-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 546 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ปรัชญาการเกษตร




หน้า: 1/5


ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง






Rama9



"เศรษฐกิจพอเพียง

แปลว่า Sufficiency Economy … 

คำว่า Sufficiency Economy นี้ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ.
จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่ … Sufficiency Economy นั้น ไม่มีในตำรา เพราะหมายความว่าเรามีความคิดใหม่ … และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่า เราก็สามารถที่จะไปปรับปรุง หรือไปใช้หลักการ เพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศและของโลกพัฒนาดีขึ้น."

พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 23 ธันวาคม 2542



เศรษฐกิจพอเพียง

เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิต ด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้

1. กรอบแนวคิด

เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา


2. คุณลักษณะ

เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน


3. คำนิยาม

ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กันดังนี้

  • ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลติ และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
  • ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
  • การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล

4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

  • เงื่อนไขความรู้   ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
  • เงื่อนไขคุณธรรม   ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

5. แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลก
เศรษฐกิจ
พอเพียงและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสียงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณ และความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียร และความอดทน สติ และปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี


เศรษฐกิจพอเพียงความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่ โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการ และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรม เฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม  ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐาน กับ แบบก้าวหน้า ได้ดังนี้


ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัว โดยเฉพาะเกษตรกรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน
เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝน และประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าว จากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่ง และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว

อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสม


ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า
ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ

กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัว หรือองค์กรต่าง ๆ มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่ม และส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามกำลังและความสามารถของตน ซึ่งจะสามารถทำให้ ชุมชนโดยรวม หรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริง

ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชน หรือเครือข่ายวิสาหกิจ สร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น

การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้ จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือ ร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลักไม่เบียดเบียน แบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด

การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้
1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา
2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กันดังนี้
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลติ และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล
4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
5. แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลก

VN:F [1.9.1_1087]
 
www.ifarm.in.th/index.php?task=categories&catid=4&option...






ถึงคุณผึ้ง
          
ผมก็เป็นคนหนึ่ง ที่ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นก็อยากจะถ่ายทอดประสบ
การณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ได้รับและได้รู้มาเผื่อจะเป็นประโยชน์กับตัวคุณและคนในหมู่บ้านก็ได้

    
1.คนญี่ปุ่นจะทำเป็นทีม ไม่ทำงานคนเดียวเด็ดขาด เช่น การรวมกลุ่มเกษตร สตรีแม่บ้าน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน  ฯลฯ

   
2.การทำงานแต่ละอย่างจะมีการวางแผนล่วงหน้าไว้อย่างดี และปฏิบัติตามแผนอย่างเคร่งครัด
 

3.มีการวางแผนการผลิตสินค้าเกษตรไว้ล่วงหน้าว่า ปีนี้ เดือนนี้ จะผลิตเท่าไร ตลาดมีความต้องการมากน้อยแค่ไหน ตัวสินค้าเกษตรจะได้ไม่มีปัญหาล้นตลาด และราคาถูก

   
4.เรื่องสุขภาพสำคัญที่สุดสำหรับคนญี่ปุ่น เวลาฉีดยาเขาจะใส่ชุดแบบมนุษย์อวกาศ
อะไรประมาณนั้น แถวบ้านคุณเวลาฉีดยาข้าว หรือผักผลไม้ ใส่ชุดแบบนี้หรือเปล่า 

   
5.มีการปลูกฝักจิตสำนึกที่ดีตั้งแต่เด็กๆ เช่น เด็ก ป.1 ถึง ม.3 จะต้องเดินไปโรงเรียนเอง ห้ามพ่อแม่ไปส่ง และห้ามนำเงินให้เด็กไปกินที่โรงเรียน เพราะที่โรงเรียนมีโครงการข้าวกลางวันแล้ว

