-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 476 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อินทรีย์ชีวภาพ




หน้า: 1/4



ปุ๋ยหมักชีวภาพ 1
 


ความเป็นมาของปุ๋ยชีวภาพ

                   ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของโลก บนทำเลที่ตั้งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร พื้นที่ บางส่วนยื่นเข้าไปในทะเล บางส่วนยื่นเข้าไปในแผ่นดิน จึงทำให้เกิดความหลากหลายทางภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์เรียกว่า ระบบนิเวศ  มีความพร้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ที่ใช้ไม่หมด คือ แสงแดด อุณหภูมิ ความชื้น น้ำ ความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรเหล่านี้ ได้สั่งสมทรัพยากรอื่นๆให้เกิดขึ้นและสั่งสมมาหลายล้านปี ก็คือ ความหลากหลายทางชีวภาพ มีสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ขนาดเล็กมากๆ จำพวกจุลินทรีย์ เชื้อรา พืชเซลล์เดียว พืชชั้นสูง สัตว์ชั้นสูงต่างๆ
               
แม้40 กว่าปีที่ผ่านมา การพัฒนาประเทศของเรา จะใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยและผิดพลาด จนแร่ธาตุต่างๆถูกนำไปจำหน่ายจนเกือบหมด ป่าไม้ถูกทำลาย จนเหลือเนื้อที่ป่าไม่ถึง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ จนทำให้พืช สัตว์หลายชนิดสูญพันธุ์ แต่ทรัพยากรที่มีคุณค่า หลายอย่างยังคงเหลืออยู่ อีกมาก หนึ่งในนั้น คือจุลินทรีย์
               
จุลินทรีย์ ไม่ใช่เรื่องใหม่ ในการนำมาใช้ประโยชน์ในสังคมไทย เพราะมีการนำจุลินทรีย์มาใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ โดยวัฒนธรรมการดำรงชีวิต ในด้านปัจจัยสี่ อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย เพียงแต่ที่ผ่านมา การเรียนรู้และการถอดรหัสภูมิปัญญาเหล่านี้ ไม่ได้รับความสนใจ ขาดการถ่ายทอด และถอดรหัสภูมิปัญญาไม่ถูกต้อง ด้วยแนวคิด วิธีการ และการให้คุณค่า
               
ในการทำเกษตรกรรม ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการใช้จุลินทรีย์ผ่านพิธีกรรมและความเชื่อในแต่ละสังคม ได้ถูกถอดรหัสบิดเบี้ยวไป เช่น ป่าหัวไร่ ปลายนา หรือแหล่งจุลินทรีย์ธรรมชาติ ที่ชาวบ้านเรียกว่า ป่าดอนหอ ดอนปู่ตา โพนแม่ย่านาง โพนเจ้าปู่ ที่ต้องนำแกลบไปให้แทนข้าวเปลือก เมื่อหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว เป็นการต่อเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่น ที่มีอยู่ในธรรมชาติ สอดคล้องกับการเลี้ยง จุลินทรีย์ ที่นำมาใช้ในการผลิตปุ๋ยจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
               
แนวคิดใหม่ที่ได้จากการเรียนรู้การใช้จุลินทรีย์ในการเกษตรกรรมของประเทศญี่ปุ่น เกาหลี จีน และจุลินทรีย์ที่เหมาะสม ที่มีอยู่ในประเทศไทย จึงทำให้เกิดนวัตกรรมการทำปุ๋ยจุลินทรีย์ ซึ่งได้มีการตั้งชื่อแตกต่างกัน เช่น ปุ๋ยจุลินทรีย์นาโน ปุ๋ยจุลินทรีย์อะตอมมิกนาโน ปุ๋ยจุลินทรีย์สังเคราะห์ด้วยแสง ฯลฯ
               
เพื่อให้องค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมนี้ เป็นนวัตกรรมที่เกิดการเรียนรู้และต่อยอด ในหมู่เกษตรกรไทย ผู้คิดค้น คือ อาจารย์กิตติ์ธเนศ   สังควรเศรษฐ์ จึงได้ถ่ายทอดความรู้สู่กลุ่มเกษตรกร ในเครือข่ายสมาคมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ และสมาคมเกษตรกรไทย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัดและภาคใต้ 3 จังหวัด และขยายผลสู่เกษตรไทยทั่วประเทศต่อไป


