาว
    * ปลูกเพื่อบริโภคผลปฏิบัติบำรุงด้วยขั้นตอนการบำรุงไม้ผล  จัดระยะห่างเหมือนส้มหรือ
มะนาว(ระยะปกติหรือระยะชิด)    
               
    * ปลูกเพื่อบริโภคใบให้บำรุงแบบไม้ใบทั่วไป จัดระยะปลูกแบบระยะชิด 1 ตร.ว./1 ต้น
เนื้อที่  1 ไร่ปลูกได้ 400 ต้น
                
    * ตอบสนองต่อปุ๋ยน้ำชีวภาพ  ยิบซั่มธรรมชาติ  กระดูกป่นที่ให้ทางรากดีมาก  และตอบ
สนองต่อฮอร์โมนธรรมชาติที่ให้ทางใบดีมาก....ไม่ควรให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่มีกากน้ำตาลเป็นส่วนผสม
ทางใบเพราะจะรัดลูกทำให้ผลเล็กและอาจจะเรียกเชื้อรา (มีราโนส)เข้าต้นได้
    * ให้ผลผลิตตลอดปีแบบไม่มีรุ่น เป็นดอกสมบูรณ์เพศผสมตัวเองหรือผสมต่างต้นต่างดอกได้
  
  * เป็นไม้ผลที่ใช้ผลเพื่อทั้งปรุงอาหารคาวและของหวาน
           
    * การใช้มะกรูด (เพาะเมล็ด) เป็นตอเปลี่ยนยอดเป็นส้ม (เขียวหวาน – โชกุน)  เทคนิคนี้
จะทำให้ต้นส้มที่มาเสียบให้ผลผลิตดีมากในช่วง 3-5 ปีแรก  เมื่ออายุต้นมากขึ้น  ส่วนตอมะกรูด
จะมีขนาดใหญ่กว่าส่วนลำต้นส้มที่นำมาเสียบ เรียกว่า  “ตีนช้าง”  และเมื่ออานยุต้นมากขึ้นอีก 
ส่วนตอ (มะกรูด) จะไม่ส่งสารอาหารไปเลี้ยงลำต้น (ส้ม) แต่จะพยายามแตกยอดของตัวเอง 
เมื่อส่วนลำต้นไม่ได้รับสารอาหารก็จะให้ผลผลิตลดลงเรื่อยๆ  แล้วตายไปในที่สุด
    * มะกรูดเป็นพืชตระกูลส้มที่ต้องการแม็กเนเซียม.และสังกะสี.เป็นหลัก  การให้ฮอร์โมนน้ำ
ดำ.เดือนละ 1 ครั้ง  จะช่วยบำรุงต้นให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ
   
                
      สายพันธุ์
               
      มะกรูดเปรี้ยวพันธุ์พื้นเมือง. มะกรูดหวาน (จืด).
 
               

      ขยายพันธุ์
               
      ตอน (ดีที่สุด). เพราะเมล็ด ไม่กลายพันธุ์). เพาะเมล็ดเสริมรากเสียบยอด(ดีที่สุด).

  
    เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ  
               
    - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี)ปีละ 2 ครั้ง
  
  - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง
               
    - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง  
               
    - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
                
      หมายเหตุ :
                
    - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขต
ทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อ
เนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน  
               
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตก
ใบอ่อน ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่ และการให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยแพร่ระบาด
ของเชื้อราได้  
                
  
 - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพ
ความสมบูรณ์สูง
 
               

      เตรียมต้น
               
      ตัดแต่งกิ่ง :
               
    - มะกรูดออกดอกจากซอกใบปลายยอดของกิ่งแตกใหม่อายุข้ามปี การตัดแต่งกิ่งประจำปีหรือ
หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ตัดเฉพาะกิ่งที่ออกดอกติดผลแล้วเพื่อสร้างใบใหม่ สำหรับให้ออกดอกติดผล
ในปีต่อไป ส่วนกิ่งที่ไม่ออกดอกติดผลในปีนี้ให้คงไว้แล้วบำรุงต่อไปสำหรับเอาดอกผลในรุ่นปีถัดไป
    - ตัดกิ่งบังแสงแดดต่อกิ่งอื่นออก ทำให้ทรงพุ่มโปร่งจนแสงแดดส่องได้ถึงทุกกิ่งทั่วภายในทรง
พุ่ม  กิ่งที่ได้รับแสงแดดจะสมบูรณ์ดีกว่ากิ่งที่ไม่ได้รับแสงแดดหรือได้รับแสงแดดน้อย
    - ตัดกิ่งกระโดง  กิ่งในทรงพุ่ม  กิ่งคดงอ  กิ่งชี้ลง  กิ่งไขว้  กิ่งหางหนู  กิ่งเป็นโรค
และกิ่งที่ออกดอกติดผลแล้วเพื่อเรียกยอดใหม่สำหรับออดอกติดผลในรุ่นปีต่อไป  การตัดแต่งกิ่งภาย
ในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้            
       
