-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 421 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ไม้ดอก-ไม้ประดับ





ไพบูลย์ แพงเงิน

มิคกี้ เม้าส์-ไม้กระถาง ที่เหมาะแก่การตกแต่งสถานที่

อาคารสถานที่ต่างๆ ที่มีระเบียง ห้องโถง หรือห้องประชุม ที่มีความกว้างขวาง และมีแสงสาดส่องถึงแบบรำไร สมควรที่จะต้องมีกระถางปลูกต้นไม้ประดับตามมุมต่างๆ หรือวางตั้งเป็นระยะๆ เพื่อให้เป็นจุดพักสายตา หรือเพื่อสร้างความสดชื่นมีชีวิตชีวาแก่เจ้าของสถานที่หรือแขกผู้มาเยือน สมัยเมื่อสัก 30-50 ปีก่อน เจ้าของสถานที่มักนิยมตั้งกระถางที่ใช้ต้นไม้ประดิษฐ์ตั้งประดับแทนต้นไม้จริง เพราะเป็นการประหยัดแรงงานในด้านการดูแลรักษา เนื่องจากต้นไม้ประดิษฐ์ไม่ต้องการคนรดน้ำหรือตัดแต่งกิ่ง เพียงซื้อหาครั้งเดียวก็สามารถตั้งประดับสถานที่ได้นานหลายปี อาศัยแต่เพียงคนคอยปัดฝุ่นหรือเช็ดตามใบหรือดอกบ้างเป็นครั้งคราวเท่านั้น แต่จุดอ่อนของต้นไม้ประดิษฐ์ก็อยู่ตรงที่ว่า ราคาค่อนข้างแพง และสิ่งที่สำคัญคือเป็นดอกไม้ไร้ชีวิตที่ขาดชีวิตชีวา ซึ่งสำหรับคนดูบางคนแล้ว ถึงกับออกปากว่า "ดูแล้วรู้สึกหดหู่ใจมาก" เลยทีเดียว

แต่มาถึงสมัยนี้ ความนิยมในกระถางต้นไม้ประดิษฐ์ลดลงไป ประกอบกับสามารถหาต้นไม้กระถางที่เหมาะสมและหาได้ง่าย มีความสวยงามได้มากขึ้น คนจึงนิยมที่จะใช้ต้นไม้จริงขนาดย่อมๆ มาใส่กระถาง เพื่อตั้งประดับอาคาร สถานที่ และห้องประชุมแทนต้นไม้เทียมที่ไร้ชีวิตชีวา

ตัวผู้เขียนเองก็เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือสถานที่ทำงาน ก็ชอบที่จะตั้งกระถางต้นไม้จริงอยู่เสมอ ไม่เป็นไม้ดอกก็เป็นไม้ใบที่มีขนาดต้นย่อมๆ ดูแลรักษาง่าย ไม่เป็นไม้ที่ทิ้งใบ รวมทั้งเป็นไม้ที่ไม่ต้องเสียเวลาดูแลรักษามากนัก นานๆ จึงจะมีการตัดแต่งกิ่งเสียทีหนึ่ง การให้น้ำเพียง 2-3 วัน ต่อครั้ง เป็นต้น

