-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 191 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ปรัชญาการเกษตร




หน้า: 2/5


ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในวิชาชีพเกษตรกรรม
 
การประกอบอาชีพเกษตรกรรม ให้ประสบความสำเร็จได้นั้นต้องเข้าใจถึงปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตด้านการเกษตร 3 ปัจจัยด้วยกัน คือ ปัจจัยทางกายภาพ ปัจจัยทางชีวภาพ และปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคม ที่ต้องนำมาพิจารณา เพื่อคัดเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับสภาพไร่นาของตน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ผลิตผลที่มีปริมาณ และคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด รวมถึงการอนุรักษ์ และปรับสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นไปพร้อมกัน
 
1.ปัจจัยทางกายภาพ
ประกอบด้วย ดิน ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของการเกษตร เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารการของพืชเป็นที่ค้ำจุนรากพืชทำให้ลำต้นตั้งตรงแข็งแรงเป็นที่ดูดซับน้ำสำหรับหล่อเลี้ยงต้นพืช ผลผลิตของพืชจะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินที่มีส่วนประกอบของธาตุอาหารสำคัญ คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม รวมทั้งอินทรียวัตถุและธาตุอาหารรองอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช สภาพที่ดิน ของประเทศไทยมีหลายลักษณะ จึงทำให้มีผลผลิตทางการเกษตรหลากหลายแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพท้องถิ่น


การจำแนกสภาพพื้นที่ดิน
การจำแนกสภาพพื้นที่ดินของไทยแบ่งออกได้ดังนี้

        
ที่สูง
หมายถึง พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป มีสภาพอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดปีจึงเหมาะสำหรับปลูกลิ้นจี่ ลำไย เชอรี่ ท้อ ไม้ดอกไม้ประดับ และพืชผักเมืองหนาว

         
ที่ดอน
ส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝน เกษตรกรจะปลูก ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเขียว มันสำปะหลัง ปอ และข้าวไร่ ส่วนบริเวณที่สามารถเก็บกักน้ำได้จะใช้ทำนา ในแหล่งที่มีปริมาณฝนน้อย เช่น จังหวัดชัยภูมิและบางส่วนของจังหวัดนครราชสีมา จะเหมาะสมกับการเลี้ยงสัตว์ และปลูกมะม่วงแก้ว มะม่วงหิมพานต์ มะขามหวาน ซึ่งเป็นไม้ผลที่ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี

         
ที่ราบลุ่ม
เหมาะสมสำหรับการทำนาโดยเฉพาะในเขตชลประทาน ดินค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ มีน้ำอย่างพอเพียงจะสามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้งขึ้นไป บางแห่งเกษตรกรจะปรับเปลี่ยนสภาพนาเป็นร่องสวน เพื่อใช้ปลูกพืชผัก และปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้นบางแห่งเกษตรกรจะขุดบ่อเลี้ยงปลาและกุ้ง ตัวอย่างเช่น ที่จังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา

         
ที่ลุ่มน้ำลึก
ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาบางส่วน อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท และสุพรรณบุรี รวมเนื้อที่ประมาณ 6 ล้านไร่ พื้นที่ดังกล่าวเหมาะสำหรับปลูกข้าวขึ้นน้ำหรือข้าวฟางลอย เกษตรกรจะเริ่มเตรียมดินโดยการไถดะไถแปร เมื่อฝนเริ่มตกราวปลายเดือนเมษายนหรือต้นเดือนพฤษภาคม หลังการเตรียมดินเกษตร การจะหว่านเมล็ดข้าวแห้งแล้วไถกลบอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเมล็ดข้าวได้รับความชื้นจะงอกและเจริญเติบโตอยู่ในสภาพไร่ระยะหนึ่ง เกษตรกรบางรายจะหว่านเมล็ดถั่วเขียวร่วมกับเมล็ดข้าวขึ้นน้ำ เกษตรกรบางรายอาจจะปลูกข้าวโพดเทียน ก่อนหว่านเมล็ดข้าว เกษตรกรเหล่านั้นจะเก็บเกี่ยว ถั่วเขียวและข้าวโพดเทียนพื่อจำหน่ายก่อนน้ำไหลบ่าเข้าท่วมทุ่ง และจะมีระดับน้ำลึกที่สุดประมาณ 125 เซนติเมตร ข้าวขึ้นน้ำก็ยังสามารถติดดอกออกผลได้เป็นปกติ เมื่อระดับน้ำลดลงในปลายเดือนธันวาคมไปจนถึงเดือนมากราคม เกษตรกรจะเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อจำหน่ายและเก็บไว้บริโภค และทำพันธุ์บางส่วน


คุณภาพของดิน
มีความสำคัญในการเกษตรเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากมีผลโดยตรงและทางอ้อมต่อพืชที่ปลูกผลทางตรงจะช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดีส่วนผลทางอ้อมหากปลูกพืชในดินที่ขาดธาตุฟอสฟอรัสเมื่อน้ำพืชที่ขาดธาตุฟอสฟอรัสไปเลี้ยงสัตว์จะมีผลทำให้กระดูกสัตว์ไม่แข็งแรงและเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ
 
