-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 438 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ฮอร์โมน





กำลังปรับปรุงครับ


พาโคลบิวทราโซล               

เป็นสารชะลอการเจริญเติบโตของพืช คุณสมบัติของสารนี้คือ จะยับยั้งการสร้างจิบเบอเรลลิน บริเวณใต้เยื่อ บริเวณใต้เยื่อเจริญของยอด ทำให้ข้อถี่สั้นลง เพิ่มการออกดอกและติดผล
               
สารพาโคลบิวทราโซลเข้าสู่ต้นพืชทางราก เนื้อเยื่อของกิ่งและใบ สารเคลื่อนสู่ท่อน้ำ เพื่อเคลื่อนไปยังส่วนยอดของพืชไปยับยั้งการสร้าง จีเอ.จึงช่วยไม่ให้กิ่งและใบเจริญเติบโตแต่จะไปช่วยเร่งให้ต้นไม้ออกดอกต่อไป               

สารพาโคลบิวทราโซล ถ้าใช้อย่างไม่ถูกต้องอาจไม่ได้ผลและอาจเกิดผลเสียแก่ต้นพืชได้ ข้อแนะนำในการใช้มีดังนี้.
    
1. ต้นมะม่วงที่จะใช้สารต้องมีความอุดมสมบูรณ์สูงและควรมีการแตกใบอ่อนมาแล้วอย่างน้อย 2 ชุด
ภายหลังจากเก็บผลไปแล้ว               
2. ระยะที่เหมาะต่อการใช้สารคือ ช่วงใบยังอยู่ในระยะใบอ่อนหรือใบพวง               
3. วิธีการใช้ที่เหมาะสมที่สุดคือราดลงดิน เนื่องจากสารตัวนี้ดูดซึมได้ดีทางราก
4. ดินควรมีความชื้นพอสมควร และควรรดน้ำตามภายหลังจากการให้สาร เพื่อให้ต้นมะม่วงดูดสารเข้าไปได้มากที่สุด               
5. กรณีจะให้สารโดยการฉีดพ่นทางใบและกิ่ง ควรฉีดให้ถูกกิ่งที่มีสีเขียวและใต้ใบ และควรผสมยาจับใบทุกครั้ง               
6. มะม่วงพันธุ์ต่าง ๆ จะให้สารที่มีความเข้มข้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของพันธุ์นั้น ๆ
               
7. ก่อนใส่สาร 1 เดือน ควรพ่นปุ๋ยสูตร 0-52-34 อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ให้เปียกทั้งต้น               
8. หลังพ่นปุ๋ย 1 เดือน ใส่สารวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้
                               
ก. ใส่รอบโคนต้น (ทรงพุ่มขนาด 2-3 เมตร)          
ข. ใส่รอบพุ่มใบ (ทรงพุ่มขนาดเกิน 4 เมตรขึ้นไป)              
ค. ฉีดพ่นทางใบ อัตรา 200-400 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร (ควรใช้กับต้นที่ใส่สารทางดินในปีที่ผ่านมาแล้ว) 


ทรงพุ่ม  (เมตร) อัตราใช้สารพาโคลน/ต้น
2-33-44-66-88-10 20-30  ซีซี.30-40  ซีซี40-80    ซีซี                 80-100    ซีซี               100-200    ซีซี


   
9. ภายหลังการใช้สารประมาณ 2 เดือนครึ่ง มะม่วงจะเริ่มออกดอกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์ที่ออกดอกง่าย เช่น น้ำดอกไม้  ฟ้าลั่น  เจ้าคุณทิพย์  ศาลายา  หนองแซง  ในกรณีมีการพักตัวนานเกินไป และไม่ออกดอกภายใน 2 เดือนครึ่ง ก็อาจใช้สารกระตุ้นการแตกตา เช่น โปแตสเซี่ยมไนเตรท 2.5% (ใช้สาร 500 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร) หรือใช้ไดโอยูเรีย 0.5%(สาร 100
กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร) พ่นจะทำให้เกิดการออกดอกได้อย่างสม่ำเสมอไทโอยูเรีย ใช้กับมะม่วงพันธุ์ที่ออกดอกยากและไม่ค่อยตอบสนองต่อโปแตสเซี่ยมไนเตรท เช่น เขียวเสวย อกร่อง แรด 

การแก้พิษพาโคลบิวทาโซน
               
หากมีการใช้สารพาโคลบิวทาโซลมากเกินไป จนเกิดอาการแสดงออก แก้โดยใช้สารจิบเบอเรลลิน  (จีเอ) ให้แก่พืชเพื่อเพิ่มจิบเบอเรลลินแก่พืชจะได้เจริญเติบโต แตกกิ่งและใบให้มากขึ้นต่อไป


http://www.it.mju.ac.th/dbresearch/organize/extention/book-fruit/fruit028.htm




 ผลไม้ในฤดูกาลก็มีให้รับประทานอยู่แล้วมากมาย แต่ความต้องการของมนุษย์นั้นมีไม่สิ้นสุดจึงเกิดมีมนุษย์ที่มีความต้องการผลไม้นอกฤดูและขณะเดียวกันผลไม้นอกฤดูก็มีราคาสูง จึงเป็นที่ต้องการของเกษตรกรที่จะทำให้มีผลไม้ออกมาจำหน่ายนอกฤดูกาลมากขึ้น จึงมีงานวิจัยที่อาศัยความรู้ทางวิชาการด้านต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้ไม้ผลมีการออกดอกติดผลนอกฤดูกาลกันมากขึ้นจนเป็นที่ยอมรับของเกษตรกร ทั่วไป แนวทางการผลิตผลไม้นอกฤดูมีวิธีการต่างๆ หลายวิธีดังนี้

  1. ใช้พันธุ์ที่ออกดอกนอกฤดูอยู่แล้ว เช่น มะม่วงพันธุ์ทะวายต่างๆ น้ำดอกไม้ทะวาย พิมเสนมันทะวาย โชคอนันต์ เป็นต้น
  2. เลือกช่วงเวลาการปลูกให้ไม่ตรงกับคนอื่น ใช้กับไม้ผลที่มีอายุสั้นเมื่อถึงอายุก็ออกดอกติดผล เช่น กล้วย มะละกอ ปกติต้องอาศัยน้ำฝนจะปลูกต้นฤดูฝน หากมีน้ำชลประทานควรเลือกปลูกช่วงปลายฤดูฝนหรือฤดูแล้งจะทำให้มีผลผลิตจำหน่ายไม่ตรงกับเขตอื่น
  3. ใช้การตัดแต่งกิ่ง ทำกับไม้ผลที่เมื่อแตกกิ่งใหม่จะมีช่อดอกออกมาด้วย เช่น น้อยหน่า ฝรั่ง องุ่น เป็นต้น
  4. ใช้ปุ๋ยเคมี N.D.Bondad it af 1978 รายงานว่าโปแตสเซียมไนเตรทอัตราความเข้มข้น 1-4 เปอร์เซ็นต์ ทำให้มะม่วงพันธุ์คาราบาวแทงช่อดอกนอกฤดูกาลได้
  5. การใช้สารชะลอการเจริญเติบโต เช่น พาโคลบิวทราโซล ใช้กับมะม่วงโดยฉีดพ่นทางใบ
    อัตรา 1,000-2,000 ppm. ทำให้มะม่วงออกดอกก่อนกำหนด 35 วัน ในปัจจุบันนิยมราดทางดินชิดโคนต้นระยะเหมาะสมของต้นที่จะใช้ต้องมีใบสีเขียวอ่อน ปริมาณสารต่อต้นเท่ากับความกว้างทรงพุ่มเป็นเมตรคูณด้วยค่าคงที่ของพันธุ์ คือ พันธุ์ออกง่ายให้ค่าคงที่เท่ากับ 10 ได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้ ฟ้าลั่น ทองดำ หนองแซง เจ้าคุณทิพย์ แก้วลืมรัง ลิ้นงูเห่า โชคอนันต์ ส่วนพันธุ์ที่ออกยากให้ค่าคงที่ของพันธุ์ออกยาก เท่ากับ 15 ได้แก่ มะม่วงพันธุ์เขียวเสวย หนังกลางวัน อกร่อง แรด และพิมเสนมัน

การวางแผนการขายน้อยหน่าโดยการตัดแต่งกิ่ง



ตัวอย่างเช่น ปริมาณสารต่อต้นของมะม่วงพันธุ์เขียวเสวย ขนาดพุ่มต้น 4 เมตร
= ก x พ
= 4 x 15
= 60 ซีซี.คัลทาร์ 10%
= 60 กรัมพรีดิกซ์ 10%

