-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 512 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อินทรีย์ชีวภาพ








 

วัตถุดิบอาหารสัตว์ขนไก่ป่น ขนไก่ป่น (Hydrolyzed Feather Meal ,Leuccna )


ขนไก่ป่น เป็นอาหารที่ได้จากผลิตผลพลอยได้จากโรงงานฆ่าไก่  ผลิตโดยนำขนไก่มาย่อยด้วยกรด ภายใต้ความดันสูง มีโปรตีนสูงถึง 80 – 90% แต่ย่อยได้ยาก เพราะขนไก่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ นอกจากนั้นยังมี กรดอะมิโน Methionine , Cystine , Cystein เป็นองค์ประกอบ และมีคุณค่าทางอาหารเพียงเล็กน้อย เนื่องจากเป็นโปรตีนที่ไม่สามารถย่อยได้ 
 
แหล่งของวัตถุดิบ ขนไก่
การเลี้ยงสัตว์ปีกโดยเฉพาะไก่เนื้อในประเทศไทยมีการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ จากการเลี้ยงในครัวเรือนไปเป็นการเลี้ยงเพื่ออุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่เนื้อในประเทศมีแนวโน้มขยายตัวขึ้นทุกปี เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกไก่สดและเนื้อไก่แปรรูปมีปริมาณเพิ่มขึ้น สำนักเศรษฐกิจการเกษตร รายงานการเลี้ยงไก่เนื้อในปี 2540 มีปริมาณสูงถึง 700 ล้านตัว ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมแปรรูปไก่ผลิตของเหลือทิ้งจากกระบวนการแปรรูป อาทิ เลือด เครื่องใน กระดูกไก่ และขนไก่ โดยเฉพาะขนไก่เหลือทิ้งคาดว่า มีมากถึงประมาณ 50,000 - 80,000 ตันต่อปี ขนไก่เหล่านี้ประกอบด้วยโปรตีนประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโปรตีนโครงสร้างซับซ้อนประเภทเคอราติน (keratin) โปรตีนประเภทนี้ย่อยสลายได้ยาก และหากสะสมในปริมาณมากอาจก่อมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมเนื่องจากขนไก่ไม่สามารถย่อยสลายด้วยเอนไซม์ย่อยโปรตีนในร่างกายของมนุษย์และสัตว์ ดังนั้นการแปรรูปขนไก่มักทำโดยกระบวนการใช้ความร้อนและความดันสูง ประมาณ 130-150 องศาเซลเซียส และความดัน 30-50 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เป็นเวลา 1/2-2.1/2 ชั่วโมง เพื่อให้อยู่ในรูปของขนไก่ป่น (feather meal) เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ทดแทนการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตอาหารสัตว์ อาทิ กากถั่วเหลืองและปลาป่น วัตถุดิบนี้มีราคาสูงขึ้นและต้องนำเข้าจากต่างประเทศในปริมาณมากทุกปีคิดเป็นมูลค่าประมาณ 12,500 ล้านบาทต่อปี อย่างไรก็ตามการผลิตขนไก่ป่นจากขนไก่ที่เหลือทิ้งในประเทศ โดยการอบด้วยไอน้ำภายใต้ความดันสูงเป็นวิธีที่สิ้นเปลืองพลังงาน และเสียค่าใช้จ่ายสูงในการติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆและที่สำคัญการใช้พลังงานสูงทำให้ขนไก่สูญเสียคุณค่าทางโภชนาการบางส่วน อาทิ กรดอะมิโนที่จำเป็นบางชนิด    

กรรมวิธีในการผลิตขนไก่ป่น
1.นึ่งที่อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง 30 นาที หรือนึ่งที่อุณหภูมิ145องศาเซลเซียสนาน 4 ชั่วโมง 30 นาทีจากนั้นขนไก่จะถูกอบให้แห้งที่อุณหภูมิ60 องศาเซลเซียส แล้วบดให้ละเอียดพร้อมใช้เป็นอาหารสัตว์
      