ความลึกของหน้าดิน
การเพาะปลูกพืชจะได้ผลดีต้องมีหน้าดินลึก 100 เซนติเมตรเป็นอย่างน้อย เพื่อให้รากพืชสามารถหยั่งลงได้ลึกและหาอาหารได้ดีขึ้น
 
เนื้อดิน
แบ่งออกเป็น ดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย และดินตะกอน ในบริเวณที่เป็นดินตะกอนมักเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ ดินร่วนนอกจากมีความอุดมสมบูรณ์สูงแล้วยังสามารถระบายน้ำได้ดีกว่าดินเหนียวอีกด้วย ดินทรายเป็นดินเนื้อหยาบ มีธาตุอาหารต่ำ และถูกชะล้างได้ง่ายจึงไม่เหมาะสำหรับการเพาะปลูก ดินกรด หรือดินที่ชาวบ้านเรียกว่าดินเปรี้ยว มีสมบัติทางเคมีไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากพิษของธาตุเหล็กและอลูมินั่ม ดินกรดชาวบ้านใช้วิธีทดสอบด้วยการบ้วนน้ำหมากลงในน้ำดินที่เป็นกรดน้ำหมากจะเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีดำคล้ำทันที วิธีแก้ความเป็นกรดทำได้ด้วยวิธีการใส่ปูนขาว หินปูน หรือปูนมาร์ล เพื่อลดความเป็นพิษของเหล็กและอลูมินั่มลง นอกจากนี้ยังช่วยให้ฟอสฟอรัสในดินเป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น ดินเค็ม เป็นที่มีเกลืออยู่ปริมาณมากจนเป็นอันตรายต่อพืชวิธีแก้ไขทำได้โดยไม่ปล่อยให้หน้าดินแห้ง เพราะจะทำให้น้ำใต้ดินนำเกลือขึ้นมาสะสมบนหน้าดิน หากดินยังมีความเค็มอยู่ให้เลือกปลูกข้าวพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 ละมุด พุทรา มะขาม มะพร้าว และมะม่วงหิมพานต์ เนื่องจากสามารถทนต่อความเค็มได้ดี
 
การปรับปรุงและรักษาสมบัติของดินเพื่อการเกษตรกรรม
ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เนื่องจากใช้เพาะปลูกพืชมานานจำเป็นต้องปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะในการเพาะปลูกพืช หรืออย่างน้อยควรรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินไม่ให้เสื่อมลง วิธีการปรับปรุงบำรุงดินทำได้หลายวิธี การใช้ปุ๋ย เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยยกระดับผลผลิตให้สูงขึ้น ปุ๋ยที่ใช้มี 2 ชนิด ชนิดแรกคือ ปุ๋ยเคมี ที่มีส่วนประกอบสำคัญ ของธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม หรืออาจมีธาตุรองอื่นๆ รวมอยู่ด้วยก็ได้ความต้องการปุ๋ยนั้นขึ้นอยู่กับชนิด และระยะการเจริญเติบโตของพืช ปุ๋ยเคมีเป็นธาตุที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว และเกษตรกรใช้ได้สะดวก ปุ๋ยชนิดที่ 2 คือ ปุ๋ยอินทรีย์ ได้จากปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชนิดดังกล่าวนอกจากจะเพิ่มธาตุอาหารในดินแล้วยังช่วยปรับปรุงดินให้ร่วนซุย ไถพรวนง่ายดูดซับน้ำ ได้ดีทั้งนี้เกษตรกรสามารถใช้วัสดุเหลือใช้ในไร่นามาใช้ประโยชน์ได้ การปลูกพืชหมุนเวียนนิยมปลูกพืชตระกูลถั่วร่วมอยู่ด้วย เนื่องจากพืชตระกูลถั่วมีแบคทีเรียอาศัยอยู่ที่ปมราก สามารถตรึงไนโตรเจนให้เป็นประโยชน์ต่อพืชได้และการปลูกพืชคลุมดินจะช่วยไม่ให้หน้าดินถูกชะล้างได้ง่ายโดยเฉพาะในพื้นที่ลาดชัน


