-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 444 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ฮอร์โมน




หน้า: 2/5



ไคติน-ไคโตซาน

เมื่อหลายปีก่อนคงเคยได้ยินและรู้จัก "ไคติน-ไคโตซาน" ในรูปของอาหารเสริมลดความอ้วนโดยเมื่อ รับประทานก่อนมื้ออาหารจะสามารถช่วยดักจับไขมันจากอาหารที่รับประทาน เพื่อไม่ให้สะสมในร่างกาย นอกจากนั้นยังสามารถช่วยดักจับโลหะหนักอีกด้วย

เรามารู้จัก "ไคติน" กันเถอะ
ไคติน เป็นพอลิเมอร์ชีวภาพที่มีมากเป็นอันดับสองของโลก ซึ่งพบได้จากธรรมชาติ คือจะพบในรูปของสารประกอบเชิงซ้อน ไคติน-โปรตีน (ในเปลือกของแมลง) ซึ่งนอกจากจะพบได้ในเปลือกกุ้งและปูแล้วนั้นยังมีมากในเปลือกหุ้มของแพลงก์ตอน ผนังเซลล์ของสาหร่าย ยีสต์ และเห็ดรา เปลือกแมลง แกนของปลาหมึก แมงกระพรุน หรือดาวทะเล

ข้อมูลทั่วไป: ไคโตซาน เป็นสารอนุพันธ์ที่ไม่ละลายน้ำของไคติน ซึ่งสามารถสกัดได้จากเปลือกของกุ้งขนาดกลางและเล็ก กุ้งกร้ามกราม หรือปู (1, 2, 3, 6, 7, 10, 13, 20, 24) มีการวิจัยทางคลินิกวิทยามากว่า 17 ปี ีถึงการใช้ไคโตซานเป็นสารลดน้ำหนักธรรมชาติโดยใช้เป็นใยอาหาร (ไฟเบอร์) เพื่อทำให้อืดอิ่ม และใช้ในการทำความสะอาดสำไส้ เรื่อยจนมาถึงปัจจุบัน (21) ไคโตซานมีคุณสมบัติในสมบัติในการดูดซับน้ำมัน คราบไขมันและสารพิษบางชนิด เพื่อทำให้กำจัดได้ง่ายขึ้น ไคโตซานถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอาง รวมทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร การทดลองของฮาน (Han L. K.) และเพื่อนร่วมงานของเขา (1999) ที่โรงเรียนการแพทย์ในประเทศญี่ปุ่นชี้ให้เห็นว่า ไคโตซานป้องกันการเพิ่มของน้ำหนักตัว ป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูง และการมีไขมันสะสมในตับมากอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง มีการทดลองที่ทำการเปรียบเทียบการขับไขมันออกจากร่างกาย และคุณสมบัติในการลดน้ำหนักของใยอาหารจากพืชผักหลากหลายชนิดกับไคโตซาน ผลปรากฎว่าไคโตซานให้ผลดีเหนือกว่าใยอาหารอื่นทั้งหมด (19) ไม่เพียงใช้ในอุตสาหกกรมอาหารไคโตซานยังใช้เป็นไหมเย็บบาดแผลและเส้นเลือดที่ขาด นักวิทยาศาสตร์บางท่านได้จัดให้ไคโตซานเป็นหนึ่งในกลุ่มอาหารเพื่อหน้าที่ หรือที่รู้จักกันว่า ฟังก์ชันนอล ฟูด (functional food) (6)




ไคติน-ไคโตซาน มีประโยชน์อะไรบ้าง

ในทางการแพทย์

ไคตินสุดไม่ก่อให้เกิดการต่อต้านจากร่างกาย ไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายทั้งยังช่วยส่งเสริมการเจริญของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อคนอีก ไคติน-ไคโตซานก็เลยได้รับความสนใจเป็นอย่างมากที่จะได้รับการพัฒนาไปใช้ในทางการแพทย์อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ส่งเสริมการเจริญของแบคทีเรียในลำไส้ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ ต่อต้านมะเร็ง ช่วยลดสารพิษและยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่เป็นอันตรายอย่างเชื้อซัลโมเนลลา 

เนื่องจาก ไคติน-ไคโตซานเป็นสารที่ได้จากธรรมชาติ สามารถเข้าได้กับร่างกายมนุษย์ จากการศึกษาในต่างประเทศ พบว่าสามารถย่อยสลายได้ภายในสัตว์ เนื่องจากมีเอนไซม์หลายชนิดสามารถย่อยสลายได้ นอกจากนี้ ตัวไคติน-ไคโตซานยังสามารถยับยั้งการเจริญของจุลชีพบางชนิดด้วย จากข้อดีต่างๆ นี้เอง ไคติน-ไคโตซาน จึงถูกนำมาใช้งานทางการแพทย์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

-Wound-healing ointments 
-Surgical sutures 
-Orthopaedics 
-Drug delivery vehicles 
-Anticholesterol and fat bindings 
-Skin treatments 
-Wound dressings 
-Dentistry 
-Tranportation of cells 
-Ophthalmology 

โครงการวิจัยพัฒนาแผ่นไคติน-ไคโตซานสำหรับรักษาแผลของศูนย์ ฯ กำลังดำเนินการอยู่ และได้เริ่มทดลองใช้ ในผู้ป่วยจากอุบัติเหตุน้ำร้อนลวกในรายที่บาดแผลไม่รุนแรงมากนักเนื่องจากเป็นการทดลองใช้ในขั้นต้น จากการทดลองพบว่าไม่มีการแพ้ หรืออักเสบของบาดแผล คาดว่าแผ่นไคติน-ไคโตซานจะสามารถใช้เป็นวัสดุ สำหรับปิดรักษาแผลที่ดี สามารถลดอาการเจ็บปวดของผู้ป่วยลงได้ ใช้ทำผิวหนังเทียมที่จะช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานให้กับผู้ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือพวกประสบอุบัติเหตุที่มีแผลลึกๆ ด้านการแพทย์และเภสัชวิทยา ใช้ไคติน และไคโตซาน ในการรักษาบาดแผล เพื่อใช้ในการรักษา แผลผ่าตัดและไฟไหม้ ซึ่งจะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ทำผลิตภัณฑ์แผ่นปิดตกแต่งแผล ด้ายเย็บแผล ซึ่งข้อดีของมันก็คือ จะสลายตัวอย่างช้า ๆ และถูกดูดซับเข้าร่างกาย อย่างไม่มีปฏิกิริยาต่อต้านจากร่างกาย ใช้เป็นเลนส์สายตา เนื่องจากมีคุณสมบัติยอมให้ออกซิเจนผ่านเข้าออกได้ และไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ใช้เป็นแคปซูลบรรจุยา ใช้เป็นสารป้องกันการตกตะกอนของเลือด ใช้เป็นตัวจับและตกตะกอนเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว ใช้ผลิตผนังเทียม เช่นผนังไต ใช้เป็นสารลดโคลเลสเตอรอล และใช้เป็นสารเชื่อมหรืออุดฟันในด้านทันตกรรม 


ช่วยในการเสริมสร้างกระดูก และฟัน

จากการค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์พบว่าไคโตซานสามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างกระดูกใหม่โดยทดลองจากกระต่ายและสุนัข

 
ช่วยบำบัดน้ำเสีย 
มีประโยชน์ช่วยตรึงเอนไซม์ในการทำผลิตภัณฑ์ให้บริสุทธิ์ รวมทั้งสามารถจับของแข็งแขวนลอยได้ดี และจับกับอะตอมของโลหะหนัก

 
วิธีการรักษาโรคตา 
คือมีคุณสมบัติที่จะเป็นคอนแท็กต์เลนส์ และวัสดุทดแทนกระจกตา เพื่อรักษาโรคต้อได้เป็นอย่างดีอีกทั้งไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ระคายเคือง

 
อาหารเสริมของสัตว์เลี้ยง 
ใช้ผสมรวมกับอาหารให้แก่สัตว์บก มีประโยชน์ในการเพิ่มแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร ลดอาการท้องเสีย

 
ทางด้านการเกษตร 
นำมาเคลือบผิวผลผลิตทางการเกษตรเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา และป้องกันแมลงกัดกินไคโตซานสามารถก่อตัวเป็นฟิล์มบาง ใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เคลือบผิวเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตรและเมล็ดพันธุ์ และยังมี
การนำเอาอนุพันธ์ของไคตินและไคโตซานไปเป็นสารต่อต้านเชื้อรา ไวรัสและแบคทีเรียบางชนิด ซึ่งมันสามารถทำงานได้อย่างกว้างขวาง  เช่น ยับยั้งโรคโคนเน่าจากเชื้อรา โรคแอนแทรกโนส และโรคอื่นๆ 

ไคติน-ไคโตซานสามารถใช้เป็นสารเสริมผสมลงในอาหารสัตว์บก เช่น สุกร วัว ควาย เป็ด ไก่ ช่วยเพิ่มปริมาณแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในทางเดินอาหาร ช่วยลดอาการท้องเสียของสัตว์ได้ และลดอัตราการตายของสัตว์วัยอ่อนอันเนื่องมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดในทางเดินอาหาร 


ช่วยลดน้ำหนัก 
ประจุบวกของไคโตซานจะดักจับกรดไขมันอิสระ และคอเลสเตอรอลที่มีประจุลบและจะถูก ขับถ่ายออกมาพร้อมกับไขมันส่วนเกินด้วย

 
ทางด้านความงาม 
ด้วยคุณสมบัติที่ไม่ละลายน้ำ และอุ้มความชื้นได้ดีจึงพัฒนานำมาทำผลิตภัณฑ์บำรุงผิว และดูแลเส้นผม ยาสีฟัน เครื่องสำอาง โดยเฉพาะนำไปใส่ในเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของกรดผลไม้ธรรมชาติ หรือ AHA ช่วยกระตุ้นให้ผิวหนังเก่าหลุดลอก เพื่อสร้างผิวใหม่ดูอ่อนเยาว์ยิ่งขึ้น

