-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 495 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อินทรีย์ชีวภาพ




หน้า: 2/4



ปุ๋ยหมักชีวภาพ 2



ประเภทของปุ๋ยชีวภาพ
ปุ๋ยชีวภาพสามารถแบ่งตามลักษณะการให้ธาตุอาหารแกพืช ได้ 2 ประเภท คือ
    
1. ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์สร้างธาตุอาหารพืช
จุลินทรีย์ที่สามารถสร้างธาตุอาหารพืชได้ในปัจจุบันพบเพียงกลุ่มเดียว คือ กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน ประกอบด้วยแบคทีเรียและแอคทีโนมัยซีท จุลินทรีย์ในกลุ่มนี้ มีชุดยีน ไนโตรจีเนส (Nitrogenase genses) เป็นองค์ประกอบในจีโนม มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมการสร้างเอนไซม์ไนโตรจีเนส และควบคุมกลไกการตรึงไนโตรเจนให้กับจุลินทรีย์กลุ่มนี้ ให้มีขบวนการตรึงไนโตรเจนจากอากาศที่มีประสิทธิภาพ ปุ๋ยชีวภาพประเภทนี้สามารถแบ่งตามลักษณะความสัมพันธ์กับพืชอาศัยได้ 2 แบบ คือ

กลุ่มที่ 1 ปุ๋ยชีวภำที่ประกอบด้วยแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนที่อาศัยอยู่ร่วมกับพืชแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Symbiosis) ปุ๋ยชีวภาพกลุ่มนี้มีแบคทีเรียที่มีปริสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนสูงมาเป็นส่วนประกอบสามารถทดแทนไนโตรเจนจากปุ๋ยเคมีให้กับพืชอาศัยได้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ ชนิดของพืชอาศัย รวมทั้งระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ส่วนใหญ่มีการสร้างโครงสร้างพิเศษอยู่กับพืชอาศัยและตรึงไนโตรเจนทางชีวภาพจากอากาศ ได้แก่ การสร้างปมของแบคทีเรียสกุลไรโซเบียมกับพืชตระกูลถั่วชนิดต่างๆ การสร้างปมที่รากสนกับแฟรงเคีย การสร้างปมที่รากปรงกับสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินสกุลนอสทอค (Nostoc) และการอาศัยอยู่ในโพรงใบแหนแดงของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินสกุลอะนาบีนา (Anabeana) ในกลุ่มนี้พืชอาศัยจะได้รับไนโตรเจนที่ตรึงได้ทางชีวภาพจากจุลินทรีย์ไปใช้โดยตรง สามารถนำไปใช้ในการสร้างการเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิตและคุณภาพพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลุ่มที่ 2 ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนที่อาศัยอยู่ร่วมกับพืชแบบอิสระ (non-symbiotic N 2-fixing bacteria) แบคทีเรียกลุ่มนี้มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนต่ำ จึงสามารถทดแทนปุ๋ยไนโตรเจนให้กับพืชที่อาศัยอยู่เพียงระหว่าง 5-30 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับสกุลของจุลินทรีย์และชนิดพืชที่จุลินทรีย์อาศัยอยู่ และพื้นฐานระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินชอบอาศัยอยู่บริเวณรากพืชตระกูลหญ้า สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม
       
1. แบคทีเรียที่อาศัยอยู่อย่างอิสระในดินและบริเวณรากพืช ได้แก่ อะโซโตแบคเตอร์ (Azotobacter) และสกุลไบเจอริงเคีย (Beijerinckia)
2. แบคทีเรียที่พบอาศัยอยู่ได้ทั้งในดิน บริเวณรากพืช และภายในรากพืชชั้นนอก ได้แก่ สกุลอะโซสไปริลลัม (Azospirillum)
3. แบคทีเรียที่พบอาศัยอยู่ภายในต้นและใบพืช เป็นแบคทีเรียบางสกุลหรือบางชนิดที่ค้นพบใหม่ๆ เมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ สกุลอะซีโตแบคเตอร์ ชนิดไดอะโซโตรฟิคัส (Acetobacter diazotrophicus) ที่พบในอ้อยและกาแฟ สกุลเฮอบาสไปริลลัม (Herbaspirillum spp.) ที่พบในข้าว อ้อยและพืชเส้นใยบางชนิด และสกุลอะโซอารคัส (Azoarcus spp.) ที่พบในข้าวและหญ้าอาหารสัตว์บางชนิด

2. ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช
2.1 ปุ๋ยชีวภาพแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช แบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช (Plant Growth Promoting Rhizocacteria or PGPR) หรือ พีจีพีอาร์ เป็นปุ๋ยชีวภาพชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยแบคทีเรียกลุ่มเดียวกันหรือต่างกลุ่มกัน เช่น ประกอบด้วยแบคทีเรียกลุ่มที่สามารถตรึงไนโตรเจน ช่วยละลายฟอสเฟต ผลิตฮอร์โมนส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช และช่วยให้ธาตุอาหารเสริมบางชนิดเป็นประโยชน์ ซึ่งในแบคทีเรียบางสกุลมีความสามารถรวมกันหลายอย่าง เช่น แบคทีเรียสกุลอะโซสไปริลลัมบางสายพันธุ์มีความาสามารถในการตรึงไนโตรเจน ช่วยละลายฟอสเฟต ผลิตฮอร์โมนส่งเสริมการเจริญของรากพืช ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดธาตุอาหารพืช ปุ๋ยชีวภาพชนิดนี้ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้อย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ 1 สำหรับข้าวโพด ข้าวฟ่าง เป็นต้น
2.2 ปุ๋ยชีวภาพที่ช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืช ปุ๋ยชีวภาพในกลุ่มนี้ช่วยเพิ่มประโยชน์ธาตุอหารพืชบางชนิดที่ละลายน้ำยากให้เป็นประโยชน์กับพืชได้มากขึ้นโดยการเพิ่มพื้นที่ผิวรากสำหรับการดูดซึมให้กับพืชด้วยการเพิ่มปริมาณบริเวณรากพืชด้วยเส้นใยของจุลินทรีย์ ช่วยให้ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ได้ยาก เช่น ฟอสฟอรัส และแคลเซียม มีโอกาสได้สัมผัสรากและดูดมาใช้ให้มากขึ้น จึงช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ให้กับพืช รวมทั้งจิลินทรีย์บางกลุ่มที่สามารถสร้างกรดอินทรีย์หรือเอนไซม์บางชนิด ที่สามารถช่วยละลายหรือย่อยฟอสเฟตให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดไปใช้ได้ง่ายขึ้น จึงทำให้ธาตุอาหารดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อพืชเพิ่มขึ้น สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม
       