น้ำ
เป็นส่วนประกอบสำคัญในเซลล์ของพืช สัตว์ และปลา น้ำช่วยละลายธาตุอาหารในดิน ทำให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้น น้ำช่วยลด อุณหภูมิในร่างกายของสัตว์และในต้นพืชในขณะที่มีอุณหภูมิสูง แหล่งน้ำ ที่นำมาใช้ในการเกษตรได้มาจากน้ำฝน ห้วย หนอง คลอง บึง หรือ ได้จากเขื่อนโครงการชลประทานต่างๆ ดังนั้น การทำกิจกรรมการเกษตรใดๆ จะต้องพิจารณาถึงแหล่งน้ำเพื่อใช้เพาะปลูกพืชในฤดูแล้งการเลี้ยง ปลาต้องใช้น้ำในปริมาณที่มากกว่าการเลี้ยงสัตว์ ปริมาณของน้ำจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวควบคุมขนาดของพื้นที่การเกษตร อุณหภูมิ ปริมาณฝน แสงแดด และความเร็วลม รวมเรียกว่า สภาพลมฟ้าอากาศ จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ พืชและสัตว์แต่ละชนิดมีความต้องการ อุณหภูมิ และแสงแดดแตกต่างกันไป เช่น แม่พันธุ์วัวนมที่นำเข้าจากต่างประเทศที่มีสภาพอากาศหนาวเย็น เมื่อนำมาเลี้ยงในประเทศไทยที่มี อากาศร้อนจัดในบางฤดูกาล แม่วัวจะให้น้ำนมน้อยลง จึงจำเป็นต้องปรับปรุงพันธุ์ด้วยการผสมพันธุ์กับพันธุ์พื้นเมือง เพื่อให้ได้พันธุ์ลูกผสมที่ทน ต่อสภาพแวดล้อมของไทยได้ดี ขณะเดียวกันก็สามารถให้ปริมาณน้ำนมสูงใกล้เคียงกับแม่พันธุ์เดิม
 
2.ปัจจัยทางชีวภาพ
มักมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และปัจจัยทางกายภาพ เช่น ในภาคใต้มีฝนตกชุก ดินอุดมสม บูรณ์ เกษตรกรจึงนิยมปลูกยางพาราเป็นพืชหลัก ซึ่งมีความเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือการกระจายของน้ำฝน ไม่สม่ำเสมอ อีกทั้งความอุดมสมบูรณ์ต่ำ บางส่วนเป็นดินเค็ม เกษตรกรต้องคัดเลือกปลูกมันสำปะหลัง ปอ ข้าวฟ่าง และมะม่วงหิมพานต์ เนื่อง จากทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี ในบริเวณที่ลุ่มสามารถเก็บกักน้ำได้ เกษตรกรจะปลูกข้าวเหนียวไว้บริโภคในครัวเรือน ภาคเหนืออากาศหนาว เย็น เกษตรกรเลือกปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ผักสลัด กะหล่ำปลี กุหลาบ สตรอเบอรี่ ลำไย ลิ้นจี่ และท้อ เป็นต้น ในที่ลุ่มภาคกลางมีระบบการ ชลประทานที่สมบูรณ์ จึงเป็นแหล่งผลิตข้างที่สำคัญของประเทศ การปลูกข้าวอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จึงทำให้โรคและแมลงศัตรูพืชระบาด อย่างรุนแรง ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องเปลี่ยนพันธุ์ข้าวทุก 3-5 ปี เช่น ในจังหวัดสุพรรณบุรีการใช้เปลี่ยนการใช้พันธุ์ข้าวจาก กข 7 และสุพรรณ บุรี 60 มาใช้ สุพรรณบุรี 90 ปทุมธานี 1 และชัยนาท 1 ทดแทน เนื่องจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ชนิดและพันธุ์ สัตว์มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว ตัวอย่างเช่น เกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงวัวขุน นิยมเลี้ยงพันธุ์อเมริกันบราห์มันมาเป็นเวลานาน แต่เมื่อ 10 ปี ที่ผ่านมา กลับนิยมเลี้ยงวัว พันธุ์อินดูบราซิล ที่มีราคาแพงเนื่องจากมีความสวยงาม ต่อมาราคาตกต่ำลงมาก เนื่องจากผู้เลี้ยงให้ความนิยมน้อยลง ในกรณีตัวอย่างอีกกรณี หนึ่งคือการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในที่ลุ่มภาคกลาง ซึ่งเป็นกุ้งน้ำจืด ส่วนกุ้งกุลาดำนิยมเลี้ยงกันตามชายฝั่งทะเล กุ้งทั้งสองชนิดจะมีตลาดรองรับต่าง กัน กุ้งกุลาดำจะส่งจำหน่ายไปยังต่างประเทศ ส่วนกุ้งก้ามกรามจะจำหน่ายภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ข้อด้อยของกุ้มก้ามกรามเมื่อถอดหัวและ แช่แข็งเพื่อส่งออกจะทำให้น้ำหนักเหลือน้อยลง อีกทั้งเนื้อจะฟ่ามสู้กุ้งกุลาดำไม่ได้
 
3.ปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคม
นับว่ามีความสำคัญต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาการเกษตรเป็นอย่างมากตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายเช่นผล ของการพัฒนาชนบทที่ผ่านมา มีการสร้างถนนหนทาง ไฟฟ้าและประปาในหมู่บ้าน โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ผลกระทบที่ตามมาคือชาวชนบทส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการซื้อรถจักรยนต์ พัดลม ตู้เย็น หรือแม้แต่โทรทัศน์ ซึ่งสิ่งอำนวย ความสะดวกเหล่านี้บางชนิดอาจไม่จำเป็นต่อการดำรงชีพเลยก็มี ทั้งนี้องค์ประกอบทางเศรษฐกิจและสังคมมีความซับซ้อนมากขึ้น จึงเข้ามาเกี่ยว ข้องกับการเกษตรอย่างหลีกเลี้ยงไม่ได้ ดังนั้นปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่ควรนำมาร่วมพิจารณา ก็คือ


