-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 388 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

จุลินทรีย์




หน้า: 1/2


 2.4  จุลินทรีย์ในดิน

2.4.1
  ความหมาย
     
จุลินทรีย์ หรือ จุลชีพ หมายถึง สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (ปกติจะมีขนาดเล็กกว่า 0.1 mm) และการตรวจสอบลักษณะรูปร่างของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ (แสวง,2525)
ดิน เป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ต่างๆ อีกทั้งยังเป็นแหล่งรวมของกระบวนการทางชีวเคมีที่จุลินทรีย์มีบทบาทเกี่ยวข้อง  เช่น   การย่อยสลายอินทรียวัตถุ การแปรรูปธาตุอาหารของพืช เป็นต้น ซึ่งการที่จุลินทรีย์เหล่านี้จะทำให้เกิดกิจกรรมต่างๆ มันจะต้องได้รับอาหารเพื่อก่อให้เกิดพลังงานที่ส่วนใหญ่จะได้มาจากอินทรียวัตถุที่มีอยู่ในดิน การเกิดกิจกรรมจะเกิดได้ทั้งในสภาพที่มีออกซิเจนและไม่มีออกซิเจน ขึ้นอยู่กับชนิดของจุลินทรีย์ดิน (นันทกร,2536) 

2.4.2
  ชนิดของจุลินทรีย์ดิน
 
จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ภายในดินมีทั้งหมด 5 กลุ่ม ได้แก่
1)      แบคทีเรีย (Bacteria)
2)      เชื้อรา (Fungi)
3)      แอคติโนมัยซีท (Actinomycetes)
4)      สาหร่าย (Algae)
5)      โปรโตรซัว  (Protozoa)
6)      ไวรัส  (Virus)

จุลินทรีย์ทุกกลุ่มจะมีกิจกรรมย่อยสลายอินทรียวัตถุขึ้นพร้อม ๆ กัน แต่ปริมาณกิจกรรมของจุลินทรีย์แต่ละชนิดจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดของอินทรียวัตถุ สภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้นและอากาศ  โดยทั่วไปแล้วกิจกรรมหลักจะเกิดจากจุลินทรีย์เพียง 3 กลุ่ม คือ แบคทีเรีย  เชื้อรา และแอคติโนมัยซีท  
กิจกรรมแรกที่เกิดมักเกิดขึ้นจากแบคทีเรีย เพราะแบคทีเรียสามารถทำกิจกรรมได้เร็วมากกับสารประกอบที่ละลายน้ำได้ง่าย เช่น กรดอะมิโน โปรตีน และน้ำตาล  เมื่อแบคทีเรียทำงานจะทำให้เกิดอุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งจะไปกระตุ้นการทำงานของเชื้อราแอคติโนมัยซีท และแบคทีเรียบางกลุ่ม จุลินทรีย์เหล่านี้จะย่อยสารที่ยาก เช่น เซลลูโลส เฮไมเซลลูโลสและลิกนิน  ในขณะเดียวกันจะทำให้เกิดอุณหภูมิที่สูงขึ้น ซึ่งจะไปกระตุ้นจุลินทรีย์ชอบความร้อนสูงเข้าทำงาน (นันทกร,2536) 

2.4.2.1 
แบคทีเรีย 
เป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กมากและมีจำนวนมากที่สุดในดิน  มีทั้งชนิดที่เป็นเซลล์เดี่ยว (unicellular) สายโซ่สั้นๆ (short  chains) หรืออยู่เป็นกลุ่มก้อน (colonies) บางชนิด สามารถเจริญเติบโตและดำรงชีพได้ แม้ในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากออกซิเจน หลายชนิดสามารถเคลื่อนที่ได้ (motile) โดยอาศัยความชื้นภายในดินเป็นสื่อ  (วิทยา,2526) 

