-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 430 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม





กำลังปรับปรุงครับ


ยางพาราเปลือกแห้ง ปัญหาใหญ่ของชาวสวนยาง

 อาการเปลือกแห้ง

อาการเปลือกแห้ง“อาการเปลือกแห้ง”      ปัญหาสำคัญของชาวสวนยาง  มีสาเหตุเกิดจากพันธุ์ยาง ระบบการกรีดยาง สภาพแวดล้อม  อย่างใดอย่างหนึ่ง  หรือหลายปัจจัยรวมกัน





พันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตสูง

โดยเฉพาะพันธุ์ในตระกูลพีบี (PB)เช่น พีบี 235 พีบี 255, พีบี 260  มักเกิดอาการเปลือกแห้งง่ายและรุนแรงกว่าพันธุ์อื่น ประมาณร้อยละ 15-20


       
Agroforestry3



การโหมกรีดยาง

จนลำต้นสร้างน้ำยางต่อเนื่องไม่ทัน  ต้นยางอาจเกิดอาการเปลือกแห้งได้ โดยเฉพาะการเร่งเปิดกรีดยางขนาดเล็กที่ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ในแหล่งปลูกยางใหม่พบปัญหานี้มากที่สุด เพราะชาวสวนยางอาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือรู้ปัญหาดีแต่ทำไปเพราะต้องการรายได้

      
นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมต่างๆ ล้วนมีผลต่ออาการเปลือกแห้ง เช่น สภาพดิน กับความอุดมสมบูรณ์  ความสมดุลของธาตุอาหาร ความเป็นกรดเป็นด่าง ดินที่ระบายน้ำไม่ดี เช่น ดินเหนียว หรือดินนา ดินไม่อุ้มความชื้น เช่น ดินลูกรังและสภาพดินล่างอัดแน่น ทำให้ดินขาดออกซิเจน สูญเสียความชื้น และธาตุอาหารได้ง่าย

  

       หมวกกันฝนต้นยางพารา

ปริมาณน้ำฝน
เป็นอีกปัจจัยสำคัญของอาการเปลือกแห้ง โดยเฉพาะพื้นที่แห้งแล้งที่ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีละ 1,800–2,000 มิลลิเมตร  หรือมีช่วงแล้งนานกว่า 4 เดือน  ยางพารามีโอกาสเป็นอาการเปลือกแห้งค่อนข้างสูง  เพราะความชื้นในดินต่ำ  ต้นยางจึงขาดน้ำไปหล่อเลี้ยง


      


อุณหภูมิ
  
ที่แตกต่างกันมาก เช่น ร้อนมาก หนาวมาก ฝนชุกมาก เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการเปลือกแห้งรุนแรงขึ้น เนื่องจากต้นยางทรุดโทรมง่ายกว่าอุณหภูมิปกติ จึงแนะนำให้หยุดกรีดในช่วงเวลาดังกล่าว


       สวนยางพาราพันธุ์ RRIT 251


ต้นยางที่ถูกลมแรง
  
จะเกิดปัญหาการสังเคราะห์แสง ทำให้ยางขาดน้ำตาลเป็นวัตถุดิบในการสร้างน้ำยางทดแทน หากลมแรงมากจะทำให้ต้นยางบิด กระทบกระเทือนถึงเปลือกและน้ำยาง ทำให้เกิดอาการเปลือกแห้งตามมา


        uvs060617-002.BMP



การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง
   
เป็นการยืดเวลาให้น้ำยางไหลนานขึ้น ต้นยางจึงแสดงอาการเปลือกแห้งได้ง่าย เนื่องจากเซลล์ของเปลือกและท่อน้ำยางตาย ดังนั้น การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางต้องระมัดระวัง ทั้งระบบกรีดและความเข้มข้นที่ใช้ หลีกเลี่ยงต้นยางขนาดเล็กหรือยางเริ่มเปิดกรีด การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง จึงควรใช้กับสวนยางใกล้โค่น หรือสวนยางอายุ 15 ปี ขึ้นไป

        

ข้อควรระวังอีกอย่าง คือ ต้นยางที่อายุมาก
โอกาสเป็นอาการเปลือกแห้งยิ่งมากตาม โดยเฉพาะต้นยางที่กรีดบนเปลือกงอกใหม่



           



หากพันธุ์ยางที่เลือกใช้เป็นต้นตอและต้นพันธุ์ยาง

ที่เข้ากันไม่ได้ เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ต้นยางมักมีอาการเปลือกแห้งตามมา เนื่องจากการเชื่อมต่อของเยื่อเจริญมีปัญหา ส่งผลถึงการเคลื่อนย้ายน้ำและอาหารในลำต้น เกิดอาการเซลล์ตายเป็นจุด ๆ สีน้ำตาลขนาดตามความรุนแรง และขยายจากเท้าช้างขึ้นด้านบนและรอบต้น กลายเป็นอาการเปลือกแห้งในที่สุด 

       

