-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 549 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม





กำลังปรับปรุงครับ


ธาตุอาหารพืช ที่จำเป็น สำหรับปาล์มน้ำมัน

ข้อมูลโดย กรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร

   ปาล์มน้ำมัน

        ปาล์มน้ำมัน ต้องการธาตุอาหารที่จำเป็นทั้ง 16 ธาตุ เหมือนกับพืชชนิดอื่น ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มตามลักษณะความต้องการของปาล์มน้ำมัน ได้แก่

   กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ต้องการใช้ในปริมาณมาก หรือค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่น ได้แก่
ไนโตรเจน โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และโบรอน

   กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่พืชได้รับจากน้ำและอากาศ ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน

   กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ปาล์มน้ำมันไม่ต้องการมากนัก และมักไม่แสดงอาการขาดธาตุอาหารในดินทั่วๆ ไป ได้แก่ แคลเซียม กำมะถัน คลอรีน ทองแดง แมงกานีส โมลิบดีนัม สังกะสี และเหล็ก

   อย่างไรก็ตาม ปาล์มน้ำมันต้องการธาตุอาหารในกลุ่มที่ 1 มากที่สุด ธาตุอาหารทั้ง 5 นี้ มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และมีอิทธิพลต่อกระบวนการต่างๆ ซึ่งส่งผลให้มีการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตน้ำมันปาล์มในขั้นสุดท้าย


   1. ไนโตรเจน
   ไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบของโปรตีน มีความสำคัญต่อกระบวนการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันเป็นอย่างมาก มีผลต่อพื้นที่ใบ สีของใบ อัตราการเกิดใบใหม่ และการดูดซึมธาตุอาหาร โดยเฉพาะในระยะที่ต้นปาล์มน้ำมันยังมีอายุน้อย เพราะในระยะดังกล่าวต้นปาล์มน้ำมันจะตอบสนองต่อธาตุไนโตรเจนมากกว่าต้นขนาดใหญ่ จึงจำเป็นต้องให้ไนโตรเจนเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นปาล์มน้ำมัน ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงอายุ 6 ปี อาการขาดธาตุไนโตรเจน มักจะพบมากในต้นปาล์มน้ำมันเล็กที่ปลูกในดินทรายตื้นๆ ดินที่มีการระบายน้ำไม่ดี หรือดินที่มีการระบายน้ำเร็ว รวมทั้งหน้าดินมีการชะล้างพังทลาย แก้ไขได้โดยการระบายน้ำก่อนแล้วจึงใส่ปุ๋ยไนโตรเจนตาม และพบในพื้นที่ที่มีวัชพืชปกคลุมหนาแน่นบริเวณรากของปาล์มน้ำมัน เนื่องจากไปลดการตรึงไนโตรเจนของปาล์มน้ำมัน ปาล์มน้ำมันที่มีอาการขาดธาตุไนโตรเจน จะมีอัตราการเจริญเติบโตช้า โดยเฉพาะอัตราการผลิตใบใหม่จะลดลง อาการที่พบได้ชัดเจน คือ ใบย่อยของทางใบล่างจะเหลือง ใบมีขนาดเล็กลง ถ้าขาดรุนแรงใบจะมีสีเหลือง

   อัตราการใส่ไนโตรเจนในแต่ละท้องถิ่นขึ้นอยู่กับอายุ และศักยภาพการให้ผลผลิต และมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ชนิดของดินและสภาพภูมิอากาศ โดยทั่วไปแนะนำให้ใส่ไนโตรเจน ในอัตรา 1.5-8.0 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี ในรูปของแอมโมเนียมซัลเฟต

   วิธีใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ต้นปาล์มน้ำมันขนาดเล็กให้หว่านไนโตรเจนรอบๆ โคนต้น ส่วนในปาล์มน้ำมันขนาดใหญ่ให้ใส่บริเวณระหว่างแถวปาล์มน้ำมัน ควรกำจัดวัชพืชทุกครั้งก่อนใส่ปุ๋ย ไม่ควรใส่ไนโตรเจนในปริมาณที่มากเป็นแถบๆ รอบโคนต้น เพราะเป็นการสูญเสียไนโตรเจนได้ง่าย และความเข้มข้นของไนโตรเจนที่สูงอาจเป็นอันตรายต่อรากได้