    - ตัดแต่งกิ่งปกติควรตัดให้เหลือใบประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์และเมื่อใบอ่อนชุดใหม่ออกมาแล้ว
ให้มีใบประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์จะช่วยให้การผลิดอกติดผลดี
               
    - ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ  นอกจากช่วยทำให้แสงแดด
ผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี
และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย
               
     - ลักษณะทรงพุ่มที่ดี ลำต้นควรมีลำเปล้าเดี่ยวๆหรือกิ่งง่ามแรกสูงจากพื้น 1-1.20 ม.
ความสูง 3-5 ม. กว้าง 3-4 ม. มีกิ่งประธาน 3-5 กิ่งแผ่กระจายออกรอบทิศ
  
     ตัดแต่งราก :
               
     - มะกรูดเป็นพืชรากลอยไม่ควรตัดแต่งรากแต่หากต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพใน
การหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากโดยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
     - ต้นอายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน
4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกราก
ใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม
 
 


         
                
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อมะกรูดกินผล       

     1.เรียกใบอ่อน
               
       ทางใบ :    
               
     - ให้น้ำ 100 ล.+ 46-0-0(400 กรัม)หรือ 25-5-5(400 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง
+ จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่น
พอเปียกใบ  ทุก 5-7 วัน  ต่อการเรียกใบอ่อน 1 รุ่น 
               
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน  
               
       ทางราก :
               
     - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
 
    - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
               
       หมายเหตุ :
                
     - เริ่มลงมือปฏิบัติทันทีหลังจากตัดแต่งกิ่ง
               
     - หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วันถ้าต้นใดแตกใบอ่อนดีน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีด
พ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม 
               
     - ถ้ามีการตัดแต่งรากด้วยแล้วให้ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีส่วนผสมของรำละเอียดด้วย จะช่วย
ให้แตกรากใหม่เร็วและดี
               
     - รักษาใบอ่อนที่แตกใหม่ให้รอดพ้นจากโรคและแมลงให้ได้  ถ้าใบอ่อนชุดหนึ่งชุดใดถูก
ทำลายไปจะต้องเริ่มเรียกใบชุดที่หนึ่งใหม่ทำให้เสียเวลา
       

    2.สะสมอาหารเพื่อการออกดอก           
               
      ทางใบ :
           
    - ในรอบ 7-10 วัน ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(400 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม
100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน ติดต่อ
กัน 2-3 รอบแล้วให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.สลับ 1
รอบ  ฉีดพ่นพอเปียกใบติดต่อกัน 1-2  เดือน จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่
  
  - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
               
      ทางราก :
               
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-2
กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน 
                
    - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
               
      หมายเหตุ :
                
    - เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
               
    - ปริมาณ 8-24-24 หรือ 9-26-26 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่
ผ่านมา กล่าวคือ ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น 
แต่ถ้ารุ่นปีที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง
         
    - การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น  หมายถึง  การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น  เช่น 
จากเคยให้ 15 วัน/ครั้งก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง   
                
    - แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง
2 เดือน ในห้วง 2 เดือนนี้ให้กลูโคสผงหรือนมสัตว์สด 2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลงมือบำรุงและ
ให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน 
                
        

    3.ปรับ ซี/เอ็น เรโช     
                  
      ทางใบ :                 
                
    - ในรอบ 7 วัน ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(400 กรัม)+ ธาตุรอ/ธาตุเสริม 100 ซี
ซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1 รอบกับให้น้ำ 100 ล.
+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. อีก 1รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ระวังอย่า
ให้โชกจนตกลงถึงพื้น  
               
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
 
               
      ทางราก :
               
    - เปิดหน้าดินโคนต้นโดยการนำอินทรียวัตถุคลุมโคนต้นออกให้แดดส่องได้ทั่วพื้นดินทรงพุ่ม
    - งดให้น้ำเด็ดขาด   
               
      หมายเหตุ :
               
    - วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม”  ปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และ “ลด”
ปริมาณ เอ็น.(อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น)ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกแน่นอนหลังการเปิดตาดอก
    - การให้สารอาหารทางใบซึ่งมีน้ำเป็นส่วนผสมนั้น  อย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้นเพราะจะกลาย
เป็นการให้น้ำทางราก  แนวทางปฏิบัติ คือ ให้บางๆเพียงเปียกใบเท่านั้น
               