เกษตรกรจึงควรเอาใจใส่ระมัดระวังป้องกันทุกสาเหตุ
ที่อาจก่อปัญหาให้สวนยางเกิดอาการเปลือกแห้ง ซึ่งส่งผลให้สูญเสียผลผลิตยางและรายได้ไปอย่างน่าเสียดาย



 

Agroforestry4






http://www.eingeing.com/dev1/index.php?cate=view&id=143




โรคยางเปลือกแห้งแบบให้น้ำยางไม่ได้(ยางตายนึ่ง)
TAPPING PANEL DRYNESS

โรคยางเปลือกแห้งแบบให้น้ำยางไม่ได้แล้ว ภาษาท้องถิ่นทางภาคใต้เรียกว่า "ยางตายนึ่ง"  การที่ต้นยางพาราให้น้ำยางไม่ได้ หรือ ให้ไม่ต่อเนื่องถ้ามีการสังเกตุให้ดีก่อน จะเกิดอาการเหล่านี้ตัวต้นยางพาราจะให้น้ำยางในปริมาณที่มากและต่อมาน้ำยางก็จะลดลงจนแทบจะไม่มีน้ำยาง   การที่ต้นยางพาราเกิดอาการโรคเปลือกแห้งมีปัจจัยทuมากและยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน แต่จากการที่ทำการรักษาโรคเปลือกแห้งพอสรุปได้ว่า  
                
อาจจะเกิดจากการใช้รอบกรีดยางที่ถี่เกินไป 
                   
การใช้ปุ๋ยเคมีที่ยาวนานมีผลทำให้ผิวดินแข็งและถูกตรึงไว้ทำให้ต้นยางพาราไม่สามารถดึงสารอาหารจากดินได้ ถึงแม้นจะมีการใส่ปุ๋ยต้นฝนและปลายฝน ก็ไม่ทำให้ต้นยางสามารถให้น้ำยางได้อย่างต่อเนื่อง และการที่ใช้ปุ๋ยเคมีอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ระบบรากของต้นยางพาราอ่อนแอมีผลทำให้เชื้อราไฟทอปโทร่าเข้าสู่ลำต้นจึงมีผลทำให้ต้นยางพาราไม่สามารถให้น้ำยางได้ต่อเนื่อง การกรีดยางในช่วงที่ฝนตกชุกระหว่างการกรีดถ้าไม่มีการป้องกันที่ดีก็จะนำพาไปสู่โรคยางเปลือกแห้งได้อีกทางหนึ่ง  
                   
จากการสังเกตุจะเห็นได้ว่าการขยายตัวของโรคยางเปลือกแห้งจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะเกิดจากระบบดินที่ใช้ปุ๋ยเคมีแล้วมีการขยายวงออกหรืออาจเกิดจากมีดกรีดขยายวงเพิ่ม 
                  
ซึ่งการกล่าวข้างต้นยังหาข้อสรุปไม่ได้ แต่ในทางปฎิบัติทีมผู้วิจัยได้ทำการทดลองใช้งานจริงในภาคใต้ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคอีสาน ภาคตะวันออก 
                   
จากผลของการให้ฮอร์โมนทางลำต้นนั้นพอสรุปได้ว่า กลุ่มที่เป็นโรคยางเปลือกแห้งหลังทำการฉีดพ่นฮอร์โมนตามโปรแกรมที่กำหนด ก็จะทำให้ต้นยางพารากลับมาให้น้ำยางได้เหมือนเดิม ผลจากการให้ฮอร์โมนทางลำต้นทำให้ต้นยางพาราได้รับสารอาหารได้โดยตรงและยังปรับสภาพต้นยางให้สามารถดึงสารอาหารจากดินได้ดีขึ้นและถ้าใช้อย่างต่อเนื่องก็จะช่วยปรับสภาพดิน จากการทดลองในทุกภาคของประเทศไทย ฮอร์โมนในกลุ่มนี้ยังสามารถใช้ได้

1 )กลุ่มต้นยางพาราที่เป็นโรคเปลือกแห้ง
2 )ต้นยางพาราที่หมดหน้าเปิดกรีดยางโดยสามารถสร้างผิวหน้าได้ใหม่ 
3 )ในกลุ่มต้นยางที่เปิดหน้าผิดวิธีทำให้เกิดปุ่มตาก็สามารถใช้ฮอร์โมนกลุ่มนี้แก้ไขได้
4 )ในต้นยางพาราที่ไม่เคยให้น้ำยางมาตั้งแต่เริ่มปลูกตลอดเวลา 17ปีก็สามารถให้น้ำยางได้  
                   
กล่าวสรุปโดยรวมหลังการใช้ฮอร์โมนทางลำต้นนั้นจะเห็นได้ว่าจะมีการสร้างผิวใหม่ในบริเวณที่ได้รับฮอร์โมนและไม่มีปุ๋มตางอกออกมามีแต่การสร้างเซลล์ผิวใหม่ ซึ่งสามารถดูได้จากภาพการประมวลผลในหมวด Galleryการใช้ฮอร์โมนกลุ่มนี้ไม่มีสารเคมีเป็นส่วนประกอบ

www.igetweb.com/www/mokoju/index.php?mo=3&art=457704 -



 


 









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (2541 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©