-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 585 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อินทรีย์ชีวภาพ




หน้า: 1/2


น้ำสกัดชีวภาพ พิมพ์ ส่งเมล์


เขียนโดย Fah   
Imageช่วงนี้มีเพื่อนๆสนใจสอบถามกันมาก ใจตรงกันจริงๆ ในเรื่อง สารสกัดชีวภาพ ฟ้าเลยไปค้นข้อมูลมาเล่าให้ฟังกัน  หลังจากได้อ่านแล้ว  เพื่อนๆคงได้คำตอบให้กับคำถามในใจกันได้บ้างค่ะ :-)



น้ำสกัดชีวภาพ เป็นน้ำสกัดที่ได้จากการย่อยสลายเศษวัสดุเหลือใช้จากส่วนต่าง ๆ ของพืชหรือสัตว์ โดยผ่านการบวนการหมักในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน (anaerobic condition) มีจุลินทรีย์ทำหน้าที่ย่อยสลายเศษซากพืชและซากสัตว์เหล่านั้นให้กลายเป็นสารละลาย รวมถึงการใช้เอนไซด์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือมีการเติมเอนไซด์เพื่อเร่งการย่อยสลายได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
               
จุลินทรีย์ที่พบในน้ำสกัดชีวภาพ มีทั้งที่ต้องการออกซิเจนและไม่ต้องการออกซิเจน มักเป็นกลุ่มแบคทีเรีย Bacillus sp., Lactobacillus sp., Streptococcus sp. นอกจากนี้ยังอาจพบเชื้อรา ได้แก่ Aspergillus niger, Pennicillium, Rhizopus และยีสต์ ได้แก่ Canida sp., Sacarsmycetes (สุริยา, 2542)
               
น้ำสกัดชีวภาพที่ได้มาจากการหมักเศษพืชหรือสัตว์นั้น ถึงแม้ไม่ได้ใส่กากน้ำตาล พืชและสัตว์ ซึ่งเป็นอินทรีย์วัตถุก็จะถูกย่อยสลาย โดยกระบวนการทางธรรมชาติอยู่แล้ว แต่การที่ใส่กากน้ำตาลลงไปเพื่อให้เป็นแหล่งพลังงานหรืออาหารของจุลินทรีย์ จึงทำให้เกิดการย่อยสลายเร็วขึ้นกว่าการย่อยสลายตามสภาพธรรมชาติทั่วไป กระบวนการย่อยสลายอินทรีย์สารนั้นมีจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องหลายกลุ่มและหลังขบวนการเสร็จสิ้นก็ยังคงมีจุลินทรีย์อยู่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมว่าเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดใด แต่จากการที่ตรวจสอบตัวอย่างที่ส่งมาให้กับ กลุ่มงานจุลินทรีย์ดิน กรมวิชาการเกษตร นั้นไม่พบจุลินทรีย์ที่ใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ ดังนั้นจึงไม่ถือว่าน้ำสกัดชีวภาพนี้เป็นปุ๋ยชีวภาพ ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากน้ำสกัดชีวภาพนี้ควรต่างไปจากประโยชน์จากปุ๋ยชีวภาพ การใช้ประโยชน์ว่ามีน้อยมาก เพราะปริมาณของธาตุอาหารหลักมีน้อยและการใช้จะต้องเจือจางตั้งแต่ 100 เท่าขึ้นไป ซึ่งมีผลทำให้ความเข้มข้นของธาตุอาหารซึ่งมีอยู่น้อยยิ่งน้อยลงไปอีก และจุลินทรีย์ในน้ำสกัดนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นชนิดใด เพราะจุลินทรีย์ในธรรมชาติมีหลายล้านชนิด การย่อยสลายจึงอาจเกิดจากจุลินทรีย์จากจุลินทรีย์ได้หลายพวกในระหว่างขบวนการย่อยสลายนั้นจะเกิดฮอร์โมน กลุ่มอินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืชปะปนกันอยู่ในรูปน้ำจึงสูญสลายง่ายทำให้ต้องใช้บ่อย ๆ และประโยชน์ในการปรับปรุงสภาพดินไม่เด่นชัดเหมือนปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ซึ่งอยู่ในรูปของแข็งจึงช่วยทำให้โครงสร้างของดินร่วนซุยขึ้น ส่วนประโยชน์ในการป้องกันโรคนั้นมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก เพราะอย่างที่กล่าวว่าสารที่ได้มีปริมาณน้อย (ภาวนา, 2542)
               
ยงยุทธ โอสถสภา (2542) ได้ให้ทัศนะถึงน้ำสกัดชีวภาพดังนี้ “สารสกัดจากพืชหรือสัตว์” จะมีน้ำเป็นองค์ประกอบในเซลพืชหรือสัตว์อยู่มากเมื่อนำมาหมักร่วมกับน้ำตาลที่ละลายในน้ำเป็นลักษณะน้ำเชื่อม หรืออาจใช้โมลาสซึ่งเป็นสารละลายที่มีความเข้มข้นสูงกว่าน้ำภายในเซลล์ของพืชหรือสัตว์ ทำให้ผนังเซลล์สูญเสียสภาพหรือที่เรียกว่าเซลล์แตก อินทรีย์สารที่อยู่ในเซลล์จึงละลายรวมอยู่ในน้ำเชื่อมเหล่านั้น ขณะเดียวกันจุลินทรีย์ที่มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติจะเข้ามาช่วยสลายเศษซากพืชหรือสัตว์ด้วย ดังนั้นอินทรีย์สารที่ได้จากการย่อยสลาย จึงมีทั้งจากของเดิมที่ได้จากพืชและของใหม่ที่ได้จากการสังเคราะห์ โดยจุลินทรีย์ ขณะที่เกิดกระบวนการย่อยสลายอินทรีย์สารที่ถูกย่อยสลายจะมีโมเลกุลขนาดเล็กทำให้พืชดูดซึมได้ง่าย แต่สารต่าง ๆ ที่ได้จะมีปริมาณเล็กน้อย เพราะวัสดุที่ใช้ยังสดอยู่จึงมีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่มาก ขณะที่อินทรีย์สารที่มีอยู่น้อยกว่าวัสดุแห้งเมื่อเปรียบเทียบที่น้ำหนักเท่ากัน นอกจากนี้ผลผลิตทีได้แต่ละครั้งจะมีความแตกตางกันเนื่องจากวัตถุดิบคือซากพืชซากสัตว์ สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการโดยเฉพาะอุณหภูมิที่มีการเปลี่ยนแปลงจึงทำให้คุณภาพในแต่ละครั้งไม่สม่ำเสมอ
               
ผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้จึงมีความไม่แน่นอน เพราะพื้นที่ที่ผลิตพืชแต่ละแห่งมีปัจจัยในเรื่องของสภาพแวดล้อมแตกต่างกันทั้งเรื่องของดิน สภาพความเป็นกรด–ด่าง ดังนั้นจึงอาจพบว่าบางส่วนได้ผลดี แต่บางแห่งอาจไม่ได้ผล และดร. ยงยุทธ โอสถสภา ได้สรุปไว้ว่าเมื่อศึกษาจากขบวนการผลิตแล้วน้ำสกัดจากพืชหรือสัตว์ มีขบวนการแตกต่างจากปุ๋ยชีวภาพน้ำสกัดจึงไม่ใช้ปุ๋ยชีวภาพแต่เป็นสารสกัดจากสิ่งมีชีวิตที่มีจุลินทรีย์เข้าไปเกี่ยวข้องในการย่อยสลายเท่านั้น ประโยชน์ที่ได้จากการใช้สารสกัดจึงอยู่ในรูปของสารหลากหลายชนิดที่มีพืชสามารถดูดซึมได้ง่ายแต่อย่างไรก็ตามการใช้สารสกัดเพียงอย่างเดียวจะไม่เป็นผลให้พืชเพิ่มผลผลิตได้จึงควรมีการผสมผสานวิธีการจัดการหลายวิธีมากกว่าที่จะมุ่งมาใช้สารสกัดชีวภาพเพียงอย่างเดียว
               
วรรลดา สุนันทพงศ์ศักดิ์ (2543) นักวิชาการจากกลุ่มอินทรีย์วัตถุและวัสดุเหลือใช้ กองอนุรักษ์ดินและน้ำ กรมพัฒนาที่ดิน ได้วิจัยและศึกษาเรื่องน้ำสกัดชีวภาพ และให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับน้ำสกัดชีวภาพดังนี้ น้ำสกัดชีวภาพเป็นสิ่งที่ได้จากการหมักเศษพืชหรือสัตว์” และนำมาใช้ในรูปของน้ำโดยการใช้พ่นที่ใบหรือดินบริเวณรอบ ๆ รากพืช ในกระบวนการหมักที่เกิดขึ้นจะมีจุลินทรีย์เข้ามาร่วมกิจกรรมตามกลไกของธรรมชาติ วัสดุธรรมชาติที่นำมาใช้หมักจะเป็นส่วนที่ทำให้ธาตุอาหารที่ได้มีความแตกต่างกัน สำหรับพืชแต่ละชนิดจะให้ปริมาณธาตุอาหารไม่แตกต่างกันมากนักและส่วนใหญ่จะไม่ถึง 1% แต่ถ้าใช้วัสดุจากสัตว์จะมีธาตุอาหารแตกต่างไปจากพืชบ้า เช่น ปลาทะเลจะมีปริมาณแคลเซียมมากและมีค่าความเค็ม (EC) สูง ในน้ำสกัดชีวภาพมีจุลินทรีย์หลายกลุ่มที่จะช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ในธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้เกิดสารอนินทรีย์ขึ้นด้วย สารเหล่านี้จะมีผลส่งเสริมการเจริญเติบโตให้แก่พืชและถ้าราดน้ำสกัดชีวภาพลงดิน จุลินทรีย์จะเข้าไปอยู่ในบริเวณรากพืชและทำการย่อยสารอินทรีย์ในบริเวณนั้นช่วยให้พืชได้รับประโยชน์จากธาตุอาหารได้ นอกจากนี้ในระหว่างเกิดกระบวนการย่อยสลายนั้นอาจจะมีสารประเภทฮอร์โมนหรือเอ็นไซม์เกิดขึ้นและเป็นประโยชน์กับพืช
               
จากทัศนะของนักวิชาการต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า  น้ำสกัดชีวภาพไม่ใช่ปุ๋ยชีวภาพ ธาตุอาหารหลักที่พบในน้ำสกัดชีวภาพมีปริมาณน้อยมาก นอกจากธาตุอาหารที่พบในน้ำสกัดแล้ว ยังพบฮอร์โมน กรดอินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืชปะปนอยู่แต่เพียงปริมาณเล็กน้อยเช่นกัน   เนื่องจากจุลินทรีย์หลายกลุ่มในน้ำสกัดชีวภาพจะช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ไม่มีในธรรมชาติทำให้พืชได้รับประโยชน์จากธาตุอาหาร การจะนำมาใช้เป็นรูปปุ๋ยโดยตรงยังไม่สามารถสรุปยืนยันได้ว่าจะทำให้เพิ่มการเจริญเติบโตของพืชหรือเพิ่มผลผลิตได้หรือไม่มากน้อยเพียงใด เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนยืนยันออกมาอย่างเด่นชัด ดังนั้นประโยชน์ของการผลิตน้ำสกัดชีวภาพนอกจากจะเป็นการช่วยลดปัญหาขยะเต็มเมืองแล้ว ผลได้ที่เกิดขึ้นคือการนำมาช่วยในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินทำให้พืชได้รับประโยชน์จากธาตุอาหารพืช และฮอร์โมน หรือเอ็นไซด์ อาจมีผลทำให้เกษตรกรลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลง
               