   
6.มีการคิดสร้างจุดเด่นให้กับชุมชน เพื่อเป็นทีรู้จักกับคนเมืองอื่น จังหวัดอื่น ตัวอย่าง เช่น หว่านปอเทืองพร้อมกันทั้งหมู่บ้าน เพื่อเป็นการเติมปุ๋ยพืชสดให้กับดินทุกเดือนเมษายนพอดอกเริ่มเหลืองก็จัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวประจำหมู่บ้าน  มีการประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วไปมาเที่ยวชมดอกปอเทืองกัน

   
7.มีการจัดทำแผนชุมชน เพื่อพัฒนาสาธารณูปโภคและพัฒนาอาชีพของเกษตรกร ภายในตำบลในระยะ 1 ปี  3 ปี  5 ปี

    
8.จะทำอะไรเรื่องอะไรต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นอย่างถ่องแท้ เราต้องเป็นเกษตรกรมืออาชีพ ไม่ใช่มีอาชีพเป็นเกษตรกรเท่านั้น ดังสุภาษิต "รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง"  รู้ว่าพืชผักเป็นโรคอะไร  ต้องแก้ไขอย่างไร แมลงศัตรูพืชระบาด ต้องทำอย่างไร  ไม่ใช่เห็นข้างบ้านฉีดยาก็ฉีดตาม ใส่ปุ๋ยก็ใส่ตาม

   
9.โครงการที่เขาทำกันดูแล้วนะจะนำมาใช้ได้คือ โครงการแลกเปลี่ยนระหว่างคนเมือง และชนบท ประมาณว่า ผู้ที่เข้าร่วมโครงการ คือ คนรวยที่เกษียณแล้ว หรืออายุเยอะแล้ว มาทำการเกษตรในชนบทช่วงเสาร์อาทิตย์ หรือต้นเดือน กลางเดือน ปลายเดือน
มาปลูกผักรดน้ำใส่ปุ๋ยเอง เมื่อผลผลิตออกมาก็นำกลับไปทานที่บ้าน คนเหล่านี้จได้พักผ่อนไปในตัว ได้ออกกำลังกาย ได้รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าไม่ต้องนั่ง ๆ นอนๆ อยู่ในบ้านอาจจะพาลูกหลาน มาพักผ่อนร่วมกันทำการเกษตรด้วยก็ได้โครงการนี้น่าสนนะว่าไหมลองทำสิ


10.ข้อนี้สำคัญที่สุด คือ คนเขียนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคือใคร และคนถือเงินในการพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์คือใคร เช่น อบต. อบจ. จังหวัด กรม กระทรวงรัฐมนตรี
ถ้าเขาให้ความสำคัญกับเราก็ดีไป ถ้าไม่เห็นความสำคัญก็ยากที่โครงการดี ๆ จะเกิดขึ้น

   
สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับความคิดของผมก็คือ ไปที่ไหนก็แล้วแต่จะมีแผนการพัฒนาสาธาร
ณูปโภค ถนน น้ำ ไฟ เสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีเลยที่จะมีแผนการพัฒนาอาชีพให้คนในชุมชนได้มีอาชีพที่มีรายได้ทำกัน ถนนดี น้ำดี ไฟดี แต่คนไม่มีอาชีพทำกัน ไม่มีเงินใช้ มีแต่หนี้สิน แล้วสิ่งต่างๆ เหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไรเล่า
ญี่ปุ่นเป็นเมืองหนาว ประเทศไทยเป็นเมืองร้อนชื้น เพราะฉะนั้น สิ่งที่ได้จะเป็นแค่ "แนวคิด" เท่านั้น วิธีการทำและการปฏิบัติลอกกันไม่ได้.....นะจะบอกให้

