-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 274 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม




หน้า: 2/2


การปลูกพริกกะเหรี่ยงในประเทศไทย


อาจจะกล่าวได้ว่าพริกกะเหรี่ยงเป็นวัฒนธรรมของคนกะเหรี่ยงก็ว่าได้ ถึงกับมีคำกล่าวว่า “มีข้าว มีพริก มีฟืน ไม่ต้องมีเงิน” ก็อยู่ได้ หลายคนเคยรับประทานก๋วยเตี๋ยวน้ำพริกกะเหรี่ยง แต่ไม่ทราบว่าพริกกะเหรี่ยงคือพริกอะไร


พริกกะเหรี่ยงไม่ใช่พริกขี้หนูสวน ในธรรมชาติพริกขี้หนูสวนจะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีในพื้นที่ปลูกที่ร่ม รำไรในขณะที่พริกกะเหรี่ยงชอบแสงแดดจัดการปลูกพริกกะเหรี่ยงของคนกะเหรี่ยงจะปลูกแบบพืชไร่โดยการเอาเมล็ดพริกผสมกับเมล็ดพืชอื่น ๆ อาทิ เมล็ดฟัก, แฟง, แตง กวา ฯลฯ หว่านในไร่หลังจากที่หยอดเมล็ดข้าวไปแล้วเมล็ดข้าวงอกก่อนและเป็นร่มเงา ให้ต้นกล้าผักซึ่งรวมถึงต้นกล้าพริกด้วย ระหว่างที่รอต้นข้าวให้ผลผลิตชาวกะเหรี่ยงจะได้กินผักชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จต้นพริกกะเหรี่ยงอยู่ในระหว่างออกดอกและติดผลพอดี ชาว  กะเหรี่ยงทยอยเก็บเกี่ยวพริกกะเหรี่ยงได้ต่อเนื่องถึง 5-6 เดือน

ชาวกะเหรี่ยงบอกถึงคุณลักษณะที่เด่นเฉพาะตัวของพริกกะเหรี่ยงดังนี้ “ต้องปลายแหลม ก้นโต สีส้มจัด (ไม่แดงคล้ำ) เผ็ดแต่ไม่แสบลิ้นและมีกลิ่นหอม” พริกกะเหรี่ยงว่ามีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม มีลำต้นใหญ่ การแตกแขนงดี สามารถเก็บผลผลิตติดต่อกันได้ระยะเวลานาน นิยมแปรรูปเป็นพริกแห้งโดยใช้พริกกะเหรี่ยงสด 3 กิโลกรัม เมื่อเป็นพริกแห้งได้น้ำหนักเฉลี่ย 1-1.3 กิโลกรัม ปัจจุบันโรงงานที่ผลิตซอสพริกนิยมนำเอาพริกกะเหรี่ยงแห้งไปปั่นผสมกับพริกหนุ่มเขียวเพื่อเพิ่มความเผ็ดและมีกลิ่นหอม


ผศ.ดร.จานุลักษณ์ ขนบดี จากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดลำปาง ได้กล่าวว่า การปลูกพริกกะเหรี่ยงของเกษตรกรในเขตพื้นที่ ต.คีรีราษฎร์ อ.พบพระ จ.ตาก ส่วนใหญ่เกษตรกรจะปลูกพริกกะเหรี่ยงแซมหรือปลูกหมุนเวียนร่วมกับพืชชนิดอื่น ๆ เช่น ข้าวโพด และมันสำปะหลัง เป็นต้น

โดยสามารถปลูกพริกได้เพียงละ 1 ครั้งเท่านั้น ศักยภาพในการผลิตพริกกะเหรี่ยงของเกษตรกรในเขต ต.คีรีราษฎร์ สามารถผลิตพริกได้เฉลี่ยเพียง 200-300 กิโลกรัมต่อไร่เท่านั้น ผลผลิตออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม มีผลผลิตออกในแต่ละปีเฉลี่ยวันละ 200,000 กิโลกรัม จากการดำเนินงานนักวิจัยได้รวบรวมพันธุ์พริกพื้นเมืองจนได้พริกสายพันธุ์ดี 14 สายพันธุ์

หลังจากนั้นทำการทดสอบและประเมินพันธุ์โดยนักวิจัยและภาคเอกชน ผลสำเร็จที่ได้ คือ “พริกพันธุ์คีรีราษฎร์ 1” ที่สามารถปรับตัวได้ดีในพื้นที่ และให้ผลผลิตสูงมากกว่า 1.5 ตันต่อไร่ และได้ส่งเมล็ดพันธุ์ให้เกษตรกรนำไปเพาะและเพิ่มจำนวนเมล็ดพันธุ์เพื่อการ ผลิตและจำหน่ายเป็นพริกพันธุ์การค้าในระยะต่อไป.



ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 23 กรกฎาคม 2553

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=568&contentID=79905





พริกปลอดภัยที่ชัยภูมิ

คมชัดลึก : เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมแปลงปลูกพริกของเกษตรกรที่ อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ ซึ่งเป็นเกษตรกรที่ร่วมในโครงการการขยายและการพัฒนาเครือข่ายการจัดการห่วง โซ่อุปทานพริกสดปลอดภัย ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สนับสนุนอยู่ โดยมี อาจารย์วีระ ภาคอุทัย  จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นหัวหน้าโครงการ เบื้องต้นมีการวิเคราะห์หารูปแบบการจัดการผลผลิต สร้างเครือข่าย และกำหนดช่องทางตลาดที่เหมาะสม แล้วถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพริกปลอดภัยภายใต้ระบบปลอดภัย หรือจีเอพี เพื่อยกระดับผลผลิตทั้งด้านปริมาณและคุณภาพจนถึงขั้นสามารถส่งออก ที่สำคัญคือ ลงมือร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่โดยการปฏิบัติจริง ผลก็คือ ช่วงแรกๆ ที่เริ่มโครงการมีเกษตรกรเข้าร่วมไม่กี่ราย แต่ว่าวันนี้เพิ่มขึ้นอย่างมาก เพราะว่าเมื่อเห็นผลที่ได้จากการปฏิบัติดังกล่าวแล้ว ดีกว่าเดิมอย่างมาก

การปลูกพริกของที่นี่เป็นการปลูกหลังนา จึงมีเวลาพักนาช่วงสั้นๆ ซึ่งเพียงพอที่จะปลูกและเก็บเกี่ยวพริกได้ทัน ที่สำคัญคือ สร้างรายได้ได้มากกว่าการทำนาเสียอีก คำแนะนำของนักวิจัยคือ ควรปลูกคนละไม่เกิน 1.5 ไร่ เพราะหากมากกว่านี้จะมีปัญหาเรื่องการดูแลและการเก็บเกี่ยว จากที่ได้ไปเยี่ยมชมมาปรากฏว่าในพื้นที่ 1 ไร่ สามารถเก็บพริกได้ประมาณ 2 ตัน ถ้าราคาขายกิโลกรัมละ 30 บาท ก็จะได้ไร่ละ 6 หมื่นบาท ภายในเวลา 4-5 เดือน


แต่ว่าวันนี้ราคาพริกเพิ่มขึ้นไปบางครั้งถึง 40 บาท ซึ่งก็จะได้เงินมากถึง 8 หมื่นบาท จึงไม่แปลกใจเลยว่า ตอนที่ไปพบเกษตรกรแต่ละคนนั้น ทำไมถึงได้หน้าตายิ้มแย้มสบายใจกันทุกคน คราวนี้บางคนปลูกมากกว่า 1.5 ไร่ ตามคำแนะนำที่นักวิจัยบอกไว้ ก็จะพบปัญหาเรื่องขาดแรงงานในการเก็บเกี่ยว จึงต้องเกิดการจ้างงาน โดยค่าเก็บพริกจะตกกิโลกรัมละ 5 บาท และถ้าจะส่งไปขายตลาดสูงหรือตลาดส่งออก ก็จะมีการเด็ดก้านพริกออกก่อน ซึ่งค่าจ้างเด็ดก้านพริกก็จะตกอยู่ที่ 15 บาทต่อ 10 กิโลกรัม ดังนั้นเด็กนักเรียนก็สามารถหารายได้เล็กๆ น้อยๆ จากการเด็ดก้านพริกเป็นค่าขนมได้


ผลของการวิจัยเรื่องนี้ ไม่ได้มีเพียงแค่การสร้างอาชีพหลังนาให้แก่เกษตรกรเท่านั้น แต่ว่าผลกระทบต่อเนื่องจากเรื่องนี้มีมากมายหลายอย่าง ข้อแรกคือ เรื่องความปลอดภัยทั้งของตัวเกษตรกรเองและผู้บริโภค เนื่องจากมีการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่ดีโดยลดการใช้สารเคมี ทำให้ได้พริกที่ปลอดภัยจากสารเคมีจนกระทั่งได้รับการ รับรองและสามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้นกว่าพริกทั่วไป รวมทั้งมีตลาดส่งออกรองรับซึ่งความต้องการของตลาดเหล่านี้สูงมาก


อย่างที่สองคือ การทำให้คนอยู่ติดพื้นที่ เพราะว่าการปลูกพริกต้องมีการเก็บเกี่ยวทุกวัน เหมือนกับการเลี้ยงโคนม ที่ต้องรีดนมทุกวัน ดังนั้นผลที่ตามมาคือ คนทำต้องอยู่กับบ้าน ไม่สามารถทิ้งบ้านไปทำงานต่างถิ่นหรือละทิ้งพื้นที่ไปได้ ผลก็คือครอบครัวอบอุ่น ปัญหาครอบครัวและปัญหาสังคมลดลง สิ่งนี้แม้จะไม่สามารถประเมินเป็นมูลค่าได้ แต่น่าจะเป็นประเด็นสำคัญมากและเป็นพื้นฐานของการสร้างสังคมที่มีความสุข