ปริมาณสารต่อต้นในมะม่วงน้ำดอกไม้พุ่มต้น 4 เมตร
= ก x พ
= 4 x 10
= 40 ซีซี.คัลทาร์ 10%
= 40 กรัมพรีดิกซ์ 10%

          
เมื่อคำนวณสารต่อต้นได้แล้วเอาสารละลายในน้ำ 2 ลิตร คนให้เข้ากัน ราดชิดโคนต้น เมื่อราดสารแล้วให้รดน้ำแก่ดิน บริเวณพุ่มต้นไม้ให้ชุ่ม ระดับ 10-15 เซนติเมตร ทุก 5 วัน อีก 4-5 ครั้ง เพื่อให้สารขึ้นไปที่ยอด ระยะเวลาเกิดตาดอก พันธุ์ออกง่าย 60-70 วัน พันธุ์ออกยาก 90-120 วัน การใส่ในช่วงฤดูฝน บางครั้งตาดอกอาจเกิดเป็นตาใบได้ ควรป้องกันโดยในพันธุ์ออกง่ายเมื่อใส่สารพาโคลบิวทราโซลได้ 1 เดือน ควรพ่นปุ๋ย 0-52-34 (โมโนโปแตสเซี่ยมฟอสเฟต) อัตรา 150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร 2 ครั้ง ห่างกัน 10 -14 วัน พันธุ์ออกยากควรพ่นเมื่อใส่สารพาโคลบิวทราโซลได้ 2 เดือน เมื่อครบกำหนดเกิดตาดอกที่ยอดใช้โปแตสเซี่ยมไนเตรท 500 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไธโอยูเรีย 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ตาดอกเจริญเป็นช่อออกมา และดูแลรักษาให้ติดผลและเก็บเกี่ยวได้ต่อไป


ตารางแนวทางการใช้สารพาโคลบิวทราโซลเพื่อการผลิตนอกฤดูสำหรับมะม่วงพันธุ์ออกง่าย

ตารางแนวทางการใช้สารพาโคลบิวทราโซลเพื่อการผลิตนอกฤดูสำหรับมะม่วงพันธุ์ที่ออกยาก


หมายเหตุ
1.ใช้สารคัลทาร์ให้เกิดตาดอก
2.ใช้โปแตสเซียมไนเตรท 2.5 เปอร์เซ็นต์ หรือไธโอยูเรีย 0.5 เปอร์เซ็นต์ ให้ช่อดอกเจริญ
3. ดอกบาน
4. เก็บเกี่ยวผล
 

การทำนอกฤดูต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้มีดอกบานในช่วงฝนชุก

 หิรัญ หิรัญประดิษฐ์ และคณะ (2542) ได้ทดลองสารพาโคลบิวทราโซลกับทุเรียนและก่อนใช้สารต้องมีการเตรียมความพร้อมของต้นทุเรียนซึ่งมีปฏิบัติดังนี้ การเร่งให้ทุเรียนแตกใบอ่อนด้วยการตัดแต่งกิ่ง เช่น การตัดแต่งกิ่ง กิ่งที่เป็นโรค กิ่งแขนงด้านในพุ่มและกิ่งเล็กๆ ที่อยู่ส่วนปลายกิ่งออก โดยเฉพาะกิ่งที่ชี้ลงหรือกิ่งที่ชี้ตั้งขึ้น เลือกกิ่งที่สมบูรณ์ขนานแนวพื้นไว้ แล้วใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 พร้อมให้น้ำ ทุเรียนจะแตกใบอ่อนให้สมบูรณ์ โดยป้องกันกำจัดโรคและแมลงไม่ให้ใบถูกโรคและแมลงทำลาย

          
การใช้สารพาโคลบิวทราโซลที่มีความเข้มข้น 1,00-15,000 พีพีเอ็ม (สารชนิด 10% ใช้อัตรา 200-300 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร) ต้นทุเรียนที่พร้อมจะฉีดพ่นใบต้องเป็นใบแก่ สีเขียวเข้มเป็นมัน มีการแตกใบอ่อนหลายชั้นในช่วงที่ผ่านมา การฉีดพ่นควรฉีดพ่นให้ถูกกิ่งอ่อน เป็นตำแหน่งที่สารพาโคลบิวทราโซลจะเข้าสู่พืชได้ดีและสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายไปสะสมและทำปฏิกิริยา

          
การฉีดพ่นต้องปรับหัวฉีดให้เป็นฝอย ฉีดพ่นทั้งภายในและภายนอกทรงพุ่มให้เปียกพอสม่ำเสมอและต้องฉีดพ่นให้เสร็จก่อนฝนตกประมาณ 2 ชั่วโมง

          
เมื่อทุเรียนดอกบานต้องช่วยผสมเกสรและควบคุมการให้ปุ๋ยให้น้ำให้พอเหมาะ เมื่อผลทุเรียนโตขึ้นจะต้องมีการตัดแต่งผลให้เสร็จภายในสัปดาห์ที่ 4 หลังจากดอกบานโดยตัดแต่งผลที่บิดเบี้ยว มีขนาดเล็ก หรือต่างรุ่นออกให้ผลอยู่ในตำแหน่งที่มีระยะห่างที่พอเหมาะ เมื่อผลโตขึ้นจะได้ไม่เบียดกัน

6.  การใช้สารเคมีอื่นๆ เช่น โปแตสเซียมคลอเรต พาวิน มะโนชัย (2542) รายงานว่าโปแตสเซียมคลอเรทสามารถทำให้ลำไยออกนอกฤดูกาลได้ โดยลำไยอีดอใช้สารดังกล่าว 8 กรัมต่อตารางเมตร สำหรับพันธุ์ชมพูใช้สารดังกล่าวอัตรา 1 กรัมต่อตารางเมตรจะทำให้ออกดอก 100 เปอร์เซ็นต์ โดยลำไยจะต้องได้รับการปฏิบัติดูแลโดยการตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย ให้น้ำ จนแตกกิ่งใหม่และมีใบแก่อย่างสมบูรณ์ โดยสังเกตจากสายตาว่ามีใบสีเขียวเข้ม แล้วจึงใช้สารโปแตสเซียมคลอเรท ผสมน้ำ 20 ลิตรราดดินบริเวณแนวชายทรงพุ่มแต่ก่อนใส่สารและหลังใส่สารควรรดน้ำให้กับต้นลำไยให้ดินชุ่มอยู่เสมอ

          หลังจากบังคับให้ไม้ผลออกดอกได้แล้วต้องดูแลให้ติดผลและผลเจริญเติบโตถึงแก่
เก็บเกี่ยวจึงจะได้ผลไม้นอกฤดูตามที่ต้องการ

http://www.rdi.ku.ac.th/Techno_ku60/res-18/index18.html



การเพิ่มผลผลิตนอกฤดู
     
มะม่วงเป็นผลไม้ที่คนไทยให้ความนิยมชมชอบมากที่สุด เนื่องจากมีรสชาติดี ประกอบกับเป็นไม้ผลที่ปลูกได้ง่าย เจริญเติบโตได้ดีในสภาพพื้นที่ของประเทศไทย ในปัจจุบันนี้วิทยาการในการผลิตมะม่วงได้ก้าวหน้าไปมาก มีการใช้เทคโนโลยีและวิธีการใหม่ๆ เข้ามาเพื่อควบคุมการเจริญเติบโต การออกดอก การติดผลตลอดจนการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว และโดยเฉพาะในเรื่องของการออกดอกของมะม่วงนั้น ในขณะนี้ เราสามารถบังคับให้มะม่วงออกดอกได้โดยใช้สารเคมีบางประเภท ซึ่งนับได้ว่าเป็นการก้าวไปสู่ยุคใหม่ของการเกษตร วิธีการในการชักนำหรือกระตุ้นให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูนั้นได้รับการพัฒนาจากนักวิชาการเกษตรหลายท่าน จนเป็นผลทำให้ขณะนี้ประเทศไทยเราสามารถผลิตมะม่วงนอกฤดูกาลกันได้มากขึ้น และเป็นที่คาดหมายกันว่าในอนาคตอันใกล้นี้ การค้นคว้า ทดลองของนักวิชาการเกษตรดังกล่าวคงจะก้าวหน้าต่อไปถึงขั้นที่สามารถกำหนดปัจจัยในการบังคับให้มะม่วงมีการออกดอกติดผลได้มากจนถึงกับสามารถกำหนดระยะเวลาของการใช้สารเคมีได้อย่างถูกต้องและแน่นอน และก้าวหน้าต่อไปในมะม่วงพันธุ์ต่างๆ