สมัยที่ยังรับราชการอยู่ ผู้เขียนเคยนำเอาเมล็ดพิกุลมาเพาะ ชำจนเติบโตในกระถางได้ ส่วนสูงราว 1-2 เมตร ก็จะยกกระถางไปตั้งในบริเวณหน้าอาคารของสำนักงาน หรือบางแห่งถึงกับนำไปตั้งในห้องทำงานบริเวณใกล้ๆ หน้าต่างที่มีแสงแดดส่องถึง ทำให้บรรยากาศมีความร่มเย็นขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มอากาศบริสุทธิ์ให้แก่สถานที่อีกด้วย ทั้งนี้ เพราะผู้เขียนมีความประทับใจในต้นและดอกพิกุลตั้งแต่สมัยเด็กๆ โดยเคยไปเก็บพิกุลกลางลานวัดมาร้อยเป็นพวงถวายพระ ได้พวงดอกไม้ที่หอมกรุ่นชื่นใจ แต่เนื่องจากผู้ใหญ่ท่านห้ามปลูกพิกุลไว้ในบริเวณบ้าน จึงใช้วิธี "เลี่ยงบาลี" ยักย้ายไปปลูกในสถานที่ราชการแทน คิดว่าคงจะช่วยลดความไม่เป็นมงคล (ข้อห้ามของโบราณ) ลงไปได้ ซึ่งก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด มีคนหลายคนไปเห็นเข้าก็ชอบใจหลายราย ถือเป็นวิธีการอนุรักษ์ไม้ไทยที่ดีได้อีกวิธีหนึ่ง

มาในระยะหลังๆ นี้ ผู้เขียนไปได้เมล็ดของต้นไม้จากต่างประเทศชนิดหนึ่งเข้า เมื่อนำมาเพาะก็งอกได้ง่าย เจริญเติบโตดี พุ่มสวย ไม่ทิ้งใบ ดูแลง่าย ปลูกไม่นานก็ออกดอกสวยงาม มีทั้งดอกสีแดง (ดอกตัวเมีย) และดอกสีเหลือง (ดอกตัวผู้) ให้ได้ชมตลอดปี ต้นไม้ที่ว่านี้ มีชื่อสามัญว่า "มิคกี้ เม้าส์" (Micky Mouse), มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ochna kirkii Oliv. สกุล Ochna วงศ์ OCHNACEAE ซึ่งเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่แถวทวีอเมริกา ไม่ทราบว่าเดินทางเข้ามาประเทศไทยตั้งแต่เมื่อไร แต่แถวสุพรรณบุรี ผู้เขียนเห็นต้นไม้ชนิดนี้ครั้งแรกเมื่อราวๆ 25 ปีก่อน แต่สมัยนั้นหาเมล็ดพันธุ์ได้ค่อนข้างยาก ต่างกับสมัยนี้ที่เห็นอยู่ทั่วไปและหาเมล็ดพันธุ์ได้ง่าย

เหตุที่มีการตั้งชื่อไม้ประดับชนิดนี้ว่า "ต้นมิคกี้ เม้าส์" นั้น ก็เนื่องจากเมื่อต้นไม้มีเมล็ด เมล็ดที่แก่เต็มที่จะมีลักษณะกลมรีและมีสีดำ คล้ายกันกับลักษณะของจมูกของ "มิคกี้ เม้าส์" การ์ตูนตัวเก่งของ "วอลต์ ดิสนีย์" ราชาการ์ตูนของโลกนั่นเอง

ต้นมิคกี้ เม้าส์ นั้น มีลักษณะเป็นพุ่มคล้ายๆ พุ่มพิกุลนั่นเอง หากตกแต่ง ตัดกิ่งอย่างสม่ำเสมอก็จะสวยงาม ไม่เกะกะเก้งก้าง ใบมีลักษณะเรียวแหลม ขนาดเล็ก สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกตัวเมีย (สีแดง) จะมีกลีบ 4-5 กลีบ เกิดเมล็ดตั้งแต่ 1-5 เมล็ด เมล็ดแก่เร็ว (เพียง 1 สัปดาห์ เมล็ดที่มีสีเขียวก็จะเปลี่ยนเป็นสีดำและร่วงลงสู่พื้นดิน) ดังนั้น การขยายพันธุ์จึงทำได้ง่ายและรวดเร็ว เมื่อได้ดินดี น้ำดี ไม่ช้าก็จะแตกพุ่มให้ชื่นชมได้ หากมีกิ่งยื่นออกนอกทรงพุ่มก็ควรตัดแต่งให้บ้าง เพียงแค่นี้เราก็จะได้ไม้กระถางไว้ตั้งประดับสถานที่แล้ว สำนักงานหรือสถาบันใดมีพื้นที่กว้างขวาง ก็ให้จัดหากระถางขนาดเขื่องมาตามจำนวนที่ต้องการ หาวัสดุปลูกให้พอเพียง หาเมล็ดพันธุ์ของต้นมิคกี้ เม้าส์ ให้ได้จำนวนหนึ่ง มอบภาระการปลูก การดูแลรักษาให้แก่คนงานที่รับผิดชอบด้านสถานที่ให้เรียบร้อย เพียงไม่กี่เดือนก็จะมีกระถางไม้ประดับไว้ตั้งอวดแขกแล้ว โดยควรจะมีกระถางสำรองเพื่อใช้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันในกรณีที่มีกระถางใดต้นไม้เกิดโทรมลงไป วิธีนี้จะช่วยประหยัดเงินงบประมาณด้านต้นไม้ไปได้มาก