   ช่วงเวลาที่เหมาะสม ช่วงเวลาของการใส่ไนโตรเจนนับว่ามีความสำคัญมากกว่าธาตุอาหารอื่น เนื่องจากไนโตรเจนสูญเสียได้ง่ายจากการระเหิดและการชะล้างของน้ำบริเวณผิวดินและใต้ดิน ดังนั้น เพื่อลดการสูญเสียจากการระเหิดควรใส่ยูเรียในขณะที่ดินมีความชื้น ไม่ควรใส่มากกว่า 1 กิโลกรัม ต่อต้น ในครั้งเดียวกัน ควรแบ่งใส่หลายครั้ง


   2. ฟอสฟอรัส
    มีบทบาทสำคัญในการสร้างองค์ประกอบของเซลล์และการสืบพันธุ์ ทำหน้าที่เป็นตัวรับและถ่ายทอดพลังงานระหว่างสารต่างๆ ในกระบวนการที่สำคัญ เช่น การสังเคราะห์แสง การหายใจ เป็นต้น

    ผลกระทบจากปาล์มน้ำมันที่ขาดธาตุฟอสฟอรัส จะทำให้มีการชะงักการเจริญเติบโต หรืออัตราการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันต่ำ ทางใบสั้น ลำต้นเล็ก และขนาดของทะลายเล็ก ในกรณีที่มีฟอสฟอรัสที่ละลายได้ในดินมากเกินไป ซึ่งมักพบในดินทรายจะเป็นสาเหตุทำให้ขาดธาตุทองแดง และสังกะสีในปาล์มน้ำมันได้

    การขาดธาตุฟอสฟอรัสอาจเกิดจากในดินมีฟอสฟอรัสน้อย หรือฟอสฟอรัสจากอินทรียวัตถุถูกชะล้างไป หรือหญ้าคาขึ้นมาก ซึ่งสังเกตการขาดฟอสฟอรัสของปาล์มน้ำมันได้จากวัชพืชที่อยู่บริเวณใกล้เคียง เช่น หญ้าคา มีสีม่วงอมแดง วัชพืชแคระแกรน พืชคลุมดินจะมีใบเล็กกว่าปกติ

    อัตราการใส่ฟอสฟอรัส ในปาล์มเล็กอายุไม่เกิน 3 ปี ควรใส่ฟอสฟอรัสที่ละลายน้ำได้ดี เช่น ทริบเปิ้ลซุปเปอ์ ฟอสเฟต (TSP) หรือไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (DAP) หรือหินฟอสเฟตที่มีคุณภาพดี ละลายน้ำได้สูง ส่วนปาล์มน้ำมันใหญ่ใช้หินฟอสเฟต เพราะมีความเหมาะสมในด้านการจัดการดิน และด้านเศรษฐกิจ

    วิธีใส่ฟอสฟอรัส ในปาล์มน้ำมันเล็กให้หว่านบริเวณรอบโคนต้นหรือรอบทรงพุ่ม ส่วนปาล์มน้ำมันต้นใหญ่ให้ใส่ระหว่างแถว

    ช่วงเวลาการใส่ฟอสฟอรัส ควรใส่ในช่วงที่มีฝนตกพอเพียง หรือดินมีความชื้นพอที่รากพืชจะดูดฟอสฟอรัสไปใช้ประโยชน์


   3. โพแทสเซียม
    โพแทสเซียม เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แสง การหายใจ กระบวนการสร้างแป้งและน้ำตาล ตลอดการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลในพืช ช่วยให้น้ำในพืชมีความสมดุล และควบคุมการเปิดปิดของปากใบในเซลล์พืช ดังนั้นปาล์มน้ำมันที่ได้รับโพแทสเซียมเพียงพอ จะทนทานต่อความแห้งแล้ง และโรคได้ดี และช่วยให้ทะลายปาล์มน้ำมันมีขนาดใหญ่ และจำนวนเพิ่มขึ้น ในดินทรายและดินพรุมักมีปัญหาขาดโพแทสเซียมอย่างรุนแรง ทำให้การเจริญเติบโตและผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลง

    อาการขาดโพแทสเซียม ลักษณะอาการขาดโพแทสเซียมค่อนข้างแปรปรวน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และชนิดของพันธุ์ อาการที่พบโดยทั่วไป คือ

      1. ลักษณะเป็นจุดสีส้มตามใบ บางครั้งพบเป็นจุดสีเหลืองซีด อาการเริ่มแรกจะเป็นจุดเหลืองซีดรูปร่างจุดไม่แน่นอน พบในใบย่อยของทางใบล่าง เมื่ออาการรุนแรงจุดเหลืองจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม อาการรุนแรงมากขึ้นจุดเนื้อเยื่อตายตรงส่วนกลางของจุดสีส้ม และถ้าพบว่าใบปาล์มน้ำมันทางใบล่างมีลักษณะอาการจุดส้มดังกล่าว แต่แสดงอาการเพียงต้นเดียวในขณะที่ต้นข้างเคียงไม่แสดงอาการให้พิจารณาว่าน่าจะเป็นผลทางพันธุกรรมมากกว่าอาการขาดธาตุโพแทสเซียม

      2. อาการใบเหลืองหรือกลางทรงพุ่มเหลือง มักพบในดินทรายและดินอินทรีย์หรือดินพรุ โดยเฉพาะในช่วงที่ขาดน้ำอย่างรุนแรง ใบย่อยของทางใบกลางจนถึงทางใบล่างมีอาการสีเหลืองส้ม ถ้าอาการขาดโพแทสเซียมรุนแรงจะพบใบย่อยของทางใบล่างแห้งเพิ่มขึ้น และตายในที่สุด

      3. อาการตุ่มแผลสีส้ม อาการเริ่มแรกจะมีลักษณะเป็นแถบสีเขียวมะกอกในใบย่อยของทางใบล่างของปาล์มน้ำมัน เมื่ออาการขาดโพแทสเซียมอย่างรุนแรง สีใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม น้ำตาลอมส้ม และตายในที่สุด

      4. แถบใบยาว มีลักษณะคล้ายแท่งดินสอ มักพบตรงส่วนกลางของใบย่อยปาล์มน้ำมัน อายุ 3-6 ปี อาการนี้อาจมีสาเหตุมาจากความไม่สมดุลของธาตุอาหาร เนื่องจากปาล์มน้ำมันได้รับไนโตรเจนมากไป หรือได้รับโพแทสเซียมน้อยไป

    การใส่โพแทสเซียมคลอไรด์ควรอยู่ในช่วง 1-5 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี ขึ้นอยู่กับอายุของต้นปาล์มน้ำมัน ชนิดของดิน และผลผลิตที่ต้องการ ซึ่งการตอบสนองต่อการใส่โพแทสเซียมจะลดลงถ้าปาล์มน้ำมันได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ เนื่องจากปลูกปาล์มน้ำมันแน่นมากเกินไป

    การใส่โพแทสเซียมสามารถใส่ในขณะดินแห้งได้ การสูญเสียโพแทสเซียมส่วนใหญ่เกิดจากการชะล้างจากหน้าดิน การลดการสูญเสียสามารถทำได้โดยการหว่านปุ๋ยโพแทสเซียมรอบๆ ต้นปาล์มน้ำมันเล็กบริเวณที่กำจัดวัชพืช ส่วนปาล์มน้ำมันใหญ่ให้หว่านโพแทสเซียมระหว่างแถวหรือบริเวณทางใบที่นำมากองระหว่างแถว