ไคติน-ไคโตซานสามารถลดความอ้วน ได้ดีสุดยอดอย่างที่เราไม่อยากจะเชื่อ เมื่อไคตินนั้นได้กลายเป็นไคโตซานแล้ว ประจุบวกอันมหาศาลของไคโตซาน จะเป็นที่ดึงดูดใจมากของเหล่ากรดไขมันอิสระ และคอเลสเทอรอลที่มีประจุลบ ดังนั้นเจ้าตัวต้นเหตุของความอ้วน ทั้ง 2 ตัว ก็จะเกาะติดแจกับไคโตซาน และคนไม่สามารถย่อยไคติน-ไคโตซานได้ทั้งหมดจึงถูกขับออกมาพร้อม กับอุจจาระโดยที่มีคอเลสเทอรอลและไขมันส่วนเกินตามออกมาด้วย ไคโตซานมีประจุบวกอย่างล้นเหลือทำให้มันสามารถเกาะกับประจุลบของผิวหนังและเส้นผมได้เป็นอย่างดี จึงถูกนำไปใส่ในเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของกรดผลไม้ธรรม ชาติที่เราคงคุ้นชื่อกันดีว่ากรดแอลฟาไฮดรอกซี หรือ AHA ไงครับ กรดพวกนี้จะกระตุ้นให้ผิวหนังเก่าหลุดลอก เพื่อสร้างผิวใหม่ ทำให้ผิวคุณดูอ่อนเยาว์ขึ้น ส่วนในการบำรุงเส้นผม ไคโตซานจะก่อตัวเป็นฟิล์มเคลือบเส้นผมไว้ ทำให้เส้นผมคงสภาพนุ่มสลวยไม่เสียง่าย 

ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ไคโตซานได้ถูกนำมาใช้เพื่อจุดประสงค์หลายอย่าง เช่น เป็นสารเพิ่มความข้นเหนียวในครีม เป็นส่วนผสมในโลชั่น เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและความเนียนนุ่ม เป็นส่วนผสมในแชมพูสระผม ครีมนวดผมและครีมปรับสภาพผม เนื่องจากมีคุณสมบัติ ความหนืด และการเคลือบ เพื่อช่วยเก็บความชุ่มชื้นไว้ ทำให้เส้นผมนุ่มได้ บริษัทในประเทศเยอรมนี และบริษัทญี่ปุ่นได้ใช้สารไคโตซานเป็นส่วนประกอบในแป้งแต่งหน้า เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ความเรียบ รวมทั้งได้มีการนำสารไคโตซานมาใช้ในโฟมล้างหน้า เพื่อการรักษาความสะอาดและลดความมันบนใบหน้า 


พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 
โดยนำมาผสมกับพลาสติก เพื่อช่วยให้สามารถย่อยสลายได้ง่าย นอกจากนี้ยังนำมาทำเป็นฟิล์มถนอมอาหารที่สามารถรับประทานได้โดยไม่เป็นอันตราย

ไคโตซานคือสุดยอดนวัตกรรมที่เกิด มาจากเทคโนโลยีการใช้กากของเสียให้เป็นประโยชน์ เป็นทางออกที่ดีทั้งต่อมนุษย์และต่อสิ่งแวดล้อม ในการจัดการเปลือกกุ้งมากมาย ที่ถูกทิ้งจากอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ บทบาทที่สำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อมของไคโตซานที่เรารู้ๆ กันก็คือการบำบัดน้ำทิ้ง น้ำเสีย 

นอกจากการบำบัดน้ำเสียแล้ว ไคโตซานยังมีความสามารถในการจับกับของแข็งแขวนลอยได้ดี และจับกับอะตอมของ โลหะหนัก รวมทั้งมีการนำไปจับกับสารกัมมันตรังสีอย่างพลูโตเนียมและยูเรเนียมด้วย ส่วนการจับกับคราบไขมันนั้น กลไกการจับก็คล้ายๆ กับการจับกับไขมันในทางเดินอาหาร 


ทางด้านสิ่งทอ 
นำมาเคลือบเส้นใยผ้าเพื่อลดกลิ่นเหงื่อและกลิ่นอับชื้น และต้านทานเชื้อรา แบคทีเรียอีก ด้วยอุตสาหกรรมเส้นใย กระดาษ สิ่งทอ ก็มีการใช้ไคโตซาน เช่น ใช้ทำภาชนะบรรจุที่ย่อยสลายได้ในธรรมชาติ ทำฟิล์มถนอมอาหารที่สามารถรับประทานได้ ใช้ในการผลิตผ้าที่ย้อมสีติดทนนาน ใช้ในกระบวนการผลิตกระดาษ ที่มีคุณสมบัติทางกายภาพสูง ทนทานต่อการฉีกขาด หรือผลิตกระดาษที่ซับหมึกได้ดีเพื่อการพิมพ์ที่ต้องการคุณภาพสูง 


ทางด้านสิ่งพิมพ์ 
ช่วยยืดอายุการเก็บเอกสารสำคัญ โดยทำให้กระดาษมีคุณสมบัติเหนียว แข็งแรง ทนต่อการฉีกขาด และซับหมึกได้ดี
ไคติน-ไคโตซาน เป็นสารที่มีมนุษย์เราสามารถนำมาประยุกต์เพื่อใช้ประโยชน์หลากหลาย แต่ในส่วนของ การนำมารับประทานเพื่อเป็นอาหารเสริมลดความอ้วนนั้น มีข้อควรระวังในกรณีที่รับประทานเข้าไปแล้วอาจ เกิดอาการอาหารไม่ย่อย ควรดื่มน้ำตามเข้าไปมาก ๆ อาการจะดีขึ้น และไม่เหมาะสำหรับผู้ที่แพ้พวกอาหารทะเล หญิงมีครรภ์ หรือหญิงที่ให้นมบุตรไม่ควรจะบริโภค



ไคติน-ไคโตซาน สารมหัศจรรย์จากธรรมชาติ
เมื่อพูดถึงไคติน สิ่งที่คุณผู้อ่านนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ ก็คือความอ้วน และเชื่อว่าคุณผู้หญิงและคุณผู้ชายที่มีหุ่นตุ้ยนุ้ยจนละม้ายคล้ายโอ่งมังกรหลายๆ คนคงเคยลองใช้ผลิตภัณฑ์ไคติน-ไคโตซานมาแล้ว นอกจากจะช่วยควบคุมน้ำหนักแล้ว ไคตินยังมีสรรพคุณอีกสารพัดสารเพที่เรียกได้ว่าแทบจะบรรยายไม่หมดเลยทีเดียว ทั้งดักจับคราบไขมันและโลหะหนัก เป็นอาหารเสริมสุขภาพ และเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอาง 

ไคตินคืออะไร
ไคตินเป็นพอลิเมอร์ชีวภาพชนิดหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อ เป็นองค์ประกอบในโครงสร้างต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตมากมายหลายชนิด ไคตินเป็นพอลิเมอร์ชีวภาพที่มีมากเป็นอันดับสองของโลก และเนื่องจากไคตินเป็นพอลิเมอร์ที่พบในธรรมชาติ เราจึงมักพบไคตินในรูป สารประกอบเชิงซ้อนที่อยู่รวมกับสารอื่นๆ 

ไคตินเป็นสารประกอบพวกคาร์โบไฮเดรตเช่นเดียวกับเซลลูโลสและแป้ง รูปร่างของไคตินจะเป็นเส้นสายยาวๆ มีลักษณะคล้ายลูกประคำที่ประกอบขึ้นมาจาก น้ำตาลโมเลกุลเล็กๆ ที่มีชื่อว่า เอ็น-อะซิทิลกลูโคซามีน(N-acetylglucosamine) 

ไคติน-ไคโตซาน ดาวรุ่งพุ่งแรง
เมื่อพูดถึงไคติน อีกคำที่มักจะพ่วงมาด้วยคือ ไคโตซาน ไคโตซานคืออนุพันธ์ตัวหนึ่งของไคติน รูปร่างหน้าตาของมันก็จะละม้ายคล้ายกับไคติน ไคโตซานจะได้จากปฏิกิริยาการดึงส่วนที่เรียกว่า หมู่อะซิทิล (acetyl group) ของไคตินออกไป เรียกว่า ปฏิกิริยาดีอะซิทิเลชัน (deacetylation) ทำให้จากเดิมโมเลกุลเดี่ยวของไคตินที่เคยเป็นเอ็น-อะซิทิลกลูโคซามีน ถูกแปลงโฉมใหม่เหลือแค่ กลูโคซามีน (glucosamine) เท่านั้น จากที่เคยเรียกว่าไคตินก็เลยเปลี่ยนชื่อเป็นไคโตซาน 

การหายไปของหมู่อะซิทิล ทำให้ไคโตซานมีส่วนของโมเลกุลที่แอคทีฟ และพร้อมที่จะทำ ปฏิกิริยาอย่างว่องไวอยู่หลายหมู่ หมู่ที่เด่นๆ เลยก็คือ หมู่อะมิโน (-NH2) ตรงคาร์บอนตัวที่ 2 หมู่แอลกอฮอล์ (CH2OH) ตรงคาร์บอนตัวที่ 6 และหมู่แอลกอฮอล์ที่คาร์บอนตัวที่ 3 และเพราะหมู่ที่อยากทำปฏิกิริยานี้เองที่ทำให้ไคโตซานมีโอกาสได้ฉายแววรุ่งโรจน์ในหลายๆ วงการ 