กลุ่มที่ 1 ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ช่วยเพิ่มศักยภาพในการดูดซึมธาตุอาหารพืช ซึ่งเป็นเชื้อรากลุ่มไมโคไรซ่าที่อาศัยอยู่กับพืชแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน จะสร้างส่วนของเส้นใยพันกับรากพืชและบางส่วนขอชอนไชไปในดินช่วยดูดธาตุอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งฟอสฟอรัสทำให้พืชได้รับฟอสฟอรัสที่ผ่านการดูดของเส้นใยไมโคไรซ่า ช่วยให้พืชมีปริมาณฟอสฟอรัสสำหรับใช้ในการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ไมโคไรซ่ายังช่วยป้องกันไม่ให้ฟอสฟอรัสที่ละลายอยู่ในดินถูกตรึง โดยปฏิกิริยาทางเคมีของดิน โดยไมโคไรซ่าจะช่วยดูดซับฟอสเฟตเก็บไว้ในโครงสร้างพิเศษที่เรียกว่า อาบัสกูลและเวสวิเคิลที่อยู่ระหว่างเซลล์พืช ไมโคไรซ่าแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ 1) วี-เอ ไมโคไรซ่า จะพบอยู่ในพืชสวนพืชไร่พืชผักและไม้ดอกไม้ประดับและ 2) เอ็คโตไมโคไรซ่า พบในไม้ยืนต้นและไม้ป่าสกุลสน การใช้ปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่า ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้อย่างน้อย 25 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ ปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่าสำหรับพืชชนิดต่างๆ
       
กลุ่มที่ 2 ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ช่วยละลายฟอสเฟต เป็นปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ช่วยละลายหินฟอสเฟต หินฟอสเฟตพบทั่วไปในประเทศไทยแต่มีปริมาณฟอสเฟตที่ละลายออกมาให้พืชใช้ได้น้อยปัจจุบันพบว่ามีจุลินทรีย์พวกแบคทีเรียและราหลายชนิดที่สามารถช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสจากหินฟอสเฟตให้เป็นประโยชน์ได้ได้แก่BacillusPsaudomonas,Thiobacillus, Aspergullus,Penicillium และอื่นๆ อีกมาก โดยจุลินทรีย์เหล่านี้จะสร้างกรดอินทรีย์ออกมาละลายฟอสเฟตออกจากหิน การละลายฟอสเฟตจะมีประสิทธิภาพมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของจุลินทรีย์ และปริมาณอินทรียวัตถุที่ต้องใช้เป็นแหล่งน้ำตาลในการผลิตกรดอินทรีย์ หากสามารถคัดเลือกสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงได้ จะช่วยให้เกษตรกรได้ใช้ฟอสฟอรัสราคาถูกจากหินฟอสเฟตทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีฟอสเฟตมากขึ้น ได้แก่ ปุ๋ยชีวภาพจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต เป็นต้น
       
กลุ่มที่ 3 ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ช่วยเพิ่มประโยชน์ของโพแทสเซียม โพแทสเซียมเป็นธาตุอาหารหลักที่สำคัญสำหรับพืชธาตุหนึ่ง พืชปกติจะมีโพแทสเซียมเป็นส่วนประกอบประมาณ3-4 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักโพแทสเซียมมีความสำคัญในการสร้างโปรดตีนสังเคราะห์แป้งและน้ำตาลโดยเฉพาะในพืชหัวบางชนิด ปกติพบโพแทสเซียมอยู่ในดินในรูปของแร่ธรรมชาติ มี 3 รูป คือ 1) รูปที่ถูกตรึงไว้โดยอนุภาคของคอลลอยด์ 2) รูปที่แลกเปลี่ยนได้ และ 3) รูปที่ละลายน้ำได้ โพแทสเซียมในธรรมชาติสามารถเป็นประโยชน์กับพืชได้ 3 วิธี คือ 1) การสลายตัวทางกายภาพ 2) การสลายตัวทางเคมี 3) การสลายตัวทางชีวภาพ ในทางชีวภาพจุลินทรีย์บางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบคทีเรียสกุลบาซิลลัง (Bacillus circulant)ซึ่งเป็นซิลิเกตแบคทีเรียสามารถสร้างกรดอินทรีย์ออกมาละลายโพแทสเซียมออกจากแร่ดินเหนียวบางชนิดได้สามารถใช้เป็นจุลินทรีย์สำหรับผลิตปุ๋ยชีวภาพได้สามารถใช้ได้ผลดีทั้งในพืชสวนและพืชไร่มีการผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพให้เกษตรกรใช้แล้วในประเทศจีน


ข้อแนะนำในการใช้ปุ๋ยชีวภาพ
ดังได้กล่าวแล้วว่าการใช้ปุ๋ยชีวภาพ มีประโยชน์ในการให้ธาตุอาหารเพื่อบำรุงการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตพืช แต่ถ้าหากใช้ไม่ถูกต้องก็จะไม่เกินประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นการใช้ปุ๋ยชีวภาพจะต้องคำนึงถึงปัจจัยโดยรวมดังนี้
       
1. ชนิดของปุ๋ยชีวภาพ การใช้ปุ๋ยชีวภาพต้องเลือกชนิดของปุ๋ยชีวภาพ ให้เหมาะสมกับชนิดของพืชที่ปลูกปุ๋ยชีวภาพแต่ละชนิดจะมีประสิทธิภาพในการให้ธาตุอาหารแก่พืชแตกต่างกัน เช่น ปุ๋ยชีวภาพ ไรโซเบียม จะใช้เฉพาะกับพืชตระกูลถั่วเท่านั้น และพืชตระกูลถั่วแต่ละชนิดก็จะต้องใช้สายพันธุ์แบคมีเรียสกุลไรโซเบียมที่มีความสามารถจำเพาะที่แตกต่างกัน เช่น ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมสำหรับถั่วเขียว จะต้องใช้แบคทีเรียไรโซเบียมชนิดสำหรับถั่วเขียว หรือปุ่ยชีวภาพไรโซเบียมสำหรับถั่วเหลืองก็จะต้องใชแบคทีเรียสกุลไรโซเบียมชนิดสำหรับสำหรับถั่วเหลือง จึงจะเกิดประสิทธิผลในการใช้ ถ้าหากใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมถั่วเหลืองกับถั่วเขียวการใช้ปุ๋ยชีวภาพก็จะไม่ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพปุ๋ยชีวภาพชนิดอื่นๆ ก็จะมีคุณลักษณะเฉพาะเช่นเดียวกันนี้
       
