-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 508 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

จุลินทรีย์






ขยะหอม

ขยะหอม เป็นการนำขยะจำพวกเศษอาหาร พืชผักและผลไม้ที่เหลือจากการบริโภคมาใช้ประโยชน์ โดยการนำมาหมักกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ ตามสูตรและส่วนผสมและระยะเวลาที่กำหนด จากการหมักจะเกิดการแปรสภาพขึ้น ทำให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้เช่น น้ำที่ใช้ในการหมัก สามารถนำไปรดต้นไม้เพื่อบำรุงและเพื่อป้องกันศัตรูพืชหรือนำไปใช้ในการบำบัดกลิ่นเหม็นและแก้ไขการอุดตันในห้องน้ำห้องส้วม ส่วนเศษอาหารพืชผัก และผลไม้ หลังการหมักแล้ว สามารถนำไปทำเป็นปุ๋ยใส่ให้แก่ต้นไม้ได้อีกต่อไป

ได้มีการคันพบว่ามีจุลินทรีย์จำนวน 5 กลุ่มซึ่งสามารถทำงานร่วมกันได้โดยไม่มีผลเสียหายในการร่วมกันย่อยสลายอินทรียวัตถุ ให้กลายเป็นปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพสูงสุดทีเรียกว่า ปุ๋ย อี เอ็ม ( EM หรือEffective microorganisms) จุลินทรีย์ ทั้ง 5 กลุ่มประกอบด้วย

  1. กลุ่มจุลินทรีย์ Lactobacillus bacteria
  2. กลุ่มจุลินทรีย์ Photosynthetic bacteria
  3. กลุ่มจุลินทรีย์ Yeasts
  4. กลุ่มจุลินทรีย์ Actinomycetes
  5. กลุ่มจุลินทรีย์ Nitrogen fixing bacteria

และเก็บเชื่อจุลินทรีย์ทั้ง 5 กลุ่มนี้นำมาคัดเลือกให้บริสุทธิ์แล้วนำมาผสมต่อกัน ให้ย่อยสลาย อินทรียวัตถุ ในลักษณะที่ไม่มีอากาศช่วยหายใจ อย่างไรก็ตามจุลินทรีย์จำนวน 5 กลุ่มนี้ยังมีบางกลุ่มที่ต้องการอากาศในการหายใจเพื่อเป็นพลังงานในการย่อยสลายอยู่ ได้แก่ Yeasts และ Actinomycetes พลังงานหรืออาหารของจุลินทรีย์ สำหรับกลุ่ม Anaerobic ก็คือ น้ำตาลอาจเป็นน้ำตาลอะไรก็ได้ เช่น น้ำตาลปีบ น้ำตาลทรายแดง กากน้ำตาล โมแลสซีส (Molasses) เป็นต้น

นอกจากประโยชน์ที่กล่าวมาข้างต้น ผลผลิตที่ได้จากการทำขยะหอมนั้นยังมีอีกหลายด้าน ซึ่งจะได้กล่าวให้ทราบถึงรายละเอียดต่อไป

การหมักขยะหอม หรือการหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ (สาร EM)

สารสกัดชีวภาพ หรือ EM หรือ Effective Microorganisms นี้คือน้ำหมักที่ได้จากการหมักเศษพืช เศษอาหาร หรือแม้แต่โปรตีนจากสัตว์เช่นน้ำนม Whey หอยเชอรี่ และเศษอาหารเข้าด้วยกัน ในตัวสารหมักจะประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ซึ่งประกอบด้วยสารอินทรีย์ซึ่งเป็นปุ๋ย จุลินทรีย์ช่วยย่อยโปรตีน ขจัดกลิ่นและ สารปฏิชีวนะซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้ทั้งพวกแอโรบิค และแอนแอโรบิคขับออกมามีฤทธิ์ทำลายเชื้อราในดินที่ก่อให้เกิดโรคโคนเน่าในพืชที่เกิดจากเชื้อ Phytopthora sp. และโรคเน่าของพืชผักที่เกิดจากแบคทีเรีย Erwinia sp. และ Rhizoctonia sp. รวมทั้งมีฮฮร์โมนพืชหลายชนิด มีผลต่อการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของพืช การเร่งการติดดอกและผล