ไคติน-ไคโตซานทำงานได้อย่างไร
ไคติน-ไคโตซานจะทำงานเป็นตัวสร้างตะกอนและตัวตกตะกอน ตัวสร้างตะกอนจะกระตุ้นให้เศษของเสียที่แขวนลอยๆ ในน้ำเกิดการรวมกันเป็นกลุ่มก้อน ใหญ่ขึ้นๆ และพอใหญ่มากเกินก็ตกเป็นตะกอนลงมา ส่วนตัวตกตะกอน ก็จะทำงานคล้ายๆ กันคือจะไปจับกับสารแขวนลอยในน้ำแล้วตกตะกอนลงมา โดย-ไคโตซานจะทำหน้าที่ทั้งสองแบบ ซึ่งทำได้ดีเนื่องจากมีหมู่อะมิโนที่สามารถแตกตัวให้ประจุบวกมาก จึงทำให้พวกประจุลบอย่างโปรตีน สีย้อม กรดไขมันอิสระ คอเลสเทอรอล (ในร่างกาย) ต้องเข้ามาเกาะกับประจุบวกของไคโตซาน ส่วนโลหะหนักซึ่งเป็นประจุบวกอยู่แล้ว จะจับกับอิเล็กตรอนจากไนโตรเจนในหมู่อะมิโนของไคโตซานทำให้เกิดพันธะเคมี  ที่เรียกว่า พันธะเชิงซ้อนขึ้นมา และจากการทดลองพบว่าหมู่อะมิโนในไคโตซานจะสามารถจับกับโลหะหนักในน้ำ ได้ดีกว่าหมู่อะซิทิลของไคติน 


อาการเมื่อขาด: 
ไคโตซานไม่ใช่สารอาหารจำเป็นต่อร่างกาย หรือจะพูดกันให้ถูกไคโตซานไม่นับว่าเป็นสารอาหารที่ร่างกายมนุษย์ต้องการเลย เราใช้ไคโตซานเป็นตัวเสริมในโปรแกรมการลดน้ำหนักและใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารฟังค์ชันนอลฟูด รวมทั้งใช้ในอุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอาง แต่ไม่มีข้อมูลใดๆที่ยืนยันถึงการขาดไคโตซานเลย


ขนาดรับประทาน: 
ในขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดขนาดรับประทาน หรือปริมาณที่แนะนำต่อวัน (RDA) ของไคโตซานอย่างแน่นอน 
แต่จากการศึกษาหลายกรณีชี้ให้เห็นว่าไคโตซาน 8 กรัม (ไคโตซานแคปซูลขนาด 250 มิลลิกรัมจำนวน 8 เม็ดต่อวัน หรือขนาดแคปซูลละ 500 มิลลิกรัมจำนวน 4 เม็ดต่อวัน) จะสามารถดูดซับไขมันได้ 10 กรัม และกำจัดออกจากร่างกายไปกับของเสีย (21)


ผลข้างเคียง: 
จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังไม่ปรากฎรายงานถึงปัญหาร้ายแรงของการใช้ไคโตซานแต่อย่างใด นอกจากนี้การศึกษาด้านพิษวิทยาของไคโตซานยังพบว่าไคโตซานมีความเป็นพิษต่ำอีกด้วย (11, 23)


ปฎิกริยากับสารอื่น: 
ฤทธิ์ในการขับไขมันออกจากร่างกายของไคโตซานจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อใช้ร่วมกับวิตามินซี (2, 4) 
แต่การกินในปริมาณมากเกิดขนาดจะเป็นการลดการดูดกลับของเกลือแร่และลดระดับวิตามินอีในน้ำเลือด (5)


เอกสารอ้างอิง: 
1. Deuchi K., Kanauchi O., Imasato Y., and Kobayashi E. Decreasing Effect of Chitosan on the Apparent Fat Digestibility by Rats Fed on a High-fat Diet. Biosci. Biotech. Biochem., 58(9), 1994: 1613-1616. 
2. Kanauchi O., Deuchi K., Imasato Y., and Kobayashi E. Increasing Effect of a Chitosan and Ascorbic Acid Mixture on Fecal Dietary Fat Excretion. Biosci. Biotech. Biochem., 58(9), 1994: 1617-1620. 
3. Deuchi K., Kanauchi O., Imasato Y., and Kobayashi E. Effect of the Viscosity or Deacetylation Degree of Chitosan on Fecal Fat Excreted from Rats Fed on High-fat Diet. Biosci. Biotech. Biochem., 59(5), 1995: 781-785. 
4. Kanauchi O., et.al. Mechanism for the Inhibition of Fat Digestion by Chitosan and for the Synergistic Effect of Ascorbate. Biosci. Biotech. Biochem., 59(5), 1995: 786-790. 
5. Deuchi K., Kanauchi O., Shizukuishi M., Kobayashi E. Continuous and Massive Intake of Chitosan Affects Mineral and Fat-soluble Vitamin Status in Rats Fed on a High-fat Diet. Biosci. Biotech. Biochem., 59(7), 1995: 1211-1216. 
6. Knorr D. Functional Properties of Chitin and Chitosan. J. Food. Sci., Vol.47, 1982: 593-595. 
7. LEHOUX J. and Gordin F. Some Effects of Chitosan on Liver Function in the Rat. Endocrinology., Vol.132 No.3, 1993: 1078-1084. 
8. Okuyama K., Noguchi K. and Miyazawa T. Molecular and Crystal Structure of Hydrated Chitosan. Macromolecules, 30; 1997: 5849-5855. 
9. Ikeda I, Tomari Y., and Sugano M. Interrelated Effects of Dietary Fiber and Fat on Lymphatic Cholesterol and Triglyceride Absorption in Rat. J. Nutr. 119; 1989: 1383-1387. 
10. Knorr D. Dye Binding Properties of Chitin and Chitosan. J. Food Sci., Vol.48, 1983: 36, 37, 41. 
11. Knorr D. Functional Properties of Chitin and Chitosan. J. Food Sci., Vol. 47, 1982: 593-595. 
12. Ebihara K. and Schneeman B. O. Interaction of Bile Acids,Phospholipids, Cholesterol and Triglyceride with Dietary Fiber in the Small Intestine of Rate. J. Nutr., Vol.119, 1989: 1100-1106. 
13. Vahouny G. V. et.al. Comparative effects of chitosan and cholestyramine on lymphatic absorption of lipids in the rat. J. Clin. Nutr., Vol. 38, 1983: 278-284. 
14. Vahouny G. V. et.al. Dietary Fiber and intestinal adaptation: effects on lipid absorption and lymphatic transport in the rat. J. Clin. Nutr., Vol. 47, 1988: 201-6. 
15. Razdan A. and Pettersson D. Effect of chitin and chitosan on nutrient digestibility and plasma lipid concentration in broiler chickens. J. Nutrition, Vol.72, 1994: 277-288. 
16. Razdan A. and Pettersson D. Hypolipidaemic, gastrointestinal and related responses of broiler chickens to chitosans of different viscosity. J. Nutrition, Vol. 76, 1996: 387-397. 
17. Razdan A., Pettersson D. and Pettersson J. Broiler chicken body weights, feed intakes, plasma lipid and small-intestinal bile acid concentrations in response to feeding of chitosan and pectin. J. Nutrition., Vol. 78, 1997: 283-291. 
18. Sugano M. et.al. Anovel use of chitosan as a hypocholesterolemic agent in rats. Am J. Clin. Nutr., Vol. 33, 1980: 787-793. 
19. Stasse-Wolthuis M. et.al. Influence of dietary fiber from vegetables and fruits, bran or citrus pectin on serum lipids, fecal lipids, and colonic function. Am J. Clin. Nutr., Vol. 33, 1980: 1745-1756. 
20. Kay R. M. and Truswell A. S. Effect of citrus pectin on blood lipids and fecal steroid excretion in man. J. Clin. Nutr., Vol. 30, 1977:171-175. 
21. Chitosan. In: Clinical Studies Compendium. 
22. Fabulous Fiber In: In The Kitchen, Energy Times. June 1998: 20. 
23. Arai K., Kinumaki T., and Fugita T. On the toxicity of chitosan. Bull. Toka Regional Fisheries Res. Lab.No.56, 1968: 89. 
24. Shepherd R., Reader S. and Falshaw A. Chitosan functional properties. Glycoconj J. Jun 1997; 14(4): 535-42. 
25. Han L.K., Kimura Y. and Okuda H. Reduction of fat storage during chitin-chitosan treatment in mice fed a high-fat diet. Biosci Biotechnol Biochem. Feb 1999; 23(2): 174-9. 
26. Lee J.K., Kim Su and Kim J.H. Modification of chitosan to improve its hypocholesterolemic capacity. Biosci Biotechnol Biochem. May 1999; 63(5): 833-9. 

โดย
1. ป๋วย อุ่นใจ 
2. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ 
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง
ชาติ 





สภาวะการผลิตไคโตซานจากหัวกุ้ง

การดูดซับโลหะหนัก. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.

