-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 360 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

จุลินทรีย์





.....


บทบาทของจุลินทรีย์ในการเพิ่มธาตุอาหารพืช
  

เกษตรธรรมชาติ

เกษตรธรรมชาติ หมายถึงการทำเกษตรที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตรทุกชนิด แต่จะให้ความสำคัญของดินเป็นอันดับแรก ด้วยการปรับปรุงดินให้มีพลังในการเพาะปลูกเหมือนกับดินในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ โดยการนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นวิธีการที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อม ไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภค สามารถให้ผลผลิตที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพ เป็นระบบเกษตรที่มีความยั้งยืนถาวร และเป็นอาชีพที่มั่นคง


หลักเกษตรธรรมชาติ

ถ้าเราศึกษาสภาพป่า เราจะสังเกตเห็นว่าในป่ามีต้นไม้นานาชนิดปะปนกันอยู่เต็มไปหมด ผิวดินถูกปกคลุมไปด้วยใบไม้ที่หล่นทับถมกัน สัตว์ป่าต่างๆ ถ่ายมูลไว้ผิวหน้าดินคลุกเคล้ากับใบไม้และเศษซากพืชที่ตายแล้วโดยมีมูลสัตว์จำพวกไส้เดือน  กิ้งกือ จิ้งหรีด ฯลฯ กัดกินเป็นชิ้นเล็กๆ และมีจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน ช่วยย่อยสลายเศษซากพืชซากสัตว์เหล่านี้จนกลายเป็นฮิวมัส ซึ่งเป็นแหล่งธาตุอาหารพืช และช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน จึงช่วยให้ต้นไม้ในป่าเจริญเติบโตได้ดี ด้วยเหตุนี้เอง  จึงไม่จำเป็นต้องเอาปุ๋ยไปใส่ในป่า นอกจากนี้เศษใบไม้ที่ปกคลุมผิวดินก็เป็นการคุมผิวหน้าดินไว้ป้องกันการสูญเสียความชื้นของดิน ทำให้หน้าดินอ่อนนุ่มสะดวกต่อการไซซอนของรากพืช ถ้าศึกษาต่อไปจะพบว่า แม้ไม่มีใครนำเอายาฆ่าแมลงไปฉีดพ่นให้แก่ต้นไม้ในป่า แต่ต้นไม้ในป่าก็อยู่ได้ นั่นก็คือต้นพืชที่ขึ้นอยู่บนดินที่ดีจะมีความแข็งแรง สามารถต้านทานโรคและแมลงได้ตามธรรมชาติ ถึงแม้มีโรคและแมลงมารบกวนบ้าง แต่ก็ไม่ถึงขั้นเสียหายอีกทั้งพืชที่ปลูกอยู่ในป่าก็มิได้เป็นพืชชนิดเดียวกันทั้งหมด แต่เป็นพืชนานาชนิดหลากหลายสายพันธุ์ขึ้นปะปนกันอยู่  ธรรมชาติของแมลงแต่ละชนิดย่อมกินพืชต่างชนิดกันเป็นอาหาร และพืชบางชนิดก็มีสารที่แมลงไม่ชอบ อีกทั้งแมลงบางชนิดก็ยังเป็นศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืช ฉะนั้นโอกาสที่แมลงชนิดใดชนิดหนึ่งจะระบาดจึงแทบจะไม่มี

ถึงแม้ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี ไม่มีการใช้สารเคมีทางการเกษตรใดๆ แต่ป่าก็อยู่ได้อย่างสมบูรณ์ เกษตรธรรมชาติก็เช่นกัน เราสามารถเรียนรู้และศึกษาจากสภาพธรรมชาติของป่า และใช้เป็นหลักการในการทำการเกษตรธรรมชาติได้ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนอันได้แก่ ดิน พืช และแมลง คือการปรับปรุงดินให้มีคุณภาพดี การใช้ระบบการปลูกพืชหลายชนิด และการอนุรักษ์แมลงที่มีประโยชน์ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. การปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ดี โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ การ คลุมดินและการปลูกพืชหมุนเวียน


2. การใช้ระบบการปลูกพืชหลายชนิด โดยการปลูกพืชหมุนเวียน ปลูกพืชแซม  เพื่อเป็น
การจำลองป่าไว้ในไร่นา ซึ่งช่วยป้องกันการระบาดของโรค และแมลง  และยังเพื่อประโยชน์ของการปรับปรุงดินอีกด้วย

