-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 474 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ฮอร์โมน




หน้า: 3/3



สารควบคุมการเจริญเติบโต


สารควบคุมการเจริญเติบโต แต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้ 7 กลุ่มด้วยกันคือ

1. ออกซิน (auxins) เป็นกลุ่มของสารที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการขยายขนาดของเซลล์ (cell enlargement) การแบ่งตัวของเซลล์ในแคมเบี่ยม การขยายขนาดของใบ การเกิดราก การขยายขนาดของผล ป้องกันการหลุดร่วงของใบ ดอก ผล ยับยั้งการแตกตาข้าง ฮอร์โมนที่พืชสร้างขึ้นก็คือ ไอเอเอ (IAA) โดยสร้างมากที่บริเวณปลายยอด ปลายราก ผลอ่อน และบริเวณที่มีเนื้อเยื่อเจริญ (meristematic tissue) อยู่มาก ปริมาณ ไอเอเอ ภายในเนื้อเยื่อพืชแต่ละส่วนมีมากน้อยแตกต่างกันไป โดยจะมีอยู่มากในส่วนที่กำลังเจริญเติบโต การรักษาระดับปริมาณภายในเนื้อเยื่อพืชถูกควบคุมโดยระบบการสร้างและการทำลายพร้อม ๆ กันไป ถ้าเป็นเนื้อเยื่อที่กำลังเจริญเติบโตจะมีการสร้างมากกว่าการทำลาย และในทางตรงกันข้าม ในเนื้อเยื่อที่มีอายุมากขึ้น จะมีการทำลายมากกว่าการสร้าง

ภาพที่ 1 ตัวอย่างสารพวก ออกซิน (NAA)
สารสังเคราะห์ที่จัดอยู่ในกลุ่มออกซิน ที่ใช้กันมากได้แก่
เอ็นเอเอ (NAA)
ไอบีเอ (IBA)
4-ซีพีเอ (4-CPA)
2,4-ดี (2,4-D)

2. จิบเบอเรลลิน (gibberellins) เป็นสารที่เกี่ยวข้องกับการยืดตัวของเซลล์ (cell elongation) ทำลายการพักตัวของพืช กระตุ้นการออกดอกของพืชบางชนิด และยับยั้งการออกดอกของพืชบางชนิด สารกลุ่มนี้มีทั้งที่พืชสร้างขึ้นเอง และเชื้อราบางชนิดสร้างขึ้น ในปัจจุบันพบจิบเบอเรลลินทั้งหมด 71 ชนิด โดยที่ทุกชนิดเรียกชื่อเหมือนกันคือ จิบเบอเรลลิน เอ หรือ จีเอ (gibberellin A) (GA) แต่มีหมายเลขตามหลังตั้งแต่ 1 ถึง 71 เช่น จีเอ 3, จีเอ 4, จีเอ 7 (GA3, GA4, GA7) สารจีเอ 3 เป็นจิบเบอเรลลินที่นำมาใช้มากทางการเกษตร โดยมีชื่อเรียกเฉพาะของสาร จีเอ 3 ว่า จิบเบอเรลลิก แอซิค (gibberellic acid) พืชสามารถสร้าง จีเอ3 ได้โดยมีปริมาณน้อยมาก ซึ่งจีเอ 3 ที่นำมาใช้ทางการเกษตรนั้น ได้มาจากการเพาะเลี้ยงเชื้อราบางชนิดแล้วสกัดจีเอ 3 ออกมา เนื่องจากปัจจุบันยังไม่สามารถสังเคราะห์ จีเอ ได้ด้วยวิธีทางเคมี

ภาพที่ 2 ตัวอย่างสารจิบเบอเรลลิน
3. ไซโตไคนิน (cytokinins) เกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ของพืช ชะลอการแก่ชราและกระตุ้นการแตกตาข้าง พบมากในบริเวณเนื้อเยื่อเจริญและในคัพภะ (embryo) ส่วนใหญ่แล้วไซโตไคนินมีการเคลื่อนย้ายน้อย แต่มีคุณสมบัติสำคัญในการดึงสารอาหารต่าง ๆ มายังแหล่งที่มีไซโตไคนินสะสมอยู่ (cytokinin-induced translocation) ฮอร์โมนที่พบในพืชได้แก่ ซีอาติน (zeatin) ส่วนสารสังเคราะห์ที่อยู่ในกลุ่มไซโตไคนินได้แก่ บีเอพี (BAP) ไคเนติน (Kinetin)

4. เอทิลีนและสารปลดปล่อยเอทิลีน (ethylene and ethylene releasing compounds) เอทิลีนเป็นก๊าซชนิดหนึ่งและจัดเป็นฮอร์โมนพืช เนื่องจากพืชสร้างขึ้นมาได้ โดยมีผลควบคุมการแก่ชรา การสุก รวมทั้งการออกดอกของพืชบางชนิด และเกี่ยวข้องกับการหลุดร่วงของใบ ดอก ผล การเหลืองของใบ การงอกของหัวพืช และเมล็ดพืชบางชนิด เอทิลีนจะสร้างมากในส่วนของพืชที่กำลังเข้าสู่ระยะชราภาพ (senescence) เช่น ในผลแก่หรือใบแก่ใกล้หลุดร่วง เนื่องจากเอทิลีนเป็นก๊าซดังนั้นจึงฟุ้งกระจายไปได้ทั่ว จึงไม่มีการเคลื่อนย้ายเหมือนกับฮอร์โมนในกลุ่มอื่น ๆ สารอินทรีย์บางชนิดมีคุณสมบัติคล้ายเอทิลีน เช่น อะเซทิลีน (acetylene) โปรปิลีน (propylene) ดังนั้นจึงอาจนำสารเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้เช่นกัน ยกตัวอย่างได้แก่การใช้อะเซทิลีนในการบ่มผลไม้ และเร่งการออกดอกของสับปะรด เป็นต้น แต่เนื่องจากว่าสารที่กล่าวมานี้เป็นก๊าซ จึงมีความยุ่งยากในการใช้และไม่สามารถควบคุมความเข้มข้นได้แน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ในแปลงปลูกพืช ดังนั้นจึงได้มีการสังเคราะห์สารบางชนิด ซึ่งเป็นของเหลวแต่สามารถปลดปล่อยหรือสลายตัวได้ ก๊าซเอทิลีน ซึ่งได้แก่ เอทีฟอน (ethephon) เอตาเซลาซิล (etacelasil)

สารเอทีฟอน จัดว่าเป็นสารที่นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง และในปัจจุบันใช้กันอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมสับปะรด

ภาพที่ 3 สารปลดปล่อย เอทิลีน (อีเทรล)
5. สารชะลอการเจริญเติบโตของพืช (plant growth retardants) สารกลุ่มนี้ไม่จัดเป็นฮอร์โมนพืช แต่เป็นสารสังเคราะห์ทั้งหมด มีคุณสมบัติสำคัญคือ ยับยั้งการสร้างหรือยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินในพืช จึงมีผลลดการยืดตัวของเซลล์ ทำให้ปล้องสั้น ใบหนา เขียวเข้ม กระตุ้นการออกดอกของพืชบางชนิด และมีคุณสมบัติอื่น ๆ ได้แก่ ทำให้พืชทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ร้อนจัด เย็นจัด ดินแห้ง ดินเกลือ เพิ่มผลผลิตพืชบางชนิด เพิ่มการติดผลของพืชบางชนิด สารชะลอการเจริญเติบโตที่สำคัญได้แก่ แอนซิมิดอล (ancymidol) คลอมีควอท (chlormequat) แดมิโนไซด์ (daminozide) พาโคลบิวทราโซล (paclobutrazol)

6. สารยับยั้งการเจริญเติบโต (plant growth inhibitors) สารกลุ่มนี้มีหน้าที่ในการถ่วงดุลกับสารเร่งการเติบโตพวกออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน เพื่อให้การเติบโตเป็นไปอย่างพอเหมาะพอดี ส่วนใหญ่มีหน้าที่ยับยั้งการแบ่งเซลล์ และการเติบโตของเซลล์ ทำให้เกิดการพักตัว (dormancy) และเกี่ยวข้องกับการหลุดร่วงของอวัยวะพืช ฮอร์โมนในกลุ่มนี้มีพบในพืชมีกว่า 200 ชนิด แต่ที่สำคัญที่สุดและรู้จักกันดีคือ เอบีเอ (ABA) (abscisic acid) ในทางการเกษตรมีการใช้ประโยชน์จากสารกลุ่มนี้น้อยมาก อย่างไรก็ตาม มีการใช้สารสังเคราะห์เพื่อประโยชน์บางอย่างเช่นยับยั้งการงอกของหัวมันฝรั่งและหอมหัวใหญ่ ระหว่างการเก็บรักษา ใช้แทนการเด็ดยอด (pinching) เพื่อกระตุ้นให้แตกตาข้าง รวมทั้งยับยั้งการเติบโตทางกิ่งใบซึ่งมีผลในการกระตุ้นดอกได้ในพืชบางชนิด สารสังเคราะห์ที่สำคัญได้แก่ คลอฟลูรีนอล (Chlorflurenol) ไดกูแลก โซเดียม (dikegulac sodium) มาเลอิกไฮดราไซด์ (maleic hydrazide) ทีไอบีเอ (TIBA)

7. สารอื่น ๆ (miscellaneous) เป็นกลุ่มสารที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากทั้ง 6 กลุ่มที่กล่าวมาข้างต้น ส่วนใหญ่ใช้เพื่อประโยชน์เฉพาะอย่าง เช่น เพิ่มผลผลิต ขยายขนาดผล ป้องกันผลร่วง ช่วยในการแบ่งเซลล์ อย่างไรก็ตามยังจัดว่ามีประโยชน์ค่อนข้างน้อยและการใช้ยังไม่กว้างขวาง ยกตัวอย่างสารเหล่านี้ได้แก่ เออร์โกสติม, อโทนิก เป็นต้น





อภิธานศัพท์ 


• 

กรดอะมิโน (Amino Acid) คือ หน่วยย่อยของโปรตีน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด แบ่งเป็นกรดอะมิโนจำเป็นและไม่จำเป็น




ความดันออสโมติก (Osmotic Pressure)
คือ ความดันที่ก่อให้เกิดการซึมผ่านเยื่อบางของของเหลว




คอเลสเตอรอล (Cholesterol)
เป็นไขมันที่มีประโยชน์ถ้ามีในปริมาณที่พอเหมาะ คอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง



เซลล์สมอง หากมีไขมันคอเลสเตอรอลมากเกินไป ไขมันเหล่านี้จะไปสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย




แคททิชิน (Catechins)
เป็นสารออกฤทธิ์กลุ่ม Flavonoids ชนิดพิเศษที่พบในชา พบปริมาณมากในชาเขียว



• 


ธาตุเหล็กที่อยู่ในรูปที่ไม่ใช่ฮีม (Non-heme iron)
พบในพืชผักต่างๆ โดยเฉพาะผักใบเขียวเข้ม ได้แก่ ผักกูด ผักแว่น ดอกโสน โหระพา มะเขือพวง



ผักกะเฉด รวมทั้งธัญพืช ได้แก่ ข้าว ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ ซึ่งประชากรในประเทศที่กำลังพัฒนาส่วนใหญ่รวมทั้งประเทศไทยบริโภคธาตุเหล็กจากพืชเป็นสำคัญ



อย่างไรก็ตาม ปริมาณที่ร่างกายเราสามารถดูดซึมธาตุเหล็กจากพืชไปใช้ประโยชน์ได้นั้นมีเพียงร้อยละ 2-10



นอกจากนี้ การดูดซึมของธาตุเหล็กที่ได้จากพืชยังขึ้นอยู่กับสารอื่นในอาหารที่รับประทานในมื้อนั้น สารที่ช่วยยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กในอาหารที่สำคัญได้แก่



แทนนิน (Tannin) ซึ่งพบในผลิตภัณฑ์ชา กาแฟ และผักรสฝาดต่างๆ ได้แก่ ผักกระถิน ขี้เหล็ก ใบเมี่ยง ไฟเตต (Phytate) ซึ่งพบในอาหารที่มีส่วนประกอบของ



ธัญพืชและถั่วเมล็ดแห้ง ได้แก่ ข้าวโอ๊ต ข้าวฟ่าง ข้าวโพด นมถั่วเหลือง โดยทั้งแทนนินกับไฟเตตจะรวมตัวกันธาตุเหล็กให้อยู่ในรูปของสารประกอบเชิงซ้อน



ที่ทางเดินอาหารไม่สามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ นอกจากนี้อาหารที่มีแคลเซียม เช่น นมและผลิตภัณฑ์จากนม ยังส่งผลยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็ก



• 


ธีอะฟลาวินส์ (Theaflavins)
คือ สารกลุ่มโพลีฟีนอลที่เกิดจากการเรียงตัว (Polymerization) ของแคททิชิน ในระหว่างการบ่มชาอู่หลงและชาดำ



พบได้บ้างในชาเขียว




ไนโตรชามีน (Nitrosamine)
คือ สารที่ก่อมะเร็ง และสารที่ก่อให้เกิดพิษในตับ




โปรตีน (Protein)
คือ สารชีวโมเลกุลประเภทสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) ออกซิเจน (O) ไนโตรเจน (N) เป็นองค์ประกอบ



สำคัญนอกจากนั้นยังมีธาตุอื่นๆ เช่น ซัลเฟอร์ (S) ฟอสฟอรัส (P) เหล็ก (Fe) สังกะสี (Zn) โปรตีนมีหน่วยย่อยคือ กรดอะมิโนเรียงต่อกันด้วยพันธะเปปไทด์



โปรตีนมีหน้าที่สำคัญต่อโครงสร้างและกิจกรรมภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด




ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids)
เป็นกลุ่มสารที่ให้สีสันแก่พืช รวมถึงสีสันสวยงามของกลีบดอกไม้ สารกลุ่มนี้สามารถดูดซับรังสีอุลตร้าไวโอเล็ทได้ดีและเปล่งออกมา



เป็นแสงสีต่างๆของดอกไม้ พืชได้พัฒนากระบวนการสร้างฟลาโวนอยด์ขึ้นเพื่อป้องกันอันตรายจากรังสีอุลตร้าไวโอเล็ท




เมแทบอลิซึม (Metabolism)
คือ การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีของสารประกอบเคมีในสิ่งมีชีวิตในระดับเซลล์ ประกอบด้วยกระบวนการชีวสังเคราะห์



เพื่อการสร้างสารประกอบอินทรีย์ที่มีโมเลกุลใหญ่ขึ้น ซึ่งเรียกว่าแอแนบอลิซึม (Anabolism) และในทางกลับกันกระบวนการย่อยสลายที่ทำให้โมเลกุลใหญ่เล็กลง