อุปกรณ์ และวัตถุดิบ

  1. ถังมีฝาปิด (ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นโลหะเพราะอาจเป็นสนิมได้)
  2. ถุงปุ๋ย
  3. กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง
  4. หัวเชื้อจุลินทรีย์
  5. น้ำ (ปราศจากคลอรีน)
  6. เศษอาหาร พืชผัก ผลไม้ ที่ยังไม่เน่าเสีย
ขั้นตอนการหมัก
  1. การหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งมีส่วนประกอบคือ น้ำ กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดงและหัวเชื้อจุลินทรีย์โดยมีอัตราส่วนการใช้ดังนี้
    1. การหมักในถังขนาดเล็กความจุ 10 ลิตร
      • เติมน้ำ 8 ลิตรใส่ถัง
      • ใส่กากน้ำตาล 250 cc (หรือน้ำตาลทรายแดงประมาณ 3 ขีด)
      • เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ 250 cc
    2. การหมักในถังขนาดใหญ่ ความจุ 120 ลิตร
      • เติมน้ำ 80 ลิตรใส่ถัง
      • ใส่กากน้ำตาล 2,500 cc (2.5ลิตร)
      • เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ 2,500 cc (2.5ลิตร)
  2. ปิดฝาถังให้แน่น ทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน อย่าให้ถูกแสงแดดจัด เมื่อเปิดฝาถังดูจะเห็นจุลินทรีย์จับตัวเต็มผิวน้ำ จะได้หัวเชื้อจุลินทรีย์นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
  3. นำเศษอาหาร ผัก หรือผลไม้หรือพวกสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ดี มัดปากถุงให้แน่น แล้วหย่อนลงในถังน้ำหรือหัวเชื้อที่เตรียมไว้ให้ระดับของเศษอาหารจมอยู่ใต้น้ำจุลินทรีย์ ปิดฝาถังให้แน่น
  4. ถ้ามีเศษอาหารที่จะกำจัดเพิ่มเติม ก็ให้นำไปใส่ในถุงปุ๋ยที่แช่น้ำจุลินทรีย์ดังกล่าวหากน้ำจุลินทรีย์ไม่มากพอที่จะท่วมเศษอาหารในถุงปุ๋ยให้เติมน้ำเปล่า และกากน้ำตาล (หรือน้ำตาลทรายแดง) ในสัดส่วนน้ำ 8 ลิตร กากน้ำตาล 250 cc (หรือน้ำตาลทรายแดง 3 ขีด)
  5. ขยะที่หมักในน้ำจุลินทรีย์จะไม่เน่าเหม็น (แต่ถ้ามีกลิ่นเหม็นหรือมีหนอนให้เติมกากน้ำตาลลงไป) เมื่อทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน ก็สามารถนำเอาขยะหอมาใช้ได้

ในกรณีที่ต้องการหมักขยะหอม แต่ไม่มีหัวเชื้อจุลินทรีย์จะสามารถเตรียมหัวเชื้อจุลินทรีย์ได้ดังนี้

  1. 1. นำผัก ผลไม้ ทุกส่วนสับให้เป็นชิ้นเล็ก ใส่ในภาชนะมีฝาปิด
  2. 2. ใส่กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลทรายขาวลงไป 1 ใน 3 ของน้ำหนักเศษผัก ผลไม้ คลุกเคล้าให้น้ำตาลและเศษผักผลไม้เข้ากัน
  3. 3. ใช้ของหนักวางทับเศษผัก ผลไม้ไว้ แล้วปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน
  4. 4. เมื่อทิ้งไว้ 5-7 วัน จะมีน้ำไหลออกมา คือ น้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์ ให้รินใส่ขวดปิดฝาให้สนิท พร้อมที่จะนำไปหมักขยะหอมได้