    - เมื่องดน้ำ (ไม่รดน้ำ) แล้วจำเป็นต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไปโดย
การทำร่องระบายน้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย
                
        

    4.เปิดตาดอก   
               
      ทางใบ :
               
      สูตร 1
.....น้ำ 100 ล.+ ไธโอยูเรีย(500-1,000 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม
100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
               
      สูตร 2.....น้ำ 100 ล.+ 0-52-34(500 กรัม)+ สาหร่ายทะเล 50 กรัม +
ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
  
    เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่ง
                
      ทางราก :
               
    - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเหมือนช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช
               
    - ให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง(1/2-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
                
    - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
               
      หมายเหตุ :
               
    - เริ่มปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกดีทั่วต้นและสภาพอากาศพร้อม
          
    - ระหว่างสูตร 1 และ 2 ให้เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งเพียงสูตรเดียว สลับกับสูตร 3 โดยให้
ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน ไม่ควรใช้สูตรใดสูตรหนึ่งเพียงสูตรเดียวติดต่อกันเพราะจะทำให้เกิดอาการดื้อ
จนเปิดตาดอกไม่ออก
                
    - หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ สาเหตุมาจากตั้งแต่ช่วงเรียกใบอ่อนแล้ว
ใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก
1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ
 
      

    5.บำรุงดอก   
               
      ทางใบ :
               
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 10-45-10(400 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็น
เอเอ.100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียก 
ระวังอย่าให้โชกจนลงถึงพื้น
               
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน  
               
      ทางราก :
               
    - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
               
    - ให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
    - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
               
      หมายเหตุ :
                
    - ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูม  บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1
รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้
เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล
    - ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน.1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี
               
    - ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงไปจนถึง
ช่วงดอกบาน
                
    - ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.)
เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้  หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วง
หลังค่ำ
               
    - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น  “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน”  โดยให้เมื่อดอกออกมา
แล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก  ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหาร
อื่นๆก็ได้
               
    - การไม่ใช้สารเคมีใดๆเลยติดต่อกันมานาน จะทำให้ให้มีผึ้งและมีแมลงธรรมชาติอื่นๆเข้ามา
ช่วยผสมเกสรส่งผลให้กระท้อนติดผลดกขึ้น
               
    - ช่วงออกดอกต้องการน้ำสม่ำเสมอจะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ดีขึ้น ช่วงนี้ถ้าขาดน้ำหรือได้น้ำไม่พอ

เพียงดอกจะแห้งและร่วง    
        

    6.บำรุงผลเล็ก
               
      ทางใบ : 
               
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(400 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคล
เซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 7-10 วัน
  
  - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
               
      ทางราก :
               
    - นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม  
               
    - ใส่ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
 
   - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
    - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
               
      หมายเหตุ :               
               
    - เริ่มปฏิบัติหลังจากกลีบดอกร่วง  หรือขนาดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว
        
    - ให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ช่วยบำรุงขั้วเหนียว และเตรียมผลให้พร้อมก่อนเป็นผลใหญ่
คุณภาพดี
 
      

   7. บำรุงผลกลาง    
               
      ทางใบ :
                
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(400 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ ไคโต
ซาน 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10
วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
               
      ทางราก :
               
    - ให้ น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14(1/2-1 กก)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./
ครั้ง/เดือน
  
  - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
               
      หมายเหตุ :
               
    - ให้มูลค้างคาว 1-2 กำมือ/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. โดยละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณชายพุ่ม
1 รอบ จะช่วยบำรุงเมล็ดให้มีขนาดใหญ่และคุณภาพดีขึ้น
                
   
- ถ้าติดผลดกมากควรให้ ฮอร์โมนน้ำดำ. แคลเซียม โบรอน.1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอด
ช่วงผลขนาดกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากแบกภาระเลี้ยงผลจำนวนมากบนต้น
 
     

   8. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว   
               
      ทางใบ :
               
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-21-74(400 กรัม)หรือ 0-0-50(400 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง
+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.หรือ น้ำ 100 ล.+ มูลค้างคาว
สกัด 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ
ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว ด้วยการฉีดพ่นพอเปียกใบ
 
   - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน         
               
      ทางราก :
               
    - เปิดหรือไม่เปิดหน้าดินโคนต้น และนำอินทรีย์วัตถุออกหรือไม่ต้องนำออกก็ได้
    - ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง(1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
               
      หมายเหตุ :
               
    - เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยว 10-20 วัน            
               
    - การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลาย
รุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรม
เหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมต้นต่อการปฏิบัติบำรุงรุ่นปีต่อไปอีกด้วย
                