เรียกว่า แคแทบอลิซึม (Catabolism)




สารแอนติ แองจิโอเจนิก (Antiangiogenic Agent)
คือ สารต้านการสร้างหลอดเลือดฝอย




เอนไซม์ (Enzyme)
คือ โปรตีนที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะว่าปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ในเซลล์จะเกิดช้ามาก



ซึ่งถ้าขาดเอนไซม์อาจทำให้ระบบการทำงานของเซลล์ผิดปกติและอาจเกิดโรคตามมาได้




เอนไซม์ไซโคลออกซิจีเนส (Cyclo-oxygenase)
คือ เอนไซม์ที่ทำให้เกิดการรวมตัวกันของเกล็ดเลือด




เอสโตรเจน (Estrogens)
คือ เป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นภายในร่างกาย ช่วยในการเจริญเติบโตและพัฒนาการของอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง




แอลดีแอล คอเลสเตอรอล (LDL-cholesterol)
คือ Low Density Lipoprotein เป็นคอเลสเตอรอลรูปหนึ่งที่พบมากในกระแสเลือด หากมีมากก็จะเกาะ



ตามผนังหลอดเลือดและทำลายผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้หลอดเลือดตีบ




แอสไพริน (Aspirin)
เป็นยาบรรเทาอาการปวด ลดไข้ บรรเทาอาการข้ออักเสบ และใช้เป็นยาป้องกันการรวมตัวของเกล็ดเลือด




ไอโซฟลาโวนอยด์ (soflavonoids)
คือ เป็นกลุ่มสารที่พืชสร้างขึ้นเพื่อป้องกันตัวเองจากสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับสารในกลุ่ม Flavonoids ไอโซฟลาโวนอยด์



พบมากในพืชตระกูลถั่ว สารที่สำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ ไอโซฟลาโวนส์ (Isoflavones) และคูเมสแทนส์ (Coumestans)




ฮอร์โมน (Hormone)
คือ สารชีวเคมีที่ทำหน้าที่ส่งสารจากเซลล์หนึ่ง หรือจากกลุ่มของเซลล์ไปยังเซลล์อื่นๆ โมเลกุลของฮอร์โมนจะถูกปล่อยโดยตรงไปยัง



กระแสเลือด ของเหลวอื่นๆ ในร่างกาย หรือเนื้อเยื้อใกล้เคียง หน้าที่ของฮอร์โมนคือการส่งสัญญาณให้ทำงานหรือหยุดทำงาน เช่น กระตุ้นหรือยับยั้งการเจริญเติบโต



กระตุ้นหรือยับยั้งโปรแกรมการสลายตัวของเซลล์ กระตุ้นหรือยับยั้งระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น




แอลดีแอล คอเลสเตอรอล (LDL-cholesterol)
คือ Low Density Lipoprotein เป็นคอเลสเตอรอลรูปหนึ่งที่พบมากในกระแสเลือด หากมีมากก็จะเกาะ



ตามผนังหลอดเลือดและทำลายผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้หลอดเลือดตีบ




แอสไพริน (Aspirin)
เป็นยาบรรเทาอาการปวด ลดไข้ บรรเทาอาการข้ออักเสบ และใช้เป็นยาป้องกันการรวมตัวของเกล็ดเลือด




ไอโซฟลาโวนอยด์ (soflavonoids)
คือ เป็นกลุ่มสารที่พืชสร้างขึ้นเพื่อป้องกันตัวเองจากสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับสารในกลุ่ม Flavonoids ไอโซฟลาโวนอยด์



พบมากในพืชตระกูลถั่ว สารที่สำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ ไอโซฟลาโวนส์ (Isoflavones) และคูเมสแทนส์ (Coumestans)




ฮอร์โมน (Hormone)
คือ สารชีวเคมีที่ทำหน้าที่ส่งสารจากเซลล์หนึ่ง หรือจากกลุ่มของเซลล์ไปยังเซลล์อื่นๆ โมเลกุลของฮอร์โมนจะถูกปล่อยโดยตรงไปยัง



กระแสเลือดของเหลวอื่นๆ ในร่างกาย หรือเนื้อเยื้อใกล้เคียง หน้าที่ของฮอร์โมนคือการส่งสัญญาณให้ทำงานหรือหยุดทำงาน เช่น กระตุ้นหรือยับยั้งการเจริญเติบโต



กระตุ้นหรือยับยั้งโปรแกรมการสลายตัวของเซลล์ กระตุ้นหรือยับยั้งระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น


www.nutrilite.co.th/nutrilite/healthinfo/popup9_00.html -





สารนำพืชต่างๆ
   
1.ไซโตไคนิน (cytokinins)

ไซโตไคนินเป็นฮอร์โมนของพืชที่พบครั้งแรกในน้ำมะพร้าว โดยสารนี้มีความสามารถกระตุ้นการแบ่งเซลล์ ซึ่งต่อมาพบว่าสารนี้คือ 6-furfuryladenine มีสูตรโครงสร้างแบบพูรีน (Purine) จากคุณสมบัติที่สามารถกระตุ้นการแบ่งเซลล์ได้จึงเรียกสารนี้ว่าไคเนติน(Kinetin) หลังจากนั้นก็มีผู้พบสารที่มีสูตรโครงสร้างและคุณสมบัติคล้ายกับไคเนตินอีกหลายชนิด จึงรวมเรียกสารเหล่านี้ว่าไซโตไคนิน ไซโตไคนินที่พบในพืชคือ ซีอะติน(Zeatin) แหล่งสร้างไซโตไคนินในพืชที่อยู่ปลายราก ปมราก และพบทั่วไปในต้นพืช เป็นส่วนประกอบของกรดนิวคลีอิก นอกจากนี้พบในรูปสารอิสระในเอมบริโอและผลที่กำลังเจริญเติบโต ผลของไซโตไคนินกับพืชจะเกิดร่วมกับสารกระตุ้นการทำงาน(co-factor) อื่นๆ ถ้าไม่มีสารเหล่านี้ไซโตไคนินจะไม่แสดงผลกับพืช

ปัจจุบันได้มีการสังเคราะห์ไซโตไคนินขึ้นในห้องปฏิบัติการหลายชนิดและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการเกษตรและการค้า ไซโตไคนินเหล่านี้มีคุณสมบัติช่วยในการแบ่งเซลล์และสามารถใช้ชะลอหรือยืดอายุของส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ใบ ดอก และผลให้สดอยู่ได้นาน มีการนำมาใช้ในสูตรอาหารเพื่อเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างแพร่หลาย ไซโตไคนินสังเคราะห์ที่สำคัญและนิยมใช้กันมากได้แก่ เบนซิลอะดีนิน(Benzyl aminopurine หรือ BAP) เททระไฮโดรไพรานิล เบนซิลอะดีนิน(Tetrahydropyranyl benzyl adenine หรือ TBA) เป็นต้น

ประโยชน์ของไซโตไคนิน
ไซโตไคนินมีคุณสมบัติกระตุ้นการแบ่งเซลล์และการเจริญเปลี่ยนแปลงของเซลล์ การเจริญทางด้านลำต้นของพืช กระตุ้นการเจริญตาข้างทำให้ตาข้างเจริญออกมาเป็นกิ่งได้ ช่วยในการเคลื่อนย้ายอาหารจากรากไปสู่ยอด รักษาระดับการสังเคราะห์โปรตีนให้นานขึ้น ป้องกันคลอโรฟิลล์ให้ถูกทำลายช้าลง ทำให้ใบเขียวอยู่นานและร่วงหล่นช้าลง ช่วยทำให้ใบเลี้ยงคลี่ขยาย ช่วยให้เมล็ดงอกได้ในที่มืด เป็นต้น ซึ่งสามารถแยกออกเป็นหัวข้อได้ดังนี้

1. ส่งเสริมเซลล์ให้แบ่งตัวและพัฒนาไปเป็นอวัยวะต่างๆ ของพืช หน้าที่หลักของไซโตไคนิน คือ ช่วยให้ไซโตพลาสซึมแบ่งตัว ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อถ้าไม่ใส่ไซโตไคนินจะมีการแบ่งตัวของนิวเคลียสเท่านั้น ทำให้ได้เซลล์ที่มีหลายนิวเคลียสหรือพอลิพลอยด์

ในการเลี้ยงเนื้อเยื่อนั้นสัดส่วนของไซโตไคนินและออกซินมีความสำคัญมาก ถ้ามีไซโตไคนินมากกลุ่มเซลล์จะพัฒนาเป็นเนื้อเยื่อเจริญที่จะแปลงสภาพไปเป็นส่วนของยอดคือตา ลำต้น และใบ แต่ถ้ามีไซโตคินินต่ำจะเกิดรากมาก ดังนั้นการใช้สัดส่วนของฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้อย่างเหมาะสมกลุ่มเซลล์จะสามารถพัฒนาไปเป็นต้นที่สมบูรณ์ได้ ซึ่งมีประโยชน์มากในการขยายพันธุ์พืชโดยไม่ต้องอาศัยเมล็ดและงานด้านพันธุวิศวกรรม

2. กระตุ้นการเจริญของกิ่งแขนง สารไซโตไคนินสามารถกระตุ้นให้ตาข้างของพืชเจริญออกมาเป็นกิ่งได้ จึงมีประโยชน์ในการควบคุมทรงพุ่ม ส่วนใหญ่ใช้กับไม้กระถางประดับ นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นตาที่นำไปขยายพันธุ์ด้วยวิธีติดตาให้เจริญออกมาเป็นกิ่งใหม่ได้เร็วขึ้นโดยการทาสารที่ตาซึ่งติดสนิทดีแล้ว จะทำให้ตานั้นเจริญออกมาภายใน 7-14 วัน ภายหลังการใช้สาร ไซโตไคนินที่นิยมใช้ในกรณีนี้คือสาร BAP โดยนำมาผสมกับลาโนลิน (Lanolin) เพื่อให้อยู่ในรูปครีมซึ่งสะดวกต่อการใช้

3. ช่วยชะลอความแก่ของพืช ไซโตไคนินเฉพาะอย่างยิ่ง BAP สามารถชะลอความแก่ของพืชได้หลายชนิด เช่น ผักกาดหอมห่อ หอมต้น หน่อไม้ฝรั่ง บร็อกโคลี่ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง โดยการพ่นสาร BAP ในความเข้มข้นต่ำๆ บริเวณใบพืชเหล่านี้ภายหลังเก็บเกี่ยวหรือจุ่มต้นลงในสารละลาย BAP โดยตรง จะมีผลทำให้ผักเหล่านี้คงความเขียวสดอยู่ได้นาน เป็นการยืดอายุการเก็บรักษาผักเหล่านี้ได้ เชื่อว่าไซโตไคนินชะลอความแก่โดยการรักษาระดับการสังเคราะห์อาร์เอ็นเอและโปรตีนให้คงอยู่ได้นาน ตลอดจนช่วยชะลอการสลายตัวของคลอโรฟิลล์ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ผสมลงในสารละลายที่ใช้ปักแจกันเพื่อยืดอายุการปักแจกันของ คาร์เนชั่นได้ด้วย

4. ช่วยในการเคลื่อนย้ายอาหาร ไซโตไคนินมีคุณสมบัติช่วยให้การเคลื่อนย้ายสารอาหารจากส่วนอื่นๆ ไปยังส่วนที่ได้รับไซโตไคนินได้และเกิดการสะสมอาหาร ณ บริเวณนั้น ต้วอย่างเช่น ใบอ่อนซึ่งมีไซโตไคนินอยู่มากจะสามารถเคลื่อนย้ายสารอาหารจากใบแก่มาเก็บสะสมไว้ในใบอ่อนที่กำลังเจริญเติบโต นอกจากนี้ไซโตไคนินยังช่วยป้องกันไม่ให้คลอโรฟิลล์เสื่อมสลายง่าย ใบพืชที่เริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถ้าให้ได้รับไซโตไคนินจะทำให้ใบสามารถสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ขึ้นได้อีก

5. กระตุ้นการเกิดดอกและผล โดยไซโตไคนินสามารถชักนำการออกดอกของพืชวันยาวหรือพืชที่ต้องการอากาศเย็นได้ และยังช่วยกระตุ้นให้มีการสร้างผลแบบพาร์ทีโนคาร์ปิค ฟรุ๊ท ในพืชบางชนิดได้ แต่อย่างไรก็ตามไซโตไคนินที่นำมาใช้ในแปลงเกษตรยังมีค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่ใช้ในงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
โดย: ฒ.ผู้เฒ่า [9 ก.พ. 53 12:47] ( IP A:117.47.238.149 X: )

ความคิดเห็นที่ 1



2.ออกซิน (Auxins)

ออกซิน หมายถึง กลุ่มของสารที่สามารถชักนำให้เกิดการยืดตัวของลำต้นได้ สารเหล่านี้อาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรืออาจเกิดจากการสังเคราะห์ก็ได้ นอกจากนี้แล้วสารที่เป็นออกซินจะต้องมีคุณสมบัติทางสรีรวิทยาเหมือนกับของ indole-3-acetic acid (IAA) ออกซินเป็นสารที่มีคุณสมบัติทางเคมีเป็นกรด โครงสร้างมีนิวเคลียสเป็น unsaturated ring สารเคมีบางชนิดสามารถต่อต้านหรือยับยั้งการทำงานของออกซินได้ ซึ่งเรียกสารเหล่านี้ว่าสารต่อต้านออกซิน (antiauxin)
 
***ออกซินมีทั้งที่พืชสร้างขึ้นได้เองตามธรรมชาติและสังเคราะห์ขึ้น ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชในหลายด้านด้วยกัน เช่น ควบคุมการขยายขนาดของเซลล์ การยืดตัวของเซลล์ กระตุ้นการแบ่งเซลล์ในเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่ระหว่างท่อน้ำและท่ออาหาร กระตุ้นการเกิดราก การเจริญของราก การเจริญในส่วนต่างๆ ของพืช มีอิทธิพลต่อการเจริญของตาข้าง ควบคุมการเจริญและชะลอการหลุดร่วงของใบ ส่งเสริมการออกดอก เปลี่ยนเพศดอก เพิ่มการติดผล ควบคุมการพัฒนาของผล ควบคุมการสุก แก่ และการ่วงหล่นของผล จะเห็นได้ว่ากระบวนการต่างๆ ในพืชนั้นออกซินมีส่วนในการควบคุมกระบวนการนั้น ๆ ด้วย ออกซินในปริมาณเพียงเล็กน้อยจะช่วยในการเจริญเติบโต แต่ถ้าความเข้มข้นสูงเกินไปจะยับยั้งการเจริญเติบโต การทำงานของออกซินจะขึ้นกับสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น แสง อุณหภูมิ แรงดึงดูดของโลก และอื่นๆ