สภาวะการผลิตไคโตซานจากหัวกุ้ง  อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การแยกโปรตีนด้วยการทำปฏิกิริยาของหัวกุ้งกับ 1.0 N NaOH อัตราส่วน 1:6 น้ำหนักต่อปริมาตร ที่อุณหภูมิ 95-100 องศาเซลเซียส เวลา 1 ชั่วโมง แยกเกลือแร่โดยทำปฏิกิริยาของสารที่ได้กับ 1.25 N HCI อัตราส่วน 1:10 น้ำหนักต่อปริมาตร ที่อุณหภูมิห้อง เวลา 1 ชั่วโมง แยกหมู่อะเซทิลด้วยการทำปฏิกิริยาของไคตินกับ 50% w/v NaOH อัตราส่วน 1:15 น้ำหนักต่อปริมาตร ที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส เวลา 1 ชั่วโมง ได้ ไคโตซานปริมาณ 28.6% ประกอบด้วย ขี้เถ้า 0.16%, การละลาย 100%, Degree of deacetylation 82.04%, ความหนืด 1372 เซนติพอยส์ และไนโตรเจน 7.9% มีคุณสมบัติอยู่ในเกณฑ์เดียวกับไคโตซานที่นำเข้าจากต่างประเทศ เมื่อนำไปดูดซับโลหะหนักในน้ำทิ้งของอุตสาหกรรมชุบโลหะด้วยไฟฟ้า ให้ประสิทธิภาพในการดูดซับ อิออนของ Cu2+, Ni2+ และ Zn2+ เท่ากับ 70.00%, 10.12% และ 20.49% ตามลำดับ ซึ่งใกล้เคียงกับของไคโตซานจากต่างประเทศ
คำสำคัญ : ไคโตแซน; ไคทิน; โพลีแซคคาไรด์; ของเสียจากกุ้ง; หัวกุ้ง
http://shrimpbase.fish.ku.ac.th/display_abs_t.php?id=652
โดย: 224 [18 มี.ค. 51 10:26] ( IP A:118.173.165.180 X: )


ความคิดเห็นที่ 1
   ปัจจัยของการผลิตที่มีผลต่อคุณสมบัติของไคโตซาน. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 12 น.
บทคัดย่อ


รายงานฉบับนี้ได้ศึกษาปัจจัยของการผลิตที่มีผลต่อคุณสมบัติของไคโตซานจากเปลือกกุ้งกุลาดำ ได้แก่ เวลาที่ใช้ในการแยกโปรตีนและเกลือแร่, ปริมาณและความเข้มข้นของ NaOH ที่ใช้ พบว่าสภาวะที่เหมาะสมคือ การแยกโปรตีนด้วยการทำปฏิกิริยาของเปลือกกุ้งกับ 1.0 N NaOH ในอัตราส่วน 1:6 ที่อุณหภูมิ 95-100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง และแยกเกลือแร่โดยทำปฏิกิริยากับ 1.0 N HCI ในอัตราส่วน 1:10 ที่อุณหภูมิห้องเวลา 2 ชั่วโมง แยกหมู่อะเซทิลด้วยการทำปฎิกิริยากับ 50% w/v NaOH ในอัตราส่วน 1:20 ที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส เวลา 1 ชั่วโมง จะได้ไคโตซานปริมาณ 22.9% มี degree of deacetylation 82.56%, ความหนืด 430 เซนติพอยส์, น้ำหนักโมเลกุล 13.3x105 และการละลาย 100%
คำสำคัญ : ไคโตแซน; ไคทิน; เปลือกกุ้ง; หัวกุ้ง; โปรตีน; เกลือแร่; ของเสียจากกุ้ง; โพลีแซคคาไรด์; กุ้งกุลาดำ; ไนโตรเจน
http://shrimpbase.fish.ku.ac.th/display_abs_t.php?id=653
โดย: 224 [18 มี.ค. 51 10:28] ( IP A:118.173.165.180 X: )

ความคิดเห็นที่ 2
   การสกัดไคโตซานจากเปลือกสัตว์น้ำ. ใน รายงานการสัมมนาวิชาการประจำปี 2536 กรมประมง วันที่ 15 – 17 กันยายน 2536 ณ สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด บางเขน. น. 726 – 735.
บทคัดย่อ


เนื่องจากมีเศษเหลือจากอุตสาหกรรมสัตว์น้ำในปริมาณสูง ได้แก่ เปลือกกุ้ง และหัวกุ้งมากกว่า 40% ของวัตถุดิบ รวมทั้งเศษเหลือชนิดอื่น ๆ เช่น กระดองปลาหมึก และเปลือก/กระดองปู การสกัดสารที่มีประโยชน์นอกเหนือจากการนำไปทำเป็นอาหารสัตว์จะเป็นการเพิ่มมูลค่าของเศษเหลือเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งสารที่สกัดได้ประเภทโพลีแซคคาไรค์ได้แก่ ไคโตซาน จะให้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมด้านอื่นเช่น ทางการแพทย์ การถนอมอาหาร เป็นต้น ส่งผลให้ลดการนำเข้าได้ด้วย ครั้งนี้ได้ทำการทดลองสกัดไคโตซานจากเปลือก/หัวกุ้ง กระดองปลาหมึกกล้วย/หมึกหอม และกระดองปูม้า/ปูทะเล โดยต้มกับ 3% โซดาไฟ นาน 2 ชั่วโมงและสกัดแคลเซียมด้วยกรดเกลือเข้มข้น 1 นอร์มัล นาน 2 ชั่วโมง จะได้ไคติน ซึ่งเมื่อนำมาแช่ในโซดาไฟเข้มข้น 50% จนมีการดึงอะเซทธิลกร๊ปุออก 60-70% จะได้ไคโตซานตามต้องการ ทดสอบคุณภาพโดยวัดปริมาณเถ้า ความชื้น และ deacetylation number

จากผลการทดลองพบว่าได้ผลผลิตไคโตซานจากกระดองปลาหมึกกล้วยในปริมาณสูงสุดคือ 30% (น้ำหนักแห้ง) และรองลงมาคือจากกระดองปลาหมึกหอมในปริมาณ 28% สำหรับเปลือกกุ้งให้ผลผลิตสูงกว่าหัวกุ้ง คือ 22.5% และ 14% ตามลำดับ ในขณะที่เปลือกปูให้ผลผลิตประมาณ 13% ทั้งสองชนิด ไคโตซานจากเปลือกสัตว์น้ำทุกชนิดที่ทำการทดลองนี้ มีปริมาณเถ้าอยู่ระหว่าง 0.1-0.4% มีความชื้นต่ำกว่า 10% และให้ deacetylation number ระหว่าง 53-65% ซึ่งนับได้ว่าได้ไคโตซานที่มีคุณภาพดีพอสมควร ทั้งนี้ เปลือกและหัวกุ้งเป็นวัตถุดิบที่ควรให้มีการศึกษาเพิ่มเติมและมีการแนะนำสู่ภาคเอกชนให้มากกว่านี้ เพราะมีปริมาณสูง รวบรวมง่าย อันจะนำมาซึ่งการใช้ประโยชน์จากเปลือกสัตว์น้ำที่มีปริมาณสูงชนิดนี้อย่างสูงสุดต่อไป
คำสำคัญ : ไคโตแซน; เปลือกกุ้ง; หัวกุ้ง; กระดอง

http://shrimpbase.fish.ku.ac.th/display_abs_t.php?id=662
โดย: 224 [18 มี.ค. 51 10:30] ( IP A:118.173.165.180 X: )

ความคิดเห็นที่ 3
   โซดาไฟ โซดาแผดเผา หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เป็นด่างซึ่งมีความแรงมาก ตามชื่อก็บอกอยู่แล้วว่ามันคงร้อนและต้องมีฟองแน่ๆ เวลาที่ผสมกับน้ำ เพราะคงคล้ายโซดา ตามปรกติแล้วเราจะใช้สารตัวนี้ในงานอุตสาหกรรม เช่น ใช้ทำสบู่ และนำมาใช้ในครัวเรือนด้วย เพราะสารดังกล่าวมีคุณสมบัติที่กัดทำลายและเกิดฟอง สามารถกัดให้สิ่งของที่อุดตันที่ค้างอยู่ในท่อระบายน้ำนั้นให้เปื่อยหลุดออกไป

กรดไฮโดรคลอริก หรือกรดเกลือ เป็นสารประกอบเคมีประเภทกรดละลายในน้ำ โดยเป็นสารละลายของไฮโดรเจนคลอไรด์ เป็นกรดแก่ และใช้กันอย่างกว้างในอุตสาหกรรม กรดเกลือเป็นของเหลวที่มีพลังการกัดกร่อนสูง
สารที่มีสูตรโครงสร้างเป็น HCl ถ้าพบในรูปของเหลว เรียกว่า Hydrochloric acid (กรดเกลือ) ถ้ามีสถานะเป็นก๊าซ เรียกว่า Hydrogen chloride ถ้าสารนี้เกิดปฏิกิริยา acid-base กับสารที่เป็นด่าง จะเรียกว่าเป็นเกลือ hydrochloride ของด่างนั้นๆ

มักพบกรดเกลือในผลิตภัณฑ์ประเภทน้ำยาล้างห้องน้ำ เพราะกรดเกลือจะมีคุณสมบัติในการกัดกร่อนคราบสกปรก ทำให้สามารถทำความสะอาดสุขภัณฑ์ได้ง่าย ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มักจะมีกรดเกลือเป็นส่วนผสมอยู่เสมอ กรดมีฤทธิ์กัดกร่อน ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเข้มข้น

โดย: 224 [18 มี.ค. 51 15:21] ( IP A:118.173.165.180 X: )

ความคิดเห็นที่ 4
   ต้องระวัง กรดไฮโดรคลอริกหรือโซดาไฟ ให้มากๆ อันตรายมาก ซื้อได้ที่ตลาดสด
ระวังกรดเกลือด้วย มันสามารถกัดกร่อนเหล็กได้ ซื้อได้ที่ร้านวัสดุก่อสร้าง
โดย: 224 [18 มี.ค. 51 15:28] ( IP A:118.173.165.180 X: )

ความคิดเห็นที่ 5
   “การผลิตไคตินและไคโตซาน”

วัตถุดิบที่สามารถนำมาผลิตเป็นไคตินและไคโตซานนั้น ได้มาจากเปลือกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีข้อ-ปล้อง อาทิ กุ้ง ปู ปลาหมึก ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเชิงพาณิชย์ ส่วนการผลิตจากเปลือกของแมลงและผนังเซลของเห็ดรานั้น ยังอยู่ในระดับห้องปฏิบัติการ