 


                 
               
การปฏิบัติบำรุงต่อมะกรูดกินใบ      

      1.เรียกใบอ่อน
               
        ทางใบ :    
               
      - ให้น้ำ 100 ล.+ 46-0-0(400 กรัม)หรือ 25-5-5(400 กรัม)สูตรใดสูตร
หนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน
10 กรัม ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  
ฉีดพ่นพอเปียกใบ   ทุก 5-7 วัน  ต่อการเรียกใบอ่อน 1 รุ่น 
               
      - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน  
               
        ทางราก :
               
      - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./
เดือน 
               
      - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
                
        หมายเหตุ :
               
      - เริ่มลงมือปฏิบัติทันทีหลังจากตัดแต่งกิ่ง
               
      - หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วันถ้าต้นใดแตกใบอ่อนดีน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีด
พ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม 
               
      - ถ้ามีการตัดแต่งรากด้วยแล้วให้ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีส่วนผสมของรำละเอียดด้วย จะ
ช่วยให้แตกรากใหม่เร็วและดี
               
      - รักษาใบอ่อนที่แตกใหม่ให้รอดพ้นจากโรคและแมลงให้ได้  ถ้าใบอ่อนชุดจะทำให้เสีย
ราคา
               
      - ปุ๋ยคอกที่เหมาะสำหรับมะกรูดตัดใบ คือ  มูลวัวไล่ทุ่ง 
 
     

    2. บำรุงใบอ่อน - ใบแก่
               
       ทางใบ :
               
     - ให้น้ำ 100 + 0-21-74(400 กรัม)หรือ 0-39-39(400 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง
+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นพอ
เปียกใบ
               
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
               
       ทางราก :
               
     - ให้น้ำตามปกติ  ทุก 2-3 วัน
               
       หมายเหตุ :
               
     - ลงมือปฏิบัติเมื่อใบเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
               
     - การเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่ วัตถุประสงค์เพื่อเก็บเกี่ยว (ตัดใบ) ให้เร็วขึ้น และเพื่อให้รอด
พ้นจากการทำลายของแมลงปากกัดปากดูดที่ชอบกัดกินใบอ่อนพืช
               
       หมายเหตุ :
               
     - ปลูกระยะชิด  4 X 4 ม. หรือ  1 ตร.ว./1 ต้น  เนื้อที่  1 ไร่ได้ 400 ต้น
     
- บำรุงระยะต้นเล็กให้จัดเปล้าสูงตรง  หรือให้กิ่งง่ามแรกสูงจากพื้น 50-80 ซม.  เมื่อ
ต้นโตขึ้นให้จัดระเบียบกิ่งประธานให้มีต้นละ 4-5 กิ่ง  กระจายรอบทิศทาง  ตัดยอดประธาน (ผ่า
กบาล) ให้สูง 2-2.5 ม.เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน
               
     - ระยะต้นโตให้ผลผลิต (ตัดใบ) แล้วตัดกิ่งประธานให้สั้นเหลือความยาว 30-50 ซม.
จากลำต้น (เรียกว่า โจรแขนด้วน)แล้วบำรุงต้นเรียกใบอ่อนตามปกติจะมียอดใหม่แตกออกมาจากตา
ตามกิ่งแขนด้วน ให้เลี้ยงยอดที่แตกออกมาใหม่ต่อกระทั่งเป็นกิ่งโตเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งจะมีความยาว
30-50 ซม. ถึงจังหวะนี้ระยะห่างระหว่างต้นจะเริ่มชิดกันก็ให้ตัดกิ่งพร้อมใบ (เก็บเกี่ยว) ชิดกิ่ง
ประธานอีกครั้ง       
       หลังจาก ตัดกิ่งแล้วระยะห่างระหว่างต้นที่ชิดกันก็จะห่างเหมือนเดิมอีก....ตัด (เก็บ
เกี่ยว)แล้วบำรุงต้นเรียกใบอ่อนจากนั้นบำรุงให้เป็นใบแก่จนเก็บเกี่ยวได้  ทำซ้ำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ
 
     - การจัดแปลงแบบแบ่งพื้นที่ (โซน) แล้ววางแผน  “ตัดแต่งกิ่ง-บำรุงเรียกใบอ่อน-เร่งใบ
อ่อนเป็นใบแก่.....” ให้เป็นวงรอบๆละ 1-1 เดือนครึ่ง ก็จะทำให้มีใบมะกรูดให้ตัดได้ตลอดปี
       
 


ดูรูปประกอบและข้อมูลเพิ่มเติมที่  "กูเกิ้ล - มะกรูด"


********************************************************************************************************




หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©