-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 456 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว




หน้า: 1/2


เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเรื่องนาข้าว             
      

1. ปัจจุบันประชากรทั่วโลกกว่า 3,000 ล้านคน(มากกว่าครึ่งของประชากรทั้งโลก)นิยมบริโภคข้าว
มากกว่าขนมปังและมีแนวโน้มว่าจะมากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั่นหมายถึงตลาดข้าว โลกที่มีโอกาสโตขึ้น
                
2. ทั่วโลกมีข้าวประมาณ 120,000 สายพันธุ์......ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ที่ได้มากหรือ
น้อยต่างกันนั้น นอกจากข้อจำกัดของลักษณะทางสายพันธุ์แล้ว สภาพอากาศ สภาพแวดล้อมและ
เทคนิคการปฏิบัติบำรุงก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
                     
         
พันธุ์ข้าวจ้าวที่ทางราชการแนะนำ
  ได้แก่  
กข-7 ทนทานต่อโรคขอบใบแห้ง  โรคไหม้  และค่อนข้างทนต่อดินเปรี้ยว,  กข-23 ทนทาน
ต่อโรคใบไหม้  โรคใบหงิก เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว, หอมคลองหลวง-1 กลิ่น
หอมคล้ายขาวดอกมะลิ ทนทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดหลังขาว, หอมสุพรรณ
กลิ่นหอมคล้ายขาวดอกมะลิ  ทนทานต่อโรคขอบใบไหม้ เพลี้ยกระโดดหลังขาว,สุพรรณบุรี-1 
ทนทานต่อโรคใบไหม้ โรคใบหงิก  โรคขอบใบแห้ง  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว,
สุพรรณบุรี-2 ทนทานต่อโรคขอบใบแห้ง  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล, สุพรรณบุรี-60 ทนทานต่อ
โรคใบไหม้  โรคขอบใบแห้ง  เพลี้ยจักจั่นสีเขียว  เพลี้ยกระโดดหลังขาว, สุพรรณบุรี-90 ทน
ทานต่อโรคใบไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคขอบหงิก โรคใบสีส้ม เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล, ชัยนาท-1
ทนทานต่อโรคใบหงิก เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  เพลี้ยกระโดดหลังขาว,  ปทุมธานี-1 ทนทานต่อ
โรคใบไหม้ โรคขอบใบแห้ง  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  เพลี้ยกระโดดหลังขาว, พิษณุโลก-2 ทน
ทานต่อโรคใบไหม้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยจักจั่นสีเขียว, สุรินทร์-1
ทนทานต่อโรคใบไหม้  โรคขอบใบแห้ง  ทนต่อดินเค็มและความแห้งแล้ง,
                
          
พันธุ์ข้าวเหนียวที่ทางราชการแนะนำ  ได้แก่  
กข-10....ทนทานต่อโรคใบไหม้,   
แพร่-1....ทนทานต่อโรคใบไหม้  โรคขอบใบไหม้  โรคใบหงิก  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล,   
สกลนคร....ทนทานต่อโรคใบไหม้  โรคใบหงิก  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล,   
สันป่าตอง...ทนทานต่อโรคใบไหม้  โรคขอบใบแห้ง                
    
ข้าวหอมพันธุ์พื้นบ้าน ได้แก่  
หอมหาง. หอมเศรษฐี. หอมนายพล. หอมแดงน้อย. หอมลาย.หอมนางมล.  หอมพวง.
หอมเม็ดเล็ก.หอมเขมร.  หอมทุเรียน. หอมมาล่า. หอมไผ่. หอมครัว.  หอมใบ.
หอมโพ.    หอมบาว.    หอมนางนวล.  หอมนวล.  หอมสวน. หอมอุดม.  หอมแพ
พะโล้. หอมดอ.  หอมหวน.  หน่วยเขือ.    เล้าแตก.   ก่ำเปลือกดำ.   ช่อขิง.
มันเป็ด. ปะกาอำปึล. 
 หอมทุ่ง.  ป้องแอ๊ว. หอมมะลิหรือขาวดอกมะลิ. หอมปทุมธานี.
หอมคลองหลวง.  หอมสุพรรณ.  หอมพิษณุโลก. หอมกุหลาบแดง.  หอมนิล.
                  
