-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 625 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





เพลี้ยกระโดดนาข้าว ... ประสบการณ์ตรง  


สัจจะธรรรม :
ไม่มีพืชใดในโลกนี้ที่ไม่มีโรคและแมลงศัตรูพืชประจำตัว  และไม่มีพืชพันธุ์ต้านทานใดในโลกนี้สามารถทนทานต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืชได้ร้อยเปอร์เซ็นต์



หลักการและเหตุผล :
1... เพลี้ยกระโดดนาข้าว คือ แมลงศัตรูพืชชนิดหนึ่งที่มีความต้องการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อการดำรงชีวิต ..... สภาพแวดล้อมสำหรับแมลงศัตรูพืชเบื้องต้นประกอบด้วย อุณหภูมิ.  อาหาร.  แหล่งขยายพันธุ์.  ฯลฯ

2... ในพืชที่สมบูรณ์แข็งแรงย่อมมีภูมิต้านทานในตัวเองตามธรรมชาติ  บรรดาแมลงศัตรูพืชมักไม่ชอบเข้าทำลาย  และแมลงศัตรูพืชชอบเข้าหาพืชที่อ่อนแอมากกว่าเข้าทำลายพืชที่สมบูรณ์แข็งแรง  พร้อมกันนั้นในพืชที่อ่อนแอเมื่อแมลงศัตรูพืชเข้าไปอาศัยแล้วจะขยายพันธุ์ได้ดีและเร็วกว่าในพืชที่สมบูรณ์แข็งแรง

3.... เพลี้ยกระโดดนาข้าว คือ  แมลงปากกัดปากดูด  ใช้ปากเจาะส่วนของต้นข้าวแล้วดูดกินน้ำเลี้ยง  หากสภาพโครงสร้างหรือสรีระของต้นข้าวมีความแข็งแกร่ง  อันเนื่องมาจากความสมบูรณ์จะทำให้เพลี้ยกระโดดไม่สามารถเจาะส่วนของลำต้นข้าวเพื่อดูดกินน้ำเลี้ยงได้  เพลี้ยกระโดดก็จะไม่สนใจเจาะกินน้ำเลี้ยงในข้าวต้นนั้นอีก


แนวทางปฏิบัติ :
1.... เพลี้ยกระโดดนาข้าวชอบความชื้นในอากาศสูง ๆ โดยเฉพาะไอระเหยจากน้ำในแปลง ให้สูบน้ำออกจากนาเหลือเพียงติดผิวพื้นหน้าดิน การเตรียมดินแบบไถกลบตอซัง เศษตอซังจะช่วยอุ้มน้ำไว้ได้นานนับเดือน ดังนั้นการสูบน้ำออกจากหน้าดิน ปล่อยไว้จนหน้าดินแตกระแหงเหมือนตาตะโก้ ต้นข้าวก็จะยังสามารถยืนต้นอยู่ได้โดยไม่ชงักการเจริญเติบโต (นา ข้าวไต้หวัน - ญี่ปุ่น มีน้ำหล่อผิวหน้าดินเล็กน้อย) แต่กลับแตกกอได้ดียิ่งขึ้น

2.... งดการใส่ UREA เด็ดขาด แล้วใส่ 16-8-8 เสริมด้วย Mg. Zn. Ca. Br. สม่าเสมอ หากใส่ UREA จะทำให้ต้นข้าวเขียวอวบ เป็นการล่อให้เพลั้ยกระโดดเขาหามากยิ่งขึ้น  

3.... ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรรวมมิตร" ทุก 5-7 วัน ล่วงหน้าก่อนเกิดการระบาด และฉีดพ่นทุก 2-3 วัน หรือวันเว้นวัน หรือวันต่อวัน ระหว่างการระบาดอย่างรุนแรงในแปลง รอบข้าง....สารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรนอกจากมีกลิ่นที่เพลี้ยกระโดดไม่ชอบแล้ว ยังเป็นพิษอีกด้วย โดยสัญชาติญานของสิ่งมีชีวิตย่อมจะไม่เข้าไกล้หรือหลีกหนีเสมอ.....ตรงกันข้าม หากบริเวณใดที่สภาพแวดล้อมดี มีอาหาร และแหล่งขยายพันธุ์ โดยสัญชาติญานเพลี้ยกระโดดก็จะเข้าไปอาศัยเป็นธรรมดา

4.... เตรียมดิน (เทือก) ด้วยอินทรีย์วัตถุปรับปรุงบำรุงดิน (ไถกลบตอซัง. ยิบซั่ม. กระดูกป่น. น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง.) จากรุ่นต่อรุ่นให้เกิด "ประวัติดิน" แบบสะสม

5.... ทำนาดำแทนนาหว่าน เพื่อให้แสงแดดส่องทั่วถึง และเพื่อป้องกันต้นข้าวขึ้นเบียดกันจนเกิดความชื้นสูงในแปลงเป็นแหล่งอาศัยและขยายพันธุ์อย่างดีของเพลี้ยกระโดด

6.... บำรุงต้นข้าวตามระยะพัฒนาการ (ประณีต) ทางใบด้วยสารอาหารที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก-ธาตุรอง-ธาตุเสริม-ฮอร์โมน และอื่นๆ ครบสูตร ตามความเหมาะสม

หมายเหตุ :
ด้วยหลักการดังกล่าว  มีเกษตรกรนาข้าวหลายรายสามารถรักษาต้นข้าวให้รอดพ้นจากเพลี้ยกระโดด  ท่ามกลางแปลงรอบข้าง (ใช้แต่สารเคมี) ที่ประสบความเสียหายจนต้องไถทิ้งมาแล้ว


ลุงคิมครับผม









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (2776 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©