เนื่องจากมิคกี้ เม้าส์ เป็นพันธุ์ไม้ต่างด้าวที่เพิ่งจะเข้ามาในเมืองไทยได้ไม่นาน แม้แต่ชื่อไทยๆ ก็ยังไม่มีจะใช้เรียก ดังนั้น เราจึงยังไม่ทราบข้อมูลว่าจะมีส่วนใดใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรคใดได้บ้าง แต่ที่แน่ๆ ต้นไม้ชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับต้นไม้สมุนไพรของไทยที่ชื่อว่า กำลังช้างสาร (ตานเหลือง, ช้างน้าว หรือ ตานนกกด) หากมีการทดลองหาสารสำคัญโดยละเอียดก็เข้าใจว่าน่าจะพบสารที่ใช้เป็นสมุนไพรได้ ขอฝากให้เป็นหน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์ไทยด้วยก็แล้วกันครับ

กำลังช้างสาร หรือตานเหลือง เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้น ชนิด Ochna integerrima (Lour.) Merr. ในวงศ์ Ochnaceae พบในป่าเบญจพรรณแล้ง เปลือกสีน้ำตาลแก่ ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อสั้น ดอกบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร กลิ่นหอมอ่อน และผลัดใบขณะมีดอก (บางตำราว่าเป็นพืชชนิด Ochna wallichii Planch. วงศ์ Ochnaceae)

กำลังช้างสาร (เนื้อไม้) มีสรรพคุณ แก้ไข้ แก้ร้อนใน แก้วปวดเมื่อยเส้นเอ็น มักจะเข้าในตำรับยาดองประเภทบำรุงกำลังและบำรุงพลังทางเพศ และเป็นสมุนไพรที่มีรสสุขุม

ไม้ในวงศ์เดียวกันแต่ต่างชนิดกับที่เอ่ยชื่อมาแล้วข้างต้น ยังมีอีกชนิดหนึ่ง มีชื่อไทยว่า ช้างน้าว และชื่ออื่นๆ อีก คือ หางกวางผู้ (อุบลราชธานี), กาปิโต (ตราด), ท้องปลิง (ภาคใต้), ช้างโน้ม (ปราจีนบุรี) และยูลง (มลายู-นราธิวาส) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Gomphia serata (Gaerth.) Kanis ดอกและเมล็ดคล้ายกับ มิคกี้ เม้าส์ มาก ผิดแต่เพียงก้านดอก เนื่องจากช้างน้าวชนิดหลังนี้มีก้านดอกยาว ในขณะที่ดอกของ มิคกี้ เม้าส์ ไม่มีก้านดอก ซึ่งต้นไม้ชนิดนี้มีระบุสรรพคุณทางยาไว้ว่า ทั้งต้น เข้าตำรับยารักษาโรคเบาหวาน ราก นำมาต้มน้ำดื่มแก้ผิดสำแดง (อ้างโดย พ.ญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, สมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคอีสาน/2549)