     ปัจจัยที่มีผลต่อการชักนำให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาล
การบังคับหรือชักนำให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลจะประสบผลสำเร็จมากน้อยแค่ไหนย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

     1. สภาพความสมบูรณ์และการเตรียมพร้อมของต้นมะม่วง สภาพความสมบูรณ์ของต้นมะม่วงย่อมเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะเป็นตัวกำหนดในการออกดอก การติดผลของมะม่วง เมื่อใดก็ตามที่มะม่วงไม่มีความสมบูรณ์เพียงพอมะม่วงจะไม่มีการออกดอก ติดผล หรืออาจจะมีการออกดอก ติดผลบ้าง แต่ก็จะมีการร่วงหล่นหรือเหี่ยวแห้งไปในที่สุด ดังนั้นเพื่อที่จะให้มะม่วงมีความสมบูรณ์และเตรียมพร้อมเพื่อการออกดอก ชาวสวนมะม่วงจึงควรจะเริ่มทำตั้งแต่หลังจากเก็บเกี่ยวผลมะม่วงในปีที่ผ่านมา โดยทำการตัดแต่งกิ่งที่ไม่เหมาะสมออกให้หมด เช่น กิ่งกระโด กิ่งที่เป็นโรคหรือกิ่งที่เห็นว่าไม่มีประโยชน์ เป็นต้น ต่อจากนั้นควรใส่ปุ๋ยคอกเพื่อบำรุงดินและต้นมะม่วงไปพร้อมกัน การใส่ปุ๋ยคอกโดยการโรยในแนวพุ่มใบ อัตราต้นละ 10-20 กิโลกรัม และควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือสูตรใกล้เคียงกันในอัตรา 1-2 กิโลกรัม หลังจากที่ได้ใส่ปุ๋ยลงไปแล้ว มะม่วงก็จะแตกใบอ่อนออกมา ในช่วงนี้ต้องคอยระวังไม่ให้แมลงเข้ามากัดกินทำลายใบโดยใช้ยาฆ่าแมลงฉีดพ่น และอาจพิจารณาฉีดพ่นปุ๋ยทางใบที่มีไนโตรเจนสูงควบคู่กันไป ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ใบมะม่วงสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ปกติแล้วใบมะม่วงชุดที่ 1 จะเริ่มแก่ในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม และใบอ่อนชุดที่ 2 ก็จะแตกตามมา ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะแก่การราดสารเคมีเร่งดอก

     2. วิธีการให้สารที่ถูกต้อง ก่อนที่จะทำการราดสารลงไปนั้นควรตรวจสภาพดินบริเวณโคนต้นมะม่วงว่ามีความชื้นพอหรือไม่ เพราะถ้ามีความชื้นน้อยเกินไปจะทำให้สารที่ใช้มีประสิทธิภาพต่ำ นอกจากนี้ก่อนที่จะทำการราดสารนั้นควรมีการกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นมะม่วงออกให้หมด ทั้งนี้เพื่อให้ต้นมะม่วงได้รับประโยชน์จากสารนั้นอย่างเต็มที่ จากการทดลองและศึกษาของนักวิชาการเกษตรหลายท่าน ปรากฏว่าการให้สารที่มีประสิทธิภาพนั้นควรให้สารในระยะที่มะม่วงแตกใบอ่อนออกมาแล้ว 2 ชุดและใบมะม่วงที่แตกออกมาครั้งหลังนั้นจะต้องอยู่ในระยะที่เรียกว่า ใบพวง

     3. พันธุ์มะม่วง การบังคับให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาล นอกจากจะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว พันธุ์มะม่วงก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นตัวกำหนดว่าการบังคับให้มะม่วงออกดอกได้มากน้อยแค่ไหน อาทิเช่น พันธุ์มะม่วงที่มีนิสัยการออกดอกง่าย ตัวอย่างเช่นพันธุ์น้ำดอกไม้ ฟ้าลั่น แห้ว หนองแซงและเจ้าคุณทิพย์ จะตอบสนองต่อสารเร่งการออกดอกได้ดี ส่วนพันธุ์มะม่วงที่ออกดอกค่อนข้างยากเช่น เขียวเสวย แรด หนังกลางวัน จะตอบสนองต่อสารเร่งการออกดอกได้ไม่ดีเท่าที่ควร

วิธีการบังคับหรือชักนำให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาล
     การชักนำหรือกระตุ้นให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลนั้น สามารถกระทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ได้ผลค่อนข้างแน่นอน ได้แก่ การสุมไฟและการฉีดพ่นด้วยสารเคมี

     ก. การสุมไฟ การสุมไฟหรือการรมควันให้กับต้นมะม่วงเป็นวิธีการกระตุ้นหรือชักนำให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าฤดูกาลปกติ โดยให้ควันไฟผ่านเข้าไปในพุ่มต้นมะม่วงเพื่อให้มะม่วงแตกตาดอกออกมา แต่วิธีการนี้มีข้อเสียอยู่บ้างกล่าวคือ ต้องใช้แรงงานมากและเสียค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นข้อควรคำนึงก็คือการเลือกต้นมะม่วงสำหรับสุมไฟต้องทำด้วยความระมัดระวัง ต้นมะม่วงที่สุมไฟแล้วจะออกดอกได้ดีนั้นจะต้องเป็นต้นที่มีกิ่งและใบแก่เต็มที่ ถ้าหากใบยังอ่อนอยู่หรือกิ่งยอดยังแก่ไม่พอ ก็ไม่สามารถบังคับให้ออกดอกด้วยวิธีนี้ได้ ดังนั้นเพื่อให้การบังคับด้วยวิธีนี้ได้ผลดียิ่งขึ้นจึงควรเลือกต้นมะม่วงที่มีใบสีเขียวแก่ ผิวด้านหรือสีน้ำตาลอมเขียว ใบเปราะง่าย (เมื่อขยำด้วยมือ) สภาพของต้นและตายอดต้องอยู่ในระยะพักตัว
     
วัสดุที่ใช้สุมไฟที่ดีได้แก่ใบไม้แห้ง หญ้าดิบ แกลบ กิ่งไม้และเศษวัสดุอื่นๆ ในการก่อกองไฟควรให้กองไฟอยู่เหนือลมเพื่อให้ควันไฟเข้าไปสู่พุ่มต้นได้ง่าย และอาจใช้แผงกั้นที่ทำจากทางมะพร้าวหรือไม้ไผ่มากั้นไว้เพื่อให้ควันไฟพุ่งเข้าสู่พุ่มต้นได้ดียิ่งขึ้นและจำต้องให้กองไฟอยู่ห่างจากโคนต้นในระยะที่ไม่เป็นอันตรายต่อต้นมะม่วง กล่าวคือ ถ้ากิ่งมะม่วงเป็นกิ่งที่มีอายุมากและผ่านการพักตัวมาแล้ว ระยะเวลาของการรมควันจะสั้นเข้า แต่ถ้าเป็นกิ่งที่มีอายุน้อย ระยะเวลาของการรมควันก็จะมากขึ้น นอกจากนี้แล้วในการสุมไฟต้นมะม่วงให้ทำทั้งกลางวันและกลางคืนเป็นเวลาหลายๆ วันติดต่อกันจนกระทั่งตาดอกเริ่มปรากฏให้เห็น แต่ถ้าตาดอกไม่เกิดหลังจากที่ได้สุมไฟไปแล้วประมาณ 9-15 วัน ก็ให้เลิกสุมไฟแล้วเริ่มไฟ หลังจากหยุดรมควันไปได้ 20-30 วัน และเมื่อตาเริ่มผลิออกมาให้เห็น ซึ่งในตอนนี้ยังไม่แน่ใจว่าตาที่ปรากฏออกมานั้นจะเป็นตาดอกหรือตาใบ ต้องรอจนกระทั่งตาขยายตัวขึ้น ถ้าตาที่ปรากฏเป็นตาดอกก็จะมีรูปร่างเป็นจงอย ส่วนตาที่เจริญเป็นกิ่งหรือเป็นใบ จะมีรูปร่างเป็นทรงยาวและตั้งตรง อย่างไรก็ตามการบังคับให้มะม่วงออกดอกด้วยวิธีการนี้ในปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากวิธีการยุ่งยากและมีวิธีอื่นที่สะดวกกว่าและได้ผลที่แน่นอนกว่า