การปลูกพืชเพื่อให้เพิ่มผลผลิตสูงคงไม่สามารถใช้น้ำสกัดชีวภาพในรูปปุ๋ยโดยตรงได้ หรือใช้เพียงอย่างเดียว ควรผสมผสานกับวิธีการอื่น ๆ การใช้น้ำสกัดชีวภาพจึงควรตะหนักในแง่การนำจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นไปใช้ในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุเพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ การใช้น้ำสกัดชีวภาพจะเหมาะสมอย่างเดียวกับการผลิตพืชโดยวิธีเกษตรอินทรีย์ หรือวิธีเกษตรธรรมชาติ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ในแง่ปุ๋ยจะต้องใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ชนิดอื่น ๆ
               
ในปัจจุบันพบว่ามีการผลิตน้ำสกัดชีวภาพออกจำหน่ายในชื่อของน้ำสกัดชีวภาพ หรือปุ๋ยน้ำชีวภาพ หรืออาหารเสริมชีวภาพในราคาสูงตั้งแต่ลิตรละ 250 – 1,000 บาท โดยไม่ระบุส่วนประกอบหรือปริมาณธาตุอาหาร ระบุแต่สรรพคุณและวิธีการใช้เท่านั้น ดังนั้นการที่เกษตรกรจะซื้อเพื่อนำไปใช้ขอให้ใช้วิจารณญานให้รอบคอบเสียก่อน




ที่มา : http://www.doae.go.th/library/html/detail/warter/warter1.htm












 ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ

Liquid Bio-fertilizer

  • หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการนำเอาส่วนต่าง ๆ ของพืชสัตว์หรือสารอินทรีย์ต่าง ๆ ไปหมักกับกากน้ำตาล (Molasses) ได้เป็น สารละลายสีน้ำตาลไหม้ ซึ่งเป็นสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ภายในเซลล์พืชหรือเซลล์สัตว์ที่ ถูกดึงออกมนอก เซลล์ด้วยกระบวนการออสโมติก และ กระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ ซึ่งของเหลวสีน้ำตาลไหม้นี้จะประกอบไป ด้วยธาตุอาหารพืช กรดอินทรีย์ กรดอะมิโน
    และฮอร์โมนพืชต่าง ๆ

  • กระบวนการสกัดสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ออกจากเซลล์พืชหรือเซลล์สัตว์อาจเกิดได้ 2 กระบวนการ คือ
           - เกิดจากกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์
           - เกิดจากกระบวนการที่ของเหลวภายในเซลล์พืชหรือเซลล์สัตว์ถูกดึงดูดให้ไหลออกมานอกเซลล์ด้วย สารละลาย มีที่มีความเข้มข้น มากกว่ากระบวนการนี้เรียกว่า
    "กระบวนการออสโมติก"
     
  • การ ใช้กากน้ำตาล (molasses) ซึ่งมีความเข้มข้นสูงก็เป็นวิธีหนึ่งในการดึงของเหลวออกจากเซลล์พืชหรือเซลล์สัตว์ในการหมักได้ แต่มีข้อระวังคือ ไม่ควรใช้สารละลายที่มีความเข้มข้นสูงเกินไป เนื่องจากจุลินทรีย์ที่ช่วยในการย่อยสลายเศษซาก
    พืช-สัตว์ อาจเป็นอันตรายได้เช่นกัน
     
  • องค์ประกอบของการหมัก
    การย่อยสลายเศษซากพืชซากสัตว์ในการหมัก เป็นกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในถังหมัก ซึ่งมีทั้งพวกที่ต้องการ
    ออกซิเจน แลพวกที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการดำรงชีวิต ดังนั้น หากต้องการให้กระบวนการหมักมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นจะต้องเข้าใจกระบวนการทำงาน และการดำรงชีวิตของจุลินทรีย์ เหล่านี้เสียก่อน ซึ่งมีองค์ประกอบหรือปัจจัยที่สำคัญคือ
              
  • อาหาร จุลินทรีย์ เป็นสิ่งที่มีชีวิตที่ต้องการอาหารในการดำรงชีวิต จุลินทรีย์แต่ละชนิด ต้องการอาหารที่แกต่างกัน เช่น พวกยีนต์ จะมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายอาหารพวกแป้งและน้ำตาลได้ดี พวกแบคทีเรียบางชนิด สามารถ ย่อยสลายโปรตีนได้ดี ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจุลินทรีย์ จะต้องการธาตุอาหารที่สำคัญ 2 ตัว คือ คาร์บอน และไนโตรเจน คาร์บอนจะเป็นองค์ประกอบของพวก แป้งละน้ำตาล และเซลล์ลูโลสในพืช ส่วนไนโตรเจน จะเป็นองค์ประกอบของโปรตีน ซึ่งจะมีมากในสัตว์ ในสูตรปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพหลายชนิดจะมีการเติมกากน้ำตาล (molasses) ซึ่งองค์ประกอบ ส่วนใหญ่ของกากน้ำตาล คือ น้ำตาลซูโคส ส่วนที่เหลือจากการผลิตน้ำตาลทราย น้ำตาลส่วนนี้
    สามารถใช้เป็นแหล่ง อาหาร (คาร์บอน) สำหรับจุลินทรีย์ในกระบวนการหมักปุ๋ยได้เป็นอย่างดี
              
  • อากาศ จุลินทรีย์ที่ช่วยในการย่อยสลายเศษซากพืชซากสัตว์ในกระบวนการหมัก แบ่งออกได้ 2 พวกใหญ่ ๆ คือ พวกที่ต้องการอากาศในการดำรงชีวิต และพวกที่ไม่ต้องการอากาศหรืออกซิเจนในการดำรงชีวิต โดยปกติการย่อยสลายของเศษซากพืชซากสัตว์ในภสาพแวดล้อมที่มีออกซิเจนจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าการย่อยสลาย ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน และการย่อยสลายในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนหรืออับอากาศจะทำให้เกิดกลิ่นบูดเน่า ซึ่งเป็นกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์จึงต้องมีการเติมอากาศให้กับกระบวยการหมักซึ่งอาจทำได้หลายวิธี เช่น การคนเป็น
    ครั้งคราว หรือการใช้เครื่องพ่นอากาศแบบที่ใช้กับตู้ปลา
      