           

พันธุ์ข้าวที่ใช้ในพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2550    จำนวน 6 สายพันธุ์ ได้แก่  
ข้าวหอมปทุม-1,  ข้าวหอมสุพรรณ-1,   ข้ามหอมดอกมะลิ กข-105,   ข้าว กข-6,  
ข้าวพัทลุง,   ข้าวหอมพิษณุโลก-1,   ข้าวไร่ดอกพะยอม  และข้าวไร่ซิวแม่จัน  เป็นพันธุ์
ข้าวที่ได้มาจากแปลงนาในสวนจิตรลดา
                     
          
ข้าวไวแสง  หมายถึง  ข้าวสายพันธุ์ที่ปลูกแล้วเจริญเติบโตได้ดีในช่วงกลางวันสั้นกว่ากลางคืน หรือ
วันสั้นซึ่งมีแสงน้อยกว่า 12 ชม. เหมาะสำหรับปลูกเป็นข้าวนาปีหรือปลูกในฤดูฝนแล้วให้ออกดอกใน
ต้นฤดูหนาว                     
 
ข้าวไม่ไวแสง หมายถึง  ข้าวสายพันธุ์ที่ปลูกแล้วเจริญเติบโตได้ดีทุกฤดูกาลตราบเท่าที่มีน้ำอย่าง
เพียงพอ ปริมาณแสงไม่มีอิทธิผลต่อการเจริญเติบโต เหมาะสำหรับปลูกเป็นข้าวนาปรังหรือช่วงฤดูร้อน
                     
          
ข้าวพันธุ์พื้นเมืองไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยเคมีแต่ตอบสนองต่อปุ๋ยอินทรีย์ดีมาก  ทั้งนี้เป็นเพราะสายพันธุ์
ได้ผ่านกระบวนการพัฒนามาโดยธรรมชาติ  ในขณะที่ข้าวลูกผสมหรือสายพันธุ์ที่สร้างขึ้นมาใหม่จำ
เป็นต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี  คงเป็นเพราเทคโนโลยีในการพัฒนาสายพันธุ์ที่มีเรื่อง  “เชิงพานิช”  เข้ามา
เกี่ยวข้องด้วยนั่นเอง              
       

3. ข้าวเป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว ปลูกได้ทุกพื้นที่และทุกฤดูกาลที่มีน้ำ โดยหลังเมล็ดงอก 90-
120 วัน (ตามชนิดของสายพันธุ์)ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้  เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิดที่มีอินทรีย์
วัตถุมากๆ โปร่งร่วนซุย น้ำและอากาศผ่านสะดวก                
 

4. ข้าวไม่มีฤดูกาล  ลงมือหว่าน/ดำเมื่อใดให้นับต่อไปอีก 90-120 วัน ก็เก็บเกี่ยวได้ การทำ
นาข้าวส่วนใหญ่รอน้ำฝนอย่างเดียว โดยเริ่มลงมือดำ/หว่านเมื่อถึงฤดูฝน  จึงทำให้มีข้าวออกสู่ตลาด
พร้อมกันทั้งประเทศ (พ.ย.และ มี.ค. ข้าวเปลือกล้นตลาด) ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกถูกลง เพื่อ
หลีกเลี่ยงสภาวะข้าวล้นตลาด นาในเขตชลประทานซึ่งมีน้ำบริบูรณ์ สามารถผันน้ำเข้าแปลงนาได้ทุก
เวลาที่ต้องการ  ควรวางแผนหว่าน/ดำ ก่อนหรือหลังนาน้ำฝน 1½ เดือน-2 เดือน จะทำให้เก็บ
เกี่ยวได้ก่อนหรือหลังนาน้ำฝน 1½-2 เดือน ซึ่งช่วงนี้ข้าวเริ่มมีราคาดีขึ้นแล้ว  หลังจากจัดตารางช่วง
การทำนาได้ ในปีแรกก็จะใช้ตารางช่วงการทำนานี้ได้ตลอดไป