2. ต้มขนไก่โดยสารละลาย โซเดียมซัลไฟท์ + แอลกอฮอร์ จากนั้นกรองเอาสารละลายพร้อมทั้งล้างขนไก่ที่ย่อยสลายแล้วอบให้แห้งแล้วบดให้ละเอียดพร้อมที่จะใช้ในการผสมอาหารสัตว์ได้

โปรตีนที่ได้จากการย่อยสลายแล้วจะมีการย่อยได้สูงขึ้นเป็น75-80% คุณค่าทางอาหารสำหรับเป็นอาหารสัตว์โปรตีนจากขนไก่ป่นจะมีกรดอะมิโนจำเป็น 4 ตัวนี้ ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับปลาป่นหรือกากถั่วเหลือง ได้แก่ เมทไธโอนีน ไลซีน ฮีสทิดีน และทริปโตเฟน หากนำไปใช้เป็นแหล่งโปรตีนในอาหารสัตว์ โดยไม่รู้จักวิธีการใช้ จะทำให้สัตว์ขาดกรดอะมิโนดังกล่าว ซึ่งจะมีผลไปถึงการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตที่ลดลงสำหรับโปรตีนที่ย่อยได้ของขนไก่

โดยศึกษาจากการย่อยของเอนไซม์เปปซิน (เปปซิน คือ เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนในทางเดินอาหารของสัตว์) พบว่า จะถูกย่อยได้ไม่น้อยกว่า 75% ของโปรตีนรวมที่มีอยู่ เช่น สมมติว่าขนไก่ป่นวิเคราะห์แล้วมีโปรตีนรวม 80% ใน 80% นี้จะเป็นโปรตีนที่ย่อยได้ (สัตว์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้) ถึง 75% เป็นอย่างต่ำ หากจะคดออกมาเป็นปริมาณ ก็คิดได้ดังนี้ ขนไก่ป่นหนัก 100 กรัม มีโปรตีนประกอบอยู่ 80 กรัม และใน 80 กรัมนี้สัตว์นำไปใช้ประโยชน์ไดเพียง 75% = 60 กรัม นั่นก็คือ ขนไก่ป่น 100 กรัม จะให้โปรตีนที่สัตว์ย่อยได้ 60 กรัม ซึ่งปริมาณนี้จะไปใกล้เคียงกับโปรตีนในปลาป่น หากแต่แตกต่างกันที่คุณภาพของโปรตีนเท่านั้น ซึ่งไม่ดีเท่าปลาป่น

เนื่องจากกรดอะมิโนไม่สมดุลจะเห็นได้ว่าขนไก่ป่นมีคุณภาพแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขบวนการผลิต แหล่งวัตถุดิบ (ความสะอาดและชนิดของขนไก่) และการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มักแปรปรวนอยู่เสมอ

ส่วนประกอบของกรดอะมิโนของขนไก่ป่นจะไม่ดีเท่าปลาป่น และกากถั่วเหลืองเพราะขาดกรดอะมิโนที่สำคัญหลายตัวดังได้กล่าวมาข้างต้น แต่ถึงกระนั้นขนไก่ป่นก็ยังนับว่ามีความย่อยได้ค่อนข้างสูง และยังมีกนดอะมิโนตัวอื่นที่เป็นประโยชน์อีกหลายตัวที่มีอยู่ในระดับสูง อีกทั้งยังมีราคาต่ำกว่าปลาป่น และกากถั่วเหลืองมาก แต่การนำไปใช้ต้องรู้จักใช้ในปริมาณที่เหมาะสม รู้จักนำไปใช้ร่วมกับอาหารโปรตีนจากแหล่งอื่น เพื่อชดเชยกรดอะมิโนที่ขาดไป เช่น ใช้ร่วมกับปลาป่น เนื้อป่น หรือกากถั่วเหลือง หรืออาจใช้กรดอะมิโนสังเคราะห์เสริมลงไปเพื่อให้ได้กรดอะมิโนครบตามที่ต้องการ  