หมายเหตุ
ถ้าจำนวนเศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ มีปริมาณมาก เช่น ในโรงครัว โรงพยาบาล หรือสถานศึกษา สถาบันต่างๆ ก็สามารถหมักขยะหอมได้ โดยใช้น้ำ กากน้ำตาลและน้ำหัวเชื้อในอัตราส่วนเพิ่มขึ้น ตามขั้นตอนการหมักขั้นต้น

การเก็บรักษาหัวเชื้อจุลินทรีย์

  1. เก็บไว้ในที่ร่มอุณหภูมิไม่เกิน 45-50 องศาเซลเซียส อย่าให้อากาศเข้า
  2. ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท
  3. การนำหัวเชื้อไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาด
  4. การเก็บไว้หลายๆวันโดยไม่มีการเคลื่อนไหวภาชนะจะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ นั่นคือการทำงานของจุลินทรีย์ที่พักตัว เมื่อเขย่าแล้วทิ้งไว้ชั่วขณะฝ้าขาวจะสลายตัวกลับไปอยู่ในจุลินทรีย์เหมือนเดิม
  5. เมื่อนำไปขยายเชื้อในกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอมและเป็นฟองขาวๆ ภายใจ 2-3 วัน ถ้าไม่มีฟองดังกล่าวแสดงว่าการขยายเชื้อยังไม่ได้ผล
  6. จุลินทรีย์ที่นำไปขยายเชื้อแล้วควรใช้ภายใน 7 วัน หลังจากหมักได้ที่แล้ว ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพที่อาจเกิดจากความไม่สะอาดของภาชนะ และสิ่งแปลกปลอมจากอากาศ เพราะจุลินทรีย์พวกนี้ส่วนใหญ่ไม่ต้องการอากาศ
  7. ก่อนใช้ทุกครั้งควรตรวจดูก่อนว่ามีกลิ่นหอมเปรี้ยวอมหวานหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่ายังใช้ได้
ประโยชน์และการนำไปใช้
  1. ใช้บำบัดกลิ่นเหม็นต่างๆ โดยผสมน้ำในสัดส่วน 1: 10 แล้วราดบริเวณที่มีกลิ่นเช่น ห้องส้วม กองขยะ ท่อระบายน้ำ ฯลฯ จุลินทรีย์จะไปเร่งการย่อยสลายอินทรีย์สารที่เป็นต้นเหตุให้เกิดกลิ่นเหม็น แล้วคลายออกซิเจนออกมา
  2. เทลงในโถส้วม หรือท่อระบายน้ำทิ้งหลังใช้งานจุลินทรีย์จะไปช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ตกค้างทำให้ส้วมไม่เต็มเร็ว และท่อระบายน้ำทิ้งไม่อุดตัน
  3. เทลงในท่อระบายน้ำหรือบ่อที่มีน้ำเน่าเสียจุลินทรีย์จะไปย่อยสลายอินทรีย์สารที่เป็นต้นเหตุให้น้ำเน่าแล้วเพิ่มก๊าซออกซิเจนในน้ำทำให้น้ำหายเน่าเสีย
  4. ผสมน้ำจุลินทรีย์ 1 ส่วน น้ำ 500 ใช้ฉีดหรือรดที่ใบหรือโคนต้นไม้สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง จะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช ลดการก่อกวนของแมลงโดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง น้ำจุลินทรีย์จะช่วยให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมดีขึ้น
หมักโดยใช้เศษอาหาร ประโยชน์หลัก ช่วยเพิ่มโปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก และยังมีแร่ธาตุบางชนิดที่พืชต้องการ
หมักโดยใช้พืชผัก ประโยชน์หลัก เร่งการเจริญเติบโตของพืชช่วยให้ใบลำต้น รากแห้งแข็งแรง
หมักโดยใช้ผลไม้ ประโยชน์หลัก เร่งการเจริญเติบโตของดอก ช่วยให้ดอกติดผลง่าย

คุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติมถ้าหมักด้วยพืชผักผลไม้บางอย่าง