การผลิตไคตินและไคโตซานสามารถผลิตได้ด้วยวิธีทางเคมีและชีวภาพ ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะวิธีทางเคมีซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันมากในเชิงพาณิชย์ การผลิตจะเริ่มจากการเตรียมวัตถุดิบ ซึ่งอาจจะสับวัตถุดิบเป็นชิ้นเล็กๆ หรือไม่ก็ได้ บางครั้งอาจจะนำมาล้างน้ำเพื่อกำจัดไขมัน โปรตีนและสิ่งสกปรกบางส่วนออกจากวัตถุดิบ ก่อนการนำ มาผ่านกระบวนการแยกโปรตีนด้วยด่างเจือจาง และตามด้วยกระบวนการแยกแร่ธาตุด้วยกรดเกลือเจือจาง ซึ่งทั้ง 2 ขั้นตอนนี้ สามารถสลับลำดับก่อนหลังได้ ผลิตภัณฑ์ที่ได้นี้ เรียกว่า “ไคติน”

จากนั้น นำไคตินที่ได้มาเข้าสู่กระบวนการผลิตไคโตซาน โดยการแช่ไคตินในสารละลายด่างเข้มข้น เพื่อดึงหมู่อะซิทิลออกจากไคติน ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตไคโตซาน ได้แก่ อุณหภูมิ ระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา ความเข้มข้นของด่าง สภาวะและขั้นตอนในการผลิตไคติน อัตราส่วนของไคตินต่อสารละลายด่างเข้มข้น

จากรายงานวิจัย พบว่า การผลิตไคตินและไคโตซานจากเปลือกกุ้งนั้น สารละลายด่างที่มีความเข้มข้น 4% เหมาะสำหรับการแยกโปรตีน ที่อุณหภูมิห้อง และการแยกแร่ธาตุด้วยกรดเกลือที่มีความเข้มข้น 4% ที่อุณหภูมิห้องนั้น ควรจะแช่วัตถุดิบในกรดเกลืออย่างน้อย 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ การผลิตไคโตซานที่มีความหนืดสูงๆ จะต้องใช้ ไคตินที่ผ่านกระบวนการผลิตด้วยขั้นตอนการแยกแร่ธาตุก่อนการแยกโปรตีน อย่างไรก็ตามการผลิตไคโตซานให้ได้สมบัติจำเพาะตามต้องการและสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้นั้น จำเป็นที่จะต้องอาศัยการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมและการควบคุมคุณภาพ
โดย: 224 [24 มี.ค. 51 14:46] ( IP A:118.173.156.5 X: )

ความคิดเห็นที่ 6
    ไคติน-ไคโตซาน เป็นวัสดุชีวภาพเกิดในธรรมชาติ จัดอยู่ในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตผสม ที่ประกอบด้วยอนุพันธ์ของน้ำตาลกลูโคสที่มีธาตุไนโตรเจนติดอยู่ด้วยทำให้มีคุณสมบัติที่โดดเด่น และหลากหลายมีประสิทธิภาพสูงในกิจกรรมชีวภาพ และยังย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ดังนั้นจึงเป็นสารที่มีความปลอดภัยในการใช้กับมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม สารไคติน-ไคโตซานนี้มีลักษณะพิเศษในการนำมาใช้ดูดซับและจับตะกอนต่างๆในสารละลายแล้วนำสารกลับมาใช้ใหม่ได้ซึ่งเป็นการหมุนเวียนตามระบบธรรมชาติ

โครงสร้างทางเคมีของสารไคติน คล้ายคลึงกับเซลลูโลส คือเป็นเส้นใยที่ยาว ไคตินที่เกิดในธรรมชาติมีโครงสร้างของผลึกที่แข็งแรงมีการจัดตัวของรูปแบบของผลึกเป็น 3 ลักษณะได้แก่ แอลฟ่าไคติน, บีต้าไคติน, และแกมม่าไคติน ไคตินที่เกิดในเปลือกกุ้งและปู ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแอลฟ่าไคติน ส่วนไคตินที่อยู่ในปลาหมึกพบว่าส่วนใหญ่เป็นบีต้าไคตินในการจัดเรียงตัวของโครงสร้างตามธรรมชาติ พบว่าแอลฟ่าไคตินมีคุณลักษณะของเสถียรภาพทางเคมีสูงกว่าบีต้าไคติน ดังนั้นจึงมีโอกาสที่บีต้าไคตินสามารถจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเป็นแอลฟ่าไคตินได้ในสารละลายของกรดแก่ เช่น กรดเกลือ เป็นต้น ส่วนแกมม่าไคตินเป็นโครงสร้างผสมระหว่างแอลฟ่าและบีต้าไคติน

ไคติน เป็นโพลีเมอร์ที่มีสายยาวมีองค์ประกอบของหน่วยย่อยเป็นอนุพันธ์ของน้ำตาลกลูโคสมีชื่อว่า N-acetyl glucosamine ไคตินเป็นสารที่ละลายยากหรือไม่ค่อยละลาย ส่วนไคโตซานเป็นโพลีเมอร์ของหน่วยย่อยที่ชื่อว่า glucosamine มากกว่า 60% ขึ้นไป ( นั้นคือมีปริมาณ N- acetylglcosamine นั้นเอง ในธรรมชาติย่อมมีไคตินและไคโตซาน ประกอบอยู่ในโพลิเมอร์ ที่เป็นสายยาวในสัดส่วนต่างๆกัน ถ้ามีปริมาณของ glucosamine น้อยกว่า 40 % ลงมา พอลิเมอร์นั้นจะละลายได้ในกรดอินทรีย์ต่างๆนั้นหมายถึงมีปริมาณไคโตซานมากกว่า 60 % นั้นเอง ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีทำให้ไคตินเปลี่ยนไปเป็นไคโตซาน คือการลดลงของหมู่อะซีติลหรือเรียกว่า Deacetylation ขณะที่มีการลดลงของหน่วยย่อย N-acetyl glucosamine ย่อมเป็นการเพิ่มขึ้นของ glucosamine ในปริมาณที่เท่ากัน ซึ่งคือการเปลี่ยนแปลงไคตินให้เป็นไคโตซานนั่นเอง การจัดระดับของการ Deacetylation มีค่าร้อยละหรือเรียกว่า Percent Deacetylation ( % DD) กล่าวคือเมื่อในพอลิเมอร์มีค่าเกิน % DD เกินกว่า 60 % ขึ้นไป ของการกระจายไคโตซานในกรดอินทรีย์มากจะเพิ่มขึ้นของหมู่อะมิโนของ glucosamine ทำให้มีความสามารถในการรับโปรตรอน จากสารละลายได้เพิ่มขึ้นซึ่งช่วยในการละลายดีขึ้น เพราะมีสมบัติของประจุบวกเพิ่มขึ้น ฉะนั้นไคโตซานจึงสามารถละลายได้ดีขึ้นในกรดต่างๆ เช่น กรดน้ำส้ม กรดแลคติก และกรดอินทรีย์อื่นๆ

ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว ไคโตซานจะไม่ละลายน้ำเช่นเดียวกับเปลือกกุ้ง กระดองปู หรือเปลือกไม้ทั่วไป แต่ไคโตซานจะละลายได้ดีเมื่อใช้กรดอินทรีย์เป็นตัวทำละลาย สารละลายของไคโตซานจะมีความข้นเหนียวแต่ใสคล้ายวุ้น หรือพลาสติกใส ยืดหยุ่นได้เล็กน้อยจึงมีคุณสมบัติที่พร้อมจะทำให้เป็นรูปแบบต่างๆได้ง่าย โดยเฉพาะถ้าต้องการทำเป็นแผ่นหรือเยื่อบางๆเป็นเจล หรือรูปร่างเป็นเม็ด เกล็ด เส้นใย สารเคลือบและคอลลอยด์ เป็นต้น นอกจากนี้ไคโตซานยังย่อยสลายตามธรรมชาติ จึงไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต เมื่อกินเข้าไปและไม่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อเติมลงไปในน้ำหรือในดินเพื่อการเกษตร

ไคโตซานที่ผลิตขึ้นมาใช้ในปัจจุบันนี้ มีหลายรูปแบบ และส่วนใหญ่จะผลิตมาจากบริษัทต่างประเทศ จึงมีราคาค่อนข้างสูง

รูปแบบของไคโตซานที่ผลิตขึ้นมาจำหน่ายในขณะนี้มี 4 รูปแบบ ได้แก่
1. ไคโตซานที่เป็นเกล็ดหรือแผ่นบางเล็กๆ (flake)
2. ไคโตซานที่เป็นผงละเอียดคล้ายแป้ง (micromilled powder)
3. ไคโตซานในรูปแบบสารละลายเป็นของเหลวหนืด (solutions) ซึ่งความเข้มข้นอาจจะแตกต่างกันไปตาม ความต้องการของผู้สั่งซื้อ
4. ไคโตซานที่อยู่ในรูปเม็ดจิ๋วขนาดประมาณ 300-500 ไมโครเมตร (bead)

ผลิตภัณฑ์ไคโตซานที่อยู่ในรูป flake , powder , bead นั้นหากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงจะต้องมีความชื้นต่ำมากคือไม่เกิน 5-10 เปอร์เซ็นต์ หากความชื้นสูงกว่านี้ก็อาจจะทำให้เกิดเชื้อราหรือมีสิ่งปนเปื้อนอื่นๆเข้าไปปะปนอยู่ทำให้คุณภาพด้อยลง หรืออาจจะเกิดความเป็นพิษ เนื่องจากเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียหรือสิ่งปนเปื้อนนั้นๆผลิตสารพิษออกมา ความเป็นไปได้ที่จะเกิดการปนเปื้อนของสิ่งไม่พึงประสงค์ในไคโตซานนั้น เนื่องจากวัตถุดิบที่นำมาสกัดนั่นเอง

การใช้ประโยชน์จากไคโตซาน
ปัจจุบันไคโตซานถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในด้านวงการเกษตร อาหารเสริมสุขภาพ และอีกหลายวงการ เช่น
1. การใช้กับพืชผักผลไม้
ในด้านการเกษตรกรรมนั้นมีการนำไคโตซานมาใช้เป็นอาหารเสริมให้แก่พืชเพื่อช่วยควบคุมการทำงานของพืชผลไม้และต้น
โดย: [0 3] ( IP )