การเลือกทำพริกเช่นนี้นับว่าเป็นความฉลาดของนักวิจัย อย่างมาก ที่สามารถทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากที่ดินหลังการทำนาให้เป็นประโยชน์ ทำให้เกษตรกรได้ใช้เวลาว่างหลังนาในการประกอบอาชีพแทนที่จะไปใช้เวลาในทาง ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ทำให้คนต้องอยู่ติดพื้นที่ ไม่ออกไปหางานทำในเมือง ซึ่งจะส่งผลต่อสังคมและครอบครัว รวมทั้งทำให้มีรายได้เป็นกอบเป็นกำในช่วงเวลาไม่นานโดยอาศัยแรงงานและการ พึ่งพาตนเองเป็นหลัก เรียกได้ว่ากระสุนนัดเดียวได้นกหลายตัวครับ


รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ


http://soclaimon.wordpress.com/category/%e0%b8%84%e0%b8%a1%e0%b8%8a%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%a5%e0%b8%b6%e0%b8%81/%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%a2%e0%b8%b8%e0%b8%84%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b9%88/





การปลูกพริก


พันธุ์
ในประเทศไทยพันธุ์พริกที่มีปลูก และรู้จักกันทั่วไปอยู่ในพวกล้มลุก มีอยู่ประมาณ 6 ชนิด

1. พริกบางช้าง ขนาดของผลโตกว่าพริกมัน ผลตรงกลมโคนผลใหญ่ ปลายเรียว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร ยาว 10-12 เซนติเมตร ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดงจัด รสไม่สู่เผ็ด มีเนื้อมาก เมล็ดน้อย อบแห้งสีจะแดงดี

2. พริกขี้หนู มีขนาดต่าง ๆ กัน ผลมีขนาดเล็ก ผลสีเขียว หรือเหลือง พันธุ์ทั่ว ๆ ไป ส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ของท้องถิ่นต่าง ๆ ผลแก่จะมีสีแดง มีรสเผ็ดจัด

3. พริกหยวก ผลโตป้อม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร ปลายทู่ไม่เกลี้ยงบุบเป็นร่อง มีเมล็ดในน้อย ใส้ใหญ่ สีเขียวแกมเหลือง ผลแก่สุกแดงเป็นมัน รสไม่สู้เผ็ด หรือเผ็ดน้อย ราคาแพง ปลูกกันน้อยกว่าพริกอย่างอื่น

4. พริกมัน ผลมันเรียบ ผลตรง กลม และเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.6 เซนติเมตร ยาว 6-8 เซนติเมตร มีเมล็ดในมาก เมื่ออ่อนผลจะมีสีเขียวจัด เวลาแก่เป็นสีแดง รสเผ็ด

5. พริกยักษ์ ผลโตป้อม บริเวณรอบ ๆ ข้อผลเป็นรอยบุ๋ม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-8 เซนติเมตร ยาว 10-12 เซนติเมตร มีเมล็ดในน้อย เนื้อผลหนา สีผลเมื่ออ่อนเขียวจัดเป็นมันเวลาแก่สีแดง รสไม่เผ็ด ปลูกได้ดีในช่วงเดือนตุลาคม เก็บเกี่ยวประมาณเดือนธันวาคม จะได้ราคาดี

6. พริกสิงคโปร์ ขนาดผลโต เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 8-12 เซนติเมตร ปลายงอหยิก ผิวไม่เรียบ มุมเป็นร่อง ๆ มีเมล็ดน้อย ผลเมื่ออ่อนมีสีเขียวจัด เวลาแก่เป็นสีแดง มีรสเผ็ด

พริกปลูกได้ตลอดปี ถ้าหากพื้นที่นั่น ๆ มีน้ำอย่างเพียงพอสำหรับพื้นที่ ๆ ไม่อยู่ในเขตชลประทาน จะปลูกพริกกันในช่วงฤดูฝนจะเริ่มเพาะกล้าประมาณเดือนมีนาคม - เมษายน และจะย้ายปลูกในเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน แต่ถ้าจะปลูกให้ได้ราคาดีที่สุดควรจะปลูกในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ เพราะพริกสดจะมีราคาสูงสุดในช่วงเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม พบว่า พริกที่ปลูกในหน้าแล้ง คือ ตั้งแต่เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน จะให้ผลเร็วกว่าพวกที่ปลูกในหน้าฝน คือ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพริกได้แก่ดินร่วนปนทรายมีความอุดมสมบูรณ์ดี การระบายน้ำดี พริกถ้าปลูกในฤดูฝนจะมีปัญหาว่าเป็นโรคเหี่ยว เนื่องจากเชื้อรา และบัคเตรีเข้าทำลาย ควรปลูกพริกหมุนเวียนสลับกับข้าว ถั่ว และพืชอื่น ๆ

การเตรียมดิน
การเตรียมดิน ทำการย้ายปลูก เมื่อกล้าสูงประมาณ 6 นิ้ว เตรียมดินแปลงปลูก โดยไถดะตากดินทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน ไถพรวน 1 ครั้ง หลังจากนั้นใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักให้ทั่วแปลงในอัตรา 3-4 ตัน/ไร่ ใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ หว่านให้ทั่วพื้นที่ปลูก แล้วพรวนกลบเข้ากับดินแล้วจึงเตรียมแปลงปลูก

การเตรียมแปลงปลูก สามารถทำได้หลายแบบ แล้วแต่สภาพของพื้นที่ปลูกดังนี้ คือ
1. ปลูกแบบไม่ยกแปลง เหมาะสำหรับพื้นที่ ๆ มีการระบายน้ำดี ปรับระดับได้สม่ำเสมอ การปลูกแบบนี้อาจปลูกเป็นแถวเดียว ใช้ระยะห่างระหว่างแถว 60-70 ซม. ระหว่างต้น 50 ซม. หรือปลูกเป็นแถวคู่ ระยะระหว่างแถวคู่ 1 เมตร ระหว่างแถว 50 ซม. ระหว่างต้น 50 ซม.

2. ปลูกแบบยกแปลง เหมาะสำหรับพื้นที่ปลูกที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง ระบายน้ำดอกได้ยาก ขนาดแปลงกว้าง 1.50 เมตร ร่องน้ำกว้าง 50 ซม. ลึก 50 ซม. ปลูก 2 แถว บนแปลง โดยมีระยะห่างแถว 0.75-1.00 เมตร ระหว่างต้น 50 ซม. หรือปลูกเป็นแถวคู่ 1 เมตร ระหว่างแถว 50 ซม. ระหว่างต้น 50 ซม.


การปลูก
การปลูก การปลูกพริก อาจเลือกปฏิบัติได้ 3 วิธี ตามความเหมาะสม คือ
1. โดยวิธีการใช้เมล็ดพริกหยอดเมล็ดโดยตรงในหลุม หลุมละ 3-5 เมล็ด เมล็ดพริกหวานเปอร์เซ็นต์ความงอก 80% ใช้เมล็ด 60-90 กรัม/ไร่ นิยมปฎิบัติในแปลงปลูกขนาดใหญ่ และไม่มีแรงงานเพียงพอในการย้ายต้นกล้า จุดอ่อนของการปลูกโดยวิธีนี้คือ ต้นพริกอ่อนแอ อาจจะถูกมดและแมลงอื่น ๆ กัดกินใบ ทำให้สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์ และเสียเวลาในการปลูกซ่อม

2. เพาะเมล็ดพริกให้งอกแล้วนำไปปลูกในหลุม กลบด้วยดินบาง ๆ วิธีเพาะคือ นำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำ แล้วเอาผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ห่อ ทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน เมล็ดจะงอกแล้วนำไปปลูก

3. เพาะเมล็ดในแปลงเพาะก่อน แปลงเพาะกล้าควรใส่ปุ๋ย 15-15-15 ปริมาณ 100 กรัมต่อตารางเมตร คลุกดินลึกประมาณ 5-8 นิ้ว ควรใช้ฟูราดานในการเพาะด้วยเมื่อหว่านเมล็ดแล้วประมาณ 10 วัน เมล็ดเริ่มงอก ถ้ามีต้นหนาแน่น ให้ถอนแยกหลังจากที่ใบจริงคลี่เต็มที่แล้ว 2-3 วัน เมื่อกล้าอายุได้ 18 วัน รดด้วยปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟตละลายน้ำ อัตราส่วน 1 กรัมต่อน้ำ 200 ซีซี. แล้วรดน้ำตามทันที

การเพาะโดยวิธีเพาะโดยเมล็ดธรรมดาที่ยังไม่งอกวิธีนี้ควรคลุกยาป้องกันกำจัดเชื้อราที่อาจติดมากับเมล็ดก่อนนำเมล็ดไปเพาะได้แก่ ออไธไซด์ และในแปลงเพาะควรจะรดด้วยไดโฟลาแทน 80 หรือไดเทน เอ็ม 45 เพื่อป้องกันโรคเน่า เมื่อกล้าสูงประมาณ 6 นิ้ว จึงพร้อมจะย้ายปลูกได้ รวมอายุกล้าในแปลงเพาะสำหรับการเพาะโดยเมล็ดที่งอกแล้วประมาณ 30 วัน และเพาะโดยเมล็ดธรรมดาประมาณ 40 วัน ในบางแห่งปลูกโดยการย้ายกล้า 2 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรง ทนทานและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วขึ้น โดยทำการย้ายกล้าครั้งที่ 1 เมื่อกล้าโตมีใบจริง 2 ใบ ย้ายชำในถุงพลาสติกหรือในแปลงใหม่ให้มีระยะห่าง 10-15 ซม.

