-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 563 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อินทรีย์ชีวภาพ







ขี้หมูหมักด่วน 8 ชั่วโมงใช้ดี เพื่อไม้ผล ปรับปรุงดิน

       
     สวัสดีปีใหม่ครับ ท่านผู้อ่านทุกท่านขอให้ทุกท่านมีความสุขกันตลอดไปนะ  ช่วงนี้มีเรื่องดีๆ มาฝาก ก็ได้กำลังใจจากผู้อ่าน และเกษตรจังหวัดชัยนาท (นายรังสรรค์  กองเงิน)  เพราะท่านเกษตรจังหวัดสนใจเรื่องการปรับปรุงบำรุงดิน บอกว่าถ้าดินดี อะไร ๆ ก็ลดรายจ่ายได้เยอะ  เพราะฉนั้นถ้าต้องการจะส่งเสริมเกษตรกรลดต้นทุน ก็ต้องแนะนำเรื่องปรับปรุงดินก่อน เนื่องจากสมัยนี้ดินโทรมมากๆ  แต่ที่แน่ๆ ผมได้ออกไปเยี่ยมเกษตรกร (ขอให้ได้ออกจากสำนักงานละชอบ) ก็สนุกละครับ เหนื่อยไม่ว่าขอให้ได้เรื่อง(เกษตร) และภาพกลับมาฝากผู้อ่าน 

    
ตอนนี้เป็นเรื่องของขี้  คือ  ขี้หมู ที่มักจะเป็นปัญหาต่อเจ้าของฟาร์มและชุมชน  ด้วยกลิ่นอันไม่พึงประสงค์  ดังนั้นตึงเป็นหน้าที่ของเจ้าของฟาร์มที่จะต้องกำจัดไม่ให้กลิ่นออกไปรบกวนผู้อื่น  แต่การจะสร้างบ่อกำจัดหรือกองทิ้งไว้จะต้องเสียพื้นที่และการป้องกันกลิ่นออกมานั้นคงยากที่จะควบคุมแต่จากการติดตามเพื่อหาความรู้มาฝากผู้อ่าน  จึงได้พอทำขี้หมูหมักด่วน  8  ชั่วโมงใช้ได้ดีกับไม้ผล   อีกทั้งถ้าตากแห้งก็ไปใช้ได้ดีกับนาข้าว  เพราะถ้าใช้ในนาข้าวลักษณะเปียกคงยากลำบากแก่การขนส่ง

     
นายบุญชู  อินทร์ประสิทธิ์  เจ้าของแปลงศูนย์การเรียนรู้การเกษตรพอเพียง  วัย  51  ปี  บ้านเลขที่  58  ปี  บ้านท่าสะตือ  ต.ห้วยกรดพัฒนา   อ.สรรคบุรี  จ.ชัยนาท  ได้ทำกิจกรรมการเกษตรหลายอย่างในพื้นที่ 5 ไร่  2 งาน  คือ  แม่หมู  4  ตัว  หมูเนื้อ 40  ตัว  มะนาว 1 ไร่  กระท้อน 12 ต้น  ฝรั่งแป้นสีทอง 1 ไร่  มะม่วง 24  ต้น  แตงกวา 1 งาน  และไผ่หวานอีก  40  ต้น  การทำการเกษตรทุกอย่างนั้นไม่พบปัญหามากนัก  เพราะได้ดำเนินการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน  แต่ที่มีปัญหามากคือหมู  เพราะขี้หมูส่งกลิ่นเหม็นรบกวนชาวบ้านและเมื่อล้างลงร่องระบายน้ำ  ทำให้น้ำเสียและคลองตื้นเขิน  จึงได้เร่งรีบหาความรู้และทดลองการกำจัดกลิ่นขี้หมูเพื่อไม่ให้เป็นที่รังเกียจของเพื่อนบ้าน
 

การประยุกต์ใช้ได้จากการเรียนรู้การผลิตน้ำหมักชีวภาพด้วยสาร  พ.ด.6  โดยใช้ผลไม้สุก  กากน้ำตาล  อย่างละ   กก.  และน้ำสะอาด   ลิตร  ต่อสาร  พ.ด. 6  1  ซองหมักไว้  จนได้น้ำหมักชีวภาพใช้ล้างคอกหมูกำจัดกลิ่นเหม็นในคอกได้ดีจึงนำมาประยุกต์ใช้กับการหมักขี้หมู   เพื่อใช้ในระนะเวลารวดเร็ว  เพราะขาดสถานที่หมัก  เนื่องจากภาชนะหมักจะใช้รถเข็นใส่ขี้หมูจากคอก  เมื่อหมักเสร็จแล้วจะเข็นเทลงสวนไม้ผล  หรือนำไปตากให้แห้งเพื่อใส่ในแปลงนาข้าวต่อไป
       

ขั้นตอนการหมัก 
อัตราส่วนที่ใช้คือ  ขี้หมูสด  40  กก.  น้ำหมักชีวภาพ  พ.ด.6  จำนวน   ลิตร  ปุ๋ยเคมี  16-20-0  2  กำมือคลุกเคล้าให้เข้ากัน  หมักทิ้งไว้อย่างน้อย  8  ชั่วโมง  นำไปราดพื้นบริเวณทรงพุ่มไม้ผล  อาจเกิดหนอนแมลงวันแต่อายุของหนอนจะมากขึ้นอีก 10  วัน  ตัวจะโตกลายเป็นอาหารของนก  หรือกวาดลงน้ำเป็นอาหารปลา  เพราะขี้หมูจะแห้งพอดี  แต่ถ้าใส่ขี้หมูมากหรือหนามากหนอนจะไม่ฟักออกเป็นแมลงวันและตายขณะเป็นตัวหนอน  จากการทำและการใช้มา  2  ปี  ไม่พบปัญหากับพืชแต่พบแต่ผลดี  อีกทั้งจากการทดลองถ้าใช้ขี้หมูสดที่ไม่ผ่านการหมักราดลงพื้นบริเวณทรงพุ่มไม้ผลเช่นเดียวกับขี้หมูผ่านการหมักฝรั่งจะตายเพียงไม่นาน  เพื่อให้ได้ความรู้จึงยอมเสียฝรั่งที่ให้ผลแล้วจำนวน  2  ต้น  คุณบุญชูกล่าว

ข้อดีของการใช้ขี้หมูหมัก 
สามารถลดสภาวะกลิ่นเหม็นจากขี้หมู  ลดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมีจำนวนมาก  จะมีก็เพียง 2 กำมือต่อขี้หมูหมัก 40 กก.  ผลผลิตและรสชาติของฝรั่งดีขึ้น  อีกทั้งเมื่อนำไปตากแดด  สามารถนำไปผลิตเพื่อต่อเชื้อไตรโคเดอร์ม่าป้องกันโรครากและโคนเน่าได้อีกด้วย



ที่มา :บันทึกเรื่อง...เกษตรดีที่ชัยนาถ http://gotoknow.org/blog/chud02/155214









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (4027 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©