-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 527 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม





เพลี้ยแป้งสายพันธุ์สีชมพู” มหันตภัยตัวใหม่ในสวนยาง


โรคที่เกิดขึ้นในสวนยาง ที่พบเห็นกันบ่อยคือโรคราดำ ราขาว ใบหยิก และหนอน ส่วนโรคเพลี้ย มีชนิดเดียวเท่านั้นคือ เพลี้ยหอย จะเกาะตามยอดใบยางที่ต้นยางมีอายุราว 2 ปี แต่ไม่ทำอันตรายมากนัก สามารถกำจัดได้

“เพลี้ยแป้งสายพันธุ์สีชมพู” ถือเป็นโรคใหม่ที่มาจากแถวๆ แอฟริกา มีลักษณะพิเศษ คือ เพลี้ยสามารถสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศก็ได้ เมื่อผนึกกำลังกับเพลี้ยแป้งสายพันธุ์ดั้งเดิมอีก 3 พันธุ์ ที่กำลังระบาดอยู่ทุกปีในแปลงมันสำปะหลัง อาจทำให้ความรุนแรงจะทวีคูณขึ้น แต่จะไม่มีพิษต่อคนและสัตว์

เพลี้ยแป้งสายพันธุ์สีชมพู เป็นแมลงชนิดหนึ่งมักชอบอาศัยในบริเวณที่ปลูกมันสำปะหลังทึบแน่น จะใช้ปากดูดน้ำเลี้ยงจากพืชอาศัย สามารถวางไข่ได้ครั้ง 600-800 ฟอง ระยะเวลาฟักไข่ 6-10 วัน ตัวอ่อนมีอายุ 35-40 วัน ชอบอาศัยอยู่ในดิน รากพืช และไม้ยืนต้น เช่น ฝรั่ง พุทรา น้อยหน่า มะม่วงหิมพานต์ ลีลาวดี สะเดา รวมทั้งใบยางพารา เป็นต้น

หลักการสังเกตคือบนตัวเต็มวัยจะมีมูลหวานที่ถ่ายออกมาคล้ายแป้ง พาหะของการระบาดเกิดจากลมพัดพา น้ำ และการคาบตัวอ่อนของฝูงมดที่มากินมูลหวาน อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้โรคนี้ลามไปที่อื่น มีวิธีกำจัดคือ ใช้รถดับเพลิงบรรทุกเชื้อจุลินทรีย์ชื่อว่า "ไดโครโดมาร์" ผสมกับน้ำฉีดพ่นไปที่ต้นยางพารา

แม้โรคเพลี้ยแป้งสายพันธุ์สีชมพู เพิ่งจะระบาดในวงแคบในพื้นที่แต่อย่านอนใจ เพราะหากปล่อยไปอาจจะกลายเป็นมหันตภัยที่จะคุกคามเกษตรกรชาวสวนยางพาราในอนาคต


forum.nanagarden.com/default.aspx?g=posts&t=176 -









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (1310 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©