ความหมายของปุ๋ยชีวภาพ
                ก่อนจะกล่าวถึงปุ๋ยชีวภาพควรจะมีความเข้าใจถึงความหมายของคำว่าปุ๋ยก่อน ความหมายของปุ๋ยที่สั้นที่สุดนั้น ปุ๋ย หมายถึง วัสดุที่ให้ธาตุอาหารแก่พืช ส่วนพระราชบัญญัติปุ๋ย 2518 ได้ให้คำจำกัดความปุ๋ยไว้ว่า “ ปุ๋ย” หมายถึง สารอินทรีย์ หรืออนินทรีย์ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืชได้ไม่ว่าโดยวิธีใดหรือทำให้เกิดการเปลียนแปลงทางเคมีในดิน เพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืช นักวิชาการปุ๋ยโดยทั่วไปสามารถจำแนกปุ๋ยได้ 3 ประเภท คือ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ


ความเป็นมาและความสำคัญปุ๋ยอินทรีย์
                สิบกว่าปีที่ผ่านมา อาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพที่เกษตรกรเอง ไม่สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ เพราะราคาปุ๋ย ขึ้นลงตลอดเวลา และมีแนวโน้มราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ราคาผลผลิตทางการเกษตรอยู่กับที่ หรือถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง และระบบการค้าในปัจจุบัน
            
ช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 ราคาปุ๋ยแพงมาก จึงมีกลุ่มเกษตรกร 9 จังหวัดภาคอีสาน รวมกันไปศึกษาการเกษตรต้นแบบ ที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ที่สวนอินาดี จังหวัดตราด ที่ปลูกสละ จำนวนกว่า 400 ไร่ และบ่อเลี้ยงปลาทับทิม ขนาด 36 ไร่ อยู่กลางสวน เป็นสวนต้นแบบของการใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ทำให้ลดต้นทุนเรื่องปุ๋ยได้หลายเท่าตัว และยังส่งผลดีต่อผลผลิต ที่รสชาติหอมหวาน ออกนอกฤดูกาล ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว
              
สวนอินาดี เป็นแปลงทดลองปุ๋ยจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงกว่า 7 ปี มีการขยายผลสู่การทำสวนส้มที่จังหวัดลำพูน การทำนากุ้งที่จังหวัดตราด และในปี 2549 นำมาทดลองใช้ในข้าว 9 จังหวัดภาคอีสาน มีจังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด สกลนคร ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และนครพนม ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นตามลำดับ และส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อมในผืนนา ต้นข้าวเจริญเติบโต แข็งแรง แตกกอดี รวงยาว เมล็ดเต็ม สมบูรณ์ ผลผลิตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากกว่า 600 กิโลกรัม ในปีที่ 2 และได้ผลผลิตสูงสุด 1200 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ตำบลไร่ใต้ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ในปีที่ 3


ปุ๋ยอินทรีย์ จุลินทรีย์สังเคราะห์ด้วยแสง

                 ปุ๋ยอินทรีย์ จุลินทรีย์กลุ่มสังเคราะห์แสง เป็นการใช้จุลินทรีย์ให้เป็นผู้ผลิตปุ๋ยแก่พืช การทำปุ๋ยอินทรีย์ จุลินทรีย์ จึงเป็นการเลี้ยงจุลินทรีย์ให้เจริญเติบโตเต็มที่และแตกตัวเป็นสปอร์จำนวนมากในปุ๋ย เพื่อนำไปใส่ลงในดินให้เจริญเติบโต แพร่พันธุ์ ทำงานร่วมกับจุลินทรีย์ท้องถิ่น ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การเลี้ยงจุลินทรีย์ในดิน จึงต้องเตรียมอาหารให้สำหรับจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงไปใช้ระหว่างเจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ คืออินทรียวัตถุต่างๆ
              
การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ จุลินทรีย์สังเคราะห์ด้วยแสง จึงไม่ใช่ การใช้จุลินทรีย์ไปย่อยอินทรียวัตถุ เพื่อให้เป็น แร่ธาตุที่จำเป็น คือ N P K ในการเจริญเติบโตของพืช เท่านั้น แต่เป็นการเลี้ยงจุลินทรีย์ไปสร้างอาหารให้กับพืช คือ กรดอะมิโน ที่พืชนำไปสร้างเป็นคลอโรฟิลล์ โดยตรง พืชจึงไม่ต้องนำไนโตรเจน (N) ไปสร้างกรดอะมิโนเอง จึงทำให้พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอ ส่งผลดีต่อการทำงานของจุลินทรีย์ท้องถิ่น และสร้างความยั่งยืนของผืนดิน
               
ปัญหาเชิงวิชาการปัจจุบัน ทำให้เข้าใจว่า การตรึงไนโตรเจน คือการนำเอาก๊าซไนโตรเจนในอากาศ ที่มีอยู่มากถึง 79 % ให้เป็นสารประกอบไนเตรท ให้พืชนำไปสร้างคลอโรฟิลล์ หรือสีเขียวของพืช โดยเชื้อรากลุ่มไรโซเบียม เป็นวิธีการใช้จุลินทรีย์ในดินสร้างปุ๋ยที่ดีที่สุดในปัจจุบัน แต่การค้นพบ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ อีกชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์ ที่เรียกว่า โปรโตซัว สังเคราะห์ด้วยแสงได้ สามารถนำเอาก๊าซไนโตรเจนในอากาศ มาเก็บไว้ในรูปของกรดอะมิโน ที่พืชสามารถนำไปสร้างคลอโรฟิลล์โดยตรง ไม่ต้องเสียพลังงานนำสารไนเตรทมาสร้างกรดอะมิโนเอง จึงเป็นวิธีการตรึงไนโตรเจนอีกรูปแบบหนึ่ง ที่มีประสิทธิภาพต่อการเจริญเติบโตของพืชมากกว่า
              
การเลี้ยงจุลินทรีย์สังเคราะห์ด้วยแสง ประกอบด้วยจุลินทรีย์ กลุ่ม Enterobacteria ที่ต้องการออกซิเจนน้อย 2 ชนิด คือ Klebsilla variicola และ Enterobacter cowanii ตัวหนึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ อีกชนิดหนึ่งเป็นผู้อาศัย(Host) ในวงจรชีวิต เพื่ออาศัยในช่วงเป็นสปอร์ มีวงจรชีวิต 72 ชั่วโมง อาหารที่เลี้ยงจะใช้อาหารที่มีน้ำตาล คือ กากน้ำตาล และอาหารที่มีกรดอะมิโน คือ นม เพื่อเก็บรักษานมให้เก็บไว้ได้นานและย่อยโปรตีนและไขมันให้เล็กลง จึงหมักด้วยจุลินทรีย์ชนิดหนึ่ง เรียกนมที่หมักแล้วนี้ว่า นมเปรียง กระตุ้นการเจริญเติบโต ระหว่างหมักด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่หมักด้วยผลไม้หลายชนิด แล้วนำมากลั่นที่อุณหภูมิเหมาะสม เรียกน้ำที่กลั่นได้ว่า สารต้านอนุมูลอิสระ

กระบวนการเลี้ยงจุลินทรีย์ เพื่อทำปุ๋ยจุลินทรีย์ มี 2 ขั้นตอน คือ
1. การทำน้ำหมักจุลินทรีย์
2. การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์
         
          การทำน้ำหมักจุลินทรีย์ เป็นขั้นตอนการเลี้ยงจุลินทรีย์กลุ่มสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อเพิ่มจำนวนและเจริญเติบโตต่อในปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ โดยการหมักในถังทึบปิดสนิท เพราะเป็นช่วงที่จุลินทรีย์เจริญเติบโต โดยไม่ต้องการแสงและต้องการออกซิเจนน้อย