ในการย้ายกล้านี้ต้องทำอย่างระมัดระวัง พยายามให้รากติดต้นมากที่สุดก่อนย้ายปลูกในแปลงใหม่ ควรจะรดน้ำแปลงเพาะให้ชุ่ม ทิ้งไว้ 1 ชม. แล้วใช้ไม้หรือปลายมีดพรวนดินให้ร่วน ค่อย ๆ ถอนต้นกล้า อายุในการชำในแปลงใหม่ 15-20 วัน หรือสูงประมาณ 6 นิ้ว จึงย้ายปลูกได้ เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรง ทนทานต่อสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม ทำได้โดยการฉีดพ่นสารละลายของน้ำตาลเข้มขน 10% คือใช้น้ำตาลทราย 10 ส่วน เติมน้ำลงไปอีก 90 ส่วน ฉีดทุก ๆ 3 วัน เป็นเวลา 2 อาทิตย์ก่อนย้ายปลูก ก่อนทำการฉีดสารละลายน้ำตาลทรายนี้ต้องทำให้ใบพริกเปียกน้ำให้ทั่ว เพื่อให้ใบดูดซึมน้ำตาลได้เป็นปริมาณสูง

การบำรุงรักษา
การปฎิบัติบำรุงรักษา พริกเป็นพืชที่ทนแล้งดีกว่าทนน้ำ แต่ในระยะที่พริกเริ่มออกดอก พริกจะต้องการน้ำมากกว่าปกติ พบว่า การให้น้ำที่ไม่เพียงพอ และอากาศแห้งแล้งจะทำให้ดอกอ่อน ดอกบาน และผลอ่อนที่เพิ่งติดร่วงได้ ในสภาพที่อากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 10-15 ซํ. จะทำให้พริกเจริญเติบโตไม่ค่อยดี มีการติดดอกต่ำ และดอกร่วงในที่สุด การให้น้ำควรจะลดลง หรืองดในช่วงที่เริ่มทำการเก็บผลพริก ทั้งนี้เพราะถ้าให้น้ำพริกมากไป จะทำให้ผลมีสีไม่สวย

การให้น้ำ
การให้น้ำ หลังจากปลูกสร้าง ควรให้น้ำดังนี้ - ช่วง 3 วันแรก ให้น้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า ? เย็น - ช่วง 4 วันต่อมา ให้น้ำวันละครั้ง - ช่วงสัปดาห์ที่ 2 ถึงสัปดาห์ที่ 4 ให้น้ำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง - ช่วงสัปดาห์ที่ 5 ถึงสัปดาห์ที่ 7 ให้น้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง - ช่วงสัปดาห์ที่ 7 ไปแล้วให้น้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ การให้น้ำแก่พริกควรให้ตาม สภาพพื้นที่ และดูความชุ่มชื้นของดินประกอบด้วย

การให้ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ย การให้ปุ๋ยพริกขึ้นอยู่กับชนิดและคุณภาพของดินปลูกโดยทั่วไป ปุ๋ยคอก อัตรา 3-4 ตันต่อไร่ ผสมกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ 15-15-15 อัตรา 50 กก.ต่อไร่ รองพื้นก่อนย้ายปลูกและหลังย้ายปลูกแล้ว 1 เดือน จึงใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา 50 กก.ต่อไร่ อีกครั้งหนึ่ง วิธีใส่โดยโรยกึ่งกลางระหว่างแถวปลูกแล้วพรวนกลบ ในระยะนี้เป็นระยะที่พริกเริ่มจะมีตาดอก (แต่ยังไม่ออกดอก) มีความต้องการธาตุอาหารเสริมบ้าง ดังนั้นหลังจากใส่ปุ๋ยแล้ว 1-2 อาทิตย์ ควรฉีดปุ๋ยน้ำ เช่น ไบโฟลาน ให้ทางใบ ซึ่งพริกจะนำไปใช้ได้เร็วขึ้น ปุ๋ยน้ำที่ฉีดให้ทางใบนี้ควรให้ทุกครั้งหลังจากเก็บเกี่ยว โดยฉีดผสมไปกับยาป้องกันกำจัดศัตรูพืช

การการพรวนดิน
การพรวนดิน เนื่องจากพริกจะแพร่รากกระจายอยู่ใกล้ผิวดิน จึงต้องระวังอย่าให้รากกระทบกระเทือน เพราะจะชงักการเจริญเติบโต จะทำให้ต้นพริกโค่นล้มง่าย การให้ปุ๋ยควรขุดหลุมตามบริเวณกว้างของใบพริกที่แผ่ไปถึง อย่าใส่ชิดโคนต้น

การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยว พริกจะเริ่มให้ผลผลิตหลังจากย้ายปลูกแล้ว 2 เดือนครึ่ง ถึง 3 เดือน ในระยะแรกผลผลิตจะได้น้อยและจะค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ เก็บเกี่ยวอาทิตย์ละ 1 ครั้งผลผลิตจะเริ่มลดลงเมื่อพริกเริ่มแก่ เมื่อพริกอายุได้ 6-7 เดือน หลังย้ายปลูกต้นจะเริ่มโทรมและหยุดให้ผลผลิต แต่ถ้ามีการดูแลบำรุงรักษาดีพริกจะมีอายุถึง 1 ปี

การเก็บรักษา
การเก็บรักษา ผลพริกเมื่อแก่จัด จะยังคงทิ้งให้อยู่กับต้นได้อีกชั่วระยะหนึ่ง โดยไม่เสื่อมคุณภาพแต่ประการใด การเก็บรักษาพริกให้คงสภาพสดอยู่ได้ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ พบว่าอุณหภูมิ 0 ซํ. ความขึ้น 95-89% จะเก็บพริกให้คงความสดอยู่ได้นานถึง 40 วัน โดยมีผลเหี่ยวย่นเพียง 4% ซึ่งนับว่า ต่ำมาก เมื่อเทียบกับการเก็บพืชผักหลายชนิด และอุณหภูมิ 8-10 ซํ. ความชื้น 85-90% จะเก็บพริกสดไว้ได้นาน 8-10 วัน


การทำพริกแห้ง

การทำพริกตามแห้ง พริกที่จะนำมาตากแห้งต้องเก็บผลแก่จัด มีสีแดง ถ้าเก็บมาแล้วมีบางผลที่ยังไม่แก่ควรนำมาสุ่มไว้ในเข่งประมาณ 2 ค้น เพื่อบ่มให้ผลสุกแดง แล้วจึงนำออกตากแดดให้แห้งสนิท ควรเลือกผลที่เน่าออกทิ้งอยู่เสมอ ข้อควรระวังบอย่าให้พริกที่ต้องการทำพริกแห้งถูกฝน จะทำให้เกิดโรครา ราคาตกได้กสิกรบางแห่งนิยมย่างไฟ โดยการย่างพริกไว้บนแผงหรือตะแกรงแล้วสุมไฟข้างล่าง คอยหมานกลับพริกให้แห้งทั่วกัน จะทำให้พริกแห้งเร็วขึ้น เก็บไว้ได้นานไม่เสียง่าย


การเก็บพริกไว้ทำพันธุ์

การเก็บพริกไว้ทำพันธุ์ ควรเลือกผลจากต้นที่แข็งแรงและดก ลักษณะผลโตได้ขนาด รูปร่างดี ตรง ยาวไม่หงิกงอ ผิดรูปทรง มีลักษณะตรงตามพันธุ์ และไม่เป็นโรค ควรเลือกผลสำหรับเก็บไว้ทำพันธุ์ จากการเก็บรุ่นที่ 3 ทั้งนี้เพราะมีจำนวนเมล็ดมาก และขนาดของเมล็ดใหญ่สมบูรณ์ เก็บรักษาผลที่เหลือได้ไว้คาต้นจนสุกเต็มที่ จากนั้นนำมาเก็บบ่อไว้ในภาชนะ เช่น กระบุง ประมาณ 2 คืน จนเนื้อนุ่มแล้ว ใช้มีดกรีดให้ผลแตก เคาะเมล็ดออกล้างน้ำสะอาด แล้วนำไปเกลี่ยบนตะแกรงหรือกระด้ง ตากแดดให้แห้งสนิทใส่ถุงพลาสติกหรือขวดสะอาด ปิดผาให้แน่น เก็บไว้ในที่มีอากาศแห้ง และเย็นอย่าไว้ใกล้เตาไฟ หรืออยู่ในที่แดดส่องอยู่เสมอ

โรคพริก และการป้องกันกำจัด
โรคพริก และการป้องกันกำจัด ชื่อโรค โรคกล้าเน่าตาย อาการ อาการทั่วไปที่เห็นคือต้นกล้าเหี่ยวแห้งตาย

การป้องกัน
1. คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยยาป้องกันกำจัดเชื้อรา หลังจากล้างเมล็ดพันธุ์แล้วควรจะคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไดเทน เอ็ม 45 ชนิดสีแดง เพื่อป้องกันเชื้อราในดินเข้าทำอันตรายเมล็ดในขณะที่มีการงอก

2. เมื่อต้นกล้างอกขึ้นมาเหนือพื้นดินแล้ว ต้องรีบฉีดยาป้องกันทันทีและจะต้องฉีดพ่นยาทุก 5-7 วันต่อครั้ง ยาที่ใช้ฉีดพ่นก็เป็นจำพวกยาป้องกันกำจัดเชื้อราทั่ว ๆ ไป ที่ใช้ฉีดพ่นบนใบ เช่น ชิงโคโฟล, ไดเทนเอ็ม 45 ฯลฯ นอกจากนี้ควรฉีดพ่นยาลงไปบนผิวดินด้วยยาที่ใช้ฉีดพ่นไม่ควรใช้ยาที่เป็นสารประกอบพวกทองแดง ชื่อโรค โรครากและโคนเน่า อาการ ต้นพริกที่เป็นโรคนี้เริ่มมีอาการใบเหลืองแล้วใบร่วงต้นพริกเหี่ยวยืนต้นตายได้ทุกระยะ กสิกรเรียกพริกที่มีอาการใบเหลืองแล้วร่วงจนต้นพริกมีพุ่มโปร่งตานี้ว่า พริกหัวโกร๋น โคนต้นและรากพริกเน่าเนื้อเยื่อเป็นสีน้ำตาล การป้องกันกำจัด ถ้าพบโรคนี้ระบาดควรจะทำการป้องกันกำจัด  ดังต่อไปนี้