การนำขนไก่ไปใช้เป็นอาหารสัตว์ในอาหารลูกไก่สามารถใช้ขนไก่ป่นแทนปลาป่นได้ตั้งแต่ระดับ 2.5-3% โดยไม่ชะงักการเจริญเติบโตหรือลดประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารแต่อย่างใดและในไก่ไข่สามารถใช้แทนปลาป่นได้สูงถึง 4% โดยที่ผลผลิตไข่ไม่ลด ประสิทธิภาพการใช้อาหารยังคงเหมือนเดิม (Summers และเพื่อน 1976, Cullison, 1979, Merimoto, 1971) หากจะใช้ขนไก่แทนปลาป่นในระดับ 5% ในอาหารลูกไก่เล็กนั้น จะต้องเสริมกรดอะมิโนเมไธโอนินและไวตามิน ถ้าใช้ระดับต่ำกว่านี้ไม่ต้องเสริม (Lillie et al.1956)

ในกรณีที่ใช้แทนกากถั่วเหลือง ในสูตรอาหารข้าวโพด-กากถั่วเหลืองของลูกไก่ อาจใช้แทนได้ 1 ใน 4 ของโปรตีนทั้งหมด หรือ 5% ของอาหารผสม โดยไม่ต้องเสริมกรดอะมิโน จะให้ผลดีกว่าสูตรข้าวโพด-กากถั่วเหลืองล้วนๆ (Naber et al., 1961)

นอกจากนี้พบว่า ถ้าระดับโปรตีนในอาหารสูงขึ้น สามารถใช้ขนไก่แทนได้มากขึ้น (Tsang et al., 1963) และไก่ที่มีอายุมากสามารถใช้ขนไก่ป่นได้มากขึ้น และหากเสริมกรดอะมิโนในอาหารได้เพียงพอคือ ไลซีน,ทริปโตเฟน,เมไธโอนิน สามารถใช้ขนไก่ป่นได้สูงถึง 7% ในสูตรอาหาร (Pyne, 1977) ในสุกรสามารถใช้ขนไก่แทนกากถั่วเหลืองได้ 5% โดยไม่มีผลเสีย หากจะใช้สูงกว่านี้ต้องเสริมกรดอะมิโนไลซีน (Morimoto, 1971) แต่ระดับนี้ใช้ไม่เกิน 2.5% ไม่จำเป็นต้องเสริม (Cullison, 1979)

ในวัวขุนการใช้ขนสัตว์ป่นหรือขนไก่ป่นผสมกับยูเรีย จะให้ผลทัดเทียมกับการใช้กากถั่วเหลืองหรือกากฝ้ายผสมยูเรีย (อ้างโดย Owens, 1983)  ถึงแม้ว่าขนไก่ป่นย่อยสลายแล้วจะมีโปรตีนสูงถึง85-90%อีกทั้งโปรตีนที่มีการย่อยได้ดีขึ้น แต่โปรตีนของขนไก่ป่นก็ยังเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพเลวทั้งนี้เพราะมีสัดส่วนของกรดอะมิโนที่จำเป็นต้องมีในอาหารหลายตัวเช่น ไลซีน เมทไธโอนีน ทริปโตเฟนต่ำมาก การใช้ขนไก่ป่นระดับสูงในสูตรอาหารสัตว์ จะทำให้ระดับกรดอะมิโนเหล่านี้ในสูตรอาหารต่ำกว่าระดับที่สัตว์ต้องการมาก ขนไก่ป่นจึงแนะนำให้ใช้ในสูตรอาหารสัตว์ได้ไม่เกิน 5 %ในสูตรอาหาร นอกจากนี้ขนไก่ป่นยังใช้ควบกับวัตถุดิบอาหารโปรตีนคุณภาพสูง เช่นปลาป่นทั้งนี้เพื่อให้โปรตีนในสูตรอาหารยังมีคุณภาพเหมาะสมกับที่สัตว์ต้องการ       