ความคิดเห็นที่ 7
   ไม้ให้ทำงานได้ดีขึ้นคล้ายๆกับการเพิ่มปุ๋ยพิเศษให้แก่พืชผักผลไม้ นอกจากนี้ยังนำไปใช้ในการป้องกันโรคที่เกิดจากจุลินทรีย์ และเชื้อราบางชนิดอีกด้วย ซึ่งตามคำโฆษณาบอกไว้ดังนี้
- ช่วยให้พืชมีการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น
- ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ต้นพืช ผัก ผลไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคซึ่งเกิดมาจากเชื้อจุลินทรีย์ในดิน
- ไปกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานให้แก่เมล็ดพืชที่จะนำไปเพาะขยายพันธุ์ทำให้มีอัตราการขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น

ทุกวันนี้เกษตรกรได้นำเอาผลิตภัณฑ์ไคโตซานไปใช้ประโยชน์กับพืชผักผลไม้หลายชนิดแล้ว เช่น หน่อไม้ฝรั่ง , ต้นหอม , คะน้า , แตงโม , ข้าว , ถั่ว , ข้าวโพด ตลอดจนไม้ดอกไม้ประดับที่มีราคาสูงหลายชนิด เช่น ดอกคาร์เนชั่น ดอกเยอบีร่าพันธุ์นอก ดอกแคดิโอลัสและดอกบานชื่นฝรั่ง เป็นต้น



2. การใช้ไคโตซานในวงการประมง
ในวงการประมงนั้นขณะนี้ได้มีการนำไคโตซานมาใช้ประโยชน์ในด้านการยืดอายุการรักษา และเก็บถนอมอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ และในขั้นต้นนี้ได้สกัดโปรตีนจากหัวกุ้งด้วยกระะบวนการย่อยด้วยแบคทีเรีย กรดแล็คติด (lectic acid bacteria) เพื่อนำโปรตีนนั้นมาใช้ในแง่เป็นสารเสริมคุณค่าอาหารและของว่างที่ทำจากสัตว์น้ำ การปรุงแต่งรส และกลิ่นในอาหารขบเคี้ยวที่เป็นผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ เป็นต้น

นอกจากนี้ฝ่ายเอกชนหลายแห่งได้นำไคโตซานมาใช้ประโยชน์ในด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ วิธีการนั้นมีหลายรูปแบบ ได้แก่การคลุกกับอาหารเม็ด ในอัตราส่วนต่างๆกันเพื่อให้กุ้งกิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการไปกระตุ้นภูมิต้านทานโรคในตัวกุ้ง และเพื่อเป็นส่วนไปกระตุ้นการย่อยอาหารและการเจริญเติบโต ประโยชน์อีกด้านหนึ่งที่ผู้ขายโฆษณาไว้ก็คือ การช่วยให้เม็ดอาหารคงรูปอยู่ในน้ำได้นานกว่าโดยการเคลือบสารไคโตซานบนอาหารที่จะหว่านให้กุ้งกิน บางรายก็แนะนำให้เติมลงไปในน้ำเพื่อช่วยปรับสภาพแวดล้อมให้ดีอยู่เสมอ


3. การใช้ไคโตซานในวงการแพทย์
ไคโตซานที่ใช้ในการแพทย์และมีผลที่เชื่อถือได้ ได้ดำเนินการมาหลายปีแล้ว เช่น การใช้ประโยชน์โดยนำมาประกอบเป็นอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ทำผลิตภัณฑ์เสริมความงาม เช่น ครีมทาผิว ทำเป็นแผ่นไคโตซานเพื่อปิดปากแผลที่เกิดจากการผ่าตัดเฉพาะที่ ซึ่งพบว่าแผ่นไคโตซานจะช่วยให้คนป่วยเกิดการเจ็บปวดแผลน้อยกว่าการใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำมันวาสลินมาปิดแผลเหมือนที่เคยปฏิบัติมาในสมัยก่อน นอกจากนี้เวลาที่แผลปิดดีแล้วและมีการลอกแผ่นไคโตซานออก ยังสะดวกและง่ายกว่าการลอกแถบผ้าก๊อชเพราะจะไม่มีการสูญเสียเลือดที่เกิดจากการลอกแผ่นปิดแผลออกทำให้ผู้ป่วยไม่เจ็บปวดเท่ากับการใช้แถบผ้าก๊อซปปิดแผล นอกจากนี้ยังใช้ไคโตซานไปเป็นส่วนผสมของยาหลายประเภท เช่น ยาที่ใช้พ่นทางจมูกเพื่อบรรเทาอาการโรคทางเดินหายใจ


การพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของ ไคโตซาน
ประการแรกที่จะดูว่าไคโตซานแท้หรือไม่นั้น ให้ดูที่ลักษณะของสาร ไคโตซานที่แท้หรือบริสุทธิ์นั้นจะต้องใสไม่เหนียวหนืดเกินไป และเมื่อเวลาเปิดขวดหรือภาชนะที่บรรจุไคโตซานจะต้องไม่มีลมออกมาเพราะหากมีลมออกมา ลมที่ออกมาคือการเน่าบูดของสารบางชนิด หรือพูดง่ายๆก็คือกระบวนการสกัดไคโตซานไม่บริสุทธิ์ ถ้านำไปใช้จะทำให้น้ำในบ่อเสียเร็วขึ้นและทำให้สัตว์น้ำติดเชื้อได้

ประการที่สองคือการทดสอบด้วยน้ำยาล้างจาน โดยการหยดน้ำยาล้างจานลงในไคโตซานในปริมาณที่เท่ากัน หากเป็นไคโตซานที่บริสุทธิ์ตัวไคโตซานจะจับตัวกันเหมือนไข่ขาว แต่ถ้าเป็นไคโตซานไม่บริสุทธิ์ก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น

โดย: 224 [24 มี.ค. 51 14:59] ( IP A:118.173.156.5 X: )

ความคิดเห็นที่ 8
   อ.รั้วจามจุรีสกัดไคโตซานจากเปลือกกุ้งทำฮอร์โมนพืชเทียม – แว็กซ์ยืดอายุผลไม้
แก้ไขโดย Webmaster
วันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2549
อ.รั้วจามจุรีสกัดไคโตซานจากเปลือกกุ้งทำฮอร์โมนพืชเทียม – แว็กซ์ยืดอายุผลไม้

รศ.ชยากริต ศิริอุปถัมภ์ นักวิจัยผู้สกัดสารโอลิโกไคโตซานบริสุทธิ์เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและการแพทย์ (ภาพจากภาควิชานิวเคลียร์เทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

อาจารย์ภาควิชานิวเคลียร์ฯ รั้วจามจุรี สกัดโอลิโกไคโตซานบริสุทธิ์ เป็นสารออกฤทธิ์เป็นฮอร์โมนพืชจากเปลือกกุ้ง เฉลี่ยต้นทุนกรัมละไม่ถึงบาท แต่นำผสมน้ำฉีดให้พืชได้หลายร้อยเท่า ชี้เร่งพืชให้เจริญเติบโตได้ดี แถมเสริมภูมิคุ้มกันต้านทานโรค ขยายใช้เป็นแว็กซ์เคลือบผิวผลไม้ยับยั้งจุลินทรีย์ แต่ไม่สกัดกั้นขบวนการหายใจของผลไม้ พร้อมเดินหน้าทำแผ่นปิดแผลไฟไหม้ไคโตซาน-ยารักษาข้อเสื่อมไคโตซานเป็นก้าวต่อไป

เมื่อเอ่ยถึง “ไคโตซาน” คงจะเป็นชื่อที่คุ้นหูของสาวๆ คนไทยในยุค 2000 เป็นอย่างดี และคงจะจินตนาการได้ถึงการมีรูปร่างเพรียวบาง -สเลนเดอร์ ไร้ไขมันส่วนเกิน เป็นที่ต้องตาต้องใจหนุ่มๆ ได้ชะงักงัน แต่รู้ไหมว่า แท้ที่จริงแล้ว นอกจากที่ไคโตซานจะมีคุณสมบัติในการดักจับไขมันส่วนเกินในร่างกายแล้ว ไคโตซานยังมีคุณประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายกว่านั้น คือ มีประโยชน์ทั้งในด้านการเกษตรและด้านการแพทย์ด้วย ดังที่จะกล่าวถึงต่อไป

ขั้นตอนการทำงานของ รศ.ชยากริต เพื่อให้ได้สารออกฤทธิ์เป็นฮอร์โมนพืชนั้น เขาเล่าว่า ได้แก่ การสกัดสารไคโตซานซึ่งเป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติจากเปลือกกุ้งซึ่งเป็นของเหลือทิ้งให้ได้สารโอลิโกไคโตซานที่มีความบริสุทธิ์มาก โดยการนำสารไคตินจากเปลือกกุ้งไปต้มกับด่างอ่อนๆ เพื่อแยกโปรตีนออกมา และต้มกับกรดอ่อนๆ เพื่อคัดแยกหินปูนออก จะทำให้ได้สารไคตินที่ค่อนข้างบริสุทธิ์ แต่ก็ยังเป็นพอลิเมอร์ที่ละลายกับตัวทำละลายได้ยาก ทำให้นำมาใช้ได้ยาก จึงต้องนำไปต้มกับด่างเข้มข้น 50% อีกครั้งหนึ่งเพื่อเปลี่ยนสารไคตินให้เป็นสารไคโตซาน โดยการแยกหมู่อะเซติลออกให้เหลือเพียงหมู่อะมิโนล้วนๆ เป็นสารไคโตซานบริสุทธิ์ที่ละลายในสารละลายได้ง่าย