     ข. การฉีดพ่นด้วยสารเคมี การใช้สารเคมีเพื่อกระตุ้นหรือชักนำให้มะม่วงออกดอก เป็นวิธีที่กระทำกันมาช้านานแล้วคือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา ซึ่งมีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล สารเคมีที่ใช้ได้ผลก็มีหลายชนิดและได้พัฒนาให้ดีขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน สารเคมีที่ใช้บังคับให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลได้ค่อนข้างแน่นอนได้แก่

     1. สารโปแตสเซียมไนเตรต ประเทศไทยได้นำผลการทดลองการใช้สารโปรแตสเซียมไนเตรทของฟิลิปปินส์มาใช้ในการเร่งออกดอกของมะม่วง ผลปรากฏว่าในครั้งแรกไม่ได้ผล แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะใช้ได้ผล จึงได้ปรับปรุงวิธีปฏิบัติรวมทั้งความเข้มข้นและตัวสารโปแตสเซียมไนเตรท จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2524 ผลปรากฏว่าสารโปแตสเซียมไนเตรทสามารใช้เร่งให้มะม่วงออกดอกได้ โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้
          
1. ใช้โปแตสเซียมไนเตรท เกรดปุ๋ย สูตร 13-0-46 ที่มีความบริสุทธิ์มากกว่า 99.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีราคาถูกและยังให้ผลได้เท่าเทียมกับเกรดที่สูงกว่า แต่ไม่ควรนำดินประสิวมาบดให้ละเอียดแล้วละลายน้ำแทนการใช้โปแตสเซียมไนเตรท เพราะไม่สะดวกในการเตรียมสารและดินประสิวอาจมีสารเจือปนอื่นๆ ที่เป็นพิษกับพืช ซึ่งมีโอกาสทำให้ใบมะม่วงไหม้ได้
          
2. ใช้โปแตสเซียมไนเตรท น้ำหนัก 500 กรัม (1/2 กิโลกรัม) ผสมน้ำ 20 ลิตร ก็จะได้โปแตสเซียมเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก และควรผสมยาจับใบเพื่อให้สารละลายโปแตสเซียมไนเตรทจับกับผิวใบได้อย่างทั่วถึง ทั้งยังเพิ่มการดูดซึมสารละลายโปแตสเซียมไนเตรทเข้าสู่ตัวใบได้มากขึ้น
          
3. ควรทำการฉีดพ่นสารละลายโปแตสเซียมไนเตรทในตอนเช้ามืด ตอนเย็นช่วงเวลาที่ลมสงบ ซึ่งจะมีผลดี 2 ประการคือ เป็นการลดการไหม้ที่บริเวณปลายใบของมะม่วงซึ่งพบว่าหลังจากที่ได้ฉีดพ่นสารละลายไปแล้ว สารละลายจะไหลย้อนไปยังปลายใบมองเห็นเป็นหยดน้ำเกาะอยู่ ถ้าหากทำการฉีดพ่นในเวลาที่มีแดดจัดหรือความชื้นในอากาศมีน้อย จะทำให้น้ำระเหยอย่างรวดเร็วและคงเหลือแต่ปริมาณความเข้มข้นของโปแตสเซียมไนเตรทในอัตราที่สูง ตามบริเวณปลายใบของมะม่วง ซึ่งจะแสดงอาการเป็นพิษต่อเนื้อเยื่อของใบ ทำให้ปลายใบแห้ง ผลดีอีกประการหนึ่งก็คือ การฉีดพ่นในตอนเช้าหรือตอนเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูงจะเป็นการช่วยให้การดูดซึมสารละลายโปแตสเซียมไนเตรทเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
          
4. การฉีดพ่นสารเพียงครั้งเดียว ภายในระยะเวลา 20 วัน ถ้ามะม่วงยังไม่ออกดอก ก็ให้ฉีดสารดังกล่าวอีกครั้ง ในอัตราเดิม แต่โดยทั่วไปแล้วภายใน 15 วัน นับจากวันเริ่มฉีดสาร มะม่วงก็จะแทงช่อดอกออกมาให้เห็น
     
การฉีดพ่นสารโปแตสเซียมไนเตรทให้กับต้นมะม่วงเพื่อเร่งการออกดอก ถ้าปฏิบัติถูกต้องแล้วจะสามารถเร่งให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าปกติประมาณ 15-20 วัน โดยไม่เป็นอันตรายหรือมีผลเสียหายต่อต้นมะม่วงแต่ประการใด นอกจากนี้ถ้าคำนึงถึงเรื่องการลงทุนก็เป็นการลงทุนที่ถูกมากเนื่องจากโปแตสเซียมไนเตรท เป็นสารเคมีที่มีราคาถูก ซึ่งเหมาะกับเกษตรกรที่ไม่ค่อยมีเงินทุนมากนัก

     2. ฮอร์โมน เอ็น.เอ.เอ (N.A.A.) ฮอร์โมนเอ็น.เอ.เอ ที่ใช้เร่งการออกดอกของมะม่วงนี้มีชื่อการค้าหลายอย่างเช่น แพลนโนฟิกซ์ แพลนนิโมนส์ฟิกซ์ แพนเตอร์ เป็นต้น หลักการทำงานของฮอร์โมนชนิดนี้คือเมื่อฉีดไปที่ต้นมะม่วงแล้วจะส่งเสริมให้มะม่วงมีการสังเคราะห์เอทธิลีนได้มากขึ้น และเอทธิลีนนี้เองที่จะเป็นตัวไปกระตุ้นให้มะม่วงออกดอก

วิธีปฏิบัติ
 ให้ใช้ฮอร์โมนเอ็น.เอ.เอ ที่มีชื่อการค้าว่า แพลนโนฟิกซ์ อัตรา 3-5 ซี.ซี. ผสมน้ำประมาณ 20 ลิตร และผสมกับโปแตสเซียมไนเตรทอัตรา 300-500 กรัม เมื่อผสมเสร็จแล้ว ให้ทำการฉีดพ่นใบมะม่วงตามธรรมชาติ (เดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์) จะทำให้มะม่วงแทงช่อดอกให้เห็นภายหลังจากฉีดสารไปแล้วประมาณ 12 วัน วิธีการนี้จะทำให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าปกติถึง 30-40 กรัม

     3. สารพาโคลบิวทราโซล เป็นสารในกลุ่มของสารชะลอการเจริญเติบโตของพืช ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ในขณะนี้มี 2 ชนิด คือ คัลทาร์ ซึ่งอยู่ในรูปของเหลวมีความเข้มข้นของเนื้อสาร 10 เปอร์เซ็นต์ และอีกชนิดหนึ่งคือ พรีดิคท์ มีอยู่ 2 รูป คือ ในรูปของเหลว ซึ่งมีความเข้มข้นของเนื้อสาร 25 เปอร์เซ็นต์ กับชนิดผงซึ่งมีความสูงในการยับยั้งการสร้างฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลินในต้นมะม่วง เป็นฮอร์โมนที่มะม่วงสร้างขึ้นมาได้เองและมีผลต่อการยืดตัวของเซลล์ทำให้กิ่งก้านยืดยาวออก และที่สำคัญคือเป็นฮอร์โมนที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตทางด้านกิ่ง ก้านและใบ แต่จะยับยั้งการออกดอก ดังนั้นในสภาพใดก็ตามที่ทำให้ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลินในต้นมากเกินไป ในสภาพที่ดินมีลักษณะชื้นหรือมีน้ำมาก หรือมีปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป และในลักษณะตรงกันข้าม หากสภาพดินเป็นดินที่แห้ง มีไนโตรเจนน้อยหรือได้รับอากาศหนาวเป็นระยะเวลานานพอสมควร ก็จะมีผลทำให้ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลินมีน้อยลง ซึ่งผลที่จะตามมาก็คือการเจริญเติบโตทางด้านกิ่งและใบหยุดชะงักลงและมีการสร้างตาดอกขึ้นมาแทน จากหลักการนี้เองจึงได้มีผู้นำมาใช้ควบคุมการออกดอกของมะม่วง โดยหาทางลดปริมาณฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลินลงเพื่อให้มีโอกาสสร้างตาดอกได้มากขึ้น และสารพาโคลบิวทราโซลก็จัดได้ว่าเป็นสารหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการสร้างฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลินได้ดี