วิธีการทำปุ๋ยจุลินทรีย์สังเคราะห์ด้วยแสง
วิธีการหมักน้ำหมักจุลินทรีย์ (ทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ได้ 1 ตัน)
1. เตรียมถังพลาสติกขนาด 200 ลิตร ล้างทำความสะอาด สารเคมีตกค้างออกจากถัง
2. ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์ ประกอบด้วย หัวเชื้อมิกซ์(ผง) 3 กิโลกรัม หัวเชื้อน้ำ 3 ลิตร และ จุลินทรีย์ก้อน 4 ก้อน มาใส่ลงในถัง 200 ลิตร
3. ชั่งนมเปรียง 20 กิโลกรัม กากน้ำตาล 20 กิโลกรัม รำอ่อน 5 กิโลกรัม ใส่ลงไปในถัง ในข้อ 2
4. เติมน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น บ่อ สระ หรือหนองน้ำ ลงไปในถัง  ประมาณ 1/3 ของถัง เขย่าให้สิ่งที่ใส่ลงไปผสมกัน แล้วเติมน้ำจนเกือบเต็มถัง เหลือช่องว่างไว้ ประมาณ 10 เซนติเมตร
5. เติมสารต้านอนุมูลอิสระลงไป 20 ซี.ซี ปิดฝาให้สนิท วางไว้ในที่ร่ม 3 วัน หรือ 72 ชั่วโมง

วิธีการทำน้ำหมักจุลินทรีย์ขยาย (น้ำหมักจุลินทรีย์ 200 ลิตร จะได้น้ำหมักขยาย 4000 ลิตร หรือ ทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ได้ 20 ตัน )
1. เตรียมถังปากกว้าง บรรจุน้ำขนาด 100 – 150 ลิตร
2. ตวงน้ำหมักจุลินทรีย์ จำนวน 1 ลิตร ต่อ น้ำ 20 ลิตร
3. ชั่งหรือตวงกากน้ำตาล นมเปรียง อย่างละ 2 ลิตร ต่อ น้ำหมักจุลินทรีย์ 1 ลิตร
4. คนให้เข้ากัน นำไปทำปุ๋ยหมัก หรือตั้งไว้ 1 คืน จะช่วยให้จุลินทรีย์เจริญเติบโตได้ดีขึ้น
           
การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ เป็นขั้นตอนการเลี้ยงจุลินทรีย์ลงในอินทรียวัตถุ ที่มีสารอินทรีย์และแร่ธาตุที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของพืช ที่หาได้ในท้องถิ่น เพื่อเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ และปรับตัวให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่จะนำปุ๋ยไปใส่ แหล่งสารอินทรีย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สารอินทรีย์ที่จำเป็น ถ้าไม่มีอาจจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และการเจริญเติบโตของพืชที่ใส่ปุ๋ยนี้ ได้แก่ ปุ๋ยคอก (มูลวัว มูลควาย มูลหมู) มูลไก่(แยกต่างหาก เพราะมีไนโตรเจนสูง) รำอ่อน และสารอินทรีย์วัตถุอื่นๆที่หาได้ในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น แกลบดิบ แกลบเผา หญ้าหรือฟางเน่า มูลตะกอนน้ำตาล ฯลฯ ในสัดส่วนที่เท่าๆกัน (ปริมาตร) ผสมกับน้ำหมักจุลินทรีย์ หรือน้ำหมักจุลินทรีย์ขยาย ให้มีความชื้นเหมาะสม


วิธีการทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์
1. ชั่งหรือตวงวัตถุดิบหลัก ประกอบด้วย ปุ๋ยคอก มูลไก่ และรำอ่อน อย่างละ 1 ส่วน
2. ชั่งหรือตวงวัตถุดิบท้องถิ่น ที่หาง่ายในท้องถิ่น เช่น แกลบดิบ แกลบเผา กากตะกอนน้ำตาล ผักตบชวา ฟางเน่า ฯลฯ 1 ส่วน
3. คลุกเคล้าให้เข้ากัน รดด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์ หรือน้ำหมักจุลินทรีย์ขยาย ให้เปียกชุ่ม ใช้มือกำแล้วเกาะกันเป็นก้อน ไม่มีน้ำไหลเยิมออกมา
4. นำมากองบนพื้นซีเมนต์ เกลี่ยให้กองปุ๋ยสูง ประมาณ 15 เซนติเมตร หรือหมักในตะกล้าผลไม้ หมักไว้ 7 – 10 วัน ให้อุณหภูมิเย็นลงปกติ และมีเส้นใยสีขาว ขึ้นเต็มกองปุ๋ย นำไปใช้ได้