อย่างไรก็ดี สารไคโตซานบริสุทธิ์ที่ได้ก็ยังมีขนาดโมเลกุลมากเกินไป ยากต่อการที่พืชจะดูดซึมไปใช้งาน จึงต้องนำไปฉายรังสีแกมมาเพื่อตัดสายโมเลกุลให้สั้นลง จากแต่เดิมที่มีน้ำหนักโมเลกุลประมาณ 9 แสนดาลตัน เหลือเพียง 8 พัน- 1 หมื่นดาลตัน ซึ่งนอกจากจะช่วยตัดสายโมเลกุลให้สั้นลงแล้ว รังสีแกมมายังจะช่วยฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ที่ปนเปื้อนมากับสารไคโตซานบริสุทธิ์ได้อีกด้วย ในขั้นตอนต่อไปจึงนำสารสกัดที่ได้ไปทำละลายในกรดน้ำส้ม 0.4% ในอัตราส่วนสารสกัด 1 กรัมต่อกรดน้ำส้ม 100 ซี.ซี.ต่อไป ซึ่งหลังจากนี้ก็สามารถบรรจุภาชนะเก็บไว้ใช้งานได้

เมื่อจะนำสารสกัดที่ได้ไปใช้งาน จะต้องนำไปผสมน้ำอีก 200 เท่า หรือให้มีสารสกัดไคโตซานเพียง 50 ส่วนต่อ 1 ล้านส่วนซึ่งถือว่าใช้สารสกัดในปริมาณที่น้อยมาก โดยจะนำไปฉีดให้กับพืชสวน พืชดอก และพืชไร่ทุกชนิดที่ต้องการ ทั้งในแบบที่ปลูกอยู่กับดินหรือที่ปลูกในแบบไฮดรอพอนิกส์ (ปลูกโดยไม่ใช้ดินแต่ใช้สารละลายแร่ธาตุอาหาร) โดยฉีดให้ที่ใบพืชเพียงให้ใบเปียก ประมาณ 2-3 สัปดาห์ต่อครั้ง ต้นไม้ก็จะดูดซับสารไคโตซานที่ฉีดให้เข้าไปทางปากใบ

ทั้งนี้ รศ.ชยากริต ได้พัฒนาวิธีสกัดสารไคโตซานบริสุทธิ์นี้ได้เมื่อ 3 ปีก่อน พร้อมได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อสภาวิจัยแห่งชาติ และได้รับทุนจากสภาวิจัยฯ ให้ช่วยเผยแพร่วิทยาการนี้ให้กับเกษตรกรตลอดจนพ่อค้าในภาคเอกชนได้นำไปใช้งานอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นการเผยแพร่แบบให้เปล่าไม่คิดมูลค่า จนปัจจุบันมีภาคเอกชนได้ทำออกขายในรูปวัสดุออกฤทธิ์เป็นฮอร์โมนพืชแล้วในราคาลิตรละหลายร้อยบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ประเทศไทยต้องนำเข้าสารที่ออกฤทธิ์เป็นฮอร์โมนพืชจากต่างชาติในราคาแพง

เปลือกกุ้ง แหล่งที่มาสำคัญของไคโตซาน (ภาพจาก
http://www.thaijustice.com)

คุณสมบัติที่เด่นชัดของสารสกัดไคโตซานบริสุทธิ์หลังจากที่นำไปใช้กับพืชแล้ว รศ.ชยากริต พบว่า พืชจะออกรากได้มากขึ้น เติบโตเร็ว ติดดอกและออกผลมากขึ้น มีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรค แมลง และเชื้อรา รากและโคนต้นพืชไม่เน่าง่าย เมื่อทดลองฉีดให้ต้นยางพาราก็ทำให้ได้ผลผลิตมากขึ้นกว่าเดิมถึง 50% โดยผู้บริโภคผักผลไม้ที่ฉีดสารสกัดไคโตซานก็มั่นใจได้ว่ามีความปลอดภัยจากรังสีแน่นอน ส่วนไคโตซานก็ถือเป็นพอลีเมอร์ธรรมชาติที่มีความปลอดภัยอยู่แล้ว

ทว่าสารสกัดไคโตซานบริสุทธิ์จะไม่มีผลต่อพืชชั้นต่ำ เช่น เฟิร์น กล้วยไม้พันธุ์รอง
โดย: [0 3] ( IP )

ความคิดเห็นที่ 9
   เท้านารี และกระเช้าสีดา โดยจะไม่มีความเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้น ทั้งนี้ สารสกัดไคโตซานบริสุทธิ์ที่สกัดได้ถือว่ามีราคาถูกมากๆ คือ ประมาณกิโลกรัมละ 700 บาท เมื่อคิดแล้วก็ตกเฉลี่ยราคากรัมละไม่ถึง 1 บาทแต่ผสมใช้กับพืชได้ปริมาณมาก

อย่างไรก็ดี ไม่เพียงแต่จะนำสารสกัดไคโตซานบริสุทธิ์มาทำวัสดุออกฤทธิ์เป็นฮอร์โมนพืชเท่านั้น แต่ รศ.ชยากริต อาจารย์ประจำภาควิชานิวเคลียร์เทคโนโลยีผู้นี้ ยังได้นำสารสกัดดังกล่าวมาใช้เคลือบผิวผลไม้ อาทิ มะม่วงและมังคุดด้วย ซึ่งจะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียบนผิวผลไม้ได้ดี จึงช่วยชะลอการเน่าเสีย ยืดอายุเก็บรักษาได้ยาวนานขึ้น และจากการที่สารสกัดไคโตซานมีสายโมเลกุลที่สั้นลง จึงทำให้เมื่อนำไปเคลือบผิวแล้วยังมีช่องว่างบนผิวผลไม้ให้ผลไม้หายใจได้ จึงทำให้ผลไม้สุก จากแต่ก่อนนี้ที่มีผู้นำสารสกัดไคโตซานที่ไม่ผ่านการฉายรังสีและมีสายโมเลกุลขนาดใหญ่มาเคลือบผิวผลไม้ ซึ่งแม้ว่าจะยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ได้ แต่ผลไม้จะหายใจไม่ได้ ทำให้ผลไม้ยังเขียวและไม่สุก

สุดท้ายนี้ การทำวิจัยเรื่องสารสกัดไคโตซานบริสุทธิ์ของ รศ.ชยากริต ก็ยังไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ หากแต่ เขาบอกอย่างมุ่งมั่นว่า จะยังคงมุ่งวิจัยเพื่อนำสารสกัดไคโตซานไปใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์ต่อไป คือ การนำสารสกัดโอลิโกไคโตซานไปเป็นส่วนผสมของการผลิตแผ่นปิดแผลป้องกันการติดเชื้อ โดยเฉพาะกับแผลที่เกิดจากไฟไหม้ รวมทั้งยังได้ทำข้อเสนอไปขอทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เพื่อใช้ในการทำวิจัยผลิตภัณฑ์ยาที่มีส่วนผสมของสารโอลิโกไคโตซานสำหรับรับประทานเพื่อการซ่อมแซมรักษากระดูกอ่อนในผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคข้อเสื่อมด้วย...

รู้ถึงคุณประโยชน์ของไคโตซานอย่างนี้แล้ว หลายคนคงต้องปรับเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อเปลือกกุ้ง- เศษข้าวของเหลือทิ้งซะใหม่ เพราะถือได้ว่าเป็นแหล่งที่มาของสารไคโตซานที่มีค่าจำนวนมหาศาลทีเดียว ขณะเดียวกันก็ต้องเอาใจช่วยการทำงานของ รศ.ชยากริต ต่อไป เพื่อให้เกิดผลการวิจัยที่มีคุณค่าต่อสังคมในที่สุด

ที่มา :
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9490000092434
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2550 )
โดย: 224 [10 เม.ย. 51 15:50] ( IP A:125.24.98.35 X: )

ความคิดเห็นที่ 10
    อาจารย์ภาควิชานิวเคลียร์ฯ รั้วจามจุรี สกัดโอลิโกไคโตซานบริสุทธิ์ เป็นสารออกฤทธิ์เป็นฮอร์โมนพืชจากเปลือกกุ้ง เฉลี่ยต้นทุนกรัมละไม่ถึงบาท แต่นำผสมน้ำฉีดให้พืชได้หลายร้อยเท่า ชี้เร่งพืชให้เจริญเติบโตได้ดี แถมเสริมภูมิคุ้มกันต้านทานโรค ขยายใช้เป็นแว็กซ์เคลือบผิวผลไม้ยับยั้งจุลินทรีย์ แต่ไม่สกัดกั้นขบวนการหายใจของผลไม้ พร้อมเดินหน้าทำแผ่นปิดแผลไฟไหม้ไคโตซาน-ยารักษาข้อเสื่อมไคโตซานเป็นก้าวต่อไป

เมื่อเอ่ยถึง “ไคโตซาน” คงจะเป็นชื่อที่คุ้นหูของสาวๆ คนไทยในยุค 2000 เป็นอย่างดี และคงจะจินตนาการได้ถึงการมีรูปร่างเพรียวบาง -สเลนเดอร์ ไร้ไขมันส่วนเกิน เป็นที่ต้องตาต้องใจหนุ่มๆ ได้ชะงักงัน แต่รู้ไหมว่า แท้ที่จริงแล้ว นอกจากที่ไคโตซานจะมีคุณสมบัติในการดักจับไขมันส่วนเกินในร่างกายแล้ว ไคโตซานยังมีคุณประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายกว่านั้น คือ มีประโยชน์ทั้งในด้านการเกษตรและด้านการแพทย์ด้วย ดังที่จะกล่าวถึงต่อไป