1. ให้ถอนทำลายต้นที่เป็นโรคโดยการนำไปเผาไฟเสีย
2. โรคนี้ช่วยได้โดยการเพิ่มปูนขาวในดินประมาณ 100-200 กก./ไร่ และใช้เศษใบไม้ร่วมไปด้วย
3. การใช้ยาป้องกันกำจัดราทั่วทั้งไร่ย่อมไม่ได้ผลคุ้มค่าอย่างยิ่ง แต่ถ้าจะทำในเนื้อที่แต่น้อย เช่น ทำต่อหลุมก็อาจจะใช้ยาเทอราคลอหรือเทอราโซลผสมน้ำรดดินในหลุม หรือใช้หว่านเม็ดยาลงไปในดินแล้วรดน้ำตาม ชื่อโรค โรคกุ้งแห้ง อาการ อาการของโรคเห็นได้ชัดเจนบนผลพริกที่แก่จัด หรือผลพริกสุก ผลพริกอ่อนไม่ใคร่เกิดโรคนี้

ระยะที่ผลพริกติดโรคได้ง่าย คือ ระยะที่ผลพริกจวนเติบโตเต็มที่หรือระยะก่อนที่ผลพริกจะเปลี่ยนสี อาการเริ่มแรกจะปรากฏเป็นจุดวงกลมช้ำสีน้ำตาล เนื้อเยื่อบุ๋มลึกลงไปจากระดับเดิมเล็กน้อย จุดช้ำสีน้ำตาลจะค่อย ๆ ขยายวงกว้างออกไปเป็นแผลวงกลม หรือวงรีรูปไข่ ซึ่งมองเห็นลักษณะของเชื้อราที่เจริญภายใต้เนื้อเยื่อของพืชขยายออกไปในลักษณะที่เป็นวงกลมสีดำซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ซึ่งภายในบรรจุสปอร์ของเชื้อราอยู่ ขนาดของแผลแตกต่างกัน บางผลอาจมีแผลใหญ่ยาวถึงเศษสองส่วนสามของผลพริก ซึ่งทำให้ผลพริกเน่าทั้งผล ผลพริกที่มีแผลดังกล่าวนี้จะร่วงเสียก่อนที่ผลจะสุก หรือแก่เต็มที่ และเมื่อนำไปตากแดดก็มักจะเกิดการเน่ามากขึ้นอีกในระหว่างการเก็บรักษาอาจจะทำให้พริกที่เก็บไว้ทั้งหมดเน่าติดต่อกันไปเสียหายทั้งหมด ทั้งนี้ เป็นเพราะเชื้อรายังมีชีวิตอยู่ในแผลเหล่านั้น เมล็ดพริกจากผลที่เป็นโรคนี้เชื้อโรคติดไปด้วยจึงไม่ควรนำไปเก็บไว้ทำพันธุ์ นอกจากนี้เชื้อรานี้ทำให้ใบเป็นจุดสีน้ำตาล ขอบเหลืองแต่ไม่เสียหายและเป็นปัญหามากเช่น ระยะที่เกิดบนผลพริก

การป้องกันกำจัด
1. คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ดีปลูก คือเลือกจากผลพริกที่ไม่ได้เป็นโรคนี้
2. ควรใช้ยาคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วย ยาฆ่าเชื้อราแคปแทนเพื่อทำลายเชื้อโรค ซึ่งอาจติดมากับเมล็ดพันธุ์
3. ใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไดโฟลาแทน, ไดเทน เอ็ม 45 ฉีดพ่นทุก ๆ 3-15 วันต่อครั้ง ยาทุกชนิด ยกเว้นพวกกำมะถันให้ผลเหมือนกันในการป้องกันโรคนี้
4. พริกบางพันธุ์มีความต้านทานสูง เช่น พริกเหลืองและพริกหยวก เป็นต้น
5. อย่าใช้เมล็ดจากผลที่เป็นโรคนี้ทำเมล็ดพันธุ์

แมลง ? ศัตรูพริกและการป้องกันกำจัด
แมลง ? ศัตรูพริกและการป้องกันกำจัด เพลี้ยไฟ การทำลายและความเสียหาย เพลี้ยไฟมีปากที่ใช้ดูดน้ำเลี้ยงใบพืชได้ เพลี้ยไฟชอบทำลาย ยอด ? ใบอ่อน ตาดอก เมื่อพืชถูกทำลายจะเป็นรอยด้านสีน้ำตาล ชงักการเจริญเติบโตหรือแห้งตายในที่สุด ถ้าเป็นใบอ่อนจะทำให้ใบหงิก บิด ขอบใบอาจห่อขึ้นด้านบน ถ้าดูด้านล่างใบให้ดีจะพบตัวเพลี้ย เมื่อใบแก่ขึ้นจะเป็นรอยด้านสีน้ำตาลหากเป็นช่วงอากาศแห้งแล้งฝนมีตก พืชขาดน้ำ จะทำความเสียหายให้ถึง 50% การป้องกันกำจัด เมื่อเริ่มพบเพลี้ยไฟ ก็ให้หาทางกำจัดตั้งแต่ในระยะแรก ขั้นต้นอย่าปล่อยให้พืชขาดน้ำต่อไป การพิจารณาใช้ยาฆ่าแมลงควรเลือกใช้ยาด้วยความรอบคอบในแหล่งปลูกใหม่ ๆ ยาเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งควรใช้ได้ผล เช่น เซฟวิน 85, บาซูดิน

หากเป็นแหล่งปลูกพริกเก่าซึ่งเคยใช้ยาที่กล่าวมาแล้วไม่ได้ผลให้เลือกใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะหรือฤทธิ์แรงต่อเพลี้ยไฟ เช่น โตกุไธออน, แลนเนท อย่างใดอย่างหนึ่งพ่นทุก 5 วัน สักสองครั้งติดต่อกัน เมื่อหายแล้วก็หยุด หรือจะพ่นป้องกันทุก ๆ 7-10 วัน หากอยู่ในช่วงระบาด เวลาพ่นยาควรพิถีพิถันพ่นให้ทั่วถึงโดยเฉพาะตามยอดและใต้ใบ เพลี้ยอ่อน การทำลายและความเสียหาย เพลี้ยอ่อนเป็นแมลงดูดน้ำเลี้ยงความเสียหายที่เห็นได้ชัดหากเกิดมาก ใบจะเป็นคลื่นใหญ่ บิด แตกต่างจากเพลี้ยไฟและไรขาว เมื่อพลิกดูจะเห็นตัวได้ง่าย การระบาดมักเกิดเป็นหย่อม ๆ ถ้ามีปริมาณเพลี้ยอ่อนมาก จะสังเกตว่ามีน้ำเหนียว ๆ ตามใบพริก บางครั้งก็มีราดำขึ้น อันเป็นผลเนื่องมาจากน้ำหวานที่เพลี้ยถ่ายออกมา เพลี้ยอ่อนยังสามารถแพร่เชื้อโรคไวรัสหรือวิสาของพริกทำให้เป็นโรคใบด่าง ใบลาย ต่าง ๆ อันเป็นโรคสำคัญประเภทหนึ่งของพริกอันเป็นผลจากการที่เพลี้ยอ่อนถ่ายเชื้อ ใช้เวลาดูดน้ำเลี้ยงจากต้นที่เป็นโรคมาก่อน

การป้องกันกำจัด
เพลี้ยอ่อนอาจแพร่ระบาดมาจากพืชอื่น ที่ปลูกในบริเวณใกล้เคียง เช่น ฝ้าย, มะเขือ และผัก การปล่อยให้แปลงมีหญ้าและวัชพืชรกมักจะพบเพลี้ยอ่อนระบาดเสมอ ๆ หมั่นตรวจดูตามใต้ใบ ยอดพริก ตั้งแต่พริกเริ่มตั้งตัว ถ้าพบตัวอ่อนหรือตัวแก่ควรพ่นยากำจัด หรือพ่นยาป้องกันทุก 10 วัน จนกว่าพริกจะโตเต็มที่ ทั้งนี้จะช่วยทำให้พริกทนต่อโรคได้ดีกว่าในภายหลัง ยาจำพวก ไดเมทโธเอท, บาซูดิน หรือไดอาซีโนน, เมทาซิสท๊อก หรือยาดูดซึมอื่น ๆ ใช้ได้ดีกับเพลี้ยอ่อน.
... พริกขี้หนู

..... ในการปรุงอาหารประจำวันของคนไทย พริก เป็นเครื่องปรุงรสที่นิยมมากประเภทหนึ่ง เพราะช่วยชูรสอาหารให้มีความอร่อยมีสีสันสวยงาม และรสชาติถูกปากของคนไทยมาช้านาน  นอกจากนี้รสที่เผ็ดร้อนของพริกขี้หนูนั้นยังมีประโยชน์อย่างอื่นๆ ที่นึกไม่ถึงอีกคือ  มีสารประเภท แคปไซวิน ซึ่งเป็นสารตัวหนึ่งที่มีหน้าที่จับสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง และยังช่วยให้เลือดลมในร่างกายไหลเวียนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากช่วยไม่ให้เลือดจับตัวเป็นลิ่มขวางทางเดินเลือด

..... พริกขี้หนูในบ้านเราแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พริกขี้หนูเม็ดใหญ่ ขนาดของผลยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร มีอยู่หลายพันธุ์ที่เป็นที่นิยมปลูกได้แก่ ห้วยสีทน หัวเรือ จินดา ยอดสน บ้านใน ไส้ปลาไหล สร้อย นิ้วมือนาง น้อยผลยาว ช่อม ข. เดือยไก่ และ พริกขี้หนูเม็ดเล็ก ขนาดของผลยาวต่ำกว่า 2 เซนติเมตร พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่ ขี้หนูสวน ขี้หนูหอม กะเหรี่ยง และขี้นก