2.4.2.2 
เชื้อรา  
           
เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่มี chlorophyll มีลักษณะรูปร่างเป็นเส้นใย มีลักษณะแบบ coenocytic คือ เป็นท่อหัวท้ายปิด เส้นใยของเชื้อรามีขนาดเล็กมาก มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (ยกเว้นกรณีที่อยู่รวมกันเป็น colonies มีเส้นใยรวมกันอยู่เป็นจำนวนมาก จึงจะสามารถมองเห็นได้) เส้นใยเดี่ยวๆ ของเชื้อรา เรียกว่า hyphae หลายเส้นเรียกว่า hypha และในกรณีที่อยู่รวมกันเป็นกระจุกเรียกว่า mycelium การเจริญเติบโตเกิดขึ้นที่ส่วนปลายของเส้นใย ส่วนใหญ่ขยายพันธุ์ได้ 2 แบบ คือ แบบใช้เพศ (sexual  reproduction) และ แบบไม่ใช้เพศ (asexual reproduction)(วิทยา,2526)
             

2.4.2.3 
แอคติโนมัยซีท  
           
แอคติโนมัยซีทเป็นแบคทีเรียที่มีรูปแท่งหรือเส้นสายบางครั้งพบแตกกิ่งเป็นแขนง (Branching)  อาจแตกออกเป็น asexual  spores ส่วนเส้นใยที่เรียกว่า hyphae หรือ filaments จะมีลักษณะคล้ายเส้นใยของเชื้อรา แต่จะมีขนาดเล็กกว่า คือ จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1.2 ไมครอน ซึ่งเป็นขนาดเดียวกับเซลล์ของแบคทีเรีย นอกจากนั้นแอคติโนมัยซีทยังสามารถขยายพันธุ์โดย asexual  spores หรือที่เรียกว่า conidia ได้อีกด้วย  (วิทยา,2526)
           

2.4.3 ปริมาณจุลินทรีย์ที่พบในดิน
           
โดยทั่วไปจุลินทรีย์ในดินจะแตกต่างกันไปตามชนิดของดิน แร่ธาตุ สารอินทรีย์ในดิน และความชื้นของดิน จากการทดลองนำดินที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกมา 1 กรัม เพื่อตรวจหาจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ในดิน จะพบจุลินทรีย์หลายชนิดที่มีปริมาณแตกต่างกัน 

ดังแสดงในตารางที่ 2.1 และตารางที่ 2.2 ซึ่งจากทั้งสองตาราง  จะเห็นว่าในดินที่อุดมสมบูรณ์จะมีจุลินทรย์มากกว่าดินที่อุดมสมบูรณ์น้อยกว่า
 


ตารางที่ 
2.1  จำนวนจุลินทรีย์ในดินเหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก  1  กรัม
 

ชนิดของจุลินทรีย์ที่พบ จำนวนจุลินทรีย์  (เซล)
แบคทีเรีย (นับด้วยจานเพาะเชื้อ) 15,000,000
แอคติโนมัยซีท 700,000
เชื้อรา 400,000
สาหร่าย 50,000
โปรโตซัว 30,000
ที่มา :  บัญญัติ  สุขศรีงาม (2522)  



ตารางที่  
2.2      แสดงชนิดและจำนวนของจุลินทรีย์ต่อดิน  1  กรัม
 

จุลินทรีย์ จำนวนน้อยที่สุด พบทั่วไป จำนวนสูงสุด
แบคทีเรีย 1,000 – 10,000 1,000,000 – 10,000,000 1,000,000,000 – 10,000,000,000
แอคติโนมัยซีท 100 – 1,000 100,000 – 1,000,000 5,000,000 – 10,000,000
โปรโตซัว ไม่มี – 100 10,000 – 100,000 500,000 – 1,000,000
สาหร่าย ไม่มี – 100 1,000 – 100,000 200,000 – 500,000
เชื้อรา 1 - 100 1,000 – 100,000 200,000 – 500,000
ที่มา :  บัญญัติ  สุขศรีงาม (2522) 