ข้าวเปลือกเก็บในที่ควบคุม (ไซโล) ยังไม่สีเอาเปลือก (แกลบ)ออก จะยังคงรักษากลิ่นไว้ได้ เมื่อ
นำออกสีก็ยังได้กลิ่นเดิม แต่หากสีเอาแกลบออกแล้วกลิ่นจะอยู่ได้ไม่นานแม้จะจัดเก็บอย่างดี.....
ข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ (ไม่มีแกลบ)แต่จมูกข้าวยังอยู่ สามารถนำไปเพาะขายพันธุ์ได้เหมือนเมล็ด
ที่ยังมีแกลบห่อหุ้มทุกประการ.....เมล็ดข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือไม่มีแกลบ ทดสอบด้วยการใช้ฟัน
กัดเมล็ดด้านปลาย (ตรงข้ามกับจมูกข้าว) จะสัมผัสได้กับกลิ่นตามสายพันธุ์ของข้าวพันธุ์นั้น
                
     

5. นาข้าวเป็นกิจกรรมทางการเกษตรที่มีประชากรทำมากที่สุด หรือมีพื้นที่ปลูกมากที่สุดจนได้รับ
สมญาว่าเป็นชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ และข้าวเป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว ชนิดเดียวที่มีโรค
และแมลงศัตรูพืชมากที่สุด
                                             

6. เมล็ดพันธุ์ข้าวบางสายพันธุ์ไม่มีระยะพักตัว บางสายพันธุ์มีระยะพักตัวยาว  หรือ  0-80 วัน
ดังนั้น ก่อนหว่าน/ดำจำเป็นต้องรู้ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ด้วย.....เมล็ดพันธุ์ที่เก็บเกี่ยวในช่วง
แล้ง อุณหภูมิร้อนมักมีระยะพักตัวสั้น ความสำคัญของระยะพักตัว คือ เมล็ด พันธุ์ที่ผ่านระยะพักตัวครบ
กำหนดตามธรรมชาติของสายพันธุ์  จะให้เปอร์เซ็นต์งอกสูงกว่าเมล็ดพันธุ์ที่พักตัวไม่ครบกำหนด หรือ
ไม่ได้พักตัวเลย หรือพักตัวเกินกำหนด                
     

7. ใส่ปุ๋ยเคมีแก่ต้นข้าวให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด 2 ช่วงเท่านั้น คือ ช่วงทำเทือก(เตรียมดิน)กับ
ช่วงตั้งท้อง-แต่งตัว การใส่ปุ๋ยในช่วงอื่นๆ จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ
                

8. การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า หรือใส่ปุ๋ยทันทีหลังปักดำ (นาดำ) หรือเมล็ดพันธุ์เริ่มงอก (นาหว่าน)ไม่เกิด
ประโยชน์ เพราะต้นกล้ายังไม่พร้อมรับและยังไม่มีความจำเป็นต้องให้ ทั้งนี้ระยะที่ต้นกล้างอกใหม่ๆ
จะใช้สารอาหารที่มีอยู่ในเมล็ดตัวเอง (แป้งโปรตีน ไขมัน วิตามิน ฯลฯ) เป็นหลัก
               
     

9. แปลงนาน้ำพอแฉะหน้าดิน ตอบสนองต่อปุ๋ย(เคมี-อินทรีย์)ดีกว่าแปลงนาน้ำขัง สังเกตแปลงนา
ต้นข้าวที่ขึ้นในแปลงบริเวณรอยต่อระหว่างที่ลุ่มกับที่ดอนซึ่งมีน้ำพอแฉะดินไม่ท่วมโคนต้น ต้นข้าว
บริเวณนั้นมักเจริญเติบโต สมบูรณ์ แตกกอมีจำนวนลำมากกว่าต้นข้าวในบริเวณที่มีน้ำหล่อโคนต้น แสดง
ว่าธรรมชาติหรือนิสัยของต้นข้าวชอบน้ำพอดินแฉะเท่านั้น
                

