-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 382 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ฮอร์โมน




หน้า: 2/3



พืชสกุล Spindaceae
และสกุลใกล้เคียงช่วยเศรษฐกิจไทย


ฮอร์โมนจิ๊บเบอเรลลิน (จีเอ-3) จากเมล็ดลำไย-เงาะ

ชื่อโครงงาน
พืชสกุล Spindaceae และสกุลใกล้เคียงช่วยเศรษฐกิจไทย
ชื่อผู้ปฏิบัติ นางสาวสุนี บุญญาวานิชย์
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6
สถาบัน โรงเรียนบางบัวทอ'
นักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง ผ.ศ.อุษณีย์ พิชกรรม



บทคัดย่อ
การศึกษาผลของสารสกัดจากพืชสกุล Spindaeeae และสกุลใกล้เคียงต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยใช้เมล็ดเงาะและ เมล็ดลำไยเป็นตัวแทน ซึ่งเราใช้เมล็ดแก่เพราะเป็นลักษณะของเมล็ดทั่วไปที่คนนิยมรับประทาน จากผลการทดลองปรากฏว่า สารสกัดจากเมล็ดเงาะ และเมล็ดลำไยมีปริมาณฮอร์โมนจิบเบอเรลลินอยู่ 40.5 และ 34.9 ng/gFW ตามลำดับ ซึ่งมากกว่าปริมาณฮอร์โมนไซโตไคนินที่มีอยู่ 2.4 และ 2.1 ng/gFW ตามลำดับ จึงศึกษาเฉพาะฮอร์โมนจิบเบอเรลลินในเมล็ดเงาะพันธุ์โรงเรียน และเมล็ดลำไยพันธุ์อีดอ เปรียบเทียบกับฮอร์โมนเบอเรลลินในเมล็ดเงาะ และเมล็ดลำไยที่ศึกษามีปริมาณความเข้มข้นระหว่าง ร้อยละ 202.9 และร้อยละ 194.6 เมื่อเทียบกับฮอร์โมนมาตรฐาน GA3 ความเข้มข้น 0 ppm ตามลำดับ และเทียบเป็นความเข้มข้นในช่วง 0.1–0.5 ppm เมื่อเทียบกับฮอร์โมนการค้า ยี่ห้อ Pro–Gibb และยี่ห้อ JIB ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอสำหรับการใช้บำรุงพืชที่ต้องการ และถ้าเราสามารถนำสารสกัดจากเมล็ดพืชเหล่านี้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยมากขึ้นโดยใช้ทดแทนฮอร์โมน จิบเบอเรลลินตามที่เราศึกษามาแล้ว ก็จะแปรของที่เหลือใช้ให้เป็นเงินช่วยชาติได้ เนื่องจากฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่ ใช้อยู่ในประเทศไทยขณะนี้มีราคาแพง และได้จากการนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด จึงน่าจะนำโครงงานนี้เป็นแนวทางในการใช้สารสกัดจากพืชเพื่อช่วยเศรษฐกิจไทยต่อไป

 

รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ (ฉบับย่อ)
ความสำคัญและที่มาของโครงงาน
เนื่องจากทราบว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบันนั้นถึงแม้ว่าจะเริ่มดีขึ้น แต่ก็ยังดีไม่เท่าที่ควร และปัญหาหนึ่งก็คือ ปัญหาทางการเกษตรกรรม ซึ่งเป็นรายได้ทางเศรษฐกิจหลักของประเทศ ส่วนสาเหตุหนึ่งนั้นก็คือการนำเข้าฮอร์โมนพืชจากต่างประเทศเพื่อมาใช้บำรุงพันธุ์พืชในประเทศ ทำให้ประเทศไทยต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องนี้อย่างมาก