*** สำหรับการเคลื่อนย้ายของออกซินในหลักการแล้วจะเคลื่อนย้ายในทิศทางจากส่วนยอดลงสู่ส่วนโคน สำหรับแหล่งสร้างออกซินธรรมชาติในพืชจะอยู่ในเนื้อเยื่อเจริญ เช่น บริเวณตายอด ยอดอ่อน ปลายราก ตา ผลอ่อน แคมเบียม รังไข่ ปมราก เป็นต้น ออกซินจะผลิตขึ้นได้มากในส่วนปลายก้านหรือส่วนที่กำลังเจริญ เมื่อผลิตได้แล้วก็จะเคลื่อนย้ายผ่านทางท่อน้ำและท่ออาหารทำให้เกิดมีการเจริญเติบโตทางส่วนยอดของพืช ตาข้างจะไม่แตกออกมาเพราะว่าปริมาณออกซินที่อยู่เหนือตาข้างจะยับยั้งการเจริญเติบโตของตาข้าง แต่ถ้ายับยั้งออกซินที่เคลื่อนที่ลงมาจากยอดได้หรือตัดยอดออกก็จะทำให้ออกซินที่อยู่เหนือตาข้างมีปริมาณเพียงเล็กน้อย และจะทำให้ตาข้างเจริญเติบโตขึ้นได้ ปรากฏการณ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลที่ว่าทำไมเมื่อเอายอดพืชออกจึงมีกิ่งข้างแตกขึ้น
ประเภทของออกซิน

***ออกซินมีอยู่ 2 ประเภทคือ ออกซินที่ผลิตขึ้นภายในพืชหรือออกซิน ธรรมชาติ และออกซินที่ได้จากการสังเคราะห์โดยกรรมวิธีทางเคมีหรือออกซินสังเคราะห์

***1. ออกซินธรรมชาติ มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่ที่พบมากคือ กรดอินโดล-3 อะซิติก (Indole-3-acetic acid (IAA)) ซึ่งเป็นออกซินที่พืชสร้างได้เองตามธรรมชาติจากกรดอะมิโนทริบโทเฟน (Tryptophan) ปริมาณ IAA ที่พบในพืชอยู่ระหว่าง 1-100 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักสด และ IAA ในพืชส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปที่ร่วมกับสารอื่นหรือเปลี่ยนอนุพันธ์ต่างๆ เมื่อพืชต้องการใช้สารเหล่านี้จะปลดปล่อยไอเอเอแก่พืชช้าๆ

***2. ออกซินสังเคราะห์ ออกซินที่นำมาใช้ประโยชน์ในทางการเกษตรในปัจจุบันเป็นออกซินสังเคราะห์ทั้งสิ้น ซึ่งมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น NAA, IBA, 2,4-D, 4-CPA, NAA mide ฯลฯ แต่ออกซิน สังเคราะห์ที่รู้จักกันดีและนิยมนำมาใช้มีดังนี้

-----2.1 เอ็นเอเอ (NAA:1-naphthyl acetic acid) เป็นสารที่ใช้กันค่อนข้างกว้างขวาง นิยมใช้กันมากในการขยายพันธุ์ไม้ผล เช่น การตอนกิ่ง การปักชำกิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกไม้ผลที่ออกรากยาก เช่น ทุเรียน มังคุด ละมุด เป็นต้น จะยิ่งจำเป็นต้องใช้สารตัวนี้ช่วยเสมอและยังใช้ในการติดตาและการทาบกิ่งด้วย หรือใช้เร่งตาที่ติดดีแล้วให้แตกเป็นกิ่งเร็วขึ้น เป็นต้น นอกจากนำมาใช้ในด้านการขยายพันธุ์แล้ว สาร NAA ยังใช้ปัองกันการร่วงของผลในพืชหลายชนิดและยังใช้กันมากอีกลักษณะหนึ่งคือการใช้สาร NAA เปลี่ยนเพศดอกของเงาะ

.......สาร NAA เป็นสารที่มีราคาค่อนข้างต่ำ ถ้าเป็นสารบริสุทธิ์จะเป็นผลึกสีขาว ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ แต่ละลายได้น้อยมากในน้ำหรืออาจเรียกได้ว่าไม่ละลายน้ำ สารเอ็นเอเอที่นำมาใช้ทางการเกษตรมักจะอยู่ในรูปเกลือโซเดียมซึ่งสามารถละลายน้ำได้ดี

*** 2.2 ไอบีเอ (IBA:4-(indol-3-yl)butryric acid) เป็นสารที่เหมาะสมที่สุดในการเร่งรากพืช แต่ไอบีเอเป็นพิษต่อใบพืช ดังนั้นจึงไม่อาจใช้ประโยชน์จาก IBA ในแง่อื่นได้นอกจากการเร่งรากกิ่งปักชำหรือกิ่งตอนเท่านั้น ซึ่งจะได้รากจำนวนมากและรากแข็งแรงสมบูรณ์กว่าการขยายพันธุ์แบบไม่ใช้สาร ลักษณะของ IBA ถ้าเป็นสารบริสุทธิ์จะเป็นผลึกสีขาว ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์แต่ไม่ละลายน้ำ เมื่อ IBA อยู่ในรูปสารละลายจะมีการสลายตัวได้เร็วมาก ดังนั้นสารที่ผลิตขึ้นเป็นการค้าจึงมักผสมให้อยู่ในรูปผง

*** 2.3 ทู,โฟ-ดี (2,4-D:2,4-dichlorophenoxy acetic acid) ส่วนใหญ่นำมาใช้ในรูปของสารกำจัดวัชพืช เนื่องจากสารนี้แสดงฤทธิ์ของออกซินสูงมาก
โดย: ฒ.ผู้เฒ่า [9 ก.พ. 53 12:4] ( IP A:117.47.238.149 X: )

ดังนั้นเมื่อใช้ในความเข้มข้นสูงๆ จึงสามารถฆ่าพืชได้ ส่วนประโยชน์ในด้านอื่นๆ ยังไม่มีมากนัก เช่น ใช้ในความเข้มข้นต่ำๆ กับมะนาวและส้มบางชนิดเพื่อป้องกันผลร่วงก่อนเก็บผล เป็นต้น สารนี้ถ้าเป็นสารน้ำ ยกเว้นสารที่อยู่ในรูปเกลือ 2,4-D ที่ผลิตขึ้นมาใช้เป็นยากำจัดวัชพืชภายใต้ชื่อการค้าต่างๆ กันมากมาย การใช้จะต้องระมัดระวังพอสมควรเพราะเป็นสารที่มีพิษระดับปานกลาง

ประโยชน์ของออกซิน
ออกซินชนิดแรกที่ค้นพบคือ IAA ซึ่งเป็นสารที่พืชสร้างขึ้นเอง โดยมีคุณสมบัติเป็นสารเร่งการเจริญเติบโต มีผลกระตุ้นการขยายขนาดของเซลล์ การยืดตัวของเซลล์ และยังมีผลกระตุ้นการเกิดราก การเจริญเติบโตในส่วนต่างๆ ของพืชอีกด้วย เนื่องจากกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพืชนั้นออกซินมีส่วนในการควบคุมกระบวนการนั้นๆ ด้วย จึงทำให้มีการผลิตสารสังเคราะห์ต่างๆ ที่มีคุณสมบัติคล้ายออกซินเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร สารที่ผลิตขึ้นนี้เรียกว่า ออกซินสังเคราะห์ ซึ่งมีประโยชน์ทางการเกษตรในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ควบคุมการเกิดราก ออกซินเป็นสารที่กระตุ้นให้ลำต้นและกิ่งออกรากได้ง่ายขึ้น การที่ออกซินควบคุมการเกิดรากจะช่วยให้การเติบโตของลำต้นและรากสมดุลกัน ออกซินจากลำต้นช่วยเพิ่มจำนวนรากแขนง ออกซินจากใบและตาของกิ่งช่วยให้กิ่งที่ถูกตัดออกรากเร็วและจำนวนมาก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เมล็ด ปัจจุบันจึงนิยมใช้สารออกซินสังเคราะห์เพื่อช่วยเร่งรากของกิ่งปักชำและกิ่งตอนกันอย่างแพร่หลาย
 
IBA เป็นสารที่มีฤทธิ์ของออกซินค่อนข้างต่ำ เคลื่อนย้ายได้ช้า สลายตัวได้เร็วพอประมาณ ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ของ IBA จึงเหมาะสมที่สุดที่จะใช้เร่งการเกิดราก ส่วน NAA เป็นสารที่มีฤทธิ์ของออกซินสูงกว่า เคลื่อนย้ายภายในลำต้นพืชได้ดี และสลายตัวได้ช้ากว่า จึงมีโอกาสเป็นพิษต่อกิ่งพืชได้มากกว่าการใช้ IBA แต่ถ้าใช้ NAA ในความเข้มข้นที่เหมาะสมก็จะมีผลเร่งการเกิดรากได้ดีเช่นกัน สำหรับสารพวก 2,4-D และ 4-CPA เป็นสารที่มีฤทธิ์ของออกซินสูง ถ้าใช้ในความเข้มข้นสูงจะมีผลทำให้รากที่งอกมีลักษณะผิดปกติ รากสั้นหนา และรากเกิดเป็นกระจุกหรืออาจทำให้พืชตายได้

2. ควบคุมการเจริญเติบโตของตาข้างและกิ่ง บริเวณยอดอ่อนจะเป็นแหล่งผลิตออกซินที่สำคัญ โดยยอดอ่อนจะผลิตออกซินแล้วส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช การเคลื่อนที่ของออกซินลงมาข้างล่างจะมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของตาข้าง โดยตาข้างจะไม่สามารถเจริญได้อย่างเต็มที่ตราบใดที่ตาข้างยังได้รับออกซินจากยอดอยู่ แต่ถ้าตัดส่วนยดทิ้งไปตาข้างซึ่งอยู่ส่วนล่างจะสามารถเจริญขึ้นมาได้ ซึ่งปรากฏการณ์ที่ออกซินจากส่วนยอดสามารถควบคุมการเจริญเติบโตของตาข้างได้นี้เรียกว่า เอปิคัล ดอมิแนนซ์ (Apical dominance)
 
****ออกซินนอกจากจะสามารถควบคุมการเจริญเติบโตของตาข้างแล้วยังสามารถควบคุมการทำมุมของกิ่งกับลำต้นด้วย โดยจะสังเกตได้ว่ากิ่งที่อยู่ใกล้ยอดจะทำมุมแคบกับลำต้น แต่ถ้าตัดยอดทิ้งไปมุมของกิ่งกับลำต้นจะมีขนาดกว้างขึ้น

3. เร่งการเจริญเติบโตของพืช โดยปกติออกซินสามารถเร่งการเจริญเติบโตในแทบทุกส่วนของพืช แต่ในแต่ละส่วนของพืชจะมีการตอบสนองต่อออกซินในปริมาณที่เท่ากันแตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปแล้วความเข้มข้นของออกซินที่พอเหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของลำต้นจะสูงกว่าความเข้มข้นที่ใช้ในการควบคุมการเจริญของตาและของราก พืชแต่ละชนิดต้องการความเข้มข้นของออกซินเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตามหากพืชได้รับออกซินในปริมาณที่มากเกินไปก็จะมีผลทำให้การเจริญเติบโตของส่วนนั้นๆ ถูกยับยั้งได้เช่นกัน

4. เร่งการเกิดดอกของพืชบางชนิด สำหรับผลของออกซินที่มีต่อการเกิดดอกของพืชนั้นยังไม่มีหลักฐานเด่นชัด เคยได้มีการทดลองผลของออกซินต่อการเกิดดอกของสับปะรดได้ แต่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าการใช้ถ่านแก๊ส (แคลเซียมคาร์ไบด์) แต่อย่างไรก็ตามการเกิดดอกของสับปะรดเชื่อกันว่าไม่ได้เกิดจากผลของ NAA หรือ IBA โดยตรง แต่เป็นผลทางอ้อมที่สารดังกล่าวไปกระตุ้นให้ต้นสับปะรดสร้างเอทธิลีนขึ้นมา และเอทธิลีนจะเป็นตัวกระตุ้นทำให้ต้นสับปะรดออกดอกได้

5. เปลี่ยนเพศดอก พืชหลายชนิดที่มีดกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละดอกหรือคนละต้นกัน หรือมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในช่อเดียวกันในอัตราส่วนที่แตกต่างกันไป ซึ่งอัตราส่วนของเพศดอกนี้มีความสำคัญมากเพราะจะเกี่ยวข้องกับผลผลิตหรือการติดผล ในกรณีที่มีดอกตัวเมียน้อยเกินไปโอกาสติดผลก็น้อย หรือในช่อดอกมีเฉพาะดอกตัวเมียและไม่มีดอกตัวผู้อยู่เลยก็จะไม่มีละอองเกสรตัวผู้มาผสมกับดอกตัวเมียที่มีอยู่ จึงไม่อาจติดผลได้
***กรณีดังกล่าวนี้พบในเงาะซึ่งต้นเงาะแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ ต้นตัวผู้ซึ่งมีเฉพาะดอกตัวผู้และไม่ให้ผลผลิตกับต้นตัวเมียซึ่งมีเฉพาะดอกกะเทยที่เกสรตัวผู้ไม่ทำงานจึงทำหน้าที่เป็นดอกตัวเมียเท่านั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นคือชาวสวน....
สวนมักตัดต้นตัวผู้ทิ้งเนื่องจากไม่ให้ผลผลิต จึงเหลือแต่ต้นตัวเมียซึ่งไม่มีเกสรตัวผู้มาผสมทำให้ไม่สามารถพัฒนาไปเป็นผลได้ การใช้สาร NAA พ่นที่ช่อดอกบางส่วนของต้นตัวเมียในระยะดอกตูมมีผลทำให้ดอกเงาะที่ได้รับสารกลายเป็นดอกตัวผู้ได้ และปลดปล่อยละอองเกสรตัวผู้มาผสมกับดอกตัวเมียที่อยู่ข้างเคียงทำให้ติดผลได้