  • อุณหภูมิ จุลินทรีย์ต่างชนิดกันจะมีการเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิที่แตกต่างกัน บางชนิดต้องการ
    อุณหภูมิสูง บางชนิด ต้องการอุณหภูมิต่ำ แต่โดยทั่วไปจุลินทรีย์จะเจริญเติบโตได้ดีที่อุณห๓ูมิที่ไม่สูงมากเกินไป
              
  • ความชื้น ในการผลิตปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ความชื้นหรือน้ำในถังหมักจะมีอย่างเพียงพอ จนกระทั่ง
    มากเกิดไปจนเป็นสาเหตุให้เกิดสภาพอับอากาศได้ ปริมาณธาตุอาหารและฮอร์โมนพืชในปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ
    ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ เป็นธาตุอาหารสำหรับพืชที่ประกอบด้วยธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม
    กรดอะมิโน ฮอร์โมนพืช จุลินทรีย์และอื่น ๆ อีกมากมาย ปริมาณธาตุอาหารและฮอร์โมนพืชในปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ จะมีปริมาณมากน้อยแตกต่างกันไปตามวัสดุที่นำมาทำ จากผลการวิเคราะห์คุรภาพของปุ๋ยน้ำหมักทั่วประเทศจำนวน 32 ตัวอย่าง ของกลุ่มงานวิเคราะห์ปุ๋ย และกลุ่มงานวิเคราะห์วิจัยเคมีเกษตร กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร ปี 2544 ได้ผลการวิเคราะห์พอสรุปได้ดังนี้
  • - คุณสมบัติทั่วไป ความเป็นกรด เป็นด่าง ของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพมีปฏิกิริยาเป็นกรด ถึงกรดจัด อยู่ในช่วง 3.5-5.6
       หากฉีดสารละลายลงบนใบพืชหรือรดโคนต้นโดยตรงอาจเป็นอันตรายต่อพืชได้ ดังนั้นการนำไปใช้จะ ต้องทำให้
       ความเข้มข้น เจือจางลงไปก่อนด้วยการผสมกับน้ำในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับพืช ที่จะนำไปใช้ 
     
  • - ปริมาณธาตุอาหารพืช จากผลการวิเคราะห์คุณภาพของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ มีปริมาณธาตุอาหารหลัก
       ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม ดังนี้
     
  • ตาราง แสดงความเข้มข้นของธาตุอาหารพืชในปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ
     
ธาตุอาหารพืช
ปุ๋ยน้ำหมักจาก
พืช
ปลา
ไนโตรเจนทั้งหมด (%N)
ฟอสฟอรัสทั้งหมด (%P2O5)
โพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ (%K2O)
แคลเซียม (%)
เหล็ก (มิลลิกรัม/ลิตร)
0.03-1.66
0-0.40
0.05-3.53
0.05-0.40
500-1700
1.06-1.70
0.18-1.14
1.0-2.39
0.29-1.00
30-350
แมกนีเซียม และกำมะถัน (%)
คลอไรด์
ธาตุอาหารเสริมอื่น ๆ (แมงกานีส ทองแดง สังกะสี โบรอน และโมลิบดีนัม)

0.01-0.37
2000-11000
0-130

 




ตาราง
แสดงปริมาณธาตุอาหารพืชที่พบในปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพชนิดต่าง ๆ
 
ธาตุอาหาพืช
น้ำสกัดชีวภาพ
จากผัก
ปุ๋ยปลา
วท.
ปุ๋ยปลา
เชิงการค้า
น้ำสกัด อีเอ็ม
ปุ๋ยปลาหมัก
ชีวภาพ
ปุ๋ยน้ำหมัก
หอยเชอรี่
ไนโตรเจน (%)
ฟอสฟอรัส (%)
โพแทสเซียม (%)
แคลเซียม (%)
แมกนีเซียม(%)
เหล็ก (มก./ลิตร)
สังกะสี (มก./ลิตร)
แมงกานีส (มก./ลิตร)

0.25
0.05
1.4
0.01
0.3
50
15
8

5.7
0.4
2.4
0.48
0.08
1500
3500
10000
5.8
0.4
7.3
0.5
0.08
200
100
100
0.03
0.10
0.04
0.01
0.01
500
10
5
0.58
0.10
0.55
0.01
0.03
65
11
7.2
0.97
0.62
0.72
1.08
0.12
150
200
100



ปริมาณสารอาหารพืชในกากน้ำตาล
 
น้ำ
ซูโครส
ริคิวซิงซูการ์
น้ำตาลหมักเชื้อ
เถ้าฟอสเฟต
ยางและแป้ง
ขี้ผึ้งและไข
20.65
36.60
13.00
50.10
15.00
3.43
0.8
ไนโตรเจน
ซิลิก้า
ฟอสเฟต
โปรแตสเซียม
แคลเซียม
แมกนีเซียม

0.95
0.46
0.12
4.19
1.35
1.12

      
ปริมาณกรดอะมิโน 
ผลการวิเคราะห์ปริมาณกรดอะมิโนในน้ำสกัดชีวภาพ 100 กรัม ปรากฎดังนี้


ตาราง
ผลวิเคราะห์ปริมาณกรดอะมิโนในน้ำสกัดชีวภาพ 100 กรัม
 
กรดอะมิโน
มิลลิกรัม/100 กรัม
กรดอะมิโน
มิลลิกรัม/100 กรัม
กรดแอสปาร์คิต
ทรีโอนีน
ซีรีน
กรดลูตามิค
โปรลีน
ไกลซีน
อะลานีน
ซีสตีน
วาลีน
346.06
26.34
39.30
127.45
1.26
13.24
91.69
17.88
55.26
เทไทโอนีน
ไอโซ ลิวซีน
ลิวซีน
ไทโรซีน
ฟีนิลอะลานีน
ฮีสติดีน
ไลซีน
อาร์จินีน
ทรีปโตเฟน
9.37
26.26
34.30
22.14
4.44
16.28
30.0
18.76
6.22


