-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 455 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ฮอร์โมน




หน้า: 3/4



ไซโตไคนิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
ซีเอติน ไซโตไคนินธรรมชาติที่พบในพืช

ไซโตไคนิน (Cytokinin) เป็นกลุ่มของสารควบคุมการเจริญเติบโตที่เป็นอนุพันธ์ของอะดีนีนโดย มีโซ่ข้างมาเชื่อมต่อกับเบสที่ตำแหน่ง N6 ไซโตไคนินแบ่งได้เป็นสองชนิดตามชนิดของโซ่ข้างคือ ไอโซพรีนอยด์ ไซโตไคนิน (Isoprenoid cytokinin) มีโซ่ข้างเป็นสารกลุ่มไอโซพรีน กับ อะโรมาติก ไซโตไคนิน (Aromatic cytokinin) มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการขยายตัวและการเปลี่ยนแปลงของเซลล์พืช นอกจากนั้นยังควบคุมกระบวนการที่สำคัญต่างๆในการเจริญและพัฒนาการของพืช
[แก้] การออกฤทธิ์ทางสรีรวิทยา

การออกฤทธิ์ทางสรีรวิทยาที่สำคัญของไซโตไคนินได้แก่
    * ควบคุมการแบ่งเซลล์หรือวัฏจักรของเซลล์ เป็นหน้าที่หลักของไซโตไคนิน * ควบคุมการเกิดรูปร่าง อัตราส่วนของไซโตไคนินต่อออกซินจะมีผลต่อการพัฒนาของแคลลัส โดยแคลลัสที่ได้รับอัตราส่วนของไซโตไคนินต่อออกซินต่ำ (ออกซินมากกว่าไซโตไคนิน) จะเกิดราก แคลลัสที่ได้รับอัตราส่วนของไซโตไคนินต่อออกซินสูง (ไซโตไคนินมากกว่าออกซิน) จะเกิดตายอด
    * สนับสนุนการขยายตัวของเซลล์ ที่เกี่ยวข้องกับการดูดน้ำเข้าไปภายในเซลล์ เพราะไม่ทำให้น้ำหนักแห้งเพิ่มขึ้น 
    * สนับสนุนการพัฒนาและการแตกตาข้าง ไซโตไคนินสามารถกระตุ้นให้ตาข้างที่ถูกยับยั้งด้วยตายอดเจริญออกมาได้ 
    * การชลอการชรา ความชราของพืชเกิดจากกระบวนการแก่ตัวของเซลล์ มีการสูญเสียคลอโรฟิลล์ RNA โปรตีน และไขมัน ไซโตไคนินช่วยให้พืชหลายชนิด เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ต้นหอม คงความเขียวสดอยู่ได้นาน
    * การเกิดปม ปมที่เกิดในพืชเป็นเนื้อเยื่อที่ไม่มีการกำหนดพัฒนาและมีลักษณะคล้ายเนื้องอก เกิดจากเชื้อ Agrobacterium tumefaciens 
    * ทำให้เกิดสีเขียว สนับสนุนการเกิดคลอโรฟิลล์และการเปลี่ยนอีทิโอพลาสต์ไปเป็นคลอโรพลาสต์
    * ไซโตไคนินจากปลายรากมีผลต่อการเจริญของลำต้นและราก การตัดรากออกไปจะทำให้การเจริญเติบโตของลำต้นหยุดชะงัก
    * การเพิ่มไซโตไคนินจากภายนอกลดขนาดของเนื้อเยื่อเจริญที่ปลายรากลงโดยไม่ กระทบต่ออัตราการขยายตัวของเซลล์ภายในเนื้อเยื่อเจริญ แต่ไซโตไคนินปริมาณมากจะมีความจำเป็นในการรักษากิจกรรมของเนื้อเยื่อเจริญ ที่ปลายยอด
    * กระตุ้นการออกดอกของพืชวันสั้นบางชนิด เช่นในแหนเป็ด ไซโตไคนินกระตุ้นให้พืชสร้างสารฟลอริเจน (Florigen) ซึ่งชักนำให้พืชออกดอกได้ ไซโตไคนินยังช่วยให้เกิดดอกตัวเมียมากขึ้น
    * ทำลายระยะพักตัวของพืช ของเมล็ดพืชหลายชนิดได้ เช่น ผักกาดหอม



อ้างอิง

   1. ^ สถาพร ดียิ่ง, 2542
   2. ^ Saupe, 2008
   3. ^ Saupe, 2008
   4. ^ Sakakibara, 2006
   5. ^ Saupe, 2008
   6. ^ Ioio et al., 2008
   7. ^ มานี เตื้อสกุล, 2542; วันทนี สว่างอารมณ์, 2542
   8. ^ วันทนี สว่างอารมณ์, 2542