..... การปลูกพริกขี้หนูในลักษณะผักสวนครัวนั้นนิยมการหว่านเมล็ดลงในแปลงปลูก ไม่เหมือนกับการปลูกในลักษณะเป็นการค้าที่ต้องมีการเพาะกล้าก่อนแล้วจึงย้ายลงในแปลงปลูก การดูแลรักษาพริกนั้นมีเทคนิคที่ควรจำเล็กน้อย คือ พริกเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมากถ้ามีความชื้นสูงไปควรพรวนดินเพื่อให้น้ำระเหยออกจากดิน  ส่วนในกรณีที่ดินแห้งไป และไม่อาจให้น้ำได้อย่างสม่ำเสมอ ควรใช้วัสดุคลุมดินเพื่อช่วยรักษาความชื้นในดิน อีกทั้งยังเป็นการป้องกันวัชพืชด้วย สำหรับการกำจัดวัชพืชนั้น  ต้องทำอย่างระมัดระวังเนื่องจากพริกมีระบบรากที่แผ่กว้างอยู่ในระดับผิวดิน  การกำจัดวัชพื้ชอาจจะกระทบกระเทือนต่อระบบรากซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโต ดังนั้นควรกำจัดวัชพืชตั้งแต่ยังเป็นต้นอ่อน

..... การใส่ปุ๋ย จะใส่ปุ๋ยคอกในระยะเตรียมดิน และใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หลังการปลูกแล้ว 10-15 วัน โดยใส่ครั้งละ 1 ช้อนแกง โรยห่างจากโคนต้นประมาณ 1 ฟุต แล้วใช้ดินกลบเพื่อป้องกันการสูญเสียของปุ๋ย สำหรับระยะการใส่ไม่มีข้อกำหนดตายตัว แต่เพื่อให้การใส่ปุ๋ยที่มีประโยชน์ที่สุดควรแบ่งใส่หลาย ๆ ครั้ง

..... พริกจะเริ่มออกดอกหลังจากขึ้นเป็นกล้าอ่อนประมาณ 60-70 วัน และเริ่มเก็บผลสุกได้เมื่ออายุ 90-100 วัน การเก็บเกี่ยวจะทำได้ทุก 5-7 วัน ถ้ามีการบำรุงรักษาดี และให้น้ำอย่างเพียงพอ พริกก็จะมีอายุให้เก็บกินได้ถึง 1 ปีทีเดียว



.... พริกชี้ฟ้า


..... พริกชี้ฟ้าจัดเป็นพริกใหญ่ที่มีรสเผ็ด  เมื่ออ่อนเป็นสีเขียวเข้มแต่พอแก่แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีแดง ขนาดผลยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ... พันธุที่นิยมปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเนื้อหนา สีแดงเข้ม หรือเขียวเข้ม

..... การเตรียมดินสำหรับการปลูกพริกชี้ฟ้า ในกรณีเป็นพืชผักสวนครัวใช้วิธีการขุดหลุมแล้วเอาปุ๋ยคอกใส่หลุมประมาณ 2 กำมือ เอาดินคลุกเคล้าให้เข้ากันให้เต็มหลุมก็ลงมือปลูกได้  หลุมปลูกโดยทั่วไปควรมีขนาดกว้าง 1 คือ ยาว 1 คืบ  แต่ก่อนเอาลงปลูกควรเพาะเมล็ดในกะบะเพาะเมล็ดเสียก่อน เมื่อต้นพริกสูกประมาณ 5-10 เซนติเมตร จึงค่อยย้ายลงในหลุมปลูกใหม่ ไม่ควรย้ายกล้าพริกลงปลูกในตอนเช้า หรือ ตอนสาย เพราะต้นพริกจะถูกแดดเผาตายได้ง่าย  การย้ายกล้าพริกลงปลูกให้ได้ผลดีควรทำในตอนเย็น เนื่องจากต้นกล้าจะได้มีเวลาพักตัวในตอนกลางคืน ฤดูที่ควรปลูกควรเป็นฤดูฝนเนื่องจากมีความชื้นในดินสูง  ต้นพริกตั้งตัวได้ง่าย ควรรอให้ฝนตกเสียก่อนจึงเริ่มปลูก ... ถ้าภายหลังจากการปลูกใหม่ ๆ แล้วยังไม่มีฝนตกต้องลดน้ำทั้งเช้า และเย็นจนกระทั่งต้นพริกตั้งตัวได้แล้ว จึงค่อยพรวนดินรอบๆ หลุมให้กว้างออกไปอีก เพื่อให้รากพริกชอนไชได้สะดวก

..... พริกจะเริ่มออกดอกหลังจากลงกล้าได้ประมาณ 60-70 วัน หลังย้ายปลูกและเริ่มเก็บรับประทานได้เมื่ออายุ 90-100 วัน เช่นเดียวกับพริกขี้หนู  ระยะแรกผลผลิตจะน้อย และจะเริ่มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้นและผลผลิตลดลงอีกครั้งเมื่อต้นเริ่มแก่การเก็บมารับประทานทำได้ทุกๆ 5-7 วัน โดยการเด็ดทีละผล ใช้เล็บจิกตรงรอยก้านผลต่อกับกิ่ง ถ้ามีการบำรุงรักษาดีและมีน้ำเพียงพอ ต้นพริกก็จะมีอายุให้เก็บผลผลิตได้นานถึง 6-7 เดือน หรืออาจนานถึง 1 ปี จนกระทั่งเมื่อต้นเหี่ยวไปในที่สุด




พริก ชื่อสามัญ Chilly วงศ์ Solanaceae


ในประเทศไทยพบว่ามีการปลูกพริกมากที่สุด คือ 31 สายพันธุ์ เช่น พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า พริกหยวก พริกยักษ์ เป็นต้น โดยทั่วไปพริกสายพันธ์นี้นิยมปลูกกันมากทั่วโลกและถือเป็นสายพันธุ์ที่สำคัญที่สุดพริกที่นิยมปลูกในประเทศไทย มีดังนี้พริกหยวก พริกชี้ฟ้า พริกยักษ์ พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูไร่ พริกเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกับมะเขือ มันฝรั่งและยาสูบเป็นไม้พุ่มล้มลุกเนื้ออ่อน บางชนิดอยู่ได้หลายฤดู บางชนิดอยู่ได้ฤดูเดียว มีความผันแปรค่อนข้างมาก ทั้งลักษณะสี กลีบดอก ลำต้น ใบ ผล เป็นพืชที่มีดอกสมบูรณ์เพศและสามารถผสมตัวเองได้ แต่ก็มีโอกาสผสมข้ามดอกและก่อให้เกิดการกลายพันธ์ได้ 9-36 %องค์การนานาชาติว่าด้วยแหล่งพันธุกรรมทางพืชแบ่งพันธ์พริกตามลักษณะทางพฤกษศาสตร์ได้ 5กลุ่ม พริก มาจาก ภาษา กรีก เรียกว่า Kaptein แปลว่า มีรสเผ็ดมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกาไต้สันนิษฐานว่ามนุษย์เริ่มเพาะปลูกพริกเป็นครั้งแรกในระหว่าง 5,000-3,400 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชนเผ่ามายาเป็นชนเผ่าแรกที่นำพริกมาปรุงเป็นเครื่องปรุงอาหารโดยการนำพริกป่นมาผสมน้ำสำหรับเป็นเครื่องจิ้มอาหาร

ระบบราก ระบบรากของพริกมีรากแก้ว รากหากินลึกมาก พริกที่โตเต็มที่รากฝอยจะแผ่ออกไปหากินด้านข้างในรัศมีเกิน1.20 เมตร รากฝอยจะหากินในความลึกประมาณ 60 เซนติเมตร

ลำต้นและกิ่ง
ลำต้นของพริกสูงประมาณ 1-2 ฟุต พริกมีการเจริญเติบโตจากลำต้นเพียง 1 กิ่ง แล้วแตกออกเป็น 2 กิ่ง 4กิ่ง 8 กิ่ง 16 กิ่ง ไปเรื่อยๆและมักพบว่าพริกที่สมบูรณ์จะมีกิ่งแตกขึ้นมาจากต้นที่ระดับดินหลายกิ่งจนคล้ายกับว่ามีหลายต้นรวมอยู่ที่เดียวกัน ดังนั้นจึงมักไม่พบต้นหลัก แต่จะพบเพียงกิ่งหลักๆเท่านั้นทั้งลำต้นและกิ่งนั้นในระยะแรกจะเป็นไม้เนื้ออ่อน แต่เมื่ออายุมากขึ้นจะเป็นไม้เนื้อแข็ง แต่กิ่งและต้นก็ยังคงเปราะและหักง่าย

ใบพริก
เป็นพืชแบบใบเลี้ยงคู่ ใบเป็นแบบใบเดียว มีลักษณะแบนเรียบเป็นมัน มีขนบ้างเล็กน้อย ใบมีรูปร่างตั้งแต่รูปไข่จนถึงใบเรียวยาว ใบพริกขี้หนูทั่วไปมีขนาดเล็ก แต่ในระยะเป็นต้นกล้าและใบล่างๆของต้นโตเต็มที่จะมีขนาดค่อนข้างใบใหญ่

ดอก
ลักษณะเป็นดอกสมบูรณ์เพศ คือมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน โดยปกติมักพบเป็นดอกเดียว แต่อาจพบมีหลายดอกเกิดตรงจุดเดียวกันได้ดอกเกิดที่ข้อตรงมุมที่เกิดใบหรือกิ่งก้านดอกอาจตรงหรือโค้งส่วนประกอบของดอกประกอบด้วย กลีบรองดอก 5 พูกลีบดอกสีขาว 5 กลีบแต่บางพันธ์อาจมีสีม่วงและอาจมีกลีบดอกตั้งแต่ 4-7 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 5 อัน ซึ่งแตกจากตรงโคนของชั้นกลีบดอก อับเกสรตัวผู้มีสีน้ำเงิน แยกตัวเป็นกระเปาะเล็กๆ ยาวๆ เกสรตัวเมียชูสูงขึ้นไปเหนือเกสรตัวผู้ ปลายเกสรตัวเมียมีรูปร่างเหมือนกระบองหัวมน รังไข่มี 3 พู แต่อาจพบได้มีตั้งแต่ 2-4 พูและจากการศึกษาพบว่าพริกมีวันที่ตอบสนองต่อช่วงวันโดยมักจะออกดอกและติดผลในสภาพวันสั้นในระหว่างการเจริญเติบโตหากได้รับสภาพวันยาวหรือมีการใช้แสงไฟฟ้าในเวลากลางคืนเพื่อเพิ่มความยาวของช่องแสง พริกก็จะออกดอกช้าออกไป