ปริมาณฮอร์โมนพืช

    ผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณฮอร์โมนพืช 3 กลุ่ม คือ

        กลุ่ม Auxin (Indole aceticacid :IAA) เร่งราก
        กลุ่ม Gibberellins (Gibberellic acid : GA3) (จิบเบอเรลินกระตุ้นการแตกตาดอก)
        กลุ่ม Cytokinins (Zeatin และ Kinetin) (ไซโตไคนินกระตุ้นการแตกตาข้าง)

IAA ตรวจพบทั้งในน้ำหมักจากพืชและสัตว์ แต่พบในปริมาณน้อย มีค่าในช่วงตั้งแต่ น้อยมากจนไม่
สามารถวัดได้ -2.37 ppm

GA3 ตรวจพบในน้ำหมักจากพืชบางชนิดในปริมาณ 18-140 ppm ไม่พบ GA3 ในน้ำหมักจากปลา
            
Zeatin ตรวจพบในน้ำหมักจากพืชบางตัวอย่างในปริมาณน้อย 1-20 ppm และพบในน้ำหมักจากปลาที่ใส่น้ำมะพร้าว 2-4 ppm
            
Kinetin ตรวจพบในน้ำหมักจากพืชบางชนิดใปริมาณ 1-14 ppm แต่ไม่พบในน้ำหมักจากปลาแหล่งธาตุอาหารพืช


ธาตุอาหารพืช ประกอบด้วย
 
ธาตุหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P)
    โปรแตสเซียม (K)  
ธาตุรอง ได้แก่ แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg)
    ซัลเฟอร์ (กำมะถัน) (S)
ธาตุเสริม ได้แก่ เหล็ก (Fe) ทองแดง (Cu)
    สังกะสี (Zn) แมงกานีส (Mn)
    โมลิบดีนัม (Mo) โบรอน (Br)
    ซิลิก้า (Si) โซเดียม (Na)
    คลอรีน (CI) คาร์บอน (Co)

ไนโตรเจน
     ในพืช มีส่วนสีเขียวเข้มแก่จัดของพืชทุกชนิดและพืชตระกูลถั่ว (ก้ามปู พุทรา มะขามเทศ ทองหลาง ไมยราบ
โสนทุกชนิด กระถินทุกชนิด ถั่วทุกชนิด สาหร่ายน้ำจืดทุกชนิด)
     ในสัตว์ มีในเมือก เลือด เนื้อสด ๆ จากสัตว์ยังมีชีวิต
     ในน้ำ มีในน้ำฝน น้ำคาวปลา น้ำล้างเขียงหั่นเนื้อสัตว์

ฟอสฟอรัส

     ในพืช มีในรากสดแก่จัด เมล็ดในสดแก่จัด ดอกตูมสดและเกสร ใบแก่ (ชะอม ขจร ถั่วพู กระถิน บัวบก ผักบุ้งจีน
สะระแหน่ มะระ หน่อไม้ฝรั่ง) ในเนื้อผลไม้ที่มีรสหวานสินท แก่จัด สุกงอมจนออกกลิ่นฉุน (ทุเรียน มะม่วง กล้วย
มะละกอ ละมุด เงาะ มะเฟือง ลูกยอ ฝรั่ง และผลไม้ที่ใช้ทำไวน์ได้ทุกชนิด)
     ในสัตว์ มีในเกร็ด ก้าง กระดูก สด/แห้งหรือเก่า/ใหม่ สาหร่ายทะเล

โปรแตสเซียม
     ในพืช มีในเปลือกและเนื้อสุกงอมของผลไม้รสหวานสนิททุกชนิด (เหมือนฟอสฟอรัส) ในผลไม้ดิบสดแก่จัด
(ฟักทอง แตงทุกชนิด กระเจี๊ยบ พริกสด) ในผักดิบสดแก่จัดกินได้ (บร็อคโคลี่ ผักกาดขาว ผักกาดหอม ป๊วยเหล็ง)      ในเศษพืชแห้งทุกชนิด ในเปลือกแก่แห้งของผลไม้ที่มีรสหวาน (ทุเรียน กล้วย มะละกอ ยกเว้นมังคุด เงาะ)
     ในสัตว์ มีในเนื้อสัตว์น้ำจืด/น้ำทะเล เครื่องในสัตว์ สาหร่ายทะเล

แคลเซียม
     ในพืช มีในผลผักสดแก่จัด (ถั่วลันเตา แตงกวา กระเจี๊ยบ มะขามเทศมัน กระถิน มะระ มะเขื้อเทศดิบ มันฝรั่ง
บวบเหลี่ยม) ในผักกินใบ (คะน้า ดขม ผักกะเฉด บร็อคโคลี่ ยอดปอ ใบแก่ฟักทอง) ผลไม้ดิบสดรสฝาดแก่จัดยัง
ไม่สุก (ฝรั่ง อาโวคาโด เมล็ดแตงโม เมล็ดถั่วเขียว มะขามเทศฝาด) มีในขุยมะพร้าว
     ในสัตว์ มีในเกร็ด ก้าง กระดูก เปลือกไข่ เปลือกหอยสด/แห้ง เก่า/ใหม่ นมสดสัตว์รีดใหม่ นมสดจีด/เปรี้ยว ไข่สด
อาหารเสริม สำหรับคน ปลาป่นสำหรับอาหารสัตว์
     ในสารธรรมชาติ มีในยิบซั่ม (แกลบแก้ว) หินภูเขาไฟ หินงอกหินย้อย ดินก้นถ้ำ ปูนขาว ปูนมาร์ล โดโลไมท์