     ข้อควรคำนึงถึงในการใช้สารพาโคลบิวทราโซล การใช้สารชนิดใดก็ตามควรที่จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับสารนั้นให้ถ่องแท้เสียก่อน ทั้งวิธีการใช้ อัตราที่ใช้ ผลกระทบจากการใช้สาร เป็นต้น สารพาโคลบิวทราโซลก็เช่นเดียวกัน เกษตรกรหรือชาวสวนที่จะใช้สารนี้ให้ได้ผลดีนั้นควรที่จะได้มีการคำนึงถึงสิ่งต่าง ดังต่อไปนี้คือ
      1. พันธุ์มะม่วง มะม่วงบางพันธุ์ที่มีการออกดอกค่อนข้างยากหรือเป็นมะม่วงพันธุ์หนัก การใช้สารก็ย่อมที่จะใช้ในอัตราความเข้มข้นสูงกว่ามะม่วงพันธุ์เบาหรือมะม่วงที่ออกดอกได้ง่าย ในขณะที่มีขนาดของทรงพุ่มเท่าๆ กัน
      2. ขนาดของทรงพุ่ม ต้นมะม่วงที่มีอายุมากหรือมีขนาดของทรงพุ่มใหญ่กว่าจะต้องใช้สารที่มีปริมาณมากกว่าต้นที่เล็กกว่า และถ้าต้นมะม่วงยังมีทรงพุ่มที่เล็กเกินไปหรืออายุน้อย ก็ยังไม่ควรใช้สารกระตุ้น ต้องรอไปจนกว่ามะม่วงจะพร้อมต่อการออกดอก
     3. ต้นมะม่วงที่ราดด้วยสารพาโคลบิวทราโซล จะต้องมีความแข็งแรงสมบูรณ์ มีระบบรากดี ถ้าต้นมะม่วงยังไม่สมบูรณ์หรือระบบรากไม่ดี ต้องบำรุงรักษาต้นและระบบรากให้สมบูรณ์เสียก่อน ก่อนที่จะกระตุ้นด้วยสารนี้
     4. กรณีที่ราดสารพาโคลบิวทราโซลให้กับต้นมะม่วงในขณะที่มีแต่ใบแก่ มะม่วงอาจจะแตกใบอ่อนขึ้นมาก่อนที่สารจะแสดงปฏิกิริยา ซึ่งผลดังกล่าวนี้ไม่ได้เกิดจากสารพาโคลบิวทราโซล
     5. ก่อนที่จะทำการราดสาร ควรปรับดินบริเวณโคนต้น รอบทรงพุ่ม รวมทั้งกำจัดเศษใบไม้ เศษหญ้าและวัชพืชออกให้หมด เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจจะดูดเอาสารพาโคลบิวทราโซลเข้าไป ทำให้ต้นมะม่วงได้รับสารนี้น้อยเกินไป
     6. ต้นมะม่วงที่ทำการราดสารพาโคลบิวทราโซล ควรมีรูปทรงที่โปร่ง แสงแดดส่องได้อย่างทั่วถึง ซึ่งจะช่วยทำให้ช่อดอกของมะม่วงเจริญได้ดี
     7. สวนมะม่วงที่ใช้สารพาโคลบิวทราโซล จะต้องมีระบบการชลประทานอย่างดี และสามารถเปิดใช้ได้ทุกเวลาตามความต้องการ ส่วนในสวนมะม่วงที่มีปัญหาในเรื่องระบบชลประทานนั้น ควรพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน ก่อนที่จะใช้สารนี้

     วิธีการใช้สารพาโคลบิวทราโซล การใช้สารพาโคลบิวทราโซลเพื่อผลิตมะม่วงนอกฤดูกาลนี้ จากการทดลองของนักวิชาการเกษตรทั้งหลายต่างลงความเห็นกันว่า วิธีที่เหมาะสมที่สุดก็คือ การรดสารลงบริเวณโคนต้นหรือรอบทรงพุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากสารนี้ถูกดูดซึมเข้าทางรากได้ดี ส่วนอัตราความเข้มข้นของการใช้สารนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุและขนาดของทรงพุ่ม กล่าวคือ ในต้นมะม่วงที่มีอายุมากและทรงพุ่มกว้างจะใช้สารมากกว่ามะม่วงที่มีอายุน้อยและขนาดของทรงพุ่มเล็กกว่า ดังรายละเอียดต่อไปนี้


ภายหลังจากที่ได้ใช้สารไปประมาณ 2-3 เดือน มะม่วงก็จะเริ่มออกดอกโดยเฉพาะพันธุ์ที่ออกดอกง่ายหรือพันธุ์เบา เช่น น้ำดอกไม้ เจ้าคุณทิพย์ ฟ้าลั่น หนองแซงและศาลายา เป็นต้น แต่อาจจะมีบางต้นที่ไม่ออกดอกเนื่องจากมีการพักตัวนานเกินไปก็จำเป็นต้องกระตุ้นการแตกตาดอกด้วยสารโปแตสเซียมไนเตรท ความเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์ (ใช้โปรแตสเซียมไนเตรท 500 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือกระตุ้นด้วยสารไทโอยูเรีย ความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้เกิดการแตกตาดอกได้พร้อมกันทั้งต้น ภายในระยะเวลา 2 อาทิตย์ หลังจากฉีดพ่นสารนี้ไปแล้ว
     
การใช้สารพาโคลบิวทราโซลนี้ สามารถที่จะกำหนดเวลาของการออกดอกและการเก็บเกี่ยวได้ตามความต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการให้มะม่วงออกดอกและเก็บเกี่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ (ประมาณวันที่ 25-30 ธันวาคม) ก็ต้องนับวันย้อนขึ้นไปเป็นขั้นตอนแล้วเริ่มใช้สารนี้ และเพื่อเป็นการสะดวกรวมทั้งง่ายต่อการปฏิบัติจึงได้เขียนแผนภูมิและกำหนดวันที่จะปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้



http://www.giswebr06.ldd.go.th/lddweb/knowledge/plant/mango/6.html








     

 
การใช้สารพาโคลบิวทราโซลกับทุเรียนพันธุ์ชะนีเพื่อ

1. ศึกษาถึงอิทธิพลของสารพาโคลบิวทราโซล และสารจับใบที่มีต่อการออกดอกและติดผล
2. ศึกษาช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการให้สารพาโคลบิวทราโซล ทางใบต่อการออกดอก และติดผล
3. ศึกษาการให้สารพาโคลบิวทราโซลตามตำแหน่งต่างๆ ของต้นที่มีการออกดอกและติดผล
4. ศึกษาอิทธิพลของการให้สารพาโคบิวทราโซลโดยวิธีพ่นทางใบต่อการออกดอกของต้นทุเรียนพันธุ์ชะนีอายุต่างๆ กัน โดยทำการศึกษาทั้ง 4 การทดลอง ที่สวนทุเรียนของเกษตรกร อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ในช่วง เดือนกรกฎาคม 2531 ถึงเดือนพฤษภาคม 2532

ผลการศึกษาพบว่า การให้สารพาโคลบิวทราโซลร่วม กับสารจับใบ ไม่ว่าจะให้ในช่วงระยะเวลาใด ตำแหน่งต่างๆ และอายุต่างๆ กัน ไม่ทำให้ระยะเวลาในการออกดอกเร็วกว่าต้นที่ไม่ได้รับสาร แต่การให้สารพาโคลบิวทราโซลร่วมสารจับใบ ในทุกระยะเวลาที่ให้สารและอายุต่างๆ ของต้นที่ได้รับสาร จะมีเปอร์เซ็นต์กิ่งออกดอกมากกว่าต้นที่ไม่ได้รับสาร ในขณะที่เปอร์เซ็นต์กิ่งติดผลและจำนวนผลต่อต้น ไม่แตกต่างจากต้นที่ไม่ได้รับสาร