แรงงาน
หมายถึง การใช้กำลังกาย เข้าทำงาน เพื่อแลกกับเงินหรือสินค้าอย่างอื่น แล้วแต่จะตกลงกันระหว่างผู้จ้างและผู้ถูกจ้าง หากเกษตรกรใช้กำลังของตัวเองเรียกว่า การใช้แรง งานของตนเอง แรงงานที่ใช้ในการเกษตรมีหลายประการ คือ แรงงานที่ไม่ได้คิดเป็นตัวเงิน เช่น แรงงานในครอบครัว และแรงงานจ้างแบ่ง เป็นแรงงานจ้างตลอดปี และการจ้างบางฤดูหรือบางครั้งบางคราว ดังนั้น การพิจารณาการใช้ขนาดพื้นที่ของไร่นาต้องอาศัย จำนวนแรงงานทั้งนี้ลักษณะของพืชหรือสัตว์ที่ทำการผลิต ดังตัวอย่าง การปลูกผักจะใช้แรงงานมากกว่าการปลูกพืชไร่ในพื้นที่เท่ากันหรือการเลี้ยงโคนมต้องใช้ แรงงานมากกว่าวัวเนื้อ


ทุน
เป็นทั้งปัจจัยการผลิตมีที่เป็นตัวเงิน และไม่ใช้ตัวเงิน ทั้งนี้พันธุ์สัตว์ พันธุ์พืช เครื่องมือ เครื่องจักรกลการเกษตร ขนาดเล็กและโรงเรือน จัดเป็นทุนประเภทคงทนถาวร ส่วนเมล็ดพืช อาหารสัตว์ สารเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง และเงินที่ใช้จ่ายในการดำเนินการ เพื่อซื้อปัจจัยการผลิต หรือเพื่อจ่ายค่าจ้างแรงงานจัดเป็นทุนประเภทหมุนเวียน ทั้งนี้การลงทุนในไร่นาของเกษตรกรย่อมจะแตกต่างกันไปใน แต่ละท้องถิ่น จะเห็นว่าเกษตรกรในภาคกลางจะลงทุนมากกว่าภาคอื่น ๆ อีกทั้งขนาดพื้นที่เฉลี่ยก็ยังมากที่สุดอีกด้วย เฉลี่ยประมาณ 30 ไร่ต่อ ครอบครัว นอกจากนี้แล้วดินยังมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนสูง ทำให้มีการลงทุนด้านการใช้แรงงาน และเครื่องมือการเกษตรสูงกว่าภาคอื่น ๆ อีก ด้วย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแม้ว่าขนาดพื้นที่ไร่นามีขนาดใกล้เคียงกับภาคกลางก็ตามแต่เป็นภาคที่มีการลงทุนต่ำที่สุด เนื่องจากดินขาด ความอุดมสมบูรณ์นั่นเอง อีกทั้งการกระจายตัวปริมาณน้ำฝนไม่สม่ำเสมอ ทำให้มีฝนทิ้งช่วงในฤดูเพาะปลูกค่อนข้างยาวนาน ส่งผลทำให้การเพาะ ปลูกเสียหายอยู่เสมอ
 
ศาสนาและวัฒนธรรม
มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง ตัวอย่างเช่นใน 4 จังหวัดภาคใต้ ตั้งแต่ สตูล ยะลา ปัตตานี ไป จนถึงนราธิวาส ที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม หากมีการส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นแหล่งผลิตสุกรในภาคใต้ โอกาสของโครงการดังกล่าวจะ ประสบผลสำเร็จ คงเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากขัดต่อหลักศาสนา
 
ตลาด
การผลิตสินค้าเกษตรใดๆ ก็ตาม เมื่อผลิตได้มากเกินความต้องการของผู้ บริโภค ปัญหาสินค้าล้นตลาดย่อมเกิดขึ้น ดังนั้นการจะผลิตสินค้าใด ๆ ต้องให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเป็นสำคัญเกษตรกรต้องจัดหา ตลอดในท้องถิ่นอย่างเหมาะสม ไม่เช่นนั้นแล้ว แม้ว่าผลผลิตจะมีคุณภาพดีเพียงใดก็ไม่เกิดประโยชน์ เมื่อไม่มีตลาดรองรับสินค้า สิ่งอำนวย ความสะดวกที่รัฐจัดหาให้ ไม่ว่าจะเป็นถนน ไฟฟ้า และประปา ในชุมชนที่มีปัจจัยดังกล่าวครบบริบูรณ์ ย่อมมีต้นทุนการผลิตในการขนส่งต่ำ สินค้าที่นำส่งตลาดจะไม่บอบช้ำ เกษตรกรสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็วกว่าในถิ่นที่ห่างไกลจากชุมชนออกไป
 