ตารางที่  
2.3      การกระจายของจุลินทรีย์ในขั้นต่าง ๆ ของ soil  profile
 

ชั้นดิน ความลึก(ซ.ม.) จำนวนจุลินทรีย์ / ดินแห้ง  1 กรัม x  10 3
Bacteria Actinomycetes Fungi Algae
Aerobic Anaerobic      
A1A2A2 - B1B1B2 3-820-2535-4065-75135-145 78001800472101 19503799810.4 2080245495- 119501463 2550.50.1-
ที่มา : วิทยา  มะเสนา  (2526) 


2.5
  ความสัมพันธ์ของธาตุอาหารและจุลินทรีย์ในดิน
-  จุลินทรีย์ในดินมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับธาตุอาหารในดินอยู่ 2 หน้าที่ คือ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการสลายตัวของสารอินทรีย์ โดยการผลิตเอนไซม์และเป็นแหล่งรับธาตุอาหารจากกระบวนการเปลี่ยนรูปธาตุอาหาร หน้าที่เป็นแหล่งให้และแหล่งรับธาตุอาหารเป็นหน้าที่ที่สำคัญมากในการหมุนเวียนธาตุอาหารของจุลินทรีย์  จุลินทรีย์นำธาตุอาหารมาสร้างเป็นเนื้อเยื่อทำให้มวลชีวภาพจุลินทรีย์มีมากขึ้น  ในแง่ของธาตุอาหารซึ่งถูกเปลี่ยนเป็นรูปอินทรีย์ เรียกกระบวนการนี้ว่า  immobilization  จุลินทรีย์มีช่วงชีวิตไม่ยาวนานเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เมื่อตายลงเนื้อเยื่อจะถูกย่อยสลาย  ทำให้ธาตุอาหารรูปอินทรีย์ในเนื้อเยื่อถูกปลดปล่อยออกมาในรูปอนินทรีย์ตามกระบวนการ  mineralization   (ปัทมา,2533)
-  การย่อยสลายอินทรียวัตถุ เกิดจากจุลินทรีย์หลายกลุ่มทำงานต่อเนื่องกันแบบลูกโซ่สนับ สนุนซึ่งกันและกัน  ระหว่างเกิดกิจกรรมจุลินทรีย์จะใช้ธาตุอาหารพืชที่จำเป็นในดินและทำให้เกิดขบวน การทำให้ธาตุอาหารต่าง ๆ เปลี่ยนเป็นรูปที่เป็นประโยชน์ และเกิดขบวนการตรึงไนโตรเจนอิสระโดยจุลินทรีย์  เมื่อจุลินทรีย์เหล่านี้ตายไปก็จะปลดปล่อยธาตุเหล่านี้ลงสู่ดินให้พืชได้ใช้  (นันทกร,2536)
-  แบคทีเรียมีความต้องการธาตุอาหารใกล้เคียงกับพืชชั้นสูงมาก การใส่ปุ๋ยหรือการเพิ่มธาตุอาหารลงไปในดินจะกระตุ้นการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย (จักรกฤษณ์,2533)           
- แบคทีเรียหลายชนิดมีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนได้ ทั้งชนิดที่อาศัยอยู่อย่างอิสระและเจริญร่วมกับพืช  ทำให้พืชและสัตว์ได้ธาตุไนโตรเจนมาใช้เป็นส่วนประกอบของเซลล์ต่อไป  ในจำนวนจุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจนได้นี้ แบคทีเรียเป็นกลุ่มที่สามารถตรึงได้มากที่สุด (แสวง,2525)
           
-  ธาตุอาหารพืชในดินหลายชนิดอยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์กับพืช  จากกระบวนการเปลี่ยนรูปของธาตุอาหารโดยจุลินทรีย์ในดินนั้นจะทำให้พืชสามารถใช้ธาตุอาหารในดินเพื่อการเจริญได้ (แสวง,2525)
 