แมกนีเซียม

     ในพืช มีในส่วนสีเขียวเข้มแก่จัดของพืช (เปลือก/ใบ/ตา/ต้น) ทุกชนิด เมล็ดในสดแก่จัดของพืชทุกชนิด ในผลไม้รสหวานอมเปรี้ยวสุกงอม จนออกกลิ่นฉุน (สับปะรด สตรอเบอรี่ มะไฟ เชอรี่ ลูกยอ มะเฟือง ลิ้นจี่
มะยม สละ ระกำ ผลไม้ทุกชนิดที่ทำไวน์ได้)
     ในสัตว์  มีในเกร็ด ก้าง กระดูก
     ในสารธรรมชาติ มีมากในปูนมาร์ล โดโลไมท์

ซัลเฟอร์
     ในพืช มีในพืชที่มีกลิ่นฉุน (คื่นช่าย ต้น/หัวหอมแดง ต้น/หัวหอมใหญ่ ต้น/หัวกระเทียม ผักชี สะตอ) ยางที่
เปลือกมังคุด
     ในสัตว์  มีในเมือก เลือด เนื้อสด ๆ สัตว์มีชีวิต
     ในสารธรรมชาติ มีในยิบซั่ม กำมะถัน

เหล็ก
     ในพืช มีในส่วนของตาดอกที่อั้นจัด และยอดอ่อนของพืช ในเนื้อและใบสดแก่ฟักทอง-ฟักเขียว เผือก กระถิน
กะเฉด ผลพริกสดแก่จัด ยอดปอ ถั่งแขกแห้งเมล็ดแก่ และวัชพืช (ถั่วผี)
     ในสัตว์ มีมากในเมือก เลือด เครื่องในสัตว์ ไข่ นมสด ๆ จากสัตว์มีชีวิต

ทองแดง
     ในพืช มีในส่วนสีเขียวสดแก่จัดของพืชทุกชนิด เมล็ดในสดแก่จัดในพืชตระกูลถั่ว
     ในสัตว์ เครื่องในสด ๆ ของสัตว์

สังกะสี
     ในพืช มีในหัวสดแก่จัดจนกินไม่ได้ (ไชเท้า มันแกว มันเทศ แครอท) ในเหง้าหรือไหลสดแก่จัด (ผักปอด
พุทธรักษา เตย ตำลึง เถาวัชพืช) ในรากสดแก่อวบของพืชที่แตกหน่อได้ (กล้วย พุทธรักษา เตย) ในเมล็ดแก่จัด
(ฟักทอง แตงโม บวบ ถั่วเขียว)
 
แมงกานีส
     ในพืช มีในมะเขือเทศสุก ลูกตำลึงสุก ผลสุกวัชพืช
     ในสัตว์ มีในเครื่องในสัตว์สด ๆ

โมลิบดีนัม
     ในพืช มีในส่วนที่เป็นน้ำในเนื้อพืช เมล็ดอ่อน

โบรอน
     ในพืช มีในผลอ่อน-ยอดอ่อน-ใบอ่อน-รากอ่อน ที่มีลักษณะกรอบ/เปราะ ความยาวไม่เกิน 6 นิ้ว สามารถเด็ดได้
ด้วยมือ (ผักบุ้ง กะเฉด ผักบุ้งนา ตำลึง ผักปรัง กระทกรก หรือพืชเลื้อยทุกชนิด ทั้งพืชกินได้และวัชพืช)      
    ในส่วนเปลือกของปลายกิ่งกลางอ่อนกลางแก่ ขณะมีผลอ่อนอยู่ที่ปลายกิ่ง ในผลอ่อน (แตงทุกชนิด ถั่วทุกชนิด ผลไม้กินได้ และลูกวัชพืชทุกชนิด)

ซิลิก้า

     ในสารสังเคราะห์ มีในน้ำประสานทอง (บอแร็กซ์)
     ในพืช มีในแกลบดิล-แกลบดำ ใบหญ้าคา กากน้ำตาล
     ในสารธรรมชาติ มีในหินภูเขาไฟ

โซเดียม
     ในสัตว์ มีในสัตว์ทะเล
     ในสารธรรมชาติ มีในมูลควาย เกลือแกง

คาร์บอน
     ในสารธรรมชาติ มีในแกลบดำ ถ่าน ขี้เถ้า ควันไฟ

จิ๊บเบอเรลลิน (ฮอร์โมนขยายขนาด)
     ในพืช (ขยายขนาดทางข้าง) มีมากในน้ำมะพร้าวอ่อน หัวไชเท้า ผักปรัง ข้าวโพดหวาน ข้าวระยะน้ำนม โสมไทย
หน่อไม้ฝรั่ง ในผลไม้ทรงแป้นระยะผลอ่อน (กระท้อน ฟักทอง)
     ในพืช (ขยายขนาดทางยาว) มีมากในผลอ่อนทรงยาว (ถั่วฝักยาว ถั่วพู มะระ ลิ้นฟ้า มะรุม หางนกยูง กระถิน
ฟักเขียว บวบ พริก กระเจี๊ยบเขียว) ในยอดอ่อนพืชเลื้อยที่มีอัตราการโตเร็วมาก ๆ (ตำลึง ผักบุ้ง ผักบุ้งนา ถั่วผ
ี กระทกรก มันเทศ มันแกว)

ไซโตคินนิน
     ในสัตว์ มีในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (กุ้ง ปู กิ้งกือ หนอน แมลง กระดองปลาหมึก) รกสัตว์ ไข่อ่อน)
ฮอร์โมนยับยั้งการเจริญเติบโต มีอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ต้น-ใบ-ผล-เนื้อ-เปลือก-หัว-ราก เหง้า-ไหล
ที่สดแก่จัดเนื้อเป็นเสี้ยนแข็งเหนียวจนกินไม่ได้ ทั้งพืชกินได้และวัชพืช ต้นแก่จัด เช่น คะน้า ผักขมหนาม ผัก
ขมหิน กวางตุ้ง ผักบุ้ง กะเฉด ผักปรัง เถาแก่ของพืชประเภทเถาทุกชนิด เปลือกแก่เขียวสดไม้ผลยืนต้น ต้นพืชแคระแกร็น ผลแก่จัด เช่น บวบ ฟักเขียว มะระ มะรุม ลิ้นฟ้า สะตอ ฝักหางนกยูง กระถิน น้ำเต้า ถั่วพู เหง้า-รากแก่จัด เช่น ตำลึง ถั่วฝักยาว ถั่วพู ฟักทอง ฟักเขียว กระทกรก เตย กล้วยวันที่ตัดเครือ พุทธรักษา  หญ้าขน หญ้าคอมมูนิสต์ หญ้าคา หญ้าไซ หัวแก่จัด เช่น ไชเท้า มันสำปะหลัง มันเทศ มันแกว มันฝรั่ง หัววัชพืช
ทุกชนิด