10. แก๊สคาร์บอนไดอ๊อกไซด์จากอากาศมีประโยชน์ต่อต้นข้าวในการสร้างแป้งหรือเปลี่ยนธาตุอาหาร
ต่างๆ ให้เป็นแป้ง                 
     

11. ข้าวที่ปลูกระยะระหว่างกอห่างๆ แล้วบำรุงให้แต่ละกอแตกหน่อเกิดเป็นลำใหม่จำนวนมากจะให้
ผลผลิตดีกว่าทั้งคุณภาพและปริมาณ เมื่อเทียบกับการปลูกระยะระหว่างกอชิดมากๆ แต่ละกอจะแตก
หน่อเกิดเป็นลำใหม่น้อยๆ ปริมาณและคุณภาพไม่ดีนัก         
      

12. การลดความสูงต้นของต้นข้าว ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเพิ่มปริมาณผลผลิตและคุณภาพ
นอก  จากนี้ยังทำให้ต้นแข็งแรงไม่ล้มหักง่าย และโรคแมลงเข้ารบกวนน้อยอีกด้วย....ลำต้นสูง
มากๆ ทำให้สิ้นเปลืองน้ำเลี้ยงไปสร้างลำต้น จึงทำให้มีสารอาหารเหลือไปเลี้ยงรวงน้อย หรือ ฟางมาก
เมล็ดน้อย-ฟางน้อยเมล็ดมาก....ต้นข้าวในน้ำที่ระดับพอเปียกหน้าดิน (ดินแฉะเล็กน้อย) จะแตก
กอได้จำนวนมากกว่าต้นข้าวที่ปลูกในน้ำขังค้าง หรือท่วมโคน....ข้าวลำต้นสูง (น้ำมาก ไนโตรเจน
มาก) จะมีรวงสั้น แต่ข้าวลำต้นสั้น (น้ำพอแฉะหน้าดิน สารอาหารสมดุลทุกตัว)จะมีรวงยาว...ต้น
ข้าวช่วงระยะกล้าที่ไม่ได้ให้ 46-0-0 แต่ให้ 16-8-8 แทน ควบคู่กับช่วงตั้งท้องแต่งตัวให้ 
0-42-56 โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ  จะช่วยให้ต้นข้าวไม่สูงแต่กลับเจริญเติบโตข้างอวบ
อ้วน เหมือนต้นไม้ผลมีอาการอั้นตาดอก....การตัดใบยอดช่วงตั้งท้องแต่งตัวก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้
ต้นข้าวไม่สูงต่อ แล้วอวบ อ้วนเหมือนอั้นตาดอกได้เช่นกัน                
      

13. ต้นข้าวที่ปลูกโดยวิธีปักดำ ฐานรากยึดดินลึกและแน่น สามารถต้านทานการล้มได้ดีกว่าปลูก
แบบหว่าน.....เทคโนโลยีสมัยใหม่ ปัจจุบันมีเครื่อง (รถ)ดำนา ด้วยการปักต้นกล้าข้าวลงดินโดย
ตรง สามารถจัดปรับระยะห่างระหว่างกอได้ตามความต้องการและ ทำงานด้วยแรงงาน 2 คน...เครื่อง
(รถ) หยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว ขับเคลื่อนตัวเองหรือลากด้วยรถไถเดินตาม หยอดเมล็ดเป็นหน้ากว้าง
2.5-3 ม. ทำงานด้วยแรงงานเพียง 1 คน เมล็ดพันธุ์ที่ถูกหยอดลงบนผิวขี้เทือกจึงเหมือนเมล็ด
พันธุ์ที่หว่านด้วยมือ แต่ระยะห่างระหว่างเมล็ดต่อเมล็ดสามารถกำหนดได้ตามความต้องการ
                
      

14. ดอกข้าวเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน และผสมกันเอง
ได้.....ดอกจะเริ่มบานจากส่วนปลายรวงลงมาโคนรวง ดอกบานครบทั้งรวงใช้ระยะเวลาประมาณ 7
วัน และช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบเพราะอาจทำให้เกสรเปียกชื้นจนผสมไม่ติดได้ หรือผสม
ติดก็ได้คุณภาพเมล็ดไม่ดี
            