6. การผลิตผลไม้ไม่มีเมล็ด พืชบางชนิดสามารถที่จะผลิตผลไม้ที่ไม่มีเมล็ดได้เองตามธรรมชาติ เช่น สับปะรด กล้วย มะเขือเทศ การเกิดผลไม้ไม่มีเมล็ดนั้นอาจจะเนื่องจากไม่มีการถ่ายละอองเกสรหรือมีการถ่ายละอองเกสรแต่ไม่มีการปฏิสนธิ หรืออาจมีการปฏิสนธิแต่เอมบริโอแท้งไปก่อนท่ผลจะเจริญเต็มที่ ส่วนใหญ่แล้วพันธุ์พืชที่สามารถผลิตผลไม้ไม่มีเมล็ดนั้นรังไข่มักจะมีออกซินปริมาณมากกว่าพันธุ์ที่มีเมล็ด ดังนั้นการให้ออกซินแก่ดอกที่ไม่ได้รับการถ่ายละอองจึงสามารถผลิตผลไม้ไม่มีเมล็ดได้ แต่การให้ออกซินเพียงไม่กี่ครั้งอาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ผลเจริญเติบโตเต็มที่เหมือนกับผลที่เกิดจากการถ่ายละอองและ/หรือปฏิสนธิ เพราะรังไข่ได้รับออกซินไม่ต่อเนื่อง

7. เพิ่มการติดผล ออกซินสามารถช่วยให้พืชบางชนิดติดผลได้ดีขึ้น เช่น การใช้ NAA กับพริก การใช้ 4-CPA กับมะเขือเทศ เป็นต้น แต่ออกซินไม่สามารถช่วยเพิ่มการติดผลในพืชอีกหลายชนิด เช่น มะม่วง เป็นต้น และเป็นที่น่าสังเกตว่าสารออกซินสามารถเพิ่มการติดผลได้เฉพาะในพืชที่มีเมล็ดมากเท่านั้น แต่พืชที่มีเมล็ดเดียวหรือพืชอื่นๆ ส่วนมากมักจะไม่ตอบสนองต่อออกซินในแง่การติดผล

8. ควบคุมการร่วงของใบ ดอก และผล เมื่อพืชมีอายุมากขึ้น ใบ ดอกและผลที่แก่เต็มที่จะเกิดการร่วงขึ้นการร่วงนี้จะเกี่ยวข้องกับออกซิน และการเกิดชั้นแอบซิสชั่น (Abscission layer) ก่อนที่ใบดอกและผลจะร่วงนั้น ตรงบริเวณใกล้ๆ กับโคนก้านอวัยวะเหล่านี้จะมีการแบ่งเซลล์อย่างรวดเร็วทำให้เกิดชั้นพิเศษขึ้นหลายชั้น เรียกว่าชั้นแอบซิสชั่น ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเซลล์พาเรงคิมาที่เกาะกันอย่างหลวมๆ ทำให้บริเวณดังกล่าวไม่แข็งแรง หลุดแยกง่าย ออกซินที่ถูกสร้างขึ้นจากปลายยอดหรือปลายกิ่งจะเคลื่อนที่ลงมายังส่วนต่อระหว่างใบ ดอก และผลกับลำต้น แล้วยับยั้งการสร้างชั้นแอบซิสชั่นในบริเวณส่วนต่อดังกล่าว เป็นผลทำให้ใบดอกและผลไม่ร่วง ในขณะเดียวกันถ้าออกซินที่เคลื่อนย้ายลงมายังส่วนต่อดังกล่าวมีปริมาณเพียงเล็กน้อย จะมีผลไปกระตุ้นให้มีการสร้างชั้นแอบซิสชั่นขึ้น ทำให้ใบดอกและผลร่วงจากต้นได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ในปัจจุบันเกษตรกรนิยมใช้ NAA หรือ 2,4-D กับไม้ผลบางชนิด เช่น มะม่วง ส้ม องุ่น ลางสาด เพื่อป้องกันผลร่วงก่อนการเก็บเกี่ยว

9. เป็นสารกำจัดวัชพืช สารเคมีกำจัดวัชพืชที่สำคัญหลายชนิดมีคุณสมบัติเป็นฮอร์โมน สำหรับฮอร์โมนที่สามารถใช้ทำลายวัชพืชได้นั้นเป็นสารในกลุ่มออกซินสังเคราะห์ เพราะออกซินทุกชนิดถ้าใช้ความเข้มข้นสูงจะมีผลไปยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชทำให้พืชตายได้ จึงมีการนำสารออกซินสังเคราะห์มาใช้เป็นยากำจัดวัชพืชกันอย่างกว้างขวาง สารที่นิยมใช้คือ 2,4-D และ 4-CPA
โดย: ฒ.ผู้เฒ่า [9 ก.พ. 53 12:50] ( IP A:117.47.238.149 X: )

ความคิดเห็นที่ 5

3.Bioactivator

Bioactivator คืออะไร ?
Bioactivator คือ เครื่องมือที่มีการออกฤทธ์ (ปฏิกริยา) ทางชีวภาพอย่างหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดการย่อยสลายหรือการเน่าเปื่อยของขยะมูลฝอยได้ เป็นการพัฒนามาจากกระบวนการคัดแยกทางวิทยาศาสตร์ และ การคัดเลือกในห้องปฏิบัติการ

ประสิทธิผลของ Bioactivator
Bioactivator ประกอบด้วย จุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยเซลลูโลส (i.e. สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมากที่อาศัยใน เซลลูโลส) มักพบอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันไปตามสถานที่ต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย. จุลินทรีย์เหล่านี้ จะถูกเลือกมาทำการศึกษาถึงการกระทำ (ปฏิกริยา) ต่อเซลลูโลส และความสามารถที่จะทำให้เกิดการเน่าเปื่อยของขยะทางการเกษตร (ตารางที่ 1) ได้มีการทดสอบความสามารถต่อการควบคุมและการใช้ คาร์โบโฮเดรทในอินทรีย์สาร. Bioactivator ถูกกำหนดให้เป็นเหมือนตัวช่วยในการหลอม หรือการทำให้เน่าเปื่อยที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับฟางสด ๆ หรือขยะอื่นๆ ในไร่ มันสามารถทำให้เกิดกระบวนการเน่าเปื่อยได้เร็วขึ้นใน 1 เดือน ทันทีที่เกิดการเน่าเปื่อย สารอินทรีย์จะช่วยเพิ่มระดับของอินทรีย์วัตถุในดิน เพื่อที่จะรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้ ในขณะเดียวกันก็ลดความต้องการการใช้ปุ๋ยเคมีด้วย ข้อดีของ bioreactor มีดังนี้ :

•สามารถนำไปปรับใช้ได้สูงและสามารถใช้ได้ในฟาร์มส่วนใหญ่
•ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม

ความเป็นไปได้ของการนำไปใช้
ในการทดสอบได้มีการทดสอบจากหลาย ๆ ส่วนของอินโดนีเซีย bioactivator ได้แสดงให้เห็นถึงการบรรลุผลสำเร็จที่ดี ยิ่งไปกว่านั้น bioactivatorมีการใช้วัตถุดิบที่มีราคาถูกและที่มีอยู่มากมาย ข้อดีอื่น ๆ ของ bioactivator คือ
•กระบวนการผลิตง่าย และ ผลลัพธ์ที่ได้เป็นผลิตผลที่มีคุณภาพ
•Bioactivator ดูเหมือนจะมีศักยภาพทางการการตลาดที่ดี

การทดสอบ bioactivator
ได้ทำการทดสอบกับฟางข้าวมีการแสดงให้เห็นโดยการย่อยสลายของฟางข้าวสดกับ bioactivator C/N ratio สามารถลดจำนวนจาก 45 ลงมาที่ประมาณ 15 ภายในเวลาเพียง 2 สัปดาห์ มีความใกล้เคียงกับ C/N ratio ของ mature compost (ปุ๋ยผสม ?) ที่ทำจากฟางข้าว การทำให้ฟางเน่าเปื่อยได้มีการนำกลับคืนมาสู่วงการนาข้าวและกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกพืชครั้งต่อไป การใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ผสมกับ N/ha 5.5 kg. การเน่าเปื่อยของฟางนี้สามารถให้ผลิตข้าวได้มากกว่า 6 mt/ha

การทำงานของ bioactivator
จุลินทรีย์เซลลูโลส ใน bioactivator ใช้ เซลลูโลสในขยะทางการเกษตรเป็นแหล่งพลังงาน ในแนวทางนี้ เซลลูโลสในเนื้อเยื่อพืชถูกทำให้เน่าเปื่อยไปเป็นคาร์โบไฮเดรท ที่สามารถเกิดขี้นได้ง่าย ๆ จากพืช

วิธีการใช้ bioactivator
•ผสม bioactivator 1 kg กับ รำข้าว 10 kg และ ทิ้งส่วนผสมหมักไว้ 1 สัปดาห์ นี้ก็เพียงพอแล้วต่อการทำกับฟางข้าว 1 mt
•ใช้ส่วนผสมกับฟางข้าว ที่ได้มีการแช่น้ำไว้แล้ว
•ปล่อยฟางข้าวที่ทำแล้วไว้ในที่ร่มประมาณ 1 เดือน กลับด้านฟางข้าวทุก ๆ สัปดาห์
•หลังจาก 1 เดือน ฟางข้าวที่ทำแล้วนี้สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ปรับดินทางการเกษตรได้

ข้อควรระวัง
Bioactivator สามารถทำงานได้ดีในเขตร้อน หรือ ในช่วงที่ฤดูร้อน ไม่สามารถทำงานได้ดีใน อุณหภูมิต่ำซึ่งจะทำให้กระบวนการการเน่าเปื่อยช้าลง

ธาตุไนโตรเจน
ธาตุไนโตรเจนปกติจะมีอยู่ในอากาศในรูปของก๊าซไนโตรเจนเป็นจำนวนมาก แต่ไนโตรเจนในอากาศในรูปของก๊าซนั้น พืชนำเอาไปใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ (ยกเว้นพืชตระ *** ลถั่วเท่านั้นที่มีระบบรากพิเศษสามารถแปรรูปก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเอามาใช้ประโยชน์ได้) ธาตุไนโตรเจนที่พืชทั่วๆ ไปดึงดูดขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้นั้น จะต้องอยู่ในรูปของอนุมูลของสารประกอบ เช่น แอมโมเนียมไอออน (NH(,4)('+)) และไนเทรตไอออน (No(,3)('-)) ธาตุไนโตรเจนในดินที่อยู่ในรูปเหล่านี้จะมาจากการสลายตัวของสารอินทรียวัตถุในดิน โดยจุลินทรีย์ในดินจะเป็นผู้ปลดปล่อยให้ นอกจากนั้นก็ได้มาจากการที่เราใส่ปุ๋ยเคมีลงไปในดินด้วย พืชเมื่อขาดไนโตรเจนจะแคระแกร็น โตช้า ใบเหลือง โดยเฉพาะใบล่างๆ จะแห้ง ร่วงหล่นเร็วทำให้แลดูต้นโกร๋น การออกดอกออกผลจะช้าและไม่ค่อยสมบูรณ์นัก ดินโดยทั่วๆ ไปมักจะมีไนโตรเจนไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช ดังนั้นเวลาปลูกพืชจึงควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมีเพิ่มเติมให้กับพืชด้วย

ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุฟอสฟอรัสในดินมีกำเนิดมาจากการสลายตัวผุพังของแร่บางชนิดในดิน การสลายตัวของสารอินทรียวัตถุในดินก็จะสามารถปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชที่ปลูกได้เช่นเดียวกับ wbr>wbr> ดังนั้น การใช้ปุ๋ยคอกนอกจากจะได้ธาตุไนโตรเจนแล้วก็ยังได้ฟอสฟอรัสอีกด้วย ธาตุฟอสฟอรัสในดินที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้จะต้องอยู่ในรูปของอนุมูลของสารประกอบที่เรียกว่า ฟอสเฟตไอออน (H(,2)PO(,4)('-)
โดย: [0 3] ( IP )

ความคิดเห็นที่ 6
   
และ HPO(,4)('-)) ซึ่งจะต้องละลายอยู่ในน้ำในดิน สารประกอบของฟอสฟอรัสในดินมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ละลายน้ำยาก

ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโพแทสเซียมในดินที่พืชนำเอาไปใช้เป็นประโยชน์ได้ มีกำเนิดมาจากการสลายตัวของหินและแร่มากมายหลายชนิดในดิน โพแทสเซียมที่อยู่ในรูปอนุมูลบวก หรือโพแทสเซียมไอออน (K('+)) เท่านั้นที่พืชจะดึงดูดไปใช้เป็นประโยชน์ได้ ถ้าธาตุโพแทสเซียมยังคงอยู่ในรูปของสารประกอบยังไม่แตกตัวออกมาเป็นอนุมูลบวก (K('+)) พืชก็ยังดึงดูด ไปใช้เป็นประโยชน์อะไรไม่ได้ อนุมูลโพแทสเซียมในดินอาจจะอยู่ในน้ำในดิน หรือดูดยึดอยู่ที่พื้นผิวของอนุภาคดินเหนียวก็ได้ เนื่องจากเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า ธาตุไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ดินมักจะมีไม่พอ ประกอบกับพืชดึงดูดจากดินขึ้นมาใช้แต่ละครั้งเป็นปริมาณมาก จึงทำให้ดินสูญเสีย ธาตุเหล่านี้ หรือที่เรียกว่าเสียปุ๋ยในดินไปมาก ซึ่งเป็นผลทำให้ดินที่เราเรียกว่า "ดินจืด" เพื่อเป็นการปรับปรุงระดับธาตุอาหารพืช N P และ K ที่สูญเสียไป เราจึงต้องใช้ปุ๋ย


เนื่องจากผมมีชวนชมต่อไทยที่พึ่งได้มาสามสิบต้น ซึ่งตอนนี้ผมปลูกแบบไม่ได้กลบดินตอไทยมีลักษณ์โขดใหญ่และลำต้นใหญ่มีน้ำหนักมาก อายุไม้ยี่สิบกว่าปี โขดไม้รากพันกันหนาแน่นมาก เนื่องจากพบการเน่าของรากไม้อยู่เรื่อยๆมีทั้งรากเล็กรากใหญ่ ถ้าพบก็จะตัดเอาปูนทา บ้างก็เจอรากเป็นโพงโดยลักษณ์ว่ามีอาการเน่ามาก่อนหน้านี้แต่อาการที่เน่าหยุดเน่าเอง โดยที่ไม่ได้รักษาอะไร เรื่องของเรื่องมันอยู่ที่ว่าผมไม่ค่อยมีเวลาไปดูแล คนสวนก็อายุมากไม่ค่อยรู้เรื่องบอกอย่างทำอย่าง รดน้ำเป็นอย่างเดียว จะยกขึ้นแขวนขูดเนื้อร้ายออกและทาปูนอย่างที่พี่ๆแนะนำก็ลำบากมากครับ มีวิธีไหนช่วยได้อีกไหมครับ มียาอะไรที่รากเน่าอยู่ใช้แล้วรากหยุดเน่าบ้างไหมครับ ขอคำแนะนำจากพี่ๆสมาชิกด้วยครับ
ถ้ายังไม่แน่ใจแนะนำให้ใช้ เมทาแลคซิล ผสมกับ แมนโคเซบ  2 แรงแข็งขันออกฤทธิ์เสริมกันก็ใช้ได้(พวกนี้เป็นชื่อสามัญ) เช่น ชื่อสามัญ เมตาแลคซิล - ชื่อทางการค้า เมลานีน  ชื่อสามัญ เมตาแลคซิล - ชื่อทางการค้า เมตาโกล   ชื่อสามัญ แมนโคเซบ - ชื่อทางการค้า ไมลิน  แต่ที่บ้านผมใช้ตัวนี้ก่อนเสมอๆคือ  ชื่อสามัญ ควินโทซีน + อีทริโดอะโซล - ชื่อทางการค้า เทอร์ราคลอร์ ซุปเปอร์เอ็กซ์ ของบริษัท โซตัส แต่ผมเคยเห็นเวลาคนที่สอนผมเสียบกิ่งเขาก็ใช้