และพบว่าต้นทุเรียนที่ได้รับสารพาโคลบิวทราโซลร่วมกับสารจับใบในทุกช่วงระยะเวลา ที่ให้สาร ไม่ทำให้น้ำหนักผลเฉลี่ยแตกต่างจากต้นที่ไม่ได้รับสาร แต่พบว่าต้นทุเรียนที่มีอายุน้อยเมื่อได้รับสารจะให้น้ำหนักผล เบากว่าน้ำหนักผลจากต้นที่ไม่ได้รับสาร ความยาวขั้วผลในทุเรียนที่ได้รับสารพาโคลบิวทราโซลร่วมกับสารจับใบ ในทุกระยะเวลาที่ให้สาร และอายุต่างๆ ของต้นที่ได้รับสาร ทำให้ความยาวขั้วผลสั้นกว่าต้นที่ไม่ได้รับสาร ตำแหน่งที่ให้สาร ไม่มีผลต่อความยาวขั้วผล ทุเรียนที่ได้รับสารร่วมกับสารจับใบมีช่วงเวลาในการเก็บเกี่ยวนานกว่า และจำนวนครั้ง ในการเก็บเกี่ยวมากกว่าต้นที่ไม่ได้รับสาร

ส่วนตำแหน่งต่างๆ ที่ให้สารไม่ทำให้ช่วงเวลาในการเก็บเกี่ยว และจำนวนครั้ง ในการเก็บเกี่ยวแตกต่างจากต้นที่ไม่ได้รับสาร ต้นทุเรียนที่ได้รับสารพาโคลบิวทราโซลร่วมกับสารจับใบ และต้นทุเรียนที่ไม่ได้รับสาร ไม่แตกต่างในเรื่องเปอร์เซ็นต์ flesh recovery และการให้สารพาโคลบิวทราโซล ไม่มีผลในการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของผลทุเรียน ซึ่งวัดจากเปอร์เซ็นต์ soluble solids ความแน่นเนื้อ สีของเนื้อ ปริมาณtotal nonstructural carbohydrate และ reducing sugar

http://it.doa.go.th/durian/detail.php?id=77&PHPSESSID=2ede1a645605936484fae911976420c8


 

การใช้สารพาโคลบิวทราโซลในการผลิตมะนาวนอกฤดู
มีการปฏิบัติดังนี้


การเตรียมต้นมะนาว

ในเดือนกรกฎาคม ควรทำการเก็บผลมะนาวที่ติดในฤดูปกติให้หมด และบำรุงต้นมะนาวให้สมบูรณ์สำหรับสวนมะนาวที่จะทำผลผลิตขายในฤดูแล้งในปีถัดไปจะต้อง เริ่มตัดแต่งกิ่ง ตัดลูกที่อยู่บนต้นออกให้หมด ตั้งแต่ปลายเดือน พฤษภาคม หลังจากนั้นให้ใส่ปุ๋ยทางดินสูตร 25-7-7 อาจจะผสมปุ๋ยอินทรีย์เป็นมูลไก่ อัดเม็ดอย่างละครึ่งต่อครึ่งหลังหว่านปุ๋ยต้องให้น้ำให้ชุ่มพร้อมกับอีกพ่นปุ๋ยทางใบจะช่วยให้มะนาวแตกยอดอ่อนได้ (ธวัฒชัย,2542) และในสภาพดินเหนียวควรใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 (มนัส,2543) หรือ 9-27-27 ประมาณ 1-2 กิโลกรัม/ต้น ซึ่งปุ๋ยนั้นอาจผสมกระดูกป่นลงไปด้วยก็ได้

(ธันวา,2544) แต่ถ้าเป็นดินทรายใช้ปุ๋ยสูตร 9-24-24 ประมาณ 1-2 กิโลกรัม/ตัน โดยการหว่านรอบทรงพุ่ม เพื่อเร่งการออกดอกให้ดีขึ้น (มนัส,2543)



การใช้สารพาโคลบิวทราโซล และ NAA

ต้นเดือนกันยายน รดสารพาโคลบิวทราโซลที่โคนในระยะใบเพสลาด อายุประมาณ 3-4 สัปดาห์ในอัตราเนื้อสาร 1 กรัม ผสมน้ำ 1-2 ลิตรต่อเส้นผ่าศูนย์กลางพุ่ม 1 เมตร สารจะไปยับยั้งการเจริญทางกิ่งใบ และการกระตุ้นการสร้างตาดอกในช่วงเดือน ตุลาคม จะมีมะนาวทวายออกมาต้องปลิดผลเหล่านี้ทิ้งไป โดยการใช้สาร NAA จำนวน 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นดอกจะร่องโดยไม่มีอันตรายต่อใบ (วิเศษ,2542) มะนาวจะแตกยอดออกดอกระยับไปหมด เนื่องจากต้นสมบูรณ์เต็มที่นั้นเอง เมื่อดอกเริ่มบานต้องใช้แคลเซียมโบรอน ผสมสาหร่ายสกัดเพื่อช่วยผสมเกสรพอเริ่มติดผลต้องใช้สาร NAA กระตุ้นให้ขั้วเหนียวให้โตเร็วและลดการสลัดลูกทิ้ง



การดูแลรักษาดอกและผล

ปลายเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน มะนาวที่ให้ดอกแล้วจะมองเห็นตุ่มดอกเล็กๆระยะนี้หากมีเพลี้ยและไรแดงเข้าทำลายให้ฉีดยาพวกไพรีทรอย ซึ่งยากลุ่มนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อแมลงที่มาช่วยผสมเกสรหากเห็นว่าดินเริ่มแห้งอาจจะยืดหลัก 3 วันครั้งให้น้ำ แต่ของพื้นที่เป็นดินเหนียวและมีน้ำใต้ดินไม่ลึกมากอาจจะรอ 5 วันจึงให้น้ำครึ่งหนึ่ง (ศุภกิจ,2543) หรือในช่วงหน้าแล้งในทุกวันต้นละประมาณครึ่งชั่วโมง (เสนห์, 2543) ส่วนการดูแลรักษาดอกให้ติดดีนั้นสำหรับต้นมะนาวที่มีอาหารสะสมอย่างเต็มที่ ไม่จำเป็นต้องช่วยเหลือมะนาว ก็จะออกดอกติดผลดี แต่มะนาวที่มีอาหารสะสมไม่เพียงพอดอกจะร่วงหล่น และติดผลน้อยเกินไป การช่วยเหลือทำได้โดยใช้สาร NAA 1 มิลลิลิตร หรือ 1 ซีซี ผสมน้ำสะอาด 20 ลิตร ฉีดพ่นตั้งแต่เริ่มเป็นดอกตูมจะทำให้ขั้วเหนียวหลังจากผลมะนาวมีการขยายผลมากจึงควรใส่ปุ๋ยสูตร 16-11-14 หรือ 20-11-11ในอัตรา 300 กรัมต่อต้นโดยหว่านรอบๆชายพุ่มหรือบางครั้งให้ปุ๋ยทางใบเกล็ดสูตร 30-20-10 หรือ 20-20-20 ฉีดทุกๆ 7–10 วัน (ศุกกิจ,2540)



ขั้นตอนการบังคับให้มะนาวติดผลและเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน

  1. เดือน พฤษาคม –มิถุนายน จะต้องทำการตัดแต่งและใส่ปุ๋ยเพื่อให้แตกยอด
  2. เดือน กรกฎาคม เก็บเกี่ยวผลที่ออกในฤดูปกติให้หมด
  3. เดือน สิงหาคม ตัดแต่งและใส่ปุ๋ยอีกครั้งเพื่อเตรียมเร่งดอกและต้องการกระตุ้นใบให้เพสลาด

    ในช่วงเดือนกันยายนและมีการปลัดดอกและหวายทิ้งไว้เรื่อยจนกรทั่งปลายๆ เดือนตุลาคมจึงหยุด

  4. ต้นเดือนกันยายน ราดสารพาโคลบิวทราโซล
  5. เดือนตุลาคม หยุดแตกยอด
  6. ปลายเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน จะออกดอกที่ต้องการ (1 ½ -2 ½ เดือน หลังราดสาร)
  7. เดือน ธันวาคม-ภุมภาพันธุ์ ใส่ปุ๋ยบำรุงต้น
  8. เดือน มีนาคม-เมษายน ผลเริ่มแก่พร้อมจะเก็บเกี่ยวซึ่งจะขายได้ราคาแพง (วิเศษ,2542)

สำหรับในสวนมะนาวนั้นผลการทดลองทั้งหมดในการใช้สารเปรียบเทียบกันหลายอัตรา สรุปได้

ว่ามะนาวไข่นั้นสามารถตอบสนองได้ดี ละไม่มีผลที่จะทำให้เกิดการหยิกงอหรือทำให้ยอดนั้นสิ้นลง