2.6
 ธาตุอาหารของพืช 
2.6.1 ไนโตรเจน
ไนโตรเจนเป็นธาตุลำดับที่ 7 สัญลักษณ์ N  เป็นอโลหะ  ลักษณะเป็นก๊าซ  ไม่มีสี  ไม่มีกลิ่น ไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี  มีปรากฏอยู่ประมาณร้อยละ 80 ในบรรยากาศ ธาตุนี้มีความสำคัญยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตโดยเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนและกรดนิวคลีอิก   (ราชบัณฑิตยสถาน,2525  อ้างตาม พุ่มพวง,2542 )

ธาตุไนโตรเจนปกติจะมีอยู่ในอากาศในรูปของก๊าซไนโตรเจนเป็นจำนวนมาก แต่ไนโตรเจนในอากาศในรูปของก๊าซนั้น พืชนำเอาไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ (ยกเว้นพืชตระกูลถั่วเท่านั้นที่มีระบบรากพิเศษสามารถแปรรูปก๊าซไนโตรเจนจากอากาศไปใช้ประโยชน์ได้) ธาตุไนโตรเจนที่พืชทั่วไปดึงดูดขึ้นมาใช้นั้นจะต้องอยู่ในรูปของอนุมูลของสารประกอบ เช่น แอมโมเนียมไอออน (NH4+) และไนเตรตไอออน (NO3-)  (Kanchanapisek  Network  Webmaster,2540 อ้างตาม พุ่มพวง,2542)
แหล่งที่มาของไนโตรเจนในดิน มี 4 แหล่งใหญ่ ๆ คือ จากการตรึงก๊าซไนโตรเจน (nitrogen  fixation) จากอากาศโดยแบคทีเรีย จากการตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศโดยพวกจุลินทรีย์ที่อยู่อย่างอิสระในดิน (non-symbiotic nitrogen fixation) จากการเกิดฟ้าแลบฟ้าร้องและจากปุ๋ย  (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา,2530  อ้างตาม  จิณัฐตาและปวีณา,2540)ธาตุไนโตรเจนเป็นธาตุที่มีบทบาทช่วยให้พืชเจริญเติบโต  เพราะเป็นตัวที่ช่วยทำให้พืชสร้างโปรตีนได้อย่างเพียงพอ และมีความแข็งแรงส่งเสริมการเจริญเติบโตของใบและลำต้น ทำให้ใบพืชมีสีเขียวเข้ม ช่วยเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น โดยเฉพาะพืชผักกินใบ ถ้าพืชได้รับไนโตรเจนไม่เพียงพอแล้ว พืชมักแสดงอาการจะสูญเสียสีเขียว โดยเฉพาะที่ใบล่างของพืชจะมีสีเขียวผิดปกติ ลำต้นผอมสูงและกิ่งก้นลีบเล็ก ถ้าหากพืชได้รับไนโตรเจนมากเกินไปต้นจะอวบอ้วน ใบสีเขียวจัด ใบใหญ่ ไม่ยอมแก่ต้นอาจล้มได้ง่าย เพราะน้ำหนักมากปล้องเปราะ  (ถวิล,2526 อ้างตาม  พุ่มพวง,2542)         

2.6.2
 ฟอสฟอรัส
ฟอสฟอรัสเป็นธาตุลำดับที่ 15 สัญลักษณ์ P เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง มีหลายอัญรูป อัญรูปที่สำคัญคือ ฟอสฟอรัสขาว (บางทีเรียกว่าฟอสฟอรัสเหลือง) ลักษณะอ่อนคล้ายขี้ผึ้ง หลอมละลายที่ 44 องศาเซลเซียส ติดไฟง่าย เมื่อกระทบกับอากาศจะให้แสงเรือง เป็นพิษอย่างแรง ฟอสฟอรัสแดงลักษณะเป็นผงสีแดงแกมม่วง เมื่อกระทบอากาศไม่ให้แสงเรือง ติดไฟยาก ไม่เป็นพิษเหมือนฟอสฟอรัสขาว   (ราชบัณฑิตยสถาน,2525 อ้างตาม  พุ่มพวง,2542)           

