-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 535 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อาชีพเสริม








จุไร เกิดควน

ทำปลาส้มจากปลาทะเล เปิดตลาดและเพิ่มทางเลือกแก่ผู้บริโภค

ปลาส้ม เป็นอาหารหมักจากเนื้อปลา ซึ่งเป็นกระบวนการถนอมอาหารจากสัตว์น้ำจากภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยทั่วไปปลาส้มจะผลิตจากปลาน้ำจืด นักวิจัยได้นำปลาทะเลมาผลิตปลาส้ม ที่มีรสชาติ กลิ่นดี เนื้อสัมผัสแน่นและยืดหยุ่น ใกล้เคียงกับปลาส้มทางการค้าที่ผลิตจากปลาน้ำจืด

ปลาส้มจัดเป็นอาหารพื้นเมืองของไทยที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เนื่องจากเนื้อปลามีปริมาณโปรตีนค่อนข้างสูง 10-12% การทำปลาส้มโดยทั่วไปมักผลิตโดยการนำเนื้อปลาแล่ชิ้นหรือปลาทั้งตัวมาหมักกับเกลือ ข้าวเหนียวหรือข้าวเจ้าสุก และกระเทียม คุณลักษณะปลาส้มที่ดีต้องมีรสเปรี้ยว เนื้อสัมผัสแน่น และมีสีขาวถึงสีชมพูอ่อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและคุณภาพของปลาที่นำมาเป็นวัตถุดิบ ส่วนประกอบอื่นๆ รวมทั้งขั้นตอนการเตรียมก่อนการหมัก เช่น ผู้ผลิตบางรายอาจใช้ปลาทั้งตัวที่ผ่านการขอดเกล็ดและกำจัดเครื่องในออกแล้ว หรือบางรายอาจใช้เนื้อปลาแล่เป็นชิ้น การล้างและการแช่เนื้อปลาก่อนการหมัก เป็นต้น

ดร.ศิริพร เรียบร้อย อาจารย์ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เปิดเผยว่า โดยทั่วไปปลาส้มจะทำจากปลาน้ำจืด เช่น ปลาตะเพียน ปลานวลจันทร์ ปลาช่อน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปลาทะเลสามารถนำมาผลิตปลาส้มได้เช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าปลาทะเลจะมีปัญหากลิ่นคาว และมักไม่ประสบความสำเร็จในการหมัก จึงได้ทำการศึกษาทดลองนำปลาทรายแดงแล่ชิ้นซึ่งเป็นปลาทะเลมาผลิตปลาส้ม พบว่า ปลาส้มจากปลาทรายแดงมีรสชาติดี กลิ่นรสดี เนื้อสัมผัสแน่นและยืดหยุ่น และได้รับการยอมรับใกล้เคียงกับปลาส้มทางการค้าที่ผลิตจากปลาน้ำจืด นอกจากนี้ การนำปลาทะเลมาผลิตเป็นปลาส้มอาจลดปัญหาเกี่ยวกับพยาธิที่มักพบในปลาน้ำจืดได้อีกทางหนึ่ง จึงเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคที่ชอบรับประทานอาหารหมักอีกด้วย

การหมักปลาส้มเป็นการหมักที่อาศัยการเจริญของจุลินทรีย์กลุ่มแลกติกแอซิดแบคทีเรีย (Lactic Acid Bacteria) ในระหว่างการหมัก จุลินทรีย์เหล่านี้จะสร้างกรดแลกติกได้จากคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าวสุกและกระเทียม ทำให้ความเป็นกรดของปลาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งมีค่าความเป็นกรดหรือค่า พีเอช เท่ากับหรือน้อยกว่า 4.6 กรดเหล่านี้มีผลต่อการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสียและจุลินทรีย์ก่อโรค และทำให้ปลาส้มมีรสเปรี้ยว การเติมเกลือและการบรรจุปลาส้มในสภาวะที่มีอากาศเพียงเล็กน้อยหรือไร้อากาศ ทำให้แลกติกแอซิดแบคทีเรียสามารถเจริญได้ดีกว่าจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ การลดลงของค่า พีเอช ยังมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนจากกล้ามเนื้อปลา เช่น การจับตัวกันของโปรตีนกล้ามเนื้อ ความสามารถในการอุ้มน้ำ เป็นต้น ทำให้เนื้อปลามีความแน่นเนื้อเพิ่มขึ้น คงรูปได้มากขึ้น การหมักปลาส้มยังมีผลทำให้เกิดการย่อยของสารอาหารต่างๆ เช่น โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต โดยกิจกรรมของเอ็นไซม์จากจุลินทรีย์และเนื้อปลาทำให้สารอาหารมีขนาดโมเลกุลเล็กลง ร่างกายสามารถย่อยได้ง่าย รวมทั้งการเกิดเนื้อสัมผัส กลิ่น กลิ่นรส เฉพาะตัวของผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นที่ดึงดูดใจของผู้บริโภค

ปลาส้มมักนิยมรับประทานแบบปรุงสุก เช่น การทอด การนึ่ง เป็นต้น ปัจจุบันปลาส้มอาจจัดเป็นกับข้าวรับประทานร่วมกับอาหารมื้อหลักหรืออาหารว่าง อย่างไรก็ตาม การบริโภคอาหารหมักจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย เช่น การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่ก่อโรค ซึ่งอาจมาจากกระบวนการหมักที่ควบคุมความสะอาดและสภาวะที่ไม่ถูกต้อง การเก็บรักษาระหว่างรอจำหน่าย หากเกิดปนเปื้อนของจุลินทรีย์ดังกล่าวอาจทำให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์บริสุทธิ์มาใช้สำหรับการหมักอาหารเพิ่มขึ้น เพื่อควบคุมคุณภาพและความสม่ำเสมอของปลาส้มที่ผ่านการหมักแล้ว ทำให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัยและมั่นใจในผลิตภัณฑ์อาหารหมักเพิ่มขึ้น

ผู้สนใจจะผลิตปลาส้มจากปลาทะเลสามารถติดต่อได้ที่ ดร.ศิริพร เรียบร้อย ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทรศัพท์ (02) 579-5514 ต่อ 1309 หรือ 1312 หรือ โทรศัพท์ (084) 858-0897 ได้ในวันและเวลาราชการ

ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (1524 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©