ต่อมาข้าพเจ้าได้ศึกษา
เกี่ยวกับเรื่องฮอร์โมนพืชนั้นมีอยู่ในเมล็ดพืชที่เหลือทิ้ง บางชนิดก็มีมาก บางชนิดก็มีน้อย จึงอยากจะศึกษาว่าจะมีวิธีไหน สามารถนำเมล็ดพืชที่เหลือทิ้งมาทำให้เกิดประโยชน์ โดยใช้ทดแทนฮอร์โมนพืชที่นำเข้าจากต่างประเทศได้ หนทางหนึ่งก็คือ

การนำมาทำเป็นสารสกัด ก็จะได้ฮอร์โมนพืชออกมา หลังจากการปรึกษากับนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง และช่วงเวลาที่เหมาะสมก็
พบว่าควรจะใช้เมล็ดเงาะ และเมล็ดลำไย ซึ่งเป็นตวแทนของพืชสกุล
Spindaceae และสกุลใกล้เคียง พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศมีปริมาณมาก และส่วนใหญ่จะมีเมล็ดขนาดใหญ่ ข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะนำเมล็ดเงาะ และเมล็ดลำไยนี้มาทำเป็นสารสกัด โดยใช้เมล็ดแก่ซึ่งเป็นเมล็ดทั่วไปที่ผู้บริโภคนิยมใช้รับประทานกัน นำมาศึกษาว่าจะมีฮอร์โมนพืชหรือไม่ ถ้ามีจะเป็นปริมาณมากหรือน้อยเพียงใด สามารถนำมาใช้แทนฮอร์โมนพืชที่จำหน่ายทั่วไปซึ่งมีราคาแพง และต้องนำเข้าจากต่างประเทศได้หรือไม่ และถ้าโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จ ก็จะสามารถช่วยเศรษฐกิจของไทยได้อย่างแน่นอน

ข้าพเจ้าจึงอยาก
ทดลองเพื่อหาคำตอบที่แท้จริง และอยากนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด




วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อศึกษาว่าฮอร์โมนที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชในสารสกัดจากเมล็ดเงาะ และเมล็ดลำไยนั้นเป็นฮอร์โมนชนิดใด มีปริมาณมากน้อยเพียงใด
2. ต้องการทดสอบเปรียบเทียบสารที่มีปริมาณมากจากการทดลอง กับสารฮอร์โมนการค้าในท้องตลาด ว่าสามารถใช้ทนแทนกันได้หรือไม่
3. เพื่อนำสารสกัดจากเมล็ดพืชที่เหลือทิ้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพิ่มและช่วยเศรษฐกิจของประเทศได้4. เพื่อนำความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการแก้ไขปัญหาทางการเกษตร


วิธีการดำเนินการ
1. ศึกษาว่าสารสกัดจากเมล็ดเงาะ และเมล็ดลำไยมีฮอร์โมนชนิดใด มีปริมาณมากน้อยเพียงใด
2. เปรียบเทียบปริมาณฮอร์โมนที่สกัดได้ แล้วนำฮอร์โมนตัวที่มากไปศึกษาเปรียบเทียบต่อไป
3. ศึกษาฮอร์โมนที่ได้จากสารสกัดจากเมล็ดเงาะ และเมล็ดลำไยโดยระบบพันธุ์ คือ เมลดเงาะพันธุ์โรงเรียน และเมล็ดลำไยพันธุ์อีดอเปรียบเทียบกับฮอร์โมนการค้า โดยเฉลี่ย 2 ครั้ง
4. สรุปผลการทดลองว่าสารสกัดจากเมล็ดเงาะพันธุ์โรงเรียน และเมล็ดลำไยพันธุ์อีดอมีฮอร์โมนอยู่ในปริมาณที่ เพียงพอต่อการใช้งานหรือไม่


หมายเหตุ
ขั้นตอนในการสกัดฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน และฮอร์โมนไซโตไคนินจาก วิมลแก้วลัดดากร. 2545.