ก็ขอแนะนำให้ท่านที่รักต้นไม้ได้รู้จักกับต้นไม้ต่างด้าว ที่ชื่อว่า "มิคกี้ เม้าส์" และประโยชน์ในด้านเป็นไม้ประดับไว้แต่เพียงแค่นี้ ส่วนข้อมูลประโยชน์ในด้านอื่นๆ คงจะมีตามมาเรื่อยๆ ในอนาคต

เรื่องราวของ "มิคกี้ เม้าส์" ต้นไม้ดอกสวย จากอเมริกาก็ขอจบลงแต่เพียงแค่นี้


ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน






คาร์เนชัน (Carnation)

1194588461.gif





คาร์เนชัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dianthus  caryophyllus ลักษณะดอกดั้งเดิมนั้นมีกลีบดอกชั้นเดียวสีชมพูสด บานไม่ทน ในปัจจุบันได้รับการผสมพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์จนเปลี่ยนแปลงไปมาก คือมีกลีบดอกจำนวนมาก ดอกซ้อน ก้านยาวตรงและแข็งแรง มีสีต่างๆมากมายทั้งสีพื้นและสองสีในดอกเดียวกัน  ดอกบานทนใช้ปักแจกันได้นานหลายวัน
       
คาร์เนชัน มี 2 ชนิด คือ คาร์เนชันดอกเดี่ยวและคาร์เนชันดอกช่อ ชนิดดอกเดี่ยวมีดอกใหญ่เพียง1ดอกต่อก้าน ชนิดดอกช่อมีดอกขนาดเล็กกว่า และมีหลายดอกบนกิ่งแขนงสั้นๆหลายกิ่งบนก้านเดี่ยว

คาร์เนชันเป็นพืช  facultative  long-day  plant คือต้นจะออกดอกได้เร็วในสภาพวันยาวและออกดอกได้เช่นกันในสภาพวันสั้นแต่ออกดอกล่าช้ากว่า อย่างไรก็ตามการปลูกคาร์เนชันในเขตร้อนก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องให้สภาพวันยาวแต่อย่างใด

คาร์เนชันดอกช่อต้องการอุณหภูมิสูงกว่าที่คาร์เนชันดอกเดี่ยวต้องการเล็กน้อย สถานที่ปลูกคาร์เนชันควรมีอุณหภูมิกลางวันเฉลี่ยไม่เกิน 25 ซ  ถ้าได้อุณหภูมิกลางวันเฉลี่ย 18.3 ซ  จะได้ดอกที่มีคุณภาพดีที่สุด

อุณหภูมิกลางคืนควรมีค่าเฉลี่ย 10-15 ซ อุณหภูมิกลางคืนสำคัญมากเพราะถ้าอุณหภูมิกลางคืนสูงจะทำให้ได้ปล้องสั้น  ซึ่งเท่ากับลดความยาวก้าน  ถ้าได้ที่ที่มีอุณหภูมิกลางคืนเฉลี่ย 10ซ  จะได้ดอกที่มีคุณภาพดีที่สุด

ถ้าปลูกคาร์เนชันในอุณหภูมิสูง คาร์เนชันจะมีก้านดอกสั้นและอ่อน ดอกมีจำนวนกลีบน้อยลงทำให้มีขนาดดอกเล็กลง สีดอกซีดและบานได้ไม่นานในแจกัน ยิ่งถ้าอากาศร้อนและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูงจะทำให้เป็นโรคต่างๆได้ง่ายด้วย

คาร์เนชันต้องการความเข้มของแสงอย่างน้อยที่สุด 2000 ฟุตเทียน (foot candle)

ถ้าแสงน้อยคาร์เนชันจะโตช้าให้ดอกที่มีก้านอ่อน  ชั่วโมงแสงต่อวันก็มีผลต่อคุณภาพของดอกด้วย คือสภาพวันสั้น เช่นในฤดูหนาว ทำให้คาร์เนชันได้ดอกช้าแตกหน่อมาก  สภาพวันยาวทำให้ได้ดอกเร็วไม่ค่อยแตกหน่อและก้านดอกยืดเร็ว