ผล
มีทั้งผลเดี่ยวและผลกลุ่ม มีลักษณะเป็นกระเปาะ มีฐานขั้วผลสั้นและหนา โดยปกติผลอ่อนมักชี้ขึ้น เมื่อเป็นผลแก่พันธ์ที่มีลักษณะขั้วผลอ่อนก็จะให้ผลที่ห้อยลง บางพันธ์ทั้งผลอ่อนและผลแก่จะชี้ขึ้น ผลมีทั้งลักษณะแบนๆกลม ยาว จนถึงพองอ้วนสั้น ฐานของผลอาจแบ่งออกเป็น 2-4 ห้อง จะสังเกตได้ชัดเจนในพริกหวาน ในระหว่างการเจริญเติบโตของผลหากอุณหภูมิในเวลากลางวันสูงและความชื้นในบรรยากาศต่ำจะทำให้ผลพริกมีการเจริญผิดปกติ บิดเบี้ยว มีขนาดเล็ก ทำให้การติดเมล็ดต่ำกว่าปกติ

เมล็ด
เมล็ดพริกค่อนข้างใหญ่กว่าเมล็ดมะเขือเทศแต่มีรูปร่างคลายกัน คือกลมแบน ไม่ค่อยมีขนเหมือนเมล็ดมะเขือเทศ ส่วนมากที่เปลือกของผลและเปลือกของเมล็ดมักจะมีเชื้อโรคพวก โรคใบจุดและโรคใบเหี่ยวติดมา สำหรับจำนวนเมล็ดของพริก 1 ผลจะไม่แน่นอนแต่ตามมาตรฐานของขนาดเมล็ดพริกแล้ว เมล็ดพริกหวาน 1 กรัม ควรที่จะมีเมล็ด 166 เมล็ดขึ้นไป ส่วนพริกที่มีรสเผ็ดควรมีขนาดเมล็ดเล็กลงเช่น พันธ์ห้วยสีทน 1 น้ำหนัก 1 กรัม มีจำนวนเมล็ดถึง 256 เมล็ด เมล็ดพริก มีอายุอยู่ได้ประมาณ 2-4 ปี

การปลูกพริก
ขั้นตอนการเตรียมดินในการปลูก
ขั้นตอนการเตรียมดินในการปลูกนับว่าเป็นเรื่องสำคัญมากในการปลูกพริกเนื่องจากถ้าเกษตรกรไม่สามารถเตรียมดินให้ดีตั้งแต่เริ่มต้นแล้วจะมีปัญหามากมายหรืออาจจะทำให้ขาดทุนได้ เกษตรกรจึงไม่ควรมอง ข้ามในเรื่องนี้

ขั้นตอนการไถและปรับสภาพดิน
ควรมีการไถเพื่อปรับสภาพดินและทำการตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน เพื่อทำการฆ่าเชื้อรา

การรองพื้นโดยปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยมูลสัตว์) หลังจากตากดินไว้ 5-7 วันแล้ว ก่อนที่จะทำการไถในรอบที่ 2ให้ใช้ สาร ที-เอส-3000ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา สารที-เอส-3000 15 ก.ก (1กระสอบ) ผสมปุ๋ยอินทรีย์ 100 ก.ก หว่านในอัตรา 50 -100 ก.ก ต่อไร่ เพื่อปรับสภาพดินและความเป็นกรดเป็นด่างของดิน

การรองพื้นโดยปุ๋ยเคมี หลังจากตากดิน 5-7 วันแล้ว ให้ใช้ สารที-เอส-3000 ผสมปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา สารที-เอส-3000 15 ก.ก (1กระสอบ) ปุ๋ยสูตร 15-15-15 จำนวน 50 ก.ก (1กระสอบ) หว่านอัตรา 25 ก.ก ต่อไร่ สาร ที-เอส-3000 จะช่วยกระตุ้นระบบรากให้มีมากขึ้นและช่วยให้ต้านทานโรคและแมลงได้ดีเนื่องจากสาร ที-เอส-3000จะมี ซิลิก้าซึ่งจะทำให้ลดต้นของพืชแข็งแรงพร้อมด้วยธาตุอาหารอื่นๆซึ่งจะทำให้แข็งแรงต้านทานโรคและได้รับธาตุอาหารที่ครบถ้วนหลังจากนั้นให้ทำการคราดกลบและรดน้ำเพื่อเตรียมการปลูกต่อไป

                                                           
ขั้นตอนการปลูก
หลังจากเพาะเลี้ยงต้นกล้าให้ได้อายุ 2-3 สัปดาห์ ก่อนย้ายลงแปลงจริงให้ตัดยอดจนเหลื่อแต่ใบแก่ พร้อมกับรากแก้วให้เหลือเพียง 1-1 นิ้วครึ่ง เมื่อพริกโตขึ้นจะไม่สูงชะลูด แต่จะแตกพุ่มกลมมีกิ่งแขนงมากส่งผลให้มีดอกและผลมากด้วยส่วนรากจะเกิดรากฝอยใหม่จำนวนมากแผ่กระจายรอบทรงพุ่มสามารถหาอาหารไปเลี้ยงลำต้นได้ง่าย

การเตรียมต้นกล้าก่อนปลูก
หลังจากนำต้นกล้าขึ้นมาจากแปลงเพาะเตรียมที่จะลงแปลงปลูก ให้นำต้นกล้าที่เตรียมไว้ลงแช่น้ำที่ผสมที-เอส-3000หรือไฮแม็ก อย่างไดอย่างหนึ่ง
-ที-เอส-3000 ประมาณ 3 ขีด ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อให้ต้นกล้าได้รับ ซิลิก้า ซึ่งจะทำให้ลำต้นแข็งแรง กระตุ้นการแตกรากดี ทำให้ต้นพริกฟื้นตัวได้เร็ว
- ไฮ-แม็ก ประมาณ 30-50 ซีซี (2-3 ฝา) เพื่อให้ต้นกล้าได้รับ ธาตุอาหาร ซึ่งจะทำให้ลำต้นแข็งแรง กระตุ้นการแตกรากดี ทำให้ต้นพริกฟื้นตัวได้เร็ว การปลูกไม่ควรปลูกลงลึกเกินไปเพราะจะทำให้พริกโตช้า

การใส่ปุ๋ย
หลังจากปลูกได้ประมาณ 20-25 วันหรือให้สังเกตดูต้นพริกมีความพร้อมที่ต้องการปุ๋ยให้ใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งการเจริญเติบโต  ดังนี้

กรณีใส่ปุ๋ยอินทรีย์(ปุ๋ยมูลสัตว์)ถ้าต้องการใสปุ๋ยอินทรีย์ใช้สารที-เอส-3000 ชนิดผง 15 กก.ผสมปุ๋ยอินทรีย์ในอัตราปุ๋ยอินทรีย์ 200-300 กก. หว่านในอัตรา 1 ไร่ ที-เอส-3000 มีสารอาหารที่ครบถ้วนช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารที่ครบถ้วน ช่วยลดปัญหาการเกิดเชื้อรา ลดปัญหาการเกิดโรครากเน่า โคนเน่า จะช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ของปุ๋ยอินทรีย์ให้มีค่าเป็นกลางเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อพืช

กรณีใส่ปุ๋ยเคมี สูตรเร่งการเจริญเติบโตให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ,18-12-6,16-20-0 ผสมด้วย สาร ที-เอส-3000 ในอัตรา สาร ที-เอส-3000 15 ก.ก (1กระสอบ) ปุ๋ยเคมี จำนวน 50 ก.ก (1กระสอบ) หว่านประมาณ 15 -20 ก.ก ต่อไร่ การใส่ปุ๋ยควรใส่ประมาณ 10-15 วันต่อครั้ง

สูตรเร่งการออกดอก ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ผสมด้วย สาร ที-เอส-3000 ในอัตรา สาร ที-เอส-3000 15 ก.ก (1กระสอบ) ปุ๋ยเคมี จำนวน 50 ก.ก (1กระสอบ) หว่านประมาณ 15 -20 ก.ก ต่อไร่ การใส่ปุ๋ยควรใส่ประมาณ 10-15 วันต่อครั้ง
 
วิธีการให้ปุ๋ยและการฉีดพ่นธาตุอาหารทางใบ
หลังจากปลูกได้ประมาณ 20-25 วันหรือให้สังเกตดูต้นพริกมีความพร้อมที่ต้องการปุ๋ย ให้ใส่ปุ๋ยสูตร15-15-15 ,18-12-6,16-20-0 เลือกใช้สูตรไดสูตรหนึ่ง ผสมด้วย สาร ที-เอส-3000 ในอัตรา สาร ที-เอส-3000 15 ก.ก (1กระสอบ) ปุ๋ยเคมี จำนวน 50 ก.ก (1กระสอบ) หว่านประมาณ 15 -20 ก.ก ต่อไร่ การใส่ปุ๋ยควรใส่ประมาณ 10-15 วันต่อครั้ง หลังจากหว่านปุ๋ยเรียบร้อยแล้วประมาณ 2-3 วัน ฉีดพ่นทางใบดังนี้
                                                           
เร่งการเจริญเติบโตทางใบ
ไฮ-แม็ก 20-30 ซีซี + ซุปเปอร์-บีม 20-30 ซีซี + ซุปเปอร์-บีม 3 พลังครึ่งช้อนชา ต่อน้ำ 20 ลิตร
(ตัวเสริม โปรแท็ป 1-2 ขีด)