   4. แมกนีเซียม
    บทบาทสำคัญของธาตุแมกนีเซียมในปาล์มน้ำมัน คือเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการต่างๆ เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ และมีบทบาทในการสังเคราะห์กรดไขมัน อาการขาดแมกนีเซียม มักพบในบริเวณพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันโดยเฉพาะในดินทรายและดินกรวด หรือบริเวณที่หน้าดินถูกชะล้าง ลักษณะอาการขาดธาตุแมกนีเซียมสังเกตุได้ง่าย อาการในระยะแรก ใบย่อยของทางใบตอนล่างจะมีสีซีดคล้ายสีเขียวมะกอก โดยเฉพาะใบที่รับแสงอาทิตย์โดยตรง แต่ส่วนใบย่อยที่ไม่สัมผัสแสงอาทิตย์จะยังคงมีสีเขียวอยู่ เมื่ออาการรุนแรงขึ้นสีจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองจนถึงเป็นสีส้มเข้มทั้งใบ และแห้งตายในที่สุด มักเรียกอาการนี้ว่า "ทางใบส้ม" อาการขาดแมกนีเซียมอาจเกิดจากต้นปาล์มน้ำมันได้รับโพแตสเซียมมากเกินไปก็ได้

    การแก้ไขอาการขาดแมกนีเซียมที่รุนแรง ให้ใส่กลีเซอไรด์ (MgSo4) 2-5 กิโลกรัม ต่อต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง ต่อปี สำหรับการดูแลรักษาทั่วๆ ไป ควรใส่ 0.5-1.5 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี โดยหว่านรอบๆ โคนต้นบริเวณที่มีการกำจัดวัชพืชแล้ว ต้นปาล์มน้ำมันใหญ่ควรใส่บริเวณระหว่างแถว หรือบริเวณกองทางใบปาล์ม ส่วนหินโดโลไมท์ควรหว่านในบริเวณระหว่างแถว ไม่ควรใส่โดยไม่กำจัดวัชพืช และควรใส่แมกนีเซียมก่อนการใส่โพแทสเซียม ประมาณ 2 สัปดาห์


   5. โบรอน
    โบรอนมีบทบาทในการสังเคราะห์และย่อยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตในพืช ช่วยในการลำเลียงน้ำตาลในพืช เกี่ยวข้องกับการดูดและคายน้ำ และกระบวนการสังเคราะห์แสง จำเป็นสำหรับการงอกของหลอดละอองเกสรตัวผู้ในช่วงการผสมเกสร จำเป็นในการแบ่งเซลล์โดยเฉพาะบริเวณปลายยอดและปลายราก เกี่ยวข้องกับการดูดธาตุแคลเซียมของรากพืช ดังนั้นโบรอนเป็นธาตุอาหารที่ค่อนข้างมีความสำคัญต่อาการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันมาก การขาดธาตุโบรอนของปาล์มน้ำมันเป็นปัญหาใหญ่ และค่อนข้างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย

อาการขาดธาตุโบรอนจะแสดงออกในส่วนที่อ่อนที่สุดของพืช เนื่องจากเป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนย้ายในพืช ดังนั้นการขาดธาตุโบรอนจะส่งผลต่อการพัฒนาของใบ ทำให้ใบมีรูปร่างผิดปกติ ดังนี้

       1. ทางใบยอดจะย่นพับเข้าหากัน ทำให้ใบสั้นผิดปกติ

       2. อาการขาดที่ไม่รุนแรง ปลายใบจะหักงอคล้ายตะขอ

       3. อาการขาดที่รุนแรง ใบยอดจะย่นและปลายใบหัก นอกจากนี้มีอาการใบเปราะและสีเขียวเข้ม

       4. ทะลายปาล์มจะมีเมล็ดลีบ หรือมีเปอร์เซ็นการผสมไม่ติดสูง

    โดยทั่วไปจะใส่โบแรกซ์ 50 กรัม ต่อต้น ต่อปี ให้กับปาล์มน้ำมัน ในปีที่ 4-6 จะเพิ่มเป็น 100 กรัม ต่อต้น ต่อปี ในกรณีที่ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตสูงจะมีการใส่โบรอนไปเรื่อยๆ โดยใส่ในบริเวณรอบโคนต้น ปริมาณความต้องการธาตุอาหารของปาล์มน้ำมันแปรปรวน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพันธุ์ สมบัติของดิน และสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนระยะปลูก

http://www.kasetd.com/nutrient_plam.html









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (2132 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©