การปลูกคาร์เนชันจำเป็นต้องมีโรงเรือนหลังคาพลาสติกกันฝน ด้านข้างของโรงควรมีมุ้งพลาสติกช่วยกันแมลงและช่วยให้การถ่ายเทอากาศดีขึ้นกว่าการบุด้วยพลาสติกทั้งโรง โรงเรือนควรมีความสูงอย่างต่ำ 2.5 เมตร ถ้าสูงกว่านั้นได้เช่น 3.5-4 เมตรจะดีมากแต่ต้องลงทุนสูงกว่ามากด้วย โรงเรือนสูงๆ จะช่วยให้อากาศไม่ร้อนและการถ่ายเทอากาศดีกว่าโรงเรือนต่ำๆ         

การขยายพันธุ์
ควรขยายพันธุ์คาร์เนชันโดยใช้กิ่งชำที่ได้จากต้นแม่ (mother plant)เท่านั้น การปลูกคาร์เนชันให้สำเร็จอย่างดีจะไม่เด็ดหน่อจากต้นที่ผลิตดอกมาชำเป็นอันขาด

ผู้ปลูกคาร์เนชันเพื่อจำหน่ายดอก นิยมซื้อกิ่งชำที่ปลอดโรคและมีคุณภาพดีจากบริษัทที่ขยายพันธุ์คาร์เนชันเป็นการค้า  เพื่อตัดปัญหาการดูแลเอาใจใส่ต้นแม่เพื่อเอากิ่งชำ  และการทุ่มเทการเอาใจใส่กับการผลิตดอกเพียงอย่างเดียว  ในขณะที่นักขยายพันธุ์ก็มุ่งแต่ผลิตกิ่งชำแต่เพียงอย่างเดียว

                 
การผลิตดอก

การเลือกที่ปลูก
สภาพอากาศ :  
สถานที่ปลูกต้องมีอากาศเย็น อุณหภูมิกลางวันไม่เกิน 25 ซ อุณหภูมิกลางคืนอยู่ในช่วง 12-15 ซ ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิกลางวันและกลางคืนไม่ควรเกิน 10 ซ

ดิน :  
ควรมีอินทรียวัตถุสูง มีหน้าดินลึก มีการระบายน้ำดี pH ของดินควรเป็น 6-7

น้ำ :  
ต้องมีน้ำอย่างเพียงพอตลอดช่วงการปลูก

การคมนาคม :  
ต้องสะดวกเพื่อจะส่งดอกไปได้เร็วและไม่เสียหายระหว่างการขนส่ง

ขนาดแปลง
ควรกว้าง 1 เมตร มีฐานแปลงกว้าง 1.20 เมตร ความยาวไม่จำกัด  

ระยะปลูก
ใช้ 6x6 หรือ 8x8 ปลูกลึกเท่าที่เคยอยู่ในแปลงปักชำ คือ เพียง ? นิ้ว เมื่อปลูกแล้วให้รดด้วยน้ำผสมยากันรา ถ้ารดน้ำแล้วกิ่งชำล้มไปประมาณ 30% แสดงว่าปลูกด้วยความลึกถูกต้อง ให้จับต้นตั้งขึ้นแล้วกลบโคนต้นใหม่อีกครั้ง  

การพยุงลำต้น
อาจใช้เชือกพลาสติกถักเป็นตาข่ายสำหรับพยุงลำต้นให้มีขนาด 5x6 หรือ 6x6 นิ้ว แล้วปลูกต้นพืชลงตรงกลางตาตาราง โดยขึงตาข่ายรอไว้บนแปลงปลูกก่อนปลูกต้นก็ได้ เพื่อให้ปลูกง่ายขึ้น หรือปลูกเสร็จแล้วจึงขึงตาข่ายชั้นแรกให้สูงจากพื้นดิน 4 นิ้วก็ได้  ข้อสำคัญ คือ ต้องดึงตาข่ายให้ตึง เมื่อต้นเติบโตขึ้นและปลายยอดเอนออกจากตาข่าย ให้จับเข้ามาอยู่ในตารางของตาข่ายทันที   อย่าให้กิ่งคดงอแล้วจึงบิดเข้ามา