บทสรุป
ผู้ประกอบอาชีพทางเกษตรกรจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข และปัจจัยต่างๆ ซึ่งแตกต่างกันไป ทั้งนี้เกษตรกรจะต้องรู้จักวิธีจัดการ ทรัพยากรที่มีอยู่ในไร่นาให้เป็นระเบียบ และเป็นระบบในสัดส่วนที่เหมาะสมประการสำคัญ การประกอบอาชีพเกษตรกรรมนั้นสมาชิกในครอบ ครัวจะต้องมีความพึงพอใจ มีเวลาพักผ่อนมีโอกาสไปวัดฟังธรรม และมีเวลาคบหาสมาคมกับเพื่อนบ้านได้ตามประเพณีอย่างเหมาะสมจึงจะนับว่า เกษตรกรผู้นั้นประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้อย่างมีความสุข


ที่มา : ศูนย์สารสนเทศ กรมวิชาการเกษตร





วิสัยทัศน์ ปรัชญาการเกษตร

ประเทศต่าง ๆ ที่ร่ำรวยจากการมีการขายทรัพยากร น้ำมัน เพชร ทองคำ แร่ธาตุต่าง ๆ ใต้ดินที่ขุดออกมาขาย จนร่ำรวย ก็เหมือนกับประเทศไทยมีผลิตผลทางการเกษตรอุดมสมบูรณ์ ผลิตดอกออกผลมาจากธรรมชาติใต้ดิน สามารถนำออกมาขายให้ร่ำรวยได้เหมือนกัน
   จะทำได้ดีและร่ำรวยเหมือนกัน ถ้ามีการบริหารจัดการที่ดีไม่ว่าจะเป็นเพชร ทอง แร่ธาตุหรือ ผลไม้ ย่อมมีคุณค่าเท่ากัน แต่โลกนำมาตีเป็นมูลค่าต่างกัน
   ไร่ส้ม ไร่องุ่น สวนผลไม้ใหญ่ ๆ เจริญร่ำรวยได้เพราะมีการจัดการที่ดี มีความรู้ มีการศึกษาดี ใช้เทคโนโลยี เครื่องไม้เครื่องมือทุ่นแรง มีให้เห็นมากมาย
   ทำการเกษตรตามมีตามเกิด เล็ก ๆ น้อย ไม่มีความรู้ ไม่ได้เรียนหนังสือ ไม่รู้วิธีจัดการ จะเจริญไม่ได้ ล้มลุกคลุกคลาน เล่นการพนัน กินเหล้า เป็นหนี้ เป็นสิน ล่มจม
   ประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้เปรียบทางการเกษตรมีทรัพยากรทางเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ ดินฟ้า อากาศ แดด น้ำ อันสมบูรณ์กว่าหลายประเทศที่มีแต่ทะเลทราย หิมะ พายุ ไต้ฝุ่นรุนแรง เกาะแกร่งเป็นหิน ทำการเกษตรไม่ได้
   ประเทศไทยมีพลเมืองที่รักการเกษตร มีฝีมือทำการเกษตร สั่งสมถ่ายทอดกันมาหลายชั่วคน มีความชำนาญในการเกษตรในสายเลือดบางประเทศ แม้จะปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ก็ทำไม่เป็น ต้องให้ทหารไทยไปสอนให้เกี่ยวข้าว เลี้ยงปลา ปลูกผักไม่เป็น มีเทคนิค มีวิธีการ เครื่องไม้เครื่องมือน้อยกว่าประเทศไทย
   ถ้าประเทศไทยได้มีการจัดการบริหารการเกษตร ยกระดับความรู้ทางการเกษตร สนใจให้แนวคิดทุ่มเท ใช้ผู้มีความรู้มาบริหารงานจะเจริญรุ่งโรจน์
   เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรแทนที่จะขายแต่วัตถุดิบมีการแปรรูปเพิ่มราคาแทนที่จะขายยางดิบ ขายเป็นยางรถยนต์ อุปกรณ์ที่ทำจากยาง สายพาน รองเท้า ถุงมือ ฯลฯ
   แทนที่จะขายข้าว ทำข้าวพอง ขนมกรอบ บะหมี่ เส้นหมี่ ฯลฯ ผลไม้เหลือ เช่น มะม่วง มะนาว ดองเค็ม ดองหวาน ทำเปียก ทำแห้ง ซึ่งต้องใช้ความรู้และการจัดการบางอย่างไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนแต่ใช้สมองและความรู้แก้ปัญหาได้
   กระทรวงเกษตรฯพาณิชย์ อุตสาหกรรม ต้องร่วมมือร่วมใจประสานงานกัน มีผลประโยชน์ของประเทศชาติและเกษตรกรเป็นตัวตั้ง ไม่ใช้เป้าหมายอยู่ที่ประโยชน์ของตนที่จะได้ หรือของพรรคของพวก ทิ้งให้เกษตรกรเดือดร้อน ทุกข์ยาก ลำบาก อดตาย
   ประเทศไทยเคยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของโลก ปู่ ย่า ตา ยาย ได้ฝากฝีมือทางการเกษตรโด่งดังมาแล้วในอดีต ถูกคนอื่นเข้าแย่งชิงเพราะไม่รู้ไม่เข้าใจไม่เอาใจใส่ไม่บริหารจัดการการเกษตร ปล่อยให้การเกษตรถูกทำลาย ป่าไม้ สัตว์ป่า แม่น้ำลำคลอง ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมการเกษตรเสียหาย ป่าไม้ ชายเลน แผ่นดินถูกทำลาย