ชื่อสามัญ แคปแทน ชื่อทางการค้า ผมจำไม่ได้ถ้าดินมันไม่ดีการใส่ยาก็เป็นการแก้ที่ปลายเหตุการรดน้ำมากก็ยิ่งเร่งให้มันเน่าไวขึ้นถ้ามีเวลาก็คงต้องรีบเปลี่ยนดิน แล้วยกไม้มาวางบนพื้นที่แห้งถ้าหาที่แขวนยากหรือวางในกระถางเปล่าก็คงช่วยได้ วางในที่ร่มนะครับแล้วรดยาฆ่าเชื้อราที่บอก ทาปูนแดงแผลที่เราขูดออกก็น่าจะดีขึ้นนะ ให้หายสนิทก็เอาลงดินใหม่ บางคนก็ใช้ ไตรโคเดอร์ม่าTrichoderma (เป็นเชื้อราชั้นสูงที่เจริญได้ดีในดิน แข่งขันกับเชื้อโรคพืชบางสายพันธุ์สามารถสร้างสารปฏิชีวนะออกมาเพื่อยับยั้งหรือทำลายเส้นใยของเชื้อโรค)ในการผสมลงในดินปลูกด้วยมีขายชื่สามัญบางคนก็เรียกว่า ไตรซาน ผมอ่านเจอบ่อยๆ เราก็ใช้ควบคู่กับการใช้สารเคมีที่แนะนำไปข้างต้น คือ ถ้าใช้ก็ใช้ทีละอย่างเช่นเมื่อใช้ สารเคมีเมทาแลคซิล ถ้าจะใช้ไตรโคเดอร์ม่าTrichoderma ก็ต้องเว้นสัก 2 อาทิตย์จะดีกว่า สารชีวภัณท์ พวกนี้เจริญได้ดีในดินและมีสปอณ์เจริญต่อได้เองแต่ถ้าโดนสารเคมี


ยาวิเศษแทนหรือร่วมกับ B1(ทัมใจ)
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณพี่น้องทุกท่านที่สละเวลาเข้ามาอ่านนะครับและผมยินดีมากๆเลยครับที่พวกเราจะนำความรู้จากที่ต่างๆมาแลกเปลี่ยนและนำไปเผยแพร่รวมถึงนำไปใช้และพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นไปครับ

ผมขออนุญาตแปลตามความเข้าใจและเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันเป็นย่อหน้าตามผู้เขียนดังนี้นะครับ

1.ผู้เขียนเขาพบว่ามีไม้ชนิดหนึ่งชื่อ WILLOW นำมาแช่นำแล้วสามารถงอกรากได้ในหลายๆสัปดาห์ต่อมาซึ่งไม่ต้องใช้ hormone มากระตุ้น จึงได้ทดลองนำน้ำที่เหลือจากการแช่มารด ทา พ่น ไม้ชนิดอื่น เพื่อดูผลในการกระตุ้นการงอกรากที่แข็งแรงและผลทางการลดความเครียดของไม้ครับ

2.ทฤษฎีสนับสนุน
aspirin เป็นยาต้านการอักเสบกลุ่ม NSAID ที่รู้จักกันในบ้านเราคือยา ทัมใจ ปวดหาย นั่นเองครับ ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับพืชมานานแล้วครับ เช่น ละลายกับน้ำแล้วนำดอกไม้ที่ตัดมาแช่เพื่อชะลอความเ *** ่ยว(อันนี้ผมก็เพิ่งรู้ครับ น่าจะเอามาใช้กับคนบ้างใช่ไหมครับพี่น้องครับ...แฮะๆ) แต่ที่ใช้กับคนจริงๆคือแก้ปวดเพราะมันยับยั้งการสร้างสารที่กระตุ้นความเจ็บปวดและอักเสบของเซลที่บาดเจ็บ ที่สำคัญคือมันมีฤทธิ์ยับยั้งการแข็งตัวของเลือดจึงถูกนำมาใช้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันครับ จากการศึกษาพบว่า aspirin มีผลกับพืชคล้ายกับในมนุษย์จึงป้องกันการแข็งตัวของสารน้ำในบริเวณที่ถูกตัดทำให้เซลได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่เพื่อใช้ในการซ่อมแซมตัวเอง
aspirin มีส่วนประหลักคื
โดย: [0 3] ( IP )

ความคิดเห็นที่ 7
   อ salicylic acid ซึ่งพบมากในเปลือกของ Willow เช่นกัน และมีหลักฐานว่า salicylic acid เป็นสารที่สามารถต้านฤทธิ์ของ Abscisic Acid ซึ่งมันเป็นสารที่พืชสร้างเมื่อมีความเครียด เช่นกรณีเกิดบาดแผลหรือเป็นโรคซึ่งพบว่ามันจะทำให้บาดหายเร็วขึ้นและลดพื้นที่ของการบาดเจ็บ(โอ้โหผมขอบอกว่ามันมีลักษณะกลไกต่างๆคล้ายในมนุษย์มากเลยครับ)(พอดีอยู่เวรครับมีคนไข้ด่วนเดี๋ยวกลับมาลุยต่อครับตอนนี้ขออนุญาตไปดูคนไข้ก่อนนะครับ)

3. ผู้เขียนบรรยายถึงวิธีการทดลองและผลของการทดลองผมขออนูญาตสรุปบบคร่าวๆครับเพราะผลลัพท์ออกมาเป็นในแนวทางเดียวกันทั้งในแง่ของการสร้างรากและการลดความเครียดของต้นไม้ ยกตัวอย่างเช่น การเปรียบเทียบระหว่างต้นไม้ที่ต้นไม้ที่ขุดมาจากป่าเหมือนกันโดยได้ผลว่ากลุ่มที่รดด้วยน้ำที่แช่ Willow มีอัตราการรอดสูงกว่าและดูแข็งแรงกว่ามาก นอกจากนี้เขายังทำการทดลองตลอด 6 ปีที่ผ่านมาโดยการพ่นำชนิดนี้ในฤดูร้อนให้กับไม้ที่เลี้ยงไว้แล้วเก็บสถิติได้ผลว่ามีการงอกราก 100%และที่ละเอียดยิ่งกว่านั้นคือโดยเฉลี่ยจะได้กิ่ง 1 กิ่ง ภายใน 5 สัปดาห์ ที่ผมกล่าวมาเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้นครับ โดยสรุปคือการทดลองเป็นไปตามทฤษฎีและสมมติฐานที่ตั้งไว้ครับ

4. ย่อหน้านี้เป็นย่อหน้าที่สำคัญมากครับ คือจากการทดลองนั้นเขาใช้น้ำจาก willow แต่หากเรานำ Salicylic acid หรือยาทัมใจมาละลายน้ำแล้วจะพบว่าหากมีความเข้มข้นมากเกินจะทำให้น้ำนั้นมีสภาพเป็นกรดสูงมาก pH of 2.4 ซึ่งจะเป็นอันตรายแก่ต้นไม้ซึ่งต่างจากการนำwillow มาแช่น้ำซึ่งเขาคงจะทำการทดลองต่อไปว่ามีสารตัวใดในเนื้อไม้ที่ทำให้ค่าความเป็นกรดด่างของนำไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ซึ่งตรงจุดนี้ผมเองก็กำลังทดลองหาส่วนผสมของยา aspirin กับน้ำที่ลงตัวที่จะทำให้ได้ผลดีต่อไม้ดังที่กล่าวมาและค่าความเป็นกรดด่างที่เหมาะสมกับต้นไม้(pH of 5.5-7.5)โดยใช้กระดาษลิสมัสท์อยู่ครับ(แอบต่อยอด...อิอิ)

5. บทสรุปผู้เขียนบอกว่าแม้จากการทดลองที่ทำมาทั้งหมดอาจจะยังสรุปได้ไม่ชัดเจนนักว่า aspirin มีประโยชน์แบเต็มๆแต่จากแนวโน้มในการทดลองที่เกิดขึ้นจริงและทฤษฎีที่นำมาใช้อธิบายชี้นำไปในทางนั้นครับ

ยาฆ่าแมลงไรแดง
ใช้โอไมท์ ดีที่สุดครับ ลองมาหลายยี่ห้อแล้วตัวนี้ดีสุด ทนสุด ผสมอัตราส่วน ฝาต่อน้ำ 5 ลิตร ฉีด 1 ครั้ง แล้วอีก 3 วันฉีดอีกครั้ง อยู่ได้ สองถึงสามเดือนครับ

มวนแดง
เจาะฝัก ใช้ สตาร์เกิล ของบริษัท โซตัสครับ โลตัสก็มีขาย แรงทน ใช้ต้นมวนแดงระบาดไม่ทำลายดอกครับ

สำหรับหนอนกับ เพลี้ยผมไม่ใช้ยาฆ่าครับ แต่ใช้ไคโตซานป้องกันครับ

ยาป้องกันโคนเน่า
ผมเรียกมันว่าผงชูรส คือ ไตรโครเดอร์ม่า ผงครับ ผมจะใส่โรยดินก่อนปลูก ประมาณ 1 ช้อนชาทุกกระถางครับ ไม่มีปัญหาเน่าลามขึ้นมาจากดินรบกวนเลยตลอดฤดูฝนครับ แล้วผมก็ใช้ อีเอ็ม 1:1:20 em/กากน้ำตาล/น้ำทิ้งไว้สองคืน หมักไว้ 7 วันเป็นหัวเชื้อ ผสมกับน้ำเปล่า 1 ฝา ต่อ น้ำ 5 ลิตรรดทุกอาทิตย์หรือเมื่อขยันครับ ไม้สมบูรณ์แข็งแรงดีครับ ตอนนี้ลองยาด้วยคือ เมตาแลคซิล และ โพลิอาร์ฟอส แต่ไม่ทราบเป็นยังไงครับ เพราะหน้าฝนนี้ก็ใช้แค่ที่บอกแต่ไม่มีเน่าเลยครับ มีเน่าก็เป็นการเน่าจากกลางลำต้นก็เลยใช้ ยามาช่วยครับ

ปุ๋ย
ที่เห็นผลดีที่สุด คุ้มค่าที่สุดก็ ปุ๋ยละลายช้า รองก้นหลุมและ ปุ๋ยขี้ไก่ บริเวณผิวดินครับ ดีที่สุด เติมด้วย ปุ๋ยทางใบ เดิมผมใช้คู่มหัศจรรย์ แต่ราคาค่อนข้างสูง เลยเปลี่ยนมาใช้ ยี่ห้อปูเพชร ขวดเขียวของบริษัท ไพทูรย์สะพลี 500 ml 150 บาท ผมว่าคุณภาพเทียบเท่ากันครับ แต่ถูกกว่าเยอะครับ ตัวนี้จะผสมไคโตรซาน ด้วย ทำให้ต้นไม้มีภูมิคุ้มกัน พวกเพลี้ยอ่อนและเพลี้ยแป้ง รวมทั้งหนอนแก้วด้วยครับ (แต่ไม่ทั้งหมด คอยเอามีอบี้เอาบ้างครับ) ใช้ดีเป็นมิตรกับจมูกด้วยครับ หอมแบบปุ๋ยๆ ดีครับ

ชวนชมชอบดินโปร่ง รดน้ำพอประมาณ ไม่บ่อยจนแฉะ และแดดใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 หรือ 8-24-24 ก็ได้ ถ้าตามครูก็วันหวยรัฐบาลออกน่ะ

ช่วงนี้เพิ่งหมดฤดูฝนไม้อาจยังไม่ฟื้นตัว ใบร่วง แต่ใจเย็นค่ะเดี๋ยวก็ออกดอกถ้ากิ่งยาวก็ตัดทดแต่งให้ทรงสวยได้นะคะแนะนำเล็กน้อยค่ะอาจพอช่วยได้ ให้ครูแนะนำเพิ่มการซื้อไม้จากร้านบางที่เขาอัดปุ๋ยเร่งดอกมาเพื่อการขายโดยเฉพาะ พอหมดยาโด๊ป คือ ปุ๋ยก็จะโทรมครับ ต้องปล่อยสักระยะให้เขาลืมปุ๋ย ปรับสภาพให้ตรงกับของเรา ลองตัดแต่งกิ่งให้เขาแตกกิ่งใหม่ เปลี่ยนดินที่ผสมกาบมะเพร้าสับ ปุ๋ยคอกให้เขาใหม่ เพาะดินที่ซื้อมาเขาใช้กับไม้ทั่วๆไปครับ นอกนั้นคุณเกต 0233 ตอบหมดแล้วครับ ลองทำดูนะครับ แล้วสิ่งดี ดี

ไข่
เปลือกไข่มีประโยชน์กับพืชใหมครับ โดยเฉพาะชวนชม
ใส้ปลาจากตลาด3โลผสมใข่ไก่ดิบตอกลงไปทั้งเปลือก60ลูกผสมน้ำตาลทราย5กิโลกับอีเอ็ม1ลิตร น้ำอีก10ลิตร กวนๆๆๆๆๆเดือนนึงค่อยเอามาผสมน้ำราดดินครับใช้ทำฮอร์โมนไข่ กระแทกตาดอกดีครับ จำสูตรและสัดส่วนไม่ได้ จำได้แต่ว่า เอาใช่ไก่ 5 ฟอง ใส่เครื่องปั่น ทั้งไข่และเปลือก ส่งกากน้ำตาล ใส่ EM หมักไว้กี่วันไม่แน่ใจ แต
โดย: [0 3] ( IP )