 
ตารางแสดงค่าสารอาหารในวัตถุดิบ 

ขนไก่ป่น
สารอาหารในวัตถุดิบ จำนวน หน่วย
น้ำหนักแห้ง 93.00 %
พลังงานใช้ได้ในสุกร 2,213.00 KgCal/Kg
พลังงานใช้ได้ในไก่ 2,360.00 KgCal/Kg
พลังงานใช้ได้ในโค 2,213.00 KgCal/Kg
โปรตีน 84.90 %
ไขมัน 2.90 %
เยื่อใย 1.40 %
แคลเซียม 0.30 %
ฟอสฟอรัส 0.62 %
ฟอสใช้ได้ 0.02 %
อาจินิน 5.33 %
ฮีสทีดีน 0.47 %
ไอโซลูซีน 3.51 %
ลูซีน 6.42 %
ไลซีน 1.67 %
เมทไธโอนีน 0.54 %
ซีสทีน 3.21 %
ฟีนิลอลานีน 3.59 %
ไธโรซีน 2.35 %
ทรีโอนีน 3.63 %
ทริปโธเฟน 0.52 %
วาลีน 5.85 %
ไกลซีน 6.31 %
เซอรีน 9.26 %
 

ปัญหาที่พบคือ รูปร่าง ลักษณะ สีและกลิ่นที่เห็นและสัมผัสได้จากภายนอก ไม่สามารถบอกได้ถึงความสามารถในการย่อยได้และการใช้ประโยชน์ได้ของการใช้ขนไก่ป่นนั้นๆทำให้มีความยุ่งยากในการตรวจสอบคุณภาพและการตัดสินใจเลือกใช้ การตรวจสอบคุณภาพของขนไก่ป่นขนไก่ป่นเป็นวัตถุที่ได้รับการยอมรับให้ใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ แต่เนื่องจากโครงสร้างค่อนข้างซับซ้อนทำให้ย่อยยากมาก ประกอบกับองค์ประกอบทางเคมีของขนไกก่ไม่สมดุลโดยเฉพาะกรดอะมิโนที่จำเป็นทำให้การใช้ประโยชน์ต่ำกว่าวัตถุดิบชนิดอื่นที่มีโปรตีนระดับเดียวกัน ซึ่งทำให้การตรวจสอบคุณภาพนั้นทำได้ยุ่งยาก

การตรวจสอบโดยใช้ประสาทสัมผัส
               
สำหรับขนไก่ป่นนั้นเป็นวัตถุดิบที่มีคุณสมบัติพิเศษต่างจากวัตถุดิบชนิดอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งข่นไก่ป่นชนิดที่ผ่านการย่อยสลายแล้ว คือลักษณะสี กลิ่น และรูปร่างที่เห็นจากภายนอกไม่สามารถบอกถึงคุณภาพได้ ขนไก่ป่นที่มีสีขาวนวลและไม่มีกลิ่นอาจมีการย่อยได้และใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะต่ำกว่าขนไก่ป่นขนไก่ที่มีสีเนื้อหรือสีที่เข้มกว่าและมีกลิ่นเหม็นกว่า ดังนั้นการตรวจสอบคุณภาพโดยใช้ประสาทสัมผัสกับขนไก่ป่นจึงใช้ไม่ได้ผล การตรวจสอบโดยใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายต่ำลักษณะที่ตรวจสอบโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ก็เช่นเดียวกันไม่สามารถบอกถึงคุณสมบัติของขนไก่ป่นได้บอกได้เพียงว่าเป็นส่วนใดของขนไก่ อาทิเช่น ส่วนก้านขนก็จะมีลักษณะเป็นแท่งสีน้ำตาลอ่อนอาจจะใสหรือสีน้ำตาลทึบแสงแล้วแต่ขบวนการผลิต ก้านขนที่มีความยาวพอสมควรอาจเห็นขอบด้านข้างมีหยักเล็กๆซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างก้านขนกับขนย่อย ส่วนขนย่อยนั้นหากใช้กำลังขยายสูง 40 เท่า อาจเห็นว่าขนย่อยนั้นจะมีลักษณะต่อกันเป็นปล้องๆขนาดเล็กมาก จะเห็นได้ชัดขึ้นเมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูงประมาณ 100 เท่า การตรวจสอบโดยการใช้สารเคมีอย่างง่ายสามารถทำได้เช่นเดียวกับการตรวจสอบการปนปลอมของขนไก่ป่นในปลาป่นซึ่งทำได้ดังนี้