    * มานี เตื้อสกุล. 2542. สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช: ไซโตไคนิน. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
    * วันทนี สว่างอารมณ์. 2542. การเจริญและการเติบโตของพืช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
    * สถาพร ดียิ่ง. 2542. ฮอร์โมนพืช. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
    * Ioio, R.D., Linhares, F.S., and Sabatini, S. 2008. Emerging role of cytokinin as a regulator of cellular differentiation. Current Opinion in Plant Biology. 11, 23 – 27
    * Sakakibara, H. 2006. Cytokinin: Activity, biosynthesis, and translocation. Annual Review of Plant Biology. 57: 431 – 449
    * Saupe, S.G. 2008. Plant Hormones – Cytokinins.

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

    * Chapter 21 of Plant Physiology Book: Cytokinins: Regulators of Cell Division




1.ไซโตไคนิน (cytokinins) 

ไซโตไคนินเป็นฮอร์โมนของพืชที่พบครั้งแรกในน้ำมะพร้าว โดยสารนี้มีความสามารถกระตุ้นการแบ่งเซลล์ ซึ่งต่อมาพบว่าสารนี้คือ 6-furfuryladenine มีสูตรโครงสร้างแบบพูรีน(Purine) จากคุณสมบัติที่สามารถกระตุ้นการแบ่งเซลล์ได้จึงเรียกสารนี้ว่าไคเนติน(Kinetin) หลังจากนั้นก็มีผู้พบสารที่มีสูตรโครงสร้างและคุณสมบัติคล้ายกับไคเนตินอีกหลายชนิด จึงรวมเรียกสารเหล่านี้ว่าไซโตไคนิน

ไซโตไคนินที่พบในพืชคือ ซีอะติน(Zeatin) แหล่งสร้างไซโตไคนินในพืชที่อยู่ปลายราก ปมราก และพบทั่วไปในต้นพืช เป็นส่วนประกอบของกรดนิวคลีอิก นอกจากนี้พบในรูปสารอิสระในเอมบริโอและผลที่กำลังเจริญเติบโต ผลของไซโตไคนินกับพืชจะเกิดร่วมกับสารกระตุ้นการทำงาน(co-factor) อื่นๆ ถ้าไม่มีสารเหล่านี้ไซโตไคนินจะไม่แสดงผลกับพืช

ปัจจุบันได้มีการสังเคราะห์ไซโตไคนินขึ้นในห้องปฏิบัติการหลายชนิดและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการเกษตรและการค้า ไซโตไคนินเหล่านี้มีคุณสมบัติช่วยในการแบ่งเซลล์และสามารถใช้ชะลอหรือยืดอายุของส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ใบ ดอก และผลให้สดอยู่ได้นาน มีการนำมาใช้ในสูตรอาหารเพื่อเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างแพร่หลาย ไซโตไคนินสังเคราะห์ที่สำคัญและนิยมใช้กันมากได้แก่ เบนซิลอะดีนิน(Benzyl aminopurine หรือ BAP) เททระไฮโดรไพรานิล เบนซิลอะดีนิน(Tetrahydropyranyl benzyl adenine หรือ TBA) เป็นต้น

ประโยชน์ของไซโตไคนิน
ไซโตไคนินมีคุณสมบัติกระตุ้นการแบ่งเซลล์และการเจริญเปลี่ยนแปลงของเซลล์ การเจริญทางด้านลำต้นของพืช กระตุ้นการเจริญตาข้างทำให้ตาข้างเจริญออกมาเป็นกิ่งได้ ช่วยในการเคลื่อนย้ายอาหารจากรากไปสู่ยอด รักษาระดับการสังเคราะห์โปรตีนให้นานขึ้น ป้องกันคลอโรฟิลล์ให้ถูกทำลายช้าลง ทำให้ใบเขียวอยู่นานและร่วงหล่นช้าลง ช่วยทำให้ใบเลี้ยงคลี่ขยาย ช่วยให้เมล็ดงอกได้ในที่มืด เป็นต้น ซึ่งสามารถแยกออกเป็นหัวข้อได้ดังนี้

1.ส่งเสริมเซลล์ให้แบ่งตัวและพัฒนาไปเป็นอวัยวะต่างๆ ของพืช หน้าที่หลักของไซโตไคนิน คือ ช่วยให้ไซโตพลาสซึมแบ่งตัว ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อถ้าไม่ใส่ไซโตไคนินจะมีการแบ่งตัวของนิวเคลียสเท่านั้น ทำให้ได้เซลล์ที่มีหลายนิวเคลียสหรือพอลิพลอยด์