ธาตุฟอสฟอรัสในดินมีกำเนิดมาจากการสลายตัวผุพังของแร่บางชนิดในดิน การสลายตัวของสารอินทรียวัตถุในดินก็จะสามารถปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชที่ปลูก การใช้ปุ๋ยคอกนอกจากจะได้ธาตุไนโตรเจนแล้วก็ยังได้ฟอสฟอรัสอีกด้วย ธาตุฟอสฟอรัสในดินที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้จะต้องอยู่ในรูปของอนุมูลของสารประกอบที่เรียกว่า ฟอสเฟตไอออน (H2PO4-) และ (HPO4-) ซึ่งจะต้องละลายอยู่ในน้ำในดิน สารประกอบของฟอสฟอรัสในดินมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ละลายน้ำยาก (Kanchanapisek  Network  Webmaster,2540 อ้างตาม  พุ่มพวง,2542)
ฟอสฟอรัสในพืชและในดินเป็นพวกออร์โทฟอสเฟต หรือพวกที่แปลงมาจากกรดฟอสฟอริค (H3PO4)  ซึ่งฟอสเฟตในดินแบ่งออกเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ  อินทรีย์ฟอสเฟตกับอนินทรีย์ฟอสเฟต  พวกอินทรีย์ฟอสเฟตมีแนวโน้มที่มากหรือน้อยตามปริมาณของอินทรียวัตถุในดิน    ดังนั้นในดินชั้นล่างจึงมีอินทรีย์ฟอสเฟตน้อยและมีมากในดินชั้นบน  จากผลการวิเคราะห์ในดินทั่วๆ ไป พบว่า ดินบนมีอินทรีย์ฟอสเฟตอยู่ระหว่าง 0.3-95 % ของฟอสเฟตทั้งหมดในดิน แต่ในดินที่ใช้ในเขตกรรมทั่วๆ ไป  มีอนินทรีย์ฟอสเฟตมากกว่า 90 % ของฟอสเฟตในดินลึกกว่า 1 เมตร            

ความสามารถในการละลายหรือการปลดปล่อยไอออนฟอสเฟตสู่สารละลายดินจะต่างกันตามชนิดของสารฟอสเฟตและปฏิกิริยาของดิน ในดินที่มี pH สูงหรือมีความเป็นด่างเพิ่มขึ้น  เหล็กฟอสเฟตหรืออลูมินัมฟอสเฟต สามารถปลดปล่อยไอออนฟอสเฟตออกมาสู่การละลายดินได้  ถ้าลด pH หรือเพิ่มความเป็นกรด  เหล็กออกไซด์ หรืออลูมินัมไฮดรอกไซด์จะทำปฏิกิริยาจับกับไอออนฟอสเฟต หรือ อลูมินัมฟอสเฟตละลายยากขึ้น  ดินที่มี pH อยู่ระหว่าง 6 -7 (เป็นกลาง)  จะมีฟอสเฟตที่อยู่ในรูปที่พืชจะใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด  (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา,2530  อ้างตาม  จิณัฐตาและปวีณา,2540)
ธาตุฟอสฟอรัสช่วยในการแบ่งเซลล์บริเวณรากพืชช่วยให้รากพืชเจริญเติบโตและแข็งแรง จำเป็นในการเปลี่ยนแปลงเป็นน้ำตาลภายในพืช  ช่วยเร่งในการสร้างผลและเร่งให้พืชสุกเร็วขึ้น  และทำให้ผลผลิตของพืชมีคุณภาพดี  ถ้าพืชขาดธาตุนี้แล้วพืชจะแกช้ากว่าปกติ  ต้นมีลักษณะแคระแกรน  รากไม่เจริญเติบโตตามปกติ  ใบและลำต้นของพืชบางชนิดมีสีม่วง  เช่น  ข้าวโพด  ดอกและผลไม่สมบูรณ์และเล็กผิดปกติ เป็นต้น หากพืชได้รับฟอสฟอรัสมากเกินพอไม่เกิดปัญหาใดๆ ต่อการเจริญเติบโตของพืช (ถวิล,2526  อ้างตาม พุ่มพวง,2542)        


