-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 597 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ไม้ดอก-ไม้ประดับ




หน้า: 2/2



มะลิมีกี่สายพันธุ์

 
1. มะลิลา เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดียวออกเป็นคู่ตรงกันข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ขอบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน ดอกสีขาว มะลิชนิดนี้ จะใช้ในการเด็ดดอกขาย


2. มะลิลาซ้อน ลักษณะต้น ใบ อื่น ๆ คล้ายมะลิลา แต่ใบใหญ่กว่าดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก และดอกกลางบานก่อน เช่นกัน แต่มีดอกซ้อน 3-4 ชั้น ปลายกลีบมน


3. มะลิถอด ลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป ทั้งต้น ใบ การจัดเรียงของใบ รูปแบบของใบคล้ายมะลิลาซ้อน แต่ใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อมี 3 ดอก ดอกซ้อนมากชั้นกว่า คือ 3-6 ชั้น ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมมาก ขนาดดอก 2.5-3.5 ซม.


4. มะลิซ้อน ลักษณะทั่ว ๆ ไปคล้ายมะลิถอด และมะลิลาซ้อน แต่ใบมีลักษณะแคบกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอกเช่นกัน กลีบดอกซ้อน แต่ซ้อนกว่า 5 ชั้น แต่ละชั้นมีกลีบดอก 10 กลีบ ขึ้นไป ขนาดดอก 3-4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอมมาก


5. มะลิพิกุล หรือมะลิฉัตร ลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับ 4 ชนิดแรก ใบคล้ายมะลิซ้อนและมีคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อ 3 ดอก ดอกซ้อนเป็นชั้น ๆ เห็นได้ชัด (คล้ายฉัตร) และดอกมีขนาดเล็กพอ ๆ กับดอกพิกุล ขนาดดอก 1-1.4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอม


6. มะลิทะเล เป็นไม้รอเลื้อย ดอกเป็นกระจุก ๆ หนึ่ง มี 5-6 ดอก กลิ่นหอมฉุน


7. มะลิพวง ลำต้นเป็นไม้พุ่ม กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขนเห็นเด่นชัดเช่นกัน ใบและรูปแบบตลอดจนการจัดเรียง คล้ายมะลิอื่น ๆ แต่ใบมีขนเห็นเด่นชัด ดอกออกเป็นช่อแน่น สีขาวกลีบดอกชั้นเดียว กลีบเล็กยาว ปลายแหลม ขนาดดอก 3-4.5 ซม. มีกลิ่นหอมมาก


8. มะลิเลื้อย ลำต้นเลื้อยไปตามพื้นดินยาวประมาณ 1 ฟุต ใบเล็กกว่าพันธุ์อื่นมาก


9. มะลิวัลย์หรือมะลิป่า เป็นไม้เถาเลื้อย พาดต้นไม้อื่นหรือขึ้นร้าน ใบเล็กกว่าและยาวกว่ามะลิอื่น ๆ กลีบดอกเล็กยาว สีขาว กลิ่นหอมเย็นชืด


10. พุทธิชาติ เป็นไม้รอเลื้อย ใบเป็นใบเดี่ยวแต่ใบด้านล่างลดขนาดลงมากจนมีลักษณะคล้ายหูใบ ดอกเป็นช่อ ออกที่ปลายกิ่ง และข้างกิ่ง ดอกสีขาว ปลายกลีบมน ก้านดอกยาว


11. ปันหยี ต้นเป็นไม้เลื้อยเช่นเดียวกับมะลิวัลย์ ใบเดี่ยว การออกของใบเช่นเดียวกันแต่ใบมีขนาดใหญ่กว่า ใบเป็นมันสีเขียวเข้ม หนาและแข็ง ดอกเป็นดอกช่อ สีขาวกลีบดอกใหย่กว่ามะลิวัลย์ กลีบดอกกว้างและมน ดอกชั้นเดียว ขนาดดอก 4-4.5 ซม. กลิ่นไม่หอม


12. เครือไส้ไก่ เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเดี่ยว ปลายใบแหลม สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อดอกกลางบานก่อน กลีบดอกขาว ชั้นเดียวปลายกลีบแหลม