ความคิดเห็นที่ 8
   
่ใช้กับไม้ผล ตอนนั้นทำชมพู่ ปรากฎว่าดอกดกมาก ต้นสลัดดอกร่วงกราวเต็มพื้นเลยครับไม่ทราบแน่ชัด แต่เห็นคุณแม่ใช้เปลือกไข่ที่บี้พอแตกวางไว้ใต้ต้นไม้เหมือนให้ปุ๋ยซะงั้น..........บางทีก็เปลือกไข่เต็มใบเสียบบนยอดไม้ปักแถวแปลงดอกไม้ ประหนึ่งว่ากันแมลงน่ะ........แต่ไม่ทราบข้อเท็จจริงเจ้าเปลือกไข่เผาไฟให้ไหม้มีกลิ่นฉุนๆ ช่วยไล่มดได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของเพลี้ยแป้งเปลือกไข่ทุบละเอียด ผสมเครื่องปลูก ไม่แน่ใจว่าจะให้แคลเซียมได้หรือไม่

ฮอร์โมนไข่....เร่งการออกดอกของพืช
ปลูกพืชแล้วพืชไม่ออกดอกหรือออกดอกน้อย คือปัญหาของเกษตรกร เมื่อพืชออกดอกน้อยผลผลิตก็น้อยตามไปด้วย โดยเฉพาะในช่วงเข้าฤดูฝน ต้นไม้น้อยใหญ่ผ่านฤดูแล้งมา เมื่อได้ฝนใหญ่ๆ ก็จะแตกใบอ่อนดูเขียวขจีสดชื่นไม่ค่อยจะติดดอกออกผลให้เกษตรกรผู้ปรารถนาผลผลิตมากกว่าใบและกิ่งก้าน หากจะมีคำถามว่า ทำไมต้นไม้ใหญ่น้อยจึงแตกใบอ่อนเมื่อเข้าช่วงฝน แม้ไม่ได้เติมปุ๋ยไนโตรเจนให้แก่ต้นไม้เลยสักน้อยเดียว ต้นไม้ก็ยังแตกใบอ่อนอยู่ดี คำตอบคือ เพราะน้ำฝนนำธาตุไนโตรเจนในรูปของกรดไนตริก กรดไนไตร อันเกิดจากฟ้าแลบบนท้องฟ้ามาสู่พื้นโลกอย่างน้อย 10 ล้านตันต่อปี อีกทั้งน้ำฝนยังทำให้ดินชุ่มชื่นเหมาะแก่การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ช่วยตรึงก๊าชไนโตรเจนในอากาศลงสู่ดินในรูปของสารประกอบไนโตรเจนเพิ่มเติมให้แก่ดินอีกประมาณ 90 ล้านตัน/ปี และยังมีปัจจัยอื่นอีก เช่น น้ำฝนไปเจือจางธาตุโพแทสเซียม (K) ในสารละลายดิน ไฮโดรเจน อีออน จากกรดในน้ำฝนไปไล่ธาตุโพแทสเซียม ซึ่งมีอยู่ในดินไหลลงสู่ดินผ่านทางราก ทำให้กิจกรรมที่สร้างน้ำตาลและแป้ง (CH2O) ทั้งการเคลื่อนย้ายจึงน้อยลง อีกทั้งฤดูฝนท้องฟ้าปิดมืดมีแสงสว่างน้อยการสังเคราะห์แสงจึงน้อยลงไปด้วย ยิ่งทำให้น้ำตาลและแป้งในพืชสะสมอยู่น้อยลงไปอีกปริมาณคาร์โบไฮเดรต (C) คือน้ำตาลและแป้งในเนื้อเยื่อพืชมีน้อยเมื่อเทียบกับธาตุไนโตรเจน (N) ซึ่งรับเพิ่มเติมเข้ามาเรื่อยๆ อัตราระหว่างคาร์โบไฮเดรต /ไนโตรเจน (หรือ C/N Ratio) มีค่าต่ำหรือแคบ เนื้อเยื่อพืชก็จะพัฒนาไปเป็นใบและกิ่งก้าน มีผลให้ต้นไม้แตกใบอ่อนในฤดูฝนนั่นเอง

อย่าทรมานต้นไม้ด้วยการราดสาร
มะม่วง หรือทุเรียน ถ้าต้องการให้ออกดอกนอกฤดู เกษตรกรใช้สารที่ชื่อว่า พาโคลบิวทราโซล เป็นสารสังเคราะห์ไม่มีในต้นพืชมีคุณสมบัติในการยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนพวกจิบเบอเรลลิน (Gibberelline) ชะลอการเจริญเติบโตมีผลทางอ้อมช่วยเร่งการออกดอกและติดผลของพืชบางชนิด ทำให้มะม่วงหรือทุเรียนออกดอกนอกฤดู ปกติจิบเบอเรลลินเป็นฮอร์โมนที่พืชสร้างขึ้นมีหน้าที่เกี่ยวกับการแบ่งเซลล์ทำให้ส่วนของพืชยืดยาวออก เมื่อเกษตรกรใช้พาโคลบิวทราโซลมายับยั้งไม่ให้พืชแตกใบอ่อน ทำให้พืชไม่สามารถสะสมสารอาหารในการเจริญเติบโต พืชจะไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร

ความจริงเกษตรกรไม่ต้องราดสารเร่งให้ต้นมะม่วงหรือทุเรียนออกดอกก็ได้ โดยใช้ฮอร์โมนไข่เร่งดอก ดังมีองค์ประกอบต่อไปนี้
1. ไข่ไก่สดทั้งเปลือก (ไข่เป็ดไข่นกกระทาหรือไข่หอยเชอรี่ก็ได้) 5 กิโลกรัม
2. กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง 5 กิโลกรัม
3. ลูกแป้งข้าวหมาก 1 ก้อน
4. ยาคูลท์หรือนมเปรี้ยวก็ได้ 1 ขวด/กล่อง
(ถ้าใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ผลิตด้วยเปลือกสับปะรด 200 ซีซี ก็ได้)

วิธีทำ
นำไข่ไก่ทั้งฟองปั่นให้ละเอียด ด้วยเครื่องปั่น ถ้าไม่มีเครื่องปั่นให้ตอกไข่ขาวไข่แดงออกจากเปลือกใส่ภาชนะแล้ว ใช้ไม้หรือเครื่องมือตีไข่ขาวไข่แดงให้เข้ากัน เปลือกไข่ใส่ครกตำให้ละเอียดตักใส่ลงไปในภาชนะไข่ขาวปนไข่แดงแล้วเพื่อต้องการธาตุ Ca จากเปลือกไข่แล้วนำกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดงมาผสม นำลูกแป้งข้าวหมากมาบี้โปรยลงไป แล้วใช้ยาคูลท์หรือน้ำเปรี้ยวหรือหัวเชื้อจุลินทรีย์หรือกระเพาะหมูก็ได้ ซึ่งมีจุลินทรีย์ที่ชื่อว่าแลกโตบาซิลลัล (Lactobacillus sp.) ผสมใส่ลงไปแล้วคนคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไปบรรจุในภาชนะที่มีฝาปิด เช่น ถังพลาสติกให้มีช่วงว่างอากาศประมาณ 10% ของภาชนะ เพื่อให้จุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจนเจริญเติบได้ด้วย ทิ้งไว้ในที่มีอากาศถ่ายเทได้ดีอย่าให้ถูกแสงแดดประมาณ 7 วัน จึงนำไปใช้ได้

ข้อควรระวังในการใช้มี 2 ข้อสำคัญๆ คือ
1. อัตราการใช้ 2-3 ช้อนกาแฟ (5-10 ซีซี)/น้ำ 20 ลิตร (1 บีบ) ฉีดพ่นในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น ประมาณ 7-10 วัน/ครั้ง
2. เริ่มฉีดพ่นตั้งแต่ใบอ่อนออกมารุ่นที่ 3 เป็นใบ “เพสลาด” จนกระทั้งพืชออกดอก ประมาณ 50-80 % จึงหยุดพ่นด้วยฮอร์โมนไข่ทันที (ถ้าพ่นต่อไปดอกจะร่วงล่น เนื่องจากสูตรนี้มีความเข้มข้นและมีความเค็มสูง) หลังจากนั้นพ่นด้วยน้ำหมักชีวภาพสูตรฮอร์โมนผลไม้ต่อ ประมาณ 7-10 วัน/ครั้ง

การฉีดพ่นด้วยฮอร์โมนไข่เป็นการเพิ่มคาร์โบไฮเดรต หรือธาตุคาร์บอน (C) ให้กับต้นไม้ทำให้ค่าของ ซีเอ็นเรโช (C/N Ratio) กว้างหรือสูงขึ้นมีผลทำให้ไปกระตุ้นตาดอกสามารถเปิดตาดอกได้โดยไม่ต้องราดสารพาโคลบริวทราโชล ไม่เป็นการทรมานต้นไม้อีกด้วย แต่ต้องจำ
โดย: [0 3] ( IP )

ความคิดเห็นที่ 9
   
ไว้เสมอว่า การทำให้ต้นไม้ออกดอกหรือออกดอกนอกฤดูต้องเน้นการบำรุงต้นให้สมบูรณ์ที่สุดและพืชมีใบอ่อนรุ่นที่สามที่มีใบ “เพสลาด” จึงทำการฉีดพ่นฮอร์โมนไข่ จากนั้นไม่เกิน 30 วันพืชจะแตกดอกเต็มต้น (ไม่เชื่ออย่าลบหลู่)

ในกรณีของลำไยราดสารโพแทสเซียมคลอเรต ซึ่งใช้หลักของ ซีเอ็นเรโช (C/N Ratio) นั่นเอง กล่าวคือ สารโพแทสเซียมคลอเรตที่ต้นลำไยดูดซึมขึ้นไปทำให้ เอนไซม์ไนเตรทรีดักเทส ไม่ทำงาน (ไปยับยั้งธาตุไนโตรเจน) ผลคือต้นลำไยใช้ธาตุไนโตรเจนไม่ได้ ขณะที่แป้งและน้ำตาลมีสะสมอยู่มาก (C/N Ratio กว้าง) เนื้อเยื่อก็พัฒนาไปเป็นตาดอกด้วยเหตุนี้ลำไยราดสารจึงมักมีเมล็ดโตเนื้อบางเพราะขาดธาตุไนโตรเจนไปสร้างบำรุงผล ดังนั้นควรใช้ฮอร์โมนไข่เร่งดอกจะดีกว่าใช้สารราด

หลักสำคัญในการปลูกไม้ผลไม่ว่าจะทำให้ผลผลิตออกในฤดูกาลหรือนอกฤดูกาล อยู่ที่การสะสมอาหารบำรุงต้นให้สมบูรณ์ก่อนอื่น เมื่อต้องการให้ติดดอกออกผลก็ใช้ฮอร์โมนไข่เร่งดอกหลังจากติดใบอ่อน 3 รุ่น แล้วใบเป็น “เพสลาด” ฉีดพ่นประมาณ 30 วัน จะติดดอก ในกรณีที่ต้องการให้ดอกออกนอกฤดูต้อง ให้มีช่วงฝนทิ้งช่วง หรือทิ้งช่วงการให้น้ำ 14-21 วัน/ครั้ง ฉีดพ่นด้วยฮอร์โมนไข่ ประมาณ 7-10 วัน/ครั้ง ไม้ผลก็จะออกดอกประมาณ 50-80% หยุดฉีดพ่นทันทีแล้วฉีกพ่นฮอร์โมนผลไม้ต่อไปเพื่อบำรุงผลผลิตให้สมบูรณ์

ฮอร์โมนเร่งดอกใช้ได้ในพืชที่ต้องการดอก
ใช้ฮอร์โมนไข่เร่งดอกในพืชผักผลไม้หรือข้าว รวมถึงไม้ดอกไม้ประดับด้วย ซึ่งฮอร์โมนไข่สูตรนี้มีต้นทุนเพียงลิตรละ 25-30 บาท ในกรณีที่ใช้ในข้าว ใช้ฮอร์โมนไข่เร่งดอก+น้ำหมักสมุนไพรกำจัดเชื้อรา ทดแทนสารเคมีที่ชื่อ “อาโมเร” ซึ่งเป็นฮอร์โมนและ(สารเคมีกำจัดเชื้อรา) ซึ่งมีราคาลิตรละ 750 บาท ฮอร์โมนไข่สูตรนี้ใช้ในข้าวได้ 100 ไร่/ฤดู
ไม่ควรใช้ฮอร์โมนไข่เร่งดอก ในพืชผักที่กินใบ เช่น ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักกาดหอม เป็นต้น เพราะจะไปทำให้ออกดอกทำให้พืชผักเหล่านี้มีคุณภาพต่ำ

ฮอร์โมนไข่....เร่งการออกดอกของพืช
ปลูกพืชแล้วพืชไม่ออกดอกหรือออกดอกน้อย คือปัญหาของเกษตรกร เมื่อพืชออกดอกน้อยผลผลิตก็น้อยตามไปด้วย โดยเฉพาะในช่วงเข้าฤดูฝน ต้นไม้น้อยใหญ่ผ่านฤดูแล้งมา เมื่อได้ฝนใหญ่ๆ ก็จะแตกใบอ่อนดูเขียวขจีสดชื่นไม่ค่อยจะติดดอกออกผลให้เกษตรกรผู้ปรารถนาผลผลิตมากกว่าใบและกิ่งก้าน หากจะมีคำถามว่า ทำไมต้นไม้ใหญ่น้อยจึงแตกใบอ่อนเมื่อเข้าช่วงฝน แม้ไม่ได้เติมปุ๋ยไนโตรเจนให้แก่ต้นไม้เลยสักน้อยเดียว ต้นไม้ก็ยังแตกใบอ่อนอยู่ดี คำตอบคือ เพราะน้ำฝนนำธาตุไนโตรเจนในรูปของกรดไนตริก กรดไนไตร อันเกิดจากฟ้าแลบบนท้องฟ้ามาสู่พื้นโลกอย่างน้อย 10 ล้านตันต่อปี อีกทั้งน้ำฝนยังทำให้ดินชุ่มชื่นเหมาะแก่การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ช่วยตรึงก๊าชไนโตรเจนในอากาศลงสู่ดินในรูปของสารประกอบไนโตรเจนเพิ่มเติมให้แก่ดินอีกประมาณ 90 ล้านตัน/ปี และยังมีปัจจัยอื่นอีก เช่น น้ำฝนไปเจือจางธาตุโพแทสเซียม (K) ในสารละลายดิน ไฮโดรเจน อีออน จากกรดในน้ำฝนไปไล่ธาตุโพแทสเซียม ซึ่งมีอยู่ในดินไหลลงสู่ดินผ่านทางราก ทำให้กิจกรรมที่สร้างน้ำตาลและแป้ง (CH2O) ทั้งการเคลื่อนย้ายจึงน้อยลง อีกทั้งฤดูฝนท้องฟ้าปิดมืดมีแสงสว่างน้อยการสังเคราะห์แสงจึงน้อยลงไปด้วย ยิ่งทำให้น้ำตาลและแป้งในพืชสะสมอยู่น้อยลงไปอีก