2. ชนิดของธาตุอาหารที่ต้องการให้แก่พืช ปุ๋ยชีวภาพแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติในการให้ธาตุอาหารแก่พืชที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ใช้จะต้องทราบว่าต้องการให้ธาตุอาหารอะรกับพืชปุ๋ยชีวภาพที่ผลิตในปัจจุบันประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน ดังนี้
2.1 ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม มีคุณสมบัติช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้พืชนำไปใช้ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน สามารถใช้ได้เฉพาะกับพืชตระกูลถั่วเท่านั้น
2.2 ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ ประกอบด้วยแบคทีเรีย สกุลอะโซโตแบคเตอร์ สกุลไบเจอริงเคีย และสกุลอะโซสไปริลลัม มีคุณสมบัติในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้พืชนำไปใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีไนโตรเจนได้ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชบางชนิดได้ด้วย ใช้ได้กับข้าวโพดและข้าวฟ่าง
2.3 ปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่า มี 2 พวก คือ วี-เอไมโคไรซ่าและเอ็คโตไมโคไรซ่า ช่วยดูดซับธาตุอาหารในดินให้พืชนำไปใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุฟอสฟอรัสใช้ได้กับพืชหลายชนิดทั้งพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักบางชนิด ยางพารา ไม้ป่าโตเร็วและสน
2.4 ปุ๋ยชีวภาพจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต เช่น แบคทีเรียสกุลบาซิลลัส (Bacillus) สกุลซูโดโมแนส (Pseudomonas) และราสกุลแอสเพอจิลลัส (Aspergillus) สามารถช่วยละลายฟอสฟอรัสจากหินฟอสเฟต ซึ่งมีราคาถูกและหาได้ง่ายภายในประเทศมาใช้ทดแทนปุ๋ยฟอสเฟตราคาแพงบางชนิดที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
    
3. สมบัติของดิน ก่อนใช้ปุ๋ยชีวภาพเกษตรกรควรรู้คุณสมบัติของดินที่จะทำการปลูกพืชและใช้ปุ๋ยชีวภาพด้วย เช่น ปฏิกิริยากรด-ด่าง ความชื้นของดิน เป็นต้น จุลินทรีย์บางชนิดหรือสายพันธุ์มีความทนทานต่อสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินต่างกัน เช่น ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมบางสายพันธุ์เจริญได้ดีในสภาพเป็นกรดหากนำไปใช้ในดินที่เป็นด่างจะทำให้ประสิทธิภาพในการทดแทนปุ๋ยเคมีไนโตรเจนลดลง สมบัติของดินทั้งทางเคมีกายภาพและชีวภาพ ต่างมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบในปุ๋ยชีวภาพ ในดินที่ร่วนซุยจุลินทรีย์มักจะมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่าในดินเหนียวแน่นทึบ
    
4. ปริมาณจุลินทรีย์ในดิน ถ้าในดินมีปริมาณของจุลินทรีย์ชนิดเดียวกับที่ใช้ผลิตปุ๋ยชีวภาพมากเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยชีวภาพชนิดนั้นให้กับพืชอีก หรือบางครั้งถ้าดินมีจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบในปุ๋ยชีวภาพแต่ละชนิดที่จะใส่เข้าไปควรจะมีการทำลายจุลินทรีย์ให้โทษเหล่านั้นก่อน วิธีการกำจัดจุลินทรีย์อันตรายที่อยู่ในดินสามารถทำได้โดยง่ายๆ โดยการไพให้ดินร่วนซุยแล้วตากดินหรืออบดินโดยการคลุมดินด้วยพลาสติก เพื่อให้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นโทษให้หมดไปก่อนที่จะใช้ปุ๋ยชีวภาพบางชนิด
    
5. ปริมาณความชื้นที่เหมาะสมในดิน ปริมาณน้ำในดินก็มีความสำคัญในการใช้ปุ๋ยชีวภาพ จุลินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในปุ๋ยชีวภาพบางชนิดสามารถอยู่ได้ในสภาพน้ำขัง เช่น ปุ๋ยชีวภาพสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน จะเจริญได้ดีในน้ำหรืที่ชื้นแฉะมีน้ำขังไม่สามารถเจริญเติบโตและเกิดประโยชน์ได้ในที่แห้งแล้ง แต่ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม และปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่าเจริญเติบโตได้ไม่ดี และไม่สามารถตรึงไนโตรเจนได้ในสภาพที่มีน้ำขัง แต่ต้องการความชื้นที่เหมาะสมสำหรับให้พืชอาศัยเจริญเติบโต เพื่อเป็นที่อาศัยของแบคทีเรียสกุลไรโซเบียม หรือรากลุ่มไรโคไรซ่า ดังนั้น ก่อนจะใช้ปุ๋ยชีวภาพจึงต้องคำนึงถึงปริมาณความชื้นที่เหมาะสมในดินที่จะทำการปลูกพืชด้วย
    
6. สารเคมีทางการเกษตร การใช้ปุ๋ยชีวภาพในการผลิตพืช ควรมีข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้สารเคมีทางการเกษตรบางชนิด เช่น สารป้องกันกำจัดวัชพืช สารกำจัดโรคพืช เพราะสารบางชนิดจะมีผลยับยั้งหรือทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบในปุ๋ยชีวภาพ เช่น ยากำจัดโรครากเน่า โคนเน่าบางชนิด อาจมีแบคทีเรียหรือราเป็นเชื้อสาเหตุ ซึ่งสารป้องกันและกำจัดแบคทีเรียบางชนิดอาจจะมีผลยับยั้งและทำลายแบคทีเรียสกุลไรโซเบียมที่เป็นองค์ประกอบในปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมหรือสารกำจัดเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าบางชนิด อาจจะมีผลยับยั้งหรือทำลายเชื้อรากลุ่มไรโคไรซ่า ที่เป็นองค์ประกอบในปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่า
    
7. ปริมาณธาตุอาหารพืชบางชนิดในดิน ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงหรือมีอินทรียวัตถุสูง มักจะมีความอุดมสมบูรณ์มักจะมีปริมาณธาตุอาหารบางชนิดสูงอยู่แล้วด้วย เช่น ไนโตรเจน ดังนั้น การใช้ปุ๋ยชีวภาพบางชนิดจะไม่เห็นผลการใช้ที่เด่นชัด เช่น การใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมในการปลูกถั่วในดินที่เปิดใหม่ ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์สูงและมีระดับอินทรียวัตถุในดินสูง รากถั่วจะเกิดปมน้อยและมีศักยภาพในการตรึงไนโตรเจนทางชีวภาพจากอากาศมาให้ถั่วใช้ได้ต่ำ ดังนั้น เมื่อใส่ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมก็ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมากๆ เช่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม ในการปลูกถั่วก็จะช่วยให้ถั่วมีการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตได้สูงมาก บางพื้นที่มากถึงกว่าเท่าตัว เช่น ถั่วเหลืองที่ปลูกโดยไม่ใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมและปุ่ยเคมีไนโตรเจนจะให้ผลผลิตเพียง 100–150 กิโลกรัมต่อไร่ การที่จะให้ถั่วเหลืองซึ่งเป็นพืชที่มีโปรตีนสูง และมีความต้องการไนโตรเจนสูงมากให้ผลผลิตได้สูงถึง 300 กิโลกรัมต่อไร่นั้น ถั่วเหลืองจะต้องได้รับปุ๋ยไนโตรเจนสูงถึงประมาณ 20 กิโลกรัม ดังนั้น ถ้าจะใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเพื่อให้ได้ผลผลิตมากเท่านี้โดยไม่ใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมคงไม่คุ้มทุน เพระจะต้องใส่ปุ๋ยไนโตรเจนลงในดินถึงประมาณ 40 กิโลกรัมต่อไร่ หรือประมาณ 200 กิโลกรัมของปุ๋ยเคมีแอมโมเนียมซัลเฟตต่อไร จากผลการทดลองที่ได้ดำเนินการในแหล่งต่างๆ ในประเทศไทยมากว่า 10 ปี โดยเฉลี่ยแล้วพบว่าการใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมในการปลูกถั่วเหลืองจะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตของถั่วเหลืองได้ในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันมาก คือ ในเขตที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินค่อนข้างสูงในภาคเหนือและภาคกลางสามารถเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองได้เพียง 11 และ 24 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ขณะที่ในเขตที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองได้ถึง 122 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการใช้ปุ๋ยชีวภาพตามที่กล่าวมานั้นจะช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรในการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก
         
ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ควรถือปฏิบัติในการใช้ปุ๋ยชีวภาพตามที่กล่าวมาแล้ว ผู้ใช้ควรจะต้องปฏิบัติตามฉลาก หรือเอกสารคำแนะนำการใช้ที่มาพร้อมกับภาชนะใส่ปุ๋ยชีวภาพแต่ละชนิดอย่างเคร่งครัดเนื่องจากปุ๋ยชีวภาพแต่ละชนิดมีคุณสมบัติเฉพาะที่แตกต่างกันไป


ข้อบ่งใช้ของปุ๋ยชีวภาพแต่ละชนิดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ผลิตควรให้รายละเอียดกับผู้ใช้ประกอบด้วย
ชื่อการค้าและมีคำว่า ปุ๋ยชีวภาพ
ชื่อวิทยาศาสตร์ระดับสกุลของจุลินทรีย์สำคัญที่ใช้ผลิตปุ๋ยชีวภาพ
ปริมาณจุลินทรีย์รับรองที่มีชีวิตที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อหน่วย
วัสดุรองรับของปุ๋ยชีวภาพ
วิธีการเก็บรับกษา
ประโยชน์และวิธีการใช้
วันเดือนปี ที่ผลิตและหมดอายุ
ชื่อและสถานที่ ผู้ผลิตและจำหน่าย
น้ำหนักสุทธิหรือขนาดบรรจุ


แนวทางการใช้ปุ๋ยชีวภาพในอนาคต
ในสภาวะที่มีแนวโน้มว่าต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีจะเพิ่มสูงขึ้น และเพื่อให้เกิดระบบการผลิตพืชที่ยั่งยืนและปลอดภัยภายในประเทศรวมทั้งเป็นการสนับสนุนนโยบายการเป็นครัวของโลกของรัฐบาลการผสมผสานการใช้ปุ๋ยชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ในการผลิตพืชอย่างเหมาะสมในอนาคตนั้นมีความสำคัญ เพราะนอกจากปุ๋ยชีวภาพจะเป็นแหล่งให้ธาตุอาหารที่สำคัญกับพืชที่มีประสิทธิภาพสูงแล้ว ปุ๋ยชีวภาพบางชนิดยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ด้วยทำให้สามารถลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีบางชนิดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเพื่อให้การใช้ปุ๋ยในอนาคตเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรทำความเข้ารายละเอียดของปุ๋ยชีวภาพให้ชัดเจน จนสามารถจัดจำแนกประเภท กลุ่ม หรือชนิดปุ๋ยชีวภาพได้ รู้ประโยชน์และวิธีการนำไปใช้ที่ถูกต้อง เพื่อจะได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับการผลิตพืชแต่ละชนิด จะได้ช่วยลดต้นทุนการผลิตเพิ่มคุณภาพและปริมาณผลผลิตพืชทำให้เกษตรกรมีกำไรเพิ่มมากขึ้น เสริมสร้างศักภาพในการแข่งขันให้กับเกษตรกรไทย เพื่อเป็นครัวของโลกอย่างยั่งยืน


ประเภทของปุ๋ยชีวภาพ
แบ่งออกตามชนิดของจุลินทรีย์หรือตามประเภทของธาตุอาหารที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ให้กับพืช ซึ่งได้แก่ธาตุอาหารหลักคือ ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียม และในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะไรโซเบียมและไมโคไรซ่าเท่านั้น

ไรโซเบียม
เป็นจุลินทรีย์ที่ช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจนที่อยู่ร่วมกับพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วต่าง ๆ ก้ามปู กระถินณรงค์ เป็นต้น ในแต่ละปีจุลินทรีย์สามารถนำธาตุไนโตรเจนกลับมาสู่ดินได้ประมาณ 170 ล้านตันต่อปี จากผลการทดลองของกรมวิชาการเกษตรพบว่า การปลูกถั่วเหลืองโดยไม่ใช้ไรโซเบียม หรือปุ๋ยเคมีจะให้ผลผลิต 100-150 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ถ้าใช้เชื้อไรโซเบียมจะให้ผลผลิต 200-300 กิโลกรัมต่อไร่ (ซึ่งเทียบเท่ากับต้องใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 20 กิโลกรัมต่อไร่ ในการปลูกถั่วเหลืองนี้) หัวใจสำคัญที่ทำให้พืชตระกูลถั่วช่วยในการบำรุงดินก็คือ ไรโซเบียม ใช้ไรโซเบียมร่วมกับพืชตระกูลถั่วสามารถทดแทนปุ๋ยไนโตรเจนได้

การเกิดปม
      จะเห็นปมถั่วภายใน 5-10 วัน ถ้าปลูกในเรือนทดลอง
      จะเห็นปมถั่วภายใน 15-25 วัน ในสภาพไร่
      ปมที่ดีจะมีภายในปมเป็นสีแดงเข้ม
      ปมที่แก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว
      ปมที่มีสีขาวซีด หรือเขียวอ่อน จะไม่มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจน


อายุการเก็บรักษาปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม
      ที่อุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 5-6 เดือน
      ที่อุณหภูมิ 4-10 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 1 ปี
      ห้ามเก็บในช่องแช่แข็ง (Freeze) เด็ดขาด เพราะเชื้อจะตาย และเชื้อไรโซเบียมไม่สามารถทนอุณหภูมิได้เกิน 40 องศาเซลเซียส