  • สะเดาและขี้เหล็ก เป็นตัวหมัก สรรพคุณพิเศษคือ ขับไล่แมลงศัตรูพืช
  • บอระเพ็ด เป็นตัวหมัก สรรพคุณพิเศษคือ ป้องกันหนอนชอนใบ
  • ผลไม้ 3 อย่างรวมกันคือ กล้วยน้ำว้า (สุก) ฟักทอง (แก่) และมะละกอ (สุก) เป็นตัวหมัก สรรพคุณพิเศษ คือ เร่งดอกติดผลง่าย
  1. ขยะอินทรีย์ที่ไม่อยู่ในถุงปุ๋ย หลังจากแช่น้ำจุลินทรีย์ได้ประมาณ 7 วัน ก็สามารถนำมาผสมดินในอัตราส่วนขยะอินทรีย์สาร 1ส่วนต่อ ดิน 1 ส่วนจะได้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ไว้ใช้ในการปลูกต้นไม้




arts.kmutt.ac.th/ssc210/Group%20Project/.../part2_5.html -





จุลินทรีย์จากขยะ….ยับยั้งเชื่อราในโรคพืช

ต้นทุนถูกกว่าสารเคมีไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

จากปัญหาเชื้อราก่อให้เกิดโรคในพืช และทำให้เกษตรกรต้องไปซื้อสารเคมีหรือยาปราบศัตรูพืชมาใช้ในการทำลายเชื้อราดังกล่าว ทำให้ต้นทุนของเกษตรกรสูงขึ้น ทั้งสารเคมียังมีการตกค้างทำลายสิ่งแวดล้อมบริเวณพื้นที่เกษตรกรรม ทำให้นักวิจัยมีแนวความคิดที่จะหาสารชีวภาพ ซึ่งสามารถออกฤทธิ์ไม่ให้เชื้อราอันก่อให้เกิดโรคพืชเจริญเติบโตได้และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาใช้ทดแทนกัน…


ผศ.ประสาท โพธิ์นิ่มแดง อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.ขอนแก่น กล่าวถึงความเป็นมาในการค้นพบ จุลินทรีย์จากขยะ ซึ่งมีศักยภาพยับยั้งการเจริญ  เติบโตของเชื้อราในโรคพืช

ผศ.ประสาท สาธยายให้ฟังว่า Bacillus Subtilis เป็นเชื้อจุลินทรีย์ชนิดแรกที่ค้นพบจากขยะโดยมีมากในขยะอินทรีย์ สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา Fusarium oxysporum ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคต้นเหี่ยวในมะเขือเทศ โดยกระบวน การทดลองในการศึกษาวิจัยใน   ครั้งนี้ ได้นำขยะมาคัดเลือกเพื่อแยกเศษพลาสติกออก เอาเฉพาะขยะสีเขียว โดยนำตัวอย่างขยะมาประมาณ 10 กรัม ทำการแขวนลอยในสารละลายบัพเฟอร์ปริมาตร 90 มิลลิลิตร เขย่าให้เข้ากัน และนำมาทำการเพิ่มจำนวนในอาหารเลี้ยงเชื้อ จากนั้นนำเชื้อไปทาบนผิวหน้าอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดแข็งด้วยแท่งแก้วงอ เพื่อให้ได้กลุ่มของเชื้อแบคทีเรีย และนำไปทดสอบการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา โดยเฉพาะเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคต้นเหี่ยวในมะเขือเทศ ที่มีชื่อว่า Fusarium oxysporum ที่มักระบาดในต้นมะเขือเทศที่ปลูกใหม่ ผลการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการได้ผลประมาณ 80% ในการป้องกันโรคต้นเหี่ยวในมะเขือเทศ