ตาข่ายชั้นที่สอง ควรอยู่สูงจากชั้นที่หนึ่งขึ้นไปอีก 6 นิ้ว และขึงต่อไปด้วยระยะประมาณ 6 นิ้ว ไล่ตามความสูงของลำต้น การพยุงลำต้นเป็นสิ่งที่ต้องทำให้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจะได้ก้านดอกตรง ดอกที่มีก้านคดงอ  จะทำให้เสียคุณภาพและทำให้ไม่ได้ราคา

การให้น้ำและให้ปุ๋ย
เมื่อปลูกต้นลงไปใหม่ ๆ ควรให้น้ำด้วยสปริงเคลอร์บ่อย ๆ จนต้นตั้งตัวได้ แต่อย่าให้มากจนดินเปียกเกินไป หลังจากต้นตั้งตัวได้แล้ว ก็ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดช่วงการปลูกในช่วงระยะมีดอกจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวดอก ควรให้น้ำแบบหยด ถ้าไม่มีให้ใช้สปริงเคลอร์ตอนเช้า ในช่วงที่มีการตัดดอกให้รดน้ำหลังจากตัดดอกแล้ว

ถ้าใช้ระบบใส่ปุ๋ยใบละลายกับน้ำที่ใช้รดให้ผสมปุ๋ยที่มีไนโตรเจนและโปรแตสเซียมอย่างละ 200 ppm ผสมน้ำที่ใช้รด 6 วันต่อสัปดาห์ และให้น้ำเปล่าในวันที่ 7 เพื่อช่วยชะเกลือในดิน

ถ้าไม่ใช้ระบบดังกล่าวข้างต้นหลังย้ายปลูกให้ใช้ปุ๋ยสูตร 11-8-6 อัตรา 3 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร รดอาทิตย์ละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 อาทิตย์ ใช้บัวที่มีฝอยระเอียดรดโคนต้นเบา ๆ ประมาณต้นละ 100 ซีซี 

หลังเด็ดยอดจนถึงช่วงออกดอก ใช้ปุ๋ยสูตร 30-20-10 1 กรัม  13-0-46 1 กรัม 15-0-0 1กรัม รวม 3 กรัม ละลายในน้ำ 1 ลิตร รดอาทิตย์ละครั้ง รวม 16 อาทิตย์  โดยใช้บัวที่มีฝอยหยาบกว่าที่ใช้รดต้นกล้าให้สารละลายปุ๋ยประมาณ 20 ลิตร/ตารางเมตร

การเด็ดยอด
หลังจากปลูกได้ 2-4 อาทิตย์ เมื่อต้นตั้งตัวได้และยอดเริ่มยืดให้เด็ดยอด ต้นจะแตก 4-6 กิ่ง ถ้าต้องการเอาดอกเพียงรุ่นเดียวให้เหลือไว้ 4-6 กิ่ง ถ้าจะเอาดอก 2 รุ่นให้เหลือไว้เพียง 4 กิ่ง

การเด็ดดอกข้าง
เด็ดดอกข้างทั้งหมดทิ้งทันทีที่สามารถทำได้สะดวก ถ้าเด็ดช้าจะทำให้ดอกยอดบานช้า ดอกไม่ใหญ่เท่าที่ควรมีรอยแผลด้วย ถ้าเด็ดเร็วจะต้องเด็ดซ้ำแต่ทำให้เปลืองแรงงาน สำหรับคาร์เนชันดอกช่อ   ให้เด็ดดอกกลางออกให้ดอกข้างเจริญเป็นช่อ