วิธีการคลุกเชื้อ
      ใช้สารช่วยให้ติดเมล็ด เช่น น้ำมันพืช น้ำตาลทราย 30% แป้งเปียก เป็นต้น ใช้สารช่วยติดเมล็ด 300 ซีซี ต่อเชื้อ 1 ซอง
      เชื้อ 1 ซอง หรือ 200 กรัม ใช้คลุกกับเมล็ดถั่วเหลือง 10 กิโลกรัม หรือเมล็ดถั่วลิสง 15 กิโลกรัม หรือเมล็ดถั่วเขียว 5 กิโลกรัม แต่ต้องใช้ชนิดของเชื้อไรโซเบียมให้ตรงกับชนิดของเมล็ดถั่วนั้น ๆ


ข้อควรระวัง
      1. ต้องใช้เชื้อไรโซเบียมให้ถูกต้องกับชนิดของถั่ว
      2. ไม่ปล่อยให้เมล็ดที่คลุกเชื้อแล้วตากแดดตากลม ควรเก็บในถุงพลาสติก หรือภาชนะปิด และไว้ในที่ร่ม
      3. ไม่ทิ้งเมล็ดที่คลุกเชื้อไรโซเบียมไว้ข้ามคืน ถ้าเหลือควรผึ่งเมล็ดไว้ในที่ร่มและแห้ง แล้วคลุกเชื้อใหม่เมื่อต้องการปลูก
      4. ไม่ปลูกเมื่อดินแห้งมาก ๆ ควรปลูกเมื่อดินหมาด ๆ หรือปลูกแล้วให้น้ำได้ทันที
      5. เมื่อหยอดเมล็ดแล้ว ควรกลบเมล็ดให้ดี เพื่อมิให้เมล็ดถูกแดดเผา และเชื้อจะตาย
      6. อย่าใช้เชื้อไรโซเบียมที่หมดอายุแล้ว
      7. สารป้องกันกำจัดโรคพืช แมลง และวัชพืช อาจมีผลต่อเชื้อไรโซเบียมได้
      8. ปุ๋ยไนโตรเจนจะไม่ช่วยส่งเสริมการตรึงไนโตรเจนของไรโซเบียม ยิ่งใส่ปุ๋ยไนโตรเจนลงดินมาก จะทำให้การตรึงไนโตรเจนลดลง
      9. ดินร่วนซุยจะทำให้ไรโซเบียมเจริญได้ดีกว่าดินเหนียวและดินน้ำขัง


สถานที่จำหน่าย
      สามารถสั่งซื้อเชื้อไรโซเบียมได้ที่ กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กองปฐพีวิทยา (ตึกไรโซเบียม) กรมวิชาการเกษตร ภายในเกษตรกลาง เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2579-0065 โทรสาร 0-2561-4763 ราคาถุงละ 10 บาท


เชื้อไมโครไรซ่า
      เป็นเชื้อรากลุ่มหนึ่งที่อยู่ในดิน อาศัยอยู่ตามรากพืช โดยไม่ทำอันตรายกับพืช ทั้งนี้พืชและเชื้อราต่างพึ่งพาซึ่งกันและกัน ได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน เซลล์ของรากพืชและเชื้อราสามารถถ่ายทอดอาหารซึ่งกันและกันได้ ช่วยให้รากเพิ่มเนื้อที่ในการดูดธาตุอาหารจากดินเมื่อมีไมโคไรซ่าเกิดขึ้นที่ราก ซึ่งเนื้อที่ที่เกิดขึ้นนี้ เกิดจากเส้นใยที่เจริญอยู่รอบ ๆ ราก ทำให้สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารได้มากกว่ารากที่ไม่มีไมโคไรซ่า เส้นใยที่พันอยู่กับรากพืชจะไชชอนเข้าไปในดิน ช่วยดูดธาตุอาหารโดยเฉพาะธาตุฟอสฟอรัส และช่วยป้องกันมิให้ธาตุฟอสฟอรัสที่ละลายออกมาถูกตรึงโดยปฏิกิริยาทางเคมีของดินด้วย นอกจากนี้ยังช่วยให้ได้รับธาตุอาหารอื่น ๆ เช่น แคลเซียม เหล็ก และสังกะสี ไมโคไรซ่าที่มีความสำคัญทางเกษตรกรรม และมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในทางการเกษตรมี 2 พวกคือ
      1. เอ็กโตไมโคไรซ่า จะพบในพืชพวกไม้ยืนต้น ไม้ปลูกป่า เช่น สน เป็นต้น
      2. วี-เอไมโคไรซ่า ซึ่งอยู่ในพวกเอ็นโดไมโคไรซ่า และจะพบในพืชพวกพืชไร่ พืชสวน พืชผัก ไม้ดอกและไม้ประดับ
      สำหรับไมโคไรซ่าที่มีบทบาทต่อการเจริญเติบโต และช่วยเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐฏิจในประเทศไทยคือ วี-เอไมโคไรซ่า ซึ่งมีผู้นำมาใช้อย่างกว้างขวางกับพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วต่าง ๆ มะม่วง ลำไย ทุเรียน สับปะรด และมะเขือเทศ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายแทนการใช้ปุ๋ยเคมีซึ่งมีราคาแพง


ประโยชน์ที่พืชได้รับจากไมโคไรซ่า
      ไมโคไรซ่ามีประโยชน์ต่อการมีชีวิตอยู่ และการเจริญเติบโตของต้นไม้หลายทางด้วยกัน ที่สำคัญที่สุดคือ ไมโคไรซ่าสามารถช่วยเพิ่มความเจริญเติบโตให้กับพืช และพอสรุปประโยชน์ของไมโคไรซ่าได้ดังนี้
      1. เพิ่มพื้นที่ของผิวรากที่จะสัมผัสกับดิน ทำให้เพิ่มเนื้อที่ในการดูดธาตุอาหารของรากมากขึ้น
      2. ช่วยให้พืชดูดและสะสมธาตุอาหารต่าง ๆ ไว้ และสะสมในราก เช่น ฟอสฟอรัส ไนโตรเจน โปตัสเซียม แคลเซียม แร่ธาตุอื่นอีก
      3. ช่วยดูดธาตุอาหารจากหินแร่ที่สลายตัวยาก หรืออยู่ในรูปที่ถูกตรึงในดิน เช่น ฟอสฟอรัสให้แก่พืช ในดินที่มีธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในปริมาณที่ต่ำ ไมโคไรซ่ามีบทบาทสำคัญในการดูดซึมฟอสฟอรัสให้แก่พืช เนื่องจากฟอสฟอรัสละลายน้ำได้ดีในช่วง pH เป็นกลาง ในดินที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือด่าง ฟอสฟอรัสมักถูกตรึงโดยทางเคมี รวมตัวกับเหล็ก อะลูมินั่ม แคลเซี่ยม หรือแมกนีเซี่ยม ทำให้ไม่ละลายน้ำ ซึ่งอยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช นอกจากนี้ไมโคไรซ่ายังช่วยดูดพวกอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ที่สลายตัวไม่หมดให้พืชนำไปใช้ได้
      4. เชื้อราไมโคไรซ่าในรากพืช ทำหน้าที่ป้องกันและยับยั้งการเข้าสู่รากของโรคพืช
      5. ทำให้โครงสร้างดินดี เนื่องจากมีการปลดปล่อยสารบางชนิด เช่น Polysaccharide และสารเมือกจากเชื้อราไมโคไรซ่า รวมกับเส้นใยของไมโคไรซ่า ทำให้เกิดการจับตัวของอนุภาคดิน ช่วยให้โครงสร้างของดินดี ป้องกันการสูญเสียธาตุอาหารจากดิน เนื่องจากการชะล้างของน้ำและการพังทะลายของดิน และยังช่วยในการหมุนเวียนของธาตุอาหาร ทำให้ลดการสูญเสียของธาตุอาหารในระบบนิเวศน์ได้
      6. ทำให้พืชทนแล้ง เนื่องจากการเพิ่มพื้นที่ผิวรากในการดูดน้ำ ทำให้พืชทนแล้ง และพืชสามารถฟื้นตัวภายหลังการขาดน้ำได้เร็วขึ้น