2.6.3
 โพแทสเซียม
โพแทสเซียมเป็นธาตุลำดับที่  19  สัญลักษณ์  K  เป็นโลหะ  ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวคล้ายโลหะเงิน    หลอมละลายที่ 63.7 องศาเซลเซียส (ราชบัณฑิตยสถาน, 2525  อ้างตาม  พุ่มพวง,2542)
           
ธาตุโพแทสเซียมในดินที่พืชนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้ มีกำเนิดมาจากการสลายตัวของหินและแร่มากมายหลายชนิดในดิน โพแทสเซียมที่อยู่ในรูปอนุมูลวกหรือโพแทสเซียมไอออน (K+) เท่านั้นที่พืชจะดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ ถ้าธาตุโพแทสเซียมยังคงอยู่ในรูปของสารประกอบยังไม่แตกตัวออกมาเป็นอนุมูลบวก  พืชก็ยังดึงดูดไปใช้ประโยชน์ไม่ได้  อนุมูลโพแทสเซียมในดินอาจจะอยู่ในน้ำในดินหรือดูดยึดอยู่ที่พื้นผิวของอนุภาคดินเหนียวก็ได้  (Kanchanapisek  Network  Webmaster,2540  อ้างตาม พุ่มพวง,2542)
           

ธาตุโพแทสเซียมช่วยในการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลจากใบไปยังส่วนอื่นๆ ของพืช ช่วยให้รากสามารถดูดน้ำได้ดีขึ้น จำเป็นสำหรับการสร้างหัวที่สมบูรณ์ของพวกพืชหัว ช่วยทำให้การไหม้ของใบยาสูบดีขึ้น ทำให้ลำต้นข้าวแข็งแรงไม่ล้มง่าย ทำให้หัวมันฝรั่งคุณภาพดี เป็นต้น ถ้าพืชขาดธาตุนี้แล้วจะเจริญเติบโตได้ช้าให้ผลผลิตที่มีคุณภาพต่ำ พืชที่ให้หัวที่รากจะมีแป้งน้อย ใบยาสูบมีคุณภาพต่ำ ติดไฟยาก พืชจะแสดงอาการขาดโพแทสเซียมที่ใบล่างสุดก่อนโดยที่ขอบจะเหลืองแล้วกลายเป็นน้ำตาล และส่วนที่เป็นสีน้ำตาลจะแห้งเหี่ยวไป ซึ่งจะเห็นได้ชัดในพวกข้าวโพดเป็นต้น แต่ถ้าพืชได้รับโพแทสเซียมมากเกินพอจะไม่เกิดอันตรายต่อผลผลิตหรือคุณภาพของพืช  (ถวิล,2526   อ้างตาม
พุ่มพวง,2542)  


2.6.4
  ปริมาณธาตุอาหารที่พบในดิน
-  พบว่ามีไนโตรเจนในชั้นไถพรวน  อยู่ประมาณ 0.02–0.4% โดยน้ำหนัก             
-  ปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมดในดินนั้นค่อนข้างน้อย  พบว่าดินส่วนใหญ่มีฟอสฟอรัสอยู่ระหว่าง 0.022– 0.083 % ในดินชั้นบน  อย่างไรก็ตามปริมาณที่พบจะแตกต่างไปตามสถานที่
           
- ปริมาณโพแทสเซียมที่มีอยู่ในดินจะมีมากน้อยต่างกันแล้วแต่ขนาดของเม็ดดิน (ปริมาณลดลงเมื่อเม็ดดินใหญ่ขึ้น) และชนิดของหินและแร่ที่ให้กำเนิดดิน ปริมาณของโพแทสเซียมที่มีอยู่ในดิน โดยทั่วไปจะมีมากกว่าไนโตรเจนและฟอสฟอรัส  ทั้งนี้เพราะโพแทสเซียมเป็นองค์ประกอบของแร่ธาตุหลายชนิด  พื้นผิวโลกโดยเฉลี่ยจะมีโพแทสเซียมประมาณ 2.54% ในน้ำทะเลมีประมาณ 0.04% ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีโพแทสเซียมในดินชั้นบน ประมาณ 0.83% (เท่ากับ 5.8 เท่าของไนโตรเจนและ 13.4 เท่าของฟอสฟอรัส) (บุปผา,2526)
  2.6.5  ระดับการประเมินธาตุอาหารในดิน  (มงคลและสัมฤทธิ์,2539)  



