-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 561 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เกษตรดีเด่น









 

'ผาย สร้อยสระกลาง'  ปราชญ์เกษตรแห่งแผ่นดิน...

"เกิดเป็นคนให้รู้จักตัวเอง อ่านตัวให้ออก บอกตัวให้ได้ ใช้ตัวให้เป็น” นี่คือประโยคเด็ดของ นายผาย สร้อยสระกลาง ปราชญ์เกษตรแห่งแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้พลิกชีวิตของตัวเองด้วยหนึ่งสมองและสองมือของตัวเอง จนประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นที่ยกย่องนับถือของเกษตรกรจำนวนมาก
   
นายผาย เล่าย้อนความหลังว่าจากเพลงกล่อมลูกของแม่ที่ว่าด้วย “แม่ไป ไฮ่หมกไข่มาหา แม่ไปนาหมกไข่ปลามาป้อน แม่เลี้ยงหม่อนอยู่ป่าสวนหม่อน” เป็นจุดเริ่มต้นในการทำอาชีพเกษตรของตนมาโดยตลอด แม้ที่ผ่านมาจะมีการลอง ผิดลองถูก ล้มลุกคลุกคลานมาบ้าง แต่ก็ไม่เคยย่อท้อ อีกทั้งยังได้นำแนวคิดจากเพลงกล่อมลูกของแม่นั้นมาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาปากท้องของตนเองและชาวบ้าน เพราะเกือบทุกครัวเรือนล้วน ทอผ้า ต่อมาจึงใช้ที่ดินสาธารณะของชุมชน 400 ไร่ พาชาวบ้านปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และยังตั้งกองทุนสวัสดิการบ้านสระคูณ
   
นายผาย เล่าต่ออีกว่า เมื่อปี 2525 สภาพอากาศแล้งจัดทำให้เกิดปัญหาปากท้องในพื้นที่ ตนจึงเกิดความคิดว่าต้องช่วยตัวเองก่อนแล้วจึงกลับมาช่วยชาว บ้าน โดยกู้เงิน ธ.ก.ส.ไปซื้อที่แล้วถางป่าปลูกข้าวโพดต่างอำเภอ ปีแรกได้ราคาดีแต่ผลผลิตไม่ดี ปีที่สองผลผลิตมากแต่ราคาต่ำเพราะไม่มีอำนาจต่อรอง ประสบการณ์ครั้งนั้นสอนบทเรียนให้รู้ว่า ความโลภอยากรวยสร้างหนี้ ทำลายสิ่งแวดล้อม และยังทำลายครอบครัว สังคม เพราะ การละถิ่นฐาน ตนจึงคิดทบทวนจนรู้ว่ามาผิดทาง และคิดได้ว่าต้องกลับมาตั้งหลัก ที่บ้านเกิด
   
หลังจากกลับมาตั้งหลักที่บ้านเกิดแล้ว จึงได้ตัดสินใจทำการ เกษตรแบบผสมผสาน โดยเริ่มจากการใช้จอบขุดดินปั้นสระน้ำด้วยมือ เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ พร้อมกับเลี้ยงปลา ปลูกข้าว ปลูกพืชผัก ผลไม้นานาชนิด เมื่อเวลาผ่านไปจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมาย ซึ่งจากการเริ่มต้นของตนทำให้ปัจจุบันบ้านสระคูณเกือบทุกครอบครัวทำเกษตรผสมผสาน  ขุดสระเลี้ยงปลา ปลูกผลไม้ ปลูกผัก ทำนาข้าว เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ในที่นา ทำให้ชาวบ้านลดค่าใช้จ่าย และมีรายได้เสริมอย่าง ต่อเนื่อง
   
“แต่ก่อนรัฐไม่ได้ให้พัฒนาคนพัฒนาความคิด มีเงินเท่าไหร่ก็หมด แต่ช่วงหลังรัฐให้เงินมาสอนคนให้รู้ตัวเอง มีที่ดินก็ต้องทำ มีเงินต้องออม ทำบัญชีรายรับรายจ่าย พัฒนาคนให้รู้ตัวเองว่าเป็นใครมีหน้าที่ทำอะไร แล้วก็รักแผ่นดินเกิด ส่วนเราทำให้คนอื่นทำตาม ทำแล้วก็ขยายเครือข่ายไปเรื่อย ๆ เราขยายแนวความคิดมันจะทำให้เกิดความยั่งยืน” นายผาย กล่าว
   
ปัจจุบันนายผายหันมาทำเกษตรประณีต เนื่องจากการทำเกษตรประณีตนั้น ไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่มากมาย แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่านั้น คือ แนวคิดในการทำการเกษตร แนวคิดในการใช้ชีวิต ซึ่งหาก ผู้ปฏิบัติยึดเพียงรูปแบบการทำเกษตรแบบประณีตในแปลง การพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนก็อาจไม่ประสบผล เกษตรประณีตจะสมบูรณ์ต้องประกอบด้วยหลักคิดในการทำการเกษตรผสานกับหลักคิดที่ต้องมีในตัวผู้ปฏิบัติ ความสำคัญในการพัฒนาคนจึงมาก่อน ซึ่งเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการทำให้คนลองใช้ความสามารถกับพื้นที่เล็ก ๆ ก่อน เมื่อมีความชำนาญแล้วก็ขยายไปสู่พื้นที่ที่มากกว่า 1 ไร่ มีการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้  เมื่อทำไปก็จะพึ่งตนเองได้ ไม่ยากจน  และสามารถปลดภาระหนี้สินได้
   
...“ชาวนาที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีความสุข”...คือคำอธิบายตัวตนของ นายผาย สร้อยสระกลาง.


ที่มา  :  เดลินิวส์









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (1391 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©