การเก็บเกี่ยวดอก
เมื่อปลูกแล้วเด็ดยอด 1 ครั้ง จะใช้เวลา 120-140 วัน จึงจะได้ดอกรุ่นแรก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับพันธุ์และฤดูกาล คาร์เนชันดอกเดี่ยวเก็บเมื่อกกลีบดอกยึดพ้นกลีบดอกรอง และทำมุมฉากกัน คือกลีบชั้นนอกเริ่มบานออกและกกลีบชั้นในเริ่มคลี่ ส่วนคาร์เนชันชนิดดอกช่อ เก็บเมื่อสองดอกในช่อเริ่มแย้มและดอกที่เหลือเริ่มเห็นสี

การเก็บเกี่ยวในตอนบ่ายและตอนเย็น   จะทำให้ได้ดอกที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูงกว่า ทำให้อายุการปักแจกันนานขึ้น แต่มีปริมาณน้ำในกิ่งน้อยกว่าการเก็บในตอนเช้า

ถ้าต้องการดอกเพียงรุ่นเดียวแล้วจะถอนต้นทิ้ง สามารถตัดดอกได้ยาวกว่าปกติ แต่ไม่ถึงกับตัดชิดโคนต้น ถ้าจะเอาดอกรุ่นที่สอง ให้ตัดตรงจุดที่ต่ำกกว่าคู่ใบที่ 8
www.a2code.com/viewthread.php?tid=3921 -




คาร์เนชั่น



ชื่อสามัญ : Carnation Caryophyllaceae : Dianthus caryophyllus L.

ถิ่นกำเนิด : แถบเมดิเตอร์เรเนียน ยุโรปตอนใต้


ลักษณะทั่วไป : ไม้ดอกอายุสั้น พุ่มสูง 60 – 90 เซนติเมตร ลำต้นแตกกิ่งก้าน ใบรูปแถบเรียวยาว ดอกมีทั้งชนิดดอกเดี่ยวและดอกช่อ กลีบรองดอกสีเขียว รูปถ้วย ดอกซ้อนฟู ขนาด 3 – 9 เซนติเมตร ขอบกลีบหยักเป็นแฉก ดอกมีกลิ่นหอมคล้ายกานพลู


ขยายพันธุ์ : ไม้ตัดดอกใช้วิธีปักชำกิ่ง โดยนับจากข้อที่ 8 ลงไป ตัดยาว 10 เซนติเมตร และไม้ประดับแปลงใช้วิธีเพาะเมล็ด โดยกลบเมล็ดบางๆ เมล็ดงอกภายใน 5–13 วัน ย้ายปลูกอายุ 15 วัน เวลาเพาะ – ออกดอก 120 วัน

สภาพปลูก : แสงแดดเต็มวัน อากาศเย็น ออกดอกได้ดีในที่สูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป

บันทึก : ชื่อสกุล Dianthus มาจากภาษากรีก หมายถึงดอกไม้ในสวรรค์ เนื่องจากมีกลิ่นหอม ชาวกรีกโบราณนิยมใช้ดอกร้อยเป็นมาลัยสวมศีรษะให้นักกีฬา ชาวโรมันเชื่อว่าเป็นดอกไม้ของเทพเจ้าจูปีเตอร์ ส่วนชาวจีนเชื่อว่ากลิ่นหอมของดอกไม้ชนิดนี้ทำให้คนมีความสุข จนได้รับฉายาว่า สมุนไพรลืมความทุกข์




http://soclaimon.wordpress.com/category/%e0%b8%84%e0%b8%b3%e0%b9%81%e0%b8%99%e0%b8%b0%e0%b8%99%e0%b8%b3%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%9e%e0%b8%b7%e0%b8%8a/%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81-%e0%b8%84%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b9%80%e0%b8%99%e0%b8%8a%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%99/









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (4706 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©