ปริมาณคาร์โบไฮเดรต (C) คือน้ำตาลและแป้งในเนื้อเยื่อพืชมีน้อยเมื่อเทียบกับธาตุไนโตรเจน (N) ซึ่งรับเพิ่มเติมเข้ามาเรื่อยๆ อัตราระหว่างคาร์โบไฮเดรต /ไนโตรเจน (หรือ C/N Ratio) มีค่าต่ำหรือแคบ เนื้อเยื่อพืชก็จะพัฒนาไปเป็นใบและกิ่งก้าน มีผลให้ต้นไม้แตกใบอ่อนในฤดูฝนนั่นเอง


อย่าทรมานต้นไม้ด้วยการราดสาร
มะม่วง หรือทุเรียน ถ้าต้องการให้ออกดอกนอกฤดู เกษตรกรใช้สารที่ชื่อว่า พาโคลบิวทราโซล เป็นสารสังเคราะห์ไม่มีในต้นพืชมีคุณสมบัติในการยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนพวกจิบเบอเรลลิน (Gibberelline) ชะลอการเจริญเติบโตมีผลทางอ้อมช่วยเร่งการออกดอกและติดผลของพืชบางชนิด ทำให้มะม่วงหรือทุเรียนออกดอกนอกฤดู ปกติจิบเบอเรลลินเป็นฮอร์โมนที่พืชสร้างขึ้นมีหน้าที่เกี่ยวกับการแบ่งเซลล์ทำให้ส่วนของพืชยืดยาวออก เมื่อเกษตรกรใช้พาโคลบิวทราโซลมายับยั้งไม่ให้พืชแตกใบอ่อน ทำให้พืชไม่สามารถสะสมสารอาหารในการเจริญเติบโต พืชจะไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร
ความจริงเกษตรกรไม่ต้องราดสารเร่งให้ต้นมะม่วงหรือทุเรียนออกดอกก็ได้ โดยใช้ฮอร์โมนไข่เร่งดอก ดังมีองค์ประกอบต่อไปนี้
1. ไข่ไก่สดทั้งเปลือก (ไข่เป็ดไข่นกกระทาหรือไข่หอยเชอรี่ก็ได้) 5 กิโลกรัม
2. กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง 5 กิโลกรัม
3. ลูกแป้งข้าวหมาก 1 ก้อน
4. ยาคูลท์หรือนมเปรี้ยวก็ได้ 1 ขวด/กล่อง
(ถ้าใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ผลิตด้วยเปลือกสับปะรด 200 ซีซี ก็ได้)

วิธีทำ
นำไข่ไก่ทั้งฟองปั่นให้ละเอียด ด้วยเครื่องปั่น ถ้าไม่มีเครื่องปั่นให้ตอกไข่ขาวไข่แดงออกจากเปลือกใส่ภาชนะแล้ว ใช้ไม้หรือเครื่องมือตีไข่ขาวไ
โดย: [0 3] ( IP )

ความคิดเห็นที่ 10
   
ไข่แดงให้เข้ากัน เปลือกไข่ใส่ครกตำให้ละเอียดตักใส่ลงไปในภาชนะไข่ขาวปนไข่แดงแล้วเพื่อต้องการธาตุ Ca จากเปลือกไข่แล้วนำกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดงมาผสม นำลูกแป้งข้าวหมากมาบี้โปรยลงไป แล้วใช้ยาคูลท์หรือน้ำเปรี้ยวหรือหัวเชื้อจุลินทรีย์หรือกระเพาะหมูก็ได้ ซึ่งมีจุลินทรีย์ที่ชื่อว่าแลกโตบาซิลลัล (Lactobacillus sp. ) ผสมใส่ลงไปแล้วคนคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไปบรรจุในภาชนะที่มีฝาปิด เช่น ถังพลาสติกให้มีช่วงว่างอากาศประมาณ 10% ของภาชนะ เพื่อให้จุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจนเจริญเติบได้ด้วย ทิ้งไว้ในที่มีอากาศถ่ายเทได้ดีอย่าให้ถูกแสงแดดประมาณ 7 วัน จึงนำไปใช้ได้

ข้อควรระวังในการใช้มี 2 ข้อสำคัญๆ คือ
1. อัตราการใช้ 2-3 ช้อนกาแฟ (5-10 ซีซี)/น้ำ 20 ลิตร (1 บีบ) ฉีดพ่นในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น ประมาณ 7-10 วัน/ครั้ง

2. เริ่มฉีดพ่นตั้งแต่ใบอ่อนออกมารุ่นที่ 3 เป็นใบ “เพสลาด” จนกระทั้งพืชออกดอก ประมาณ 50-80 % จึงหยุดพ่นด้วยฮอร์โมนไข่ทันที (ถ้าพ่นต่อไปดอกจะร่วงล่น เนื่องจากสูตรนี้มีความเข้มข้นและมีความเค็มสูง) หลังจากนั้นพ่นด้วยน้ำหมักชีวภาพสูตรฮอร์โมนผลไม้ต่อ ประมาณ7-10 วัน/ครั้ง

การฉีดพ่นด้วยฮอร์โมนไข่เป็นการเพิ่มคาร์โบไฮเดรต หรือธาตุคาร์บอน(C)ให้กับต้นไม้ทำให้ค่าของ ซีเอ็นเรโช (C/N Ratio) กว้างหรือสูงขึ้นมีผลทำให้ไปกระตุ้น
ตาดอกสามารถเปิดตาดอกได้โดยไม่ต้องราดสารพาโคลบริวทราโชล ไม่เป็นการทรมาน
ต้นไม้อีกด้วย แต่ต้องจำไว้เสมอว่า การทำให้ต้นไม้ออกดอกหรือออกดอกนอกฤดูต้องเน้นการบำรุงต้นให้สมบูรณ์ที่สุดและพืชมีใบอ่อนรุ่นที่สามที่มีใบ “เพสลาด” จึงทำการฉีดพ่นฮอร์โมนไข่ จากนั้นไม่เกิน 30 วันพืชจะแตกดอกเต็มต้น (ไม่เชื่ออย่าลบหลู่)
ในกรณีของลำไยราด


สารโพแทสเซียมคลอเรต ซึ่งใช้หลักของ ซีเอ็นเรโช (C/N Ratio) นั่นเอง กล่าวคือ สารโพแทสเซียมคลอเรตที่ต้นลำไยดูดซึมขึ้นไปทำให้ เอนไซม์ไนเตรทรีดักเทส ไม่ทำงาน (ไปยับยั้งธาตุไนโตรเจน) ผลคือต้นลำไยใช้ธาตุไนโตรเจนไม่ได้ ขณะที่แป้งและน้ำตาลมีสะสมอยู่มาก (C/N Ratio กว้าง) เนื้อเยื่อก็พัฒนาไปเป็นตาดอกด้วยเหตุนี้ลำไยราดสารจึงมักมีเมล็ดโตเนื้อบางเพราะขาดธาตุไนโตรเจนไปสร้างบำรุงผล ดังนั้นควรใช้ฮอร์โมนไข่เร่งดอกจะดีกว่าใช้สารราด

หลักสำคัญในการปลูกไม้ผลไม่ว่าจะทำให้ผลผลิตออกในฤดูกาลหรือนอกฤดูกาล อยู่ที่การสะสมอาหารบำรุงต้นให้สมบูรณ์ก่อนอื่น เมื่อต้องการให้ติดดอกออกผลก็ใช้ฮอร์โมนไข่เร่งดอกหลังจากติดใบอ่อน 3 รุ่น แล้วใบเป็น “เพสลาด” ฉีดพ่นประมาณ 30 วัน จะติดดอก ในกรณีที่ต้องการให้ดอกออกนอกฤดูต้อง ให้มีช่วงฝนทิ้งช่วง หรือทิ้งช่วงการให้น้ำ 14-21 วัน/ครั้ง ฉีดพ่นด้วยฮอร์โมนไข่ ประมาณ 7-10 วัน/ครั้ง ไม้ผลก็จะออกดอกประมาณ 50-80% หยุดฉีดพ่นทันทีแล้วฉีกพ่นฮอร์โมนผลไม้ต่อไปเพื่อบำรุงผลผลิตให้สมบูรณ์
http://www.pantown.com/board.php?id=30284&area=3&name=board10&topic=13&action=view




6.การผลิตผลไม้ไม่มีเมล็ด
พืชบางชนิดสามารถที่จะผลิตผลไม้ที่ไม่มีเมล็ดได้เองตามธรรมชาติ เช่น สับปะรด กล้วย มะเขือเทศ การเกิดผลไม้ไม่มีเมล็ดนั้นอาจจะเนื่องจากไม่มีการถ่ายละอองเกสรหรือมีการถ่ายละอองเกสรแต่ไม่มีการปฏิสนธิ หรืออาจมีการปฏิสนธิแต่เอมบริโอแท้งไปก่อนท่ผลจะเจริญเต็มที่ ส่วนใหญ่แล้วพันธุ์พืชที่สามารถผลิตผลไม้ไม่มีเมล็ดนั้นรังไข่มักจะมีออกซินปริมาณมากกว่าพันธุ์ที่มีเมล็ด ดังนั้นการให้ออกซินแก่ดอกที่ไม่ได้รับการถ่ายละอองจึงสามารถผลิตผลไม้ไม่มีเมล็ดได้ แต่การให้ออกซินเพียงไม่กี่ครั้งอาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ผลเจริญเติบโตเต็มที่เหมือนกับผลที่เกิดจากการถ่ายละอองและ/หรือปฏิสนธิ เพราะรังไข่ได้รับออกซินไม่ต่อเนื่อง
 

7.เพิ่มการติดผล
ออกซินสามารถช่วยให้พืชบางชนิดติดผลได้ดีขึ้น เช่น การใช้ NAA กับพริก การใช้ 4-CPA กับมะเขือเทศ เป็นต้น แต่ออกซินไม่สามารถช่วยเพิ่มการติดผลในพืชอีกหลายชนิด เช่น มะม่วง เป็นต้น และเป็นที่น่าสังเกตว่าสารออกซินสามารถเพิ่มการติดผลได้เฉพาะในพืชที่มีเมล็ดมากเท่านั้น แต่พืชที่มีเมล็ดเดียวหรือพืชอื่นๆ ส่วนมากมักจะไม่ตอบสนองต่อออกซินในแง่การติดผล


8.ควบคุมการร่วงของใบ ดอก และผล
เมื่อพืชมีอายุมากขึ้น ใบ ดอกและผลที่แก่เต็มที่จะเกิดการร่วงขึ้นการร่วงนี้จะเกี่ยวข้องกับออกซิน และการเกิดชั้นแอบซิสชั่น (Abscission layer) ก่อนที่ใบดอกและผลจะร่วงนั้น ตรงบริเวณใกล้ๆ กับโคนก้านอวัยวะเหล่านี้จะมีการแบ่งเซลล์อย่างรวดเร็วทำให้เกิดชั้นพิเศษขึ้นหลายชั้น เรียกว่าชั้นแอบซิสชั่น ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเซลล์พาเรงคิมาที่เกาะกันอย่างหลวมๆ ทำให้บริเวณดังกล่าวไม่แข็งแรง หลุดแยกง่าย ออกซินที่ถูกสร้างขึ้นจากปลายยอดหรือปลายกิ่งจะเคลื่อนที่ลงมายังส่วนต่อระหว่างใบ ดอก และผลกับลำต้น แล้วยับยั้งการสร้างชั้นแอบซิสชั่นในบริเวณส่วนต่อดังกล่าว เป็นผลทำให้ใบดอกและผลไม่ร่วง ในขณะเดียวกันถ้าออกซินที่เคลื่อนย้ายลงมายังส่วนต่อดังกล่าวมีปริมาณเพียงเล็กน้อย จะมีผลไปกระตุ้นให้มีการสร้างชั้นแอบซิสชั่นขึ้น ทำให้ใบดอกและผลร่วงจากต้นได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ในปัจจุบันเกษตรกรนิยมใช้ NAA หรือ 2,4-D กับไม้ผลบางชนิด เช่น มะม่วง ส้ม องุ่น ลางสาด เพื่อป้องกันผลร่วงก่อนการเก็บเกี่ยว


9.เป็นสารกำจัดวัชพืช
สารเคมีกำจัดวัชพืชที่สำคัญหลายชนิดมีคุณสมบัติเป็นฮอร์โมน สำหรับฮอร์โมนที่สามารถใช้ทำลายวัชพืชได้นั้นเป็นสารในกลุ่มออกซินสังเคราะห์ เพราะออกซินทุกชนิดถ้าใช้ความเข้มข้นสูงจะมีผลไปยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชทำให้พืชตายได้ จึงมีการนำสารออกซินสังเคราะห์มาใช้เป็นยากำจัดวัชพืชกันอย่างกว้างขวาง สารที่นิยมใช้คือ 2,4-D และ 4-CPA
โดย: ฒ.ผู้เฒ่า 



10. ปลูกพืชแล้วพืชไม่ออกดอกหรือออกดอกน้อย คือปัญหาของเกษตรกร เมื่อพืชออกดอกน้อยผลผลิตก็น้อยตามไปด้วย โดยเฉพาะในช่วงเข้าฤดูฝน ต้นไม้น้อยใหญ่ผ่านฤดูแล้งมา เมื่อได้ฝนใหญ่ๆ ก็จะแตกใบอ่อนดูเขียวขจีสดชื่นไม่ค่อยจะติดดอกออกผลให้เกษตรกรผู้ปรารถนาผลผลิตมากกว่าใบและกิ่งก้าน

หากจะมีคำถามว่า ทำไมต้นไม้ใหญ่น้อยจึงแตกใบอ่อนเมื่อเข้าช่วงฝน แม้ไม่ได้เติมปุ๋ยไนโตรเจนให้แก่ต้นไม้เลยสักน้อยเดียว ต้นไม้ก็ยังแตกใบอ่อนอยู่ดี คำตอบคือ เพราะน้ำฝนนำธาตุไนโตรเจนในรูปของกรดไนตริก กรดไนไตร อันเกิดจากฟ้าแลบบนท้องฟ้ามาสู่พื้นโลกอย่างน้อย 10 ล้านตันต่อปี

อีกทั้งน้ำฝนยังทำให้ดินชุ่มชื่นเหมาะแก่การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ช่วยตรึงก๊าชไนโตรเจนในอากาศลงสู่ดินในรูปของสารประกอบไนโตรเจนเพิ่มเติมให้แก่ดินอีกประมาณ 90 ล้านตัน/ปี