วิธีการตรวจสอบ
1. ตักตัวอย่างขนไก่ป่นที่ต้องการตรวจสอบประมาณ 1 ช้อนชาใส่ในจานแก้ว 2 จานให้มีประมาณเท่ากัน แล้วเกลี่ยตัวอย่างให้กระจายทั่วจาน

2. หยดสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 10เปอร์เซ็นต์ลงในจานแก้วที่ใส่ตัวอย่าง เอียงจานไปมาเพื่อให้น้ำยาเปียกชุ่มทั่วทั้งจานทำเช่นเดียวกันทั้ง 2 จานแล้วตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 10นาที

3. นำจานแก้วหนึ่งมาหยดสารละลายเลดอะซิเตทให้ทั่วเอียงจานไปมา เพื่อให้สารละลายเข้ากัน ส่วนอีกจานหนึ่งหยดน้ำกลั่นแทนสารละลายเลดอะซิเตทเพื่อใช้เปรียบเทียบ ตั้งไว้ที่อุณหภูมิห้องอีก 15 นาทีสังเกตจานที่ใส่เลดอะซิเตทเปรียบเทียบกับจานที่ใส่น้ำกลั่น ซึ่งถ้านำจานทั้ง 2 ไปวางบนกระดาษสีขาวเพื่อช่วยสะท้อนแสงจะทำให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น

ข้อจำกัดในการใช้
1. มีการย่อยได้น้อยมากและคุณค่าทางชีวภาพก็ต่ำมากด้วย
2. ความไม่สมดุลย์ของกรดอะมิโน มีกรดอะมิโนเมทไธโอนีน ไลซีน ทริฟโตเฟน และซีสตีนต่ำ ดังนั้นถ้าใช้ในระดับสูงจะทำให้การเจริญเติบโตของสัตว์ลดลง ประสิทธิภาพการใช้อาหารต่ำ และต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
3. ขบวนการผลิตขนไก่ป่นในเมืองไทย ส่วนใหญ่ยังใช้ขบวนการผลิตที่ไม่ถูกต้องยิ่งทำให้การย่อยได้ต่ำลง

ข้อแนะนำในการใช้
1.ในการใช้ขนไก่เป็นแหล่งโปรตีนแทนวัตถุดิบชนิดอื่น ในสูตรอาหารสุกรรุ่น – ขุน ควรใช้ในระดับไม่เกิน 25% ของโปรตีนในอาหารโดยทั่วไปในอาหารสุกรแนะนำให้ใช้ไม่เกิน 5%  แต่อาจใช้ได้สูงถึง  9%

2.ในอาหารสัตว์ปีกที่มีโปรตีน 23% ใช้ขนไก่ได้ 6% และในอาหารที่มีโปรตีน 19% ใช้ได้ 3% แต่ถ้าอาหารสัตว์ปีกนั้น มีโปรตีนต่ำกว่า 15% ไม่ควรใช้ขนไก่ป่นเลย

3.ควรใช้ขนไก่ป่นร่วมกับวัตถุดิบโปรตีนชนิดอื่น เช่น ปลาป่น เพื่อช่วยให้คุณ  ภาพของอาหารดีขึ้น



ขนสัตว์ปีก
(ขนไก่ป่น) 
ที่มา: สุกัญญา จัตตุพรพงษ์ . การตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบอาหารสัตว์ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ .มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม . พ.ศ. 2539

        http://www.dld.go.th/service/pig/p5.html

 









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (4111 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©