13. อ้อยแสนสวย เป็นไม้เลื้อย กิ่งอ่อนสีม่วงแดง ไม่มีขน กิ่งแก่สีน้ำตาล ใบเดี่ยว ขนาดใหญ่ก้านใบสีม่วง ดอกออกเป็นช่อมี 8 ดอก ดอกกลางบานก่อน ก้านดอกยาว กลีบดอกขาว ชั้นเดียวปลายกลีบมน


14. มะลิเขี้ยวงู (มะลิก้านยาว) เป็นไม้เลื้อย แตกกิ่งก้านมาก ไม่มีขน ใบออกเป็นช่อคล้ายใบแก้ว แต่บางกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอก ก้านดอกเป็นหลอดสีแดงอมม่วง กลีบดอกขาว กลิ่นหอมจัด นอกจากนี้ยังมีมะลิอื่น ๆ อีกเช่น มะลิฝรั่ง, มะลิเถื่อน ฯลฯ แต่มะลิที่นิยมปลูกเป็นการค้าในปัจจุบัน ได้แก่ มะลิลา มีชื่อวิทยาศาสตร์ Jasminum sambac และที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเรื่องของมะลิลา



มะลิลาพันธุ์ที่ส่งเสริมและนิยมปลูกมี 3 พันธุ์คือ

1. พันธุ์แม่กลอง ทรงต้นพุ่มต้นใหญ่ หนาและ ทึบเจริญเติบโตเร็ว ใบใหญ่หนา สีเขียวเข้ม จนดูออกดำ รูปใบ ค่อนข้างกลม ปลาย ใบมน  ช่วงข้อใบห่าง ดอกใหญ่ กลม ช่อดอกมักมี 1 ชุด ๆ ละ 3 ดอก ผลผลิตดอกไม่ดก

2. พันธุ์ราษฎร์บูรณะ ทรงต้นพุ่มเล็กกว่า ค่อนข้างทึบ ใบเล็กบางกว่า สีเขียวเข้มรูปใบเรียวกว่า ช่วงข้อใบ ค่อนข้างถี่ ดอกเล็กเรียวแหลม ช่อดอกมักมี 1-2 ชุด ๆ ละ 3 ดอก ผลผลิตดอกดกทะยอยให้ดอก

3. พันธุ์ชุมพร ทรงต้นคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะแต่ดู โปร่งกว่าเล็กน้อย ใบคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะ แต่เรียวว่า สีอ่อนกว่าและ บางกว่า ช่วงข้อใบถี่ ดอกคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะ ช่อดอกมักมีมากกว่า 2 ชุด ๆ ละ 3 ดอก ผลผลิตดอกดกมากแต่ทิ้งระยะห่าง เรื่อย ๆ เป็นช่วง ๆ

  
www.nanagarden.com/Content.aspx?ContentID=10213 -





มะลิป่า ดอกหอมแรง

มะลิป่า



ผู้อ่านไทยรัฐ จำนวนมากอยากทราบว่า “มะลิป่า” เป็นต้นเดียวกับ มะลิวัลย์ หรือไม่ เพราะลักษณะดอกเหมือนกันมาก ผู้ขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ยืนยันเป็นคนละต้นกัน ซึ่งความจริงแล้ว ทั้ง “มะลิป่า” และ “มะลิวัลย์” เป็น ไม้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน มีข้อแตกต่างกันน้อยมาก หากไม่สังเกตให้ดีจะคิดว่าเป็นต้นเดียวกัน เช่น ลักษณะใบของ “มะลิป่า” จะมีขนาดใหญ่กว่าอย่างชัดเจน เป็นไม้เลื้อย เหมือนกัน จึงทำให้แยกได้ยากมาก ซึ่งชาวบ้านบางพื้นที่ก็เรียก “มะลิป่า” ว่า มะลิวัลย์ เช่นกัน
 

มะลิป่า ที่พบวางขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ทราบว่าเป็นสายพันธุ์ที่พบเฉพาะถิ่นตามป่าพรุ ป่าที่ลุ่มและชายน้ำลำธาร ทางภาคใต้ ในต่างประเทศพบที่มาเลเซียและอินโดนีเซีย สมัยก่อนนิยมปลูกในท้องถิ่นอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเวลา “มะลิป่า” มีดอกจะสวยงามแปลกตาและส่งกลิ่นหอมเป็นที่ชื่นใจมาก “มะลิป่า” อยู่ในวงศ์ “OLEACEAE” เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ต้นสามารถสูงได้ 1-1.5 เมตร เลื้อยได้ไกลกว่า 5 เมตร เนื้อไม้แข็ง ลำต้นเป็นสันเหลี่ยมเกือบกลม กิ่งอ่อนมักมีขนนุ่ม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม เป็นรูปรี หรือรูปใบหอกกว้าง ปลายใบแหลม โคนใบเกือบมน ใบมีขนาดใหญ่กว่าใบของมะลิวัลย์ ที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันใบเป็นสีเขียวสด


ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ และช่อประกอบด้วยดอกย่อย 3-5 ดอก ก้านดอกยาวเป็นสีเขียวอ่อน ไม่มีสีน้ำตาลเหมือนกับมะลิหลวง หรือ มะลิวัลย์ ดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็นกลีบดอก 8-10 กลีบ ลักษณะกลีบดอกเป็นรูปแถบยาว ปลายแหลม เป็นสีขาวสดใส ปลายกลีบดอกมักงอหรือม้วนลง ใจกลางดอกเป็นสีขาว ไม่เป็นสีแดงอมชมพูเหมือนดอกมะลิวัลย์ หรือ มะลิหลวง ดอกเมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5-3 ซม. ดอกมีกลิ่นหอมแรง เวลามีดอกดกเต็มต้นและดอกบานพร้อมๆ กันจะดูสวยงามแพรวพราวพร้อมส่ง กลิ่นหอมฟุ้งกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ชื่นใจยิ่ง


ผล รูปทรงกลม ขนาดเล็ก ผล แก่เป็นสีดำ ภายในมีเมล็ด ดอกออกได้เรื่อยๆ อยู่ที่ความสมบูรณ์ ขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ด ปักชำกิ่งและตอนกิ่ง ปัจจุบัน “มะลิป่า” มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 21 แผง “คุณพร้อมพันธุ์” ราคาสอบถามกันเอง นิยมปลูก ให้ต้นเลื้อยพันรั้วหน้าบ้านแล้วไปแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มเป็นกระจุกแน่นบนยอดรั้ว มีใบหนาแน่น รดน้ำพอชุ่มเช้าเย็น บำรุงปุ๋ยมูลสัตว์จำพวกขี้วัวหรือขี้ควายแห้งโรยตามหน้าดินรอบโคนต้นเดือนละครั้ง จะทำให้มีดอกดกสวยงามส่งกลิ่นหอมประทับใจมากครับ.


“นายเกษตร” – ไทยรัฐ


www.tjorchid.com/flower/มะลิป่า-ดอกหอมแรง.html -



หนุนปลูกดอกมะลิรักษ์โลก

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรม "ให้แม่เหมือนให้โลก" เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตคนไทยในการปลูกต้นไม้เพื่อลดโลกร้อนตามแนวคิดของโครงการคนไทยหัวใจสีเขียว


นางอรพินท์ วงศ์ชุมพิศ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเผยว่า วันแม่ในทุกปีที่ผ่านมาเราอาจเคยมอบเพียงดอกมะลิให้กับแม่ผู้เป็นที่รักแต่สำหรับปีนี้กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนแสดงความรักความขอบคุณแม่ในตลอดเดือนสิงหาคมนี้ ด้วย

การมอบกระถางต้นมะลิ เพื่อช่วยกันนำไปปลูกซึ่งถือเป็นการทำกิจกรรมสร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัว และนอกจากจะได้ดอกมะลิที่มีกลิ่นหอมชื่นใจแล้ว ยังนับเป็นการปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นอีก 1 ต้น เพื่อช่วยรักษ์โลกด้วยการผลิตออกซิเจน โดยต้นดอกมะลิสามารถอยู่ผลิตดอกให้ชื่นใจได้ตลอดทั้งปี


"คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้าน จะทำให้เกิดความรักความคิดถึงแก่บุคคลทั่วไป เพราะดอกมะลิเป็นดอกไม้ประจำวันแม่แห่งชาติ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความรักของลูกต่อแม่และผู้ที่มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่าบ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้าน จะทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์เพราะดอกมะลิสีขาวบริสุทธิ์ ขาวสะอาด ซึ่งคนไทยนิยมใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาพระ  เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้พักอาศัย ควรปลูกต้นมะลิไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่า การปลูกต้นไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกไม้ให้ปลูกวันพุธ ซึ่งชนิดของดอกมะลิที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้มงคลได้แก่ มะลิซ้อน, มะลิวัลย์, มะลิฉัตร, มะลิพวง และพุทธชาติ"