ภายหลังศึกษาเพิ่มเติม ผศ.ประสาท พบจุลินทรีย์อีกหนึ่งชนิดที่มีประสิทธิภาพมาก   กว่าและต้นทุนในการเลี้ยงเชื้อถูกกว่า Bacillus Subtilis โดยสามารถออกฤทธิ์ในการยับยั้งไม่    ให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดีกว่า รวมทั้งป้องกัน    การเกิดโรคในพืชได้มากกว่าเดิม ทั้งนี้ นอก      จากยับยั้งการเจริญเติบโตเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคเหี่ยวในมะเขือเทศได้แล้วยังสามารถยับยั้งเชื้อรา Collectoticum ที่ก่อให้เกิดโรคกุ้งแห้งในพริกได้ 100% อีกด้วย โดยโรคกุ้งแห้งในพริกนี้จะส่งผลให้พริกเหี่ยวงอเหมือนตัวกุ้ง สีดำ ต้องเด็ดทิ้งไม่สามารถนำออกขายได้

“สำหรับจุลินทรีย์ตัวใหม่ที่ค้นพบนั้น จากการศึกษาในห้องปฏิบัติการคาดว่าน่าจะเป็น Actinomyces ซึ่งจะได้ทำการศึกษาในห้อง     ปฏิบัติการ เพื่อยืนยันชนิดของจุลินทรีย์ที่ค้นพบ      ต่อไป พร้อมทั้งนำไปขยายผลการทดลองในแปลงทดสอบด้วย และจากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ จุลินทรีย์ตัวใหม่นี้ใช้น้ำแป้งข้าวเจ้าและแป้งมันสำปะหลังเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อ ดังนั้น น้ำทิ้งจาก      โรงงานผลิตเส้นขนมจีน หรือน้ำทิ้งจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง ก็สามารถนำมาเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ตัวนี้ได้ ซึ่งจะเป็นการใช้ประโยชน์จากของเสียได้อีกทางหนึ่ง” ผศ.ประสาท กล่าว

สำหรับการพัฒนางานวิจัยในขั้นต่อไป นักวิจัยจะผลิตสารสกัดจากเชื้อจุลินทรีย์    ที่คัดแยกจากขยะหรือของเสีย ในรูปแบบผงแห้งและชนิดน้ำ เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำ       ไปใช้ได้โดยสะดวก ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรประหยัดต้นทุนลงได้


เกษตรกรรายใดสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.ประสาท โพธิ์นิ่มแดง ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.ขอนแก่น โทร. 0-4336-2006 หรือ 08-9422-2207.


http://agriculturethai.wordpress.com/tag/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/





ยับยั้งเชื้อราในพืช ด้วย จุลินทรีย์จากขยะ ผลงานวิจัยจาก มข.


มข.ค้นพบจุลินทรีย์จากขยะ ระบุออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อราในโรคพืช ต้นทุนถูกกว่าสารเคมี ซ้ำไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อนาคต
อัปเดท ( 29 มีนาคม 2554 )


มข.ค้นพบจุลินทรีย์จากขยะ ระบุออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อราในโรคพืช ต้นทุนถูกกว่าสารเคมี ซ้ำไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อนาคตพัฒนาต่อในรูปแบบเกษตรกรนำไปใช้ง่าย
       
      
จากปัญหาเชื้อราก่อให้เกิดโรคในพืช และทำให้เกษตรกรต้องไปซื้อสารเคมีหรือยาปราบศัตรูพืชมาใช้ในการทำลายเชื้อรา ดังกล่าว ทำให้ต้นทุนของเกษตรกรสูงขึ้น ทั้งสารเคมียังมีสารตกค้างทำลายสิ่งแวดล้อมบริเวณพื้นที่เกษตรกรรมทำให้นัก วิจัยมีแนวความคิดที่จะหาสารชีวภาพซึ่งสามารถออกฤทธิ์ไม่ให้เชื้อราอันก่อ ให้เกิดโรคพืชเจริญเติบโตได้และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาใช้ทดแทนกัน
       
      
ผศ.ประสาท โพธิ์นิ่มแดง อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวถึงความเป็นมาในการค้นพบจุลินทรีย์จากขยะซึ่งมีศักยภาพในยับยั้งการ เจริญเติบโตของเชื้อราในโรคพืช
       