วงจรชีวิตคนเปลี่ยนไม่ได้ แต่ที่เปลี่ยนไป คือ วิถีชีวิตคน  ตราบใดที่ไม่เริ่มนับ 1 อย่าหวังว่า 2..3..4.. จะตามมา คนเราเลือกเกิดไม่ได้ แต่เราเลือกที่จะรวยหรือจนได้ อยู่ที่ว่าคุณพร้อมที่จะลุยทำมันให้เกิดขึ้นจริงหรือเปล่า อย่าปล่อยให้ปัญหา หรือ ความท้อแท้ มารุมเร้าจนคุณหยุดคิด หยุดทำสิ่งที่เคยวาดฝันไว้ จงมีจิตใจที่แน่วแน่ มุ่งมั่น ขยัน มัธยัสถ์ อดทน และมีกึ๋น เมื่อนั้นคุณจะเป็นนักเกษตรผู้ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่แค่เกษตรกรผู้โดดเดี่ยว หวั่นไหวและอ่อนแอ ไปตามกระแสธาร
แห่งคลื่นลมมรสุมแห่งลมปาก (เพื่อนบ้าน)


จงเป็นเหมือนเด็ก  มีจินตนาการที่โลดแล่น  เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการคิดนอก
กรอบ  นำประสบการณ์จากหลายๆคนมาปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน เป็นกูรู (กูรู้) ในเรื่องที่เราทำให้ถ่องแท้ เหมือนการเจียวไข่ ใครๆก็เจียวได้ แต่..จะมีสักกี่คน ที่ออกปากชมว่าคุณเจียวไข่ได้อร่อยมาก..ลองดู


ปุ๋ม ระยอง......

--------------------------------------------------------------------------------------



สำหรับตัวผม  ณ. ปัจจุบัน  ไม่ได้ทำเกษตรแต่อย่างไร ...... ขอออกแนวคิดแปลกๆ โดยจะเสริม แนวการตลาดเข้าไปด้วยครับ


" ปลูกให้ได้ และขายให้เป็น ....ปลูกให้เป็น และ ขายให้ได้  ไม่มีจน"



สมชาย  กลิ่นมะพร้าว.......
--------------------------------------------------------------------------------------




          อาชีพหมอ พยาบาลก็แค่รักษาเราชั่วครั้งชั่วคราว  สุดท้ายเราก็ต้องตาย อาชีพวิศวกรก็แค่ออกแบบและสร้างสิ่งของฟุ่มเฟือยมาบำเรอความสุขของเราเท่านั้น  

          อาชีพเกษตรกร คือปาก ท้อง และชีวิตของคนทุกคนบนโลกนี้เพราะฉะนั้นจงภูมิใจเสียเถิดที่เกิดเป็นลูกเกษตรกร   (เราต้องเป็นเกษตรมืออาชีพ มิใช่มีอาชีพเป็นแค่เกษตกร)

DONSAN.....

--------------------------------------------------------------------------------------



จะดีกว่ามั๊ยถ้าเรารวมกลุ่มบุคคลที่มีแนวคิดทางการเกษตรที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ร่วมกันขับเคลื่อนให้ แนวคิดอินทรีย์นำ เคมีเสริมเป็นที่ยอมรับทั่วประเทศ เพื่อลดต้นทุนการผลิต อย่าลืม ไม่มีใครประสบความสำเร็จได้ด้วยคนเพียงคนเดียว โดยปราศจากการช่วยเหลือจากผู้อื่น ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม "ฝันให้ไกล ไปให้ถึง โดยมีเพื่อนอยู่เคียงข้างกัน"


ปุ้มระยอง

--------------------------------------------------------------------------------------


ชาวนารำพึง ถึงวัน"สูญพันธุ์"

วิภาวี จุฬามณี

ต้นเดือนพฤษภาคม แดดและฝนสลับกันทำหน้าที่ ต้นข้าวสีเขียวอ่อนพลิ้วไหวไปมาตามแรงลมที่พัดผ่าน ชายชราเสื้อผ้ามอซอ ยืนนิ่งทอดสายตาไปไกล สิ่งที่เขามองเห็นไม่ใช่แค่นาข้าว แต่คือปากท้องของอีกหลายชีวิตที่บ้าน

เสียงจาก"กระดูกสันหลัง"  อาชีพที่ไร้ทายาทสืบทอด

ลุงชด นามขาน
ชาวนาวัย 57 ปี แห่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เล่าให้ฟังว่า ชีวิตคลุกคลีอยู่กับโคลนและสากของใบข้าวมาตั้งแต่เขาเริ่มจำความได้ ความรู้แค่ชั้น ป.4 ทำให้ไม่คิดหนีท้องนาไปทำงานอย่างอื่น