วิธีการใช้ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์
การใช้ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ แตกต่างจากการใช้ปุ๋ยชีวภาพแบบอื่นๆ เพราะเป็นการเลี้ยงจุลินทรีย์ ให้เจริญเติบโตในดิน จึงหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีและยาปราบศัตรูพืช มีวิธีการใช้ดังนี้
1. การหว่านปุ๋ยจุลินทรีย์อย่างเดียว ใช้ปุ๋ย 60 – 100 กิโลกรัมต่อไร่
2. การหว่านพร้อมกับคลุกน้ำหมักจุลินทรีย์ นำปุ๋ยจุลินทรีย์มาผสมกับน้ำหมักจุลินทรีย์ ประมาณ 5 – 6 ลิตร ต่อปุ๋ย 15 กิโลกรัม นำไปหว่าน 60 – 100 กิโลกรัม(ปุ๋ยแห้งยังไม่ได้ผสมน้ำหมักจุลินทรีย์)
3. การหว่านและพ่นด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์ หว่านปุ๋ย 60 – 100 กิโลกรัมต่อไร่ และพ่นด้วยน้ำหมักจุลิน
ทรีย์ 20–30 ลิตรต่อไร่


 ระยะเวลาในการหว่านปุ๋ยจุลินทรีย์
1. หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยหว่านปุ๋ยให้ทั่วตามขนาดที่ต้องการ แล้วไถกลบ จะได้ปุ๋ย หมักไว้ในนาประมาณ 200 กิโลกรัม
2. ก่อนดำนาหรือหว่าน จึงไถ่พรวนหรือปั่น ก่อนดำหรือหว่าน
3. หลังดำ หรือหว่าน
         
ปุ๋ยจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เป็นการเลี้ยงจุลินทรีย์ให้เจริญเติบโตลงในดิน เพื่อสร้างอาหารให้พืช จะตรึงไนโตรเจนจากอากาศ เป็น กรดอะมิโน สามารถสะสมไว้ในดินได้ ไม่ถูกทำลายง่าย เหมือนการตรึงไนโตรเจน จากอากาศ โดยเชื้อรากลุ่มไรโซเบียม ที่ตรึงไนโตรเจนอยู่ในรูปของ สารประกอบไนเตรท ยิ่งใส่ในดินนานและมีอินทรียวัตถุมากยิ่งเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์และอาหารพืช


นิยาม
“ ปุ๋ยชีวภาพ”
          คำว่า “ ปุ๋ยชีวภาพ” (Bio-fertilizer) นั้นเป็นคำศัพท์ทางด้านปุ๋ยที่ใช้กันทั่วๆ ไปในหลักวิชาการปุ๋ยสากล โดยได้มีการบัญญัติศัพท์นี้ขึ้นจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า biological fertilizer ซึ่งเป็นการนำคำว่า “ ปุ๋ย” (fertilizer) หมายถึง ธาตุอาหารพืช กับคำว่า “ ชีวภาพ” (Biological) หมายถึง สิ่งที่มีชีวิต มาสมาสกัน ดังนั้นเจตนาที่บัญญัติคำนี้ จึงให้หมายถึง “ ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ที่สามารถสร้างธาตุอาหาร หรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช” หรือเรียกว่า “ ปุ๋ยจุลินทรีย์” ตามคำจำกัดความนี้จะเห็นได้ว่าไม่ใช้จุลินทรีย์ทุกชนิดจะใช้ผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพได้ แต่ต้องเป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติพิเศษ ที่สามารถสร้างธาตุอาหารขึ้นทางชีวภาพแล้วแบ่งให้พืชใช้ได้หรือมีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะเจาะจงในการสร้างสารบางอย่างออกมา มีผลทำให้ช่วยเพิ่มปริมาณรูปที่เป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุอาหารหลักที่สำคัญ 3 ชนิด คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม








หน้าถัดไป (2/4) หน้าถัดไป


Content ©