   ฝังแต่ความเชื่อ ความรู้สึกนึกคิดที่ผิด ๆ ว่าอาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพต่ำต้อย ไม่มีเกียรติ ไม่ศึกษาว่าประเทศใหญ่ ๆ ทุกประเทศยังทำการเกษตรออกกฎหมายส่งเสริมสนับสนุนการเกษตรอยู่ตลอดเวลา
   ครั้งหนึ่ง ผู้นำได้นำชาติให้เป็นชาติอุตสาหกรรม อยากร่ำรวยเหมือนประเทศอื่นคนไทยไม่มีความถนัด เสียเปรียบ ทรัพยากรทางอุตสาหกรรมไม่มี นำประเทศชาติประชาชนไปเสียหาย เป็นตัวอย่างบทเรียนของความไม่รู้ไม่เข้าใจและการคิดที่ง่าย ๆ ตื้น ๆ ในเรื่องอุตสาหกรรมและการเกษตรมาแล้ว…ต้องจำไว้ อย่าลืม!!
   แนวความคิดที่จะทำให้ประเทศไทย เป็นครัวของโลกจึงเป็นวิสัยทัศน์ความคิดที่ถูกต้อง
   ประเทศไทยจะเจริญ และยิ่งใหญ่ทางการเกษตรได้ ผู้บริหารจึงต้องสนใจเอาใจใส่ เข้าใจธรรมชาติของการเกษตร เข้าใจ พืชพรรณ สัตว์น้ำ สัตว์บก ป่าไม้ สิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมขาติของการเกษตร ดินน้ำ อากาศ แต่ละภาค แต่ละแห่ง จัดการแหล่งน้ำ ทรัพยากร ลักษณะและฝีมือทางการเกษตรของเกษตรกรเข้าใจจิตใจเกษตรกร เลือกใช้จัดวางคนทางการเกษตรที่ถูกต้อง อย่ามัวทำการเกษตรบนแผ่นกระดาษบันทึก รายงาน สำรวจ จนกองกระดาษจะท่วมตัวตาย
   ไม่ให้คนที่เอารัดเอาเปรียบเกษตรกร หาประโยชน์จากหยาดเหงื่อ และแรงงานของเกษตรกรเข้ามาบงการมีอำนาจ หรือขยายจำนวนเหลือบเกาะกินสูบเลือดจากเกษตรกร ด้วยการวางนโยบาย ออกระเบียบ กฎหมายออกมาบังคับการเกษตรก็จะเจริญรุ่งเรือง ประชาชน และประเทศมั่งคั่ง มีความสุขสมบูรณ์
   การบริหารการจัดการทางการเกษตรมีความสำคัญ ถ้าการบริหารการจัดการไม่ดี แม้เราจะมีบ่อน้ำมันที่มีน้ำมันมากมายมหาศาล ต่างขุดต่างสูบอย่างไม่มีการจัดการที่ดี น้ำมันคงจะขายได้ลิตรละสิบสตางค์
   ผลผลิตทางการเกษตร ถ้าผลิตโดยไม่มีการวางแผนจัดการ ผลิตออกมามาก ๆ ราคาก็จะตกต่ำต้องมีการวางแผนควบคุมการผลิต แบ่งเขตแบ่งพื้นที่การผลิต ที่เหลือก็แปรรูปทำอุตสาหกรรมส่งไปขายทำการพาณิชย์ให้ดี
   ในสมัยโบราณ บางประเทศต้มน้ำทะเลเป็นเกลือ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ก็สามารถเก็บส่วยสาอากรได้เป็นกอบเป็นกำ ประเทศร่ำรวยด้วยส่วยสาภาษี ราษฎรมีอันจะกินมีทรัพย์สินเสบียงเหลือเฟือในการทำศึกสงคราม
   ขอให้เชื่อเถอะว่า ประเทศไทยสามารถเป็นผู้นำทางการเกษตรได้ สินค้าอุตสาหกรรมอื่นไม่มีก็ไม่ใช้ แต่อาหารไม่กินทุกวันไม่ได้ ทำประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางอาหารการเกษตรของเอเชีย หรือของโลกให้ได้ เพราะมีความเป็นไปได้สูงกว่าประเทศอื่น
   ความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด ๆ ไม่เว้นแม้ในเรื่องการเกษตร จะกลายเป็นความเสื่อมโทรม ถ้าขาดการดูแลเอาใจใส่ส่งเสริมสนับสนุนให้เจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ หากปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ จะมีแนวโน้มไปในทางเสื่อมลงต่ำลงในโลกของความเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไรหยุดนิ่งได้นาน จะเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับกาลเวลาตลอดกาล
   การเกษตรเป็นวิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ พาณิชย์ศาสตร์ ธุรกิจ อุตสาหกรรม เป็นตลาดอาชีพที่กว้างใหญ่ไพศาล สามารถดูดซับแรงงานอาชีพของคนทุกระดับ แม้เมื่อวิกฤตทางเศรษฐกิจที่ผ่านมา ผู้คนตกงานมากมายหากไม่ได้การเกษตรดูดซับไว้ อาจเกิดวิกฤตกระทบอย่างมาก และกว้างขวางใหญ่กว่านี้
   รัฐบาลที่ฉลาด เข้าใจและใช้การเกษตรเป็นแกนกลางเพื่อหมุนพาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจะทะยานและฉุดดึงปัญหาอุปสรรคขึ้นจากห้วงเหวอันตรายได้ รวมทั้งประเทศจะได้รับประโยชน์จากเกษตรกรรมและเกษตรกรอย่างสูงสุดในทุก ๆ ด้านอย่างคิดไม่ถึง