ประโยชน์
เร่งการเจริญเติบโต แตกกิ่ง แตกทรงพุ่ม สร้างลำต้นให้แข็งแรง ใบใหญ่ ใบหนา สีเข้ม ฉีดพ่นทุก 7-15 วัน ในเวลาเช้าหรือตอนเย็น ในเวลาที่อากาศไม่ร้อนฉีดพ่นไปจนกว่าพริกมีความพร้อมที่จะออกอกให้เปลี่ยนมาใช้สูตรเร่งดอกดังนี้
                                                             
สูตรเร่งดอก-บำรุงดอก
ซุปเปอร์-แบม30-40 ซีซี + เอ็ม-เร็ตต้า 3-4 ช้อนแกง

ประโยชน์
สะสมสมแป้ง เร่งการออกดอก บำรุงดอก ลดการหลุดร่วงของดอก ฉีดพ่น 7-15 วัน /ครั้ง

เมื่อพริกมีความพร้อมที่จะออกดอก ปุ๋ยทางดินให้เปลี่ยนมาใช้สูตร 13-13-21 ผสมด้วย สาร ที-เอส-3000 ในอัตรา สาร ที-เอส-3000 15 ก.ก (1กระสอบ) ปุ๋ยเคมี จำนวน 50 ก.ก (1กระสอบ) หว่านประมาณ 15 -20 ก.ก ต่อไร่ การใส่ปุ๋ยควรใส่ประมาณ 10-15 วันต่อครั้ง หลังจากหว่านปุ๋ยได้ประมาณ 1-2 วัน ให้ฉีดพ่นด้วย ซุปเปอร์-แบม30-40 ซีซี + เอ็ม-เร็ตต้า 3-4 ช้อนแกง (ตัวเสริม ไฮ-แม็ก 20-30 ซีซี หรือ โปรแท็ป 1-2 ขีด) เพื่อเร่งการออกดอก ทำการรดน้ำใส่ปุ๋ยบำรุงรักษาดูแลไปเรื่อยๆหลังจากเก็บผลผลิตแล้วให้ทำการบำรุงต้นให้พร้อมที่จะออกดอกรอบต่อไปโดยการฉีดพ่นทางใบ 1 ครั้ง ด้วย ไฮ-แม็ก 20-30 ซีซี + ซุปเปอร์-บีม 20-30 ซีซี + ซุปเปอร์-บีม 3 พลังครึ่งช้อนชา ต่อน้ำ 20 ลิตร (ตัวเสริม โปรแท็ป 1-2 ขีด) เพื่อบำรุงต้นให้มีความสมบูรณ์พร้อมที่จะออกดอกในรอบต่อไปหลังจากบำรุงต้นเรียบร้อยแล้วให้ฉีดพ่นด้วยสูตรเร่งการออกดอก1-2 ครั้ง ต่อไปหลังจากทำการเก็บผลผลิตแล้วก็ให้ทำการฉีดพ่นเหมือนครั้งแรกสลับกันไปเรื่อย 
                                               

โรคและแมลงศัตรูพืชของพริก

ชื่อโรค ผลซีดขาว ( Deficiency)

อาการ
ผลพริกสุกมีสีไม่สม่ำเสมอ เมื่อตากแดดแล้วจะมีสีซีดขาว เมล็ดไม่ค่อยสมบูรณ์และมีผิวบาง

สาเหตุ
เกิดจาก
ขาดธาตุโพแตสเซียม

การป้องกัน

กำจัดระบบทางราก ควรเพิ่มปุ๋ยโพแตสเซียมให้เพียงพอเมื่อพริกตกผลควรให้ปุ๋ยทางดิน สูตรที่มีธาตุ โพแตสเซียมสูง เช่น สูตร 3-13-21, 13-21-21 ผสมร่วมกับ ที-เอส-3000 ในอัตราปุ๋ย 5 กก. ที-เอส-3000 1 กก.
ระบบทางใบ ฉีดพ่นด้วย เอ็มเร็ตต้า 2-3 ช้อนแกง + โปรแท็ป 1-2 ขีด ผสมน้ำ 20 ลิตร จะทำให้หายจากอาการผลซีดขาว

ชื่อโรค ใบด่างลาย (Deficiency)
อาการ ใบพริกมีเนื้อเยื่อระหว่างเส้นใยเป็นสีเหลือง ทำให้เกิดใบด่างลายสม่ำเสมอกันทั่วใบ อาการจะปรากฏเป็นใบแก่
สาเหตุ
เกิดจาก
ขาดธาตุแม็กนีเซียม

การป้องกันและกำจัด

-เพิ่มปุ๋ยแม็กนีเซียมทางใบฉีดพ่นด้วยไฮ-แม็ก20-30 ซีซี+โปรแท็ป 1-2 ขีดต่อน้ำ 20 ลิตร
-ก่อนปลูกรองพื้นด้วย ที-เอส-3000 ปริมาณ 15 -30 กก.ผสมด้วยปุ๋ยคอก1 ตัน หว่านรองพื้นในอัตรา 1 ไร่

ชื่อโรค ยอดเหลือง (Deficiency)
อาการ ใบอ่อนที่ยอดซีดเหลืองหรือซีดขาว ใบมีขนาดเล็งลงและออกเป็นกระจุกผลพริกก็มีอาการซีดขาวเช่นเดียวกัน และไม่สมบูรณ์ พริกที่แสดงอาการมากจะไม่ให้ผลิตผล

สาเหตุเกิดจาก
ขาดธาตุเหล็ก

การป้องกันกำจัด
-ใช้ฉีดพ่นทางใบด้วยไฮ-แม็ก20-30 ซีซี+โปรแท็ป 1-2 ขีดต่อน้ำ 20 ลิตร
-ปรับปรุงดิน ถ้าดินเป็นกรดให้ใส่ปูนขาวอัตรา 200-300 กิโลกรัมต่อไร่
-ก่อนปลูกรองพื้นด้วย ที-เอส-3000 ปริมาณ 15 -30 กก.ผสมด้วยปุ๋ยคอก1 ตัน หว่านรองพื้นในอัตรา 1 ไร่
หมายเหตุ ถ้าเป็นในระยะที่ยังไม่ออกผล จะไม่ได้ผลผลิตเลย ถ้ากำลังให้ผลผลิตก็ได้ ผลผลิตที่ไม่สมบูรณ์

ชื่อโรค เหี่ยวตาย (Fusarium wilt )
อาการ ต้นพริกแสดงอาการโดยใบที่ติดอยู่ตอนล่างเหลืองก่อน แล้วมีใบร่วงมาก ทำให้พุ่มบางตาลง ต่อมาจะมีอาการเหี่ยวในเวลากลางวันที่มีอากาศร้อนจัดชั่วระยะหนึ่ง (2-7 วัน) แล้วจะเหี่ยวอย่างถาวรไม่ฟื้นอีกต่อไป พริกยืนต้นตายหรือใบร่วงหมด บางต้นที่มีระบบรากเสียน้อย จะแสดงอาการยอดแห้งเป็นสีน้ำตาล ใบร่วง พริกก็จะค่อยๆมีอาการมากขึ้นตามลำดับ พริกจะเป็นโรคนี้มากขึ้นเมื่อใกล้จะออกดอก และเพิ่มจำนวนขึ้นไปจนถึงเก็บเกี่ยว ให้ถอนต้นพริกที่เป็นโรคตรวจดูระบบรากและโคนต้น จะพบเนื้อเยื่อของท่อทางเดินอาหารและน้ำของรากและโคนต้นเป็นสีน้ำตาล เวลาอากาศชื้นๆมีสปอร์ของเชื้อสีขาวนวลหรืออมชมพูจับที่โคนต้นมองดูคล้ายผงแป้ง

สาเหตุเกิดจาก
เชื้อรา Fusarium oxysporum

การป้องกันและกำจัด

- ควรปรับดินด้วยปูนขาว หรือ ที-เอส-3000 เพราะดินเป็นกรดมากและเชื้อราที่เป็นสาเหตุของ โรคนี้ชอบสภาพดังกล่าว ถอนทำลายต้นที่เป็นโรคเสียใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากกว่าปุ๋ยวิทยาศาสตร์ปรับปรุงสภาพดินให้โปร่ง ร่วนซุย ระบายได้ดีด้วย

หมายเหตุ พริกทุกพันธ์เป็นโรคนี้ได้ดีเท่าๆกันจัดว่าเป็นปัญหามากในรายที่ใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์อย่าง ฟุ่มเฟือย


ชื่อโรคโรครากเน่าและโคนเน่า (Rootrot)

อาการโคนต้นและรากเน่าเปื่อยเป็นสีน้ำตาล ในดินแถวโคนต้นมีเส้นใยราสีขาวซึ่ง
บางส่วนเจริญขึ้นไปเกาะอยู่ตามโคนและรากของต้นพริกด้วยถ้าสังเกตดูดินจะมีเม็ดราสีขาวน้ำตาลอ่อนและสีน้ำตาลแก่ ขนาดเท่าเมล็ดผักกาด เกิดปะปนอยู่กับเส้นใยราดังกล่าวด้วยต้นที่เป็นโรคแสดงอาการใบเหลืองแล้วต้นก็เหี่ยวตาย
สาเหตุเกิดจาก เชื้อรา Sclerotium rolFsii Sacc

การป้องกัน

- เมื่อพบต้นที่เป็นโรค ให้รวบรวมไปเผาไฟทำลายเสีย
- ใช้ปูนขาวคลุกดินในหลุมก่อนปลูกใหม่ ( ควรเป็นดินเปลี่ยนใหม่ด้วย)
- ควรมีการปลูกพืชสลับหมุนเวียนกันหรือถ้ามีการระบาดมากต้องเลิกปลูกไปเป็นเวลาหลายปี
หมายเหตุ พริกทุกพันธ์เป็นโรคนี้ รวมทั้งพืชผักหลายชนิดก็มีอาการและสาเหตุของโรคแบบเดียวกัน ใส่ ที-เอส-3000 ประมาณ 30-50 กก.ผสมปุ๋ยอินทรีย์ 1-2 ตัน ต่อไร่ เชื้อโรคจะชะงักไป หรือลดน้อยลงมาก