แต่ก็สามารถทำให้ออกดอกได้ตั้งแต่ราดสาร 1 ½ -2 ½ เดือนดังกล่าว โดยต้นที่มีการราดสารอัตราสารออกฤทธิ์ 3 กรัมต่อต้น ที่มีขนาดทรงพุ่ม 2.80 เมตร สามารถออกดอกได้เดือนตุลาคม - พฤศจิ茱ายน ถึง 31- 31.33% ในขณะที่ต้นเปรียบเทียบไม่ราดสารสามารถออกดอกในช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิ茱ายน เพียง 1.31% และต้นที่ราดสารที่ออกดอกนั้นปรากฏว่ามีดอกสมบูรณ์และติดผลดี



ภาพที่1 ราคาผลมะนาวชนาดกลาง(ขายปลีก) ที่จังหวัดสุพรณบุรี พ.ศ. 2536 (เปรมปรี,2537)

การทดลองเกี่ยวกับการใช้สารพาโคลบิวทราโซล 3 ถึง 9 กรัมของเนื้อสารกับมะนาวอายุทรงพุ่มประมาณ 3 เมตรร่วมกับการควั่นกิ่งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ระหว่าง 1.25 ถึง 2.5 ซ.ม. ผลการทดลองดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 เปอร์เซนต์การออกดอกของต้นมะนาวภายหลังการใช้สารพาโคลบิวทราโซล ราดที่โคนต้นร่วมกับวิธีการควั่นกิ่ง


และเฉลี่ยการใช้สารพาโคลบิวทราโซล ร่วมกับการปลิดผลก่อนการใช้สารจะทำให้มะนาวออกดอกได้ดีกว่าการไม่ติดผลดังตารางที่ 2 และ 3

ตารางที่ 2 การใช้สารพาโคลบิวทราโซล เดือนสิงหาคมโดยปลิดผลในต้นทิ้งให้หมดก่อนใช้สาร

การใช้สาร

ปริมาณช่อดอกใน 1 ตารางเมตร

จำนวนผลต่อต้น

ไม่ให้สาร

พาโคลบิวทราโซล 1.5 กรัม/เมตร

พาโคลบิวทราโซล 2.0 กรัม/เมตร

พาโคลบิวทราโซล 2.5 กรัม/เมตร

15.3

68.7

81.1

99.9

101.5

212.5

293.7

273.5


ตารางที่ 3 การใช้สารพาโคลบิวทราโซล เดือนสิงหาคมโดยไม่ปลิดผลในต้นทิ้งก่อนการใช้สารจำนวนผลในต้นประมาณ 75–150 ผลต่อต้นในขณะใช้สาร

การให้สาร

ปริมาณช่อดอกใน 1 ตารางเมตร

ไม่ให้สาร

พาโคลบิวทราโซล 1.5 กรัม/เมตร

พาโคลบิวทราโซล 2.0 กรัม/เมตร

พาโคลบิวทราโซล 2.5 กรัม/เมตร

10.7

42.4

54.9

64.8

ดังนั้นการใช้สารพาโคลบิวทราโซลในการกระตุ้นการออกดอกของมะนาวนอกฤดูจะต้องเตรียมต้นมะนาวให้อย่ในสภาพที่พร้อม และการใช้สารสามารถใช้ร่วมกับการควั่นกิ่งซึ่งจะให้ผลดีขึ้น อีกทั้งสารที่ให้จะต้องใช้ในความเข้มข้นที่เหมาะสมด้วย (พีระเดช ,
2542)


สรุป

เนื่องจากมะนาวเป็นไม้ผลที่ตลาดต้องการสูงตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูแล้ง เดือน มีนาคมถึงเมษายน มะนาวจะมีราคาแพงที่สุด ซึ่งตกอยู่ผลละ 2–5 บาท ดังนั้นเกษตรกรรู้จักวิธีการบังคับมะนาวให้ออกมาติดผลมนอกฤดูด้วยวิธีการต่างๆ เช่น วิธีการกักน้ำการปล่อยน้ำให้น้ำท่วมโคน การควั่นหรือใช้ลวดรัดที่โคน ซึ่งวิธีการเหล่านี้เป็นการทรมานต้นมะนาว ทำให้มะนาวโทรมหรือตายได้ แต่ในปัจจุบันได้พบวิธีบังคับให้มะนาวออกดอกนอกฤดูโดยการใช้สารพาโดลบิวทราโซล ซึ่งไม่เป็นการทรมานต้นมะนาวเกินไปและได้ผลดี


เอกสารอ้างอิง

ธันวา ไวยอท. 2544. มะนาวนอกฤดูเมืองไม้ผล. 13 (154):75-76.

ธวัฒชัย มาลาม. 2545. สวนมะนาวเงินล้าน. 18 (213):6 – 9

เปรมปรี ณ สงขลา.2537. ทำสวนส้มอย่างมืออาชีพ. เจริญรัฐการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 135 น.

พีรเดช ทองอำไพ.2542.เทคนิคผลิตมะนาวนอกฤดู .เคหเกษตร .23(9): 66–72.

มนัส หุมุหุล. 2543. การผลิตมะนาวนอกฤดู. เคหทเกษตร. 24 (11):51–54.

วิเศษ อัครวิทยากุล. 2540. การปลูกมะนาวเกษตร. กรุงเทพฯ. 109 น.

ศุภกิจ แก้วถนอม. 2540. การปลูกมะนามะนาว. อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 94 น.

เสนห์ แสงดำ. 2543. สวนมะนาว. เกษตรพัฒนา. 19 (220):31–34 .

สุรชัย นาตะสินธ์. 2545. ผลิตมะนาวนอกฤดู. เมืองเกษตร. 12 (135) : 17–24

http://msw747314.212cafe.com/archive/2006-08-07/22545-22-2546-citrus-aurantifilia-swingle-rutaceae-25-25-citrus-aurantifilia-swingle-rutaceae-3-6-6-




ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ได้ทำการศึกษาอิทธิพลของสภาพแวดล้อมและอัตราความเข้มข้นของสารพาโคลบิวทราโซลที่มีผลต่อการออกดอก ติดผล และคุณภาพของทุเรียนพันธุ์ชะนีโดยใช้สารพาโคลบิวทราโซล ฉีดพ่นต้นทุเรียนที่มีความสมบูรณ์มาก และต้นที่มีความสมบูรณ์น้อยที่สวนเกษตรกร อ. แหลมสิงห์ อ.ขลุง อ.มะขาม และ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ในระหว่างเดือนสิงหาคม 2530 (ฤดูการผลิต 2530/31) พบว่าการฉีดพ่นสารพาโคลบิวทราโซล ทุกอัตราขณะที่ต้นทุกเรียนมีใบเพสลาดมากสามารถทำให้ต้นทุเรียนออกดอกเร็วขึ้น 30-40 วัน ตามอัตราความเข้มข้น (r=0.319*) และปริมาณดอกทุเรียนเพิ่มขึ้น 29-64% เมื่อเทียบกับต้นที่ไม่ได้ฉีดพ่นสาร ต้นทุเรียนจะเริ่มออกดอกในขณะที่มีค่า leaf water potential ประมาณ 8 KPa อุณหภูมิเฉลี่ย 20-25 C ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 50-70% ติดต่อกันประมาณ 5 วันก่อนออกดอก ชนิดหรืออัตราความเข้มข้นของสารพาโคลบิวทราโซล ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อการติดผลและคุณภาพของทุเรียน การใช้สารโคลบิวทราโซลมีผลทำให้อัตราการพัฒนาการของดอกและผลช้ากว่าต้นที่ไม่ได้ฉีดพ่นสาร ในฤดูกาลผลิต 2531/32 ได้ทำการทดลองซ้ำเพื่อยืนยันผลการทดลองในปี 2530/31 โดยการเลือกใช้ปัจจัยการทดลองให้เหมาะสมยิ่งขึ้นตามผลการทดลองที่ได้ในปี 2530/31 พบว่าการฉีดพ่นสารพาโคลบิวทราโซล ครั้งเดียว หรือแบ่งฉีดพ่น 2 ครั้ง ทุกอัตราความเข้มข้นสามารถทำให้ 80% ของต้นทุเรียนที่ได้รับการฉีดพ่นสารออกดอกเร็วขึ้น 14-45 วัน ทั้งนี้ขึ้นกับรูปแบบการกระจายของฝน ต้นทุเรียนที่ใช้สารพาโคลบิวทราโซลในอัตราและเวลาที่เหมาะเหมาะสมสำหรับต้นทุเรียนที่มีขนาดพอดีสามารถทำให้ต้นทุเรียนออกดอกได้เร็วขึ้น เมื่อมีช่วงฝนแล้งที่เหมาะสม


http://it.doa.go.th/journal/php/detail.php?id=309



ใช้สารพาโคลบิวทราโซลต่อมะนาว

เป็นวิธีใหม่ล่าสุดเท่าที่มีการทดลองอยู่ในขณะนี้ และมีแนวโน้มว่ามะนาวตอบสนองต่อการใช้สารนี้ได้ดี ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติเพื่อให้มะนาวเก็บเกี่ยวได้ในช่วงหน้าแล้ง โดยใช้สารพาโคลบิวทราโซลนั้นสามารถกระทำได้ดังนี้