"ไม่คิดจะไปทำหรอก พวกโรงงงโรงงาน อาชีพอื่นรายได้เยอะกว่าก็จริง แต่เวลาได้มันก็ได้ เวลาขาดมันก็ขาด มีบางคนมองว่าเราเป็นพวกคนจน รายได้น้อย แต่เราไม่เคยคิดจะไปว่าเขาหรอก เพราะเราก็เกิดมาเป็นอย่างนี้ตั้งแต่ไหนแต่ไร"

เรื่องน้ำท่วม ฝนแล้ง ลุงชดบอกว่า เป็นธรรมดาที่ชาวนาทุกคนต้องเจอ และทุกครั้งก็เอาตัวรอดกันมาได้ด้วยมือ ด้วยเท้าของตัวเอง

"น้ำท่วมก็ท่วมไป รัฐบาลก็ไม่เห็นมาช่วยอะไรหนักหนา ฉันไม่ได้ข้าวนาดีมาตั้ง 2 หน้าแล้ว เคยได้ไร่ละเกวียน เดี๋ยวนี้ไม่ถึง น้ำท่วมมา ข้าวกำลังจะได้เกี่ยว มันลงไปนอนอยู่กับน้ำหมด ต้องเอาเครื่องวิดน้ำออก เราก็ต้องเสียค่าน้ำมันอีก ตอนน้ำท่วม แหม...รัฐช่วยมาได้ นา 30 ไร่ ให้ปุ๋ยมากระสอบครึ่ง" พูดจบก็หัวเราะคล้ายจะเย้ยหยันต่อชะตากรรมของชาวนาอย่างเขาเอง

ไม่ต่างกับ ลุงใส พูลทอง ชาวนาวัย 71 ปี ซึ่งมีที่นาอยู่ในละแวกเดียวกัน นอกจากน้ำท่วมฝนแล้งแล้ว ลุงใสบอกว่า ชาวนายังต้องเจอปัญหาอีกสารพัด

"ทำนานี่ปัญหาเยอะ เอาเงินมา 4 หมื่น นา 11 ไร่ พอเสียที่ไหนล่ะ ปุ๋ยก็แพง ยาก็แพง ทำนาสมัยนี้ไม่เหมือนแต่ก่อน ตอนรุ่นพ่อรุ่นแม่ทำไม่ต้องไปฉีดยาหรอก สมัยนี้ 3-4 วันเดี๋ยวเพลี้ยมาเดี๋ยวหนอนมา พอเพลี้ยลงเราก็ฉีดอีกสิ คนจะตายก่อนเพลี้ยก่อนหนอน เพราะใช้ยาเยอะ"

ถามว่าในเมื่อทำนาแล้วมีปัญหามากขนาดนี้ ทำไมไม่เปลี่ยนไปทำอาชีพอย่างอื่น

"ถ้าไม่ทำนาก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไร ไปรับจ้างเขา เขาก็ไม่รับ เราแก่แล้วแบกหามไม่ไหว แล้วก็ทนทำ ไม่ได้บ้าขยันทำหรอก รุ่นเรายังทำอยู่ 10 กว่าไร่ แต่ลูกมันไม่ทำแล้ว เด็กสมัยนี้มันไม่เอาหรอก มันบอกขี้เกียจ เพราะลูกไม่ทำผมถึงยังทำอยู่นี่แหละ"

ทุ่งนาแดนนี้ไม่มีความหมาย  หรือพรุ่งนี้จะไม่มีชาวนา
ไม่กี่วันก่อนหน้า หนังสือพิมพ์เผยแพร่ข่าวชาวนาภาคกลาง กว่า 200 คน รวมตัวยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้แก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ พร้อมเร่งให้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการข้าวแห่งชาติโดยเร็ว หลังจากเลื่อนมาแล้วถึง 8 ครั้ง ช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ส.ส.ท่านหนึ่งอภิปรายในสภา บอกว่าชาวนากำลังจะตาย เพราะราคาข้าวที่ตกต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี

ปัญหาที่มากขึ้น ในขณะที่รายได้กลับลดลง รวมถึงค่านิยมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้อาชีพทำนาอยู่นอกสายตา นอกความสนใจของคนรุ่นใหม่ๆ และมีแนวโน้มว่าเกษตรกรไทยจะเข้าสู่วัยสูงอายุเพิ่มขึ้น ในขณะที่คนรุ่นใหม่สนใจประกอบอาชีพนี้น้อยลง

"40 ปีที่แล้วมีคนอยู่ในภาคเกษตรกรรมประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งประเทศ แล้วก็ลดลงมาเรื่อยๆ จนกระทั่งปัจจุบันเหลือประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ คือลดลงเกินครึ่ง และจะลดลงไปอีก" เฉลิมพร พิรุณสาร เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ประเมิณสถานการณ์ของชาวนาไทย ก่อนอธิบายเพิ่มเติมว่า สถานการณ์เช่นนี้มีสาเหตุจากการเจริญเติบโตของสังคมและเศรษฐกิจ ที่แต่เดิมทำเกษตรแบบพอเลี้ยงตัวได้ แต่เมื่อมีการพัฒนาด้าน
เศรษฐกิจ มีโรงงานอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามา อาชีพต่างๆ จึงพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป และมีความหลากหลายมากกว่าสมัยก่อน แรงงานส่วนใหญ่เลือกที่จะอยู่ในภาคอุตสาหกรรม เพราะมีรายได้แน่นอนกว่า

"อาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตและรายได้ไม่พอเลี้ยงตัวเอง ไม่พอส่งเสียลูกหลานให้เรียนหนังสือ เกษตรกรที่มีลูกหลานส่วนใหญ่จะส่งลูกหลานไปเรียน เรียนจบก็ไปประกอบอาชีพอย่างอื่นไม่กลับมาทำการเกษตร ตัวเขาเองก็ไม่อยากให้ลูกหลานสืบทอดอาชีพนี้ ถามว่าทำอย่างไรลูกหลานเกษตรกรจะกลับมา ตำตอบคือต้องทำให้อาชีพเกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น พอที่จะเลี้ยงครอบครัว เลี้ยงลูกหลานได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าอาชีพอะไรถ้าทำแล้วมีรายได้ไม่พอเลี้ยงครอบครัวมันก็ไม่มีคนทำทั้งนั้น"

เลขาธิการ ส.ป.ก. บอกว่า ทางที่จะทำให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น คือต้องให้เกษตรกรมีผลผลิตมากขึ้น และคุณภาพดีขึ้น ซึ่งทำได้ด้วยการพัฒนาปัจจัยการเกษตรขั้นพื้นฐานได้แก่ ดิน น้ำ และเมล็ดพันธุ์ สนับสนุนให้เกิดการรวมตัวกันในรูปของวิสาหกิจชุมชน เพื่อประโยชน์ในการพึ่งพาอาศัยกัน และเพิ่มอำนาจการต่อรอง ที่สำคัญคือต้องถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้เกษตรกรได้พัฒนาตนเอง

หวนกลับสู่ท้องทุ่ง ชาวนาถึงเวลา"คิดใหม่"
ในขณะที่ ดร.เสรี พงศ์พิศ ผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยชีวิต ให้ความเห็นว่า การที่คนรุ่นใหม่ไม่สนใจอาชีพทำนามีที่มาจาก 3 ประเด็น คือ พัฒนาการของสังคมที่เมื่อก้าวไปสู่ความเป็นอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรมก็ย่อมจะได้รับความสนใจน้อยลง ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับทุกประเทศ ประการที่สอง คือ อาชีพทำนาไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เมื่อความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติหายไปการทำนาจึงต้องลงทุนมากขึ้น ค่าจ้างแรงงานแทนการลงแขก
แบบเดิมๆ เมื่อต้นทุนสูงขึ้น ในขณะที่ผลผลิตยังเท่าเดิม ชาวนาจึงไม่สามารถพยุงฐานะของตัวเองได้ และสุดท้าย คือ ปัจจัยด้านสังคม และวัฒนธรรม ที่มีอิทธิพลไม่น้อยไปกว่ากัน