นางอรพินท์ กล่าวด้วยว่า สำหรับการปลูกต้นมะลิสามารถทำได้ทั้งการปลูกในกระถางและการปลูกในแปลง ซึ่งการปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ควรใต้กระถามทรงสูงขนาด  8-14 นิ้วใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วนอัตรา 1: 1 ผสมดินปลูก ควรเปลี่ยนกระถางปีละครั้ง เพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไปและเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ ทดแทนปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป  ส่วนการปลูกในแปลงปลูก เพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน นิยมปลูกบริเวณทางเข้าหน้าบ้าน เพื่อเป็นเสน่ห์แก่บ้าน โดยมีขนาดของหลุดปลูก 30x30x30 เซนติเมตร และใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1:1 ผสมดินปลูก เนื่องจากมะลิเป็นพันธุ์ไม้ที่ต้องการแสดงแดดจัด จึงควรให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง สภาพของดินที่ปลูกควรเป็นดินร่วนสูง มีความชุ่มชื้นปานกลาง ระบายน้ำได้ดีสามารถขยายพันธุ์ด้วย การปักชำ การตอนกิ่ง การทาบกิ่งการแยกกอ ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมและได้ผลดีคือ การปักชำและการตอน

www.ryt9.com/s/tpd/966256





การบังคับมะลิ


การบังคับมะลิ ให้ออกดอกในฤดูหนาว
                  

เนื่องจากในฤดูหนาว ดอกมะลิจะออกดอกน้อยแต่ตลาดมีความต้องการในปริมาณที่สูง จึงทำให้มะลิมีราคาแพงกว่าปกติ ดังนั้น หากเกษตรกรสามารถวางแผน เตรียมความพร้อมทำให้มะลิออกดอกในฤดูหนาวได้ จะทำให้มีรายได้ดีจากการปลูกมะลิ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มะลิออกดอกในฤดูหนาวมี 2 ข้อได้แก่                  

1. การตัดแต่งกิ่ง โดยทำการตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งที่เป็นโรคหรือถูกแมลงทำลาย กิ่งไขว้ล้มเอนไม่เป็นระเบียบ และกิ่งเลื้อย ซึ่งวิธีการตัดแต่งกิ่งมี 2 วิธี คือ

-แบบเหลือกิ่งไว้กับต้นยาว โดยตัดแต่งกิ่งออกเพียงเล็กน้อยให้เหลือกิ่งสมบูรณ์ไว้กับต้นมาก ๆ การตัดแต่งกิ่งวิธีนี้เหมาะสมกับมะลิที่มีอายุน้อย

-แบบเหลือกิ่งไว้กับต้นสั้น โดยตัดแต่งกิ่งให้เหลือเพียง 3-4 กิ่ง แต่ละกิ่งยาวประมาณ 1-1.5 ฟุต การตัดแต่งกิ่งวิธีใช้กับมะลิอายุ 2 ปีขึ้นไป มะลิช่วงระยะเวลาตั้งแต่เก็บดอก จนถึงตากิ่งเจริญให้ดอกใหม่อีกครั้งประมาณ 6 สัปดาห์ ดังนั้น ถ้าเกษตรกรต้องการให้มะลิออกดอกในเดือนใด ก็ต้องนับย้อนเวลาตัดแต่งกิ่งถอยหลังไป 6 สัปดาห์ และถ้าต้องการให้แปลงมะลิทุกแปลงออกดอกพร้อมกันหมด เวลาตัดแต่งกิ่งก็ตัดให้หมดทุกแปลงเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นเมื่อต้องการให้มะลิออกดอกในฤดูหนาว ระยะเวลาที่เหมาะสมในการตัดแต่งกิ่ง คือ ช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน
                  

