-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 642 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม






กระตุ้นปาล์มน้ำมัน “แทงช่อดอก” ที่ พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี


คุณอนันต์  แซ่กวาง  (ร้านกรุณาการเกษตร)นักส่งเสริมการตลาดของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ในพื้นที่เขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้กล่าวถึงการนำภูไมท์ซัลเฟตและฮอร์โมนไข่ไปกระตุ้นการแทงช่อดอกของปาล์มน้ำมันในพื้นที่ของเกษตรกร ซึ่ง คุณอนันต์ กล่าวว่าในช่วงแรก ๆ ให้เกษตรกรหรือลูกไร่ ใช้ภูไมท์ซัลเฟตผสมกับปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ ( ตามที่เคยใช้อยู่ อัตรา 2 : 5 หรือ ภูไมท์ซัลเฟต 1 กระสอบต่อปุ๋ยเคมี 1 กระสอบ เพื่อให้สะดวกในการนำไปใช้) สำหรับการนำไปใช้ก็ให้ใส่ปุ๋ย+ภูไมท์ซัลเฟต ในปริมาณเดิม เช่น ท่านเคยใส่ปุ๋ยเคมีเท่าไร่ ก็ให้ใส่ตามปกติ  จากการสังเกตในระยะเวลา 1 เดือนพบว่า “ปาล์มน้ำมัน อายุ 5 ปี ซึ่งเป็นปาล์มน้ำมันที่เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 2  ใบมีลักษณะสีเขียวเข็ม ก้านทางใบแข็งแรง เวลาลมพัดไม่เปราะหักง่าย  ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจแก่เกษตรกร 
     
ต่อมาลองให้เกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าวลองฉีดพ่นฮอร์โมนไข่ร่วมด้วย ในอัตรา 30 ซีซี.ต่อน้ำเปล่า 200 ลิตร โดยฉีดพ่นทั่วแปลงทั้งส่วนใบและบริเวณรอบทรงพุ่ม โดยเฉพาะส่วนใต้ใบฉีดพ่นให้ชุ่มโชก “เนื่องจากปากใบอยู่บริเวณส่วนไต้ใบมากกว่าบนใบ” และได้ลองสังเกตเช่นเดียวกันปรากฏว่า “ใบปาล์มน้ำมันมีสีเขียวเข็ม  ก้านทางใบแข็งแรง เวลาลมพัดไม่เปราะหักง่าย ผลผลิตเพิ่มจากเดิม 20 - 30 เปอร์เซ็นต์ ” ซึ่งสามารถจำแนกการทำงานหรือการไปใช้ของต้นปาล์มน้ำมันได้ดังนี้


1.ภูไมท์ซัลเฟต  : ประโยชน์ของมีดังนี้

•   ซิลิซิค แอซิค/เนื้อภูไมท์   : ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่เซลล์พืช ลดการเข้าทำลายของแมลง ไร รา ศัตรูโรค  * หากกรณีใส่ทางดิน ช่วยเพิ่มซิลิก้าในดิน ตรึงสารพิษไม่ให้เป็นอันตรายต่อพืช และช่วยอุ้มน้ำป้องกันดินแห้ง

•   แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3 ): ช่วยในการแบ่งเซลล์ที่ปลายรากและยอด  ช่วยสร้างโครงสร้างของโครโมโซม  ช่วยในการทำงานของเอนไซม์และธาตุบางธาตุ  ช่วยลดความเป็นพิษจากสารพิษต่าง ๆ  เช่น  กรดออกซาลิก  ช่วยในการงอกและการเจริญเติบโตของละอองเกสรตัวผู้ (pollen) ส่งเสริมการเกิดปมที่รากในพืชตระกูลถั่ว

•   แมกนีเซียมคาร์บอเนต (MgCO3 ) : เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ เอนไซม์ เช่น Carboxylase  ช่วยสร้างเม็ดสี (pigments)  และสารสีเขียว  ช่วยในการเคลื่อนย้ายน้ำตาลในพืช  ร่วมกับกำมะถันในการสังเคราะห์น้ำมัน   ในการดูดฟอสฟอรัสและควบคุมปริมาณแคลเซียมในพืช

•   ฟอสฟอริก แอซิค ( H2PO4- ): ช่วยในการสังเคราะห์แสง  สร้างแป้งและน้ำตาล  ส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากทำให้ลำต้นแข็งแรงไม่ล้มง่ายและต้านทานโรค  ช่วยให้พืชแก่เร็ว  ช่วยในการสร้างดอกและเมล็ด  และช่วยให้พืชดูดไนโตรเจน โพแทสเซียมและโมลิบดินัมได้ดีขึ้น

•   ซัลเฟต (So42- ): ช่วยการเจริญเติบโตของราก  เป็นส่วนประกอบของสารประกอบหลายชนิดเช่น วิตามินบี 1 และ บี 3 กรดอมิโน Cystine สารระเหยซึ่งให้กลิ่นเฉพาะตัวในพืช เช่น หอม กะหล่ำปลี มัสตาร์ด ช่วยสร้าง คลอโรฟีลล์และช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสง  เพิ่มไขมันในพืชและควบคุมการทำงานของแคลเซียม

•   เหล็ก  (Fe): เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์สำหรับสร้างคลอโรฟีลล์  และของ Cytochrome ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการหายใจ  ช่วยสร้างโปรตีนส่งเสริมให้เกิดปมที่รากถั่วและช่วยดูดธาตุอาหารอื่น