จากประโยชน์เหล่านี้ พืชที่มีไมโคไรซ่าจึงเจริญเติบโตได้ดีกว่าพืชที่ไม่มีไมโคไรซ่า สำหรับไมโคไรซ่านั้นในประเทศไทยขณะนี้ยังไม่มีจำหน่าย แต่เกษตรกรที่สนใจสามารถขอความอนุเคราะห์ได้ที่ ตึกไรโซเบียม ดังนั้นวิธีการนำไมโคไรซ่าไปใช้ เกษตรกรสามารถทำได้ง่าย ๆ เช่น ไม้ผลจะขุดรอบ ๆ ทรงพุ่มลึกประมาณ 20-25 เซนติเมตร ก็จะพบรากฝอย นำเชื้อไมโคไรซ่าไปโรยโดยรอบ แล้วกลบดิน จะช่วยให้ไม้ผลเติบโตได้ดี


องค์ความรู้เรื่องอะตอมมิคนาโน จากท้องทุ่ง
1. จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photo synthetic bacteria; PSB) พบทั่วไปในธรรมชาติ เป็นแบคที่เรียที่สามารถใช้แสงเป็นแหล่งพลังงาน และออกซิไดซ์ สารประกอบอินทรีย์โดยเฉพาะกรดอินทรีย์หลายชนิดในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนแต่มีแสงได้ จึงมีคุณประโยชน์ในการเกษตร และปศุสัตว์ รวมถึง อุตสาหกรรมทางเคมี และปิโตเลียม เป็นต้น
               
2. พลังง้วนดินธรรมชาติ (แบคทีเรียสังเคราะห์แสง) สามารถนำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้โดยการแบ่งอนุภาคอะตอมเดียว แบคทีเรียสังเคราะห์แสงบรรจุไว้ใน “อะตอมมิก”ซึ่งเป็นซากสัตว์สองเซลล์ที่มีรูพรุน มีขนาดโมเลกุลขนาดเล็ก ด้วยสารเคมีสูตรเข้มข้นโดยวิธีการหมัก สังเคราะห์ จะทำให้มีกลิ่นหอม สร้างกรดอะมีโน วิตามิน และน้ำตาลมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์
               
3. พลังแอนตี้ออกซิแดนท์ เกิดจากการที่แรงแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดสนามคลื่นสั่นสะเทือนเท่ากัน ก่อให้เกิดความสมดุล คามกลมกลืน ผลผลิต พืชและสัตว์โตสม่ำเสมอ
               
4. จุลินทรีย์ที่เกิดจากพลังงานง้วนดิน(อะตอมมิกนาโม) เป็นแบคทีเรีย ประเภทที่ตรึงไนโตรเจนอิสระประเภทต้องการออกซิเจน (O2) น้อยอยู่ในตระกูลเอ็นเทอโรแบคทีเรียซีอี (Enterobacter) รวมกันอยู่ทั้ง 2 สกุล และเป็นชนิด เคล็บซิล่าวาริอิโคลา (Klebsilla cariicola) อยู่รวมกับเอ็นเทอโรแบคเตอร์โควานิอิ (Enterobacter) เป็นสายพันธุ์แบคที่เรียที่ตรึงไนโตรเจนที่พบใหม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในไร่นาเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้
               
5. วิธีเพาะเลี้ยง เลี้ยงด้วยอาหารโปรตีนเข้มข้น โดยใช้ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 นำเชื้อแบคทีเรียที่ได้จากธรรมชาติเรียกว่า “ง้วนดิน” มาเลี้ยงด้วยอาหารที่มีกรดโปรตีนเข้มข้น เช่นน้ำนม น้ำมะพร้าวอ่อน สาหร่าย และเกลือสตุ แล้วบรรจุเชื้อแบคทีเรียไว้ในอะตอมสัตว์สองเซลล์เรียกว่า “อะตอมนามิกโน”
                               
ขั้นที่ 2 นำอะตอมมิกนาโนชนิดผงและชนิดน้ำมาขยายผลต่อในกองจุลินทรีย์วัตถุที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น มูลสัตว์ รำอ่อน เศษวัสดุ พืชผักต่างๆ ฟางข้าวและหญ้า เป็นต้น หรือนำมาหมักด้วยผลไม้อย่างน้อย 5 ชนิด เพื่อทำเป็นฮอร์โมนสกัด มาเป็นสารเร่งเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ ซึ่งเป็นสารต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant)
                               
ขั้นที่ 3 เมื่อนำเอาน้ำหมักที่ได้จากขั้นที่ 2 มากลั่นเป็นฮอร์โมนชนิดเข้มข้นผสมเจือจางกับน้ำธรรมชาติในอัตราส่วน 1: 500 และ 1: 1000 ใช้เป็นอาหารเสริมทางใบและเป็นอาหารเสริมสำหรับสัตว์
               
6. แนวปฏิบัติ
6.1 สูตรการทำน้ำหมักชีวภาพ อะตอมมิกนาโน สำหรับผลิตหัวเชื้อปุ๋ยอินทรีย์
1) เตรียมน้ำธรรมชาติ 200 ลิตรพร้อมถังพลาสติกขนาด150–200 ลิตรชนิดฝาปิด
2) หัวเชื้อแบคที่เรียชนิดเข้มข้น 10 กก. (10 x 200 = 2,000 บาท)
3) หัวเชื้อแบคทีเรียชนิดน้ำ    10 กก. (10 x 200 = 2,000 บาท)
4) ลูกอะโนบอลล์          10 ลูก  (10 x 15 = 150 บาท)
5) กากน้ำตาล            20 ลิตร  (20 x 15 = 200 บาท)
6) นมเปรียง             20 ลิตร  (20 x 20 = 400 บาท)
7) สารสกัด Anti oxidant 100 ซีซี. (100 x 1 = 100 บาท)
8) รำอ่อน               10 กก.  (10 x 8 = 80 บาท)
9) หมักทิ้งไว้ 3 วันขึ้นไป
                                               