ดอกข้าวที่บานในวันอากาศสดใสแสงแดดดีช่วงเช้าถึงเที่ยงจะผสมเกสรติดเป็นผล(เมล็ด)ได้ดี ซึ่ง
ดอกข้าวจะบานและเกสรพร้อมผสมได้ภายในระยะเวลา 30-60 นาที
- ระยะข้าวเป็นน้ำนม ใช้เวลาประมาณ 7 วันหลังผสมติด                       
- ระยะข้าวเม่าหรือเป็นไต ใช้เวลาประมาณ 14-21 วันหลังผสมติด
- ระยะเมล็ดแก่เต็มที่หรือระยะเก็บเกี่ยว ใช้เวลาประมาณ 30 วันหลังผสมติด
                

15. อากาศหนาว (15-20 องศาเซลเซียส/ภาคเหนือเกิดน้ำค้างแข็ง)ติดต่อกัน 10 วันมีผลต่อ
ต้นข้าวหลายอย่าง เช่น เมล็ดไม่งอก ต้นกล้าโตช้า ต้นแคระแกร็น ใบเหลือง ออกดอกช้า และช่วง
ออกดอกเป็นช่อดอกอ่อนเกสรจะฝ่อ ผสมไม่ติด หรือผสมติดก็เป็นเมล็ดลีบ แก้ไขโดยให้ แม็กเนเซียม
+ สังกะสี + กลูโคส หรือ ฮอร์โมนทางด่วน ล่วงหน้าก่อนหนาว 2-3 วัน และให้ระหว่างอากาศ
หนาว ทุก 2-3 วัน จนกว่าอากาศหายหนาว
                          

16. อากาศร้อน (สูงกว่า 35 องศาเซลเซียส) ช่วงข้าวหลังผสมเกสรติดหรือเริ่มเป็นน้ำนมจะกลาย
เป็นข้าวลีบมาก แก้ไขโดยการให้ ธาตุรอง/ธาตุเสริม + เอ็นเอเอ.+ ฮอร์ โมนทางด่วน ล่วงหน้า
ก่อนอากาศร้อน 2-3 วัน และให้ระหว่างอากาศร้อน ทุก 2-3 วัน จนกว่าอากาศจะปกติ
                
      

17. สายลมแรงมากทำให้ต้นข้าวเครียด เนื่องจากต้องคายน้ำมาก มีผลทำให้เมล็ดข้าวลีบ รวงจะ
เป็นสีขาวคล้ายถูกหนอนกอทำลาย วิธีแก้ไขเหมือนช่วงอากาศร้อนจัด 
                 

18. การนับอายุข้าว นาดำเริ่มนับที่วันปักดำ ส่วนนาหว่านเริ่มนับที่วันหว่าน แต่อย่างไรก็ตาม ใน
ธรรมชาติไม่มีตัวเลข ทุกอย่างต้องขึ้นกับปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตรทั้งสิ้น 
               

19. ตกกล้าสำหรับนาดำ ระหว่างการตกกล้าในกระบะ (ตาป๊อก) กับการตกกล้าในแปลงบนพื้นใช้
เวลา 16-20 วัน เท่ากัน แต่ต้นกล้าในแปลงบนพื้นจะสูงกว่า.....ต้นกล้าในกระบะเหมาะสำหรับ
ใช้ปักดำด้วยเครื่องดำนาส่วนต้นกล้าในแปลงบนพื้นเหมาะสำหรับปักดำด้วยมือ
                

20. ในนาหว่าน ถ้าระดับน้ำท่วมเมล็ดมาก (น้ำลึก)เมล็ดจะงอกช้าเพราะในน้ำมีอากาศน้อย หลัง
จาก งอกขึ้นมาแล้วลำต้นจะสูงและอ่อนแอ แต่ถ้าหว่านเมล็ดระดับน้ำพอท่วมเมล็ดหรือท่วมน้อยที่สุดจะ
งอกเร็วเพราะเมล็ดพันธุ์ได้รับอากาศดี
                 