ในการเลี้ยงเนื้อเยื่อนั้นสัดส่วนของไซโตไคนินและออกซินมีความสำคัญมาก ถ้ามีไซโตไคนินมากกลุ่มเซลล์จะพัฒนาเป็นเนื้อเยื่อเจริญที่จะแปลงสภาพไปเป็นส่วนของยอดคือตา ลำต้น และใบ แต่ถ้ามีไซโตคินินต่ำจะเกิดรากมาก ดังนั้นการใช้สัดส่วนของฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้อย่างเหมาะสมกลุ่มเซลล์จะสามารถพัฒนาไปเป็นต้นที่สมบูรณ์ได้ ซึ่งมีประโยชน์มากในการขยายพันธุ์พืชโดยไม่ต้องอาศัยเมล็ดและงานด้านพันธุวิศวกรรม

2.กระตุ้นการเจริญของกิ่งแขนง สารไซโตไคนินสามารถกระตุ้นให้ตาข้างของพืชเจริญออกมาเป็นกิ่งได้ จึงมีประโยชน์ในการควบคุมทรงพุ่ม ส่วนใหญ่ใช้กับไม้กระถางประดับ นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นตาที่นำไปขยายพันธุ์ด้วยวิธีติดตาให้เจริญออกมาเป็นกิ่งใหม่ได้เร็วขึ้นโดยการทาสารที่ตาซึ่งติดสนิทดีแล้ว จะทำให้ตานั้นเจริญออกมาภายใน 7-14 วัน ภายหลังการใช้สาร ไซโตไคนินที่นิยมใช้ในกรณีนี้คือสาร BAP โดยนำมาผสมกับลาโนลิน (Lanolin) เพื่อให้อยู่ในรูปครีมซึ่งสะดวกต่อการใช้

3.ช่วยชะลอความแก่ของพืช ไซโตไคนินเฉพาะอย่างยิ่ง BAP สามารถชะลอความแก่ของพืชได้หลายชนิด เช่น ผักกาดหอมห่อ หอมต้น หน่อไม้ฝรั่ง บร็อกโคลี่ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง โดยการพ่นสาร BAP ในความเข้มข้นต่ำๆ บริเวณใบพืชเหล่านี้ภายหลังเก็บเกี่ยวหรือจุ่มต้นลงในสารละลาย BAP โดยตรง จะมีผลทำให้ผักเหล่านี้คงความเขียวสดอยู่ได้นาน เป็นการยืดอายุการเก็บรักษาผักเหล่านี้ได้ เชื่อว่าไซโตไคนินชะลอความแก่โดยการรักษาระดับการสังเคราะห์อาร์เอ็นเอและโปรตีนให้คงอยู่ได้นาน ตลอดจนช่วยชะลอการสลายตัวของคลอโรฟิลล์ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ผสมลงในสารละลายที่ใช้ปักแจกันเพื่อยืดอายุการปักแจกันของ คาร์เนชั่นได้ด้วย

4.ช่วยในการเคลื่อนย้ายอาหาร ไซโตไคนินมีคุณสมบัติช่วยให้การเคลื่อนย้ายสารอาหารจากส่วนอื่นๆ ไปยังส่วนที่ได้รับไซโตไคนินได้และเกิดการสะสมอาหาร ณ บริเวณนั้น ต้วอย่างเช่น ใบอ่อนซึ่งมีไซโตไคนินอยู่มากจะสามารถเคลื่อนย้ายสารอาหารจากใบแก่มาเก็บสะสมไว้ในใบอ่อนที่กำลังเจริญเติบโต นอกจากนี้ไซโตไคนินยังช่วยป้องกันไม่ให้คลอโรฟิลล์เสื่อมสลายง่าย ใบพืชที่เริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถ้าให้ได้รับไซโตไคนินจะทำให้ใบสามารถสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ขึ้นได้อีก

5.กระตุ้นการเกิดดอกและผล โดยไซโตไคนินสามารถชักนำการออกดอกของพืชวันยาวหรือพืชที่ต้องการอากาศเย็นได้ และยังช่วยกระตุ้นให้มีการสร้างผลแบบพาร์ทีโนคาร์ปิค ฟรุ๊ท ในพืชบางชนิดได้ แต่อย่างไรก็ตามไซโตไคนินที่นำมาใช้ในแปลงเกษตรยังมีค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่ใช้ในงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ


โดย: ฒ.ผู้เฒ่า  [9 ก.พ. 53 12:47] ( IP A:117.47.238.149 X: )
http://www.pantown.com/board.php?id=30284&area=3&name=board10&topic=13&action=view

www.pantown.com/board.php?id=30284&area... -





หน้าก่อน หน้าก่อน (2/4) - หน้าถัดไป (4/4) หน้าถัดไป


Content ©