อะมิโน-โอเมก้า
     ในสัตว์มีในไข่สด หนอนทุกชนิด เนื้อปลาทะเลสด ๆ มีชีวิต

วิตามินอี
     ในพืช มีในเมล็ดทานตะวัน
     ในสัตว์มีในหนังปลา
     ในสารสังเคราะห์ มีในวิตามินอี (ครีมบำรุงผิว)

วิตามินบี
     ในพืช มีในจมูกข้าว (รำละเอียด)


ปริมาณธาตุอาหารพืชในพืชต่าง ๆ
 

รายการ
แคลเซียม
ฟอสฟอรัส
โปรแตสเซียม
เหล็ก
มะเขือเทศดิบ
กะหล่ำดอก
คะน้า
กระเทียมต้น
บร็อคโคลี่
ผักกาดขาว
ผักกะเฉด
ป๊วยเหล็ง
ปอ
พริกสดแก่
ผลฟักเขียว
ผลฟักทอง
ใบแก่ฟักทอง
ใบแก่เผือก
กระเจี๊ยบเขียว
ข้าวโพดหวาน
แตงกวา
แตงโม
แคนตาลูป
ถั่วแขกสด
ถั่วแขกแห้ง
ถั่วลันเตาสด
ถั่วผีแห้ง
 
1.3
25
249
52
103
43
387
93
2,500
16
30
21
392
227
92
3
25
7
14
56
144
62
64
27
56
93
50
78
40
7
51
?
49
20
44
112
?
51
111
27
10
16
44
425
90
340
 
244
295
378
347
382
253
?
470
?
564
?
340
?
?
249
280
160
100
251
132
1,192
170
1,005
 
3
1.1
2.7
1.1
1.1
0.6
5.3
3.1
4.0
1.4
0.8
0.8
?
10.0
0.6
0.1
1.1
0.5
0.4
0.8
7.8
0.7
5.1


ที่มา
: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข


วิธีการผลิตปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ
     การผลิตปุ๋ยน้ำหมักอาจมีวิธีการและวัตถุดิบที่แตกต่างกัตความความสะดวกและของเหลือใช้ที่ทางการเกษตร
ในแต่ละสถานที่ แต่โดย หลักการแล้วกระบวยการผลิตอาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การหมักแบบกึ่งให้อากาศ
(semi-aerobic condition) หรือ การเติมอากาศด้วยการคนหรือกวนเป็นครั้งคราว กับการหมักแบบให้อากาศ
อย่างต่อเนื่อง (aerobic condition) โดยใช้ปั๊มลมเติมอากาศให้กับระบบด้วยการพ่นอากาศ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการหมักแบบใช้ออกซิเจนหรือมีการเติมอากาศจะทำให้เกิดการย่อยสลายเร็วกว่า และเกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์น้อยกว่าการหมักแบบไม่เติมอากาศ หรือการหมักแบบปิดฝาทิ้งไว้ไม่มีการกวนหรือคนเลย

อุปกรณ์
ถังพลาสติกแบบมีฝาปิด ที่ฝาของถังควรมีการเจารูเพื่อระบายความดันที่อาจเกิดขึ้นจากแก๊สที่เกิดขึ้น ไม้กวน หรือไม้สำหรับคนเพื่อเป็นการเติมอากาศให้กับระบบการหมักปั๊มลม หรือเครื่องเติมอากาศ ถ้าระบบการหมักไม่ใหญ่มากอาจใช้ปั๊มลมขนาดเล็กที่ใช้กับตู้ปลาก็ได้หัวเชื้อเร่งการย่อยสลาย การเติมเชื้อจุลินทรีย์ให้กับระบบการหมักเป็นการประกันว่า จะมีเชื้อจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายเศษซากอินทรีย์อย่างแน่นอน แต่บางครั้งในธรรมชาติก็มีการปะปนของเชื้อจุลินทรีย์อยู่แล้วเพียงแต่ไม่มี

การคัดเลือกพันธุ์ดังเช่นหัวเชื้อจุลินทรีย์เท่านั้น เราอาจใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ของกรมพัฒนาที่ดิน (เชื้อ พ.ด.1 หรือ 2)
หรือเชื้อจุลินทรีย์ อีเอ็ม หรือเชื้อจุลินทรีย์ทางการค้าที่มีประสิทธิภาพชนิดใดก็ได้ หากไม่สามารถหา ซื้อเชื้อเร่ง
การย่อย สลายดังกล่าวได้เราอาจใช้เชื้อจุลินทรีย์จากกองปุ๋ยหมักทดแทนก็ได้ ปุ๋ยไนโตรเจน เพื่อเป็นแหล่งของธาตุไนโตรเจน ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์น้ำ ควรเป็นน้ำที่สะอาด ไม่มีเชื้อจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืชปนเปื้อน กากน้ำตาล (molasses)
เศษซากพืช หรือสัตว์ หรือของเหลือใช้ทาการเกษตรที่ต้องการหมัก