รศ.ชยากริต ศิริอุปถัมภ์ อาจารย์ประจำภาควิชานิวเคลียร์เทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าของผลงานวัสดุออกฤทธิ์เป็นฮอร์โมนพืชโอลิโกไคโตซาน ในโครงการลดขนาดโมเลกุลของไคโตซานโดยใช้รังสีเพื่อใช้ในการเกษตร ซึ่งได้เริ่มลงไม้ลงมือทำโครงการตั้งแต่เมื่อ 4 ปีก่อน โดยได้รับทุนสนับสนุนจากภาควิชา เล่าว่า ในทางการเกษตร ไคโตซานเป็นสารที่มีประโยชน์กับพืชมาก คือ เป็นทั้งตัวเร่งการเจริญเติบโตของพืช และยังเป็นตัวกระตุ้นให้พืชสร้างภูมิต้านทานแมลง โรคพืช และเชื้อราต่างๆ ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งยังนำไปผสมอาหารสัตว์เศรษฐกิจ เช่น สุกร กุ้ง และไก่ เพื่อลดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารด้วย

ขั้นตอนการทำงานของ รศ.ชยากริต เพื่อให้ได้สารออกฤทธิ์เป็นฮอร์โมนพืชนั้น เขาเล่าว่า ได้แก่ การสกัดสารไคโตซานซึ่งเป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติจากเปลือกกุ้งซึ่งเป็นของเหลือทิ้งให้ได้สารโอลิโกไคโตซานที่มีความบริสุทธิ์มาก โดยการนำสารไคตินจากเปลือกกุ้งไปต้มกับด่างอ่อนๆ เพื่อแยกโปรตีนออกมา และต้มกับกรดอ่อนๆ เพื่อคัดแยกหินปูนออก จะทำให้ได้สารไคตินที่ค่อนข้างบริสุทธิ์ แต่ก็ยังเป็นพอลิเมอร์ที่ละลายกับตัวทำละลายได้ยาก ทำให้นำมาใช้ได้ยาก จึงต้องนำไปต้มกับด่างเข้มข้น 50% อีกครั้งหนึ่งเพื่อเปลี่ยนสารไคตินให้เป็นสารไคโตซาน โดยการแยกหมู่อะเซติลออกให้เหลือเพียงหมู่อะมิโนล้วนๆ เป็นสารไคโตซานบริสุทธิ์ที่ละลายในสารละลายได้ง่าย

อย่างไรก็ดี สารไคโตซานบริสุทธิ์ที่ได้ก็ยังมีขนาดโมเลกุลมากเกินไป ยากต่อการที่พืชจะดูดซึมไปใช้งาน จึงต้องนำไปฉายรังสีแกมมาเพื่อตัดสายโมเลกุลให้สั้นลง จากแต่เดิมที่มีน้ำหนักโมเลกุลประมาณ 9 แสนดาลตัน เหลือเพียง 8 พัน- 1 หมื่นดาลตัน ซึ่งนอกจากจะช่วยตัดสายโมเลกุลให้สั้นลงแล้ว รังสีแกมมายังจะช่วยฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ที่ปนเปื้อนมากับสารไคโตซานบริสุทธิ์ได้อีกด้วย ในขั้นตอนต่อไปจึงนำสารสกัดที่ได้ไปทำละลายในกรดน้ำส้ม 0.4% ในอัตราส่วนสารสกัด 1 กรัมต่อกรดน้ำส้ม 100 ซี.ซี.ต่อไป ซึ่งหลังจากนี้ก็สามารถบรรจุภาชนะเก็บไว้ใช้งานได้

เมื่อจะนำสารสกัดที่ได้ไปใช้งาน จะต้องนำไปผสมน้ำอีก 200 เท่า หรือให้มีสารสกัดไคโตซานเพียง 50 ส่วนต่อ 1 ล้านส่วนซึ่งถือว่าใช้สารสกัดในปริมาณที่น้อยมาก โดยจะนำไปฉีดให้กับพืชสวน พืชดอก และพืชไร่ทุกชนิดที่ต้องการ ทั้งในแบบที่ปลูกอยู่กับดินหรือที่ปลูกในแบบไฮดรอพอนิกส์ (ปลูกโดยไม่ใช้ดินแต่ใช้สารละลายแร่ธาตุอาหาร) โดยฉีดให้ที่ใบพืชเพียงให้ใบเปียก ประมาณ 2-3 สัปดาห์ต่อครั้ง ต้นไม้ก็จะดูดซับสารไคโตซานที่ฉีดให้เข้าไปทางปากใบ

ทั้งนี้ รศ.ชยากริต ได้พัฒนาวิธีสกัดสารไคโตซานบริสุทธิ์นี้ได้เมื่อ 3 ปีก่อน พร้อมได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อสภาวิจัยแห่งชาติ และได้รับทุนจากสภาวิจัยฯ ให้ช่วยเผยแพร่วิทยาการนี้ให้กับเกษตรกรตลอดจนพ่อค้าในภาคเอกชนได้นำไปใช้งานอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นการเผยแพร่แบบให้เปล่าไม่คิดมูลค่า จนปัจจุบันมีภาคเอกชนได้ทำออกขายในรูปวัสดุออกฤทธิ์เป็นฮอร์โมนพืชแล้วในราคาลิตรละหลายร้อยบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ประเทศไทยต้องนำเข้าสารที่ออกฤทธิ์เป็นฮอร์โมนพืชจากต่างชาติในราคาแพง

เปลือกกุ้ง แหล่งที่มาสำคัญของไคโตซาน (ภาพจาก
http://www.thaijustice.com)

คุณสมบัติที่เด่นชัดของสารสกัดไคโตซานบริสุทธิ์หลังจากที่นำไปใช้กับพืชแล้ว รศ.ชยากริต พบว่า พืชจะออกรากได้มากขึ้น เติบโตเร็ว ติดดอกและออกผลมากขึ้น มีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรค แมลง และเชื้อรา รากและโคนต้นพืชไม่เน่าง่าย เมื่อทดลองฉีดให้ต้นยางพาราก็ทำให้ได้ผลผลิตมากขึ้นกว่าเดิมถึง 50% โดยผู้บริโภคผักผลไม้ที่ฉีดสารสกัดไคโตซานก็มั่นใจได้ว่ามีความปลอดภัยจากรังสีแน่นอน ส่วนไค
โดย: [0 3] ( IP )

ความคิดเห็นที่ 11
โตซานก็ถือเป็นพอลีเมอร์ธรรมชาติที่มีความปลอดภัยอยู่แล้ว ทว่าสารสกัดไคโตซานบริสุทธิ์จะไม่มีผลต่อพืชชั้นต่ำ เช่น เฟิร์น กล้วยไม้พันธุ์รองเท้านารี และกระเช้าสีดา โดยจะไม่มีความเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้น ทั้งนี้ สารสกัดไคโตซานบริสุทธิ์ที่สกัดได้ถือว่ามีราคาถูกมากๆ คือ ประมาณกิโลกรัมละ 700 บาท เมื่อคิดแล้วก็ตกเฉลี่ยราคากรัมละไม่ถึง 1 บาทแต่ผสมใช้กับพืชได้ปริมาณมาก

อย่างไรก็ดี ไม่เพียงแต่จะนำสารสกัดไคโตซานบริสุทธิ์มาทำวัสดุออกฤทธิ์เป็นฮอร์โมนพืชเท่านั้น แต่ รศ.ชยากริต อาจารย์ประจำภาควิชานิวเคลียร์เทคโนโลยีผู้นี้ ยังได้นำสารสกัดดังกล่าวมาใช้เคลือบผิวผลไม้ อาทิ มะม่วงและมังคุดด้วย ซึ่งจะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียบนผิวผลไม้ได้ดี จึงช่วยชะลอการเน่าเสีย ยืดอายุเก็บรักษาได้ยาวนานขึ้น และจากการที่สารสกัดไคโตซานมีสายโมเลกุลที่สั้นลง จึงทำให้เมื่อนำไปเคลือบผิวแล้วยังมีช่องว่างบนผิวผลไม้ให้ผลไม้หายใจได้ จึงทำให้ผลไม้สุก จากแต่ก่อนนี้ที่มีผู้นำสารสกัดไคโตซานที่ไม่ผ่านการฉายรังสีและมีสายโมเลกุลขนาดใหญ่มาเคลือบผิวผลไม้ ซึ่งแม้ว่าจะยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ได้ แต่ผลไม้จะหายใจไม่ได้ ทำให้ผลไม้ยังเขียวและไม่สุก

สุดท้ายนี้ การทำวิจัยเรื่องสารสกัดไคโตซานบริสุทธิ์ของ รศ.ชยากริต ก็ยังไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ หากแต่ เขาบอกอย่างมุ่งมั่นว่า จะยังคงมุ่งวิจัยเพื่อนำสารสกัดไคโตซานไปใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์ต่อไป คือ การนำสารสกัดโอลิโกไคโตซานไปเป็นส่วนผสมของการผลิตแผ่นปิดแผลป้องกันการติดเชื้อ โดยเฉพาะกับแผลที่เกิดจากไฟไหม้ รวมทั้งยังได้ทำข้อเสนอไปขอทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เพื่อใช้ในการทำวิจัยผลิตภัณฑ์ยาที่มีส่วนผสมของสารโอลิโกไคโตซานสำหรับรับประทานเพื่อการซ่อมแซมรักษากระดูกอ่อนในผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคข้อเสื่อมด้วย...

รู้ถึงคุณประโยชน์ของไคโตซานอย่างนี้แล้ว หลายคนคงต้องปรับเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อเปลือกกุ้ง- เศษข้าวของเหลือทิ้งซะใหม่ เพราะถือได้ว่าเป็นแหล่งที่มาของสารไคโตซานที่มีค่าจำนวนมหาศาลทีเดียว ขณะเดียวกันก็ต้องเอาใจช่วยการทำงานของ รศ.ชยากริต ต่อไป เพื่อให้เกิดผลการวิจัยที่มีคุณค่าต่อสังคมในที่สุด







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/5) - หน้าถัดไป (3/5) หน้าถัดไป


Content ©