-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 469 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม








 
ใช้ปุ๋ยจากทะลายปาล์มเปล่า เทคนิคเพิ่ม่ผลผลิตปาล์มน้ำมัน

ในยุคที่ราคาน้ำมันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายฝ่ายหันมาให้ความสนใจกับการใช้พลังงานทดแทน โดยเฉพาะการผลิตไบโอดีเซลทดแทนการใช้น้ำมันดีเซล ซึ่งพืชที่มีการกล่าวถึงอย่างมากและเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางคือ ปาล์มน้ำมันที่สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบผลิตไบโอดีเซล….

ปาล์มน้ำมัน....พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของโลกและของประเทศไทย...โดยสามารถนำผลผลิตมาใช้ประโยชน์ทั้งการอุปโภคและบริโภค

ใน ยุคที่น้ำมันมีราคาแพงหูฉี่....สามารถใช้เป็น  พลังงานทดแทน โดยผสมกับน้ำมันดีเซล ในระดับ B2 และ B5...ใช้ในเครื่องยนต์ ได้ดี...ราคาถูกกว่าปิโตรเลียม

อีกทั้งวัสดุที่เหลือ ใช้จากกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม เช่น กะลาปาล์ม  เส้นใยปาล์ม สามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อน เพื่อแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้อีกด้วย

...ส่วนกากเนื้อในปาล์ม สามารถนำมาเป็นส่วนผสมอาหารสัตว์ ที่ให้ ทั้งโปรตีนและพลังงานสูง ส่วนที่มีความสำคัญที่เหลือจากกระบวนการสกัดน้ำมันอีกอย่าง คือ ทะลายปาล์มเปล่า ซึ่งเป็นแหล่งของ อินทรียวัตถุ อย่างดี เมื่อย่อยสลายจะให้ ธาตุโปแตสเซียมค่อนข้างสูง

ศูนย์วิจัยปาล์ม สุราษฎร์ธานี ได้ศึกษาการใช้ทะลายปาล์มเปล่าคลุมโคนต้นปาล์ม...ตั้งแต่ เริ่มปลูกจนปาล์มอายุ 8 ปี ใส่ทะลายเปล่าปริมาณ  150  กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ทำให้ผลผลิตทะลายสด เพิ่มขึ้นจาก 2.6 ตันต่อไร่ เป็น 3.1 ตันต่อไร่ หรือให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 19.2% และมีแนวโน้มว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้นอีก เมื่อมีการใช้ทะลายปาล์มเปล่าในปริมาณที่มากขึ้น...
...โดยทะลาย ปาล์มเปล่า 1,000 กก. จะให้ปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) 11.7 กิโลกรัม และปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) 7.45 กิโลกรัม...

นอกจากนี้ทะลาย ปาล์มเปล่า ยังช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน ช่วยปรับโครงสร้างของดิน ทำให้ ดินร่วนซุย ช่วยปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดิน และลดการชะล้างพังทลายของดิน การใส่ทะลายปาล์มเปล่าร่วมกับปุ๋ยเคมี จะช่วยเพิ่มการใช้ประโยชน์จากธาตุอาหาร เช่น ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม ฯลฯ และทำให้สภาพแวดล้อมเหมาะต่อการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมัน อีกทั้งเป็นการนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย

มหา วิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร ร่วมกับ บริษัทอาร์แอนด์ดี เกษตรพัฒนา จำกัด ได้จัดทำ "โครงการสหกิจศึกษาทางวิชาการเกษตร" เพื่อเป็นความรู้นำมาช่วยเหลือเกษตรกร

โดยมี...นายเลอพงษ์ รักร่วม เกษตรกรตำบลวิสัยใต้ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ซึ่งเข้าร่วมในโครงการนี้ บอกว่า...การนำทะลายเปล่ามาใช้คลุมผิวหน้าดินรอบโคนต้นปาล์ม ควรนำมากองทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน เพื่อให้เกิดกระบวนการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ และช่วยลดความร้อนอีกทั้งยังทำให้น้ำหนักและปริมาณลดลง ทำให้สะดวกในการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายไปใส่คลุมโคนต้นปาล์ม

ผลการ ทดลองสิ่งที่พึงระมัดระวัง คือ ไม่ควรคลุมทะลายปาล์มเปล่าสูงเกิน 15 ซม. เพื่อหลีกเลี่ยง กลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของด้วงแรด และควรป้องกันตัวเต็มวัยของมันที่จะเข้ากัดทำลายคอ ยอด ปาล์มน้ำมัน โดยใช้สารฆ่าแมลงคาร์โบฟูแรน (ฟูราดาน 3% จี) อัตรา 100 กรัม/ต้น ใส่รอบยอดอ่อนและซอกโคนทางใบ

ผู้สนใจต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมไปชม แปลงได้ที่   โครงการสหกิจศึกษาทางวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร หรือกริ๊งกร๊างหา เลอพงษ์ 08-6293-6977, 08-4063-9327.

ที่มา : ไชยรัตน์ ส้มฉุน ไทยรัฐออนไลน

www.oatthailand.org/index.php/en/joomla-overview/163-news7 -
 









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (2348 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©