ตารางที่   2.4    ระดับธาตุไนโตรเจนในดิน  (N)
 

ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในดิน  (N) ระดับการประเมิน ข้อเสนอแนะ
(%) (mg / 100 g)
<  0.025 <  25 ต่ำมาก ขาดแคลนมาก
0.025 – 0.050 25 – 50 ต่ำ ขาดแคลน
0.050 – 0.075 50 – 75 ค่อนข้างต่ำ ควรใส่ธาตุเพิ่มเติม
0.075 – 0.125 75 – 125 ปานกลาง เพียงพอบางพืช
0.125 – 0.175 125 – 175 ค่อนข้างสูง เพียงพอ
0.175 – 0.225 175 – 225 สูง เพียงพอ
>  0.225 >  225 สูงมาก เพียงพอ
 



 
 ตารางที่  2.5       ระดับธาตุฟอสฟอรัสในดิน  (P) 

ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์  (P) ระดับการประเมิน ข้อเสนอแนะ
(ppm) (mg / 100 g)
<  3 <  0.3 ต่ำมาก ต้องปรับปรุงอย่างมาก
3 – 6 0.3 – 0.6 ต่ำ ต้องปรับปรุง
6 – 10 0.6 – 1.0 ค่อนข้างต่ำ ควรปรับปรุง
10 – 15 1.0 – 1.5 ปานกลาง เหมาะสมสำหรับบางพืช
15 – 25 1.5 – 2.5 ค่อนข้างสูง เพียงพอสำหรับพืชทั่วไป
25 – 45 2.5 – 4.5 สูง เพียงพอสำหรับบางพืช
>  45 >  4.5 สูงมาก เพียงพอ
   



ตารางที่ 
2.6       ระดับธาตุโพแทสเซียมในดิน  (K)
 

ปริมาณโพแทสเซียมในดิน  (K) ระดับการประเมิน ข้อเสนอแนะ
(ppm) (meq / 100 g)
<  30 <  0.077 ต่ำมาก ขาดแคลน
30 – 60 0.077 –  0.153 ต่ำ เพียงพอสำหรับบางพืช
60 – 90 0.153 – 0.230 ปานกลาง เพียงพอสำหรับพืชทั่วไป
90 – 120 0.230 – 0.307 สูง เพียงพอ
>  120 >  0.307 สูงมาก เพียงพอ
  