"พ่อแม่ในชนบทขายไร่นา ขายวัวควาย กู้หนี้ยืมสินส่งลูกไปเรียน แล้วจะเหลือใครให้ทำนา เขาถือกันว่าการทำนาเป็นงานที่ต่ำต้อย ถูกดูถูก ไม่มีศักดิ์ศรี เป็นตาสีตาสา คนเขาต้องการยกสถานภาพทางสังคม การเรียนสูงขึ้นแล้วหนีไปจากทุ่งนา ไปทำงานในบริษัทห้างร้าน เขารู้สึกว่ามันมีศักดิ์ศรีกว่า เป็นเรื่องของระบบคุณค่า และค่านิยมของสังคมที่เปลี่ยนไป"

การจะทำให้อาชีพนี้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น ดร.เสรีเสนอว่า ลูกหลานชาวนาต้องเปลี่ยนวิธีคิด วิธีปฏิบัติใหม่ โดยใช้ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นข้อได้เปรียบในการสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเฉพาะในยุคที่คนหันมาสนใจผลิตผลที่เป็นธรรมชาติแท้ๆ มากขึ้น ทั้งข้าวพันธุ์พื้นเมือง พืชผักอินทรีย์ และอาหารซึ่งปราศจากสารเคมี ถ้าชาวนาปรับรูปแบบการผลิตของตนเองให้สอดคล้องกับความต้องการของโลกที่เปลี่ยนไปก็มีโอกาสที่จะอยู่รอดอย่างมีศักดิ์ศรีต่อไปได้

"เกษตรกรจะทำเกษตรแบบดั้งเดิมไม่ได้แล้ว ต้องปรับวิธีการที่จะทำให้ตัวเองอยู่ได้อย่างมั่นคง หนึ่งคือต้องใช้รูปแบบที่หลากหลาย เหมาะสมกับพื้นที่ เหมาะสมกับความต้องการของท้องถิ่น และเหมาะสมกับตลาด ชาวนาต้องมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น ไม่ใช่ทำตามเวรตามกรรม ถึงเวลาก็ทำนาก็ทำนา แต่ต้องกลับมาคิดว่าที่ดินที่มีอยู่ทำอย่างไรจึงจะอยู่อย่างมั่นคงและรวยได้ ซึ่งความรู้จะเป็นส่วนส่งเสริมที่สำคัญ"

ความรู้ในความหมายของ ดร.เสรี คือ ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ และเอาประสบการณ์ชีวิตเป็นตัวตั้ง ซึ่งแตกต่างกับการเรียนเกษตรในปัจจุบันที่มุ่งเน้นไปที่ใบปริญญา สุดท้ายเมื่อจบออกมาก็ยังไปรับใช้นายทุน และทุ่งนาก็ยังถูกทิ้งร้างอยู่เช่นเดิม

"ปัญหาของเกษตรกรตอนนี้ก็คือ ปัญหาการเรียนรู้เพื่อให้เขาได้อยู่อย่างรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก วันนี้เขาไม่ทันโลก เมื่อเขาไม่ทันก็จะถูกหลอก ถูกเอาเปรียบ ถูกครอบงำ ถูกใช้เป็นเครื่องมือ หาได้เท่าไรก็เก็บไม่อยู่ ผมคิดว่าการเรียนรู้มาเป็นอันดับ 1 เพราะเขายังมีดิน ยังมีน้ำ ยังมีทรัพยากร ยังมีชุมชน มีพี่น้อง มีอะไรดีๆ อยู่อีกเยอะ"

อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องได้รับการแก้ไข คือโครงสร้างทางสังคม และกฎหมายบางประการที่ยังกดขี่คนจนอยู่ ดร.เสรีมองว่า ปัจจุบันกระแสโลกได้หมุนกลับ คนเริ่มให้คุณค่ากับอาหาร สุขภาพ สิ่งแวดล้อมมากขึ้น ถือว่าเป็นข้อได้เปรียบของเกษตรกร อยู่ที่ว่ารัฐบาลจะมองเห็นหรือไม่ สังคมเข้าใจประเด็นนี้มากน้อยแค่ไหน แล้วใช้โอกาสนี้ทำให้ภาคเกษตรอยู่รอดได้อย่างมั่นคงยั่งยืน

"ถ้ารัฐบาลยังไม่เข้าใจคนจน ยังไม่เข้าใจเกษตรกร ไม่เข้าใจคนส่วนใหญ่ ยังมานั่งพูดถึงคุณภาพโดยรวมของประเทศ แต่ไม่เข้าใจคนกลุ่มนี้ คุณจะพัฒนาประเทศได้อย่างไร จะเอาอะไรมาเป็นพื้นฐานของสังคม" เป็นความเห็นของนักพัฒนา ที่อยากให้ศักดิ์ศรี และคุณค่าของชาวนายังไม่เลือนหายไปตามกาลเวลาที่ผันผ่าน


วิกฤตท้องนาไม่ได้มีแค่เรา

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ให้ข้อมูลเกี่ยวกัสถานการณ์ของเกษตรกรไทยว่า ในจำนวนเกษตรกรที่ได้รับมอบเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 จำนวน 1.99 ล้านคนนั้น ราวครึ่งหนึ่งมีอายุมากกว่า 50 ปี ในขณะที่เกษตรกรอายุน้อยกว่า 41 ปีมีเพียง 21 เปอร์เซ็นต์ ลักษณะเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าเกษตรกรไทยมีอายุเฉลี่ยสูงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่คนรุ่นใหม่สนใจอาชีพนี้น้อยลง

ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ข้อมูลโดยกระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมง ของประเทศญี่ปุ่นระบุว่า ในปี ค.ศ.2000 ญี่ปุ่นมีชาวนาอยู่ประมาณ 1.75 ล้านครัวเรือน และลดลงเหลือ 1.4 ล้านครัวเรือน ในปี 2005 ในขณะที่คนญี่ปุ่นเองก็บริโภคข้าวน้อยลงเรื่อยๆ จากเดิมที่บริโภคเฉลี่ยคนละ 115 ก.ก.ต่อปี ในปี ค.ศ.1960 กลับลดลงเหลือเฉลี่ยเพียงคนละ 61 ก.ก.ต่อปี ในปี พ.ศ.2006

ในประเทศจีน โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (The United Nations Development Program-UNDP) รายงานว่า เศรษฐกิจของประเทศที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วได้ขับเคลื่อนกระบวนการเปลี่ยนชนบทสู่เมือง และอีก 20 ปี ข้างหน้าเกษตรกรจีนจำนวนมากกว่า 300 ล้านคนจะอพยพเข้ามาอยู่ในเขตเมือง

ส่วนประเทศเพื่อนบ้านของเราอย่างพม่า ผลกระทบต่อเนื่องจากพายุไซโคลนนาร์กีส เมื่อกลางปี พ.ศ.2551 ทำให้ชาวนาประสบปัญหาขาดแคลนเครื่องมือ ไม่มีเงินทุนเพียงพอที่จะซื้อปุ๋ยและยาฆ่าแมลง ชาวนาลงทุนปลูกข้าวไป 1 เอเคอร์ ใช้เงินประมาณ 9 หมื่นจั๊ต หรือ 2,500 บาท แต่กลับขายได้เพียง 7 หมื่นจั๊ต หรือประมาณ 2,000 บาท ผลกระทบจากภัยพิบัติขณะนั้นทำให้เกษตรกรเกือบ 70 เปอร์เซ็นต์เลิกทำการเกษตรไปโดยสิ้นเชิง




หน้าถัดไป (2/5) หน้าถัดไป


Content ©