และยังมีปัจจัยอื่นอีก เช่น น้ำฝนไปเจือจางธาตุโพแทสเซียม(K)ในสารละลายดิน ไฮโดรเจน อีออน
จากกรดในน้ำฝนไปไล่ธาตุโพแทสเซียม ซึ่งมีอยู่ในดินไหลลงสู่ดินผ่านทางราก ทำให้กิจกรรมที่สร้างน้ำตาลและแป้ง (CH2O) ทั้งการเคลื่อนย้ายจึงน้อยลง

อีกทั้งฤดูฝนท้องฟ้าปิดมืดมีแสงสว่างน้อยการสังเคราะห์แสงจึงน้อยลงไปด้วย ยิ่งทำให้น้ำตาลและแป้งในพืชสะสมอยู่น้อยลงไปอีก ปริมาณคาร์โบไฮเดรต (C)คือน้ำตาลและแป้งในเนื้อเยื่อพืชมีน้อยเมื่อเทียบกับธาตุไนโตรเจน (N) ซึ่งรับเพิ่มเติมเข้ามาเรื่อยๆ อัตราระหว่างคาร์โบไฮเดรต /ไนโตรเจน (หรือ C/N Ratio) มีค่าต่ำหรือแคบ เนื้อเยื่อพืชก็จะพัฒนาไปเป็นใบและกิ่งก้าน มีผลให้ต้นไม้แตกใบอ่อนในฤดูฝนนั่นเอง



http://www.pantown.com/board.php?id=30284&area=3&name=board10&topic=13&action=view




เทคโนโลยีการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช

การศึกษาการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชไม้ผล มีทำกันมากในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ส่วน ในประเทศไทยยังมีการศึกษากันน้อยเกษตรกรโดยทั่วไปแทบไม่มีความรู้ด้านนี้ ยกเว้นในสับปะรดใช้กันมานานแล้ว ส่วนเกษตรกรชาวสวนผลไม้บางอย่างเช่น มะม่วงและทุเรียน ก็เริ่มรู้จักและใช้มากขึ้นโดยเฉพาะในด้านการควบคุมการออกดอก แต่ก็มีเกษตรกรจำนวนมากยังไม่เข้าใจในการใช้งาน บางครั้งก็เกิดความเสียหายหรือสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
ฮอร์โมนพืช (Plant Hormone) หมายถึง สารที่สร้าง ขึ้นในพืช มีหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโต กระตุ้นหรือยับยั้งขบวนการทางสรีระวิทยา สามารถเคลื่อนย้ายไปมีผลต่อเนื้อเยื่อต่างๆ หรือมีผลต่อบริเวณที่สร้างก็ได้ ทั้งนี้จะต้องเป็นสารที่ทำงานได้ที่ความเข้มข้นต่ำและไม่ใช่สารอาหารพืช ส่วนความหมายของคำว่าสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (สคพ. PRG, Plant Growth Regulator) นั้นหมายความรวมถึงฮอร์โมนพืชและสารที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อให้ทำหน้าที่เหมือนฮอร์โมนพืช

สารหลายชนิดมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช หรือแม้กระทั่งการออกดอก แต่สารเหล่านี้อาจไม่ใช่ PGR เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องจึงควรทราบดังต่อไปนี้

1. ต้องเป็นสารอินทรีย์ ซึ่งจะต้องประกอบด้วยคาร์บอนด์ (C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) เป็นหลัก มีสารหลายชนิดที่สามารถกระตุ้นหรือเร่งการเจริญเติบโตของพืชได้ เช่น ปุ๋ยชนิดต่างๆ หรือแม้แต่โปแตสเซียมไนเตรท (KNO3) ซึ่งใช้เร่งการออกดอกของมะม่วงแต่สารเหล่านี้ไม่จัดเป็น PGR เนื่องจากไม่ใช่สารอินทรีย์

2. ใช้หรือมีในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้นก็สามารถแสดงผลต่อพืชได้ ส่วนใหญ่แล้วที่ใช้กันอยู่ทั่วไปจะใช้ความเข้มข้นต่ำมากๆ เช่น 1 มก/ล ก็สามารถมีผลต่อพืชได้ บางครั้งอาจใช้ถึง 5,000 มก/ล ซึ่งก็ยังถือว่าความเข้มข้นที่ใช้อยู่กับชนิดของสารและจุดประสงค์ที่ต้องการ
3.ไม่ใช่อาหารหรือธาตุอาหารของพืช สารพวกน้ำตาล กรดอะมิโน และไขมัน ถึงแม้ว่าจะเป็นสารอินทรีย์ และมีผลต่อการเติบโตของพืชแต่ก็ไม่จัดว่าเป็น PGR เนื่องจากสารเหล่านี้เป็น

หมายเหตุ: บทที่ 3. 4 นี้รวบรวม และเรียบเรียงใหม่ จาก ธนัท ธัญญาภา (2537) สุเมษ เกตุวราภรณ์ (2537) และ บทเลคเชอร์ ของ ประสิทธิ์ วัฒนวงค์วิจิตร(2542)


1. ออกซิน (auxins) สารในกลุ่มนี้มีทั้งที่พืชสร้างขึ้นเอง (ฮอร์โมน) และสารสังเคราะห์มีอาหารของพืชโดยตรง ธาตุอาหารต่างๆ เช่น ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) เป็นวัตถุดิบในการสร้างอาหารและไม่จัดเป็นสารอินทรีย์ จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะเป็น PGRC เช่นกัน PGR เป็นสารกลุ่มใหญ่ ประกอบด้วยสารชนิดต่างๆ มากมาย ซึ่งสามารถแยกออกเป็นหมวดหมู่ตามคุณสมบัติซึ่งแตกต่างกันได้ดังนี้หน้าที่ควบคุมการขยายตัวของเซลล์ การเจริญเติบโตของใบ การติดผล การเกิดราก และเกี่ยวข้องกับกระบวนการอื่นๆ อีกมากมาย สารออกซินที่ใช้ในในการเกษตรส่วนใหญ่ เป็นสารสังเคราะห์โดยใช้ประโยชน์ในการเร่งรากของกิ่งตอนหรือกิ่งปักซำ ช่วยเปลี่ยนเพศดอกของพืชบางชนิด ช่วยติดผล ป้องกันผลร่วง หรือขยายขนาดผล ออกซินบางชนิดใช้กันมากเพื่อกำจัดวัชพืช สรุปโดยย่อออกซินมีประโยชน์ดังนี้

1.1 ช่วยในการออกรากของกิ่งตอนและกิ่งตัดชำของไม้ผลหลายชนิด
-ใช้ IBA 20-200 ส่วนต่อล้าน (สตล.) แซ่โคนกิ่งนานประมาณ 6-12 ชั่วโมง
- ใช้ IBA 500-5,000 สตล. จุ่มโคนกิ่ง 2-3 นาที

1.2 ช่วยลดปัญหาผลร่วงก่อนเก็บเกี่ยว
- สาลี่ ใช้ NAA 10 สตล. พ่นทั่วต้น 3สัปดาห์ก่อนการเก็บเกี่ยว
- แอปเปิ้ลใช้ NAA 20 สตล. พ่นทั่วต้น 3-4 สัปดาก่อนการเก็บเกี่ยว

1.3 ใช้ปลิดผลทิ้งเมื่อมีการติดผลมากเกินไป
- สาลี่ใช้ NAA 10-15 สตล. พ่นทั่วต้น 15-21 วัน หลังจากดอกบานเต็มต้น
- แอปเปิล ใช้ NAA 20 สตล. พ่นทั่วต้น 15-25 วัน หลังจากดอกบานเต็มต้น
1.4 ยากำจัดวัชชพืชใบเลี้ยงคู่ ใช้ 2,4 - D 2,000-6,000 สตล. พ่นให้ทั่วต้นวัชพืชและ พ่นซ้ำหลังจากครั้งแรก 15-30 วัน เมื่อวัชพืชยังไม่ตาย



2. จิบเบอเรลลิน (gibberelllins)
สารกลุ่มนี้พืชสร้างขึ้นได้เอง และยังมีเชื้อราบางชนิดสร้างสารนี้ได้ จึงมีการเลี้ยงเชื้อราเหล่านี้เพื่อนำมาสกัดสารจิบเบอเรลลินออกมาใช้ประโยชน์ ปัจจุบันยังไม่สามารถสังเคราะห์สารนี้ได้ในห้องปฏิบัติการ จึงทำให้สารชนิดนี้มีราคาสูง จิบเบอเรลลินมีหน้าที่ควบคุมการยืดตัวของเซลล์ การติดผล การเกิดดอก เร่งการเจริญเติบโตของต้นพืช ชาวสวนองุ่นใช้ประโยชน์จากจิบเบอรเรลลินกันมาก โดยใช้ในการยืดช่อผล และปรับปรุงคุณภาพผล เป็นต้น ในด้านปฏิบัติจิบเบอเรลลินใช้เป็นประโยชน์พอสรุปได้ดังนี้

2.1 ชลอการแก่ของผลเชอรี่ ใช้จิบเบอเรลิกแอชิค (GA3 ) 5-10 สตล. พ่นทั่วต้น 3 สัปดาห์ก่อนเก็บเกี่ยว

2.2 ช่วยทำให้ผลแอปเปิ้ลมีขนาดใหญ่ขึ้น ใช้ GA3 5-25 สตล. พ่นทั่วต้นหลังจากกลีบดอกร่วง

2.3 ช่วยให้ช่อผลขององุ่นยาวขึ้น ทำให้ผลไม่เบียดกันแน่นเกินไป ใช้ GA3 20-40 สตล. จุ่มช่อผลหลังจากติดผล

2.4 ช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดไม้ผลหลายชนิด ใช้ GA3 5-100 สตล. แช่เมล็ด 24 ชั่วโมงก่อนนำไปเพาะ



3. ไซโตไคนิน (cytokinin)
มีหน้าที่ควบคุมการแบ่งเซลล์ การเจริญเติบโตทางด้านกิ่งใบ การแตกแขนง สารกลุ่มนี้ใช้ประโยชน์ทางพืชสวนน้อยมาก ส่วนใหญ่ใช้ในงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช แต่ปัจจุบันเริ่มนำมาใช้เร่งการแตกตาข้างของพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการขยายพันธุ์พืชโดยการติดตา สรุปแล้ว ไซโตไคนินใช้ประโยชน์โดย

3.1 ช่วยเพิ่มการแตกกิ่งของกิ่งพันธุ์ที่จะนำไปปลูกในไม้ผลหลายชนิด ใช้ไคเนติน (Kinetin) 100-200 สตล. พ่นทั่วต้นเมื่อกิ่งพันธุ์อยู่ในช่วงกำลังเจริญเติบโต

3.2 ช่วยทำให้ผลแอปเปิ้ลยาวขึ้น ใช้ BA 25 สตล. พ่นทั่วต้นตั้งแต่ดอกบานจนถึง 10 วัน หลังจากดอกบาน

3.3 ช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดไม้ผลหลายชนิดใช้ไคเนติน 100-500 สตล. แช่เมล็ด 24 ชั่วโมง ก่อนนำไปเพาะ



4. เอทิลีนและสารปลดปล่อยเอทีลีน (ethylene and ethylene releasing compounds)
สารเอทีลีนเป็นก๊าช ซึ่งพบได้ทั่วๆ ไป แม้กระทั่งในควันไฟก็มีเอทีลีนเป็นองค์ประกอบ พืชสามารถสร้างเอทีลีนได้เอง จึงจัดเป็นฮอร์โมนพืชชนิดหนึ่ง เอทีลีนมีหน้าที่คบคุมการออกดอก การแก่และการสุกของผล และเกี่ยวข้องกับการหลุดล่วงของใบ ดอก ผล อาจกล่าวรวมๆ ได้ว่า เอทีลีนมีหน้าที่กระตุ้นให้พืชแก่ตัวเร็วขึ้น การใช้ประโยชน์จากเอทีลีนในแปลงปลูกกระทำได้ยากเนื่องจากเอทีลีนเป็นก๊าช ดังนั้นจึงมีการสังเคราะห์สารต่างๆ ให้อยู่ในรูปของแข็งหรือของเหลวที่สามารถปล่อยก๊าชเอทีลีนออกมาได้ ซึ่งปัจจุบันได้นำมาใช้ประโยชน์ในการเร่งดอกสับปะรด เร่งการแก่ของผลไม้บนต้น เร่งการไหลของน้ำยางพารา ในด้านปฏิบัติ เอทีลีนถูกนำมาใช้โดย

4.1 ช่วยเพิ่มการออกดอกในไม้ผลหลายชนิด ใช้เอทธีฟอน (Ethephon) 100-1,000 สตล. พ่นทั่วต้นก่อนการเกิดตาดอกประมาณ 40-50 วัน

4.2 ช่วยในการปลิดผลทิ้งเมื่อติดผลมากเกินไป ในไม้ผลหลายชนิดใช้เอทธีฟอน 20-200 สตล. พ่นทั่วต้น 4-8 สัปดาห์ หลังจากดอกบาน

4.3 ช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดไม้ผลหลายชนิด ใช้เอทธีฟอน 100-500 สตล. แซ่เมล็ด 24 ชั่วโมงก่อนนำไปเพาะ



5. สารชะลอการเจริญเติบโต (plant growth retardants)
สารกลุ่มนี้ไม่พบตามธรรมซาติในพืช เป็นกลุ่มของสารซึ่งสังเคราะห์ขึ้นมาทั้งหมด คุณสมบัติหลักของสารกลุ่มนี้คือยับยั้งการสร้างกรือการทำงานของจิบเบอรเรลลิน ดังนั้นลักษณะของพืชที่ได้รับสารเหล่านี้จึงมักแสดงออกในทางที่ตรงกันข้ามกับผลของจิบเบอเรลลิน ประโยชน์ของสารชะลอการเจริญเติบโตมีหลายอย่าง เช่น ลดความสูงของต้น ทำให้ปล้องสั้นลง ช่วยในการออกดอกและติดผลของพืชบางชนิด โดยทั่วไปสารชะลอการเจริญเติบโตถูกนำไปใช้ด้านปฏิบัติคือ

5.1 ช่วยเพิ่มการออกดอกของสาลี่และแอปเปิ้ลใช้ SADH 500-1,000 สตล.พ่นทั่วต้น 30-40 วัน หลังจากดอกบาน

5.2 ช่วยเพิ่มการติดผลขององุ่นใช้ SADH 2,000 สตล. พ่นทั่วต้นเมื่อดอกเริ่มบาน

5.3 ช่วยลดการเจริญเติบโตทางกิ่งและใบเพิ่มการออกดอกของแอปเปิ้ล ใช้ PP 333 0.2 กรัม/ตารางเมตร หรือ 1,000 สตล. พ่นทั่วต้น 3 สัปดาห์ หลังจากติดผล


http://champtechno.blogspot.com/








หน้าก่อน หน้าก่อน (2/3)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (14581 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©