3. การอนุรักษ์แมลงที่มีประโยชน์ โดยการไม่ใช้สารเคมีป้องกันและการกำจัดศัตรูพืช เพราะสารเคมีทำลายแมลงศัตรูพืช และทำลายตัวห้ำและตัวเบียน ที่เป็นตัวทำให้เกิดสมดุลของแมลงตามธรรมชาติ (ทิพวรรณ สิทธิรังสรรค์,2549:1-2)องกันและกน์ โดยีกด้วย ยน ปลูกพืชแซม เพื่อเป็นการจำลองป่าไว้ในไร่นา  ซึ่งช่วยกันการระบาดของโรค และแมลง และย



ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปุ๋ยชีวภาพ

เมื่อประมาณ 500 ล้านปีก่อน มีจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ เกิดขึ้น และจุลินทรีย์จะทำหน้าที่ย่อยสลายส่วนต่างๆของพืช ให้กลายเป็นธาตุอาหารพืชในดิน ดินขนาดเท่าหัวแม่มือจะมีจุลินทรีย์อยู่ประมาณ 5 พันล้านตัว  จุลินทรีย์จะย่อยสลายใบไม้และยังย่อยสลายพวกหินพุ โดยเฉพาะหินเก่าๆที่อยู่ริมน้ำ


ปุ๋ยชีวภาพ หรือ ปุ๋ยจุลินทรีย์ หมายถึง การนำเอาจุลินทรีย์มาใช้ในการปรับปรุงบำรุงดินทางชีวภาพ ทางกายภาพ ทางชีวเคมี และการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ตลอดจนการปลดปล่อย ธาตุอาหารจากพืช จากอินทรีย์ หรือจากอนินทรีย์วัตถุ หรือหมายถึง จุลินทรีย์ที่นำมาใช้เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตหรือเพิ่มความต้านทานของโรค พืช  ซึงจากความหมายของคำว่าปุ๋ยชีวภาพ จะเห็นว่าในดินทั่วไป ถ้ามีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์อยู่แล้ว จะหมายความว่าในดินนั้นๆ จะมีปุ๋ยชีวภาพอยู่บ้างในปริมาณต่างกัน ดินที่มีลักษณะทางชีวภาพที่ดี จึงหมายถึงดินที่ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ต่างๆ  ที่มีประโยชน์ในการเพิ่มการเจริญเติบโตให้กับพืชได้ ดังนั้นวิธีการที่จะช่วยปรับปรุงดินได้อย่างมีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง คือ การใส่ปุ๋ยชีวภาพ เช่นการใส่เชื้อไรโซเบียมหรือสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว สามารถเพิ่มไนโตเจนให้กับดินและพืช เป็นต้น  ปุ๋ยชีวภาพที่เกษตรกรนำไปใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิดได้แก่ ไรโซเบียม  แหนแดง  สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว ไมคอร์ไรซา  และหัวเชื้อปุ๋ยหมัก  ซึ่งแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป (ราเชนทร์ วิสุทธิแพทย์, 2550: 4)



E.M. (อี.เอ็ม.) คืออะไร
E.M. ย่อมาจากคำว่า Effective Micro-organisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพคิดค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรุโอะ ฮิงะ (TEROU HIGA) แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้เทคนิคทางชีวภาพ รวบรวมเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ หมวดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ช่วยปรับปรุงสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น จุลินทรีย์หมวดสร้างสรรค์ที่มีใน EM ได้แก่ กลุ่มจุลินทรีย์แสง แลกโตบาซิรัส เพนนิซีเลี่ยม ไตรโคเดอมา ฟูเซเลียม สเตปโตไมซิส อโซเบคเตอ ไรโซเบียม ยีสต์ รารูปเส้นใย ฯลฯ

จุลินทรีย์ใน EM ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศและมีพลัง “แอนติออกซิเดชั่น” ซึ่งเป็นพลังสร้างสรรค์ของชีวิต ป้องกันมิให้มีการทำลายชีวภาพที่สำคัญของเซลล์ได้ป้องกันฤทธิ์ของสารพิษได้หลายชนิด รักษาสภาพธรรมชาติของเซลล์ ได้มิให้เสื่อมสภาพรักษาสุขภาพของคนและสัตว์ มิให้เป็นโรคหรือเจ็บป่วยได้ง่าย