     

21. ระดับอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เมล็ดพันธุ์งอกได้ดีที่สุด....อุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศา
เซลเซียสเมล็ดพันธุ์จะไม่งอก....การทำให้เมล็ดพันธุ์อบอุ่น โดยหลังจากแช่น้ำ 24 ชม. แล้วนำ
ขึ้นกองบนพื้นซีเมนต์ ปิดทับด้วยพลาสติกนาน 24 ชม. อุณหภูมิในกองจะสูงขึ้นส่งผลให้ได้
เปอร์เซ็นต์งอกสูง                  
      

22. ต้นข้าวที่เจริญเติบโตในช่วงอุณหภูมิสูง จะเจริญเติบโตเร็ว และให้ผลผลิตดีกว่าต้นข้าวที่เจริญ
เติบโตในช่วงที่อุณหภูมิต่ำ                           
     

23. ต้นกล้าที่มีขนาดอวบอ้วน น้ำหนักมาก จะเจริญเติบโตเร็วและให้คุณภาพผลผลิตดีกว่าต้นกล้า
ผอม น้ำหนักน้อย..ต้นข้าวที่สมบูรณ์ ภายใต้ปัจจัยพื้นฐานแห่งการเพาะปลูกจะแตกใบใหม่ทุก 7 วัน
                 
     
24. นาดำ  ปักดำกล้ากอละ 1 หรือ 2 ต้น หรือมากว่า ให้ผลผลิตไม่ต่างกันแต่สิ้นเปลืองต้น
กล้า แรงงาน และเวลาต่างกัน                        
     

25. การใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วนไนโตรเจน.สูง ฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม.ต่ำ เช่น 16-8-8
หรือ 25-7-7 หรือ 46-0-0 + 16-16-16 อัตรา 1:1  จะช่วยให้ต้นข้าวแตกหน่อดีกว่าการ
ใส่ไนโตรเจน. เดี่ยวๆ 
                
      

26. ข้อมูลทางวิชาการระบุว่าข้าวหอมมะลิ กข.105 เป็นข้าวไวแสง ปลูกได้เฉพาะเขตอิสาน
ปลูกได้ปีละ 1 รุ่นได้ผลผลิต  30-50 ถัง/ไร่.......แต่ข้อมูลแห่งความเป็นจริงข้าวหอมมะลิ
ปลูกที่ จ.ลำพูน ปลูกได้ปีละ 2 รุ่น ได้ผลผลิต 80 ถัง/ไร่. 
                
(จากงานวิจัยโดย ม.จุฬาลงกรณ์ ระบุว่า ดินและสภาพแวดล้อมของพื้นที่ปลูกที่ทำให้ข้าวหอมมะลิ
กข.105 มีกลิ่นหอมนั้นเกิดจากจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งได้สารอินทรีย์ขึ้นมาให้แก่ต้นข้าว)
                                 

27. ข้าวหอมมะลิ กข.105 ถือกำเนิดที่ จ.ฉะเชิงเทรา ดังนั้นจึงไม่น่าที่จะปลูกในพื้นที่จังหวัด
อื่นๆไม่ได้ การที่ข้าวหอมมะลิ กข.105 มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวนั้น นอกจากเป็นผลงานของจุลินทรีย์
ชนิดแล้ว ลักษณะสภาพโครงสร้างของดินที่มีเกลือสินเธาว์ก็น่าจะมีส่วนด้วย
            
ข้าวพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ กับข้าวพันธุ์ข้าวขาวหอมมะลิ เป็นคนละสายพันธุ์และมีคุณสมบัติแตกต่าง
กัน