2. การบำรุงรักษาต้นและดอก                  
การบำรุงต้น เมื่อตัดแต่งกิ่งมะลิแล้ว จำเป็นมากที่ผู้ปลูกจะต้องบำรุงต้นมะลิให้สมบูรณ์ โดยการใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอกใส่ได้ไม่จำกัด ส่วนปุ๋ยเคมีใส่เดือนละครั้ง สูตรปุ๋ยที่แนะนำคือสูตร 15-15-15 ใช้ในอัตรา 1-2 ช้อนแกง/ต้น สำหรับการบำรุงดอก ในฤดูหนาว นอกจากมะลิจะออกดอกน้อยและมีขนาดเล็ก ดังนั้น จึงควรให้ปุ๋ยทางใบที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูง เช่น สูตร 10-45-10 ฉีดพ่นหลังใบ ในอัตรา 2 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร โดยฉีดพ่นทุก 10 วัน แนะนำให้ใช้ฤดูหนาวเท่านั้นสำหรับฤดูอื่นไม่แนะนำให้ใช้ปุ๋ยทางใบ เนื่องจากมะลิมีราคาไม่สูงซึ่งไม่คุ้มกับการลงทุน
                  
การใช้สารไทโอยูเรียเร่งการออกดอกในฤดูหนาว สารไทโอยูเรียมีผลต่อการซักนำให้มะลิออกดอก จากการวิจัยเกี่ยวกับการบังคับให้มะลิออกดอกในฤดูหนาวนั้นพบว่า สารไทโอยูเรียเป็นสารที่มีผลทำลายการพักตัวของมะลิ และเร่งการออกดอกของมะลิในฤดูหนาวได้เป็นผลสำเร็จในระดับที่น่าพอใจ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

1. ตัดแต่งกิ่งมะลิในเดือนกันยายน

2. ให้ปุ๋ยและน้ำเพื่อบำรุงต้นให้สมบูรณ์โดยใช้ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30 กรัมต่อต้น ในเดือนกันยายนและตุลาคม

3. พ่นสารไทโอยูเรีย 1% (ไทโอยูเรีย 200 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร) ในเดือนพฤศจิกายน มะลิจะออกดอกหลังจากพ่นสารไทโอยูเรียแล้วประมาณ 20 วัน และเก็บดอกต่อเนื่องไปอีก 1 เดือน

นอกจากนี้ยังพบอีกว่าการให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง ร่วมกับการพ่นสารไทโอยูเรีย ก็จะมีผลต่อการเพิ่มปริมาณดอกได้ดีขึ้นอีก จากการปฏิบัติดังกล่าว เราสามารถบังคับมะลิให้ออกดอกในช่วงที่ต้องการได้คือ ในเดือนพฤศจิกายน -ธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว ดอกมะลิราคาแพง ช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกได้เป็นอย่างดี



http://www.chiangmainews.co.th/read.php?id=8445






การใช้สารไทโอยูเรียเร่งการออกดอกในฤดูหนาว


การใช้สารไทโอยูเรียเร่งการออกดอกในฤดูหนาว สารไทโอยูเรียมีผลต่อการชักนำให้มะลิออกดอก จากการวิจัยเกี่ยวกับการบังคับให้มะลิ ออกดอกในฤดูหนาวได้นั้นพบว่า สารไทโอยูเรียเป็นสารที่มีผลทำลายการพักตัวของมะลิ และเร่งการออก ดอกของมะลิ ในฤดูหนาวได้เป็นผลสำเร็จในระดับที่น่าพอใจ

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
1. ตัดแต่งกิ่งมะลิในเดือนกันยายน
2. ให้ปุ๋ยและน้ำเพื่อบำรุงต้นให้สมบูรณ์ โดยใช้ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30 กรัมต่อต้น ในเดือนกันยายนและตุลาคม
3. พ่นสารไท
โอยูเรีย 1% (ไทโอยูเรีย 200 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร)

ในเดือนพฤศจิกายน
มะลิจะออกดอกหลังจากพ่นสารไทโอยูเรียแล้วประมาณ 20 วัน และเก็บดอกต่อเนื่องไปอีก 1 เดือน นอกจากนี้ยังพบอีกว่า การให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงร่วมกับการพ่นสารไทโอยูเรีย ก็จะมีผลต่อการ เพิ่มปริมาณดอกได้ดีขึ้นอีก

จากการปฏิบัติดังกล่าว เราสามารถบังคับมะลิให้มะลิออกดอกในช่วงที่ต้องการได้คือ
ในเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ซึ่ง เป็นช่วงฤดูหนาวดอกมะลิมีราคาแพง

http://www.fon6567.ob.tc/mali7.html







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (14139 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©