วิธีทำ
      นำพืช ผัก ผลไม้ ลงผสมกับน้ำตาล ในภาชนะที่เตรียมไว้ในอัตราน้ำตาล 1 ส่วน ผักผลไม้ 3 ส่วน คลุกให้เข้ากัน หรือถ้ามีปริมาณมากจะโรยสลับกันเป็นชั้น ๆ ก็ได้
      ใช้ของหนักวางทับบนพืชผักที่หมัก เพื่อกดไล่อากาศที่อยู่ระหว่างพืชผักของหนักที่กดนี้ควรมีน้ำหนักประมาณ
1 ใน 3 ของน้ำหนักพืชผัก วางทับไว้ 1 คืน ก็เอาออกได้
      ปิดฝาภาชนะที่หมักให้สนิท ของเหลวที่ได้ คือ ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ
      เมื่อปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพมีปริมาณมากพอ ประมาณ 10-14 วัน ก็ถ่ายปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพออกบรรจุลงในภาชนะ
พลาสติก ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพที่ถ่ายออกมาใหม่ ๆ จะมีคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้น ต้องคอยเปิดฝาภาชนะบรรจุ ทุกวัน
จนกว่าจะหมดก๊าซ
      ควรเก็บถังหมักและปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพไว้ในร่ม อย่าให้ถูกฝนและแสงแดดจัด ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ที่ผ่านการ
หมักสมบูรณ์แบบแล้ว ถ้าปิดฝาสนิทสามารถเก็บไว้ได้หลายเดือน
      กากที่เหลือจากการหมัก สามารถนำไปฝังเป็นปุ๋ยบริเวณทรงพุ่มต้นไม้หรือคลุกกับดินหมัก เอาไปใช้เป็นดิน
ปลูกต้นไม้ก็ได้

วิธีใช้ในพืช
      ผสมปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพกับน้ำในอัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 500-1,000 ส่วน รดต้นไม้หรือฉีดพ่นบนใบ
      เริ่มฉีดพ่นเมื่อพืชเริ่มงอก ก่อนที่โรคและแมลงจะมารบกวนและควรทำในตอนเช้าหรือหลังจากฝนตกหนัก
      ควรให้อย่างสม่ำเสมอ และในดินต้องมีอินทรีย์วัตถุอย่างเพียงพอ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หญ้าแห้ง และฟาง
เป็นต้น
      ใช้ได้กับพืชทุกชนิด
      ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพเจือจางใช้แช่เมล็ดก่อนนำไปเพาะจะช่วยให้เมล็ดงอกเร็วขึ้นและสมบูรณ์การตรวจสอบและแก้ไขปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ
      เทคนิคการหมักที่ดี ระยะการหมัก 24 ชั่วโมงแรก ให้ปิดฝาแน่นสนิทให้อากาศเข้าได้น้อยที่สุด เมื่อผ่าน 24
ชั่วโมง ไปแล้วให้ปิดฝาแน่นสนิทให้อากาศเข้าได้น้อยที่สุด เมื่อผ่าน 24 ชั่วโมงไปแล้วให้ปิดฝาพอหลวม ๆ หรือเปลี่ยนเป็นปิดด้วยผ้าหรือกระสอบป่าน เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้บ้าง ถ้าปิดฝาแน่นสนิทตลอดถังหมักอาจระเบิดได้ เนื่องจากจุลินทรีย์เป็นตัวปล่อยแก๊สออกมา
      หลังจากหมักได้ 7 วันแล้ว ตรวจสอบด้วยการดมกลิ่น ถ้าปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพมีสภาพดีจะมีกลิ่นหอมหวาน
ฉุนนิด ๆ ให้ทำการหมักต่อไป ซึ่งกลิ่นหอมหวานฉุนนี้จะแรงขึ้นตามลำดบจนกระทั่งครบระยะเวลาการหมักก็ให้นำไปใช้ได้
      แต่ถ้าหลังจากหมัก 7 วันแล้ว ตรวจสอบด้วยการดมกลิ่น ปรากฎว่ามีกลิ่นบูดเปรี้ยวและเหม็น แสดงว่า
ส่วนผสมอ่อนน้ำตาล และจุลินทรีย์ไม่แข็งแรงให้แก่ไขด้วยการเติมกากน้ำตาลลงไปจำนวน 1/4 ของอัตรา
การใส่ครั้งแรก ตามด้วยน้ำมะพร้าว+จุลินทรีย์ คนคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วทำการหมักต่อไปด้วยวิธีการเดิม
      อีก 7 วัน ต่อมาให้ทำการตรวจสอบแบบเดิมอีกครั้ง ถ้ายังมีกลิ่นบูดเปรี้ยวและเหม็นอยู่อีก ก็ให้เติม
กากน้ำตาลจำนวน 1/4 ของครั้งที่แล้วตามด้วยน้ำมะพร้าว+จุลินทรีย์ แล้วทำการหมักต่อไปอีกด้วยวิธีการเดิม
      ให้ทำการตรวจสอบด้วยการดมกลิ่นทุก ๆ 7 วัน ถ้ายังมีกลิ่นบูดเปรี้ยวก็ให้แก่ไขด้วยการเติมกากน้ำตาล+น้ำ มะพร้าว+จุลินทรีย์ทุกครั้ง แต่ถ้ากลิ่นบูดเปรี้ยวและเหม็นหายไป กลายเป็นกลิ่นหอมหวานฉุน ก็แสดงว่าอัตราสว่นผสมนั้นใช้ได้ก็ให้ทำการหักต่อไปตามปกติ
      ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพที่มีอัตราส่วนระหว่าง วัสดุส่วนผสม : กากน้ำตาลพอีดจะมีกลิ่นหอมหวานฉุนตั้งแต่ 7 วันแรกของการหมักและช่วงต้น ๆ ของอายุการหมักจะเดือดและมีฟองเกิดขึ้นตลอดเวลาครั้นนนาไปทุกอย่างจะนิ่ง วัสดุส่วนผสมเริ่มเหลว บางส่วนกลายเป็นน้ำวุ้นจนมองไม่เห็นสภาพเดิม



พุทธวิธีบริหาร
Buddhist Style in Management


http://www.budmgt.com/agri/agri01/liquid-bio-fer.html






หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©