28. ต้นข้าวที่ขึ้นห่างๆ จะแตกกอจำนวนมาก  แต่ละกอมี 20-30 ลำ 1 ลำได้ผลผลิต 1 รวง
ต้นและใบที่ได้รับแสงแดดเต็มที่จะส่งผลให้คุณภาพผลผลิตดี โรคแมลงรบกวนน้อย การเดินเข้าไปตรวจ
แปลงง่ายและสะดวก......ต้นข้าวที่ขึ้นถี่ๆจะแตกกอน้อย ต้นและใบได้รับแสงแดดน้อย ส่งผลให้
คุณภาพผลผลิตไม่ดี  กับทั้งโรคแมลงรบกวนมากด้วย
      
ใช้กากก้นถังปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงที่มีส่วนผสมของ ฮิวมิค แอซิด รวมอยู่ด้วย ใส่แปลงนา
ช่วงทำเทือกจะช่วยให้ต้นข้าวแตกกอได้มากขึ้น
                        
ช่วงต้นข้าวระยะน้ำนมสามารถตรวจสอบปริมาณผลผลิตในเนื้อที่ 1 ไร่ ได้โดยเดินทแยงมุมจากมุม
กระทรงหนึ่งไปยังมุมกระทงตรงข้าม เก็บข้าวรวงแรก แล้วดินต่อไปอีก 10 ก้าวให้เก็บรวงที่สอง 
และให้เก็บรวงข้าวทุกๆระยะเดิน 10 ก้าว จนสุดมุมกระทงนา เก็บรวงข้าวมาแล้วนับจำนวนรวงที่
เก็บมา จากนั้นให้เด็ดเมล็ดข้าวออกจากรวงทุกรวง  นับจำนวนเมล็ดทั้งหมดแล้วหารด้วยจำนวนรวง
เพื่อหาค่าเฉลี่ย ตัวเลขผลหารคือ ผลผลิตโดยประมาณของผลผลิตข้าวในเนื้อที่ 1ไร่นั้น เช่น เก็บรวง
ข้าวมาได้ 10 รวง เด็ดเมล็ดออกมานับรวมกันได้ 1,230 เมล็ด ค่าเฉลี่ย (1,230 หารด้วย
10) เท่ากับ 123.3 แสดงว่านาข้าวไร่นั้นจะได้ผลผลิตโดยประมาณ 123 ถัง นั่นเอง
                             
             
ตัวเลขหนึ่งในนาข้าวที่หายไปอย่างน่าสงสัย คือ.....
เมล็ดข้าว 1 เมล็ดปลูกแล้วได้ต้นข้าว 1 กอ                      
ต้นข้าว 1 กอ บำรุงดีแตกกอได้ 50 ลำ                      
ลำต้นข้าว 1 ลำ ได้เมล็ดข้าว 1 รวง                      
ข้าว 1 รวง บำรุงปกติได้ 100 เมล็ด                      
 
ดังนั้น ลำข้าว 50 ลำซึ่งเกิดจากเมล็ดพียง 1 เมล็ด จะได้เมล็ดข้าว 5,000 เมล็ดหรือได้มากขึ้น
5,000 เท่า...กรณีที่ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก 1 ถัง ก็น่าจะได้เมล็ดข้าว 5,000 ถัง ใช่หรือไม่ ?
                  
      

29. ต้นข้าวที่ขึ้นห่างๆ ใบแผ่กางรับแสงแดดได้เต็มหน้าใบ จะสมบูรณ์แข็งแรงให้ผลผลิตมาก และ
คุณภาพดีกว่าต้นข้าวที่ขึ้นเบียดชิดจนใบไม่สามารถแผ่กางรับแสงแดดเต็มหน้า ใบได้
 
                
      

30. ต้นข้าวระยะพลับพลึง (ก่อนเกี่ยว)แต่ใบยังเขียวหรือเขียวอมเหลือง บ่งบอกถึงความสมบูรณ์
สูงของต้น ซึ่งจะส่งให้เมล็ดข้าวคุณภาพดี ให้น้ำ 100 ล.+ น้ำคั้นใบเตยสด 250-300 ซีซี.+
กลูโคสน้ำ 100 ซีซี. ฉีดพ่นทางใบ ก่อนเกี่ยว 5-7 วัน จะช่วยบำรุงให้ข้าวมีกลิ่นหอมดีขึ้น




หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©