รวมมูลค่า 4,930 บาท เฉลี่ยลิตรละ 25 บาท
                               

6.2 การผสมปุ๋ยอินทรีย์อะตอมมิกนาโนเพื่อทำหัวเชื่อปุ๋ยอินทรีย์
1) ปุ๋ยคอก      300 ก.ก. (300 x 1   = 300 บาท)
2) มูลไก่       300 ก.ก. (300 x 2    = 600 บาท)
3) รำอ่อน      300 ก.ก. (300 x 4    = 1,200 บาท)
4) แกลบดิบ/ดำ  100 ก.ก. (100 x 0.50 = 50 บาท)
5) คลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกันพร้อมผสมกับน้ำหมักตาม 5.1 ให้หมาดๆ
6) นำอินทรียวัตถุไปกองไว้บริเวณพื้นคอนกรีต ภายในร่ม หมักไว้ 7-15 วัน สามารถนำไปใช้ในไร่ได้นาได้
7) กระบวรการหมักให้มีคุณภาพควรบรรจุใส่กล่องผลไม้พลาสติกที่อากาศถ่ายเทได้ดี แล้วคลุมด้วยกระสอบป่านให้มิดชิด

8) สรุปต้นทุนในการทำหัวเชื้อปุ๋ยอินทรีย์อะตอมมิก-นาโน                     
8.1 ต้นทุนน้ำหมัก         4,930 บาท
8.2 ต้นทุนอินทรียวัตถุ      2,150 บาท
8.3 ค่าแรงงาน           300   บาท
                                                               
รวม   7,380 บาท
              
หมักไว้ 15 วัน กองอินทรียวัตถุจาก 1,000 ก.ก. คงเหลือ 800 ก.ก. ค่าเฉลี่ย ก.ก.ละ 9.50–10 บาท
                      
6.3 สูตรการผลิตน้ำหมักชีวะภาพสำหรับย่อยสลายฟางข้าวและทำปุ๋ยอินทรีย์
อะตอมมิก -นาโน
1) หัวเชื้อแบคทีเรียชนิดเข้มข้น   2 ก.ก. (2 x 200 = 400 บาท)
2) หัวเชื้อแบคที่เรียชนิดน้ำ      2 ก.ก. (2 x 200 = 400 บาท)
                                   
* หากใช้น้ำหมักตามข้อ 5.1 ใช้ 10 ลิตร (10 x 25 = 250 บาท)
                               
3) ลูกอะโนบอลล์  3-5 ลูก(3 x 15 = 45 บาท), (5 x 15 = 75 บาท)
4) กากน้ำตาล    20 ลิตร (20 x 10 = 200 บาท)
5) นมเปรียง     20 ลิตร (20 x 20 = 400 บาท)
6) รำอ่อน       5 กก. (5 x 8 = 40 บาท)
7) สารสกัด Anti-oxidant 50 ซีซี (5 x 1 = 50 บาท)
8) น้ำธรรมชาติ   200 ซีซี (5 x 1 = 50 บาท)
9) หมักทิ้งไว้ 3 วันขึ้นไป นำไปใช้ได้
                                               
สรุป       
1) มูลค่ารวม 1,635 บาท ลิตรละ 8 บาท
2) มูลค่ารวม 1,415 บาท ลิตรละ 7 บาท
                               
6.4 การทำปุ๋ยอินทรีย์อะตอมมิก
-นาโน ใช้เอง
1) ปุ๋ยคอก        300 ก.ก. (300 x 1 = 300 บาท)
2) มูลไก่         300 ก.ก. (300 x 2 = 600 บาท)
3) รำอ่อนผสม     300 ก.ก. (300 x 4 = 1,200 บาท)
4) แกลบ         100 ก.ก. (100 x 0.50 = 50 บาท)
5) แร่ฟอสเฟส, โดโลไม,อื่นๆ 50 ก.ก. (300 x 1 = 300 บาท)
6) หัวเชื้อปุ๋ยอินทรีย์นาโน 300 ก.ก. (50 x 10 = 500 บาท)
                                               
รวมน้ำหนักวัตถุดิบ 1,300 ก.ก. มูลค่า 2,950 บาท
                      
ผสมน้ำหมักชีวภาพ นาโน สูตร 6.3 จำนวน 200 ลิตร ผสมคลุกให้เข้ากันพอหมาดๆ ปั้นเป็นก้อนไข่ นำไปใช้ได้ บรรจุตามหลักการผสมหัวเชื้อปุ๋ยอินทรีย์ ตามข้อ 6.2
                               
รวมต้นทุน 2,950 + 1,635 = 4,485 บาท เฉลี่ย ก.ก. ละ 4.50 บาท
                                                            
*+ 1,415 = 4,365 บาท เฉลี่ย ก.ก. ละ 4.30 บาท
               
หากหมักไว้ 15 วัน จะได้ปุ๋ยอินทรีย์ 1,300 = 1,000 ก.ก. นำหนักจะสูญเสียไป เฉลี่ย300 ก.ก. ในเวลา 15 วัน ทดแทนโดยแร่ที่ใส่ลงไป 300 ก.ก. จึงเหลือปุ๋ยอินทรีย์พร้อมใช้ 1,000 กิโลกรัม
                               

6.5 การนำน้ำหมักชีวภาพอะตอมมิก-นาโน มาปรับใช้กับน้ำหมักธรรมชาติที่เกษตรกรมีอยู่เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
1) ทำน้ำหมักชีวภาพเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีขั้นตอนการปรับใช้ดังนี้
1.1) น้ำหมักชีวภาพเดิม 100 ลิตร
1.2) เติมน้ำหมักชีวภาพนาโน ตามข้อ 6.3 จำนวน 10 ลิตร
1.3) ใส่ลูกอะโนบอลล์  3 ก้อน
1.4) เติมกากน้ำตาล   10 ก.ก.
1.5) เติมนมเปรียง     10 ลิตร
1.6) ใส่สารแอนตี้     50 ซีซี
ใช้ไม้กวนให้เข้ากันปิดฝาถังหมักไว้หากไม่มีฝาควรใช้พลาสติกดำปิดฝาถังหมัก ใช้ยางรถจักรยานรัดให้แน่น ทิ้งไว้ 3-7 วัน ก็จะได้น้ำหมักชีวภาพที่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น เหมาะสำหรับนำไปรดน้ำต้นไม้ หรือราดฟางข้าวเพื่อย่อยสลาย
               