www.doae.go.th/report/why_agro/menu2.htm -



โครงการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(การนำปรัชญาเกษตรทฤษฎีใหม่พัฒนาการทำการเกษตรของเกษตรกร)


1.
สาระสำคัญของโครงการ

1.1 วัตถุประสงค์ เพื่อขยายผลการเรียนรู้ให้เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2550-2552 โดยสนับสนุนให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถปรับเปลี่ยนพัฒนาให้มีศักยภาพจนสามารถพึ่งพาตนเอง และนำพาตนเองรวมทั้งครอบครัวให้บรรเทาและหลุดพ้นจากความยากจน สร้างเกษตรกรอาสาให้เป็นผู้นำในการขยายผลการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยง และสนับสนุนการพัฒนาและปรับปรุงศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านให้มีความพร้อมและศักยภาพในการฝึกอบรมความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่เกษตรกรได้ต่อไป ี

1.2 เป้าหมาย เกษตรกรได้รับการอบรม การพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ฯ จำนวน 55,000 ราย ถ่ายทอดและฝึกอบรมเพื่อสร้างเกษตรกรอาสา 2,000 ราย พัฒนาและปรับปรุงศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน และสนับสนุนและส่งเสริมเกษตรกรที่จะดำเนินการรวมกลุ่ม ภายหลังจากการฝึกอบรมของโครงการ

1.3 ระยะเวลาดำเนินการ เป็นโครงการต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2550

1.4 หน่วยงานรับผิดชอบ กองนโยบายและเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน (กนท.) สป.กษ.

1.5 งบประมาณ จำนวน 903,250,000 บาท (ปี 2553 จำนวน 209,250,000 บาท)



2.
ผลการติดตาม

2.1 ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านเข้าร่วมดำเนินการอบรมเกษตรกร 180 ศูนย์ ร้อยละ 105.88 ของเป้าหมายที่โครงการตั้งไว้ 170 ศูนย์

2.2 ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน ดำเนินการจัดอบรมเกษตรกรทั่วไปแล้ว 134 ศูนย์ จำนวน 41,481 ราย ร้อยละ 75.42 ของเป้าหมาย 55,000 ราย โดยมีศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านที่จัดอบรมเกษตรกรเสร็จสิ้นแล้ว จำนวน 69 ศูนย์ 12

2.3 ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน ดำเนินการจัดอบรมเกษตรกรอาสาแล้ว 39 ศูนย์ จำนวน 775 ราย ร้อยละ 38.75 ของเป้าหมาย โดยมีศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านที่จัดอบรมเกษตรกรอาสาทั้งสิ้น จำนวน 98 ศูนย์

2.4 สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โอนเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุน ให้สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด เพื่อเบิกจ่ายให้ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านนำไปใช้ในกิจกรรมอบรมเกษตรกรทั่วไป อบรมเกษตรกรอาสา การพัฒนาและปรับปรุงศูนย์ และการติดตามเกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรม เป็นเงินรวม 157,120,066 บาท รวมทั้งโอนเงินงบประมาณหมวดรายจ่ายอื่น ให้สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด จำนวน 74 จังหวัด เป็นเงิน 14,738,800 บาท



3.
ผลการติดตามเชิงลึกในพื้นที่ จังหวัดพิษณุโลก แพร่ เชียงราย ลำปาง กำแพงเพชร และสิงห์บุรี (ระหว่างวันที่ 1 – 5 กุมภาพันธ์ 2553)

3.1 ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน ทุกศูนย์ดำเนินการจัดอบรมเกษตรกรแล้ว (บางศูนย์อบรมเกษตรกรได้ครบตามเป้าหมายตั้งแต่เดือน มกราคม 2553 และบางศูนย์จะอบรมเกษตรกรเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2553) แต่ยังไม่ได้รับเงินงบประมาณสำหรับพัฒนาและปรับปรุงศูนย์ ทำให้ศูนย์ที่รองบประมาณจากโครงการ ไม่สามารถปรับปรุงได้ทันใช้อบรมเกษตรกรตามโครงการ ปี 2553 ทั้งนี้ ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านส่วนใหญ่ ได้ใช้เงินส่วนตัวดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงศูนย์ไปก่อน เพื่อให้ทันใช้อบรมเกษตรกร