1. ในเดือนกรกฎาคม ภายหลังจากที่เก็บเกี่ยวผลมะนาวหมดแล้ว ให้บำรุงต้นมะนาวให้สมบูรณ์ โดยทั้งนี้เพื่อจะให้มะนาวแตกใบอ่อน 1 ชุดก่อนการออกดอก

2. ต้นเดือนสิงหาคม ทำการตัดแต่งกิ่งมะนาวให้โปร่ง เพื่อให้ดินแห้ง ต่อจากนั้นควรใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงต้น สภาพที่ดินเป็นดินเหนียวควรควรใช้ปุ๋ยสูตร 12-24-24 แต่ถ้าเป็นดินทรายให้ใช้ปุ๋ยสูตร 9-24-24 ในอัตรา 1/3 ของเส้นผ่าศูนย์กลาง ของทรงพุ่มโดยหว่านรอบชายพุ่มเพื่อช่วยเร่งการเกิดดอกได้ดีขึ้น

3. ต้นเดือนกันยายน ให้รดสารพาโคลบิวทราโซลในอัตราเนื้อสาร 1 กรัม (เช่น คัลทาร์ 10 ซี.ซี.) ที่โคนต้นมะนาวในระยะใบเพสลาด แต่ก่อนทำการรดสารนั้นควรให้น้ำกับต้นมะนาว เพื่อให้ดินชุ่ม ซึ่งจะช่วยให้รากดูดซึมสารเข้าไปภายในต้นได้ดีขึ้น

4. ประมาณเดือนสิงหาคมต้นเดือนตุลาคม จะมีดอกมะนาวทะวายทยอยกันออกมาและจะต้องคอยปลิดดอกหรือผลเหล่านั้นทิ้ง เพื่อให้ต้นมะนาวมีอาหารสะสมมากพอสำหรับการเกิดดอกในปลายเดือนตุลาคมถึงปลายเดือนพฤศจิกายนได้มาก การปลิดดอกทิ้งอาจทำได้โดยใช้สารเคมีบางชนิด เช่น เอ็น.เอ.เอ.(N.A.A.) อัตรา 15-30 ซี.ซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดให้ดอกและผลร่วง โดยที่ไม่มีอันตรายต่อใบแต่อย่างใด

5. ปลายเดือนตุลาคมถึงปลายเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดอกกำลังบานและมีการผสมเกสรเพื่อเจริญไปเป็นผล ช่วงนี้ต้องคอยดูแลกันเป็นพิเศษ และเมื่อผลมะนาวมีอายุได้ 1-2 เดือน ซึ่งตรงกับเดือนธันวาคาถึงมกราคม เป็นระยะที่อากาศแห้งแล้งพร้อมกับมะนาวมีการพักตัวและผลัดใบเก่าทิ้ง ผลมะนาวมีโอกาสร่วงได้มากจึงต้องคอยระยังอย่าให้มะนาวขาดน้ำ และถ้าอากาศแห้งมากอาจพรมน้ำได้ด้วยก็ได้

6. หลังจากผลมะนาวมีอายุได้ 1-2 เดือนไปแล้ว จะเป็นช่วงที่ผลมะนาวมีการขยายขนาดของผลมาก จึงควรให้ปุ๋ยสูตร 15-5-20+2 (MgO) หรือสูตร 16-11-14+2 (MgO) ลงไปด้วย ถ้ามะนาวต้นไหนติดผลดกอาจเพิ่มปุ๋ยสูตร 20-10-10 หรือ สูตร 30-20-10 โดยฉีดพ่นทางใบเพื่อช่วยขนาดของผล

7. ประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน มะนาวก็จะเก็บผลได้ (สำหรับมะนาวที่มีอายุการเจริญเติบโตของผลนานกว่านี้ ควรเลื่อนเวลาการบังคับการออกดอกให้เร็วขึ้นไปอีก)

8. ในเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน หลังจากเก็บผลหมดแล้ว ควรทำการตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ยบำรุงต้นโดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอก ในอัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่และปุ๋ยเคมีเช่นสูตร 15-15-15 เป็นประจำทุกปี ควรมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งกิ่งมะนาวเริ่มแตกใบอ่อนซึ่งตรงกับช่วงฤดูฝนพอดี ซึ่งเป็นการเพียงพอที่จะให้มะนาวเก็บสะสมธาตุอาหารโดยเฉพาะพวกแห้งจนถึงระดับที่จะออกดอกได้ดีในเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน แต่ถ้ากิ่งมะนาวแตกใบอ่อนล่าออกไปจนถึงปลายฤดูฝน อาจทำให้มะนาวออกดอกได้ไม่มากเพราะมีระยะเวลาที่จะสะสมอาหารพวกแห้งได้น้อย และถ้าหากต้นมะนาวไม่แตกใบอ่อนออกมา เราอาจใช้วีตัดปลายกิ่งหรือตัดแต่งกิ่งให้โปร่งและให้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูงพร้อมทั้งให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและในปริมาณที่เพียงพอ หรืออาจพิจารณาใช้สารที่กระตุ้นการพักตัวเช่น ไทโอยูเรีย 0.5% ฉีดพ่นให้ทั่วต้นในระยะที่ใบแก่จัดซึ่งจะทำให้มะนาวแตกใบอ่อนออกมาได้ ซึ่งเป็นการเตรียมตัวเพื่อจะบังคับให้มะนาวออกดอกและเก็บผลในหน้าแล้งต่อไปได้



ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
จ.เชียงใหม่ โทร. 0-5387-3938-9
http://www.it.mju.ac.th/dbresearch/organize/extention/book-fruit/fruit043.htm

http://www.rakbankerd.com/agriculture/page?id=961&s=tblplant 





มะนาว; พาโคลบิวทราโซล; ไทโอยูเรีย; การชักนำการออกดอก; การผลิตนอกฤดู; พันธุ์แป้น
บทคัดย่อ: มะนาวพันธุ์แป้นสามารถชักนำให้มีการออกดอกนอกฤดูกาลได้โดยการใช้พาโคลบิวทราโซลความเข้มข้น 1.0, 1.5 และ 2.0 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1.0 เมตร โดยใช้ระยะเวลาในการออกดอกหลังจากราดพาโคลบิวทราโซล 63.55, 66.25 และ 68.35 วัน ตามลำดับ ส่วนการใช้ไธโอยูเรียความเข้มข้น 0.3 เปอร์เซ็นต์ พ่นหลังจากราดพาโคลบิวทราโซล ทำให้จำนวนดอกเพิ่มมากขึ้น และระยะเวลาการพ่นไธโอยูเรียที่ทำให้มีจำนวนดอกมากที่สุดคือการพ่นหลังราดแล้ว 2 1/2 เดือน นอกจากนี้ยังพบว่า การใช้พาโคลบิวทราโซลไม่ได้มีผลต่อจำนวนดอก การติดผล และผลเฉลี่ยต่อต้น แต่เป็นผลเนื่องมาจากการใช้ไธโอยูเรีย วิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการชักนำมะนาวพันธุ์แป้นให้มีการออกดอกนอกฤดู การใช้พาโคลบิวทราโซล ความเข้มข้น 2.0 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1.0 เมตร ร่วมกับการพ่นไธโอยูเรียความเข้มข้น 0.3 เปอร์เซ็นต์ หลังราดพาโคลบิวทราโซลแล้ว 2 1/2 เดือน


http://pikul.lib.ku.ac.th/cgi-bin/agdb2.exe?
rec_id=003960&database=agdb2&search_type=link&table=mona&back_path=/agdb2/mona&lang=thai&format_name=TFMON














สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (8572 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©