อิทธิพลของสาร
GA3 ต่อการติดผล การเจริญเติบของผล และการเปลี่ยนแปลงปริมาณ GA-, ABA-like substandes ภายในผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้. วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. Krisanapook, K., A. Pichakum, L.Phavaphutanont, K. Jutamanee and V. Kaewlassakorn. 1999. Studies on fruit growth, of gibberellin-like substance and cytokinins-like substance in fruit of mango cv. Khiew Sa Woey. Acta Horticulturae.509:697-704.



การทดลองครั้งนี้ได้ทดลองกับฮอร์โมน
GA ที่จำหน่ายในท้องตลาด 2 ชนิด ดังนี้
1. ฮอร์โมนการค้า : โปร กิ๊บ (Pro – Gibb)
ชื่อสามัญ : จิบเบอเรลลิค แอซิด (gibberellic acid) ความเข้มข้น : 2% W/W
ผลิต : .ยิบอินซอย และแย๊คส์ จำกัด จำหน่าย : .ยิบอินซอย และ แย๊คส์ จำกัด


2.
ฮอร์โมนการค้า : จิพ (JIB)
ชื่อสามัญ : จิบเบอเรลลิค แอซิด(gibberellic acid)ความเข้มข้น :0.5% W/V.SL.
ผลิต : .ลัดดา จำกัด
จำหน่าย : .ไดนามิคอะโกรเซอวิส จำกัด



ผลการทดลอง
เมื่อทดสอบหาปริมาณฮอร์โมนของสารสกัดจากเมล็ดเงาะ และเมล็ดลำไย พบว่าในสารสกัดจากเมล็ดเงาะ และเมล็ดลำไย มีฮอร์โมนจิบเบอเรลลินมากกว่าฮอร์โมนไซโตไคนิน จึงเน้นศึกษาเฉพาะฮอร์โมนจิบเบอเรลลินในเมล็ดเงาะ และเมล็ดลำไย ดังตาราง

เมื่อนำสารสกัดจากเมล็ดเงาะพันธุ์โรงเรียน และเมล็ดลำไยพันธุ์อีดอมาศึกษาเปรียบเทียบกับฮอร์โมนมาตรฐาน
GA3 พบว่าฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน ในเมล็ดเงาะพันธุ์โรงเรียน และเมล็ดลำไยพันธุ์อีดอที่ศึกษามีปริมาณความเข้มข้นระหว่างร้อยละ 202.9 และร้อยละ 194.6 เมื่อเทียบกับฮอร์โมนมาตรฐาน GA3 ความเข้มข้น 0 ppm ตามลำดับและเทียบเป็นความเข้มข้นในช่วง 0.1–0.5 ppm เมื่อเทียบกับฮอร์โมนการค้า ยี่ห้อ Pro–Gibb และยี่ห้อ JIB ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอ

สำหรับการใช้บำรุงพืชที่ต้องการ ดังตาราง และกราฟแสดงผลการทดลอง ดังนี้


ตารางผลการเจริญเติบโตของ
Secondary leaf sheath เป็นเปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับฮอร์โมนมาตรฐาน GA3

ความเข้มข้น (ppm) ชนิดของสาร

0 0.1 0.5 1 5

GA3

100.0

157.9 247.4 315.8 368.4 JIB 173.7 236.8 300.0 329.8 Pro - Gibb 147.4 252.6 294.7 329.8




สารสกัดจากเมล็ดเงาะพันธุ์โรงเรียน
202.9
สารสกัดจากเมล็ดลำไยพันธุ์อีดอ 194.6



กราฟแสดงผลการเจริญเติบโตของ
Secondary leaf sheath เป็น
เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับฮอร์โมนมาตรฐาน
GA3