3.2 การดำเนินงานตามโครงการ บางเรื่องยังมีแนวทางการปฏิบัติไม่ชัดเจน ประกอบกับมีการเปลี่ยนแปลง ผู้รับผิดชอบโครงการ ส่งผลให้มีการใช้ดุลยพินิจกำหนดเกณฑ์การปฏิบัติต่างจากที่เคยปฏิบัติ เช่น การกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าอบรม การกำหนดจำนวนผู้เข้าอบรมในแต่ละรุ่น และการสนับสนุนงบพัฒนาและปรับปรุงศูนย์ เป็นต้น ส่งผลให้ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน เกิดความสับสนว่าทำไมบางเรื่อง ที่เคยทำได้มาแล้วในปีก่อน กลับทำไม่ได้ในปีนี้ ทั้งๆ ที่ใช้ระเบียบฉบับเดียวกัน

3.3 การจัดอบรมเกษตรกรอาสาในปี 2553 มีการกำหนดเป้าหมายให้ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน คัดเลือกเกษตรกรอาสาเข้าอบรมลดลง สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดต้องรวมเกษตรกรอาสาจากศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านหลายๆ ศูนย์ แล้วมอบหมายให้ศูนย์ใดศูนย์หนึ่งดำเนินการจัดอบรม ส่งผลให้เกษตรกรอาสาจากศูนย์อื่นๆ ไม่ได้รับการพัฒนาให้เป็นเกษตรกรอาสาตามความต้องการที่แท้จริง ของแต่ละศูนย์ที่ส่งไปอบรม

3.4 ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านหลายแห่ง ได้เข้าไปติดตามดูแลเกษตรกรที่ผ่านการอบรมซึ่งรวมกลุ่มกันนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปฏิบัติ โดยปราชญ์ชาวบ้านและคณะวิทยากรของศูนย์ ได้เดินทางไปให้คำแนะนำพร้อมทั้งนำปัจจัยการผลิตบางส่วนไปสนับสนุนให้เพิ่มเติม ตามความก้าวหน้าของการทำกิจกรรม นอกจากนี้ ในกรณีของกลุ่มเกษตรกรที่ผ่านการอบรมจากศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดแพร่ ยังได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดแพร่ ให้ตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจ13

พอเพียงชุมชน ตามโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ทำให้เกษตรกรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการปรับเปลี่ยนแนวคิดและเรียนรู้เทคนิคการผลิตจากศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน แล้วยังได้รับการสนับสนุนให้นำความรู้ไปทำจริงในศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน



4.
ข้อคิดเห็น 
 

4.1 กนท. ควรเร่งรัดการสนับสนุนงบพัฒนาและปรับปรุงศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน ให้สามารถเบิกจ่ายงบประมาณไปดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงศูนย์ ได้ทันใช้อบรมเกษตรกรในปี 2553

4.2 กนท. ควรทบทวนแนวทางการปฏิบัติงานตามโครงการที่สำนักงานเกษตรและสหกรณ์แต่ละจังหวัดใช้ดุลยพินิจกำหนดเกณฑ์การปฏิบัติต่างกัน แล้วกำหนดแนวทางการปฏิบัติ ที่ชัดเจนชี้แจงให้ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน เข้าใจก่อนเริ่มโครงการ

4.3 กนท. ควรกำหนดแนวทางการปฏิบัติ ให้สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ที่ต้องรวมเกษตรกรอาสาจากศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านหลายๆ ศูนย์ แล้วมอบหมายให้ศูนย์ใดศูนย์หนึ่งดำเนินการจัดอบรม โดยให้ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านที่ส่งเกษตรกรอาสาเข้าอบรมทุกศูนย์ร่วมกันกำหนดหลักสูตรสำหรับอบรมและร่วมกันถ่ายทอดความรู้เพื่อให้ได้เกษตรกรอาสาตามความต้องการของแต่ละศูนย์

4.4 ควรเชื่อมโยงการดำเนินงานร่วมกันระหว่างโครงการพัฒนาการเกษตร ตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน โดยให้สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ร่วมกับศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน คัดเลือกเกษตรกรที่ผ่านการอบรมจากศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งรวมกลุ่มกันนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปฏิบัติ ให้ตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ตามโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน เพื่อให้เกษตรกรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การเข้ารับการอบรมเพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิดและเรียนรู้เทคนิคการผลิตจากศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน และได้รับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับการนำความรู้ไปปฏิบัติจริงในศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ทั้งนี้ ควรให้ปราชญ์ชาวบ้านและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันกำหนดหลักสูตรการเรียนรู้ของเกษตรกรในศูนย์ดังกล่าว เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้ในเรื่องที่ปราชญ์ชาวบ้านและนักวิชาการ มีความเห็นสอดคล้องกัน ส่วนเรื่องที่มีความเห็นต่างกัน ก็สามารถจัดทำเป็นแปลงทดลองเปรียบเทียบให้ปราชญ์ชาวบ้าน นักวิชาการ และเกษตรกร ได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน


www.oae.go.th/ewtadmin/ewt/oae_web/.../article_20100707110003.pdf




หน้าก่อน หน้าก่อน (1/5) - หน้าถัดไป (3/5) หน้าถัดไป


Content ©