ชื่อโรค รากปม
อาการ ต้นพริกจะมีอาการแคระแกร็นไม่ค่อยเจริญเติบโต ยอดตั้งชัน ให้ถอนต้นตรวจดูระบบรากฝอยและรากแขนงซึ่งถ้า เป็นโรคนี้รากจะมีปมขนาดต่างๆกันทำให้ระบบเนื้อเยื่อรากผิดปกติ รากจะไม่สามารถดูดกินอาหารได้ตามปกติโรคนี้มักจะเป็นในบริเวณดินที่เป็นดินทราย

สาเหตุ
เกิดจาก
ไส้เดือนฝอย

การป้องกันกำจัด

- ไม่แนะนำให้ใช้ยาเคมีชนิดไดๆในการป้องกันและกำจัดโรคนี้เพราะจะให้ผล ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน วิธีที่ควรทำคือ
-ในแปลงเพาะต้นกล้าอาจใช้วิธีฆ่าไส้เดือนโดยการรมควันหรือใช้น้ำร้อนราด ลงไปบนดินเพื่อฆ่าไส้เดือนฝอย
-ในการปลูกในแปลงควรมีการตากดินให้แห้งสักระยะหนึ่งเพื่อให้ไข่และตัว อ่อนไส้เดือนถูกแดดเผาตาย ไถพรวนดินให้ลึก
- ก่อนปลูกรองพื้นด้วย ที-เอส-3000 ปริมาณ 20 -30 กก.ผสมด้วยปุ๋ยคอก 1 ตัน หว่านรองพื้นในอัตรา 1 ไร่จะทำให้โรคนี้ลดลงได้
-ให้ปลูกพืชหมุนเวียนสลับกับการปลูกพริก ในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังให้ทดน้ำให้ท่วมแปลงระยะหนึ่งจะทำให้ศัตรูชนิดนี้ลดปริมาณลงได้

หมายเหตุ ในดินเหนียวและดินที่มีอินทรียวัตถุมากจะไม่เป็นโรคนี้


ชื่อโรค โรคกุ้งแห้งเทียม (Fruit rot )
อาการ
ผลพริกที่มีแผลเนื่องจากหนอนแมลงวันเจาะผล หรือเนื่องจากผิวแห้งตายเพราะโรคกุ้งแห้ง มักจะมีเชื้อราในอากาศสีดำชนิดหนึ่งมาขึ้นบนแผล ทำให้ผลเน่ามีอาการคล้ายโรคกุ้งแห้งและถ้าเก็บไว้นาน เชื้อราจะระบาดติดต่อกันทำให้พริกเสียหายมากขึ้น

สาเหตุเกิดจาก

เชื้อรา Alternaria sp.

การป้องกันกำจัด

- พ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อราประเภทเคมี
- เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ1 -2 ตันต่อไร่ และใส่ปูนขาวเล็กน้อย
- ป้องกันกำจัดหนอนและแมลงวันเจาะผล
- ก่อนปลูกรองพื้นด้วย ที-เอส-3000 20 -30 กก.ผสมด้วยปุ๋ยคอก1 ตัน หว่านรองพื้นในอัตรา 1 ไร่

หมายเหตุ
การป้องกันโรคควรผสมที-เอส-3000 ทุกครั้งที่มีการใส่ปุ๋ย จะทำให้พริกมีความต้านทานต่อโรคนี้สูงที-เอส-3000 จะทำให้ผนังเซลแข็งแรงและคงทนต่อโรคนี้เป็นอย่างดี


ชื้อโรค โรคกุ้งแห้งหรือแอนแทรกโรส (Anthracnose)
อาการ
ผลพริกมีแผลเป็นรูปไข่หรือวงกลมสีน้ำตาล ซึ่งแผลขยายกว้างออกไปขนาดของแผลไม่จำกัด บางแผลอาจใหญ่จนเน่าหมดทั้งผล เนื้อเยื่อของแผลบุ๋มลึกลงไปจากระดับเดิม และมีเส้นใยราสีดำเป็นขนสั้นๆขึ้นเป็นกระจุกและเรียงเป็นวงกลมหลายชั้น เวลาอากาศชื้นๆ มักมีสปอร์ของเชื้อราอูดออกมาเป็นน้ำข้นเยิ้มสีชมพูอ่อนหรือสีครีมอ่อนทำให้ผลพริกเน่าและติดต่อกันอย่างรวดเร็ว

สาเหตุ
เกิดจาก
เชื้อรา Coolletotrichum capsici โรคนี้มักจะเกิดในช่วงฤดูฝนหรือในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันหลายวัน ทำให้ความชื้นในอากาศมีมากจนทำให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี พริกขาดแคลเซียมที่จะเป็นตัวช่วยให้เซลล์แข็งแรงต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรีย เมื่อเกิดโรคระบาดไม่มีการป้องกันที่ถูกวิธี เช่น เก็บผลที่ถูกทำลายออกจากแปลงมาเผาทำลายการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมอัตราสูงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รากพืชดูดแคลเซียมได้น้อยลงทำให้เกิดโรคนี้ได้

การป้องกันและกำจัด

เก็บผลพริกที่เป็นโรคออกไปทำลายนอกแปลง ทำการกำจัดวัชพืชอย่าให้เป็นที่สะสมของโรค - แมลง และความชื้น ป้องกันโรคนี้ด้วยการปรับปรุงดินก่อนปลูกรองพื้นด้วย ที-เอส-3000 20 -30 กก.ผสมด้วยปุ๋ย คอก1 ตัน หว่านรองพื้นในอัตรา 1 ไร่

ทางใบ ฉีดพ่นทางใบด้วย ซุปเปอร์-แบม 10-20 ซีซี + เอ็มเร็ตต้า 2-3 ช้อนแกง+โปรแท็ป 1-2 ขีด ผสมน้ำ 20 ลิตร จะช่วยลดปัญหาได้ ถ้าเกิดการระบาดรุนแรงให้ตัดต้น หรือกิ่งที่เป็นโรคเผาทำลาย และฉีดสารเคมีควบคุม ทำการกำจัดวัชพืชไม่ให้เป็นที่สะสมของโรค - แมลง พริกบางพันธ์ที่มีผลไต้พุ่ม เช่น พริกชี้ช้า ควรหงายหัวฉีดให้ยาซอกซอนไปเคลือบคลุมผลพริกให้ทั่ว (กำมะถันผงไม่สามารถรักษาโรคนี้หายได้)รวบรวมผลพริกที่เป็นโรคไปฝังหรือเผาทำลาย งดเว้นการใช้เมล็ดพันธ์ที่เก็บมาจากแหล่งที่มีเชื้อโรคมาทำพันธ์ ควรปลูกพืชอื่นสลับหมุนเวียน
หมายเหตุ พริกทุกพันธ์เป็นโรคนี้รวมทั้งมะเขือเทศ โรคนี้มีปัญหามากในฤดูฝน ข้อควรระวังในการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคกุ้งแห้ง คือ ไม่ควรฉีดพ่นสารเคมีชนิดเดียวกันติดต่อกันเกิน 2 ครั้ง
การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมอัตราสูงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รากพืชดูดแคลเซียมได้น้อยลง

ชื้อโรค โรคยอดและดอกเน่า
อาการ
โรคนี้มาสาเหตุมาจากเชื้อรา ( Choanephora sp. )แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดนั้นเป็นเพราะพริกขาดธาตุ แคลเซียม เป็นหลักการเกิดของโรคนี้นอกจากการขาดธาตุแคลเซียมแล้วความชื้นก็มีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โรคนี้มักเกิดกับแปลงที่กำจัดวัชพืชไม่ทันโดยเฉพาะช่วงที่มีน้ำค้างตกเป็นเวลานานจะทำให้โรคระบาดได้รุนแรง

สาเหตุ
เกิดจาก
ถูกทำลายด้วยเชื้อรา Choanephora spระยะเริ่มแรกที่ส่วนยอดจะปรากฏอาการที่เรียกว่ายอดดำ เนื่องจากการเข้าทำลายของเชื้อราต่อมาเชื้อราจะสร้างเส้นสีเทา และที่ยอดและดอกพริกจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ระยะต่อมาเชื้อราจะสร้างสปอร์สีดำอยู่บนส่วนปลายสุดของเส้นใยการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมอัตราสูงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รากพืชดูดแคลเซียมได้น้อยลงทำให้เกิดโรคนี้ได้

การป้องกันและกำจัด

ทางดิน ป้องกันโรคนี้ด้วยการปรับปรุงดินก่อนปลูกรองพื้นด้วย ที-เอส-3000 20 -30 กก.ผสมด้วยปุ๋ย คอก1 ตัน หว่านรองพื้นในอัตรา 1 ไร่ เพื่อให้รากพืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีและดูดอาหารอย่างเต็มที่ ปรับปรุงโครงสร้างทางเคมีของดิน (pH) ให้ได้ประมาณ 6.3-6.8 เพื่อให้พืชสามารถดูดอาหารได้อย่าสมดุลย์ โดยเฉพาะธาตุแคลเซียมซึ่งจะละลายในดินได้ดีที่ pH ประมาณ 6.8-7 ขึ้นไป

ทางใบ ฉีดพ่นทางใบด้วย ซุปเปอร์-แบม 10-20 ซีซี + เอ็มเร็ตต้า 2-3 ช้อนแกง+โปรแท็ป 1-2 ขีด ผสมน้ำ 20 ลิตร จะช่วยลดปัญหาได้ ถ้าเกิดการระบาดรุนแรงให้ตัดต้น หรือกิ่งที่เป็นโรคเผาทำลาย และฉีดสารเคมีควบคุม ทำการกำจัดวัชพืชไม่ให้เป็นที่สะสมของโรค - แมลง


http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=8597.0;all
www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=8597.0;all -




..... พริกซุปเปอร์ฮอท
.....









หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (9974 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©