ลักษณะโดยทั่วไปของ EM
เป็นของเหลวสีน้ำตาลกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน (เกิดจากการทำงานของกลุ่มจุลินทรีย์ต่าง ๆ ใน E.M.) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีหรือยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช และแมลงที่เป็นประโยชน์ ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ ที่ทุกคนสามารถนำไปเพาะขยายเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง (ราเชนทร์ วิสุทธิแพทย์, 2550: 58-59)



ลักษณะการผลิต
เพาะขยายจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากกว่า 80 ชนิด จากกลุ่มจุลินทรีย์สัง
เคราะห์แสง

กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติค 
กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน 
กลุ่มจุลินทรีย์เอคทีโนมัยซีทส์  
กลุ่มจุลินทรีย์ยีสต์

ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ได้จากธรรมชาตินำมาเพาะเลี้ยงและขยายให้จุลินทรีย์ขยายตัวด้วยปริมาณที่สมดุลกันด้วยเทคโนโลยีพิเศษ โดยใช้อาหารจากธรรมชาติ เช่น โปรตีน รำข้าว และสารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
 

01



การเก็บรักษาจุลินทรีย์
สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน อย่างน้อย 6 เดือน ในอุณหภูมิห้องปกติ ไม่เกิน 45 – 50 C ต้องปิดฝาให้สนิท อย่าให้อากาศเข้าและอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท การนำ E.M. ไปขยายต่อควรใช้ภาชนะที่สะอาดและใช้ให้หมดภายในเวลาที่เหมาะสม



ข้อสังเกต
หากนำไปส่องด้วยกล้องจุลทัศน์ที่มีกำลังขยายสูงไม่ต่ำกว่า 700 เท่า จะเห็น จุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ อยู่มากมาย E.M. ปกติจะมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน ถ้าเสียแล้วจะมีกลิ่นเน่าเหมือน กลิ่นจากท่อน้ำทิ้งเก่า ๆ (E.M. ที่เสียใช้ผสมน้ำรดกำจัดวัชพืชได้) กรณีที่เก็บไว้นาน ๆ โดยไม่มีเคลื่อนไหวภาชนะ จะมีฝ้าขาว ๆ เหนือผิวน้ำ E.M.นั่นคือการทำงานของ E.M. ที่ฟักตัวเมื่อเขย่าแล้วทิ้งไว้ชั่วขณะ ฝ้าสีขาวจะสลายตัวกลับไปใน E.M. เหมือนเดิม


ปัจจุบันสังคมไทย โดยเฉพาะสังคมเมืองต้องเผชิญกับมลพิษนานาชนิดตั้งแต่ในน้ำ อากาศตลอดจนถึงอาหารที่นำมาบริโภค ซึ่งในส่วนของอาหารนี้เราสามารถหลีกเลี่ยงได้         

หากเกษตรกรสามารถลดการใช้สารเคมีในการผลิตลง โดยหันมาทำการผลิตด้วยวิธีเกษตรธรรมชาติขณะเดียวกันการผลิตด้วยวิธีธรรมชาตินี้ยังให้ประโยชน์ต่อเกษตรกร
ผู้ผลิตทั้งในด้านการลดต้นทุนการผลิตและการลดความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมี
กิจกรรมหลักที่เกษตรกรสามารถทำได้เองเพื่อความก้าวหน้าไปสู่แนวทางเกษตรธรรมชาติ  คือ


1. น้ำหมักชีวภาพเป็นจุลินทรีย์ธรรมชาติที่มีประโยชน์ สำหรับดินเป็นตัวเร่งปุ๋ย

ชีวภาพให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นสามารถใช้สารขจัดวัชพืช สารขับไล่แมลง และยังสามารถใช้ในกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งจะช่วยรักษาสภาพแวดล้อมของฟาร์มปศุสัตว์ให้ปราศจากแมลงวันและเชื้อโรคต่างๆ


2. ปุ๋ยชีวภาพเป็นอาหารทางธรรมชาติสำหรับพืช ช่วยฟื้นฟูสภาพดินให้สมบูรณ์มี

ราคาถูกกว่าปุ๋ยเคมีซึ่งต้องซื้อจากต่างประเทศ (กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2550. 63-65 )