วิจารณ์ผลการทดลอง
เนื่องจากในเมล็ดพืชทุกชนิดล้วนแล้วแต่มีฮอร์โมนเป็นธรรมชาติในตัวเองทั้งสิ้น ถ้าเรารู้จักนำมาทำประโยชน์ ก็จะเห็นว่าสามารถช่วยชาติได้ ดังที่เห็นจากผลการทดลองว่าในเมล็ดพืชที่เหลือทิ้ง ยังมีฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน ปริมาณพอสมควรที่จะใช้ทดแทนฮอร์โมนการค้าได้ สามารถนำมาใช้บำรุงพันธุ์พืชอื่นที่เราต้องการ โดยไม่ต้องพึ่งฮอร์โมนการค้าจากต่างประเทศที่ต้องซื้อมาในราคาแพง และต่อไปเราอาจจะนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้คิดหาวิธีที่จะทำสารสกัดจากเมล็ดพืชให้ง่ายขึ้น ทำให้มีต้นทุนราคาถูกลง ก็นับเป็นการช่วยเศรษฐกิจของไทยได้อีกทางหนึ่งด้วย



สรุปผลการทดลอง
ในสารสกัดจากเมล็ดเงาะ และเมล็ดลำไยที่ใช้ศึกษามีฮอร์โมนจิบเบอเรลลินในปริมาณมากกว่าฮอร์โมนไซโตไคนิน และเมื่อนำสารสกัดจากเมล็ดเงาะพันธุ์โรงเรียน และเมล็ดลำไยพันธุ์อีดอมาทดสอบกับฮอร์โมนการค้าก็พบว่ามีความเข้มข้นระหว่าง 0.1–0.5 ppm ของฮอร์โมนการค้า ความเข้มข้นนี้เพียงพอสำหรับใช้บำรุงพืช ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์


ข้อเสนอแนะ
ในการทดโครงงานนี้เราสามารถนำไปดำเนินการต่อเนื่องได้ ดังนี้
- ศึกษาเกี่ยวกับฮอร์โมนตัวอื่นในเมล็ดเงาะพันธุ์โรงเรียน และเมล็ดลำไยพันธุ์อีดอที่มีบทบาทต่อการเจริญเติบโตของ พืชต่อไป

-
ศึกษาเกี่ยวกับฮอร์โมนจิบเบอเรลลินในเมล็ดพืชชนิดอื่นที่มีบทบาทต่อการเจริญเติบโตของพืชต่อไป

-
การนำแนวทางของโครงงานไปประยุกต์วิธีการให้ง่ายขึ้น และมีต้นทุนราคาถูก เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรได้ใช้ต่อไป


ปัญหา
/ อุปสรรค
ในการทำโครงงานทั้งหมดจะต้องอาศัยเวลาค่อนข้างมาก และบางครั้งต้องเป็นระยะเวลาที่ติดต่อกัน แต่เนื่องจากข้าพเจ้าจะต้องเรียนหนังสือด้วย จึงมีเวลาไม่เพียงพอ



เอกสารอ้างอิง
นภดล จรัสสัมฤทธิ์, ฮอร์โมนพืชและสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์รั้วเขียว, 2537.


พีรเดช ทองอำไพ
, สารควบคุมการเจริญเติบโตกับพืชสวน (เอกสารคำสอนวิชา HORT 454) . กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , 2532.


ดร
.สัมฤทธิ์ เฟื่องจันทร์, สรีรวิทยาการพัฒนาการพืช. กรุงเทพฯ : หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา , 2544.


วิมลแก้วลัดดากร
. 2545. อิทธิพลของสาร GA3 ต่อการติดผล การเจริญเติบโตของผล และการเปลี่ยนแปลงปริมาณ GA- , ABA-like substances ภายในผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้. วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Krisanapook, K., A. Pichakum, L.Phavaphutanont, K. Jutamanee and V. Kaewladdakorn. 1999.
Studies on fruit growth, levels of gibberellin-like substance and cytokinins-like substance in fruit of mango cv. Khiew Sa Woey. Acta Horticulturae.509:697-704.



www.vcharkarn.com/project/download.php?id=134&file=1&path...





หน้าก่อน หน้าก่อน (1/3) - หน้าถัดไป (3/3) หน้าถัดไป


Content ©