•   สังกะสี (Zn) : ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน  คลอโรฟีลล์และฮอร์โมน IAA (Indole Acetic Acid) เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์และเอนไซม์หลายชนิดเช่น Carbonic anhydrase Alcoholic dehydrogenase เป็นต้น ช่วยให้ฟอสฟอรัสและไนโตรเจนเป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น  ช่วยให้พืชเจริญเติบโตเป็นปกติมีส่วนการขยายพันธุ์พืชบางชนิดและมีผลต่อการแก่และการสุดของพืช


2. ฮอร์โมนไข่ : มีประโยชน์ ดังนี้

•   แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3 ): ซึ่งได้จากเปลือกไข่จะช่วยในการแบ่งเซลล์ที่ปลายรากและยอด  ช่วยสร้างโครงสร้างของโครโมโซม  ช่วยในการทำงานของเอนไซม์และธาตุบางธาตุ  ช่วยลดความเป็นพิษจากสารพิษต่าง ๆ  เช่น  กรดออกซาลิก  ช่วยในการงอกและการเจริญเติบโตของละอองเกสรตัวผู้ (pollen)
 
•   กรดอมิโน วิตามิน และเกลือแร่ : ช่วยในขบวนการสังเคราะห์แสงพืช เพิ่มพลังงานให้แก่จุลินทรีย์ในดิน ทำให้ดินมีชีวิต

•   ฟอสฟอริก แอซิค ( H2PO4- ): ช่วยในขบวนการสังเคราะห์แสง  สร้างแป้งและน้ำตาล  ส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากทำให้ลำต้นแข็งแรงไม่ล้มง่ายและต้านทานโรค  ช่วยให้พืชแก่เร็ว  ช่วยในการสร้างดอกและเมล็ด  และช่วยให้พืชดูดไนโตรเจน โพแทสเซียมและโมลิบดินัมได้ดีขึ้น

•   เหล็ก  (Fe): เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์สำหรับสร้างคลอโรฟีลล์  และของ Cytochrome ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการหายใจ  ช่วยสร้างโปรตีนส่งเสริมให้เกิดปมที่รากถั่วและช่วยดูดธาตุอาหารอื่น

•   สังกะสี (Zn) : ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน  คลอโรฟีลล์และฮอร์โมน IAA (Indole Acetic Acid) เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์และเอนไซม์หลายชนิดเช่น Carbonic anhydrase Alcoholic dehydrogenase เป็นต้น ช่วยให้ฟอสฟอรัสและไนโตรเจนเป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น  ช่วยให้พืชเจริญเติบโตเป็นปกติมีส่วนการขยายพันธุ์พืชบางชนิดและมีผลต่อการแก่และการสุดของพืช

•   คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ (CO2) : ช่วยในขนวนการสังเคราะห์แสง การสร้างแป้งและน้ำตาลของพืช

•   กลุ่มจุลินทรีย์ : ช่วยในขบวนการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ เพิ่มธาตุอาหารในดิน ประโยชน์ในการสังเคราะห์แสง


สำหรับเกษตรกรที่ต้องการใช้ฮอร์โมนไข่เร่งการออกดอกของพืชให้ใช้ในอัตราส่วน 2-3 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงเช้าหรือเย็น 7-10 วัน/ครั้ง

- กรณีที่ใช้ในไม้ผลไม้ว่าจะเป็นการผลิต ในหรือนอกฤดูกาล เกษตรกรต้องบำรุงต้นพืชให้สมบูรณ์ที่สุดก่อน แล้วค่อยเร่งการออกดอกด้วยฮอร์โมนไข่โดยเริ่มฉีดพ่นตั้งแต่ติดใบอ่อนรุ่นที่ 3 ประมาณ 30-45 วัน ไม้ผลจะติดดอก 50-80 เปอร์เซ็นต์ ของทรงพุ่มต้องหยุดฉีดพ่นฮอร์โมนไข่ทันที ถ้าฝืนพ่นต่อไปจะทำให้ดอกร่วง เนื่องจากฮอร์โมนไข่สูตรนี้มีความเข้มข้นและความเค็มสูง ถ้าต้องการให้ออกดอกนอกฤดูต้องให้มีช่วงฝนทิ้งช่วงหรือทิ้งช่วงการให้น้ำ 14-21 วัน/ครั้ง แล้วฉีดพ่นด้วยฮอร์โมนไข่ 7-10 วัน /ครั้ง ไม้ผลก็จะออกดอก จากนั้นฉีดพ่นซิลิโคเทรซ  5 – 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร  7–15 วัน / ครั้ง เพื่อบำรุงผลผลิตให้สมบูรณ์

- กรณีที่ใช้ในข้าว พืชไร่ พืชผักและไม้ดอกไม้ประดับ ควรฉีดพ่นตั้งแต่พืชตั้งตัวได้จนถึงออกดอกเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ จึงหยุดพ่น แต่ไม่ควรใช้ฮอร์โมนไข่เร่งดอกในพืชผักกินใบ เช่น คะน้า ผักกาดขาว ผักกาดหอม เพราะพืชผักเหล่านี้จะออกดอก ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ และขายไม่ได้ราคา


สำหรับเกษตรกรท่านใดสนใจหรือสอบถามแลกเปลี่ยนข้อมูลสามารถติดต่อได้ที่ คุณ อนันต์  แซ่กวาง  (ร้านกรุณาการเกษตร ) ถ.พุนพิน – หนองขลี  อ.พุนพิน  จ.สุราษฎร์ธานี หรือ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680 , 081-3983128 หรือ email:
thaigreenagro@gmail.com

ร่วมแบ่งปันความรู้โดย นายเอกรินทร์  ช่วยชู  (สะตอเมืองคอน)

www.thaigreenagro.com









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (2458 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©