      
"Bacillus Subtilis เป็นเชื้อจุลินทรีย์ตัวแรกที่ค้นพบจากขยะโดยมีมากในขยะอินทรีย์สามารถออก ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา Fusarium oxysporum ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคต้นเหี่ยวในมะเขือเทศ โดยกระบวนการทดลองในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้นำขยะมาคัดเลือกเพื่อแยกเศษพลาสติกออก เอาเฉพาะขยะสีเขียว โดยนำตัวอย่างขยะมาประมาณ 10 กรัม ทำการแขวนลอยในสารละลายบัพเฟอร์ปริมาตร 90 มิลลิลิตร เขย่าให้เข้ากัน และนำมาทำการเพิ่มจำนวนในอาหารเลี้ยงเชื้อ จากนั้นนำเชื้อไปทาบนผิวหน้าอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดแข็งด้วยแท่งแก้วงอ เพื่อให้ได้กลุ่มของเชื้อแบคทีเรีย และนำไปทดสอบการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา โดยเฉพาะเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคต้นเหี่ยวในมะเขือเทศ ที่มีชื่อว่า Fusarium oxysporum ที่มักระบาดในต้นมะเขือเทศที่ปลูกใหม่"
       
      
ผศ.ประสาทกล่าวต่อว่า ผลการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการได้ผลประมาณ 80 % ในการป้องกันโรคต้นเหี่ยวในมะเขือเทศ "ภายหลังศึกษาเพิ่มเติม พบจุลินทรีย์อีกหนึ่งชนิดที่มีประสิทธิภาพมากกว่าและต้นทุนในการเลี้ยงเชื้อ ถูกกว่า Bacillus Subtilis โดยสามารถออกฤทธิ์ในการยับยั้งไม่ให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดีกว่า รวมทั้งป้องกันการเกิดโรคในพืชได้มากกว่าเดิม นอกจากยับยั้งการเจริญเติบโตเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคเหี่ยวในมะเขือเทศได้ แล้วยังสามารถยับยั้งเชื้อรา Collectoticum ที่ก่อให้เกิดโรคกุ้งแห้งในพริกได้ 100 % อีกด้วย โดยโรคกุ้งแห้งในพริกนี้จะส่งผลให้พริกเหี่ยวงอเหมือนตัวกุ้ง สีดำ ต้องเด็ดทิ้งไม่สามารถนำออกขายได้"
       
      
“สำหรับจุลินทรีย์ตัวใหม่ที่ค้นพบนั้น จากการศึกษาในห้องปฏิบัติการคาดว่าน่าจะเป็น Actinomyces ซึ่งจะได้ทำการศึกษาในห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันชนิดของจุลินทรีย์ที่ค้นพบ ต่อไป พร้อมทั้งนำไปขยายผลการทดลองในแปลงทดสอบด้วย จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ จุลินทรีย์ตัวใหม่นี้ใช้น้ำแป้งข้าวเจ้าและแป้งมันสำปะหลังเป็นอาหารเลี้ยง เชื้อ ดังนั้น น้ำทิ้งจากโรงงงานผลิตเส้นขนมจีน หรือ น้ำทิ้งจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง ก็สามารถนำมาเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ตัวนี้ได้ ซึ่งจะเป็นการใช้ประโยชน์จากของเสียได้อีกทางหนึ่ง” ผศ.ประสาทกล่าว
       
      
สำหรับการพัฒนางานวิจัยในขั้นต่อไป นักวิจัยจะผลิตสารสกัดจากเชื้อจุลลินทรีย์ที่คัดแยกจากขยะหรือของเสีย ในรูปแบบผงแห้งและชนิดน้ำ เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้โดยสะดวก ซึ่งจะช่วยให้เกษตรประหยัดต้นทุนลงได้ เกษตรกรรายใดสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.ประสาท โพธิ์นิ่มแดง อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โทร.043-362006 หรือ 089-4222207


http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000020549

หากเนื้อหาเป็นประโยชน์ อย่าลืมกด +1 ให้กับเนื้อหานี้นะคะ...
http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00424









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (2624 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©