2.) ทำน้ำหมักชีวภาพสำหรับฉีดพ่นทางใบเป็นอาหารเสริม
1.1 น้ำหมักชีวภาพเดิมที่หมักจากหอย หรือปลา จำนวน 100 ลิตร
1.2 เติมน้ำหมักชีวภาพนาโน ตามข้อ 6.3 จำนวน 10 ลิตร
1.3 ใส่ลูกอะโนบอลล์ 3 ก้อน
1.4 เติมกากน้ำตาล   10 ก.ก.
1.5 เติมนมเปรียง    10 ลิตร
1.6 ใส่สารแอนตี้    50 ซีซี
               
ใช้ไม้กวนให้เข้ากันปิดฝาถังหมักไว้หากไม่มีฝาควรใช้พลาสติกดำปิดฝาถังหมัก ใช้ยางรถจักรยานรัดให้แน่น ทิ้งไว้ 3-7 วัน ก็จะได้น้ำหมักชีวภาพที่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น เหมาะสำหรับนำไปรดน้ำต้นไม้ หรือราดฟางข้าวเพื่อย่อยสลาย
                               
จะได้น้ำหมักชีวภาพสำหรับฉีดพ่นทางใบพืชทุกชนิด วิธีการใช้น้ำหมักที่ปรับสภาพแล้วมา 1 ลิตร/10-20 ลิตร จะใช้ได้ผลดี
                               
6.6 การผลิตฮอร์โมนบำรุงหมากผลเมล็ด โดยเทคโนโลยีอะตอมมิกนาโนมีกระบวนการขั้นตอนดังนี้
1. มะละกอสุก              20           กิโลกรัม
2. ฟักทองสุก               20           กิโลกรัม
3. แครอท                 20           กิโลกรัม
4. กล้วยน้ำหว้าสุก            20           กิโลกรัม
5. ไข่เป็ด,ไก่ ต้มสุก          20           กิโลกรัม
6. ใส่ลูกอะโนบอลล์           3-5          ก้อน
7. ใส่นมเปรียง              10-20        ลิตร
8. น้ำตาลทรายแดง           100          ซีซี
9. สารแอนตี้                100          ซีซี
10. หมักทิ้งไว้               30          วันเป็นอย่างน้อย
               
วิธีนำมาใช้ :  
นำน้ำฮอร์โมนที่ผ่านการหมัก 30 วัน นำมากลั่น จะได้ฮอร์โมนที่มีความเข้มข้นสูงนำไปผสมน้ำธรรมชาติอัตราส่วน 1: 50 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ หรือช่อดอก หากเป็นข้าวควรฉีดระยะข้าวกำลังตั้งท้องจะได้ผลผลิตสูง
               
หากนำมาใช้ในสภาพที่เป็นน้ำหมักฮอร์โมนควรกรองด้วยแพรเขียวเพื่อขจัดกาก แล้วนำมาผสมน้ำธรรมชาติอัตราส่วน 1: 20 ลิตร ฉีกบำรุงหมากผล
               
6.7 การผลิตเชื้อแบคทีเรียอะตอมมิกนาโน สำหรับปราบหอยเชอร์รี่มีวิธีการขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ขั้นตอนที่ 1 เตรียมแบคทีเรียธรรมชาติชนิด บูดเน่า โดยนำหอยเชอร์รี่สดมาทุบให้แตกใสภาชนะฝาปิดทิ้งไว้ในร่ม 5-7 วัน ให้มีกลิ่นเหม็น
          
2. เติมกากน้ำตาลในปริมาณที่เหมาะสมกับจำนวนของหอยเชอร์รี่ที่หมักเน่า อัตรา 1:1 หรือ 1:2 เพื่อให้เชื้อแบคทีเรียชนิดบูดเน่าขยายพันธ์ให้มากขึ้น
                      
3. นำหัวเชื้อปุ๋ยอินทรีย์อะตอมมิกนาโนที่ได้จากการผลิตตามข้อ 5.2 มาผสมลงในภาชนะที่หมักหอยเชอร์รี่ประมาณการให้เหมาะสม (หากหมักหอย 10 ก.ก. ควรใส่หัวเชื้อปุ๋ยอะตอมิกนาโน
½-1 กิโลกรัม คลุกให้เข้ากันทิ้งไว้ 2-3 วัน)
                       
4. ควรเติมนมเปรียงเพื่อเป็นอาหารของแบคทีเรียอะตอมมิกนาโน
                       
5. ใส่สารแอนตี้ 30–50 ซีซี เพื่อให้จุลินทรีย์ขยายพันธุ์ได้มากขึ้น
                       
6.นำวัสดุหอยเชอร์รี่ที่หมักไปหว่านลงในที่นาให้ประมาณการที่เหมาะสม โดยการหยุดลงในน้ำแปลงนาหรือสถานที่ที่มีหอยเชอร์รี่อาศัยอยู่ ก็จะสามารถทำลายหอยเชอร์รี่ได้โดยวิธีธรรมชาติไม่เป็นอันตรายแก่สัตว์ชนิดอื่นรวมทั้งตัวเกษตรกรด้วยในทางตรงกันข้ามกลับปุ๋ยตามธรรมชาติที่เกิดจากการตายของหอยเชอร์รี่อีกด้วย
6.8.ในกรณีที่ต้องปราบแมลงศัตรูพืช หนอนชนิดต่างๆสามารถปรับใช้วิธีการได้เพียงแต่หากต้องการทำลายสิ่งใดให้นำแมลงหรือสัตว์ชนิดนั้นมาทำให้เน่าเสียก่อน แล้วขยายเชื้อตามกระบวนการของข้อ 2 ในข้อ 5.7 จนครบขั้นตอน เกษตรกรก็จะประหยัดและใช้วิธีธรรมชาติ บำบัดธรรมชาตินั่นเอง
6.9 กระบวนการขั้นตอนการผลิตนมเปรียงใช้เอง ต้นทุนต่ำมีกระบวรการขั้นตอนดังต่อไปนี้
                       
1.เตรียมภาชนะบรรจุนมสดที่มีจุลินทรีย์ปนเปื้อนและโรงงานไม่ต้องการ ขนาดความจุ 200 ลิตร ที่มีฝาปิดมิดชิด
2. นำนมวัวที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานมาบรรจุประมาณ 180-190 ลิตร
3. ใส่จุลินทรีย์ชนิดเฉพาะรหัส PR จำนวน 10-15 ลิตร บรรจุลงไปในถังนมที่ตกเกณฑ์ ทิ้งไว้ 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน ก็จะได้นมเปรียงที่เป็นอาหารของจุลินทรีย์ตามที่ต้องการ
4. ข้อควรสังเกต ให้ดูนมหากยังมีไขมันยังไม่สลายตัวและมีกลิ่นเหม็น บูดเน่า ให้เติมเชื้อจุลินทรีย์ PR ลงไปอีก เฝ้าสังเกตุดูว่าไขมันนมละลายหมดหรือไม่และมีกลิ่นหอมก็จะสามารถใช้ได้





หน้าก่อน หน้าก่อน (1/4) - หน้าถัดไป (3/4) หน้าถัดไป


Content ©