2.7
  งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
กัลยา (2537) ได้ศึกษาถึงอิทธิพลของโลหะหนักต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์เนื่องจากการนำกากตะกอนบำบัดน้ำเสียชุมชนมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร โดยใช้กากตะกอนที่ได้จากโรงงานบำบัดน้ำเสียชุมชนห้วยขวางผสมคลุกเคล้ากับดินเหนียวและดินร่วนในอัตราส่วนต่างๆ แล้ววัดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ อัตราการหายใจ รวมทั้งศึกษาจุลินทรีย์ดินกลุ่มต่างๆ คือ แบคทีเรีย รา และแอคติโนมัยซีท เพื่อบ่งบอกถึงกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินภายหลังได้รับกากตะกอนและโลหะหนักในรูปอนินทรีย์สารพบว่า การเติมสารละลายโลหะหนักเทียบเท่าที่มีในกากตะกอน 4 ระดับลงในดินทั้ง 2 ประเภทไม่มีผลต่อกิจกรรมจุลินทรีย์ดิน จิณัฐตาและปวีณา (2540) ได้ศึกษาคุณสมบัติของกากตะกอนจากโรงงานบำบัดน้ำเสียชุมชนเพื่อใช้ปรับปรุดิน โดยใช้กากตะกอนจากโรงบำบัดน้ำเสียชุมชนสี่พระยาและดินชนิดต่างๆ ที่มีลักษณะต่างกัน 5 ชุดิน ได้แก่ ชุดดินน้ำพอง ชุดดินเพชรบุรี ชุดดินโพนงาน ชุดดินรังสิต ชุดดินลำนารายณ์ โดยทำการผสมกากตะกอน 5 อัตราส่วน คือ 1:1 (กากตะกอน 100 กรัมต่อน้ำหนักรวม 200 กรัม) ,2:3 (กากตะกอน 80 กรัมต่อน้ำหนักรวม 200 กรัม), 1:3 (กากตะกอน 50 กรัมต่อน้ำหนักรวม 200 กรัม),1:4 (กากตะกอน 40 กรัมต่อน้ำหนักรวม 200 กรัม) และอัตราส่วน 1:9 (กากตะกอน 20 กรัมต่อน้ำหนักรวม 200 กรัม) ทำการวิเคราะห์ในสัปดาห์ที่ 1 และ 12 หลังการผสมพบว่า กากตะกอนช่วยทำให้ดินมีความเป็นกลางมากขึ้น ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุ ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และค่า C.E.C ในดิน อัตราส่วนสูงสุดที่ยอมรับได้จากการทดลองเติมกากตะกอนลงในดินสำหรับการทดลองครั้งนี้ พบว่า ไม่ควรเกิน 40 กรัมต่อน้ำหนักรวม 200 กรัม ถ้าเติมในปริมาณที่มากกว่านี้ อาจทำให้เกิดความเป็นพิษต่อดินและพืชที่ปลูกได้นัยนา (2542) ได้ศึกษาการใช้กากตะกอนน้ำเสียชุมชนในการปรับปรุงคุณภาพดินเปรี้ยวจัดในชุดดินจากพื้นที่เพาะปลูก ชุดดินเปรี้ยวจัด ชุดดินเปรี้ยวจัดผสมกากตะกอนน้ำเสียและชุดดินเปรี้ยวจัดผสมดินปลูกสำเร็จรูป โดยผันแปรสัดส่วนของกากตะกอนต่อดินเปรี้ยวจัด และของดินปลูกสำเร็จรูปต่อดินเปรี้ยวจัด เป็น1:100,2:100,3:100,4:100 และ 5:100 โดยน้ำหนักตามลำดับ โดยการเปรียบเทียบคุณภาพทางเคมี ได้แก่ ความสามารในการแลกเปลี่ยนประจุบวก ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ปริมาณฟอสฟอรัส ปริมาณโพแทสเซียมและการเจริญเติบโต โดยวัดเป็นน้ำหนักแห้ง ของคะน้า พบว่า การเติมกากตะกอนลงในดินเปรี้ยวจัดมีผลทำให้ค่าความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกเพิ่มมากขึ้นตามอัตราการเติมกากตะกอน ซึ่งสัดส่วนที่ต่ำสุดระหว่างกากตะกอนต่อดินเปรี้ยวจัดเป็น 1:100 โดยน้ำหนัก และการเติมกากตะกอนลงดินเปรี้ยวจัดมีผลให้ค่าความเป็นกรดเป็นด่างเพิ่มขึ้นใกล้ระดับ 6.5 มากที่สุด ส่วนการเจริญเติบโตของคะน้าจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณการเติมกากตะกอนและมีค่าสูงสุดที่สัดส่วนระหว่างกากตะกอนต่อดินเปรี้ยวจัดเป็น 4:100 โดยน้ำหนัก และพบว่า การเจริญเติบโตของคะน้าที่ปลูกในชุดดินเปรี้ยวจัดที่มีการเติมกากตะกอนนั้นมากกว่าชุดที่เติมดินปลูกสำเร็จ


www.champa.kku.ac.th/turenjai/thesis/2543/word/chanida.doc
- 




หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©