-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 564 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อินทรีย์ชีวภาพ






หนุนเกษตรกรผลิตปุ๋ยอินทรีย์


ปัญหาที่เกษตรกรพบอยู่เป็นประจำทุกปี ก็คือราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ และปัจจัยการผลิตมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีด้วยแล้วมีแนวโน้มปรับราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้ต้นทุนของเกษตรกรสูงไม่สัมพันธ์กับราคาสินค้าที่ขายได้ ส่งผลให้เกษตรกรต้องเป็นหนี้สินอย่างที่เป็นอยู่ การที่จะแก้ปัญหาราคาปุ๋ยเคมีสูงได้วิธีหนึ่ง คือการปรับเปลี่ยนจากระบบการเกษตรที่ใช้สารเคมีมาเป็นการพึ่งพาเกษตรอินทรีย์ที่สามารถผลิตได้เอง เพื่อความยั่งยืนในอาชีพ
   
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้และความมั่นคงในการประกอบอาชีพการเกษตร โดยมีเป้าหมาย ในการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรลง ทั้งในเรื่องของปัจจัยการผลิต รวมทั้งด้านการบริหารจัดการ โดยตั้งเป้าลดต้นทุนการผลิตลงให้ได้ 7-10% และหน่วยงานจะต้องมีแผนการดำเนินงาน เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร   ให้มากกว่าต้นทุนการผลิต ประมาณ 15-20% โดยต้องดำเนินการให้เห็นเป็นรูปธรรม
   
นายศุภชัย  โพธิ์สุ  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ กล่าวว่า ช่วงนี้เป็นช่วงที่เกษตรกรส่วนใหญ่กำลังเร่งการผลิต จึงจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยและสารเคมีทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตอย่างมาก ดังนั้นกระทรวงเกษตรฯ จึงได้สั่งการให้กรมวิชาการเกษตรดำเนินการตรวจสอบและจับกุมผู้ผลิตและจำหน่ายปุ๋ยและสารเคมีทางการเกษตรที่ไม่ได้มาตรฐานหรือผิดกฎหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกษตรกรตกเป็นเหยื่อ นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ ยังมีนโยบายที่จะผลักดันให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตอย่างยั่งยืน คือการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาทำและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่เกษตรกรสามารถผลิตได้เองจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในท้องถิ่นของตนเองเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี โดยมอบหมายให้กรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานในการดูแลเรื่องดังกล่าว
   
ด้าน นายบัณฑิต ตันศิริ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมากรมพัฒนาที่ดินได้จัดตั้งกลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร มาตั้งแต่ปี 2550 ปีละ 17,000 กลุ่ม เกษตรกรเป้าหมาย 850,000  ราย  รวม  3  ปี  ก็มีกลุ่มไม่ต่ำกว่า 50,000  กลุ่ม ในหมู่บ้านต่าง ๆ ทั่วประเทศ เกษตรกรประมาณ 2.5 ล้านคน ซึ่งเกษตรกรให้ความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการดังกล่าวจำนวนมาก เพราะนอกจากจะช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีได้ไม่ต่ำกว่า 30% แล้ว สารอินทรีย์ยังช่วยปรับปรุงสภาพดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ พืชผลเจริญงอกงามให้ผลผลิตดีขึ้นด้วย ที่สำคัญเกษตรกรยังมีรายได้เพิ่มจากการขายปุ๋ยอินทรีย์ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ได้อีกทางหนึ่ง
   
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการส่งเสริมให้เกษตรกร ผลิตปุ๋ยอินทรีย์แล้ว สิ่งที่กรมฯ ตั้งเป้าดำเนินการต่อไปคือเร่งรับรองคุณภาพปุ๋ยของกลุ่มเกษตรกร เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ซึ่งในปีนี้ตั้งเป้ารับรองมาตรฐานสินค้า Q ให้ได้อย่างน้อย 250 แห่ง พร้อมกันนี้ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดูแล กระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ของแต่ละกลุ่มอย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการดำเนินงานของกลุ่มให้สามารถอยู่รอดด้วยการพึ่งพาตนเอง โรงปุ๋ยที่อยู่ในเกรดซีก็ต้องพัฒนายกระดับขึ้นมาสู่ระดับบีและเอต่อไปให้ได้ และสร้างกลุ่มใหม่ขึ้นมาทดแทนไปเรื่อย ๆ
   
สำหรับกลุ่มเกษตรกรที่ยังไม่มีความเข้มแข็ง มีสาเหตุหลัก ๆ มาจากความไม่พร้อมของเกษตรกรในพื้นที่ที่ไม่อาจรวมกลุ่มกันดำเนินการได้ รวมถึงบางแห่งไม่มีวัตถุดิบที่เหมาะสมในการนำมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งกรมฯ จะเร่งเข้าไปแก้ไขปัญหาให้ทุกกลุ่มตามความเหมาะสม โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของเกษตรกร องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้โครงการดังกล่าวสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลประโยชน์จะตกอยู่ที่เกษตรกรทั้งผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์และผู้ใช้ รวมไปถึงผู้บริโภค
   
นอกจากการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ทดแทน สารเคมีแล้ว กรมพัฒนาที่ดินยังมีโครงการเกษตรอินทรีย์ในโรงเรียน และอีกมากมายที่ล้วนแต่เป็นโครงการที่จะเข้าไปช่วยให้เกษตรกรมีระบบการผลิตที่เน้นการพึ่งพาธรรมชาติ พึ่งพาตนเองมากขึ้น  ซึ่งเป็นวิถีการผลิตพืชผลทางการเกษตรที่มีความยั่งยืนและมั่นคง หากเกษตรกรท่านใดสนใจระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์สามารถขอความรู้ได้ที่กรมพัฒนาที่ดินหรือหมอดินอาสา ประจำหมู่บ้าน กว่า  70,000  รายทั่วประเทศ.









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (2429 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©