-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 682 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม





กำลังปรับปรุงครับ


ชี้กรีดยาง 1 ล.ไร่ ก่อนกำหนด สูญแสนล้าน


โดย kmag

คณะเศรษฐกิจมหภาพการเงินการคลัง สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติชี้ เกษตรกรภาคเหนือ-อีสาน ที่ปลูกยางพาราในโครงการ 1 ล้านไร่ กรีดน้ำยางก่อนกำหนด สูญเสียทางเศรษฐกิจภาคเกษตรถึง 1 แสนล้านบาท

นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาพการเงินการคลัง สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากการที่คณะทำงานเศรษฐกิจมหภาคฯ ได้ลงพื้นที่ จ.อุดรธานี หนองคาย และภาคเหนือบางจังหวัด เพื่อประเมินสถานการณ์ยางพาราที่ปลูกในโครงการ 1 ล้านไร่ เพื่อนำมาวิเคราะห์ว่า ผลผลิตที่ได้มามีความคุ้มค่ากับการที่รัฐบาลลงทุนให้หรือไม่ ซึ่งพบว่าขณะนี้มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ บางส่วนรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เห็นราคาที่จูงใจ จึงเร่งกรีดยางในขณะที่ต้นยางยังไม่ได้ขนาดเส้นรอบวงของต้น 50 ซม. จะทำให้เกิดความสูญเสียแก่เศรษฐกิจมหภาคการเกษตรโดยรวมของประเทศในอนาคตได้

"จากการประเมินพบว่า การที่เกษตรกรผู้ปลูกยางในโครงการทั้งภาคเหนือและอีสาน ที่กรีดยางไม่ถูกตามหลักวิชาการก่อให้เกิดความเสียหายมีมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท ฉะนั้นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องหามาตรการเพื่อหยุดยั้งการกระทำดังกล่าวโดยเร่งด่วน โดยมีการกำหนดเป็นมาตรการที่จะนำมาแก้ไข และจำเป็นต้องมีการบูรณาการอย่างครบถ้วนในด้านต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหานี้" นายอุทัยกล่าว
สาเหตุที่เกษตรกรกรีดเร็ว จากการรวบรวมปัจจัยต่างๆ เกิดจากความยากจนของเกษตรกร พอเห็นต้นยางโตพอจึงรีบกรีดเพื่อหารายได้ เพราะจะรอให้ต้นยางได้ขนาด 50 ซม. ตามคำแนะนำ ต้นยางอายุ 7-8 ปี จึงกรีดยางก่อน โดยไม่ได้มีการบำรุงรักษาต้นยาง นอกจากนี้เกษตรกรยังขาดประสบการณ์เพราะไม่เคยมีสวนยางมาก่อน ขณะที่หน่วยงานของรัฐไม่ดูแลและช่วยเหลือเต็มที่ นี่คือปัญหาที่คณะทำงานจะต้องหาหนทางช่วยแก้ไขอย่างเร่งด่วน




ที่มา:
http://www.komchadluek.net

http://kmag.ku.ac.th/phpbb3/viewtopic.php?f=4&t=1135









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (1184 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©