สรุป 
น้ำหมักชีวภาพหรือปุ๋ยชีวภาพเป็นสารธรรมชาติที่สนองความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ได้ในราคาถูก และที่สำคัญสำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชผัก ผลไม้ หากใช้ปุ๋ยชีวภาพจะลดต้นทุนในการผลิตและน้ำหมักชีวภาพจะทำให้ได้ผลผลิตปลอดจากสารพิษซึ่งเป็นที่ต้องการของทั้งในประเทศและต่างประเทศ อันจะเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของชาติให้มั่นคงยิ่งขึ้น



ปุ๋ยชีวภาพ หรือ ปุ๋ยจุลินทรีย์ หมายถึง การนำเอาจุลินทรีย์มาใช้ในการปรับปรุงบำรุงดินทางชีวภาพ ทางกายภาพ ทางชีวเคมี และการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ตลอดจนการปลดปล่อยธาตุอาหารจากพืช จากอินทรีย์ หรือจากอนินทรีย์วัตถุ หรือหมายถึง จุลินทรีย์ที่นำมาใช้เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต หรือเพิ่มความต้านทานของโรคพืช

ปุ๋ยชีวภาพมีหลายชนิดหลายประเภท ซึ่งอาจแบ่งแยกได้ตามชนิดของจุลินทรีย์ หรือตามประเภทของธาตุอาหารที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ให้กับพืช ซึ่งธาตุอาหารหลักได้แก่ ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ธาตุอาหารเหล่านี้จะมีกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินหลายชนิดที่สามารถตรึงจาก อากาศ หรือดูดซับจากหินแร่ในดิน ทำให้ได้ธาตุอาหารที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ธาตุอาหารพืชที่ได้จากจุลินทรีย์สามารถแบ่งตามกิจกรรมของจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ดังต่อไปนี้


1. กิจกรรมของจุลินทรีย์ที่ให้ธาตุไนโตรเจน

จาก การที่ธาตุไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารหลักที่มีความสำคัญต่อพืชมาก ดินที่ทำการเพาะปลูกจึงมักขาดธาตุไนโตรเจน เนื่องจากธาตุไนโตรเจนสามารถสูญเสียจากดินได้ง่ายโดยธรรมชาติ และโดยการกระทำของจุลินทรีย์บางชนิดในขบวนการ Denitrification จะ ทำให้ธาตุไนโตรเจนในดินแปรรูปและสูญเสียในสภาพที่เป็นก๊าซ จึงควรมีการเติมไนโตรเจนลงในดิน มีจุลินทรีย์ในดินหลายชนิดที่สามารถตรึง ไนโตรเจนจากอากาศให้เป็นธาตุไนโตรเจนที่มีประโยชน์กับพืช โดยขบวนการตรึงไนโตรเจนในเซลล์พืช ส่วนหนึ่งของธาตุไนโตรเจนได้จากสารที่จุลินทรีย์สามารถดูดซับธาตุได้เอง อีกส่วนหนึ่งจะปลดปล่อยในรูปไนเตรทเพื่อให้พืชนำไปใช้ได้หรืออยู่ในดิน

ดังนั้น ถ้าดินมี จุลินทรีย์กลุ่มนี้อยู่ก็จะสามารถเพิ่มปริมาณธาตุไนโตรเจนได้ จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะมีเอนไซม์ ไนโตรจิเนส สามารถเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนให้กลายเป็นกรดอะมิโน และสารประกอบไนโตรเจนอื่นๆ ให้พืชนำไปใช้ได้ จุลินทรีย์พวกที่ตรึงไนโตรเจนได้นี้จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ


กลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศโดยต้องอาศัยอยู่ร่วมกับพืช (Symbiotic N2 fixing microorganisms) ได้แก่ เชื้อไรโซเบียม แฟรงเคีย และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน บางชนิด ไรโซเบียมจะอาศัยอยู่ร่วมกับพืชตระกูลถั่วทั้งพืชล้มลุกและไม้ยืนต้น เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง แค กระถินณรงค์ ก้ามปูเป็นต้น แฟรงเคียจะอาศัยอยู่ร่วมกับพืชสกุล Cassuarina ซึ่งได้แก่ สนทะเล และสนประดิพัทธ์ อะนาบีนาเป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินสกุล  ไซยาโนแบคทีเรีย (Cyanobacteria) จะพบอาศัยอยู่ในโพรงใบของแหนแดง นอสทอค (Nostoc)เป็นสาหร่ายที่อยู่ร่วมกับรากของต้นปรง จุลินทรีย์เหล่านี้สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับพืชได้


กลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้เอง (Free living microorganisms)
จุลินทรีย์พวกนี้ไม่จำเป็นต้องอาศัยอยู่ร่วมกับพืช มีชื่อเรียกว่าจุลินทรีย์อิสระ ได้แก่ อะโซโตแบคเตอร์ อะโซสสไปริลลั่มเป็นต้น จุลินทรีย์อิสระเหล่านี้สามารถตรึงไนโตรเจนให้กับพืชพวกข้าวและพืชไร่ต่างๆ



2. กิจกรรมของจุลินทรีย์ที่ให้ธาตุฟอสฟอรัส

ฟอสฟอรัส เป็นธาตุอาหารพืชที่สำคัญอีกธาตุหนึ่งที่พืชต้องการมาก พืชมักจะได้รับธาตุฟอสฟอรัสไม่เพียงพอ ทั้งที่บางครั้งในดินมีธาตุนี้อยู่เป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากธาตุฟอสฟอรัสละลายไม่ดี และมักจะอยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์แก่พืช ถ้าหากมีความเป็นกรด-ด่าง (pH) ต่ำหรือสูงไป นอกจากนี้ธาตุฟอสฟอรัสมีการเคลื่อนที่ในดินได้น้อยมาก รากพืชจะต้องชอนไชไปยังแหล่ง ที่มีธาตุนี้ละลายอยู่จึงจะได้รับประโยชน์ พืชที่มีระบบรากไม่ดีมักได้รับธาตุนี้ไม่เพียงพอ กิจกรรมของจุลินทรีย์ บางชนิด เช่น เชื้อไมโคไรซ่าจะสามารถช่วยดูดธาตุฟอสฟอรัสให้กับพืชได้ และกิจกรรมของจุลินทรีย์บางชนิดจะสามารถช่วยย่อยละลายธาตุฟอสฟอรัสออกจากหิน ฟอส
เฟต ทำให้พืชสามารถนำฟอสฟอรัสไปใช้ประโยชน์ได้เร็วขึ้น



กลุ่มจุลินทรีย์ที่ช่วยดูดซับธาตุฟอสฟอรัสให้กับพืช (Phosphate absorbingmicroorganisms) จุลินทรีย์ พวกนี้ได้แก่เชื้อไมโคไรซ่า ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในรากพืชในระบบพึ่งพาซึ่งกันและกัน ส่วนของเส้นใยที่พันอยู่กับรากพืชจะชอนไชเข้าไปในดิน ช่วยดูดธาตุอาหารโดยเฉพาะธาตุฟอสฟอรัส ทำให้พืชที่มีเชื้อนี้อยู่จะได้รับธาตุฟอสฟอรัสในปริมาณที่เพียงพอ นอกจากนี้ไมโคไรซ่ายังช่วยป้องกันไม่ให้ฟอสฟอรัสที่ละลายออกมาถูกตรึงโดย ปฏิกิริยาทางเคมีของดินด้วย เพราะตัวเชื้อจะช่วยดูดซับเก็บไว้ในโครงสร้างพิเศษที่เรียกว่า อาบัสกูล  และเวสวิเคิลที่อยู่ในเซลล์พืช เชื้อไมโคไรซ่าจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ
วีเอไมโคไรซ่า จะพบอยู่ในพืชพวกพืชไร่  พืชสวน พืชผัก ไม้ดอกและไม้ประดับ และเอ็คโตไมโคไรซ่า จะพบอยู่ในพืชพวกไม้ยืนต้น ไม้ปลูกป่า เช่นสนเป็นต้น

กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายหินฟอสเฟต (Phosphate solubilizing microorganisms) ประเทศไทยพบว่า หินฟอสเฟตอยู่ในปริมาณมาก แต่การนำมาใช้ยังไม่แพร่หลาย เพราะมีปริมาณฟอสเฟตที่จะละลายออกให้พืชได้ใช้น้อย การที่จะใช้หินฟอสเฟตให้เป็นประโยชน์ จะต้องทำการแปรรูปให้มีการละลายดีขึ้น ปัจจุบันได้มีการพบว่ามีจุลินทรีย์ดินหลายชนิด ทั้งแบคทีเรีย และเชื้อราที่สามารถทำให้หินฟอสเฟตละลายเป็นประโยชน์แก่พืชได้ เช่น Bacillus, Pseudomonas, Thiobacillus, Aspergillus, Penicilliumและ อื่นๆอีกมาก การที่จะทำให้หินฟอสเฟตละลายดี จะต้องทำให้เกิดสภาพกรด ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะเป็นตัวทำให้เกิดกรดออกมาละลายฟอสฟอรัสได้



3. กิจกรรมของจุลินทรีย์ที่ให้ธาตุโพแทสเซียม
ธาตุที่สำคัญอีกธาตุหนึ่ง คือ ธาตุโพแทสเซียม ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์พวกโปรตีน แป้งและไขมัน ซึ่งถ้าพืชขาดธาตุนี้ก็จะเกิดอาการอ่อนแอเช่นกัน ธาตุโพแทสเซียมนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในดินในลักษณะแร่ธาตุ (lattice potassium) ที่อยู่ใน 3 ลักษณะ คือ ถูกตรึงไว้ (fixed) ละลายน้ำได้ (dissolvable)และที่มีประจุแลกเปลี่ยนได้ (exchangeable) ในการที่จะทำให้โพแทสเซียมอยู่ในสภาพที่นำมาใช้ได้มี 3 วิธี คือ

I) สลายทางกายภาพ
II) สลายทางเคมี   
III) สลายทางอินทรีย์

ซึ่งการสลายทางอินทรีย์ (organicweathering) จะมีผลเร็วและประหยัดที่สุดซึ่งสามารถทำได้โดยการใช้จุลินทรีย์พวก bacteria เข้าช่วยย่อยจะทำให้พืชสามารถนำธาตุโพแทสเซียมไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จุลินทรีย์พวกนี้ ได้แก่ พวก Bacillus บางชนิด เป็นต้น สามารถใช้ได้กับพืชหลายชนิด ทั้งพืชไร่และพืชสวน โดยเฉพาะไม้ผลจะทำให้คุณภาพผลผลิตดีขึ้น



4. กิจกรรมของจุลินทรีย์ที่ให้ธาตุอื่นๆ 
ธาตุอาหารอื่นๆ เช่น แคลเซียม เหล็ก สังกะสี มักมีอยู่ในดินในสภาพที่พืชนำไปใช้ไม่ได้ การใช้จุลินทรีย์เข้าช่วยย่อยจะทำให้ธาตุเหล่านี้ที่มีในดินเป็นประโยชน์แก่ พืชเพิ่มขึ้น เช่น 

ไมโคไรซ่าสามารถช่วยดูดซับธาตุอื่นๆ ที่พืชต้องการได้
จุลินทรีย์พวก Silicate bacteria สามารถช่วยย่อยให้พืชนำ Silicon ไปใช้ได้

แร่ธาตุที่มีอยู่ในดินจะสามารถถูกย่อยละลายโดยกรด ที่เกิดจากการหมักของจุลินทรีย์บางพวก เช่นพวกสารประกอบธาตุเหล็กบางชนิดซึ่งมักจะอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ไม่ได้ ก็สามารถถูกย่อยละลายให้อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ได้โดยจุลินทรีย์ นอกจากนี้ยังมีจุลินทรีย์ที่ให้ธาตุอาหารหลายชนิด โดยการย่อยอินทรียวัตถุการย่อยสลายอินทรียวัตถุแต่ละชนิด ในแต่ละครั้งจะเกิดขึ้นจากจุลินทรีย์หลายกลุ่มและต่อเนื่องกันแบบลูกโซ่สนับ สนุนซึ่งกันและกัน

กิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน นอกจากจะมีการทำให้เปลี่ยนแปลงธาตุอาหารพืชให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชนได้แล้ว ยังทำให้เกิดสารอินทรีย์ต่างๆ เช่น ฮอร์โมน และสาร
กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและรากพืช(กรมวิชาการเกษตร, 2545. หน้า 2-7)





http://www.bionanothai.com/index.php?option=com_content&view=article&id=264:2010-11-21-05-39-39&catid=34:random-posts&Itemid=29









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (4028 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©